๑๔. มรรคญาณ


โสดาปัตติมรรคญาณ

      อุปมาที่แสดงถึงอนุโลมญาณและ โคตรภูญาณ แม้ดำเนินไปในวิถีเดียวกันอาวัชชนะเดียวกันแต่มีอารมณ์ต่างกัน คือบุรุษที่ปรารถนาจะกระโดดข้ามคูน้ำกว้างใหญ่เพื่อไปยืนอยู่อีกฝั่งหนึ่ง จึงวิ่งมาโดยเร็วแล้วเหนี่ยวเชือกที่ผูกกับกิ่งไม้ หรือใช้ไม้ค้ำยันแล้วกระโดดขึ้นโน้มตัวไปยังฝั่งตรงข้าม เมื่ออยู่เหนือฝั่งแล้วจึงปล่อยเชือกหรือไม้ค้ำแล้วซวนเซตกลงบนฝั่งนั้นต่อจากนั้นจึงค่อยๆ ทรงตัวยืนขึ้นฉันใด แม้พระโยคาวจรก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความปรารถนาเพื่อบรรลุถึงพระนิพพานซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามกับภพ ๓ โยนิ ๔ คติ ๕ ฐีติ ๗ และสัตตาวาส ๙ จึงวิ่งมาเร็วด้วยญาณ มีอุทยัพพยญาณเป็นต้นแล้วเหนี่ยวเชือกคือรูปที่ผูกติดกับกิ่งไม้คือ อัตภาพร่างกายหรือใช้ไม้ค้ำยัน มี เวทนาขันธ์ เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการรำพึงของอนุโลมญาณว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา การยังไม่ละเชือก คือ รูปหรือไม้ค้ำยันคือ เวทนา เป็นต้น ด้วยอนุโลมจิต ดวงที่ ๓ หรือบริกรรมเป็นผู้มีจิตใจโน้มเอียงไปสู่พระนิพพาน ด้วยอนุโลมจิตดวงที่ ๒ หรืออุปจาระ ดุจบุรุษผู้โน้มเอียงโอนไปยังฝั่งข้างโน้นของคูน้ำ เป็นผู้อยู่ใกล้พระนิพพานที่ตนจะพึงถึง ด้วยอนุโลมจิตดวงที่ ๓ ดุจบุรุษที่กระโคดไปถึงส่วนเบื้องบนของฝั่งโน้นแล้วละอารมณ์คือ สังขารธรรม (รูปหรือนาม) ในขณะที่อนุโลมจิตดวงที่ ๓ คับลง จิตนั้นก็จะรับพระนิพพานที่ปราศจากสังขารธรรม ซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามกับสังขารธรรมด้วยโคตรภูจิต แต่เพราะยังไม่มีความคุ้นเคยในพระนิพพานอารมณ์เลย จึงทำให้โคตรภูจิตหวั่นไหวไม่มีความตั้งมั่น ดุจบุรุษโคคข้ามน้ำแล้วชวนเซ ต่อจากนั้น มรรคญาณจึงบังเกิดขึ้นอย่างมั่นคง

      อนุโลมญาณ สามารถกำจัดความมืดคือ กิเลสที่ปิดบังอริยสัจออกไปได้แต่กระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ไม่ได้ โคตรภูญาณ สามารถกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ได้ แต่ไม่สามารถกำจัดความมืดที่ปิดบังอริยสัจออกไปได้ ในการทำกิของอนุโลมญาณและโคตรภูญาณ มีอุปมาดังนี้ :

      บุรุษที่ปรารถนาดูฤกษ์ร่วมของดาวนักษัตร จึงออกมาในเวลากลางคืนแล้วแหงนดูดวงจันทร์ แต่ไม่เห็นเพราะถูกเมฆบังไว้ ทันใดนั้นก็มีลมระลอกที่ ๑ พัดพาหมู่เมฆหนาๆ ออกไป ลมระลอกที่ 2 พัดพาหมู่เมฆชนิดกลางๆ ออกไป ลมระลอกที่พัดพาหมู่เมฆบางๆ ออกไป เมื่อท้องฟ้าปราศจากเมฆแล้วบุรุยนั้นก็เห็นควงจันทร์แล้วจึงรู้ฤกษ์ร่วมของดาวนักษัตรได้

