ทองย้อย แสงสินชัย

#บาลีวันละคำ (4,319)


มูล ไม่ใช่ มูน

และ มูน ก็ไม่ใช่ มูล

“มูล” เป็นคำบาลี

“มูน” เป็นคำไทย

“มูล” บาลีอ่านว่า มู-ละ รากศัพท์มาจาก มูลฺ (ธาตุ = ตั้งอยู่, งอกขึ้น) + อ (อะ) ปัจจัย

: มูลฺ + อ = มูล แปลตามศัพท์ว่า “ที่ตั้ง” “ที่งอกขึ้น” 

“มูล” (นปุงสกลิงค์) ในภาษาลีมีความหมายหลายหลาก ดังนี้ -

(1) รากไม้ (root)

(2) โคน, ก้น (foot, bottom)

(3) หลักฐาน, เหตุผล, สาเหตุ, เงื่อนไข (ground for, reason, cause, condition)

(4) กำเนิด, บ่อเกิด, พื้นฐาน, รากฐาน (origin, source, foundation, root)

(5) ปฐม, เริ่มแรก, ฐาน, เค้าความเดิม, เรื่องเดิม (beginning, base)

(6) แก่นสาร, มูลฐาน, ค่า, เงิน, ต้นทุน, ราคา, สินจ้าง (substance, foundation, worth, money, capital, price, remuneration)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “มูล” ไว้ 4 คำ บอกไว้ดังนี้ -

(1) มูล ๑, มูล- : (คำนาม) โคน เช่น รุกขมูล; ราก, รากเหง้า, เช่น มีโทสะเป็นมูล, เค้า เช่น คดีมีมูล, ต้น เช่น ชั้นมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).

(2) มูล ๒, มูล- : (คำวิเศษณ์) มวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น จัดข้าวของไว้ให้โดยพร้อมมูล เตรียมเอกสารหลักฐานไว้ให้พร้อมมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).

(3) มูล ๓ : (คำนาม) อุจจาระสัตว์, ขี้หรือเศษของสิ่งต่าง ๆ เช่น มูลไถ = ขี้ไถ.

(4) มูล ๔, มูละ, มูลา ๑ : (คำนาม) ดาวฤกษ์ที่ ๑๙ มี ๙ ดวง เห็นเป็นรูปสะดือนาค, ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว ก็เรียก.

ส่วน “มูน” ที่เป็นคำไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ 2 คำ

แถม :

มีคำถามว่า ข้าวเหนียวมู- หรือ มู-ข้าวเหนียว ใช้ “มูล” หรือ “มูน”?

คำตอบอยู่ในพจนานุกรม

“มูล” เปิดพจนานุกรมให้ดูแล้วข้างต้น 

ส่วน “มูน” เป็นคำไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า - 

(1) มูน ๑ : (คำนาม) เนิน, โคก, จอม, เช่น มูนดิน. (คำกริยา) พอกพูน, พูนขึ้น, มักใช้ว่า เกิดมูนพูนผล. (คำวิเศษณ์) มาก, มักใช้เข้าคู่กันเป็น มากมูน.

(2) มูน ๒ : (คำกริยา) เอากะทิเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้มัน.

..............

ข้าวเหนียวมูน หรือ มูนข้าวเหนียว ใช้ มูน น หนู สะกด 

ไม่ใช่ “มูล” ล ลิง

..............

ทองย้อย แสงสินชัย

#บาลีวันละคำ (4,319)


มูล ไม่ใช่ มูน

และ มูน ก็ไม่ใช่ มูล

“มูล” เป็นคำบาลี

“มูน” เป็นคำไทย

“มูล” บาลีอ่านว่า มู-ละ รากศัพท์มาจาก มูลฺ (ธาตุ = ตั้งอยู่, งอกขึ้น) + อ (อะ) ปัจจัย

: มูลฺ + อ = มูล แปลตามศัพท์ว่า “ที่ตั้ง” “ที่งอกขึ้น” 

“มูล” (นปุงสกลิงค์) ในภาษาลีมีความหมายหลายหลาก ดังนี้ -

(1) รากไม้ (root)

(2) โคน, ก้น (foot, bottom)

(3) หลักฐาน, เหตุผล, สาเหตุ, เงื่อนไข (ground for, reason, cause, condition)

(4) กำเนิด, บ่อเกิด, พื้นฐาน, รากฐาน (origin, source, foundation, root)

(5) ปฐม, เริ่มแรก, ฐาน, เค้าความเดิม, เรื่องเดิม (beginning, base)

(6) แก่นสาร, มูลฐาน, ค่า, เงิน, ต้นทุน, ราคา, สินจ้าง (substance, foundation, worth, money, capital, price, remuneration)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “มูล” ไว้ 4 คำ บอกไว้ดังนี้ -

(1) มูล ๑, มูล- : (คำนาม) โคน เช่น รุกขมูล; ราก, รากเหง้า, เช่น มีโทสะเป็นมูล, เค้า เช่น คดีมีมูล, ต้น เช่น ชั้นมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).

(2) มูล ๒, มูล- : (คำวิเศษณ์) มวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น จัดข้าวของไว้ให้โดยพร้อมมูล เตรียมเอกสารหลักฐานไว้ให้พร้อมมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).

(3) มูล ๓ : (คำนาม) อุจจาระสัตว์, ขี้หรือเศษของสิ่งต่าง ๆ เช่น มูลไถ = ขี้ไถ.

(4) มูล ๔, มูละ, มูลา ๑ : (คำนาม) ดาวฤกษ์ที่ ๑๙ มี ๙ ดวง เห็นเป็นรูปสะดือนาค, ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว ก็เรียก.

ส่วน “มูน” ที่เป็นคำไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ 2 คำ

แถม :

มีคำถามว่า ข้าวเหนียวมู- หรือ มู-ข้าวเหนียว ใช้ “มูล” หรือ “มูน”?

คำตอบอยู่ในพจนานุกรม

“มูล” เปิดพจนานุกรมให้ดูแล้วข้างต้น 

ส่วน “มูน” เป็นคำไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า - 

(1) มูน ๑ : (คำนาม) เนิน, โคก, จอม, เช่น มูนดิน. (คำกริยา) พอกพูน, พูนขึ้น, มักใช้ว่า เกิดมูนพูนผล. (คำวิเศษณ์) มาก, มักใช้เข้าคู่กันเป็น มากมูน.

(2) มูน ๒ : (คำกริยา) เอากะทิเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้มัน.

..............

ข้าวเหนียวมูน หรือ มูนข้าวเหนียว ใช้ มูน น หนู สะกด 

ไม่ใช่ “มูล” ล ลิง

..............

ดูก่อนภราดา!

: มูนหรือมูลออกเสียงเหมือนกัน

: แต่ที่ทำกับข้าวเหนียวนั้น คือ มูนข้าวเหนียว น หนู



[full-post]

Bhasadhamma,ภาษาธรรม,มูล,มูน

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.