๔. อุทยัพพยญาณ

      "อุทยัพพยญาณ" นี้เมื่อแยกบทแล้วมี ๓ บทคือ อุทยะ + วยะ + ญาณ รวมเป็นอุทยัพพยญาณ (แปลง ว เป็น พ ซ้อน พ) แปลว่า ปัญญาเห็นความเกิดขึ้น และการแปรไปของรูปนาม ดังมีวจนัตถะว่า 

      อุปฺปาทภงฺคานุปสฺสนาวสปฺปวตฺตํ ญาณํ อุทยพฺพยญาณํ แปลว่า ญาณที่เป็นไปด้วยอำนาจการพิจารณาความเกิดขึ้น และความดับแห่งสังขารทั้งหลาย ชื่อว่า "อุทยัพพยญาณ" องค์ธรรมได้แก่ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตจิต


อุทยัพพยญาณมี ๒ อย่าง คือ

      ๑. ตรุณอุทยัพพยญาณ คืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อนที่ยังมีวิปัสสนูปกิเลสเกิดปะปนอยู่ เรียกว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คืออยู่ในระหว่างวินิจฉัยว่าทางหรือไม่ใช่ทาง เมื่อติดใจในวิปัสสนูปกิเลสเรียกว่า อมัคคะ ถ้าไม่ติดใจก็เรียก มัคคะ

      ๒. พลวอุทยัพพยญาณ คืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ปัญญาที่เห็นความเกิดดับของรูปนามผ่านอุปสรรดอันตราย คือผ่านวิปัสสนูปกิเลสไปได้ดำเนินไปตามมัคคปฏิปทาโดยตรง โดยพิจารณาเห็นความเกิดดับของรูปนามดังต่อไปนี้ คืออุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายความว่าปัญญาที่เห็นเนื่องๆ ในความปรวนแปรของปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ปัญญาที่เห็นความปรวนแปรของปัจจุบันนธรรมทั้งหลาย คือปัญญาเห็นรูปที่เกิดแล้วซึ่งเป็นปัจจุบัน (อุทยะ) และเห็นความปรวนแปรของรูปนั้น เช่น กำลังดับ (วยะ) เป็นต้น หรือปัญญาที่เห็นอยู่เนืองๆ ในลักษณะแห่งการเกิดหรืออาการใหม่ของรูปนามว่าเป็นอุทยะ (ความเกิดขึ้น) และเห็นอยู่เนืองๆ ในลักษณะแห่งความปรวนแปร ความสิ้นไป ความแตกดับไป ว่าเป็น วยะ (ความดับไป) ผู้ปฏิบัติควรพิจารณาว่า ก่อนที่รูปนามจะเกิดขึ้นก็มิได้มีอยู่ในที่ใด แม้เมื่อรูปนามเกิดขึ้นแล้วก็มิได้เกิดมาจากที่ใด แม้เมื่อรูปนามกำลังคับก็หาไปสู่สถานที่ใดไม่แม้เมื่อรูปนามดับไป ก็มิได้ไปตั้งอยู่สถานที่แห่งใด เปรียบเหมือนการบรรเลงพิณ คือก่อนที่เสียงจะเกิดขึ้นก็หามีที่เก็บไช้ไม่ เมื่อเสียงกำลังเกิดขึ้นก็มิได้มาจากที่ใด เมื่อเสียงกำลังคับ ก็มิได้ไปสู่ที่ใด และเมื่อเสียงดับไปแล้วก็มิได้ไปเก็บอยู่ ณ ที่ใด และเมื่อเสียงตับไปแล้ว ก็มิได้ไปเก็บอยู่ ณ ที่ไหน เสียงพิณนั้นไม่มีอยู่ก่อนแต่เพราะอาศัยพิณ การบรรเลงและความพยายามเสียงพิณจึงปรากฎมีขึ้น ฉันใด ธรรมทั้งหลายที่เป็นรูปและนาม ไม่มีก็มีขึ้น มีขึ้นแล้วก็กลับดับไป ฉันนั้น

      การเกิดดับของขันธ์ ๕ มีลักษณะ ๕๐ อย่าง

      ๑. เห็นความเกิดของรูปขันธ์ ๕ ลักษณะ คือ ๑) เห็นรูปขันธ์เกิดเพราะอวิชชาเกิด ๒) เพราะตัณหาเกิด ๓) เพราะกรรมเกิด ๔) เพราะอาหารเกิด ๕) เพราะเห็นลักษณะแห่งความเกิด

      ๒. เห็นความดับของรูปขันธ์ ๕ ลักษณะ คือ ๑) เห็นรูปขันธ์ดับเพราะอวิชชาดับ ๒) เพราะตัณหาดับ ๓) เพราะกรรมดับ ๔) เพราะอาหารดับ ๕) เพราะเห็นลักษณะของความแปรปรวน

      ๓. เห็นความเกิดของเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ อย่างละ ๕ ลักษณะ คือ 

          ๑) เห็นเวทนาขันธ์เกิด สัญญาขันธ์เกิด สังขารขันธ์เกิด เพราะอวิชชาเกิด ๒) เพราะตัณหาเกิด ๓) เพราะกรรมเกิด ๔) เพราะผัสสะเกิด ๕) เพราะเห็นลักษณะแห่งความเกิด

      ๔. เห็นความดับของเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ อย่างละ ๕ ลักษณะ คือ 

          ๑) เห็นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ดับ เพราะอวิชชาดับ ๒) เพราะตัณหาดับ ๓) เพราะกรรมดับ ๔) เพราะผัสสะดับ ๕) เพราะเห็นลักษณะของความแปรปรวน

      ๕. เห็นความเกิดของวิญญาณขันธ์ ๕ ลักษณะ คือ : ๑) เห็นวิญญาณขันธ์เกิด เพราะอวิชชาเกิด ๒) เพราะตัณหาเกิด ๓) เพราะกรรมเกิด ๔) เพราะรูปนามเกิด ๕) เพราะเห็นลักษณะแห่งความเกิด

       ๖. เห็นความดับของวิญญาณขันธ์ ๕ ลักษณะคือ ๑) เห็นวิญญาณขันธ์คับ เพราะอวิชชาดับ ๒) เพราะตัณหาดับ ๓) เพราะกรรมดับ ๔) เพราะรูปนามดับ ๕) เพราะเห็นลักษณะของความแปรปรวน 

     ผู้ปฏิบัติเมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้วตรุณอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น


