การพิจารณาปฏิจจสมุปบาทโดยนัยทั้ง ๔ เพื่อละทิฏฐิ ๓


การพิจารณาปฏิจจสมุปบาทเพื่อให้ละทิฏฐิ ๗ อย่างได้นั้นมี ๔ นัย คือ

๑. เอกัตตนัย ๒. นานัตตนัย ๓. อัพยาปารนัย ๔. เอวังธัมมตานัย

      ๑. เมื่อพิจารณาแล้วรู้ว่า รูปนามขันธ์ ๕ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น มีการเกิดการดับติดต่อกันไม่ขาดสาย ในภพหนึ่งก็ดี ในภพต่อๆ ไปก็ดี การพิจารณารู้อย่างนี้เรียกว่า "เอกัตตนัย"

      ๒. เมื่อพิจารณาแล้วรู้ว่า การสืบต่อกันของรูปนามขันธ์ ๕ นี้ แม้ว่าจะเป็นไป โดยไม่ขาดสายก็จริง แต่สภาวะของปฎิจสมุปบาทธรรมเหล่านี้ มีสภาพต่างกัน มีเหตุผลต่างกัน การพิจารณารู้อย่างนี้เรียกว่า "นานัตตนัย"

      ๓. เมื่อพิจารณาแล้วรู้ว่า เหตุต่างๆ มีอวิชชาเป็นต้นที่ให้ผลต่างๆ มีสังขารเป็นต้น เกิดนั้นไม่มีการขวนขวายพยายามที่จะให้ผลเกิดขึ้น ธรรมที่เป็นเหตุและเป็นผลที่เกิดนั้น ก็เกิดขึ้นเป็นไปตามสภาวะเท่านั้น ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะมาจัดแจงให้เป็นไปได้ การพิจารณารู้อย่างนี้เรียกว่า "อัพยาปารนัย"

      ๔. เมื่อพิจารณาแล้วรู้ว่า การเกิดขึ้นของผลธรรมต่างๆ นั้นมีเหตุของตนๆ โดยเฉพาะไม่ก้าวก่ายกัน เช่น สังขารเกิดขึ้นก็มีอวิชชาเป็นเหตุ นอกจากอวิชชาแล้วธรรมอื่นๆ จะเป็นเหตุให้สังขารเกิดขึ้นไม่ได้ การพิจารณารู้อย่างนี้เรียกว่า "เอวังธัมมตานัย"

      การพิจารณาโดยเอกัตตนัย สามารถละอุจเฉททิฏฐิและนัตถิกทิฏฐิได้ เพราะแลเห็นสันตติสืบต่อกันอยู่ไม่ขาดสาย คือเกิดแล้วตายๆ แล้วเกิด ไม่มีสูญหายไป

      การพิจารณาโดยนานัตตนัย สามารถละสัสสตทิฏฐิได้ เพราะแลเห็นสภาพของเหตุ และสภาพของผลนั้นไม่เหมือนกัน และธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลก็เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอ ไม่ใช่เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งอยู่ได้ตลอดไป เช่น เวทนากับตัณหาที่เป็นเหตุและเป็นผลคู่หนึ่งที่เกิดขึ้นนั้น เมื่อเกิดแล้วก็ดับไป แล้วก็เกิดใหม่อีกไม่มีของเก่าตั้งอยู่ เป็นของใหม่อยู่เรื่อยๆ ฉะนั้น ความเห็นที่เห็นว่าเที่ยง คือสัสสตทิฏฐิจึงหายไป

      การพิจารณาโดยอัพยาปารนัย สามารถละอิสสรนิมมานวาททิฏฐิและอัตตทิฏฐิได้ เพราะอิสสรนิมมานวาททิฏฐินั้นมีความเห็นว่า สิ่งต่างๆ ที่ปรากฎขึ้นได้ในโลกนี้มีพระเจ้าเป็นผู้สร้าง ถ้าไม่มีพระเจ้าเป็นผู้สร้างขึ้นแล้ว สิ่งต่างๆเหล่านี้ก็เกิดขึ้นไม่ได้

      ส่วนอัตตทิฏฐินั้น มีความเห็นว่าในสันดานของสัตว์ทั้งหลายมีตัวมีตนอยู่และตัวตนนั้นเองเป็นผู้จัดแจงให้กระทำการต่างๆ ไปตามความพอใจของตัวตนนั้น ฉะนั้น เมื่อพิจารณาเห็นว่าเหตุต่างๆ และผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมเป็นไปตามสภาพธรรมของตน ธรรมที่เป็นเหตุก็ไม่มีการกังวลขวนขวายอย่างใดเพื่อจะให้ผลของตนเกิดเป็นอนัตตะแท้ๆ เมื่อเห็นอย่างนี้จึงทำลายทิฏฐิทั้ง ๒ ดังที่กล่าวแล้วนี้ได้

