สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ


คัมภีร์วิภังค์

   ๑. ความหมายและนัยของวิภังค์

   วิภังค์ แปลว่า อธิบายขยายความหรือจำแนกหัวข้อธรรม หมายถึงคัมภีร์จำแนก สภาวธรรมให้กว้างขวางพิสดารยิ่งขึ้น แม้คัมภีร์อภิธรรมอื่นๆ ก็จำแนกสภาวธรรมเหมือนกัน แต่พระธรรมสังคาหกาจารย์ไม่เรียกคัมภีร์เหล่านั้นว่า “วิภังค์” เพราะว่าคัมภีร์เหล่านั้นได้จำแนก เฉพาะนัยเท่านั้น ส่วนคัมภีร์วิภังค์แห่งอภิธรรมนี้จำแนกทั้งนัยแห่งพระสูตร พระอภิธรรม และนัยแห่งการถามปัญหา ที่เรียกว่า สุตตันตภาชนีย์ อภิธรรมภาชนีย์ และปัญหาปุจฉกะ คัมภีร์ วิภังค์นี้ทำหน้าที่จำแนกอธิบายขยายความปรมัตถธรรมที่ได้แสดงมาแล้วในคัมภีร์ธัมมสังคณี โดยได้นำเอาติกมาติกา ๒๒ หัวข้อ และทุกมาติกา ๑๐๐ หัวข้อ จากคัมภีร์ธัมมสังคณี แยกประเภทเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และสัจจะเป็นต้น จัดลำดับการอธิบายความ ดังนี้

   สุตตันตภาชนีย์ หมายถึง นัยที่จำแนกธรรมตามที่ทรงแสดงไว้แล้วในพระสุตตันตปิฎก โดยอนุโลมตามอัธยาศัยหรือจริตของเวไนยสัตว์แต่ละบุคคล เป็นการแสดงตามสถานการณ์ที่ กำลังเป็นไปอยู่ ณ สถานที่หรือเวลานั้นๆ โดยเลือกเฟ้นเฉพาะประเด็นที่จะทำให้ผู้ฟังบรรลุผลใน ขณะนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ พระสูตรจึงเป็นเทศนาที่มีเนื้อความชัดเจน เข้าใจง่าย แต่ยังไม่สมบูรณ์ เพราะองค์ธรรมยังไม่สมบูรณ์ และนัยต่างๆ ก็ยังไม่สมบูรณ์

   ๒. อภิธรรมภาชนีย์ หมายถึง นัยที่ทรงจำแนกธรรมตามกระบวนการแห่งพระอภิธรรม ปิฎก ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงเวลา สถานที่ หรือบุคคล แต่เป็นการมุ่งแสดงองค์ธรรมให้สมบูรณ์ด้วย นัยต่างๆ อย่างเดียว เป็นนัยที่ทรงแสดงโดยการประมวลสภาวธรรมที่มีอยู่ทั่วทั้งอนันตจักรวาล มารวมไว้ เป็นการแสดงตามอำนาจของพระสัพพัญญุตญาณ

   ปัญหาปุจฉกะ หมายถึง นัยที่แสดงโดยการนำติกมาติกาทั้ง ๖๖ บทและทุกมาติกา ๒๐๐ บทจากคัมภีร์ธัมมสังคณีมาตั้งเป็นคำถาม คำตอบ จำแนกโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ เป็นต้น 