การเห็นรูปนามโดยปัจจัยและขณะ

      การเห็นความเกิดขึ้นและดับไปของรูปโดยอาศัยอวิชชาเป็นต้นนั้น เป็นการเห็นโดยปัจจัย ส่วนการเห็นลักษณะแห่งความเกิดเฉพาะในขณะเกิดเท่านั้น หรือการเห็นลักษณะของความปรวนแปรเฉพาะในขณะดับเท่านั้น เป็นการเห็นโดยขณะ เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นรูปนามโคยปัจจัยและขณะอยู่อย่างนี้ อริยสัจ ๔ ก็จักปรากฏ คือ :

      ๑. การเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัยสมุทยสัจก็ย่อมปรากฏ เพราะรู้ถึงปัจจัยให้เกิด

      ๒. การเห็นความเกิดขึ้นโดยขณะทุกขสัจย่อมปรากฏ เพราะรู้ว่าความเกิดเป็นทุกข์ หรือการเห็นความดับไปโดยขณะ และรู้ว่าความดับเป็นทุกข์ ทุกขสัจก็ย่อมปรากฏ

      ๓. การเห็นความดับไปโดยปัจจัย นิโรธสัจก็ย่อมปรากภูเพราะรู้ว่าธรรมทั้งหลายไม่เกิดเพราะไม่มีปัจจัย

      ๔. การเห็นความเกิดขึ้นและดับไปโดยปัจจัยและโดยขณะ และกำจัดเสียซึ่งความฟั่นเฝือในความเกิดขึ้นและดับไปเป็น มรรคสัจ ฝ่ายโลกียะ


ปฏิจจสมุปบาทก็จักปรากฏ ดังนี้ :

      ฝ่ายอนุโลม เมื่อเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัยเพราะรู้ลงไปว่า "อิมสฺมึ สติ, อิทํ โหติ เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้จึงมี" ฝ่ายปฏิโลม เมื่อเห็นความดับไปโดยปัจจัยเพราะรู้ลงไปว่า "อิมสฺส นิโรธา, อิทํ นิรุชฺฌติ เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับ"


นัย ๔ อย่าง ก็จักปรากฏ ดังนี้ :

      ๑. เอกัตตนัย (นัยแห่งความเป็นอันเดียว)  คือ การเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัย และรู้ถึงความไม่ขาดสายและสืบต่อของเหตุและผล ก็ละอุจเฉททิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น

      ๒. นานัตตนัย (นัยแห่งความต่างกัน) คือ การเห็นความเกิดขึ้นโดยขณะและรู้ถึงความเกิดขึ้นของสังขารใหม่ๆ ก็ละสัสสตทิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น

      ๓. อัพยาปารนัย (นัยแห่งความไม่ขวนขวาย) คือการเห็นความเกิดขึ้นและดับไปโดยปัจจัย และรู้ว่าธรรมทั้งหลายไม่เป็นไปตามอำนาจ ก็ละอัตตทิฎฐิได้ดียิ่งขึ้น

      ๔. เอวังธัมมตานัย (นัยแห่งความที่เป็นธรรมอย่างนี้) คือการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัยและรู้ถึงความเกิดขึ้นของผลตามสมควรแก่ปัจจัย ก็ละอกิริยทิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น

ลักษณะ ๓ อย่าง ก็จักปรากฏ ดังนี้ :

            ๑) อนัตตลักขณะ คือการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัย และรู้ว่าธรรมทั้งหลายเป็นไปต่อเนื่องด้วยปัจจัยปราศจากผู้กระทำ

            ๒) อนิจจลักขณะ คือการเห็นความเกิดขึ้นและดับไปโดยขณะ และรู้ถึงความมีแล้วไม่มี รู้ความว่างเปล่าในเบื้องต้นและที่สุด

            ๓) ทุกขลักขณะ คือการรู้ถึงความเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดขึ้นและดับไป แม้สภาวลักษณะก็ปรากฎชัดด้วย เพราะมุ่งลงไปที่ตัวธรรมะ (รูปนาม) ที่เกิดขึ้นและดับไป แม้สังขตลักษณะที่เป็นไปชั่วขณะนั้นก็ปรากฎชัดในสภาวลักษณะเพราะรู้ว่าไม่มีความดับไปในขณะที่กำลังเกิดขึ้น และรู้ว่าไม่มีความเกิดขึ้นในขณะที่กำลังดับไป


อารัทธวิปัสสโก

      เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นความแตกต่างของสัจจะ ปฏิจจสมุปบาท นัย และลักขณะปรากฎชัดอย่างนี้ สังขารทั้งหลายก็ปรากฎเป็นของใหม่อยู่เป็นนิตย์ทีเดียวว่า ธรรมทั้งหลายชื่อนี้ว่าแต่ก่อนไม่เคยเกิด เดี๋ยวนี้เกิดขึ้นแล้ว เกิดแล้วก็ดับไป และมิใช่สังขารทั้งหลายปรากฎเป็นของใหม่เท่านั้นแต่ปรากฏมีปกติตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยเท่านั้นประดุจหยาดน้ำค้างต่อมน้ำ รอยขีดบนผิวน้ำ เมล็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม สายฟ้าแลบและปรากฏว่า ไม่มีสาระแก่นสาร ไม่เป็นสาระประดุจมายาการ พยับแดค ความฝัน ควงคุ้นฝืนติดไฟ สร้างวิมานในอากาศ ฟองน้ำ ต้นกล้วย

      ด้วยวิธีปฏิบัติดังกล่าวมานี้ ผู้ปฏิบัติได้ชื่อว่าบรรลุถึงแล้วซึ่งตรุณวิปัสสนาญาณหรืออุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (อย่างอ่อน) เพราะแทงตลอคลักษณะ ๕๐ อย่างโดยอาการที่ว่า "สิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดานั่นเอง เกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความดับไป" ผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ชื่อว่า "อารัทธวิปัสสโก" คือผู้เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาหรือผู้เริ่มต้นเห็นแจ้ง

      ในลำดับของตรุณวิปัสสนาญาณ หรืออุทยัพพยานุปัสสนา (อย่างอ่อน) นี้วิปัสสนูปกิเลส คือสิ่งที่ทำให้วิปัสสนาญาณหม่นหมอง จะบังเกิดขึ้นแก่โยคีที่เริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนา วิปัสสนูปกิเลสจะไม่บังเกิดแก่บุคคล ๓ พวก ดังที่กล่าวมาแล้ว


อธิบายในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐

      วิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้ย่อมจะเกิดขึ้นแก่ผู้มีความเพียรเจริญวิปัสสนาในเมื่อได้บรรลุถึงอุทยัพพยญาณที่ยังอ่อนอยู่ ถ้าผู้มีความเพียรนั้นพลาดพลั้งหลงกลต่อวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้แล้ว ก็ย่อมจะเข้าถึงสภาวะที่ไม่สามารถบำเพ็ญความเพียรวิปัสสนาต่อไปได้ เพราะเข้าใจผิดคิดไปว่าตนได้สำเร็จแล้ว ตนสิ้นกิเลสเป็นพระอรหันต์ แล้วอันเป็นเหตุให้ได้รับความอิ่มอกอิ่มใจ ขาดความเพียรที่จะปฏิบัติต่อไปแต่ถ้ามีอุปนิสัย วาสนา บารมีมาแต่อดีตชาติ คือเป็นบุคคลที่ควรบรรลุมรรคผลเพราะปฏิสนธิด้วยไตรเหตุ และสามารถพาตนให้ผ่านวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปได้แล้ววิปัสสนาญาณก็จะดำเนินไปตามแนวทางแห่งรูปนาม  มีอาการเกิดดับชัดเจนและจักชัดเจนยิ่งๆ ขึ้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงว่า ผู้ประกอบความเพียรวิปัสสนานั้นได้บรรลุถึงอุทยัพพยญาณอย่างแก่เต็มที่แล้ว รอเวลาที่ก้าวขึ้นสู่ญาณเบื้องสูงต่อไปท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ ได้กล่าวถึงใจที่ถูกวิปัสสนูปกิเลสหรืออุปกิเลสครอบงำไว้ว่า :-

      พระภิกษุขณะมนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยงนั้น โอภาส คือแสงสว่างก็บังเกิดขึ้น พระภิกษุนั้นก็นึกถึงโอภาสเหล่านั้นว่า "โอภาสเป็นธรรม" ดังนั้นความฟุ้งซ่านหรืออุทธัจจะที่มีโอภาสเป็นเหตุ จึงครอบงำพระภิกษุนั้นผู้ซึ่งไม่กำหนดรู้ถึงความปรากฎของความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่กำหนดรู้ถึงความปรากฎของความทุกข์ตามความเป็นจริง และไม่กำหนครู้ถึงความปรากฏของความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริงแม้วิปัสสนูปกิเลสอื่นๆ มี ญาณ คือ ความรู้ เป็นต้น จนถึงนิกันติ คือความยินดีพอใจ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันกับ โอภาส คือ แสงสว่างนั่นเอง

      ๑. โอภาส คือ แสงสว่าง ได้แก่ วิปัสสโนภาส หมายถึงแสงสว่างในวิปัสสนา เมื่อวิปัสสโนภาสเกิดขึ้น โยคาวจรก็คิดว่า "แสงสว่างเช่นนี้ไม่เคยปรากฎแก่ตัวเราเลย เราคงบรรลุมรรคผลแน่แล้ว" เมื่อโยคาวจรมีความคิดเช่นนี้ก็ถือเอาสิ่งที่มิใช่มรรคว่าเป็นมรรค สิ่งที่มิใช่ผลว่าเป็นผล จึงเป็นเหตุให้วิปัสสนาญาณก้าวออกไปนอกทางที่ถูกต้อง เพราะ โยคาวจรจะละทิ้งอารมณ์ของวิปัสสนาเดิม หรือมูลกรรมฐานเดิมเสียแล้วกลับมานั่งชื่นชมวิปัสสโนภาสอยู่ด้วยอำนาจของตัณหา มานะ และทิฏฐิวิปัสสโนภาส หรือแสงสว่างในวิปัสสนานี้ มีกำลังของความสว่างไสวไม่เท่ากัน คือ สำหรับโยคาวจรบางท่าน

            ๑. ส่องสว่างเพียงฐานบัลลังก์เท่านั้น

            ๒. ส่องสว่างตลอดภายในห้อง

            ๓. ส่องสว่างภายนอกห้องด้วย

            ๔. ส่องสว่างไปทั่ววิหารทั้งหมด

            ๕. ส่องสว่างไปตลอด ๑ คาวุต

            ๖. ส่องสว่างไปตลอดครึ่งโยชน์

            ๗. ส่องสว่างไปตลอด ๑ โยชน์

            ๘. ส่องสว่างไปตลอด ๒ โยชน์

            ๙. ส่องสว่างไปตลอด ๓ โยชน์ ฯลฯ

            ๑๐. ส่องสว่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตั้งแต่พื้นปฐพีขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นอกนิษฐ์

            ๑๑. แต่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าส่องสว่างไปตลอด ๑๐,๐๐๐ โลกธาตุ

      อุทาหรณ์ความเหมือนกันและแตกต่างกันของวิปัสสโนภาสที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระเถระ ๒ รูป นั่งอยู่ภายในเรือนมีฝา ๒ ด้าน ณ จิตตลบรรพต วันนั้นเป็นวันอุโบสถข้างแรมมีเมฆหนาทึบในราตรีกาล ในคืนนั้นพระเถระรูปหนึ่งกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดอกไม้ ๕ สี บนสีหาสนะในลานพระเจดีย์กำลังปรากฏแก่กระผมอยู่ "พระเถระอีกรูปหนึ่งกล่าวว่า "อาวุโส ยังไม่อัศจรรย์เลย เพราะว่าในขณะนี้เต่าและปลาทั้งหลายที่ห่างออกไป ๑ โยชน์ในมหาสมุทร กำลังปรากฎแก่กระผมอยู่ "โดยส่วนมากวิปีสสนูปกิเลสนี้มักเกิดแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนาภาวนา แบบสมถวิปัสสนา คือ เจริญสมถะมาก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาภายหลัง เพราะว่า กิเลสทั้งที่ถูกข่มไว้ด้วยอำนาจของสมาธิไม่สามารถกำเริบได้ จึงทำให้ผู้ที่ได้สมถวิปัสสนานั้นเกิดความคิดว่า "ได้เป็นพระอรหันต์" เหมือนกับท่าน

            ๑) พระมหานาคเถระ ที่อยู่ในอุจจังกวาสิก

            ๒) พระมหาทัตตเถระ ที่อยู่ในหังกนกะ

            ๓) พระจูฬสุมนเถระ ที่อยู่ในนิงกเปณณกปธานฆระ บนภูเขาจิตตละ

      ๒. ญาณ หมายถึง วิปัสสนาญาณ ในขณะที่โยคีกำลังเทียบเคียงไตร่ตรองรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายอยู่นั้น ญาณ ซึ่งมีกระแสอันปราดเปรียวแหลมคมแก่กล้าชัดแจ้ง ก็บังเกิดขึ้น ประดุจคังวชิระของพระอินทร์ที่ทรงซัดออกไป

