สรุปปัจจัย ๒๔ (พิสดาร ๕๒)

---------------------

***การแสดงการอุปการกันของปัจจัยและปัจจยุปบัน โดยความเป็น นาม-รูป-บัญญัติ

      ๑. นามเป็นปัจจัยแก่นาม ๘ ปัจจัย คือ อนันตร สมนันตร อนันตรูปนิสสย อาเสวน อนันตรกัมม สัมปยุตต นัตถิ วิคต

      ๒. นามเป็นปัจจัยแก่รูป ๔ ปัจจัย คือ ปัจฉาชาต ปัจฉาชาติวิปปยุตต ปัจฉาชาตัตถิ ปัจฉาชาตอวิคต

      ๓. นามเป็นปัจจัยแก่นามรูป ๙ ปัจจัย คือ เหตุ สหชาตาธิป สหชาติกัมม นานักขณิกกัมม วิปาก นามอาหาร นามอินทรีย์ ฌาน มัคค

      ๔. รูปเป็นปัจจัยแก่รูป ๖ ปัจจัย คือ รูปอาหาร รูปชีวิตินทรีย อาหารัตถิ อินทริยัตถิ อาหารอวิคต อินทริยอวิคต

      ๕. รูปเป็นปัจจัยแก่นาม ๑๕ ปัจจัย คือ วัตถารัมมณปุเรชาตาธิปติ วัตถุปุเรชาตนิสสย วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสย วัตถุปุเรชาต อารัมมณปุเรชาต วัตถารัมมณปุเรชาต ปุเรชาตินทรีย วัตถุปุเรชาตวิปปยุตต วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตต วัตถุปเรชาตัตถิ อารัมมณปุเรชาติตถิ วัตถารัมมณปุเรชาตัตถิ วัตถุปุเรชาตอวิคต อารัมมณปุเรชาตอวิคต วัตถารัมมณปุเรชาตอวิคต

      ๖. นามรูปเป็นปัจจัยแก่นาม ๒ ปัจจัย คือ อารัมมณาธิปติ อารัมมนูปนิสสย

      ๗. นามรูปเป็นปัจจัยแก่นามรูป ๖ ปัจจัย คือ สหชาต อัญญมัญญ สหชาตนิสสย สหชาตวิปปยุตต สหชาตัตถิ สหชาตอวิคต

      ๘. บัญญัติ นามรูป เป็นปัจจัยแก่นาม ๒ ปัจจัย คือ อารัมมณ ปกตูปนิสสย


***แสดงปัจจัยตามกาล

      ๑. ปัจจัยที่จัดเป็นปัจจุบันกาล ๔๐ ปัจจัย คือ เหตุ สหชาตาธิปติ วัตถารัมมณปุเรชาตาธิปติ สหชาต อัญญมัญญ สหชาตนิสสย วัตถุปุเรชาตนิสสย วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสย วัตถุปุเรชาต อารัมมณปุเรชาต วัตถารัมมณปุเรชาต ปัจฉาชาต สหชาตกัมม วิปาก นามอาหาร รูปอาหาร ปูเรชาตินทริย รูปชีวิตินทริย สหชาตินทริย ฌาน มัคค สัมปยุตต สหชาตวิปปยุตต วัตถุปุเรชาตวิปปยุตต วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตต ปัจฉาชาตวิปปยุตต อัตถิปัจจัย ๗ ปัจจัย อวิคตปัจจัย ๗ ปัจจัย

      ๒. ปัจจัยที่เป็นอดีตกาลมี ๘ ปัจจัย คือ อนันตร สมนันตร อนันตรูปนิสสย อาเสวน อนันตรกัมม นานักขณิกกัมม นัตถิ วิคต

      ๓. ปัจจัยที่เป็นทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต มี ๒ ปัจจัย คือ อารัมมณาธิปติ และ อารัมมนูปนิสสย

      ๔. ปัจจัยที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต และกาลวิมุติ มี ๒ ปัจจัย คือ อารัมมณปัจจัย และปกตูปนิสสยปัจจัย