      บรรดานัยทั้ง ๓ นัยนี้ ปัญหาปุจฉกนัยเป็นนัยที่กว้างขวาง พิสดาร และสมบูรณ์ที่สุด

   ๒. การจัดแบ่งเนื้อหาในคัมภีร์วิภังค์ 

   คัมภีร์วิภังค์แบ่งเนื้อหาเป็น ๑๘ วิภังค์ ดังนี้ 

   ๑. ขันธวิภังค์  การจำแนกขันธ์

   ๒. อายตนวิภังค์  การจำแนกอายตนะ

   ๓. ธาตุวิภังค์   การจำแนกธาตุ

   ๔. สัจจวิภังค์  การจำแนกสัจจะ

   ๕. อินทรียวิภังค์  การจำแนกอินทรีย์

   ๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์  การจำแนกปฏิจจสมุปบาท   

   ๗. สติปัฏฐานวิภังค์   การจำแนกสติปัฏฐาน

   ๘. สัมมัปปธานวิภังค์   การจำแนกสัมมัปปธาน

   ๙. อิทธิปาทวิภังค์   การจำแนกอิทธิบาท

   ๑๐.โพชฌังควิภังค์   การจำแนกโพชฌังค์

   ๑๑. มัคคังควิภังค์   การจำแนกองค์มรรค

   ๑๒. ฌานวิภังค์   การจำแนกฌาน

   ๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์   การจำแนกอัปปมัญญา    

   ๑๔. สิกขาบทวิภังค์   การจำแนกสิกขาบท

   ๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์   การจำแนกปฏิสัมภิทา 

   ๑๖. ญาณวิภังค์   การจำแนกฌาน

   ๑๗. ขุททกวิภังค์   การจำแนกอกุศลธรรมต่างๆ

   ๑๘. ธัมมหทยวิภังค์ การจําแนกธรรมอันเปรียบเสมือนดวงใจ   

    การจำแนกวิภังค์ทั้ง ๑๘ นี้ วิภังค์ที่ ๑ ถึง ๔, ๖ ถึง ๑๓ และ ๑๕ จำแนกโดยนัยครบ ทั้ง ๓ คือ สุตตันตภาชนีย์ อภิธรรมภาชนีย์ และปัญหาปุจฉกะ วิภังค์ที่ ๕ และที่ ๑๔ ไม่ได้ จำแนกโดยอภิธรรมภาชนีย์และปัญหาปุจฉกะ ส่วนวิภังค์ที่ ๑๖ และ ๑๗ จำแนกตามแนวพระสูตร เอกกนิบาต อังคุตตรนิกาย เป็นการจําแนกจากน้อยไปหามาก วิภังค์ที่ ๑๘ เป็น การจําแนกจากน้อยไปหามาก จากง่ายไปหายาก จากโลกิยะ ไปสู่โลกุตตระ โดยการนำเอา นัยทั้ง ๓ มาผสมผสานกันและจบลงด้วยการจัดตามหัวข้อธรรมซึ่งเป็นมาติกาในธัมมสังคณี

   จักขอยกสาระขอบเขตและลำดับในอายตนวิภังค์ให้เป็นนิทัศน์ ดังนี้

             ๒. อายตนวิภังค์

     ๒.๑ สุตตันตภาชนีย์

   ในสุตตันตภาชนียนัยนี้ ทรงจำแนกปรมัตถธรรมโดยอายตนะ ๑๒ อย่างแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ

   ส่วนที่ ๑ อายตนะภายใน ๖ คือ

๑. จักขายตนะ จักขุชื่อว่าอายตนะ  เพราาะเป็นเหตุให้จิตและเจตสิกเกิด 

๒. โสตายตนะ โสตะชื่อว่าอายตนะ  เพราะเป็นเหตุให้จิตเจตสิกเกิด

๓. ฆานายตนะ ฆานะชื่อว่าอายตนะ  เพราะเป็นเหตุให้จิตเจตสิกเกิด

๔. ชิวหายตนะ ชิวหาชื่อว่าอายตนะ  เพราะเป็นเหตุให้จิตเจตสิกเกิด

๕. กายายตนะ กายชื่อว่าอายตนะ  เพราะเป็นเหตุให้จิตเจตสิกเกิด

๖. มนายตนะ จิตชื่อว่าอายตนะ  เพราะเป็นเหตุให้จิตเจตสิกเกิด

   ส่วนที่ ๒ อายตนะภายนอก ๖ คือ

๗. รูปายตนะ รูปชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิตเจตสิกเกิด 

