สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ

ผู้ดูแล


ทำไมความเห็นต่างระหว่างคัมภีร์ที่แสดงไตรสิกขาด้วยกัน คือ คัมภีร์วิสุทธิมรรค กับคัมภีร์วิมุตติมรรค ไม่ปรากฏความชัดเจน ยิ่งนานก็ยิ่งเป็นการเลือกข้าง มีชอบฝ่ายวิสุทธิมรรคบ้าง ฝ่ายวิมุตติมรรคบ้าง (ตอนที่ 4 )

   หากจะมีคำถามว่า " พระขีณาสพเป็นผู้ละอกุศลธรรมทั้งหลายรวมทั้งมิทธะนี้ได้แล้ว เมื่อไม่มีมิทธะแล้วอย่างนี้ ท่านเหล่านั้นจะหยั่งลงสู่ความหลับได้อย่างไร? " ย่อมมีคำตอบตามเหตุผลและหลักฐานอย่างนี้ว่า " การหยั่งลงสู่ความหลับของพระขีณาสพผู้ละมิทธะได้แล้ว มิได้เป็นไปด้วยอำนาจมิทธะ ทว่า เป็นไปด้วยอำนาจความเหนื่อยล้าแห่งร่างกายอย่างเดียวเท่านั้นนั่นแล.

   เมื่อท่านที่ศึกษาได้ข้อมูลมิทธะตลอดจนกระทั่งธรรมที่เกี่ยวข้องด้วยที่เป็นเหตุผลและหลักฐานดีแล้ว จากพระไตรปิฎก คือพระบาลีธัมมสังคณี ซึ่งเป็นข้อมูลที่คัมภีร์ทั้งสอง คือ วิมุตติมรรค กับวิสุทธิมรรค ต่างอ้างถึง ท่านที่ศึกษาย่อมใคร่ครวญไตร่ตรองได้เอง โดยปราศจากการชักนำชี้ชวนอย่างแน่นอน

   ซึ่งฝ่ายวิมุตติมรรคกล่าวอ้างเสนอดังนี้

   ตตฺถ ติวิธํ มิทฺธํ อาหารชํ อุตุชํ จิตฺตชนฺติ.อุตุชํ ปน มิทฺธํ อรหนฺตานมฺปิ โหติ.(วิมุตฺติ.ข้อ 50 หน้า 29) แปลว่า ในบรรดามืทธะที่เป็นความโงกง่วงนั้น มี 3 ประเภท คือ ประเภทที่เกิดจากอาหาร 1 ประเภทที่เกิดจากอุตุ 1 ประเภทที่เกิดจากจิต 1 แต่ส่วนที่เกิดจากอุตุแม้พระอรหันต์ก็มีได้ด้วย

