๕. ภังคญาณ

      ภังคญาณ หมายความว่า เป็นญาณที่พิจารณาเห็นการดับไปของรูปนามโดยส่วนเดียว ดังมีวจนัดถะแสดงว่า "อุทยํ มุญฺจิตฺวา วเย ปวตฺตํ ญาณํ ภงฺคญาณํ" แปลว่า ญาณที่ปล่อยความเกิด แล้วเป็นไปในความเสื่อมชื่อว่า "ภังคญาณ" องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกในมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต

      ก็เมื่อโยคาวจรกำหนดและชั่งใจไตร่ตรองในรูปนามทั้งหลายว่า ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาอยู่เสมอๆ วิปัสสนาญาณก็มีกำลังแก่กล้าขึ้น สภาวะของสังขารทั้งหลายปรากฏรวดเร็วมาก ทำให้วิปัสสนาญาณกำหนดไม่ทันความเกิดขึ้นความตั้งอยู่ ความเป็นไป หรือนิมิตของสังขารทั้งหลาย สติและวิปีสสนาญาณคงกำหนดตั้งมั่นอยู่เฉพาะนิโรธคือ ความสิ้นไป ความเสื่อมไป หรือความแตกทำลายไปของสังขารทั้งหลายแต่เพียงอย่างเดียว

      เมื่อสมาธิญาณแก่กล้าแล้ว สังขารอารมณ์ทั้งหลายย่อมปรากฎแก่โยคีผู้ปฏิบัติโดยอาการที่หายไปๆ จนเมื่อเวลาเกิดขึ้นหรือตั้งอยู่ก็ไม่เห็นเลย ถึงสันตติความสืบต่อ ความเป็นไปก็ขาดตอน สัณฐานก็ปรากฎอาการหายไปจะกำหนดได้ก็เพียง "นิโรธ" ที่มีความสิ้นไป เสื่อมไปและแตกคับไปเท่านั้น คำว่า นิโรธ มี ๒ อย่าง คือ

      ๑. อุปปาทนิโรธ ได้แก่ความดับที่ยังมีอาการเกิดขึ้น

      ๒. อนุปปาทนิโรธ ได้แก่ความดับที่เป็นมัคคนิโรธ เช่น นิโรธของท่านผู้เข้าผลสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ

      สำหรับนิโรธศัพท์ในที่นี้หมายถึงอุปปาทนิโรธ คือ ความดับที่ยังมีการเกิดขึ้นอีก 

      ปัญญาในการกำหนดรู้ความดับไปของอารมณ์อยู่เนืองๆ หรือปัญญาที่กำหนดรู้อารมณ์โดยความสิ้นไป ความเสื่อมไปชื่อว่า "ภังคานุปัสสนาญาณ"


การกำหนดเห็นเนืองๆ

      การกำหนดเห็นเนืองๆ ในอารมณ์ โดยความดับไปความสิ้นไป ความเสื่อมไปคำว่า "เห็นเนืองๆ" หมายความว่าเห็นเนืองๆ ในอารมณ์นั้นโดยความไม่เที่ยงมิใช่เห็นเนื่องๆ โดยความเป็นของเที่ยง เห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์มิใช่เห็นเนืองๆ โดยความเป็นสุข เห็นเนื่องๆ โดยความเป็นอนัตตามิใช่เห็นเนืองๆ โดยความเป็นอัตตา จึงเกิดความเบื่อหน่ายมิใช่เกิดความเพลิดเพลินยินดี (ตัณหาที่ประกอบด้วยปีติเกิดความปราศจากกำหนัด มิใช่เกิดความกำหนัด เกิดความดับไปมิใช่เกิดขึ้น เกิดการสลัดทิ้งไปมิใช่เกิดการยึดถือไว้