      อุปมา ความมืดคือ กิเลสอย่างหนา กลาง ละเอียดที่ปิดบังสัจจะไว้เปรียบเหมือนเมฆ ๓ ชนิด อนุโลมจิต ๓ ขณะ เปรียบเหมือนลม 3 ระรอก โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนบุรุษ พระนิพพานเปรียบเหมือนควงจันทร์ การกำจัดความมืด คือกิเลสที่ปิดบังอริยสัจออกไปด้วยอนุโลมจิตดวงหนึ่งๆ เปรียบเหมือนการพัดพาเอาหมู่เมฆ ๔ ชนิดออกไป เมื่อปราศจากความมืดที่ปิดบังอริยสัจแล้ว โคตรภูญาณก็เห็นพระนิพพานอันบริสุทธิ์เปรียบเหมือนท้องฟ้าเมื่อปราศจากหมู่เมฆ บุรุษนั้นก็เห็นดวงจันทร์อันผ่องใสได้

      แม้ว่าโคตรภูญาณสามารถเห็นพระนิพพานได้อย่างเดียว ไม่สามารถกำจัดความมืดคือ กิเลสได้ก็ตาม แต่ท่านกล่าวว่า โคตรภูญาณนี้เป็นอาวัชชนะของมรรคคือหันมุ่งมาสู่มรรคหรือคล้ายกับว่าให้สัญญาณนัดหมายแก่มรรคว่า "ท่านจงเกิดขึ้นอย่างนี้" แล้วตนเองก็ดับไป มรรคญาณเองก็ไม่ลืมสัญญาณที่นัดพมายกันไว้กับโคตรภูจิตจึงเกิดตามโคตรภูญาณ โดยไม่มีระหว่างคั่นทันที อีกทั้งเจาะทะลุ ทุบทำลายกองโลภะโทสะ ที่ไม่เคยทำลายมาก่อน

      อนึ่ง ในการเจาะทะลุทุบทำลายนั้น มีอุปมาดังนี้ :- นักยิงธนูคนหนึ่งตั้ง แผ่นกระดานแก่นไม้สนช้อนกัน ๑๐๐ แผ่น ห่างออกไป ๔ ศอกเอาผ้าปิดตัวเองขึ้นสายยืนอยู่บนกระดานหมุนให้เพื่อนหมุนกระดานนั้น เมื่อใดที่แผ่นกระดานที่ซ้อนมาอยู่ตรงหน้่านักยิงธนู เมื่อนั้นเพื่อนของเขาจะให้สัญญาณด้วยการเคาะไม้ นักยิงธนูเมื่อได้ยินสัญญาณ ก็ยิงธนูไปเจาะทะลุกระดาน ๑๐๐ แผ่นทันที

      อุปมา โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนสัญญาณเคาะไม้ มรรคญาณ เปรียบเหมือนนักยิงธนู การที่มรรคญาณไม่ลืมสัญญาณที่โคตรกูญาณให้ไว้แล้วทำนิพพานเป็นอารมณ์ เจาะทะลุทุบทำลายกองโลภะ โทสะ โมหะ ที่ไม่เคยทำลายมาก่อน เปรียบเหมือนนักยิงธนูที่ไม่ลืมสัญญาณเคาะไม้แล้วยิงธนูทะลุไม้กระดาน ๑๐๐ แผ่นในทันที อานิสงส์ของโสดาปัตติมรรค มิใช่แต่ทำการเจาะทะลุกองกิเลสเพียงอย่างเดียว เท่านั้นแต่ทำมหาสมุทรแห่งความทุกข์ในสังสารวัฏซึ่งไม่มีใครรู้ที่สุดและเบื้องต้นให้เหือดแห้งไปด้วย ปิดประตูอบายทั้งปวงทำให้เป็นผู้มีอริยทรัพย์ ๗ ประการสมบูรณ์สลัดทิ้งหนทางดำเนินผิด ๘ ประการเสียได้ ทำเวรภัยทุกอย่างให้สงบลง นำให้เข้าถึงความเป็นบุตรอันเกิดจากพระอุระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นไปเพื่ออานิสงส์อื่นๆ อีกนานัปการ