***สรุปอำนาจของปัจจัย

      ๑. ปัจจัยที่เป็นชนกสัตติ มี ๙ ปัจจัย คือ อนันตร สมนันตร อนันตรูปนิสสย ปกตูปนิสสย นานักขณิกกัมม อนันตรกัมม อาเสวน นัตถิ วิคต

      ๒. ปัจจัยที่เป็นอุปถัมภกสัตติ มี ๔ ปัจจัย คือ ปัจฉาชาตปัจฉาชาตวิปปยุตต ปัจฉาชาตัตถิ ปัจฉาชาตอวิคต

      ๓. ปัจจัยที่เป็นอนุบาลกสัตติ มี ๓ ปัจจัย คือ รูปชีวิตินทรีย์ อินทริยัตถิ และ อินทริยอวิคต

      ๔. ปัจจัยที่เป็นทั้งชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ มี ๓๖ ปัจจัย เว้นปัจจัยที่กล่าว มาแล้ว ๑๖ ปัจจัย

      อนึ่ง สำหรับรูปอาหารปัจจัย อาหารัตถิ และอาหารอวิคต ๓ ปัจจัยนี้ ในอรรถกถาปัญจปกรณ์ บาลีหน้า ๕๐๔ ใช้ว่า ชนกสัตติ และอนุปาลกสัตติ


***สรุปปัจจัยตามภูมิ

      ๑. ปัจจัยที่เป็นไปได้ในปัญจโวการภูมิ มีครบทั้ง ๒๔ หรือ ๕๒ ปัจจัย

      ๒. ปัจจัยที่เป็นไปได้ในจตุโวการภูมิ มี ๒๖ ปัจจัย คือ เหตุ อารัมมณ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ อนันตร สมนันตร สหชาต อัญญมัญญู สหชาดนิสสย อุปนิสสย ๓ ปัจจัย อาเสวน กัมมปัจจัย ๓ ปัจจัย วิปาก นามอาหาร นามอินทรีย์ ฌาน มัคค สัมปยุตต สหชาตัตถิ นัตถิ วิคต สหชาตอวิคต

      ๓. ปัจจัยที่เป็นไปได้ในเอกโวการภูมิมี ๙ ปัจจัย คือ สหชาต อัญญมัญญ สหชาตินิสสย นานักขณิกกัมม รูปชีวิตินทรีย์ สหชาตัตถิ อินทริยัตถิ สหชาตอวิคต อินทรียอวิคต


***สรุปปัจจัยในสังขยาวาระ ๑๓ วาระในอนุโลมนัย

      ในอนุโลมนัยมีสังขยาวาระอย่างมาก ๑๓ วาระ อย่างน้อย ๑ วาระ ในจำนวน ๑๓ วาระนี้ แต่ละวาระมีปัจจัยสงเคราะห์มากน้อยต่างกันดังแสดงมาแล้ว เพื่อความชัดเจนจะขอ สรุปปัจจัยทั้งหมดที่รวมลงในวาระแต่ละวาระดังนี้

      ๑. กุ - กุ เกิดได้ด้วยอำนาจของปัจจัย ๒๓ ปัจจัย

คือ เหตุ อารัมมณ สหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ อนันตร สมนันตร สหชาต อัญญมัญญู สหชาตนิสสย อารัมมนูปนิสสย อนันตรูปนิสสย ปกตูปนิสสย อาเสวน สหชาตกัมม นามอาหาร สหชาตินทรีย์ ฌาน มัคค สัมปยุตต สหชาตัตถิ นัตถิ วิคต สหชาตอวิคต ไม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของปัจจัยที่เหลือ

      ๒. กุ - อกุ เกิดได้ด้วยอำนาจของปัจจัย ๔ ปัจจัย

คือ อารัมมณ อารัมมณาธิปติ อารัมมนูปนิสสย และปกตูปนิสสย ไม่เกิดขึ้นด้วย อำนาจของปัจจัยที่เหลือ