   ฝ่ายวิสุทธิมรรคกล่าวอ้างค้านและสรุปความดังนี้

   อิมานิ ตาว ปาฬิยํ อาคตรูปาเนว.อฏฺฐกถายํ ปน พลรูปํ สมฺภวรูปํ ชาติรูปํ โรครูปํ มเตน มิทฺธรูปนฺติ เอวํ อญญานิปิ รูปานิ อาหริตฺวา " อทฺธา มุนีสิ สมฺพุทฺโธ.นตฺถิ นีวรณา ตวา"ติอาทีนิ วตฺวา มืทฺธรูปํ ตาว นตฺถิเยวาติ ปฏิกฺขิตฺตํ. อิตเรสุ โรครูปํ ชรตาอนิจฺจตาคฺคหเณน คหิตเมว, ชาติรูปํ อุปจยสนฺตติคหเณน, สมฺภวรูปํ อาโปธาตุคฺคหเณน, พลรูปํ วาโยธาตุคฺคหเณน คหิตเมว. ตสฺมา เตสุ เอกมฺปิ วิสุํ นตฺถีติ สนฺนิฏฺฐานํ กตํ.(วิสุทฺธิ 2/446/90) แปลว่า รูป 28 ที่มีมาในพระบาลีเหล่านี้ให้วางไว้ก่อน ก็เพราะอรรถกถาได้นำเอารูปอย่างอื่นทั้งหมด 4 รูปมาอีก คือ พลรูป(รูปคือกำลัง) สัมภวรูป(รูปคือน้ำสัมภวะ) ชาติรูป(รูปคือความเกิด) โรครูป(รูปคือโรค) ตามมติของอาจารย์บางพวกก็มีอีก คือ มิทธรูป(รูปคือความโงกง่วง) แล้วยังชักนำเอาคำในพระบาลีมากล่าวอ้างว่า " พระพุทธองค์ ไม่มีนิวรณ์(เท่ากับแถกล่าวอ้างว่าพระพุทธเจ้าปฏิเสธนามมิทธะตามลัทธิตนนั่นเอง) จึงนับว่าเป็นมุนีที่ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์แน่แท้ " เป็นต้น แล้วยังย้ำความว่า " มิทธรูปไม่ใช่มีประเภทเดียว(เหมือนฝ่ายตรงข้ามตนมีนามมิทธประเภทเดียวเท่านั้น) ในรูปนอกนี้(คือรูป 4 ประเภทที่อรรถกถาพูดถึง) โรครูป ก็ระบุเจาะจง ด้วยคำว่าชรตาและอนิจจตา ชาติรูป ก็ระบุเจาะจงด้วยคำว่า อุปจยและสันตติ สัมภวรูปก็ระบุเจาะจง ด้วยคำว่าอาโปธาตุ พลรูปก็ระบุเจาะจง ด้วยคำว่าวาโยธาตุ ดังนั้น จึงสร้างข้อยุติได้ว่า " รูปทั้ง 4 ประเภทเหล่านั้น ไม่มีประเภทที่แยกออกไปเป็นส่วนอื่นจากรูป 28 แม้นแต่รูปเดียว 

ความเห็นต่างข้อนี้ จึงขาดการให้ความสำคัญข้อที่ 4

   5.ความเห็นต่างว่าจริตที่เหมาะสมกับกรรมฐานมีได้ถึง 14 ประเภท หรือย่อ ก็มี 7 ประเภท

   ซึ่งความเห็นต่าง ทั้งฝ่ายวิมุตติมรรค ทั้งฝ่ายวิสุทธิมรรค ล้วนละเอียดทั้งเชิงลึกทั้งเชิงกว้าง ที่สำคัญทุกแง่มุมก็มีอยู่ในพระไตรปิฎกทั้งสิ้น แต่จำนวนที่เหมาะสมกับกรรมฐานนั้นแหละ เป็นนัยประเด็น เพราะนัยจำนวนที่เกิดขึ้น มีทั้งที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทเดียวกัน เพราะเป็นธรรมฝักฝ่ายเดียวกัน และมีทั้งที่เกิดคนละจิตตุปบาท เพราะเป็นธรรมคนละฝักฝ่ายกัน ดังนั้นการศึกษาเรื่องความเห็นต่างข้อนี้ จึงต้องมีการนำร่องมากกว่าการนำร่อง ข้อความเห็นต่างมิทธะเป็นรูปไม่ใช่เป็นนามหลายเท่าตัว ผู้เสนอจึงขอยกยอดการนำร่องไปคราวอื่น เพราะไม่ประสงค์เป็นภาระแก่ท่านผู้สนใจ โดยจะค่อย ๆ เสนอไปที่ละแง่มุม จนกว่าท่านจะมีข้อมูลพอที่จะใคร่ครวญไตร่สวนจากพระไตรปิฏกได้เอง โดยปราศจากการการชี้ชวนหรือการโน้มน้าวเอา

   6.ความเห็นต่างว่า ฝ่ายวิสุทธิมรรค คร่ำครึ ไม่กล้าสู้หน้ากับฝ่ายตรงกันข้าม แม้นการเสนอข้อมูลทั้งสองฝ่าย ก็ยังหักล้างมติฝ่ายตรงกันข้ามไม่ได้ ซึ่งฝ่ายตรงกันข้ามเสนอเพียงฝ่ายตน ความเห็นต่างข้อนี้ เพราะขาดการให้ความสำคัญ ข้อที่ 1.ข้อที่ 2.ข้อที่ 3.ข้อที่ 4.ขัอที่ 5.ข้อที่ 6.

(เหตุผลความเห็นต่าง 6 ประการที่คัมภีร์วิมุตติมรรคกับคัมภีร์วิสุทธิมรรคไม่อาจกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันได้สนิท จากคัมภีร์นิสสยะ อักษรปัลลวะ อักษรสิงหล)


--------------///--------------

[right-side]

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.