      ๓. ปีติ หมายถึง ความเอิบอิ่มที่ประกอบด้วยวิปัสลนา ปีติที่เกิดขึ้นในระยะนี้มี ๕ อย่าง คือ

            ๑) ขุททกาปีติ ความเอิบอิ่มเล็กน้อย

            ๒) ขณิกาปีติ ความเอิบอิ่มที่เพิ่มพูนทุกขณะ

            ๓) โอกกันติกาปีติ ความเอิบอิ่มซ่านเชื้น

            ๔) อุพเพงคาปิติ ความเอิบอิ่มโลดแล่น

            ๕) ผรณาปีติ ความเอิบอิ่มซาบซ่าน

      ปีติทั้ง ๕ อย่างนี้ จะเกิดขึ้นทั่วสรีรกาย

      ๔. ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบในวิปัสสนา เมื่อโยคีผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนากำลังนั่งอยู่ในที่พักกลางคืนหรือกลางวันก็ตาม ในขณะนั้นทั้งกายและใจของโยคี จะปราศจากสิ่งรบกวนเหล่านี้ คือ

            ๑) ความกระวนกระวาย

            ๒) ความหนัก

            ๓) ความแข็งกระด้าง

            ๔) ความไม่ควรแก่การงาน

            ๕) ความเจ็บไข้

            ๖) ความคดโกง

      แต่ว่า กายและใจของโยคีท่านนั้นจะประกอบไปด้วยคุณคือ

            ๑) ความสงบ

            ๒) ความเบา

            ๓) ความอ่อน

            ๔) ความควรแก่การงาน

            ๕) ความผ่องใส

            ๖) ความเที่ยงตรง

      เมื่อโยคีได้รับความอนุเคราะห์จากปัสสัทธิเช่นนี้แล้ว ก็จะมีความเพลิดเพลินยินดีที่มิใช่เกิดแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสระบุถึงไว้ ว่า

            สุญญาคารํ ปวิฏฺฐสฺส     สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน

            อมานุสี รตี โหติ         สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโต

            ยโต ยโต สมฺมสติ       ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ

            ลภตี ปีติปาโมชฺชํ        อมตนฺตํ วิชานตํ ฯ

      ความยินดีที่มิใช่เกิดแก่มนุษย์ทั่วไป แต่สามารถเกิดแก่พระภิกษุที่เข้าสู่อาคารอันเงียบสงัด 

      และมีจิตใจที่สงบ เห็นแจ้งธรรมด้วยความถูกต้อง เมื่อพระกิกษุนั้นกำหนดรู้ความเกิด

      และดับของขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอุทยัพพยญาณในรูปธรรมหรือนามธรรมอยู่ ย่อมได้ปีติ 

      และปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์ของพระภิกษุผู้รู้แจ้งนั้น เป็นอมตะ

          ปัสสัทธิอันประกอบด้วยธรรมมี ความเบา เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้โยคีได้รับความยินดีที่มิใช่ของมนุษย์ทั่วไปเกิดขึ้นนั้น ก็มีคังกล่าวมานี้

      ๕. สุข หมายถึง ความสุขที่ประกอบด้วยวิปัสสนา คือในขณะที่ โยคีผู้เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนากำลังปฏิบัติอยู่นั้น ความสุขอันประณีตยิ่งก็บังเกิดขึ้นท่วมท้นไปทั่วสรีรกาย เป็นสุขท่วมท้นหัวใจ ไม่สามารถที่จะบรรยายให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นสุขที่มีรสอันล้ำลึกแปลกประหลาด เป็นสุขที่ประเสริฐกว่าความสุขธรรมดาที่มนุษย์พบเห็น สรุปว่าบรรดาความสุขทั้งหลาย อะไรจะมาสุขเท่าวิปัสสนาสุขเป็นไม่มี ฉะนั้นถ้ามนสิการไม่ดีจะทำให้โยคีเข้าใจผิดดังกล่าวมาแล้ว

      ๖. อธิโมกข์ หมายถึง ความเชื่อ หรือศรัทธาที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนานั่นเอง

      อธิโมกข์ที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสนี้เป็นความผ่องใสอย่างยิ่งของจิตและเจตสิก เป็นศรัทธาที่มีกำลัง เพราะจิตและเจตสิกผ่องใสเป็นอย่างยิ่ง ด้วยอำนาจศรัทธากล้าพาให้นึกคิดไปใหญ่โต เช่นคิดถึงคนทั้งหลายอยากให้เขาได้เข้ากรรมฐานอย่างตนบ้าง เช่นคนที่รักใคร่ชอบพอ บิดา มารดา อุปัชฌาจารย์ อันศรัทธาชนิดนี้มีความรุนแรงมาก ขนาดที่ว่าเม้ท่านผู้มีพระคุณเหล่านั้นได้ตายไปแล้วตนก็แทบจะไปขนกระดูกท่านเหล่านั้นมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเหมือนตนบ้างทีเดียว เมื่อนึกใกล้เข้ามาถึงอาจารย์ผู้ให้กรรมฐานแก่ตนในปัจจุบันก็เกิดศรัทธาในตัวท่าน นึกถึงบุญคุณของท่านตลอดจนบุญคุณของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ว่าการที่ตนได้พบเห็นธรรมะได้รับความสุขอยู่ในขณะนี้ก็เพราะได้อาจารย์ช่วยแนะนำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งแต่ก่อนนั้นเคยเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง แต่บัดนี้เชื่อจริงๆ ถ้าจะทำกุศลใดๆ ในภายหน้าก็จะทำแต่เฉพาะกุศลที่เกี่ยวกับวิปัสสนานี้เพราะได้เห็นคุณค่าของการปฏิบัติ ถ้าโยคีผู้นั้นเป็นบรรพชิตก็จะคิดวางแผนการ สร้างมโนภาพว่าเมื่อตนสำเร็จออกจากกรรมฐานไป จะต้องไปหาที่ที่เหมาะตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานขึ้น แล้วตั้งตัวเองเป็นอาจารย์สั่งสอนให้คนทั้งหลายได้รู้จักพระศาสนาที่ถูกต้องว่าประโยชน์ที่แท้จริง คือ การปฏิบัติวิปัสสนานี้เองคนทั้งหลายยังโง่มากที่ไม่รู้จักปฏิบัติอย่างที่ตนกำลังทำอยู่นี้เป็นที่น่าสงสาร ฉะนั้นจะต้องช่วยเขาไม่ให้หลงผิดจะได้พ้นทุกข์ เมื่อคิดเพลิดเพลินไปด้วยศรัทธาอันแรงกล้า โยคีนั้นก็เลยลืมอารมณ์กรรมฐาน คือการตั้งสติกำหนดทำให้กรรมฐานบกพร่อง อันที่จริงศรัทธาที่เกิดขึ้นเป็นของดี เพระเป็นศรัทธาที่เกิดขึ้นในขณะที่จิตบริสุทธิ์ผุดผ่องซึ่งคนธรรมดาจะเกิดศรัทธาขนาดนี้ไม่ได้ แต่ที่จะเป็นวิปัสสนูปกิเลสก็เพราะว่าเมื่อจิตเพลิดเพลิน ไปด้วยศรัทธาก็ทำให้ละเลยอารมณ์กรรมฐาน คือการตั้งสติกำหนดทำให้เสียเวลาในการปฏิบัติวิปัสสนาและเมื่อมนสิการไม่ดี มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ เข้ามาประสมด้วยก็จะทำให้การบำเพ็ญไม่มั่นคง หรือไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร

      ๗. ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ซึ่งเป็นความเพียรที่ไม่หย่อนเกินไปไม่ตึงเกินไปประกับประคองไว้เป็นอย่างดี พยายามในการปฏิบัติวิปัสสนาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่ก่อนเม้อาจารย์จะคอยเตือนให้พยายามทำความเพียรก็รู้สึกว่ายากเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย หมดความเพียร แต่บัดนี้มีความคิดเช่นนั้นหายไปสิ้น เกิดความขยันขึ้นเป็นพิเศษจนทำให้ตนเองแปลกใจว่า เหตุใดตนจึงได้มีวิริยะมากไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการปฏิบัติเช่นนี้ และเมื่อมนสิการไม่ดีก็จะเข้าใจตนเองผิดไปว่าได้มรรคผล นิพพานแล้ว ปัคคาหะคือ ความเพียรจึงเป็นวิปัสสนูปกิเลส

      ๘. อุปัฏฐาน หมายถึง สติที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ซึ่งเป็นสติที่เข้าไปตั้งอยู่อย่างดี มั่นคงฝังลึกไม่หวั่นไหว ประดุจภูเขาหลวง สติอันเป็นอุปัฏฐานะนี้เมื่อเกิดแก่โยคีแล้ว  โยคีบุคคลรำพึงหรือนึกถึงอารมณ์ใดอารมณ์นั้นก็โลดแล่นเข้าไปอยู่ด้วยสตินั้นประหนึ่งปรโลกปรากฏแก่บุคคลผู้มีทิพยจักษุ

      ๙. อุเบกขา หมายถึง วิปัสสนูเปกขา และ อาวัชชนูเปกขา วิปัสสนูเปกขาได้แก่ ความเป็นกลางในสังขารทั้งปวง ส่วนอาวัชชนูเปกขาได้แก่ ความเป็นกลางที่เกิดขึ้นในมโนทวารนั่นเอง อุเบกขาทั้งสองนี้ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ซึ่งเริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนา และเมื่ออุเบกขากำลังดำเนินไปอย่างนี้ โยคีรำพึงถึงอารมณ์ใด อุเบกขานั้นก็จะดำเนินไปอย่างแก่กล้าแหลมคม ไม่ยินดียินร้ายต่อทุกสิ่งเหมือนคนไม่มีกิเลส ไม่สะดุ้งสะเทือนต่ออารมณ์ทุกชนิด เป็นอุเบกขาที่มีกำลังแรงกล้า แม้จะมีอารมณ์ใดมากระทบก็ไม่หวั่นไหว วางเฉยเสียได้ทุกประการ จนตนเองก็แปลกใจในภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้เป็นยิ่งนัก ถ้ามนสิการไม่ดีก็ทำให้เข้าใจผิดคิดว่า ตนเป็นพระอรหันต์แล้วเพราะวางเฉยได้ ไม่ยินดียินร้ายอะไรเลย ความหมดกิเลสได้มรรคผลนิพพานเป็นอย่างนี้เองหนอ นี้เนื่องจากมีทิฏฐิเข้ามาแทรก และยังคิดต่อไปอีกว่าตนมีบุญวาสนามาก ปฏิบัติไม่นานเท่าใดก็ได้มรรคผลง่ายๆ ไม่มีใครจะเหมือนตน ทั้งนี้เนื่องจากมีมานะเข้ามาแทรก ต่อไปก็มีความคิดว่าตนสบายแล้ว ไม่ต้องยินดียินร้ายอะไรทั้งหมดอีกต่อไป ถึงออกจากกรรมฐานแล้วก็จะอยู่ใน โลกนี้อย่างสงบสบาย ไม่ต้องรัก ไม่ต้องชัง ไม่ต้องดีใจ เสียใจ ให้วุ่นวายเหมือนคนทั้งหลายที่กำลังเป็นกันอยู่ ขอให้ตนได้เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดไปเถิด นี้เรียกว่ามีตัณหาเข้ามาแทรก

      รวมความว่า อุเบกขานี้แท้จริงเป็นของดีแต่ถ้ามนสิการไม่ดี มีตัณหา มานะทิฏฐิเข้ามาแทรกก็จะกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลสไปเสีย ประดุจดังวชิระของพระอินทร์ที่ทรงซัดออกไปหรือประดุจลูกศรที่ติดไฟโพลงยิงไปในกองใบไม้ ฉะนั้น

      ๑๐. นิกันติ หมายถึง วิปัสสนานิกันติ หรือ ความยินดีพอใจในวิปัสสนา นิกันตินี้ เป็นสภาพที่มีอาการสงบสุขุม และเมื่อเกิดแก่พระโยคีแล้ว ย่อมทำความติดใจหรืออาลัยต่อวิปัสสนูปกิเลส มีโอภาสเป็นต้น นิกันติในวิปัสสนานี้เป็นความยินดีพอใจที่ใครๆ ไม่สามารถกำหนดรู้ได้ว่าเป็นกิเลส

      วิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีผู้ปฏิบัติทุกคนที่เป็นปุถุชนเมื่อบรรลุถึงอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ฉะนั้น พอถึงระยะนี้วิปัสสนาจารย์พึงคอยตักเตือน คอยให้สติ อย่าให้โยคีหลงผิดอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสเป็นอันขาด ควรแนะนำก็ต้องแนะนำ ควรว่าก็ต้องว่าอย่าได้เกรงใจ ต้องมุ่งประโยชน์เบื้องหน้าของโยคีบุคคลเท่านั้น


เรื่องพิเศษเกี่ยวกับวิปัสสนูปกิเลส

      ถ้าจะมีปุจฉาว่า เมื่อโยคีบุคคลบรรถถึง อุทยัพพยญาณอย่างอ่อนนี้แล้ว เหตุไฉนจึงต้องมีวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นเล่า ?