      ๓. กุ - อัพ เกิดได้ด้วยอำนาจของปัจจัย ๒๗ ปัจจัย

คือ เหตุ อารัมมณ สหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ อนันตร สมนันตร สหชาต สหชาตนิสสย อารัมมนูปนิสสย อนันตรูปนิสสย ปกตูปนิสสย ปัจฉาชาต สหชาติกัมม นานักขณิกกัมม อนันตรกัมม นามอาหาร สหชาตินทรีย์ ฌาน มัคค สหชาตวิปปยุตต ปัจฉาชาตวิปปยุตต สหชาตัตถิ ปัจฉาชาตตถิ นัตถิ วิคต สหชาตอวิคต ปัจฉาชาตอวิคต ไม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของปัจจัยที่เหลือ

      ๔. กุ - กุ. อัพ เกิดได้ด้วยอำนาจของปัจจัย ๑๑ ปัจจัย

คือ เหตุ สหชาตาธิปติ สหชาต สหชาตินิสสัย สหชาติกัมม นามอาหาร สหชาตินทรีย์ ฌาน มัคค สหชาตัตถิ สหชาตอวิคต ไม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของปัจจัยที่เหลือ

      ๕. อกุ - อกุ เกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจของปัจจัย ๒๓ ปัจจัย เช่นเดียวกับ กุ - กุ

      ๖. อกุ - กุ เกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจของปัจจัย ๒ ปัจจัย คือ อารัมมณ และปกตูปนิสสย

      ๗. อกุ - อัพ เกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจของปัจจัย ๒๔ ปัจจัย

คือ เหตุ อารัมมณ สหชาตาธิปติ อนันตร สมนันตร สหชาต สหชาตนิสสย อนันตรูปนิสสย ปกตูปนิสสย ปัจฉาชาต สหชาตกัมม นานักขณิกกัมม นามอาหาร สหชาตินทรีย์ ฌาน มัค สหชาตวิปปยุตต ปัจฉาชาตวิปปยุตต สหชาต ปัจฉาชาต นัตถิ วิคต สหชาตอวิคต ปัจฉาชาตอวิคต

      ๘. อกุ - อกุ.อัพ เกิดได้ด้วยอำนาจของปัจจัย ๑๑ ปัจจัย เหมือนกับ กุ - กุ.

      ๙. อัพ อัพ - อัพ เกิดได้ด้วยอำนาจของปัจจัย ๔๙ ปัจจัย คือ- 

      เหตุ อารัมมณ สหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ อนันตร สมนันตร สหชาต อัญญมัญญ สหชาตนิสสย วัตถุปุเรชาตนิสสย วัตถารัมมณปุเรชาตินิสสย อารัมมนูปนิสสย อนันตรูปนิสสย ปกตูปนิสสย อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต วัตถารัมมณปุเรชาต ปัจฉาชาต อาเสวน สหชาตกัมม วิปาก นามอาหาร รูปอาหาร รูปชีวิตินทรีย์ สหชาตินทรีย์ วัตถุปุเรชาตินทรีย์ ฌาน มัค สัมปยุตต สหชาตวิปปยุตต วัตถุปุเรชาตวิปปยุตต ปัจฉาชาตวิปปยุตต วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตต สหชาตัตถิ วัตถุปเรชาตัตถิ อารัมมณปุเรชาตัตถิ ปัจฉาชาตัตถิ อาหารัตถิ อินทริยัตถิ วัตถารัมมณปุเรชาตัตถิ นัตถิ วิคต สหชาตอวิคต วัตถุปเรชาตอวิคต อารัมมณปุเรชาตัตถิ ปัจฉาชาตอวิคต อาหารอวิคต อินทริยอวิคต วัตถารัมมณปุเรชาตอวิคต ไม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ คือ วัตถารัมมณปุเรชาตาธิปติ นานักขณิกกัมม และอนันตรกัมม

      ๑๐. อัพ - กุ เกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจของปัจจัย ๒๒ ปัจจัย คือ อารัมมณ อารัมมณาธิปติ อนันตร สมนันตร วัตถุปุเรชาตนิสสย วัตถารัมมณ ปุเรชาตินิสสย อารัมมนูปนิสสย อนันตรูปนิสสย ปกตูปนิสสย อารัมมณปุเรชาต วัตถุปเรชาต วัตถารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาตวิปปยุตต วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตต วัตถุปุเรชาตัตถิ อารัมมณปุเรชาตัตถิ วัตถารัมมณปุเรชาตัตถิ นัตถิ วิคต วัตถุปุเรชาตอวิคต อารัมมณปุเรชาตอวิคต วัตถารัมมณปุเรชาตอวิคต ไม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ ๓๐