๘. สัททายตนะ เสียงชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิตเจตสิกเกิด

๙. คันธายตนะ กลิ่นชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิตเจตสิกเกิด

๑๐. รสายตนะ รสชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิตเจตสิกเกิด

๑๑. โผฏฐัพพายตนะ สัมผัส ชื่อว่าอายตนะเพราะเป็นเหตุให้จิตเจตสิกเกิด

๑๒. ธัมมายตนะ ธรรมชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิตเจตสิกเกิด

   จากนั้นทรงแสดงอายตนะทั้ง ๑๒ ด้วยอำนาจไตรลักษณ์ ดังนี้ จักษุไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

      ๒.๒ อภิธัมมภาชนีย์

   อายตนะพร้อมองค์ธรรม

   ๑. จักขายตนะ ได้แก่ จักขุปสาท เป็นรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

      ๒. โสตายตนะ ได้แก่ โสตปสาท เป็นรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

   ๓. ฆานายตนะ ได้แก่ ฆานปสาท เป็นรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

   ๔. ชิวหายตนะ ได้แก่ ชิวหาปสาท เป็นรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

   ๕. กายายตนะ ได้แก่ กายปสาท เป็นรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

   ๖. มนายตนะ ได้แก่ จิต ๘๙ ซึ่งเป็นองค์ธรรมของวิญญาณขันธ์นั่นเอง ดังนั้นขอให้ ดูความพิสดารในการจำแนกวิญญาณโดยอภิธรรมนัยนั้น ส่วนในที่นี้จักนำเสนอโดยย่อดังนี้

   ชุดที่ ๑ จำแนกมนายตนะเป็น ๑๐ หมวด ดังนี้

   ชุดที่ ๑ จำแนกมนายตนะเป็น ๑๐ หมวด ดังนี้

   ๑. มนายตนะหมวดละ ๑ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยผัสสะ

   ๒. มนายตนะหมวดละ ๒ ได้แก่ มนายตนะที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี

   ๓. มนายตนะหมวดละ ๓ ได้แก่ มนายตนะที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็น อัพยากฤตก็มี

   ๔. มนายตนะหมวดละ ๔ ได้แก่ มนายตนะที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี

   ๕. มนายตนะหมวดละ ๕ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโทมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วย อุเปกขินทรีย์ก็มี

   ๖. มนายตนะหมวดละ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณ

   ๗. มนายตนะหมวดละ ๗ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ

   ๘. มนายตนะหมวดละ ๘ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ที่เกิดพร้อมด้วยสุขก็มี ที่เกิดพร้อมด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ

      ๙. มนายตนะหมวดละ ๙ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤต ก็มี

   ๑๐. มนายตนะหมวดละ ๑๐ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ที่เกิดพร้อมด้วยสุขก็มี ที่เกิดพร้อมด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี

      ชุดที่ ๒ จำแนกมนายตนะหมวด ๑๐ ดังนี้

   ๑. มนายตนะหมวดละ ๑ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยผัสสะ

   ๒. มนายตนะหมวดละ ๒ ได้แก่ มนายตนะที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี 

   ๓. มนายตนะหมวดละ ๓ ได้แก่

   ๓.๒ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุต ด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี

ฯลฯ

   ๗. รูปายตนะ ได้แก่ รูปที่เป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบได้ มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นต้น

   ๘. สัททายตนะ ได้แก่ เสียงอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีเสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เป็นต้น

   ๙. คันธายตนะ ได้แก่ กลิ่นอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีกลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ เป็นต้น

   ๑๐. รสายตนะ ได้แก่ รสอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีรสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ เป็นต้น

   ๑๑. โผฏฐัพพายตนะ ได้แก่ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มี สัมผัสเป็นสุข มีสัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา เช่น บุคคลเคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง หรือ พึงถูกต้องโผฏฐัพพะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยกายที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

   ๑๒. ธัมมายตนะ องค์ธรรมได้แก่ สุขุมรูป ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ และนิพพานซึ่ง เป็นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