      คำวิสัชนาก็คือ วิปีสสนูปกิเลสเหล่านั้นเกิดขึ้นโดยอำนาจสมาธิคือ โยคีบุคคลปฏิบัติมาถึงขั้นนี้แล้ว กำลังสมาธิจะดีขึ้นมากทำให้จิตใจผ่องใส เป็นเหตุให้ได้พบเห็นสิ่งที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ที่ตนไม่เคยพบเห็นมาก่อนเช่น โอภาสเป็นต้น การที่โอภาสเกิดจากจิตใจผ่องใสนี้มีตัวอย่างคือ พระฉัพพรรณรังสีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมโลกุตตราจารย์ เมื่อทรงพิจารณาพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์นั้น ขณะที่ทรงพิจารณาคัมภีร์ที่ ๑ ถึงที่ ๖ ก็ทรงมีพระอากัปกิริยาเป็นธรรมดาเหมือนกับการพิจารณาธรรมตามปกติ มิได้มีสิ่งใดพิเศษเกิดขึ้น แต่เมื่อทรงพิจารณาถึงคัมภีร์ที่ ๗ คือ คัมภีร์ปัฏฐาน ก็เกิดฉัพพรรณรังสีรอบพระวรกาย และที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง คือรัศมีได้พวยพุ่งจากเปลวพระเกสาขึ้นไปเบื้องบนทะลุพรหมโลกไปสู่อัชฎากาส รัศมีเบื้องบาทพวยพุ่งลงเบื้องต่ำทะลุแผ่นดิน ทะลุน้ำรองแผ่นดิน ทะลุกองลม ไปสู่อัชฎากาส รัตมีเบื้องหน้าและเบื้องหลังพวยพุ่งไปสู่อนันตจักรวาล ทั้งนี้ก็เพราะพระพุทธเจ้าทรงมีพระหฤทัยผ่องใสเบิกบาน จึงได้ปรากฎพระฉัพพรรณรังสี มีพระรัศมีเป็นไปเช่นนั้น อนึ่ง ขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ตามปกติก็ดี ขณะที่ทรงแสดงพระอภิธรรม ๖ คัมภีร์ก็ดี ธรรมเหล่านั้นยังไม่กว้างขวาง ไม่เพียงพอแก่พระสัพพัญญุตญาณของพระองค์ที่ทรงได้สร้างพระปัญญาบารมีมาถึง ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนมหากัป แต่เมื่อถึงคัมภีร์ปัฏฐานซึ่งมีเนื้อความเป็นอนันตนัย ละเอียดลออคัมภีรภาพ สุขุมลุ่มลึก กว้างขวาง เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเป็นที่เที่ยวไปแห่งพระสัพพัญญุตญาณ เปรียบเหมือนมัจฉาชาติขนาดใหญ่ในโลกเช่น ปลาติมิงคละ หรือปลาอานันทะ ถ้าจะแหวกว่ายอยู่ในแม่น้ำเล็กๆ ก็ย่อมจะอึดอัดไม่สะดวกไม่ราบรื่นแจ่มใสว่ายไปไม่ได้เต็มที่ แต่ถ้าได้แหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทรทะเลหลวง ย่อมจะหมดความอึดอัด ได้รับความรื่นเริงเต็มที่เพราะว่ายไปได้สะดวก ข้อนี้ฉันใด พระพุทธองค์เมื่อทรงพิจารณาแสดงคัมภีร์ปัฏฐาน อันเป็นอนันตนัย คล้ายกับมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล เหมาะแก่การเป็นที่เที่ยวไปแห่งพระสัพพัญญุตญาณอันทรงสร้างสมมานานสุดที่ประมาณได้ ย่อมจะทรงมีพระหฤทัยบริสุทธิ์ผ่องใส วิปัสสนูปกิเลสก็ทำนองเดียวกันเมื่อโยคีบุคคลปฏิบัติวิปัสสนา บรรลุถึงอุทยัพพยญาณอย่างอ่อนนี้แล้วด้วยอำนาจของสมาธิที่แก่กล้าขึ้น ก็ทำให้เกิดวิปีสสนูปกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น โอภาสเป็นต้น

      เมื่อโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วโยคียึดถือเอาไว้และคิดว่า "ในกาลก่อนสภาวธรรมเช่นนี้ ไม่เคยปรากฎเกิดแก่ข้าพเจ้าเลยเมื่อเป็นดังนี้ ข้าพเจ้าต้องเป็นผู้บรรลุมรรคแน่แท้" แล้วก็ยึดถือสิ่งที่มิใช่มรรคผล ว่าเป็น มรรคผล อันเป็นผลทำให้วิปัสสนาวิถีก้าวออกนอกทางที่ถูกต้อง เพราะเหตุว่าโยคาวจรนั้นละทิ้งอารมณ์กรรมฐานเสียแล้วมาชื่นชมยินดีในวิปัสสนูปกิเลส


การจำแนกอุปกิเลส ๑๐ โดยคาหะ (ความยึดถือ) ๓ อย่าง 

      วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หรืออุปกิเลส ๑๐ ที่เรียกว่าเป็นอุปกิเลสนั้น เพราะว่าเป็นอารมณ์หรือเป็นวัตถุที่ตั้งของอุปกิเลส มิใช่เพราะว่าเป็นอกุศลแต่อย่างใค ยกเว้นนิกันดิเป็นทั้งตัวอุปกิเลสด้วย และเป็นทั้งอารมณ์ของอุปกิเลสด้วยอุปกิเลสหรือวิปัสสนูปกิเลสนี้เมื่อกล่าวถึงโดยทางเป็นอารมณ์ หรือเป็นวัตถุที่ตั้งแล้ว ก็คงมี ๑๐ อย่างมี โอภาส เป็นต้น แต่เมื่อว่าโดยทางคาหะคือ ความยึดถือก็มี ๓๐ อย่างคือ เมื่อโยคาวจรยึคถือว่า

      ๑. โอภาสเกิดขึ้นแก่เราแล้วจัดเป็น ทิฏฐิคาหะ คือ ยึดถือไว้ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ

      ๒. โอภาสที่เกิดแก่เรานี้ สวยงามถูกใจจริงหนอ จัดเป็น มานคาหะ คือยึดถือไว้ด้วยอำนาจแห่งมานะ

      ๓. เมื่อโยคาวจรมีความชื่นชมยินดีในโอภาสนั้น จัดเป็น ตัญหาคาหะ คือยึดถือไว้ด้วยอำนาจแห่งตัญหา

      แม้ในอุปกิเลสที่เหลือก็มีอย่างละ ๓ เหมือนกับโอภาสฉะนั้น จึงรวมเป็นอุปกิเลส ๓๐ โดยทางคาหะ ด้วยประการฉะนี้.   

