วิปัสสนากรรมฐาน

ปริจเฉทที่ ๙ (ตามนัยอภิธัมมัตถสังคหบาสี)

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส


๑. วิสุทธิ ๗

      วิปสฺสนากมฺมฏฺฐาเน ปน สีลวิสุทฺธิ จิตฺตวิสุทฺธิ ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ กงฺขาวิตรณวิสุทฺธิ มคุคามคฺคณาณทสฺสนวิสุทฺธิ ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ เจติ สตฺตวิเธน วิสุทฺธิสงฺคโห ฯ

      ในวิปัสสนากรรมฐานนี้ นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบ การสงเคราะห์วิสุทธิ โดยมี ๗ ประการ คือ 

      ๑. สีลวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล 

      ๒. จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต 

      ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น

      ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ของญาณที่ข้ามพ้นจากความสงสัย

      ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณว่าเป็นมัคคปฏิปทาและไม่ใช่มัคคปฏิปทา

      ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณอันเป็นเครื่องคำเนินไปสู่มัคคปฏิปทาโดยส่วนเดียว

      ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งโดยส่วนเดียวของญาณ


๒. ลักษณะ ๓

      อนิจฺจลกฺขณํ ทุกฺขลกขณํ อนตฺตลกฺขณํ เจติ ตีณิ ลกฺขณานิ ฯ

      ลักษณะมี ๓ อย่าง คือ :

      ๑) อนิจจลักขณะ ลักษณะที่ไม่เที่ยง 

      ๒) ทุกขลักขณะ ลักษณะที่เป็นทุกข์ 

      ๓) อนัตตลักขณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา


๓. อนุปัสสนา ๓

      อนิจฺจานุปสฺสนา ทุกฺขานุปสฺสนา อนตฺตานุปสฺสนา เจติ ติสฺโส อนุปสฺสนา ฯ

      อนุปัสสนามี ๓ อย่าง คือ :

      ๑) อนิจจานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความไม่เที่ยง

      ๒) ทุกขานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความเป็นทุกข์

      ๓) อนัตตานุปัสสนา การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความเป็นอนัตตา


๔. วิปัสสนาญาณ ๑๐

      สมฺมสนญาณํ อุทยพฺพยญาณํ ภงฺคญาณํ ภยญาณํ อาทีนวญาณํ นิพฺพิทาญาณํ มุญฺจิตุกมฺยตาญาณํ ปฏิสงฺขาญาณํ สงฺขารุเปกฺขาญาณํ อนุโลมญาณญฺเจติ ทส วิปสฺสนาญาณานิ ฯ

      นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบ วิปัสสนาญาณ ๑๐ ประการ คือ 

      ๑) สัมมสนญาณ ปัญญาที่พิจารณาลักษณะทั้ง ๓ ของรูปนาม

      ๒) อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่เห็นความเกิดขึ้นและความคับไปของรูปนาม

      ๓) ภังคญาณ ปัญญาเห็นความดับไปของรูปนาม

      ๔) ภยญาณ ปัญญาเห็นรูปนามเป็นภัยที่น่ากลัว

      ๕) อาทีนวญาณ ปัญญาเห็นโทษของรูปนาม

      ๖) นิพพิทาญาณ ปัญญาเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนาม

      ๗) มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญาอยากหนีให้พ้นจากรูปนาม

      ๘) ปฏิสังขาญาณ ปัญญาพิจารณาไตรลักษณะของรูปนามอย่างกว้างขวาง

      ๙) สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาพิจารณาหาทางแล้ววางเฉยต่อรูปนาม

      ๑๐) อนุโลมญาณ ปัญญาเนสอดคล้องกับวิปัสสนาญาณ ๘

     (อุทยัพพยญาณ สังขารุเปกขาญาณ) ข้างต้น และถึงพร้อมด้วยกำลังเพื่อให้มรรคญาณเกิด


๕. วิโมกข์ ๓

      สุญฺญโต วิโมกฺโข อนิมิตฺโต วิโมกฺโข อปฺปณิหิโต วิโมกฺโข เจติ ตโย วิโมกฺขา ฯ

      วิโมกข์มี ๓ อย่าง คือ

      ๑) สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยความเป็นของสูญ

      ๒) อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่มีนิมิตเครื่องหมาย

      ๓) อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา


๖. วิโมกขมุข ๓

      สุญฺญตานุปสฺสนา อนิมิตตานุปสฺสนา อปฺปณิหิตานุปสฺสนา เจติ ตีณิ วิโมกฺขมุขานิ จ เวทิตพฺพานิ ฯ

      นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบ วิโมกขมุขมี ๓ อย่าง คือ : 

      ๑) สุญญตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าเป็นของสูญ

      ๒) อนิมิตตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่มีนิมิตเครื่องหมาย

      ๓) อัปปณิหิตานุปัสสนา การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา


-------------


แสดงวิสุทธิ ๗ ตามอภิธัมมัตถสังคหบาลี

๑. สีลวิสุทธิ

      กถํ ปาฏิโมกฺขสํวรสีลํ อินฺทฺริยสํวรสีลํ อาชีวปาริสุทฺธิสีลํ ปจฺจยสนฺนิสฺสิตสีลญฺเจติ จตุปาริสุทธิสีลํ สีลวิสุทฺธินาม ฯ

      สีลวิสุทธินั้น ได้แก่อะไร ? ได้แก่ปาริสุทธิศีล ๔ คือ :

      ๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล ศีลที่สำรวมในพระปาติโมกข์

      ๒. อินทรียสังวรศีล ศีลที่สำรวมในอินทรีย์ ๖

      ๓. อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลที่มีอาชีพบริสุทธิ์

      ๔. ปัจจยสันนิสสิตศีล ศีลที่อาศัยปัจจัย ๔

ความบริสุทธิ์ทั้ง ๔ อย่าง ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ชื่อว่า สีลวิสุทธิ


๒. จิตตวิสุทธิ

      อุปจารสมาธิ อปฺปนาสมาธิ เจติ ทุวิโธปี สมาธิ จิตฺตวิสุทฺธิ นาม ฯ

      จิตตวิสุทธิ ได้แก่ สมาธิ ๒ อย่าง คือ :-

      ๑. อุปจารสมาธิ สมาธิที่เข้าไปเฉียดใกล้ต่อองค์ฌาน

      ๒. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่ คือสมาธิที่ยังฌานให้เกิดขึ้น


๓. ทิฏฐิวิสุทธิ 

      ลกฺขณรสปจฺจุปฺปฏฺฐานปทฏฺฐานวเสน นามรูปปริคฺคโห ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ นาม ฯ การกำหนดรู้รูปนาม ด้วยสามารถแห่ง ลักษณะ๑ รส ๑ ปัจจุปัฏฐาน ๑ ปทัฏฐาน , ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ

      

๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ

      เตสเมว จ นามรูปานํ ปจฺจยปริคฺคโห กงฺขาวิตรณวิสุทฺธิ นาม ฯ การกำหนดรู้ปังจัยแห่งรูปนามทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ


๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ และวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ประการ 

      ตโต ปรํ ปน ตถา ปริคฺคหิเตสุ สปจฺจเยสุ เตภูมิกสงฺขาเรสุ อตีตาทิเภททินฺเนสุ ขนฺธาทินยมารพฺภ กลาปวเสน สงฺขิปีตฺวา อนิจฺจํ ขยฏฺเฐน ทุกฺขํ ภยฏฺเฐน อนตฺตา อสารกฏฺเฐนาติ อทฺธานวเสน สนฺตติวเสน ขณวเสน วา สมฺมสนญาเณน ลกฺขณตฺตยํ สมฺมสนฺตสส เตเสฺว ปจฺจยวเสน ขณวเสน จ อุทยพฺพยญาเณน อุทยพฺพยํ สมนุปฺปสฺสนฺตสฺส จ ฯ 

      โอภาโส ปีติ ปสฺสทฺธิ        อธิโมกฺโข จ ปคฺคโห 

      สุขํ ญาณมุปฏฺฐาน-         มุเปกุขา จ นิกนฺติ เจติ ฯ 

     โอภาสาทิวิปสฺสนูปกฺกิเลสปริปนฺถปริคฺคหวเสน มคฺคลกฺขณววตฺถานํ มคฺคามคฺคญาณทสฺสนวิสุทฺธิ นาม ฯ