      การพิจารณาโดยเอวังธัมมตานัย สามารถละอเหตุกทิฏฐิและอกิริยทิฏฐิได้เพราะอเหตุกทิฎฐินั้นมีความเห็นว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดเพราะอาศัยเหตุกุศลกรรมอกุศลกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด สัตว์ทั้งหลายที่มีความสุขความทุกข์นั้นเกิดขึ้นเองตามธรรมดา ไม่ได้เกิดจากกุศลกรรมอกุศลกรรมเป็นเหตุส่วนอกิริยทิฏฐินั้นมีความเห็นว่า การกระทำดีก็ตามไม่ดีก็ตาม ไม่เรียกว่าเป็นกุศลอกุศล ทำก็ทำไปเฉย ๆ ฉะนั้น ผู้ที่พิจารณาตามเอวังธัมมตานัยนี้ ย่อมแลเห็นว่า ธรรมที่เป็นเหตุและเป็นผลนั้นย่อมเกิดขึ้นเป็นคู่ๆ กันไปขาดเสียไม่ได้ ฉะนั้น จึงสามารถทำลายทิฏฐิทั้ง ๒ ดังกล่าวแล้วได้


แสดงคาถาที่กล่าวแนะนำในการพิจารณาปฏิจจสมุปบาท 

         อนาทิทํ ภวจกฺกํ        วีตการกเวทกํ 

         นิจฺจสุขสุภตฺเตหิ สุญฺญํ  ปสฺเส ปุนปฺปุนํ ฯ

         (มาในภาสาฎีกา)

      ภวจักรที่ล้วนแต่กองทุกข์ซึ่งหมุนเวียนอยู่ยืนยาว นับภพนับชาติไม่ได้นี้ ย่อมหาเบื้องต้นแห่งการหมุนเวียนนั้นมิได้ ปราศจากตัวตน คือผู้สร้างและผู้เสวย เป็นอนัตตะ ไม่มีสภาพที่เป็น นิจจะ สุขะ สุภะ แต่อย่างใด ผู้มีปัญญาควรพิจารณาเสมอๆ ดังกล่าวมานี้

      ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ และชอบพิจารณาค้นคว้าถึงเรื่องราวต่างๆ อยู่เสมอนั้น แม้จะเชื่อว่าโลกที่เราอยู่นี้ย่อมไม่ตั้งอยู่ถาวรได้ตลอดไป ต้องมีการถูกทำลาย และเมื่อทำลายลงแล้ว ก็เกิดขึ้นใหม่อีก ส่วนความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลายนั้นก็เชื่อตามปฏิจจสมุปบาทที่กล่าวว่า เพราะอวิชชาเป็นเหตุจึงเกิดสังขารเพราะสังขารเป็นเหตุจึงเกิดวิญญาณ ดังนี้เป็นต้น แต่ก็ยังอดคิดสงสัยไม่ได้ว่าการเกิดขึ้นของโลกและสัตว์ทั้งหลายนั้น ตั้งต้นเกิดขึ้นทีแรกนั้นในเวลาใด เมื่อพยายามพิจารณาไปมาแล้วก็ตัดสินไม่ได้ บุคคลที่พิจารณาตัดสินไม่ได้เหล่านี้ก็เกิดความเข้าใจเอาเอง คือบางพวกก็เข้าใจเอาว่าโลกและสัตว์ทั้งหลายนี้ ย่อมปรากฏขึ้นโดยปราศจากเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นในตอนแรก สำหรับการที่โลกถูกทำลายและการที่โลกเกิดขึ้นใหม่ก็ดี หรืออวิชชาเป็นเหตุ สังขารเป็นผล สังขารเป็นเหตุวิญญาณเป็นผล เป็นต้นก็ดีเหล่านี้ ก็เป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังที่มี โลกและสัตว์ทั้งหลายปรากฎขึ้นแล้วเท่านั้น แต่เป็นเหตุประจำไม่ใช่เป็นเหตุแรกเริ่ม ฉะนั้นผู้ที่มีความเข้าใจเอาเองอย่างนี้ จึงกลายเป็นผู้ที่มีอเหตุกทิฏฐิเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว, อีกพวกหนึ่งก็เข้าใจเอาว่า โลกและสัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุผลดังกล่าวแล้วนั้น เป็นเหตุผลที่เกิดขึ้นตามธรรมดา หลังจากที่โลกและสัตว์ปรากฎขึ้นแล้วเท่านั้น ส่วนต้นเหตุแรกเริ่มนั้น ต้องมีผู้เป็นใหญ่ คือพระเจ้าผู้สร้างขึ้นถ้าไม่มีพระเจ้าเป็นผู้สร้างขึ้นแล้ว สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ฉะนั้น ผู้ที่มีความเข้าใจเอาเองอย่างนี้ จึงกลายเป็นพวกอิสสรนิมมานวาททิฏฐิไปโดยไม่รู้สึกตัวเช่นเดียวกัน