      ๑๑. อัพ - อกุ เกิดขึ้นด้วยอำนาจของปัจจัย ๒๒ ปัจจัย เช่นเดียวกับ อัพ - กุ

      ๑๒. กุ - อัพ.กุ วาระนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจของปัจจัย ๒ ปัจจัยร่วมกัน ที่เรียกว่า มิสสกวาระ ด้วยอำนาจของนิสสย อัตถิ อวิคต คือ ด้วยอำนาจของสหชาตนิสสยปัจจัย และ วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัยคู่หนึ่ง ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิร่วมกับวัตถุปุเรชาตัตถิคู่หนึ่ง ด้วย อำนาจของสหชาตอวิคต ร่วมกับ วัตถุปุเรชาตอวิคตอีกคู่หนึ่ง รวม ๓ คู่ ไม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ ของปัจจัยนอกนี้

      ๑๓. อกุ - อัพ.อกุ วาระนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจของปัจจัย ๒ ปัจจัยร่วมกัน รวม ๓ คู่ เช่นเดียวกับใน กุ - อัพ.กุ ไม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปัจจัยนอกนี้


***ความหมายของปัจจัยตามนัยอรรถกถา

      ๑. เหตุ จ โส ปจฺจโย จาติ เหตุปัจจโย ฯ 

          เหตุนั้นแหละเป็นปัจจัย จึงชื่อว่า เหตุปัจจัย

      ๒. อารมฺมณภาเวน อุปการโก ธมฺโม อารมฺมณปจฺจโยฯ 

          ธรรมที่ช่วยอุปการะ (อุดหนุนกัน ) โดยความเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อารัมมณปัจจัย

      ๓. เชฏฺฐกฏฺเฐน อุปการโก ธมโม อธิปติปจฺจโย ฯ ธรรมที่อุปการะ (อุดหนุนกัน ) โดยความเป็นใหญ่ ชื่อว่า อธิปติปัจจัย

      ๔. อนนฺตรภาเวน อุปการโก ธมฺโม อนนฺตรปจฺจโยฯ สมนนฺตรภาเวน อุปการโก ธมฺโม สมนนฺตรปจฺจโย ฯ 

          ธรรมที่อุปการะกัน (อุดหนุนกัน) โดยความไม่มีระหว่างคั่น ชื่อว่า อนันตรปัจจัย ธรรมที่อุปการะกัน (อุดหนุนกัน) โดยความไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี ชื่อว่า สมนันตรปัจจัย

      ๕. อุปฺปชฺชมาโน สห อุปฺปาทนภาเวน อุปการโก ธมโม สหชาตปจฺจโย ปภาสสฺส ปทีโป วิย ฯ

          ธรรมที่อุปการะกัน (อุดหนุนกัน) โดยความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เรียกว่า สหชาตปัจจัย เหมือนประทีปโคมไฟเป็นปัจจัยแก่แสงสว่าง ฉะนั้น

      ๖. อญฺญมญฺญํ อุปาทนูปตฺถมฺภนภาเวน อุปการโก ธมฺโม อญฺญมญฺญปจฺฺจโย อญฺญมญฺปตฺถมฺภกํ ติทณฺฑํวิย ฯ 

          ธรรมที่อุปการะกัน (อุดหนุนกัน ) โดยความอุปถัมภ์ซึ่งกันและกันให้เกิดขึ้น ชื่อว่า อัญญมัญญปัจจัย ดุจไม้ ๓ อัน อุปถัมภ์ซึ่งกันและกันจึงตั้งอยู่ได้

      ๗. อธิฏฺฐานากาเรน นิสฺสยากาเรน จ อุปการโก ธมฺโม นิสฺสยปจฺจโย ตรุจิตฺตกมฺมาทีนํ ปฐวีปฏาทโย วิย ฯ 

