๑๓. โคตรภูญาณ

โคตรภูญาณ ปัญญาที่ทำลายโคตรของปุถุชนแล้วเข้าสู่โคตรของพระอริเจ้า

ปุถุชน แปลว่า ชนผู้หนา มีความหมาย ๙ อย่าง

      ๑. ผู้มีกิเลสหนาด้วยประการต่างๆ ได้แก่มี สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เป็นต้น

      ๒. ผู้หนาด้วยคติทั้ง ๕ ผู้ไม่ออกจากคติทั้ง ๕ อันหนา ได้แก่ นิรยคติ ติรัจฉานคติ ปิตติวิสยดติ มนุสสคติ เทวคติ

      ๓. ผู้สร้างสังขารอันหนาทั้ง ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร

      ๔. ผู้ถูกโอฆะอันหนาทั้ง ๔ พัดไปคือ ถูกทิฏโฐฆะ กาโมฆะ ภโวมะ อวิชโชฆะ พัดไป

      ๕. ผู้เร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนอันหนา มีประการต่างๆ มีความเร้าร้อน เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

      ๖. ผู้กำหนด ชอบใจ ติดใจ ข้อง จม หลง พัวพันอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ อย่างแน่นหนาคือ พอใจอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

      ๗. ผู้ถูกนิวรณ์ ๕ อันหนาครอบงำท่วมทับหุ้มห่อปกปิดไว้ให้มิค ถูกกามฉันทะ พอใจในกามคุณ ๕ ปกปิดไว้อย่างหนึ่ง ถูกพยาบาทอาฆาตจองเวรกันและกันปกปิดไว้อย่างหนึ่ง ถูกถีนมิทธะ ความท้อใจอ่อนใจ ท้อถอยหดหู่ ง่วงเหงาหาวนอนปกปิดไว้อย่างหนึ่ง ถูกอุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญปกปิดไว้อย่างหนึ่ง ถูกวิจิกิจฉาความสงสัยลังเลใจในพระรัตนตรัย บุญ บาป เป็นต้นปกปิดไว้อย่างหนึ่ง

      ๘. ผู้หยั่งลงสู่ธรรมอันต่ำสู่มรรยาทอันต่ำ ผู้หันหลังให้อารยธรรม อารยธรรมนั้นมี ๖ อย่างคือ ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่บุญคุณท่าน มีความบริสุทธิ์เป็นสัมมาทิฏฐิ และมีปัญญา

      ๙. ผู้ปราศจากสารธรรมทั้ง ๕ มี ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ทั้ง 5 ข้อ เป็นความหมายของ ปูถุชน (ปฏิ. อรรถ. ๓๑)


ปูถุชนมี ๒ พวก

ปุถุชน สมเด็จพระผู้มีพระภาดเจ้าจำแนกได้เป็น ๒ พวก คือ อันธปุถุชนและกัลยาณปุถุชน

      อันธปุถุชน คือ ชนผู้หนา จนได้นามว่า คนบอด หมายถึง ทั้งบอด ทั้งหนาท่านแก้ไว้ในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ได้แก่ บุคคลที่ไม่ได้เรียน ไม่ได้สอบถาม ไม่ได้ฟัง ไม่ได้จำ ไม่ได้พิจารณาวิปัสสนาภูมิ ๖ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ เป็นต้น

      กัลยาณปุถุชน คือ คนมีกิเลสหนา แต่ได้นามว่า เป็นคนดีเพราะได้เรียนรู้ได้สอบถาม ได้ฟัง จำได้ และได้พิจารณาวิปัสสนาภูมิ , ได้ตั้งตนไว้ในศีล ๕ และกัลยาณธรรม ๕ มี เมตตา จาคะ สันโดษ สัจจะ สติ

      ปัญญาที่ทำลายโคตรของปุถุชนทั้ง ๒ ประเภทหมุนออกไปจากสังขารนิมิตภายนอกชื่อว่า โคตรภูญาณ


สังขารนิมิต

สังขารนิมิต เครื่องหมายของรูปนามได้แก่ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ

      ภายนอก ได้แก่ นอกจากกองแห่ง อกุศล ที่เป็นไปในสันดานของตน หมายถึงเมื่อการปฏิบัติได้ดำเนินมาถึงโคตรภูญาณแล้วอกุศลไม่เกิดขึ้นได้เลยในขณะนั้น 