      ต่อจากกังขาวิตรณวิสุทธิ ในเตภูมิกสังขารธรรมพร้อมทั้งปัจจัย ที่มีประเภทต่างๆ มือดีตเป็นต้นซึ่งพระโยคีได้เห็นมาแล้ว โดยอาการดังที่กล่าวมาแล้วในทิฏฐิวิสุทธิและกังขาวิตรณวิสุทธิ เมื่อพระโยคีบุคคลกระทำให้สังขารธรรมเหล่านั้น ย่อลงโดยความเป็นหมวดเดียวกัน และปรารภซึ่งเทศนานัย มีขันธ์ เป็นต้น แล้วพิจารณาใตรลักษณ์ โดยอำนาจกาล โดยอำนาจความสืบต่อ หรือ โดยอำนาจขณะ ด้วยสัมมสนญาณ ว่ารูปนามนี้เป็นของไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าสิ้นไป ไม่ยั่งยืนมั่นคง เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าเป็นภัยอันน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่า ไม่มีแก่นสาร ไม่เป็นไปตามอำนาจผู้ใด แล้วพิจารณาความเกิดดับของรูปนาม ในเตภูมิกสังขารธรรมด้วยอุทยัพพยญาณ โดยอำนาจแห่งปัจยและโดยอำนาจแห่งขณะ ปัญญาที่ตัดสินเด็ดขาด ในลักษณะแนวทางของวิปัสสนาที่ถูกหรือผิด ด้วยอำนาจแห่งการกำหนดรู้อุปสรรค คือวิปัสสนูปกิเลสมีโอภาสเป็นต้นย่อมเกิดขึ้น 

      วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คือ :

            ๑. โอภาส ได้แก่ แสงสว่าง

            ๒. ปีติ ความอิ่มเอิบใจ ๕ อย่าง

            ๓. ปัสสัทธิ อาการสงบเงียบ

            ๔. อธิโมกข์ ศรัทธาที่มีกำลังแก่กล้า

            ๕. ปัคคหะ ความพยายามอย่างแรงกล้า

            ๖. สุข ความสบาย

            ๗. ญาณ ปัญญาแก่กล้า

            ๘. อุปัฏฐาน สติที่ตั้งมั่น

            ๙. อุเบกขา อาการวางเฉย

            ๑๐. นิกันติ ความยินดีพอใจ

      คือความยินดีในอุปกิเลส ๔ ข้างต้น ปัญญานี้แหละ ชื่อว่า มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ 


๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ 

      ตถา ปริปนฺถวิมุตตสส ปน ตสฺส อุทยพฺพยญาณโต ปฏิฐาย ยาวานุโลมา ติลกฺขณํ วิปสฺสนาปรมฺปราย ปฏิปชฺชนฺตสฺส นว วิปสฺสนาญาณานิ ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธิ นาม ฯ

      วิปัสสนาญาณ ๙ ของโยคาวจรบุคคลนั้น หลุดพ้นจากอันตรายคือวิปัสสนูปกิเลส ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ผู้กำลังปฏิบัติวิปัสสนาเห็นพระไตรลักษณ์ติดต่อกันมาจำเดิมแต่อุทยัพพยญาณ จนถึงอนุโลมญาณ ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ 

--------------


๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ

      ตสฺเสว ปฏิปชฺชนฺตสฺส ปน วิปสฺสนาปริปากมาคมฺม อิทานิ อปฺปนา อุปฺปชฺชิสฺสตีติ ภวงฺคํ โวจฺฉินฺทิตฺวา อุปฺปนฺนมโนทฺวาราวชฺชนานนฺตรํ เทฺว ตีณิ วิปสฺสนาจิตฺตานิ ยงฺกิญฺจิ อนิจฺจาทิลกฺขณมารพฺภ ปริกมฺโมปจารานุโลมนาเมน ปวตฺตนฺติ ฯ