      ผู้ไม่ฉลาดในอุปกิเลส เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นเช่นนี้แล้วก็ทำให้จิตใจของโยคาวจรไม่ฉลาด ไม่เฉียบแหลม หวั่นไหว ฟุ้งซ่านอยู่ในกิเลสเหล่านั้นและด้วยอำนาจของคาหะเหล่านั้น ย่อมทำให้โยคาวจรเห็นอุปกิเลสทั้งหลายเนืองๆ ว่า "อุปกิเลสเป็นเรา เราเป็นอุปกิเลสอุปกิเลส เป็นอัตตาของเรา"

      ธรรมชาติ ๙ อย่างคือ ตั้งแต่โอภาสจนถึงอุเบกขาเป็นกุศลแท้ เพราะจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องใช้ความเพียรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาไม่น้อย แต่ที่มามีสภาพเป็นอุปกิเลสก็เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว อุปกิเลส ๓ คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เหล่านี้ได้โอภาสแทรกเข้ามาเช่นเมื่อโอภาสปรากฏขึ้น ทิฏฐิก็จะเกิดแก่โยคี ทำให้นึกคิดไปว่าแสงสว่างเกิดขึ้นนี้ คงเป็นเพราะตนได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วต่อจากนั้น มานะก็จะเกิดขึ้นทำให้คิดไปว่าตนมีบุญแท้ๆ ต่อจากนั้นก็จะยินดีชอบใจว่า ขอให้เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดไป อันแสดงว่าตัณหาเกิดขึ้นแล้วเลยทำให้โอภาสซึ่งตัวจริงแล้วเป็นของดีแท้ๆ มากลายสภาพเป็นอุปกิเลสไป ในเรื่องนี้มีอุปมาดังต่อไปนี้

      ยังมีอุบาสกผู้หนึ่งเป็นคนดีมีศีลธรรมเป็นหัวหน้ามรรคทายกวัดแห่งหนึ่ง เป็นที่นับถือของคนทั่วไปทั้งพระภิกษุสามเณรและชาวบ้าน วันหนึ่งมีเพื่อนขี้เมาคนมาชวนไปเที่ยวในตลาด และพากันเข้าไปในร้านสุรา เมื่อนั่งลงแล้วเพื่อนทั้ง ๓ ก็สั่งสุรามาดื่มจนเมาและคุยกันเอะอะ ฝูงชนเดินผ่านไปมาได้ยินเสียงดังต่างก็เหลียวดู เห็นอุบาสกผู้นั้นนั่งอยู่ในวงเหล้าก็นึกติฉินนินทา พากันเข้าใจผิดคิดว่าอุบาสกที่ตนนับถือในคุณธรรมนั้นกลายเป็นคนดื่มสุราไปเสียแล้ว เพราะเห็นอยู่ว่าอุบาสกนั้นนั่งอยู่ในวงเหล้า และสถานที่นั่งก็เป็นโรงเหล้า แม้อุบาสกผู้นั้นยังมั่นอยู่ในศีลไม่ได้ดื่มเลย นั่งเฉยๆ อยู่แท้ๆ ก็ต้องถูกนินทาเสียชื่อเสียงเพราะเพื่อนขี้เมา ๓ คน นั้นเป็นผู้ก่อเหตุ

      ข้อนี้ฉันใด ธรรมชาติ ๙ ประการคือ ตั้งแต่โอภาสจนถึงอุเบกขา ก็เหมือนกัน ทั้งๆ ที่เป็นของดีเป็นกุศลแท้ๆ แต่ก็ต้องมาเสียชื่อกลายเป็นอุปกิเลสไปเพราะว่าเพื่อนขี้เมาทั้ง ๓ คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นตัวก่อเหตุ แต่พอผ่านญาณนี้ไปแล้วตัณหา มานะ ทิฏฐิ ก็ย่อมจากไป ธรรมทั้ง ๙ ประการก็กลับเป็นของดีตามเดิมและดีวิเศษเสียด้วย เพราะเป็นโพชมงค์คือ เป็นองค์คุณสำคัญของเหตุให้ได้มรรคผล ส่วนข้อสุดท้ายคือนิกันตินั้นเป็นตัวอกุศล เป็นอุปกิเลสแท้อย่างไม่ต้องสงสัย ฉะนั้นในวิสุทธิมรรดจึงแสดงไว้ว่า

      วิปสฺสนูปกิเลสา หิ ปฏิเวธปตฺตสฺส อริยสาวกสฺส, เจว วิปฺปฏิปนฺนกสฺส, จ นิกฺขิตฺตกมฺมฏฺฐานสฺส กุสีตปุคฺคลสฺส นุปฺปชฺชนฺติ ฯ

      พระอริยบุคคลผู้ถึงปฏิเวธคือ ท่านที่ผ่านโสพสญาณไปครั้งหนึ่งแล้ว อธิษฐานกลับลงมาถึงญาณนี้อีกหรือ พระอริยบุคคลที่สูงขึ้นไปกว่านี้ก็ดี, โยคีผู้ปฏิบัติผิดทางก็ดี โยคีผู้เกียจคร้านทอดทิ้งกรรมฐานก็ดี คนเหล่านี้ย่อมไม่พบวิปัสสนูปกิเลสเลย

      อนึ่ง ท่านกล่าวว่า สมฺมาปฏิปนฺนกสฺส ปน ยุตฺตปยุตฺตสฺส อารทฺธวิปสฺสกสฺส กุลปุตฺตสฺส อุปฺปชฺชนฺติเยว ฯ

      ส่วนผู้ปฏิบัติถูกทาง พยายามกำหนดวิปัสสนาไม่ท้อถอย จนถึงอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ย่อมจะพบวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้แน่นอน 


ผู้ฉลาดในอุปกิเลส

      แต่สำหรับโคาวจรที่ฉลาดเป็นบัณฑิตเฉียบแหลม ประกอบด้วยความรอบรู้ เมื่ออุปกิเลสทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้นก็กำหนดรู้ ใคร่ครวญด้วยสติปัญญาดังนี้ว่า :