      สังขาร โดยใจความก็ได้แก่ รูปนามคือ ร่างกายของหญิง ของชายในโลกนี้ท่านเรียกว่า เป็นนิมิต เพราะปรากฏว่าเป็นที่รักใคร่ชอบใจแก่ชาวโลก เช่น เห็นรูปดี รูปสวย รูปงาม ย่อมพากันชอบใจ ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นนิมิตคือ เป็นเครื่องหมายของกิเลส


โคตรภู นัยที่ ๑

โคตรภู ยังมีเครื่องหมายแตกต่างออกไปอีกหลายข้อหลายนัย ดังวิเคราะห์ศัพท์ที่ท่านจำกัดความไว้ต่อไปนี้ :

      ๑. อุปปาทํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำความเกิดของรูปนามในภพนี้ เพราะกรรมในภพก่อนเป็นปัจจัย ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า เมื่อปฏิบัติถึงโคตรภูญาณแล้วรูปนามก็ดับไป (ข้อความยังไม่ชัดเจน)

      ๒. ปวตฺตํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำความเป็นไปไม่ขาดสายของรูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้ว เพราะกรรมก่อนเป็นปัจจัยนั่นแหละชื่อว่า โคตรภู

      ๓. นิมิตตํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำสังขารนิมิตชื่อว่า โคตรภูหมายความว่า ครอบงำธุวนิมิต ความเข้าใจผิดคิดว่ารูปนามเป็นของเที่ยง ยั่งยืน ครอบงำสุขนิมิต ความเข้าใจผิดคิดว่ารูปนามเป็นสุข อัตตนิมิต ความเข้าใจผิดคิดว่ารูปนาม เป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา

      ๔. อายูหนํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำกรรมที่เป็นเหตุให้ถือปฏิสนธิในภพต่าง ๆ ไปอีกชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า เมื่อปฏิบัติถึงญาณนี้แล้วกรรมต่างๆ ที่จะนำบุคคลนั้นไปให้ถือปฏิสนธิในภพอื่นอีกคงเหลือเพียง ๗ ชาติเป็นอย่างมาก

      ๕. ปฏิสนฺธึ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำปฏิสนธิชื่อว่า โคตรภู

      ๖. คตี อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำคติทั้ง ๕ ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่าคติที่จะต้องไปเกิดอีกในเมื่อตายไปแล้วไม่มี ถ้าหากยังมีอยู่ เพราะไม่ได้เป็นพระอรหันต์ก็มีแต่คติที่ดีๆ เช่น เทวคติ ไม่ไปเกิดในคติอันชั่ว มีนิรยคติ เป็นต้น

      ๗. นิพฺพุตํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำความบังเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ปัจจุบันในขณะนั้นดับไม่เกิด และขันธ์ในอนาคตก็ลดน้อยถอยลงไป จะเหลือเพียง ๑ ถึง ๗ ชาติเป็นอย่างมาก

      ๘. อุปฺปตฺตึ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำอุปบัติคือความเกิดเป็นไปของวิบากชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า ถ้าท่านผู้ใดปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาจนถึงโคตรภูญาณนี้แล้ว ท่านผู้นั้นจะพ้นจากผลกรรมต่างๆ ตามสมควร เพราะชาติมีความเกิด ลดน้อยถอยลงมาจะเกิดอีกเพียง ๗ ชาติเป็นอย่างมาก

      ๙. ชาตึ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาครอบงำชาติ ชื่อว่าโคตรภู มีชาติคือ ความเกิด แบ่งออกเป็น ๓ คือ ปัจจุบัน อดีต อนากต โคตรภูครอบงำชาติคือความเกิดขึ้นของรูปนามในขณะปัจจุบัน เช่น เมื่อเวลาโคตรภูญาณเกิดขึ้นนั้น รูปนามดับไปหมดเพราะยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์

      ๑๐. ชรํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำชราชื่อว่า โคตรภูหมายความว่า ขณะถึงโคตรภูญาณ รูปนามที่กำลังแก่กำลังเสื่อมอยู่ดับไป เพราะมีพระนิพพาน เป็นอารมณ์

      ๑๑. พยาธึ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำพยาธิชื่อว่าโคตรภู หมายความว่า เมื่อถึงโกตรภูแล้ว พยาธิ ความเจ็บไข้ได้ป่วยเพราะโรคภัยต่างๆ เบียดเบียนไม่มีเลย สงบไปดับไป เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