      เมื่อพระโยคาวจรบุคคลกำลังปฏิบัติอยู่อย่างนี้ เพราะอาศัยความแก่รอบของวิปัสสนา วิปัสสนาจิต ๒ - ๓ ขณะ ปรารภอนิจจลักขณะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นไปในลำดับแห่งมโนทวาราวัชชนะ อันตัดกระแสภวังค์เกิดขึ้นว่า บัดนี้ อัปปนา จักสำเร็จ โดยชื่อว่าปริกรรม อุปจาร อนุโลม

      - ยา วิปสฺสนา สิกฺขปฺปตฺตา สา สานุโลมา ฯ สงฺขารุเปกฺขา วุฏฺฐานคามินี วิปสฺสนาติ จ ปวุจฺจติ ฯ

        วิปัสสนาญาณใด ถึงซึ่งความเป็นยอด วิปัสสนาญาณนั้น เป็นไปพร้อมด้วยอนุโลมญาณ ฯ สังขารุเปกขาญาณ ท่านเรียกว่า วุฎฐานคามินีวิปัสสนา

      - ตโต ปรํ โคตฺรภูจิตฺตํ นิพฺพานมาลมฺพิตฺวา ปุถุชฺชนโคตฺตมภิภวนฺตํ อริยโคตฺตมภิสมฺโภนฺตญฺจ ปวตฺตนฺติ ฯ

        ต่อจากนั้น โคตรภูจิต หน่วงนิพพานมาเป็นอารมณ์ แล้วทำลายเสีย ซึ่งปุถุชน โคตรและยังอริยโคตรให้เกิดขึ้น

      - ตสฺสานนฺตรเมว มคฺโค ทุกฺขสจฺจํ ปริชานนฺโต สมุทยสจฺจํ ปชหนฺโต นิโรธสจฺจํ สจฺนิกโรนฺโต มคฺคสจฺจํ ภาวนาวเสน อปฺปนาวีถิโมตรติ ฯ

        ในลำดับโคตรภูจิตนั้นนั่นเอง อริยมรรคกำหนดรู้ทุกขสัจ ละสมุทัยสัจ กระทำนิโรธสัจให้แจ้ง หยั่งลงสู่อัปปนาวิถี ด้วยสามารถแห่งการทำมรรคสัจให้เจริญ

      - ยทิ วุฏฺฐานคามินีวิปสฺสนา อนิจฺจโต วิปสฺสติ อนิมิตฺโต วิโมกฺโข นาม โหติ ๆ

        ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา เห็นพิเศษโดยความไม่เที่ยง มรรคที่เกิดขึ้น ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์

      - ยทิ วุฏฺานคามินีวิปสฺสนา ทุกฺขโต วิปสฺสติ อปฺปณิหิโต วิโมกฺโข นาม โหติ ฯ

        ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา เห็นพิเศษ โดยความเป็นทุกข์ บรรคที่เกิดขึ้น ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์

      - ยทิ วุฏฺฐานคามินีวิปสฺสนา อนตฺตโต วิปสฺสติ สุญฺญโต วิโมกฺโข นาม โหติ ฯ

        ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา เห็นพิเศษโดยความเป็นอนัตตา มรรคที่เกิดขึ้นชื่อว่า สุญญตวิโมกข์

      - ตโต ปรํ เทฺว ตีณิ ผลจิตฺตานิ ปวตฺติตฺวา นิรุชฺฌนฺติ ฯ ตโต ปรํ ภวงฺคุปาโตว โหติ ปุน ภวงฺคํ ปน วิจฺฉินฺทิตฺวา ปจฺจเวกฺขณญาณานิ ปวตฺตนฺติ ฯ

      ต่อจากมรรคญาณนั้นไป ผลจิตที่เกิดขึ้น ๒-๓ ขณะ (ตามสมควรแก่มันทะและติกขบุคคล) แล้วดับไป ต่อจากนั้น จิตก็ลงสู่ภวังค์ ปัจจเวกขณญาณทั้งหลายตัดกระแสภวังค์ขาดแล้ว ย่อมเกิดขึ้นต่อไป 

      มคฺคญฺจ ผลญฺจ นิพฺพานํ    ปจฺจเวกฺขติ ปณฺฑิโต 

      ปหีเน เกฺลเส เสเส จ            ปจฺจเวกฺขติ วา น วา 

      ฉพฺพิสุทฺธิกฺกเมเนว              ภาเวตพฺโพ จตุพฺพิโธ 

      ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ                นาม มคฺโค ปวุจฺจติ ฯ

