สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ

๔ จตุตถสุตตันตนิทเทส

   จตุตถสุตตันตนิทเทสอธิบายพระสูตรที่ ๔ ที่ท่านนำมาแสดงไว้เป็นอุทเทส 

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

            อุทเทส

   ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

   ๑. สัทธินทรีย์ 

   ๒. วิริยินทรีย์

   ๓. สตินทรีย์ 

   ๔. สมาธินทรีย์

   ๕. ปัญญินทรีย์

(สํ.ม. ๑๙/๔๗๑/๑๖๙)

                 นิทเทส

   ท่านตั้งคำปุจฉาว่า “อินทรีย์ ๕ ประการนี้ พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร เพราะมี สภาวะอย่างไร” แล้ววิสัชนาว่า พึงเห็นด้วยอาการ ๖ ประการ เพราะมีสภาวะ อย่างนี้ คือ (๑) เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ (๒) เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นให้หมดจด (๓) เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่ง (๔) เพราะมีสภาวะตั้งมั่น (๕) เพราะมีสภาวะทำให้สิ้นไป (๖) เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่

   ลำดับต่อไป ท่านนำคำวิสัชนา ๖ ประการมาตั้งเป็นนิทเทส รวม ๖ นิทเทส ดังนี้    

   ๔.๑ อาธิปไตยยัฎฐนิทเทส

   อาธิปไตยยัฎฐนิทเทส

อธิบายสภาวะที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ โดยวิธีปุจฉาและ วิสัชนา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

   คำปุจฉาว่า “พึ่งเห็นอินทรีย์ทั้งหลายเพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ อย่างไร” ท่าน วิสัชนาความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์โดยแบ่งเป็น ๒ ตอน ดังนี้ 

   ตอนที่ ๑

   ท่านนำอินทรีย์ ๕ ประการมาหมุนสลับกันเป็นใหญ่ รวม ๕ รอบ รอบละ ๕ ประการ เพื่อจำแนกความเป็นใหญ่ของอินทรีย์แต่ละประการ รวม ๒๕ ประการ เช่น พึงเห็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อของบุคคลผู้ละความไม่มีศรัทธา ด้วยอํานาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น จึงเห็นสมาธินทรีย์เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน จึงเห็นปัญญินทรีย์เพราะมีสภาวะเห็น

   ตอนที่ ๒

   ท่านนำอินทรีย์ ๕ มาหมุนด้วยธรรมแต่ละคู่ในธรรมที่เป็นคู่ตรงกันข้าม ๓๗ คู่ (หมวดภาวนาที่ ๕ ในสุตมยญาณที่ ๔ แห่งญาณกถา) คู่ละ ๕ รอบ รอบละ ๕ ประการ รวม ๒๕ ประการ โดยให้อินทรีย์แต่ละอินทรีย์สลับกันเป็นใหญ่ในแต่ละรอบ เมื่อหมุน ไปครบ ๓๗ คู่ จึงได้ ๑๘๕ รอบ เมื่อนำ ๑๘๕ รอบไปคูณด้วย ๕ จึงได้ ๙๒๕ ประการ (๓๗ X ๕ = ๑๘๕ X ๕ = ๙๒๕) เช่น

      รอบที ๑

   พึงเห็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อ ด้วยอำนาจแห่ง เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน จึงเห็นปัญญินทรีย์เพราะมีสภาวะเห็น

   ๔.๒ อาทิวิโสธนัฏฐนิทเทส

   อาทิวิโสธนัฏฐนิทเทสอธิบายสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ โดยวิธีปุจฉาและวิสัชนา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

   คำปุจฉาว่า “พึงเห็นอินทรีย์ทั้งหลายเพราะมีสภาวะชำระศีลที่เป็นส่วนเบื้องต้นอย่างไร” ท่านวิสัชนาโดยแบ่งเป็น ๒ ตอน คือ

   ตอนที่ ๑ มี ๕ ประการตามจำนวนอินทรีย์ เช่น ชื่อว่าสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสีลวิสุทธิเพราะมีสภาวะระวังความไม่มีศรัทธา เป็นเครื่อง ชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งสัทธินทรีย์

   ตอนที่ ๒ มี ๓๗ ประการ (ดูธรรมที่เป็นคู่ตรงกันข้าม ๓๗ คู่ ในหมวดภาวนา ที่ ๕ แห่งสุตมยญาณที่ ๔ ญาณกถา) เช่น อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังกามฉันทะ เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ 