      ๑๒. มรณํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำความตายชื่อว่า โคตฺรภู หมายความว่า มรณะ คือ ความตาย ความตายมีอยู่ ๓ อย่าง

        ก. ขณิกมรณะ ความตายชั่วขณะจิตควงหนึ่งๆ

        ข. สมมติมรณะ ความตายโดยสมมติเช่น คนตาย สัตว์ตาย

        ค. สมุจเฉทมรณะ ความตายโดยตัดขาคจากวัฎฏะ ได้แก่ การตายของท่านผู้สิ้นอาสวกิเลสแล้วซึ่งเรียกว่า นิพพาน หมายเอาครอบงำความตายคือ ขณะที่ถึงพระนิพพาน เพราะพระนิพพานไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย

      ๑๓. โสกํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำความเศร้าโศก ชื่อว่าโคตรภู หมายความว่า ความเศร้าโศกของบุคคลจะเกิดได้เพราะเหตุ ๕ อย่าง

        ก. เพราะความเสื่อมญาติ เช่น ญาติตาย

        ข. เพราะเสื่อมโภคะ เช่น เพราะถูกไฟใหม้ ถูกโจรปล้นเป็นต้น

        ค. เพราะถูกโรคเบียดเบียน เช่น เป็นโรคมะเร็ง เป็นต้น

        ม. เพราะศีลวิบัติ เช่น ประพฤติผิดศีลธรรม มีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น

        ง. เพราะเห็นความผิดจากทำนองคลองธรรมเมื่อปฏิบัติถึงโคตรภูญาณความเสื่อมทั้ง ๕ นี้สงบไป ดับไป ไม่เกิดขึ้นเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์

      ๑๔. ปริเทวํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำความพิไรรำพันบ่นเพ้อ ร้องให้ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า บุคคลจะพิไรรำพันร้องไห้ก็เพราะถูกความเสื่อมทั้ง ๕ ประการนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำ ครั้นเจริญวิปัสสนากรรมฐานถึงโคตรภูญาณ ความเสื่อมดังกล่าวมานั้นจะไม่มีเลยเพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

      ๑๕. อุปายาสํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำความคับแค้นใจเสียได้ ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า บุคคลจะเกิดความดับแค้นใจก็เพราะถูกความเสื่อมทั้ง ๕ นั้น ครอบงำ เบียดเบียน ความคับแค้นใจก็คือ โทสะนั่นเอง เมื่อถึงโคตรภูญาณแล้ว ความคับแค้นใจก็ดับไป เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

      ๑๖. พหิทฺธา สงฺขารนิมิตฺตํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่ครอบงำสังขารนิมิตในภายนอกที่เป็นไปในสันดานของตนชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า นิมิตว่าเที่ยง ว่ายั่งยืน ว่าสวยงาม ว่าเป็นตัวตน เราเขาไม่มี มีแต่ความสงบ สันติ เท่านั้น เพราะโคตรภูญาณ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์อย่างเดียวเท่านั้น


โคตรภู นัยที่ ๒

โคตรภู ท่านวิเคราะห์ศัพท์จำกัดความไว้ในปฏิสัมภิทามรรถหลายประการดังนี้

      ๑. อนุปฺปาทํ ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู ๆ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้นของรูปนาม ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า เมื่อผู้ปฏิบัติวิปีสสนามีปัญญาคำเนินมาถึงขั้นนี้แล้ว ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณดับไป

      ๒. อปฺปวตฺติ ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่เป็นไปของรูปนามชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า รูปนามที่กำลังเป็นไปนั้นดับไป

      ๓. อนิมิตฺตํ ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่อนิมิตชื่อว่า โคตรภูหมายความว่า แล่นไปสู่พระนิพพาน

      ๔. อนายูหนํ ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่มีกรรมที่จะเป็นเหตุให้ถือปฏิสนธิอีกชื่อว่า โคตรภู

      ๕. อปฺปฏิสนฺธึ ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ๆ ไม่มีปฏิสนธิชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า แล่นไปสู่พระนิพพานอันไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย

      ๖. อคตึ ปกขนฺทตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่อคติชื่อว่า โคตรภูหมายความว่า คติทั้ง ๕ ไม่มีในที่ใดที่นั้นแหละชื่อว่า อคติ ได้แก่พระนิพพานนั่นเอง