   เนื่องจากธัมมายตนะมีองค์ธรรมทั้งรูปทั้งนาม ในที่นี้เพื่อให้กำหนดได้ง่ายจึงแยกประเภทแสดงดังนี 

     ๑๒.๑ เวทนาขันธ์ ได้แก่ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ มีเวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ เป็นต้น

   ๑๒.๒ สัญญาขันธ์ ได้แก่ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ มีสัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ เป็นต้น

   ๑๒.๓ สังขารขันธ์ ได้แก่ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ มีสังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต เป็นต้น

   ๑๒.๔ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ ได้แก่ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อากาศธาตุ อาโปธาตุ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตา มุทิตา กัมมัญญตา อุปาจยะ สันตติ ชรตา อนิจจตา กวฬิงการาหาร 

   ๑๒.๕ ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ สภาวธรรมเป็นที่สิ้นราคะ เป็นที่สิ้นโทสะ เป็นที่สิ้นโมหะ คือนิพพาน

      ๓. ปัญหาปุจฉกะ 

   ในปัญหาปุจฉกนัยแห่งอายตนวิภังค์ ทรงยกอายตนะ ๑๒ ขึ้นถามด้วยอำนาจติดมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา เป็นการขยายความด้วยวิธีจำแนกโกฏฐาสะ ในคัมภีร์ธัมมสังคณี นั่นเอง ฉะนั้นเมื่อผู้ศึกษาจำองค์ธรรมของติกมาติกาและทุกมาติกาได้อย่างแม่นยำและเข้าใจ วิธีจําแนกโกฏฐาสะมาเป็นอย่างดีแล้ว ย่อมไม่เหลือวิสัยที่จะหาคำตอบ วิสัชนาทั้งในส่วนของติกมาติกาวิสัชนาและทุกมาติกาวิสัชนา ขอแสดงไว้เป็นตัวอย่างดังนี้

   ถาม: ในอายตนะ ๑๒ อายตนะเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

   ตอบ: อายตนะ ๑๐ เป็นอัพยากฤต อายตนะ ๒ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี 

   ในกุศลติกะนี้ โอฬาริกรูป ๑๐ ซึ่งเป็นองค์ธรรมของตติยบท เป็นโอฬาริกายตนะ ๑๐ จิต ๘๙ ซึ่งเป็นองค์ธรรมได้ทั้ง ๓ บทตามสมควรเป็นมนายตนะ

เจตสิก ๕๒ ซึ่งเป็นองค์ธรรมได้ทั้ง ๓ บทตามสมควรเป็นธัมมายตนะ

สุขุมรูป ๑๖ และนิพพาน ซึ่งเป็นองค์ธรรมของตติยบทเป็นธัมมายตนะ

อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา

มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี

ธัมมายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุต ด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี

ในเวทนาติกะ สุขสหคตจิตก็ดี ทุกขสหคตจิตก็ดี อทุกขมสุขสหคตจิตก็ดี เป็นมนายตนะ 

เจตสิก ๕๑ (เว้นเวทนาเจตสิก) ที่เป็นเจโตยุตตะนั้นเป็นธัมมายตนะ

เวทนาเจตสิก รูป ๒๘ และนิพพาน ซึ่งมิได้เป็นองค์ธรรมของบทใดๆ เลยเป็นติกวิมุต ในติกะที่เหลือ มีวิธีจำแนกโกฏฐาสะโดยนัยนี้แล

อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นเหตุ ธัมมายตนะที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี ในเหตุกะ โอฬาริกรูป ๑๐ เป็นโอฬาริกายตนะ ๑๐

เหตุ ๖ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ เป็นธัมมายตนะ 

จิต ๘๙ เป็นมนายตนะ

เจตสิก ๔๖ (เว้นเหตุ ๖ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน เป็นธัมมายตนะ ฯลฯ


[full-post]

สุตตันตปิฎก,คัมภีร์วิภังค์

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.