      ๔.๓ อธิมัตตัฏฐนิทเทส

   อธิมัตตัฎฐนิทเทสอธิสภาวะมีประมาณยิ่งแห่งอินทรีย์ โดยวิธีปุจฉาและ วิสัชนา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

   คำปุจฉาว่า “พึงเห็นอินทรีย์ทั้งหลายเพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่งอย่างไร” ท่านวิสัชนาว่า

   ๑. เพราะเจริญสัทธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะ จึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปามุชชะ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมี ประมาณยิ่ง

   ๒. ด้วยอำนาจปามุซซะ ปีติจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปีติ ด้วยอำนาจศรัทธา...

      ๓. ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ด้วยอำนาจ ศรัทธา...

   ๔. ด้วยอำนาจปัสสัทธิ สุขจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจสุข ด้วยอำนาจ ศรัทธา...

   ๕. ด้วยอำนาจสุข โอภาสจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจโอภาส ด้วยอำนาจ ศรัทธา...

   ๖. ด้วยอำนาจโอภาส สังเวชจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจสังเวช ด้วยอำนาจ ศรัทธา...

   ๗. จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจความตั้งมั่น ด้วยอำนาจ ศรัทธา...

   ๘. จิตตั้งมั่นแล้วย่อมประคองไว้ด้วยดี ด้วยการประคองไว้ ด้วยอำนาจ ศรัทธา...

   ๙. จิตที่ประคองไว้ย่อมเพ่งเฉย (อุเบกขา) ด้วยดี ด้วยอุเบกขา ด้วยอ้านาจศรัทธา...

   ๑๐. ด้วยอำนาจอุเบกขา จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสที่มีสภาวะต่าง ๆ ด้วยความหลุดพ้น ด้วยอำนาจศรัทธา...

   ๑๑. เพราะจิตหลุดพ้น ธรรมเหล่านั้นจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะมี ความหมายว่า ธรรมทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจภาวนา ด้วยอำนาจศรัทธา...

   ๑๒. เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงหลีกออกจากธรรมเหล่านั้นไปสู่ธรรมที่ประณีตกว่า ด้วยอำนาจความหลีกออกไป ด้วย อ้านาจศรัทธา...

   ๑๓. เพราะหลีกออกไปแล้ว ฉะนั้น บุคคลจึงสละ ด้วยอำนาจความสละ ด้วยอ้านาจศรัทธา...

   ๑๔. เพราะสละแล้ว ฉะนั้น กิเลสและขันธ์จึงดับ ด้วยอำนาจความดับ ด้วยอ้านาจศรัทธา...

   สรุป ความสละด้วยอำนาจความดับ ๒ ประการ คือ (๑) ความสละด้วยการ บริจาค (๒) ความสละด้วยความแล่นไป

   ั   ชื่อว่าความสละด้วยการบริจาค เพราะสละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความสละด้วย ความแล่นไป เพราะจิตแล่นไปในนิพพานธาตุที่เป็นความดับ

   อินทรีย์อีก ๔ ประการก็มีนัยเดียวกันนี้ ต่างกันแต่องค์ธรรมเท่านั้น 

   ๔.๔ อธิฏฐานัฏฐนิทเทส

   อธิฏฐานัฏฐนิทเทสอธิบายสภาวะตั้งมั่นแห่งอินทรีย์ โดยวิธีปุจฉาและวิสัชนา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

   คำปุจฉาว่า “พึ่งเห็นอินทรีย์ทั้งหลายเพราะมีสภาวะตั้งมั่น อย่างไร” ท่าน วิสัชนาว่า

   เพราะเจริญสัทธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงตั้งมั่น

   ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปามุชชะ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงตั้งมั่น ฯลฯ (มีองค์ธรรมเหมือนในอธิมัตตัฏฐนิทเทส)

   ๔.๕ ปริยาทานัฏฐนิทเทส

   ปริยาทานัฏฐนิทเทสอธิบายสภาวะที่อินทรีย์ทำให้ธรรมฝ่ายตรงกันข้ามสิ้นไป โดยวิธีปุจฉาและวิสัชนา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

   คำปุจฉาว่า “พึงเห็นอินทรีย์ทั้งหลายเพราะมีสภาวะทำให้ธรรมฝ่ายตรงกันข้าม สิ้นไป อย่างไร” ท่านวิสัชนาโดยแบ่งเป็น ๒ ตอน คือ