      เมื่อเห็นเนื่องๆ โดยความไม่เที่ยง ก็ละนิจจสัญญา คือความจำหมายว่าเที่ยงเมื่อเห็นเนื่องๆ โดยความเป็นทุกข์ ก็ละสุขสัญญาคือ ความจำหมายว่าเป็นสุขหรือเห็นเนืองๆ โดยความเป็นอนัตตา ก็ละอัตตสัญญาคือ ความจำหมายว่ามีตัวตนเสียได้เมื่อโยคาวจรกำหนดเห็นเนื่องๆ ในสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาแล้วก็ทำให้เกิดการเบื่อหน่ายไม่เพลิดเพลินยินดี ปราศจากความกำหนดการละความกำหนัด (ราคะ) ในขั้นนี้เป็นไปด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาญาณขั้นโลกียะเท่านั้น

      เมื่อโยคาวจรกำหนดเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งหลายโดยความดับไป และเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดแล้วก็จะสามารถกำหนดเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งปวงที่ไม่เคยเห็นโดยความดับไปได้ ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาญาณโดยลำดับ และการมนสิการในสังขารเหล่านี้ก็เห็นแต่ความดับเพียงอย่างเดียว ไม่เห็นความเกิด เมื่อโยคาวจรปฏิบัติมาถึงอย่างนี้แล้ว ก็ชื่อว่า สลัดสังขารทั้งหลายทิ้งไปไม่ยึดถือไว้

      เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดการสละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธ์และอภิสังขารทั้งหลาย ด้วยอำนาจตทังคปหาน (ละด้วยองค์ของธรรมนั้น) ที่เรียกว่า ปริจจาคปฏินิสสัคโค คือ การสลัดทิ้งไปด้วยการสละหรือ ทำให้เกิดการมุ่งหน้าเข้าไปสู่พระนิพพาน อันเป็นสภาวะตรงข้ามกับสังขตธรรม หรือน้อมไปสู่พระนิพพานนั้น ด้วยการเห็นโทษของสังขตธรรมที่เรียกว่า "ปักขันทนปฏินิสสัคโค" ถือการสลัดทิ้งไปด้วยการมุ่งหน้าเข้าไป

      เมื่อผู้ปฏิบัติประกอบด้วยอนุปัสสนามี อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น ดังกล่าวมาแล้วนั้นจึงสละกิเลสได้ด้วยตทังคปหานและมุ่งหน้าหรือน้อมไปสู่พระนิพพาน อีกทั้งไม่ยึดถือกิเลสไว้ด้วยการทำให้เกิด และไม่ยึดถือสังขตธรรมไว้ด้วยการไม่เห็นโทษ ดังนั้น จึงกล่าวว่าเป็นการ "สลัดทิ้งไป ไม่ยึดถือไว้"

โยคีบุคคลกำหนดรู้จิตที่มีรูปเป็นอารมณ์อยู่เนืองๆ โดยความดับไปนั้น มีลักษณะ ๒ ประการ คือ

      ๑. กำหนดรู้ความสิ้นไปเสื่อมไปของรูป (ที่เป็นอารมณ์ของจิต)

      ๒. กำหนดรู้ความสิ้นไปเสื่อมไปของจิต (ที่มีรูปเป็นอารมณ์) ด้วยจิตอีกปฏิสังขาวิปัสสนา

      "ปฏิสังขาวิปัสสนา" คือ การเห็นแจ้งด้วยการกำหนดรู้อารมณ์อยู่เนืองๆ

      ปฏิสังขาวิปัสสนานี้ มีลักษณะ ๓ ประการ คือ :

      ๑) การย้ายไปสู่อารมณ์ หมายความว่า เมื่อเห็นความดับของรูปด้วยจิตดวงใดแล้ว ก็พึงเห็นความดับของจิตได้ด้วยจิตดวงอื่นต่อไปอีก

      ๒) คงที่อยู่ในอารมณ์ หมายความว่า ในขณะที่กำหนดรู้อยู่เนืองๆ นั้น ก็พิจารณาแน่วแน่แต่ในความดับไปของสังขารเท่านั้น ไม่พึงพิจารณาถึงความเกิดขึ้น

      ๓) มีกำลังเข้มแข็งในการนึกคิด หมายความว่า มีความสามารถในความนึกคิดติดต่อกันไปไม่มีหยุดคั่นเลยคือ เมื่อเห็นความดับของรูปแล้ว ก็เห็นความดับของจิตต่อไปอีกดวงหนึ่ง 

ปฏิสังขาวิปัสสนานี้ก็ชื่อว่า "ภังคานุปัสสนา" เหมือนกัน


วยลักขณวิปัสสนา 

      วยลักขณวิปัสสนา คือ การเห็นแจ้งลักษณะของความดับไป วยลักขณ.


