สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ


สภาวภาษาสำคัญเป็นไฉน?

   ภาวะ คือ ภาวนํ ภาโว ความมีความเป็น เรียกว่า ภาวะ

   สภาวะ คือ ภาโว สภาโว ความมีความเป็นของตน เรียกว่า สภาวะ

   ความหมายของสภาวภาษา ก็คือ อยํ สภาโว อยํ นิยโม หมายความว่า นี้เป็นสภาวะ นี้ก็คือความจริง(อภิธาน 177)

   ถามว่า อะไรเป็นความมีความเป็นของตน

   ตอบว่า ธาตุและปัจจัยนั่นเองเป็นความมีความเป็นของตน

   ตัวอย่าง เช่น ศัพท์ว่า " ขันธ์ " ก็คือ ข=ความว่างเปล่า+ธร=ทรงไว้ โดยสภาวะ(ปรมัตถสัจจะที่เป็นองค์ธรรม) ก็คือ สภาวะที่ทรงความว่างเปล่าไว้ โดยศัพท์(สมมุติสัจจะ) ก็ คือ ขันธ์ 5  มี รูปขันธ์ เป็นต้น(สังวัณณานิยาม)

   ที่กล่าวว่ามีส่วนเหลืออยู่ หมายถึงยังไงหรือ?

   หมายถึงว่า ต้องรอบรู้ทั้งนัยปรมัตถสัจจะ ทั้งนัยสมมุติสัจจะ สภาวะความเป็นไปจึงจะครบสมบูรณ์ เช่นที่โต้เถียงกันว่า

   การกรานกฐิน พระภิกษุรูปเดียวก็รับได้ เพราะได้อานิสงส์การอยู่จำพรรษาครบ(ปรมัตถสัจจะมีปัญญาออกหน้า)

   การกรานกฐิน ต้องอาศัยภิกษุ 5 รูปขึ้นไปจึงจะรับได้

เพราะต้องมีภิกษุเป็นคณปูรกะอย่างต่ำสุด 5 รูป(สมมุติสัจจะมีศรัทธาความเชื่อออกหน้า)

   ถามว่า ถ้าถือเอาเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง สภาวะความเป็นไปจะครบจบลงได้สมบูรณ์ไหม?

   หรือปราชญ์ผู้รอบรู้สภาวภาษาประสงค์ความสมานสามัคคีกล่าวว่า " กรณีมหานิกายกับธรรมยุติกนิกายของไทย ที่ไม่ทำบุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน ถือว่าเป็นนานาสังวาสซึ่งกันและก้น " 

์(ท่านใช้คำว่า " ถือว่า " เพราะรู้สภาวภาษาที่มีส่วนเหลืออยู่ คือต่างยังไม่ลงอุกเขปนียกรรมแก่กัน และวัตรปฏิบัติที่ต่างกันก็ยังแก้ไขได้ เช่น การสวดกรรมวาจาอุปสมบทผิด อักขระ ฐาน กรณ์ ปยตนะ ก็แก้เสียด้วยทันหีกรณะเป็นต้น(คัณถีบท, นิสสยะ อักษรธรรมล้านนา, นิสสยะ อักษรธรรมล้านช้าง)

   นอกจากนั้น ในคัมภีร์นิสสยะทั้งสอง ท่านยังอุปมาการรอบรู้สภาวภาษา ทั้งนัยปรมัตถสัจจะ(ปัญญา) ทั้งนัยสมมุติสัจจะ(ศรัทธา) ว่าจักสมประโยชน์ได้อย่างไร?

   ท่านอุปมาเหมือนรถเข็นของที่มีสองล้อ แต่ละล้อต้องเท่ากันการเข็นไปจึงมุ่งตรงไปได้ ถ้าล้อทั้งสองไม่เท่ากัน เวลาเข็นก็จะวนติดอยู่กับล้อเที่เล็ก ศรัทธากับปัญญาก็ต้องปรับให้เท่ากันฉันนั้น

     พฺรหฺมภาสา ยถาภุจฺจ-            ภาสา จาปริวตฺตินี
     สภาวนิรุตฺติ เหสา                    เกนจิ อวิโกปิตา ฯ 



[full-post]

สภาวภาษา,สภาวนิรุตติ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.