   ตอนที่ ๑ มี ๕ ประการตามจำนวนอินทรีย์ เช่น เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์จึงทำความไม่มีศรัทธาให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธา ให้สิ้นไป

   ตอนที่ ๒ มี ๓๗ ประการ (ดูธรรมที่เป็นคู่ตรงกันข้าม ๓๗ คู่ในภาวนาหมวด ที่ ๕ แห่งสุตมยญาณที่ ๔) เช่น อินทรีย์ ๕ ประการในเนกขัมมะ ทำกามฉันทะให้ สิ้นไป อินทรีย์ ๕ ประการในพยาบาท ทำอพยาบาทให้สิ้นไป

   ๔.๖ ปติฏฐาปกัฏฐนิทเทส

   ปติฏฐาปกฏฐนิทเทสอธิบายสภาวะที่อินทรีย์ให้ตั้งอยู่ โดยวิธีปุจฉาและวิสัชนา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

      คำปุจฉาว่า “พึงเห็นอินทรีย์ทั้งหลายเพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่ อย่างไร” ท่านวิสัชนาโดยแบ่งเป็น ๒ ตอน คือ

   ตอนที่ ๑ มี ๕ ประการตามจำนวนอินทรีย์ เช่น ผู้มีศรัทธาให้สัทธินทรีย์ ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์ของผู้มีศรัทธาให้ผู้มีศรัทธาตั้งอยู่ในความน้อม ใจเชื่อ

   ตอนที่ ๒ มี ๓๗ ประการ (องค์ธรรมเหมือนในปริยาทานัฏฐนิทเทส) เช่น พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ประการตั้งอยู่ในเนกขัมมะ อินทรีย์ ๕ ประการของพระ โยคาวจรให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในเนกขัมมะ

   ๔.๗ อินทรียสโมธาน

   อินทรียสโมธาน แปลว่า การให้อินทรีย์ประชุมลง หรือการประมวลอินทรีย์ นอกจากการให้อินทรีย์ประชุมลงแล้ว ยังมีการให้ธรรมอีก ๔ หมวดประชุมลง คือ พละ โพชฌงค์ มรรค และธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นเนื้อหาตอนที่ ๓ ในจำนวน ๗ ตอน ที่ท่านนำมาอธิบายโดยวิธีปุจฉาและวิสัชนา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

   ตอนที่ ๑ อธิบายการเจริญสมาธิของบุคคล ๓ จำพวก ดังนี้ 

   คำปุจฉาว่า

   ๑. ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร 

   ๒. พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร .     

   ๓. ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ ๓. ด้วยอาการเท่าไร

   ท่านวิสัชนามีใจความว่า

   ๑. ด้วยอาการ ๗ ประการ

   ๒. ด้วยอาการ ๘ ประการ

   ๓. ด้วยอาการ ๑๐ ประการ

   ลำดับต่อไป ท่านนำคำวิสัชนาแต่ละประการมาอธิบายโดยวิธีปุจฉาและวิสัชนา ตามลำดับดังนี้

   ๑. คำปุจฉาว่า “ปุถุชน เมื่อเจริญสมาธิ ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ด้วย อาการ ๗ ประการ อะไรบ้าง” ท่านวิสัชนามีใจความว่า เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ปุถุชน ึชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งสภาวธรรมแต่ละประการ รวม ๗ ประการ ได้แก่ (๑) อารมณ์ (๒) สมถนิมิต (๓) ปัคคหนิมิต (๔) อวิกเขปะ (๕) โอภาส (๖) ความร่าเริง (๗) อุเบกขา

   ๒. คำปุจฉาว่า “พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ด้วย อาการ ๘ ประการ อะไรบ้าง” ท่านวิสัชนามีใจความว่า เพราะน้อมนึกถึงแล้ว พระเสขะชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งสภาวธรรมแต่ละประการ รวม ๘ ประการ ประการที่ ๑-๗ เหมือนในข้อที่ ๑ ประการที่ ๘ ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว

   ๓. คำปุจฉาว่า “ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง” ท่านวิสัชนามีใจความว่า เพราะน้อมนึกถึงแล้วท่านผู้ปราศจากราคะ ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งสภาวธรรมแต่ละประการ รวม ๑๐ ประการ ประการที่ ๙-๑๐ ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งญาณ และเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต

   ตอนที่ ๒ อธิบายการเจริญวิปัสสนาของบุคคล ๓ จำพวก ดังนี้ 

   คำาปุจฉาว่า

   ๑. ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในการไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร

   ๒. พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในการไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร

   ๓. ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในการไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร

   ท่านวิสัชนามีใจความว่า

   ๑. ด้วยอาการ ๙ ประการ ทั้ง ๒ ประเด็น

   ๒. ด้วยอาการ ๑๐ ประการ ทั้ง ๒ ประเด็น

   ๓. ด้วยอาการ ๑๒ ประการ ทั้ง ๒ ประเด็น

   ลำดับต่อไป ท่านนําคำวิสัชนาแต่ละประการมาอธิบายโดยวิธีปุจฉาและวิสัชนา ตามลำดับดังนี้

   ๑. คำปุจฉาว่า “ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ด้วย อาการ ๙ ประการ อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในการไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ ประการ อะไรบ้าง” ท่านวิสัชนามีใจความว่า ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาด ในการตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ ประการ เป็นผู้ฉลาดในการไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ ประการ จัดเป็น ๙ คู่ ดังนี้

เป็นผู้ฉลาด   เป็นผู้ฉลาด

ในการตั้งไว้  ในการไม่ตั้งไว

๑.โดยความ  โดยความ

    ไม่เที่ยง      เที่ยง

๒.โดยความ  โดยความ

    เป็นทุกข์    เป็นสุข

๓.โดยความ   โดยความ

    เป็นอนัตตา เป็นอัตตา

๔.โดยความ    โดยความ

    สิ้นไป          เป็นก้อน

๕.โดยความ    โดยความ

    เสื่อมไป       ประมวลมา

๖.โดยความ     โดยความ

     เเปรผัน        ยั่งยืน

๗.โดยความ     โดยความ

     อนิมิต          นิมิต

๘.โดยความ     โดยความ

     อปณิหิต      ปณิหิต

๙.โดย              โดย

     สูญญตะ     อภินิเวสะ

    (ความว่าง)  (ความยึด           

                        มั่น)

      ๒. คำปุจฉาว่า “พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ด้วย อาการ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง" เป็นผู้ฉลาดในการไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ จัดเป็น ๑๐ คู่ คู่ที่ ๑-๙ เหมือนข้อที่ ๑ คู่ที่ ๑๐ ได้แก่ ญาณกับสิ่งที่ไม่ใช่ญาณ           

   ๓. คำปุจฉาว่า “ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในการ ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ ประการ อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในการไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ ประการ อะไรบ้าง” ท่านวิสัชนามีใจความว่า ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ ประการ เป็นผู้ฉลาดในการไม่ตั้งไว้ด้วย อาการ ๑๒ ประการ จัดเป็น ๑๒ คู่ คู่ที่ ๑-๑๐ เหมือนในข้อที่ ๒ คู่ที่ ๑๑-๑๒ได้แก่ ความไม่เกี่ยวข้องกับความเกี่ยวข้อง และความดับกับสังขาร

      ตอนที่ ๓

   ท่านสรุปเหมือนคำสรุปในสโตการิญาณนิทเทสว่า เพราะน้อมนึกถึงแล้ว บุคคล ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งอารมณ์รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ให้พละทั้งหลายประชุมลง ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง ... ให้มรรคทั้งหลายประชุมลง ... ให้ธรรมทั้งหลาย ประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์

   ลำดับต่อไป ท่านนำคำสรุปนั้นมาอธิบาย มีใจความแบ่งเป็น ๓ ลำดับดังนี้ 

   ลำดับที่ ๑

   ให้สัทธินทรีย์ประชุมลงเพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ให้วิริยินทรีย์ประชุมลงเพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้สตินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ให้สมาธินทรีย์ประชุมลงเพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ปัญญินทรีย์ประชุมลงเพราะมีสภาวะเห็น

   ลำดับที่ ๒ มี ๓ ประการ คือ

   ๑. ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในการ ตั้งไว้ซึ่งสภาวธรรมต่าง ๆ รวม ๗ ประการ (เหมือนในตอนที่ ๑ ลำดับที่ ๒ ข้อที่ ๑)