      ๗. อนิพฺพตึ ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ๆ ไม่มีขันธ์ ๕ ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีในที่ใคแล่นไปสู่ที่นั้น คือ พระนิพพาน

      ๘. อนุปฺปตฺตึ ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่อุบัติขึ้นมาอีก ชื่อว่า โคตรภู หมายความว่า วิบากขันธ์ที่จะต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในเหฏฐิมสงสาร มัชฌิมสงสาร อุปริมสงสาร ไม่มี

      ๙. อชาตึ ปกฺขนฺทตีติ โคตรกู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่เกิดชื่อว่าโคตรภู หมายความว่า รูปนามดับลงไป เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

      ๑๐. อชรํ ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่ชรา ชื่อว่าโคตรภู

      ๑๑. อพฺยาธิ ปกฺขนฺทตีติ โคตรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่มีพยาธิ ชื่อว่าโคตรภู

      ๑๒. อมรณํ ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู ฯ  ปัญญาที่แล่นไปสู่ความไม่ตาย ชื่อว่าโคตรภู

      ๑๓. อโสกํ ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ไม่มีความเศร้าโศกชื่อว่า โคตรภู

      ๑๔. อปริเทวํ ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรกู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ไม่มีความพิไรรำพันบ่นเข้อชื่อว่า โคตรภู

      ๑๕. อนุปายาสํ ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่ที่ไม่มีความคับแค้นใจชื่อว่า โคตรภู

      ๑๖. นิโรธํ นิพฺพานํ ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู ฯ ปัญญาที่แล่นไปสู่นิโรธคือพระนิพพานชื่อว่า โคตรภู


โคตรภู นัยที่ ๓

โคตรภูญาณ ท่านยังจำแนกลักษณะที่พึงทราบไว้อีกคือ :

      ๑. อุปฺปาทา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความเกิด หมายความว่า ทิ้งรูปนามที่กำลังเกิดขึ้นแล้วเข้าสู่พระนิพพาน

      ๒. ปวตฺตา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความเป็นไปของรูปนามที่กำลังเกิดดับ

      ๓. นิมิตฺตา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากนิมิตหมายความว่า ออกจากความเห็นผิดที่ว่ารูปนามเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน

      ๔. อายูหนา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากกรรมที่จะให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ

      ๕. ปฏิสนฺธิยา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากปฏิสนธิ

      ๖. คติยา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โกตรภู เพราะออกจากคติ หมายความว่า ออกจากคติที่จะต้องไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวคา เป็นต้น มีแค่เข้าสู่ความไม่มีคติทั้ง ๕คือ พระนิพพาน

      ๗. นิพฺพตฺติยา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความปรากฎของขันธ์ ๕ หมายความว่า ขันธ์ ๕ ไม่เกิด ดับไป คือ ถึงพระนิพพานนั่นเอง

      ๘. อุปปตฺติยา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากอุปบัติหมายความว่า ออกจากเหฎฐิมสงสาร มัชฌิมสงสาร อุปริมสงสาร เข้าสู่พระนิพพาน

      ๙. ชาติยา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โดตรภู เพราะออกจากชาติ หมายความว่า ไม่มีเกิดเพราะถึงพระนิพพาน

      ๑๐. ชราย วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากชรา หมายความว่า ไม่มีความชราเพราะถึงพระนิพพาน

      ๑๑. พยาธิมฺหา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากพยาธิหมายความว่า ไม่มีความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ เพราะถึงพระนิพพาน

      ๑๒. มรณา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากมรณะหมายความว่า เมื่อถึงโดตรภูญาณนี้แล้ว มรณะไม่มี เพราะถึงพระนิพพาน

      ๑๓. โสกา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ๆ  ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความเศร้าโศก หมายความว่า ไม่มีความเศร้าโศก ความเศร้าโศกดับไปหมดสิ้นไม่มีเหลือเพราะถึงพระนิพพาน

      ๑๔. ปริเทวา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความร้องไห้ บ่นเพ้อพิไรรำพัน หมายความว่า ความเสื่อมทั้ง ๕ คือ เสื่อมญาติ เสื่อมโภคะมีโรคเบียดเบียนเป็นต้น ไม่มี