      ๑. โอภาสนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแต่สภาวะของโอภาสนั้นไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่งอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา

      ๒. ถ้าโอภาสนี้เป็นอัตตาแล้ว การยึดถือโอภาสว่าเป็นอัตตาก็สมควร แต่โอภาสนี้มิใช่อัตตา เป็นอนัตตา เพราะว่าไม่เป็นไปในอำนาจ เป็นอนิจจัง เพราะว่ามีแล้วหามีไม่ เป็นทุกขัง เพราะว่ามีการเบียดเบียน

      ครั้นเมื่อโยคาวจรใคร่ครวญดังกล่าวมาแล้วก็จะเห็นเนืองๆ ในโอภาสว่า "โอภาสนี้มิใช่ของเรา เรามิใช่โอภาส โอภาสนี้มิใช่อัตตาของเรา" แม้ในอุปกิเลสที่เหลือก็พิจารณาในทำนองเดียวกัน และเมื่อโยคาวจรเห็นอยู่เสมอเนืองๆ อย่างนี้ก็ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอนด้วยอำนาจของอุปกิเลสทั้งหลาย เหตุนั้นพระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

            อิมานิ ทส ฐานานิ       ปญฺญายสฺส ปรีจิตา

            ธมฺมุทฺธจฺจกุสโล โหติ    น จ วิกฺเขปํ คจฺฉติ ฯ

      โยคีบุคคลนั้น กำหนดรู้ฐานะคือวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ประการนี้

      ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในธัมมุทธัจจะ* และย่อมไม่ถึงความ

      ฟุ้งซ่าน (ธมฺมุทฺธจฺจกุสโล เป็นผู้ฉลาดในการถอนตนขึ้นจากธรรม คือ วิปัสสนูปกิเลส)

      เมื่อ โยคาวจรปราศจากความฟุ้งซ่าน ชื่อว่า ถางชัฎคือ อุปกิเลสครบ ๓๐ อย่างได้แล้ว กำหนดรู้ว่า สิ่งใดเป็นมรรคและมิใช่มรรค เช่น ธรรมทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้นมิใช่มรรค แต่วิปัสสนาญาณที่พ้นแล้วจากอุปกิเลสและดำเนินไปตามวิถีแห่งวิปัสสนานั้นเป็นมรรค ปัญญาที่รู้ว่ามรรคและมิใช่มรรคนี้เกิดแก่โยคีใด ก็เป็นอันว่าโยคีนั้นบรรลุถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

      เมื่อโยคีได้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามาจนบรรลุถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้ ถือได้ว่าทำการกำหนดรู้ในสัจจะ ๓ อย่างด้วยโลกียปัญญา ดังนี้

      ๑. กำหนดรู้ทุกขสัจ ด้วยการกำหนดรู้รูปนามในทิฏฐิวิสุทธิ

      ๒. กำหนดรู้สมุทยสัจ ด้วยการกำหนดรู้ปัจจัยของรูปนามในกังขาวิตรณวิสุทธิ

      ๓. กำหนดรู้มรรคสัจ ด้วยการกำหนดรู้มรรคโดยชอบในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ


พลวอุทยัพพยญาณ

      พลวอุทยัพพยญาณ หรือ อุทยัพพยญาณอย่างแก่ อุทยัพพยญาณในเบื้องต้นไม่สามารถกำหนดรู้พระไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงได้เพราะถูกอุปกิเลส ๑๐ ทำให้มัวหมองลง ฉะนั้น โยคาวจรจึงต้องทำความเพียรพยายามต่อไปอีก จนสามารถพ้นจากอุปกิเลส ๑๐ แล้วอุทยัพพยญาณอย่างแก่ที่พ้นจากอุปกิเลสก็จะเกิดขึ้น แล้วสามารถกำหนดรู้พระไตรลักษณ์ได้อย่างมั่นคงชัดเจน

      ถามว่า ลักษณะทั้งหลายไม่ปรากฎ เพราะอะไรปีดบังไว้และเพราะไม่มนสิการอะไร ?

      ตอบว่า อันดับแรก อนิจจลักขณะ ไม่ปรากฎนั้นเพราะสันตติปิดบังไว้ และเพราะไม่มนสิการความเกิดและความดับ

      ทุกขลักขณะ ไม่ปรากฎนั้นเพราะอิริยาบถทั้งหลายปีดบังไ ว้ และเพราะไม่มนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดขึ้นและความดับไปอนัตตลักขณะ ไม่ปรากฎนั้นเพราะฆนะความเป็นแท่งหรือกลุ่มก้อนปิดบังไว้ และเพราะไม่มนสิการถึงความสลายตัวของธาตุต่างๆ

      แต่เมื่อโยคาวจรกำหนดรู้ความเกิดและดับแล้วเพิกถอนสันตติออกไปอนิจจลักขณะก็ปรากฏโดยสภาวะของตนตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าอยู่เนื่องๆ แล้วเพิกถอนอิริยาบถ ทุกขลักขณะก็ปรากฎตามสภาวะของตนตามความเป็นจริง และเมื่อกระจายธาตุต่างๆ ออกไป แล้วทำการกระจายฆนะความเป็นแท่งหรือกลุ่มก้อนเสีย อนัตตลักขณะก็ปรากฏ ตามสภาวะของตนตามความเป็นจริง

      เมื่อ โยคาวจรเจริญวิปัสสนาภาวนา จนบรรลุถึงอุทยัพพยญาณอย่างแก่แล้วย่อมพิจารณากำหนดรู้ในลักษณะ ๓ ดังนี้คือ :

      ๑. อนิจจลักขณะ คือลักษณะของความไม่เที่ยง หมายถึงความที่สังขารเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หรืออาการและวิการที่มีแล้วหามีไม่

      ๒. ทุกขลักขณะ คือลักษณะของความเป็นทุกข์ หมายถึงอาการเบียดเบียนเฉพาะหน้าอยู่เนืองๆ

      ๓. อนัตตลักขณะ คือลักษณะของความไม่มีอัตตา หมายถึงอาการที่ไม่เป็นไปตามอำนาจบังคับบัญชา

      เมื่อโยคาวจรกำหนดในลักษณะดังกล่าวมานี้ชื่อว่า อุทยัพพยญาณอย่างแก่ ได้ดำเนินไปตามวิถีหน้าที่ของตน ตามความเป็นจริงทุกประการ


จบ อุทยัพพยญาณ

---------///----------


[full-post]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,๔. อุทยัพพยญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.