          ธรรมที่อุปการะกัน (อุดหนุนกัน) โดยอาการตั้งมั่นประการหนึ่ง โดยการอิงอาศัยกัน ประการหนึ่ง ชื่อว่า นิสสยปัจจัย เหมือนแผ่นดินและแผ่นผ้าเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่ต้นไม้และ จิตรกรรม คือ ภาพวาดเขียนเป็นต้น

      ๘. ยถา ปน ภูโส อายาโส อุปายาโส เอวํ ภูโส นิสสโย อุปนิสสโย ฯ พลวการณสฺเสตํ อธิวจนํฯ ตสฺมา พลวการณภาเวน อุปการโก ธมฺโม อุปนิสฺสยปจฺจโยติ เวทิตพฺโพ ฯ

          แปลว่า เหมือนอย่างว่า ธรรมใดอันเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้ามีอยู่ฉันใด ธรรมที่ชื่อว่า อุปนิสสยปัจจัย ก็ฉันนั้น คำว่า อุปนิสสยะนี้เป็นชื่อของปัจจัยที่มีกำลังมาก เพราะฉะนั้น ธรรมที่อุปการะกันโดยความเป็นปัจจัยที่มีกำลังมาก บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัย

      ๙. อิติ อตฺตโน อตฺตโน อนนฺตรํ อนุรูปจิตตุปฺปาทวเสน อนนฺตรปจฺจโย พลวการณวเสน อนนฺตรูปนิสฺสโยติ เอวเมเตสํ นานตฺตํ เวทิตพฺพํฯ

          แปลว่า อนันตรปัจจัย ย่อมเกิดด้วยความสามารถแห่งอันยังจิตตุปบาทอันสมควรให้เกิดขึ้นในลำดับของตนๆ อนันตรูปนิสสยปัจจัย ย่อมเกิดด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่มีกำลังมาก เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งปัจจัยทั้ง ๒ เหล่านั้น อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้

      ๑๐. ปกตูปนิสฺสโย ปน ปกโต อุปนิสสโย ปกตูปนิสสโย ฯ ปกโต นาม อตฺตโน สนุตาเน นิปผาทิโต วา สทฺธาสีลาทิ อุปเสวิโต วา อุตุโภชนาทิ ฯ ปกติยาเยว วา อุปนิสฺสโย ปกตูปนิสฺสโย ฯ อารมฺณานนฺตเรหิ อสมฺมิสฺโสติ อตฺโถ ฯ

          แปลว่า ปกตูปนิสสยะได้แก่เหตุธรรมอันเป็นที่อาศัยที่มีกำลังอย่างแรงกล้า ที่ได้ทำมา เสร็จแล้ว ชื่อว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย ศรัทธา และศีลเป็นต้น ที่ตนให้สำเร็จแล้วในสันดานของตน หรือว่า อุตุและโภชนะเป็นต้น ที่ตนเข้าไปเสพแล้ว ชื่อว่า ปกตะ อีกอย่างหนึ่ง อุปนิสสัยตามปกติของตนเท่านั้น ชื่อว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย อธิบายว่า ปกตูปนิสสยปัจจัยนี้ เป็นปัจจัยที่ไม่เจือด้วย อารัมมณปัจจัย และอนันตรปัจจัย

      ๑๑. ปฐมตรํ อุปฺปชฺชิตฺวา วตฺตมานภาเวน อุปการโก ธมฺโม ปุเรชาตปจฺจโย ฯ 

           แปลว่าธรรมที่อุปการะกัน โดยความเกิดขึ้นก่อนแล้วเป็นไป ชื่อว่า ปุเรชาตปัจจัย

      ๑๒. ปุเรชาตานํ รูปธมฺมานํ อุปตฺถมฺภกฏฺเฐน อุปการโก อรูปธมฺโม ปจฉาชาตปจฺจโย คิชฌโปตกสรีรานํ อาหาราสาเจตนา วิย ฯ

           แปลว่า นามธรรมที่อุปการะแก่รูปธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ชื่อว่า ปัจฉาชาตปัจจัย เพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ให้การอุปถัมภ์ ดุจเจตนาของลูกนกแร้งที่หวังในอาหารเป็นปัจจัยแก่ สรีระของลูกนกแร้งฉะนั้น