      ๑๕. อุปายาสา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความคับแค้นใจ หมายความว่า ไม่มีความคับแค้นใจเนื่องมาจากความเสื่อมทั้ง ๕ เพราะความคับแค้นใจคับไปหมดแล้ว

      ๑๖. พหิทฺธา สงขารนิมิตฺตา วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากสังขารนิมิตภายนอก หมายความว่า รูปนามภายนอกก็ไม่มี รูปนามภายในก็ดับหมดไป ไม่มีอะไรปรากฎเหลืออยู่


โคตรภูเกิดจากสมถะ


โคตรภูธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ มี ๘ คือ

      ๑. ปชมชฺฌานํ ปฏิลาภตฺถาย นีวรเณ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่าโดตรภู เพราะครอบงำนิวรณ์ ๕  เพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งปฐมฌาน หมายความว่า ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐาน ก็มีโคตรภูเกิดขึ้นดุจผู้เจริญวิปัสสนาตามวิถีจิตเป็นดังนี้ ภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ คือตัดกระแสภวังค์แล้ว มโนทวาราวัชชนะ บริกรรม อุปจาร อนุโลม โดตรภู ฌาน ภวังค์

      ๒. ทุติยชฺฌานํ ปฏิลาภตฺถาย วิตกฺกวิจารํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่าโกตรภู เพราะครอบงำวิตกวิจารเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งทุติยฌาน หมายความว่าเมื่อผู้เจริญสมถกรรมฐานได้ปฐมฌานแล้วเมื่อจะถึงทุตึยฌานก็ต้องผ่าน โคตรภูอีกจึงจะถึงทุติยฌาน

      ๓. ตติยชฺฌานํ ปฎิลาภตฺถาย ปีตึ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะกรอบงำปีติเพื่อให้ใด้เฉพาะซึ่งตติยฌาน หมายความว่า เมื่อจะถึงตติยฌานก็ต้องผ่านโคตรภูอีกจึงจะถึงตติยฌาน

      ๔. จตุตฺถชฺฌานํ ปฏิลาภตฺถาย สุขทุกฺเข อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำสุขและทุกข์เพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งจตุตถฌาน หมายความว่าเมื่อจะถึงจตุตถฌาน ก็ต้องผ่านโคตรกูอีกจึงจะถึงจตุตถมาน

      ๕. อากาสานญฺจายตนสมาปตฺตึ ปฏิลาภตฺถาย รูปสญฺญํ ปฏิฆสญฺญํ นานตฺตสญฺญํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำรูปสัญญาปฎิฆสัญญา นานัตตสัญญา เพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งอากาสาณัญจายตนสมาบัติ

      ๖. วิญฺญาณญฺจายตนสมาปตฺตึ ปฎิลาภตฺถาย อากาสนญจายตน สญญิ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ

      ๗. อากิญจญณายตนสมาปตุตึ ปฏิลาภตฺถาย วิญญาณญูจายตนสญ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ

      ๘. เนวสญฺญานาสญฺญายตนสมาปตฺตึ ปฏิลาภตฺถาย อากิญฺจญฺญายตนํ สญฺญํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ โคตรภูธรรมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถกรรมฐานมี ๘ ดังกล่าวแล้ว


โคตรภูเกิดจากวิปัสสนา (วิสุทธิมรรคบาลี หน้า ๓๕๗ และ ขุ.ป. เล่ม ๓๑ ข้อ ๑๔๐)


โคตรกูธรรมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนามี ๑๐ คือ


      ๑. โสดาปตฺติมคฺคํ ปฏิลาภตฺถาย อุปฺปาทิ ฯเปฯ พหิทฺธาสงฺขารนิมิตฺตํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำรูปนามที่กำลังเกิดเป็นไปอยู่นิมิต กรรม (ที่จะต้องให้เกิดอีก) การถือปฏิสนธิกติที่จะต้องไปเกิด ความปรากฎขึ้นแห่งขันธ์ ๕ ความเกิดขึ้นของวิบาก ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ และครอบงำสังขารนิมิต คือรูปนามภายนอกเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งโสดาปัตติมรรค หมายความว่า จะได้บรรลุโสดาปัตติมรรค ก็ต้องผ่านโคตรภูมาก่อน

