สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ

อาชีวปาริสุทธิศีล ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัยครบทุสิกขาบทในคัมภีร์ปริวาร(วิ.ป.๘/๒๑๕) มีดังนี้

สิกขาบท ๖ ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ ไว้เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ความว่า โดยเกี่ยวกับเป็นความก้าวล่วง สิกขาบท ๖ ซึ่งสิกขาบท ๖ เหล่านั้น ทรงบัญญัติไว้ อย่างนี้ว่า “อาชีวเหตุ อาชีวการณา ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต ฯเปฯ อตฺตโน อตฺถาย วิญฺญาเปตฺวา ภุญฺชติ ทุกฺกฏฺสส - เพราะ อาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่วช้า ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ที่ยังไม่เกิดขึ้น ต้องอาบัติปาราชิก (๑), เพราะ อาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุถึงความเป็นพ่อสื่อ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (๒), เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเป็นพระอรหันต์” ดังนี้ เมื่อรู้ตัวอยู่ก็ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๓), เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุมิได้เป็นคนไข้ ขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนได้ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (๔), เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุณีมิได้เป็นคนไข้ ขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนได้ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ (๕), เพราะอาชีวะเป็น เหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุมิได้เป็นคนไข้ ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตนได้ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ (๖)” ดังนี้แล

-------------

ถามว่า อาชีวปาริสุทธิศีล ในพระวินัยก็ทรงแสดงด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาชีวะเป็นเหตุ อาชีวะการณ์ เพื่อให้ทราบระดับโทษหนักเบาแห่งอาบัติ ในพระสูตรก็ทรงแสดง จตุปาริสุทธิศีล เพื่อให้ทราบว่า การเจริญกรรมฐานต้องมีครบทั้ง ๔ อย่าง ก็แล้วทำไมเล่าถึงทรงต้องแสดงกุหนวัตถุ(เรื่องการหลอกลวงด้วยพฤติกรรมการมักมากในลาภและสักการะของพระภิกษุ) ด้วยอาการ ๓ คือ

    ๑. อาการส้องเสพปัจจัย

    ๒. อาการพูดเลียบเคียง

    ๓. อาการอากัปกิริยาท่าทางที่แสดงออก

เพื่อให้พระภิกษุทราบระดับความวิบัติ(ความเสียหาย)ว่าเริ่มจากศีลวิบัติด้วยการเสแสร้งปฏิเสธปัจจัย เพื่อประสงค์จะลวงทายกว่าตนมักน้อย เมื่อหิริโอตตัปปะไม่มีก็ลามปามความประพฤติ(อาจารวิบัติ)กล่าวอ้างเลียบเคียงว่าการประพฤติเช่นตนเป็นความมักน้อยของพระอริยะ มีการสรรหาเศษผ้าหลายเฉทสีมาเย็บปะติดปะต่อเป็นผืนนุ่งห่ม ทั้งที่พระวินัยบัญญัติให้เย็บเป็นขันธ์คี่ มี ๕,๗,๙ขันธ์ แล้วย้อมเป็นเฉทสีเดียวกัน เมื่อผู้คนเลื่อมใสมากขึ้นด้วยเห็นว่าแปลกประหลาดจากพระภิกษุปกติทั่วไปก็สำคัญผิด(ทิฏฐิวิบัติ)ว่าพฤติกรรมตนถูกต้องตามพระวินัยแล้ว พระภิกษุนอกนี้ต่างหากเล่าที่ประพฤติไม่ได้เยื่องตน ก็เกิดตัณหา มานะ ทิฏฐิ แรงกล้า ยึดติด ว่า ชีวิตความเป็นอยู่เช่นนี่แหละประเสริฐสูงสุด (อาชีววิบัติ) และเป็นการเตือนบัณฑิตผู้รู้อริยะวินัยว่า บุคคลเช่นนี้ไม่พึงคบหาด้วย แม้ฆราวาสที่เข้าใจผิด ผู้เป็นบัณฑิตก็พึงชี้แจงด้วยเหตุผลและหลักฐานให้กระจ่างชัดเถิด


[full-post]

อาชีวปาริสุทธิศีล

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.