      พระอริยบุคคลผู้เป็นบัณฑิต ย่อมพิจารณามรรคญาณ ผลญาณ และพระนิพพาน สำหรับกิเลสที่ประหาณแล้ว และกิเลสที่ยังไม่ได้ประหาณ ย่อมพิจารณาบ้างไม่ได้พิจารณาบ้าง (แล้วแต่ปริยัติ อริยมรรค ๔ ประการ ที่เนื่องมาจากการเจริญวิสุทธิ ๖ เรียกว่า "ญาณทัสสนวิสุทธิ" 

     อยเมตฺถ วิสุทฺธิเภโท ฯ

     ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการแสดงประเภทของวิสุทธิ ๓ ในวิปัสสนากรรมฐาน

---------------


แสดงวิโมกขเภท (ตามนัยอภิธัมมัตถสังคหบาลี)

      ๑. ตตฺถ อนตฺตานุปสฺสนา อตฺตาภินิเวสํ มุญฺจนฺตี สุญฺญตานุปสฺสนา นาม วิโมกฺขมุขํ โหติ ฯ อนิจฺจานุปสฺสนา วิปลฺลาสนิมิตฺตํ มุญฺจนฺตี อนิมิตฺตานุปสฺสนา นาม วิโมกฺขมุขํ โหติ  ทุกฺขานุปสฺสนา ตณฺหาปณิธึ มุญฺจนฺตี อปฺปณิหิตานุปสฺสนา นาม วิโมกฺขมุขํ โหติ ฯ

      ในวิโมกขเภทเหล่านั้น "อนัตตานุปัสสนา" การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความเป็นอนัตตา ละการยึดมั่นอัตตาเสียได้ จัดเป็นวิโมกขมุข ชื่อว่าสุญญตานุปัสสนา (การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าเป็นของสูญ), "อนิจจานุปัสสนา" การพิจารณารู้เห็นอยู่เนืองๆ โดยความไม่เที่ยง ละนิมิตแห่งวิปัลลาสธรรมเสียได้ จัดเป็นวิโมกขมุขชื่อว่า อนิมิตตานุปัสสนา (การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่มีนิมิตเครื่องหมาย), "ทุกขานุปัสสนา" การพิจารณารู้เห็นอยู่เนื่องๆ โดยความเป็นทุกข์ ละตัณหาปณิธิเสียได้ จัดเป็นวิโมกขมุข ชื่อว่า อัปปณิหิตานุปัสสนา (การหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา)

      ๒. ตสฺมา ยทิ วุฏฺฐานคามินี วิปสฺสนา อนตฺตโต วิปสฺสติ สุญฺญโต วิโมกฺโข นาม โหติ มคฺโค ยทิ อนิจฺจโต วิปสฺสติ อนิมิตฺโต วิโมกฺโข นาม ยทิ ทุกฺขโต วิปสฺสติ อปฺปณิหิโต วิโมกฺโข นามาติ จ มคฺโค วิปสฺสนาคมนวเสน ตีณิ นามานิ ลภติ ฯ

      เพราะเหตุนั้น ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา (วิปัสสนาที่ไปสู่ความออก) เห็นแจ้งโดยความเป็นอนัตตา อริยมรรค ชื่อว่า "สุญญตวิโมกข์", ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนาเห็นแจ้งโดยความไม่เที่ยง อริยมรรค ชื่อว่า "อนิมิตตวิโมกข์", ถ้าวุฏฐานกามินีวิปัสสนาเห็นแจ้งโดยความเป็นทุกข์ อริยมรรค ชื่อว่า "อัปปณิหิตวิโมกข์" ฉะนั้น อริยมรรค จึงมีชื่อ ๓ อย่าง ด้วยสามารถแห่งการดำเนินมาของวิปัสสนาญาณ

      ๓. ตถา ผลญฺจ มคฺคาคมนวเสน มคฺควีถิยํ ฯ ส่วนอริยผล ย่อมมีชื่อ ๓ อย่างเหมือนกับในมรรควิถี ด้วยสามารถแห่งการดำเนินมาของอริยมรรค