      ๒. โสดาปตฺติผลสมาปตฺตตฺถาย อุปฺปาทิ ฯเปฯ ปฏิสนฺธึ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำรูปนามที่กำลังเกิดเป็นไปอยู่นิมิตกรรม ปฏิสนธิ เพื่อต้องการ โสดาปัตติผลสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่ได้เป็นพระโสดาบัน เวลาจะเข้าผลสมาบัติก็ต้องผ่านโคตรภูก่อน จึงจะถึงผลสมาบัติได้

      ๓. สกทาคามิมคฺคํ ปฏิลาภตฺถาย อุปฺปาทิ ฯเปฯ พหิทฺธาสงขารนิมิตฺตํ ปฏิสนฺธึ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โดตรภู เพราะครอบงำรูปนามที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ คติ นิพพัตติ อุปบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ และครอบงำสังขารนิมิตภายนอกเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งสกทาคามิมรรคหมายความว่า ผู้ที่จะได้บรรลุสกทาคามิมรรคก็ต้องผ่านโตรภูอีกครั้งหนึ่ง สกทาคามิมรรคจึงจะเกิดได้

      ๔. สกทาคามิผลสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปฏิสนฺธึ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตฺรภู เพราะครอบงำรูปนามที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ เพื่อต้องการแก่สกทาคามิผลสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่เป็นพระสกทาคามี เวลาจะเข้าผลสมาบัติ ก็ต้องผ่านโคตรกูก่อนเช่นกัน

      ๕. อนาคามิมคฺคํ ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ พหิทฺธาสงฺขารนิมิตฺตํ ปฏิสนฺธึ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ๆ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำรูปนามที่กำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ คติ นิพพัตติ อุปบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ และครอบงำสังขารนิมิตภายนอกเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งอนาคามิมรรค หมายความว่า ผู้ที่ได้เป็นพระสกทาคามีเวลาจะได้บรรลุอนาคามิมรรคก็ต้องผ่านโคตรภูอนาคามิมรรคจึงจะเกิดได้

      ๖. อนาคามิผลสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปฏิสนฺธึ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำรูปนามที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม และครอบงำปฏิสนธิ เพื่อต้องการแก่อนาคามิผลสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่เป็นอนาคามีจะต้องเข้าผลสมาบัติ ก็ต้องผ่านโคตรภูก่อน จึงจะถึงผลสมาบัติได้

      ๗. อรหตฺตมคฺคํ ปฎิฏิลาภตถาย ฯเปฯ พหิทุธาสงขารนิมิตตํ อภิภุยุยตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำรูปนามที่เกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ ตติ นิพพัตติ อุปบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ และครอบงำสังขารนิมิตภายนอกเพื่อให้ได้เฉพาะซึ่งอรหัตตมรรค หมายความว่า ผู้ที่เป็นพระอนาคามีเมื่อปฏิบัติกรรมฐานต่อไปก่อนจะบรรลุอรหัตตมรรคก็ต้องผ่านโคตรภูอรหัตตมรรคจึงจะเกิดขึ้น

      ๘. อรหตฺตผลสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปฏิสนฺธึ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำรูปนามที่เกิดขึ้นกำลังเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ เพื่อต้องการแก่อรหัตตผลสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่ได้บรรลุรหัตตมรรคอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์ เมื่อจะเข้าผลสมาบัติก็ต้องผ่านโคตรกูก่อน จึงเข้าผลสมาบัติได้

      ๙. อนิมิตฺตวิหารสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปฏิสนุธ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำรูปนามที่เกิดขึ้นกำลังเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม ปฏิสนธิ เพื่อต้องการแก่อนิมิตตวิหารสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต์เวลาจะเข้าอนิมิตตวิหารสมาบัติก็ต้องผ่านโคตรภูก่อนจึงจะเข้าได้

      ๑๐. สุญฺญตวิหารสมาปตฺตตฺถาบ ฯเปฯ ปฏิสนฺธึ อภิภุยฺยตีติ โคตรภู ฯ ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำรูปนามที่เกิดขึ้นกำลังเป็นไปอยู่ นิมิต กรรม และปฏิสนธิ เพื่อต้องการแก่สุญญตวิหารสมาบัติ หมายความว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต์เวลาจะเข้าสุญญตวิหารสมาบัติก็ต้องผ่านโคตรภูก่อนจึงจะเข้าได้ 

        โคตรภูธรรมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนามี ๑๐ ดังที่กล่าวแล้ว เมื่อรวมกันเข้าทั้งสมถะและวิปัสสนาจึงเป็นโคตรภู ๑๘ ประการ