      ๑๓. อาเสวนฏฺเฐน อนนฺตรานํ ปคุณพลวภาวาย อุปการโก ธมฺโม อาเสวนปจฺจโย คนฺถาทีสุ ปุริมปริมาภิโยโค วิย ฯ

           แปลว่า ธรรมที่อุปการะกันโดยความที่อนันตรปัจจัยทั้งหลาย เป็นสภาพมีกำลังมาก เพราะอรรถว่าเสพบ่อยๆ ชื่อว่า อาเสวนปัจจัย เปรียบเหมือนบุคคลผู้ใคร่ในการศึกษา ใคร่ครวญวิชาความรู้ที่เกิดก่อนๆ ในที่ทั้งหลายมีในคัมภีร์เป็นต้น

      ๑๔. จิตฺตปฺปโยคสงฺขาเตน กิริยาภาเวน อุปการโก ธมฺโม กมุมปจฺจโย ฯ

           แปลว่า ธรรมที่อุปการะกันโดยเป็นภาวะแห่งการกระทำอันนับเนื่องในจิตตปโยคะ คือ การประกอบกับจิต ชื่อว่า กัมมปัจจัย

      ๑๕. นิรุสฺสาหสนฺตภาเวน นิรุสฺสาหสนตภาวาย อุปการโก วิปากธมฺโม วิปากปจฺจโย ฯ

           แปลว่า ธรรมที่เป็นวิปากอุปการะกันโดยความเป็นธรรมที่ไม่มีความอุตสาหะ และเป็นธรรมที่สงบแล้วแก่ธรรมที่ไม่มีความอุตสาหะ และเป็นธรรมอันสงบแล้ว ชื่อว่า วิปากปัจจัย

      ๑๖. รูปารูปานํ อุปตฺถมฺภกฏฺเฐน อุปการกา จตฺตาโร อาหารา อาหารปจฺจโย ฯ 

           แปลว่า อาหาร ๔ เป็นธรรมอุปการะ ด้วยอรรถว่าเป็นธรรมอุปถัมภ์แก่รูปธรรมและ นามธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า อาหารปัจจัย

      ๑๗. อธิปตฺยฏฺเฐน อุปการกา อิตฺถินฺทฺริยปุริสินทฺริยวชฺชา วีสตินฺทฺริยา อินฺทฺริยปจฺจโย ฯ

           แปลว่า อินทรีย์ ๒๐ ยกเว้นอิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์เสีย เป็นธรรมอุปการะ ด้วย อรรถว่าเป็นใหญ่ คือ เป็นธรรมปกครอง ชื่อว่า อินทรียปัจจัย

      ๑๘. อุปนิชฺฌายนฏฺเฐน อุปการกานิ ฐเปตฺวา ทฺวิปญฺจวิญญาเณสุ กายิกสุขทุกฺขเวทนาทฺวยํ สพฺพานิปิ กุสลาทิเภทานิ สตฺต ฌานงฺคานิ ฌานปจฺจโย ฯ

          แปลว่า ยกเว้นหมวด ๒ แห่งสุขทุกข์ของเวทนาอันเป็นไปทางกายในทวิปัญจวิญญาณทั้งหลายแล้ว องค์ฌาน ๗ อันต่างด้วยกุศลเป็นต้น แม้ทั้งปวง เป็นธรรมอุปการะ ด้วยอรรถ ว่าเข้าไปเพ่งซึ่งอารมณ์ ชื่อว่า ฌานปัจจัย

      ๑๙. ยโต ตโต วา นิยฺยานฏฺเฐน อุปการกานิ กุสลาทิเภทานิ ทฺวาทส มคฺคงฺคานิ มคฺคปจจโยฯ

          แปลว่า องค์แห่งมรรค ๑๒ อันต่างด้วยกุศลเป็นต้น เป็นธรรมอุปการะ ด้วยอรรถว่า การนำออกไปจากที่ใด หรือว่าจากที่นั้น ชื่อว่า มัคคปัจจัย

      ๒๐. เอกวตฺถุเอการมฺมณเอกุปฺปาเทกนิโรธสงฺขาเตน สมฺปยุตฺตภาเวน อุปการกา อรูปธมฺมา สมฺปยุตฺตปจฺจโย ฯ