สกทาคามิมรรคญาณ

      เมื่อพระโสดาบันสำรวจทบทวนดู มรรค ผล นิพพาน และกิเลส ด้วยปัจจเวกขณญาณแล้วก็อาจจะนั่งอยู่ ณ อาสนะเดิมหรือในโอกาสต่อมาแล้วทำความเพียรในวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นเพื่อบรรลุสกหาคามิมรรคญาณ เพื่อทำกามราคะให้เบาบาง และละพยาบาทอย่างหยาบ ท่านจึงรวบรวมอินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ทำให้สม่ำเสมอกัน แล้วพิจารณาสังขารธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ด้วยปัญญาที่กำหนดว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ทบทวนไปมาแล้วหยั่งลงสู่วิสัยของวิปัสสนาญาณ เมื่อพระโสดาบันปฏิบัติเช่นนี้แล้วอนุโลมญาณและโคตรภูญาณก็จะบังเกิดขึ้นต่อจากสังขารุเปกขาญาณ  และสกทาคามิมรรคญาณจะบังเกิดต่อจากโคตรภูญาณ


อนาคามิมรรคญาณ

      เมื่อพระสถทาคามีสำรวจทบทวนดูมรรค ผล นิพพาน และกิเลสด้วยปัจจเวกขณญาณแล้วก็อาจจะนั่งอยู่ ณ อาสนะเดิม หรือในโอกาสต่อมาทำความเพียรในวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุอนาคามิมรรคญาณ เพื่อละสังโญชน์เบื้องต่ำอีก ๒ คือกามราคะและพยาบาทอย่างละเอียดโดยไม่เหลือ ท่านจึงเจริญอินทรีย์พละและโพชฌงค์ทำให้สม่ำเสมอกัน แล้วพิจารณาสังขารธรรมด้วยปัญญาที่กำหนดว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ทบทวนไปมาแล้วหยั่งลงสู่วิถีของวิปัสสนาญาณ เมื่อพระสกทาคามี ปฏิบัติเช่นนี้แล้วอนุโลมญาณและ โคตรภูญาณก็จะบังเกิดขึ้นต่อจากสังขารุเปกขาญาณ และอนาคามิมรรคญาณจะบังเกิดต่อจากโคตรภูญาณ


อรหัตตมรรคญาณ

      เมื่อพระอนาคามีสำรวจทบทวนดูมรรค ผล นิพพาน และกิเลส ด้วยปัจจเวกขณญาณแล้วก็อาจจะนั่งอยู่ ณ อาสนะเดิมหรือในโอกาสต่อมา แล้วทำความเพียรในวิปัสสนายิ่งขึ้น เพื่อบรรลุอรหัตตมรรคญาณ เพื่อละสัญโญชน์เบื้องบนอีก ๕ รูปราคะ 1 อรูปราคะ  มานะ  อุทชัจจะ 1 อวิชชา ๑ โคยไม่มีเหลือ ท่านจึงเจริญอินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ ทำให้สม่ำเสมอ แล้วพิจารณาสังขารด้วยปัญญาที่กำหนดว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ทบหวนไปมาแล้วหยั่งลงสู่วิถีของวิปัสสนาญาณ เมื่อพระอนาคามีปฏิบัติเช่นนี้แล้ว อนุโลมญาณและโคตรภูญาณ ก็จะบังเกิดขึ้นต่อจากสังขารุเปกขาญาณ และอรหัตตมรรคญาณจะบังเกิดต่อจากโคตรภูญาณมรรคญาณมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นฝ่ายโลกุตตระ เห็นอริยสัจ ๔ ชัดแจ้ง เปรียบเหมือนคุณสมบัติของควงไฟทำกิจ ๔ อย่างในขณะเดียวกัน คือ

      ๑. ทำให้ไส้ไหม้ 

      ๒. ขจัดความมืด

      ๓. เกิดแสงสว่าง 

      ๔. ทำให้น้ำมันหมดไป

      มรรคญาณ เมื่อเสวยอารมณ์นิพพานก็ต้องเห็นนิโรธ เมื่อเห็นนิโรธเป็นจุดสุดยอดก็ต้องเห็นอีก ๓ อริยสัจคือ ทุกข์ สมุทัย มรรค พร้อมกันทีเดียว ในวิสุทธิมรรคจึงแสดงว่า (นิโรธ) "ปฏิวิชฺฌตีติ เอเตน นิโรธสจฺจเมกํ อารมฺมณปฏิเวเธน จตฺตาริ สจฺจานิ อสมฺโมหปฏิเวเธน มคฺคญาณิ ปฏิวิชฺฌติ ฯ"

      มรรคญาณ ย่อมแทงตลอดนิโรธสัจจะหนึ่งด้วยอารัมมณปฏิเวธ ด้วยคำว่า "ปฏิวิชฺฌติ" นี้ย่อมแทงตลอดสัจจะ ๔ ด้วยอสัมโมหปฏิเวธ

จบ มรรคญาณ

---------///---------


[right-side]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,มรรคญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.