วิปัสสนานี้มีลักษณะ ๒ ประการ คือ :

      ๑. เมื่อกำหนดรู้อารมณ์คือ สังขารในปัจจุบัน โดยความแตกคับอยู่ แม้สังขารในอดีตหรืออนาคต ก็กำหนดรู้ได้เช่นกันว่าเคยแตกดับมาแล้ว และจักแตกดับต่อไปตามลำดับของอารมณ์ที่เคยเห็นมาแล้ว สมดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า :-

       สํวิชฺชมานมฺหิ วิสุทฺธทสฺสิโน

       ตทนฺวยํ เนติ อตีตนาคเต

       สพฺเพปิ สงฺขารคตา ปโลกิโน

       อุสฺสาวพินฺทู สุริเยว อุคฺคเต ฯ

      ภิกษุผู้มีความเห็นบริสุทธิ์ในสังขาร ซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันย่อมนำเอาความเห็นบริสุทธิ์ไปในสังขาร 

     ที่เป็นอดีตและอนาคตด้วยว่าสังขารทั้งหลายแม้ทั่วทั้งปวงก็มีปรกติแตกสลายไป 

     เหมือนหยาดน้ำค้างแห้งไป เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นมา ฉะนั้น.


      ๒. มีลักษณะน้อมไปในนิโรธ คือ เมื่อกำหนครู้ความดับไปของอารมณ์ในปัจจุบัน อดีต และอนาคตแล้ว จิตก็จะน้อมไปหรือโอนไปสู่ความดับไปอย่างหนักแน่น


อธิปัญญาวิปัสสนา

อธิปัญญาวิปัสสนาคือ การเห็นแจ้งด้วยปัญญาที่รู้ยิ่ง มีลักษณะ ๓ ประการ คือ

      ๑. มีการกำหนดรู้อารมณ์คือ รูป ด้วยความแตกคับอยู่เนืองๆ

      ๒. เมื่อกำหนดรู้ความแตกดับของรูปด้วยจิตดวงใดแล้ว ในขณะต่อมาก็กำหนดรู้ความแตกดับของจิตดวงนั้นๆ ได้เช่นเดียวกัน

      ๓. เมื่อกำหนดเห็นความดับของสังขารทั้งปวงอยู่เนืองๆ ความว่างเปล่าก็ปรากฎชัดขึ้นว่า "สังขารทั้งหลายนั่นเองเป็นสิ่งที่แตกดับไป การแตกดับของสังขารทั้งหลายนั้นเองที่สมมติกันว่าเป็นการตาย แท้จริงไม่มีสัตว์หรือบุคคลใคๆ เลยที่แตกดับหรือตายไป" ดังนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า :

      ขนฺธา นิรุชฺฌนฺติ น จตฺถิ อญฺโญ

      ขนฺธานํ เภโท มรณนฺติ วุจฺจติ

      เตสํ ขยํ ปสฺสติ อปฺปมตฺโต

      มณึว วิชฺฌํ วชิเรน โยนิโส ฯ

      ขันธ์ทั้งหลายดับไป มิใช่สัตว์หรือบุคคลใดๆ ความแตกดับของ

      ขันธ์ทั้งหลาย เขาเรียกกันว่า ความตาย โยคีผู้ไม่ประมาทเห็นอยู่ซึ่ง

      ความแตกดับของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยอุบายอันแยบคาย

      เหมือนช่างเจียระไนเห็นแก้วที่ตนเจาะอยู่ด้วยเพชร ฉะนั้น*

(ช่างมุ่งดูอยู่ที่รูเจาะ มิได้เพ่งดูสีหรือส่วนอื่นของแก้วมณี ฉันใด โยคีก็เพ่งดูความแตกดับของขันธ์ทั้งหลายมิได้เพ่งดูขันธ์ทั้งหลาย ฉันนั้น)


      เมื่อโยคาวจรปฏิบัติมาจนถึงภังคานุปัสสนาญาณแล้ว จิตใจย่อมไม่ส่ายไปส่ายมาในทิฏฐิต่างๆ มี สัสสตทิฏฐิ เป็นต้น และเป็นผู้ที่มีมนสิการอยู่เสมอว่า "สิ่งที่ยังไม่ดับ ก็กำลังดับ สิ่งที่ยังไม่แตกก็กำลังแตก" ไม่มนสิการถึงความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความเป็นไป และนิมิตของสังขารทั้งหลายทั้งปวง คงเห็นแต่ความแตกคับเพียงอย่างเดียว ประดุจบุคคลที่กำลังเห็นการแตกของภาชนะที่บอบบาง หรือเห็นการแตกกระจายของฝุ่นละอองที่กำลังปลิวว่อนอยู่ในอากาศ เพราะบุคคลใช้วัตถุมีก้อนหินเป็นต้น ทุ่มไปที่กองฝุ่นหรือเห็นดุจการแตกของเมล็ดงาที่กำลังถูกคั่ว หรือเหมือนบุรุษที่ยืนอยู่ ณ ริมฝั่งสระโบกขรณีหรือริมฝั่งแม่น้ำเมื่อฝนกำลังตกอย่างหนัก เขาก็สามารถเห็นต่อมน้ำใหญ่ๆ เกิดขึ้นบนผิวน้ำแล้วก็เตกไปทันทีหันใด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึง โยคาวจรที่บรรลุถึงภังคานุปัสสนานี้ จึงตรัสว่า

      ยถา ปูพฺพุฬกํ ปสฺเส       ยถา ปสฺเส มรีจิกํ

      เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ       มจฺจุราชา น ปสฺสตีติ ฯ

พระยามัจจุราชย่อมไม่เห็นบุคคลซึ่งกำหนดเห็นโลก (ขันธ์ ๕) เหมือนเห็นต่อมน้ำ หรือพยับแดดฉะนั้น


อานิสงส์ของภังคญาณ

      เมื่อโยคาวจรเห็นอยู่เนืองๆ ว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวงแตกดับไปๆ" อยู่อย่างนั้น ภังคานุปัสสนาญาณก็จะมีกำลังแก่กล้าพร้อมด้วยอานิสงส์ ๘ ประการ คือ :

      ๑. ละภวทิฏฐิ

      ๒. สละความรักใคร่ในชีวิต

      ๓. มีความเพียรมั่นคงในการปฏิบัติ

      ๔. มีอาชีพอันบริสุทธิ์

      ๕. ละความทะเยอทะยาน

      ๖. ปราศจากความกลัว

      ๗. ประกอบด้วยขันติและโสรัจจะ

      ๘. อดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ และในความกำหนัดยินดี

ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า :.

      อิมา อฏฺฐคฺคุณมุตฺตมานิ

      ทิสฺวา ตหึ สมฺมสตี ปุนปฺปุนํ

      อาทิตฺตเจลสฺสิรสูปโม มุนิ

      ภงฺคานุปสฺสี อมตสฺส ปตฺติยา ฯ

      มุนีที่มีปรกติเห็นเนืองๆ ซึ่งความแตกดับ ครั้นเห็นคุณอันยอดเยี่ยม ๘ ประการแล้ว 

      เสมือนบุคคลที่มีผ้าโพกศีรษะซึ่งไฟกำลังไหม้อยู่ ก็กำหนดเห็นแล้วเห็นเล่าอยู่ด้วย

      ภังคานุปัสสนาญาณนั้น เพื่อบรรลุถึงอมตะคือนิพพาน


จบ ภังคญาณ

----------------


[full-post]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,ภังคญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.