           แปลว่า อรูปธรรมที่อุปการะกัน กล่าวคือ มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันและเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน ชื่อว่า สัมปยุตตปัจจัย

      ๒๑. เอกวตฺถุกาทิภาเวนุปคเมน อุปการกา รูปิโน ธมฺมา อรูปีนํ อรูปิโนปิ รูปีนํ วิปฺปยุตฺตปจฺจโย ฯ

           แปลว่า รูปธรรมทั้งหลายที่อุปการะแก่อรูปธรรมทั้งหลาย โดยความไม่เข้าถึงความเป็นแห่งธรรมที่มีวัตถุเดียวกันเป็นต้นก็ดี อรูปธรรมทั้งหลายที่อุปการะแก่รูปธรรมทั้งหลาย โดยการไม่เข้าถึงซึ่งความเป็นแห่งธรรมที่มีวัตถุเดียวกันเป็นต้นก็ดี ชื่อว่า วิปปยุตตปัจจัย

      ๒๒. ปจฺจุปฺปนฺนลกฺขเณน อตฺถิภาเวน ตาทิสสฺเสว ธมฺมสฺส อุปตฺถมฺภกฏฺเฐน อุปการโก ธมฺโม อตฺถิปจฺจโย ฯ

           แปลว่า ธรรมที่อุปการโดยอรรถว่าอุปถัมภ์แก่ธรรมที่มีสภาพเช่นเดียวกันนั่นแหละ โดยลักษณะที่กังลังเกิดขึ้นเฉพาะหน้าอันเป็นสภาพที่มีอยู่ ชื่อว่า อัตถิปัจจัย

      ๒๓. อตฺตโน อนนฺตรํ อุปฺปชฺมานานํ ปวตฺติโอกาสทาเนน อุปการกา สมนนฺตรนิรุทธา อรูปธมฺมา นตฺถิปจฺจโย ฯ

           แปลว่า อรูปธรรมทั้งหลายที่ดับไปแล้วในระหว่าง เป็นธรรมอุปการะโดยการให้โอกาสความเป็นไปแก่รูปธรรมทั้งหลายที่เกิดในลำดับของตน ชื่อว่า นัตถิปัจจัย

      ๒๔. เต เอว วิคตภาเวน อุปการกตฺตา วิคตปจฺจโย ฯ

           แปลว่า สภาพธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ เป็นธรรมอุปการะโดยความเป็นธรรมที่ปราศจากไปแล้ว ชื่อว่า วิคตปัจจัย

      ๒๕. อตฺถิปจฺจยธมฺมา เอว อวิคตภาเวน อุปการกตฺตา อวิคตปจฺจโยติ เวทิตพฺพา ฯ เทสนาวิลาเสน ปน ตถา วิเนตพฺพเวเนยฺยวเสน วา อยํ ทุโก วุตฺโต สเหตุกทุกํ วตฺวาปิ เหตุสมฺปยุตฺตทุกาทโย วิยาติ ฯ

           แปลว่า ธรรม คือ อัตถิปัจจัยนั่นเทียว เป็นธรรมอุปการะโดยความเป็นธรรมที่ยังไม่ปราศจากไป บัณฑิตพึงทราบว่าเป็น อวิคตปัจจัย 

           อนึ่งทุกะปัจจัย คือ ปัจจัย ๒ ปัจจัย (อัตถิ อวิคต) นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยเทศนาวิลาส คือ ให้เทศนานั้นวิจิตรพิศดารยิ่งขึ้น หรือเทศนาด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ที่พระองค์พึงแนะนำได้โดยประการนั้น ดุจเหตุสัมปยุตตทุกะเป็นต้น ซึ่งความหมายเหล่านี้มีแสดงไว้ในอุทเทสวาระ ในอรรถกถาปัญจปกรณ์บาลี หน้า ๔๕๕-๔๖๗ ท่านที่สนใจความละเอียดลึกซึ้งพึงเข้าไปศึกษาดูเถิด


--------///-------


[full-post]

อภิธรรม,มหาปัฏฐาน,ปัจจัย๒๔,Bhasadhamma,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.