      ๔. ผลสมาปตฺติวีถึ ปน ยถาวุตฺตนเยน วิปสฺสนฺตานํ ยถาสกํ ผลมุปฺปชฺชมานํปิ วิปสฺสนาคมนวเสเนว สุญฺญตาทิวิโมกฺโขติ ปวุจฺจติ ฯ ก็ในผลสมาบัติวิถี ผลจิตแม้กำลังเกิดขึ้นแก่วิปัสสนาญาณบุคคลในขันธสันดานของตนๆ โดยนัยดังกล่าวแล้ว ท่านจึงเรียกว่า สุญญตวิโมกข์เป็นต้น ก็ด้วยสามารถแห่งการดำเนินมาของวิปัสสนาญาณโดยส่วนเดียว 

      "อาลมฺพนวเสน ปน สรสวเสน จ นามตฺตยํ สพฺพตฺถาปี สพฺเพสมฺปิ สมเมว ๆ"

      ส่วนหมวดแห่งชื่อทั้ง ๓ ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยบุคคลทั้งหลายแม้ทั้งปวง คือในมรรควิถีและผลสมาบัติวิถีทั้งหลายทั้งหมด โดยสม่ำเสมอด้วยสามารถแห่งอารมณ์และด้วยสามารถเห่งกิจรส และสัมปัตติรส

      อยเมตฺถ วิโมกฺขเภโท

      ประเภทแห่งวิโมกข์ ในกรรมฐานสังควิภาค จบเพียงเท่านี้

------------------


ปุคคลเภท

การจำแนกประเภทอริยบุคคลและการประหาณกิเลสโดยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ :-

      ๑. เอตฺถ ปน โสตาปตฺติมคฺคํ ภาเวตฺวา ทิฏฺฐิวิจิกิจฉาปหาเนน ปหีนาปายคมโน สตฺตกฺขตตุปรโม โสตาปนฺโน นาม โหติ ฯ ในบรรคาประเภทแห่งบุคคลทั้ง ๔ นี้ ผู้ที่เพียรบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจนสำเร็จถึงโสดาปัตติมรรค ได้เป็นผู้ประหาฌอกุศลธรรมที่เห็นเหตุนำไปสู่อบายเพราะได้ประหาณทิฏฐิ และวิจิกิจฉาเสียแล้ว จึงได้ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คือพระโสดาบันที่จะเกิดในกามสุคติภูมิ อย่างมากเพียง ๗ ชาติเท่านั้น

      ๒. สกทาคามิมคฺคํ ภาเวตฺวา ราคโทสโมหานํ ตนุกรตฺตา สกทาคามี นาม โหติ สกิเทว อิมํ โลกํ อาคนฺตฺวา ฯ เมื่อพระโสดาบันเพียรบำเพ็ญวิปัสสนา จนสำเร็จถึงสกทาคามิมรรคแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นสกทาคามี เพราะจะมาเกิดในกามภูมิอีกชาติเดียว โดยเหตุที่ทำให้ราคะ โทสะโมหะ เบาบางลง (ตนุกรปหาณ)

      ๓. อนาคามิมคฺคํ ภาเวตฺวา กามราคพฺยาปาทานํ อนวเสสปฺปหาเนน อนาคามี นาม โหติ อนาคนฺตวา อิตฺถตฺตํ ฯ เมื่อพระสกทาคามี เพียรบำเพ็ญวิปัสสนา จนสำเร็จถึงอนาคามิมรรคแล้ว ได้ชื่อว่าอนาคามีบุคคล คือไม่กลับมาสู่กามสุคติภูมิอีก โดยเหตุที่ได้ประหาณกามราคะและพยาบาทขาดสิ้น โดยไม่มีเหลือ

      ๔. อรหตฺตมคฺคํ ภาเวตฺวา อนวเสสกิเลสปฺปหาเนน อรหา นาม โหติ ขีณาสโว โลเก อคฺคทกฺขิเณยฺโย ฯ เมื่อพระอนาคามีเพียรบำเพ็ญวิปัสสนา จนสำเร็จถึงอรหัตตมรรคแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เป็นพระขีณาสพ ผู้ที่ควรได้รับสักการะอย่างเลิศในโลก โดยเหตุที่ได้ประหาณกิเลสทั้งหมดโดยไม่มีเหลือ