โคตรภูกุสลติกะ

      โคตรภูธรรมเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี ลักษณะของโคตรภูญาณ ตามที่มีปรากฎอยู่ในพระไตรปีถูกปฏิสัมภิหามรรคมีเพียงเท่านี้ โคตรภูญาณปัญญาที่ทำลายโคตรของปุถุชน แล้วเข้าสู่โคตรของพระอริยเจ้า เป็นยอดของวิปัสสนาญาณ ไม่จัดเป็น ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เพราะไม่ได้พิจารณารูปนามเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และไม่จัดเป็น ญาณทัสสนวิสุทธิ เพราะไม่ได้ทำให้กิเลสสิ้นไป ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นโลกียะ ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นโลกุตตระ ส่วนโคตรภูญาณอยู่ในระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ เป็นอัพโภหาริก คืออยู่ในระหว่างปฏิทาญาณทัสสนวิสุทธิและญาณทัสสนวิสุทธิต่อกัน แต่จัดเป็นวิปัสสนาได้เพราะตกไปในกระแสแห่งวิปัสสนา

      ในขั้นต้นไม่มีกิจที่จำจักทำอะไรอย่างอื่น เพราะกิจใดที่ผู้ปฏิบัตินี้จักทำกิจนั้นอันท่านยังวิปัสสนา มีอนุโลมญาณเป็นที่สุดให้เกิดทำเรียบร้อยแล้ว ส่วนใจของผู้ปฏิบัติซึ่งมีอนุโลมญาณเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่แล่นไปในสังขารทั้งปวงไม่หยุดอยู่ ไม่น้อมไปไม่ข้องอยู่ ไม่ติดอยู่ไม่เกาะอยู่ ในสังขารทั้งปวง เมื่ออนุโลมญาณทั้ง ๓ ขณะนั้นกำจัดความมืดคือกิเลสอย่างหยาบ อันปกปีดอริยสัจ ๔ เป็นขั้นๆ ให้สูญสิ้นไปตามสมควรแก่กำลังของตนแล้ว ย่อมละทิ้งสังขารคือ รูปนาม ดุจน้ำตกไปจากใบบัว ฉะนั้นโคตรภูจึงมีนิพพานเป็นอารมณ์ ปราศจากรูปนาม ข้ามซึ่งโคตรปุถุชน ข้ามซึ่งภูมิของปุถุชน ขึ้นสู่โคตรแห่งพระอริยะ ก้าวขึ้นสู่สามัญญะแห่งพระอริยะ และสู่ภูมิแห่งพระอริยะ เป็นการคำนึงฝึกใจจดจ่อต่ออารมณ์คือ พระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น ให้สำเร็จความเป็นปัจจัยแห่งมรรค

      โดยใจความเมื่อ บริกรรม อุปจาระ อนุโลม ซึ่งรวมเรียกว่า อนุโลมญาณเกิดขึ้น ๓ ขณะ กำจัดเสียซึ่งกองมืดโมหันธการ กิเลสอย่างหยาบอันปกปิดปัญญามิให้เห็นจตุราริยสัจให้อันตรธานโดยสมควรแก่กำลังแล้ว จิตแห่งพระโยคาวจรนั้นก็ถอยกลับหวนกลับจากสังขารธรรมทั้งปวง มิได้ข้องอยู่ในภพสังขาร ปานประหนึ่งว่าต่อมน้ำอันกลมกลิ้งไปจากใบบัว โคตรภูญาณเมื่อกระทำพระนิพพานเป็นอารมณ์ ข่มเสียซึ่งโคตรปุถุชนและจะให้ถึงโคตรพระอริยะคือ อริยภูมิ โคตรภูญาณนี้บังเกิดขึ้นเป็นปฐมาวัชชนะ คือแรกพิจารณาเห็นพระนิพพาน ให้สำเร็จซึ่งสภาวะเป็นปัจจัยแก่พระอริยมรรค ด้วยอาการ  คือเป็นอนัตตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อาเสวนปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย เป็นที่สุดยอดแห่งวิปัสสนา บังเกิดในที่สุดแห่งอนุโลมญาณ อันมีอาเสวนะเนื่องๆ นั้นแล

จบ โคตรภูญาณ

--------------------


[full-post]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,โคตรภูญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.