   ๒. ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งสภาวธรรมต่าง ๆ รวม ๘ ประการ (เหมือนในตอนที่ ๑     

ลำดับที่ ๒ ข้อที่ ๒)

   ๓. ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งสภาวธรรมต่าง ๆ รวม ๑๐ ประการ (เหมือนในตอนที่ ๑ ลำาดับที่ ๒ ข้อที่ ๓)

   ลำดับที่ ๓ มี ประการ คือ 

   ๑. ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้และการไม่ตั้งไว้โดยสภาวธรรมต่าง ๆ รวม ๑๘ ประการ (เหมือนในตอนที่ ๒ ลำดับที่ ๒ ข้อที่ ๑)

      ๒. ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้และการไม่ตั้งไว้โดยสภาวธรรมต่าง ๆ รวม ๒๐ ประการ (เหมือนในตอนที่ ๒ ลำดับที่ ๒ ข้อที่ ๒)

   ๓. ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้และการไม่ตั้งไว้โดยสภาวธรรมต่าง ๆ รวม ๒๐ ประการ (เหมือนในตอนที่ ๒ ลำดับที่ ๒ ข้อที่ ๓)

   ตอนที่ ๔

   ท่านตั้งบทมาติกาใหม่ว่า “ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ ประการ ชื่อว่าอาสวักขยญาณ” (ดูรายละเอียดในอาสวักขยญาณนิทเทสแห่งญาณกถา)

   ตอนที่ ๕

   ท่านนำพระพุทธพจน์เป็นคาถามาตั้งเป็นบทมาติกา แล้วยกคำว่า สมันตจักขุ มาขยายความเป็นพุทธญาณ ๑๔ ประการ เหมือนในสัพพัญญุตญาณนิทเทสแห่ง ญาณกถา

   ตอนที่ ๖

   ท่านนำคำกริยา ๕ คำ คือ เชื่อ ประคองไว้ ตั้งสติมั่น ตั้งใจมั่น รู้ชัด มาหมุน เป็นคู่ ๆ สลับกันจนครบ ๕ คำ เป็น ๑ รอบ รอบละ ๘ คู่ โดยให้คำกริยาแต่ละคำหมุนกันเป็นใหญ่ในแต่ละรอบตามลำดับรวม ๕ รอบ เช่น

   รอบที่ ๑ ใช้คำว่า “เชื่อ” เป็นหลัก คือ 

   บุคคลเมื่อเชื่อ ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าเชื่อ 

   บุคคลเมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าเชื่อ 

   บุคคลเมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าเชื่อ    

   บุคคลเมื่อเชื่อ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าเชื่อ

   รอบที่ ๒ ใช้คำว่า “ประคองไว้” เป็นหลัก คือ

   บุคคลเมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าประคองไว้ 

   บุคคลเมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าประคองไว้

      บุคคลเมื่อประคองไว้ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าประคองไว้ 

   บุคคลเมื่อประคองไว้ ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าประคองไว้ 

   ลำดับต่อไป ท่านนำคำกริยาทั้ง ๕ คำนั้นมาขยายความเป็นเหตุเป็นผลของกัน และกัน เป็นคู่ ๆ หมุนสลับกันไปจนครบ ๕ คำ รวม ๕ รอบ เหมือนข้างต้น เช่น    

   รอบที่ ๑ ใช้คำว่า “เชื่อ” เป็นหลัก คือ

   เพราะความเป็นผู้เชื่อ จึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้ จึงเชื่อ 

   เพราะความเป็นผู้เชื่อ จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น จึงเชื่อ 

   เพราะความเป็นผู้เชื่อ จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น จึงเชื่อ 

   เพราะความเป็นผู้เชื่อ จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัด จึงเชื่อ 

   ตอนที่ ๗

   ท่านวางบทมาติกาว่า พุทธจักขุชื่อว่าพุทธญาณ พุทธญาณชื่อว่าพุทธจักขุ เป็นเครื่องให้พระตถาคตทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักขุน้อย ฯลฯ (เหมือนในอินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส)

   จากนั้น ท่านนำคำในบทมาติกานั้นมาขยายความเป็นคู่ตรงกันข้าม คือ ฝ่ายดี กับฝ่ายไม่ดี รวม ๕ คู่ (เหมือนในอินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทสแห่งญาณกถา)


[full-post]

ปกิณกธรรม,จตุตถสุตตันตนิเทส, พระสูตร,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.