       อยเมตฺถ ปุคฺคลเภโท

ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการแสดงประเภทอริยบุคคลในวิปัสสนากรรมฐาน แสดงสมาปัตติเภท ตามนัยอภิรัมมัตถสังคหบาลี


แสดงสมาปัตติเภท

      ๑. ผลสมาปตฺติ ปเนตฺถ สพเพสมุปี ยถาสกํ ผลวเสน สาธารณาว ฯ ในประเภทแห่งสมาบัตินี้ ผลสมาบัติ ย่อมเกิดทั่วไป แม้แก่พระอริยบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ด้วยสามารถแห่งผลจิตเฉพาะตนๆ

      ๒. นิโรธสมาปตฺติสมาปชฺชนํ ปน อนาคามีนญเจว อรหนฺตานญฺจ ลพฺภติ ฯ ส่วนการเข้านิโรธสมาบัติ  ย่อมบังเกิดแก่พระอนาคามี และพระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น

      ๓. ตตฺถ ยถากฺกมํ ปฐมชฺฌานาทิมหคฺคตสมาปตฺตึ สมาปชฺชิตฺวา วุฏฺฐาย ตตฺถ กเต สงฺขารรมฺเม ตตฺถ ตตฺเถว วิปสฺสนฺโต ยาว อากิญฺจญฺญายตนํ คนฺตฺวา ตโต ปฐมาธิฏฺเฐยฺยาทิกํ ปุพฺพกิจฺจํ กตฺวา เนวสญฺญานาสญฺญายตนํ สมาปชฺชติ ๆ

      พระอริยบุคคล เข้ามหัคคตสมาบัติมีปฐมฌานเป็นต้น โดยลำดับในสมาบัติเหล่านั้น แล้วจึงออกจากสมาบัติเหล่านั้น พิจารณาอยู่ซึ่งสังขารธรรม หลังจากออกจากสมาบัติเหล่านั้นๆ จนถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สุด ต่อจากลำดับนั้น จึงกระทำซึ่งบุพกิจ มีอธิษฐานก่อนเป็นต้น แล้วจึงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

      ๔. ตสฺส ทวินฺนํ อปฺปนาชวนานํ ปรโต โวจฺฉิชฺชติ จิตฺตสนฺตติ ฯ ในกาลต่อมา การสืบต่อมาของจิตแห่งอัปปนาชวนะ คือเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ๒ ขณะ ของพระอริยบุคคลนั้นย่อมขาดลง

      ๕. ตโต ปรํ นิโรธสมาปนฺโน นาม โหติ ฯ ต่อจากลำดับนั้นไป ท่านชื่อว่าเป็นผู้เข้านิโรธแล้ว

      ๖. วุฏฺฐานกาเล ปน อนาคามิโน อนาคามิผลจิตฺตํ อรหโต อรหตฺตผลจิตฺตํ เอกวารเมว ปวตฺติตฺวา ภวงฺคปาโตว โหติ ฯ ก็ในการที่ออกจากนิโรธสมาบัตินั้น อนาคามิผลจิตของพระอนาคามี และอรหัตตผลจิตของพระอรหันต์ ย่อมเป็นไปเพียง ๑ ขณะเท่านั้น แล้วจึงลงสู่ภวังค์ต่อไป

      ๗. ตโต ปรํ ปจฺจเวกฺขณญาณานิ ปวตฺตนฺตีติ ฯ ต่อจากนั้น ปัจจเวกขณญาณย่อมเกิดขึ้น ฯ 


       อยเมตฺถ สมาปตฺติเภโท นิฏฺฐิโต จ วิปสฺสนากมฺมฏฺฐานนโย

       ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการแสดงประเภทของสมาบัติในวิปัสสนากรรมฐานและแสดงนัยแห่งวิปัสสนากรรมฐาน จบเพียงเท่านี้.

----------///----------


[full-post]

วิปัสสนากรรมฐาน

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.