      บุคคลทั้ง ๒ พวกดังกล่าวมานี้ แล้วแต่มีความคิดที่ทำให้เสียประโยชน์ คือในสิ่งที่ไม่ควรคิดก็เอามาคิด จนกระทั่งทำให้ตนกลายเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิไปด้วย เหตุนี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงกล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายว่า

      "จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว อจินฺเตยฺยานิ น จินฺเตตพฺพานิ, ยานิ จินฺเตนฺโต อุมฺมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, กตมานิ จตุตาริ? พุทฺธานํ ภิกฺขเว พุทฺธวิสโย อจินฺเตยฺโย น จินฺเตตพฺโพ ยํ จินฺเตนฺโต อุมฺมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, ฌายิสฺส ภิกฺขเว ฌานวิสโย อจินฺเตยฺโย น จินฺเตตพฺโพ,  จินฺเตนฺโต อุมฺมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, กมฺมวิปาโก ภิกฺขเว อจินฺเตยฺโย น จินุเตตพฺโพ, ยํ จินฺเตนฺโต อุมฺมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, โลกจินฺตา ภิกฺขเว อจินฺเตยฺยา น จินฺเตตพฺพา ยํ จินฺเตนฺโต อุมฺมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส, อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อจินฺเตยฺยานิ น จินฺเตตพฺพานิ ยานิ จินฺเตนฺโต อุมฺมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺสาติ " (อํ. จตุกก. ๒๑/ข้อ ๗๗)

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่ควรคิดที่ชื่อว่า อจินไตยธรรม มีอยู่ ๔ ประการ และถ้าผู้ใดเอามาคิดแล้ว ผู้นั้นก็จะพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้ามีความลำบากใจสิ่งที่ไม่ควรคิด ๔ อย่างนั้น คืออะไรบ้าง? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พุทธวิสัย คือ เรื่องที่เกี่ยวกับพระสัพพัญญุตญาณความเป็นไป และอานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธคุณแห่งพระส้มมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดอย่างหนึ่ง ฌานวิสัย คือฌานอภิญญาแห่งท่านทั้งหลายผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดอย่างหนึ่ง กรรมวิบาก คือผลแห่งกรรมทั้งหลาย มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรมเป็นต้นก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดอย่างหนึ่ง โลกจินดา คือความเป็นไปของโลก คือโลกอันเป็นที่อาศัยของสัตว์แสะสัตว์ทั้งหลาย แผ่นดิน ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ เป็นต้นเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่ควรคิด ๔ อย่างดังกล่าวมานี้ ถ้าผู้ใดกิด ผู้นั้นก็จะพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า มีความลำบากใจเป็นแน่แท้

      ด้วยเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรพิจารณาการหมุนเวียนแห่งปฏิจงสมุปบาทด้วยนัยทั้ง ๔ มีเอกัตตนัยเป็นต้น ดังที่ได้แสดงมาแล้วนั้น และเมื่อได้พิจารณาถี่ถ้วนแล้ว ก็จะเกิดความรู้เข้าใจขึ้นเองว่าความเป็นไปของโลก และสัตว์ทั้งหลายนั้นย่อมหาดันเหตุไม่ได้

      อนึ่ง ผู้ที่ไม่มีความรู้ในความเป็นไปแห่งปฏิจจสมุปบาท ที่จะพ้นไปจากสังสารวัฏได้นั้นย่อมไม่เคยมีเลย แม้เพียงแต่จะฝันไป ฉะนั้น พุทธศาสนิกชนผู้ปรารถนาจะพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลาย จึงควรพยายามรู้ถึงความเป็นไปแห่งความหมุนเวียนของภวจักรที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทโดยถี่ถ้วน


การพิจารณาปฏิจจสมุปบาทของพระอานนท์เถระ และพระโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

      ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่กัมมาสทัมมนิคมในแคว้นกุรุ พระอานนท์เถระได้ไปบิณทบาตในหมู่บ้านนั้นทุกๆ บ้าน เพื่อสงเคราะห์อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เหมือนหนึ่งนำถุงทรัพย์ไปแจกแก่ชาวบ้านเหล่านั้น วันหนึ่งเมื่อพระเถระไปบิณฑบาตกลับมาและฉันเสร็จแล้ว ก็ได้ไปปฏิบัติต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตามหน้าที่ของท่าน เมื่อถึงเวลากลางวัน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จเข้าสู่คันธกุฎีเพื่อทรงพักผ่อน แล้วพระอานนท์เถระเจ้า ก็กลับไปยังกุฎีของท่าน ได้ทำการอบรมสั่งสอนสานุศิษย์ของท่านเสร็จแล้ว ก็ได้ไปหาที่สงบนั่งเสวยวิมุตติสุข คือเข้าผลสมาบัติอยู่ ณ ที่นั้น เมื่อออกจากผลสมาบัติแล้ว ก็ได้พิจารณาปฏิจสมุปบาทโดยอนุโลม ปฏิโลม แล้วพิจารณาจากต้นไปหากลางโดยอนุโลม ปฏิโลมจากปลายไปหากลาง โดยนัยที่พิจารณาว่า "สังขารเท่านั้นที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอวิชชาเป็นเหตุ หาใช่ตัวตน เรา เขา ชาย หญิงเกิดขึ้นโดยอาศัยอวิชชาไม่ และอวิชชาก็เป็นผลธรรมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุตามสมควร วิญญาณเท่านั้นที่เกิดขึ้น โคยอาศัยสังขารเป็นเหตุ หาใช่ตัวตน เรา เขาชาย หญิง เกิดขึ้นโดยอาศัยสังขาร ไม่ และสังขารก็เป็นผลธรรมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุตามสมควร ท่านพิจารณาโดยนัยนี้เรื่อยๆ ไปจนถึง ชรา มรณะ เท่านั้นที่เกิดขึ้นโดยอาศัยชาติเป็นเหตุ หาใช่ตัวตน เรา เขา ชาย หญิง เกิดขึ้นโดยอาศัยชาติไม่ ท่านพิจารณาถึง ๓ ครั้ง คือจากต้นไปหาปลายๆ ไปหาต้น ๑ จากต้นไป หากลางๆ ไปหาต้น ๑ จากปลายไปหากลางๆ ไปหาปลาย ๑ ในระหว่างที่พิจารณาอยู่นั้น ความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทที่มีการอุปการะกันโดยเหตุและผลทั้ง ๑ ๒ องค์ ก็ปรากฎชัดเจนขึ้นในปัญญาของท่านๆ จึงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายได้ทรงแสดงว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้มีสภาพลึกซึ้ง และอาการที่เป็นไปก็แสดงให้เห็นว่าลึกซึ้ง เราเองก็เป็นแต่เพียงสาวกที่มีปัญญาส่วนหนึ่งเท่านั้นแต่ก็มีความสว่างชัดเจนในความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้เป็นอย่างดีพระสาวกองค์อื่นๆ จะมีความรู้สึกเหมือนอย่างเราหรือไม่หนอ ครั้นถึงเวลาเย็น พระอานนท์เถระก็ได้ไปเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วทูลถวายว่า

      "อจฺฉริยํ ภนฺเต, อพฺภูตํ ภนฺเต, ยาวคมฺภีโร จายํ ภนฺเต ปฏิจฺจสมุปฺปาโท คมฺภีราวภาโส จ, อถ จ ปน เม อุตฺตานกุตฺตานโก วิย ขายติ" (- สํ. นิ. ๑๖/ข้อ ๒๒๔) 

      ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เป็นสิ่งพิเศษที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้ ปรากฎชัดเจนแก่ข้าพระองค์เหมือนกับว่าธรรมนี้เป็นสิ่งตื้นๆ

      เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงฟังพระอานนท์ทูลถวายดังนั้นแล้วก็ทรงนึกอยู่ในพระทัยว่า อานนท์น้องเรานี้กล่าวถึงเรื่องที่เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายว่าปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้ ปรากฏชัดเจนถี่ถ้วนแก่ตน การที่พระอานนท์กล่าวดังนี้ ็คล้ายกับว่าพยายามเอื้อมมือให้ถึงภวัคคภูมิ พยายามจะผ่าภูเขาสิเนรุให้แตก เพื่อจะเอาแก้วที่อยู่ภายในนั้น พยายามจะข้ามมหาสมุทรโดยไม่ต้องอาศัยเรือ พยายามจะพลิกแผ่นดินเพื่อจะเอาโอชาที่อยู่ในดินนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้เราจำเป็นจะต้องห้ามคำพูดเช่นนี้ แล้วจะต้องแสดงให้รู้ถึงความลึกซึ้งของปฏิจจสมฺปบาทธรรมให้เข้าใจ เมื่อพระองค์ทรงดำริเช่นนั้นแล้ว ก็ตรัสแก่พระอานนท์ว่า "มา เหวํ อานนฺท มา เหวํ อานนฺท คมฺภีโร จายํ อานนฺท ปฏิจฺจสมุปฺปาโท คมฺภีรวาภาโส" ดูก่อนอานนท์ อย่าพูดอย่างนี้ๆ อานนท์ ปฏิจจสมฺปบาทธรรมนี้มีสภาพลึกซึ้งยิ่งนัก และอาการที่เป็นไปก็แสดงให้เห็นว่าลึกซึ้ง 

      ปฏิจจสมฺปบาทธรรม เป็นธรรมที่มีสภาพลึกซึ้ง และอาการที่เป็นไปก็แสดงให้เห็นว่าลึกซึ้งนั้น อุปมาเหมือนน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้ภูเขาสิเนรุฉันนั้น ตามธรรมดาความเป็นไปของน้ำนั้นมีอยู่ ๔ ชนิด คือ

      ๑. บางแห่ง เมื่อมองดูเข้าใจว่าลึก แต่ความจริงนั้นตื้นเพียง ๒-๓ ศอกเท่านั้น เช่น น้ำในสระหรือในคูที่มีใบไม้หล่นลงไปเน่าอยู่กันสระหรือก้นคูทำให้น้ำนั้นปรากฏมีสีเขียว ผู้ที่เห็นจะเข้าใจว่าน้ำในสระหรือในคูนั้นลึกมากแต่ถ้าหยั่งดูแล้วก็ปรากฎว่าตื้น

      ๒. น้ำบางแห่ง เมื่อมองดูแล้วเข้าใจว่าตื้น แต่ความจริงนั้นลึกมาก เช่นน้ำในสระ หรือในบ่อ ในลำรารบางแห่งมีความใสจนแลเท็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ข้างใต้ได้ชัดเจน ทำให้ผู้เห็นเข้าใจว่าตื้น แต่ถ้าหยั่งดูแล้ว ปรากฎว่าลึกมาก

      ๓. น้ำบางแห่ง เมื่อมองดูแล้วก็รู้ว่าตื้น และน้ำในที่นั้นก็มีสภาพตื้นจริงๆ เช่น น้ำในโอ่ง ในกระถาง ในหม้อ เป็นต้น

      ๔. น้ำบางแห่ง เมื่อมองดูก็รู้ว่าลึก และน้ำในที่นั้นก็มีสภาพลึกจริงๆ เช่น น้ำในมหาสมุทรใหญ่ๆ

      ความลึกซึ้งของปฏิจงสมุปบาทธรรมนี้ อยู่ในพวกน้ำประเภทที่ ๔ อย่างเดียว ยากที่บุคคลธรรมดาจะเข้าใจได้แจ่มแจ้งชัดเจน ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสห้ามพระอานนท์ไม่ให้พูดว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้ คล้ายกับว่าเป็นธรรมตื้นมากสำหรับพระอานนท์

      ในบรรดาสาวกทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ยกเว้นพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว สาวกองค์อื่นๆ นั้น ที่จะมีความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทชัดเจนถี่ถ้วน เหมือนกับพระอานนท์นั้นไม่มี และในการที่พระอานนท์มีปัญญารู้ได้ชัดเจนถี่ถ้วนเช่นนี้ ก็ด้วยอาศัยเหตุ ๔ อย่างคือ

      ๑. อุปฏฺฐากอธิกาโร เป็นผู้ที่เคยสร้างทาน ศีล ภาวนา แล้วปรารถนาเป็นพุทธอุปัฏฐาก

      ๒. อนฺเตวาสิโก ได้เป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับพระบรมศาสดา

      ๓. โสตาปนฺโน ได้สำเร็จพระโสดาบัน

      ๔. พหุสฺสุตธโร เป็นผู้มีพหูสูตมากที่สุด


จบ การแสดงปฏิจจสมุปบาทธรรม โดยสุตตันตภาชนียนัย

-------------///-----------


 

[full-post]

ปริจเฉทที่๘,ปฏิจจสมุปบาท,ปัจจยสังคหะ,อภิธัมมัตถสังคหะ,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.