สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ
สักกายทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดขึ้นแห่งสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีตัวตน)
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดติดอะไร สักกายทิฏฐิ จึงเกิดขึ้น"
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดติดรูป สักกายทิฏฐิจึง เกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ฯลฯ
เมื่อมีสังขาร ฯลฯ
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดติดวิญญาณ สักกายทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร "รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น สักกายทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ
“ไม่ใช่อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น สักกายทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ"
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า...ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป" (สํ.ข.๑๗/๓๕๖-๓๕๗)
อัตตานุทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดขึ้นแห่งอัตตานุทิฏฐิ(ความเห็นเนืองๆว่าเป็นอัตตา)
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดติดอะไร อัตตานุทิฏฐิ จึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดติดรูป อัตตานุทิฏฐิจึง เกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ฯลฯ
เมื่อมีสังขาร ฯลฯ
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดติดวิญญาณ อัตตานุทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง"
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น อัตตานุทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ"
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา... สังขาร...วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง"
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น อัตตานุทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ"
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป"(สํ.ข.๑๗/๓๕๘-๓๕๙)
เพราะความเห็นว่า มีตัวตน(สักกายทิฏฐิ) กับเพราะความเห็นเนื่องๆว่าเป็นตัวตน(อัตตานุทิฏฐิ) โดยสภาวะเป็นสิ่งเดียวกัน
สักกายทิฏฐิเป็นไฉน?
สักกายทิฏฐิ(อัตตานุทิฏฐิ) คือ สภาพความเห็นผิดที่ยึดมั่นว่าขันธ์ 5 มี รูปขันธ์เป็นต้นว่าเป็นตัวตน รวม 5 ขันธ์ × 4 อาการ = 20 ประเภท ดังนี้ :-
1. สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปขันธ์เป็นอารมณ์ มี 4 ประเภท คือ
1.1 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า รูปเป็นเรา เราเป็นรูป เข้าใจว่าเรากับรูป(ร่างกาย)เป็นอันเดียวกัน เหมือนเปลวไฟกับแสงไฟ
1.2 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า เรามีรูป เข้าใจว่าเรากับร่างกายเป็นคนละอัน เหมือนต้นไม้กับเงา
1.3 ความเห็นผิดและยึึดมั่นว่า รูปอยู่ในเรา เข้าใจว่า เรากับร่างกายเป็นคนละอัน เหมือนกลิ่นดอกไม้อยู่ในดอกไม้
1.4 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า เราอยู่ในรูป เข้าใจว่า เรากับร่างกายเป็นคนละอัน เหมือนแก้วมณีอยู่ในหีบ
2. สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเวทนาขันธ์เป็นอารมณ์ มี 4 ประเภท คือ
2.1 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า การเสวยอารมณ์เป็นเรา เราก็คือผู้เสวยอารมณ์ เข้าใจว่า เราและการเสวยอารมณ์เป็นอันเดียวกัน เหมือนเปลวไฟกับแสงไฟ
2.2 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า เรามีการเสวยอารมณ์
เข้าใจว่า เราและการเสวยอารมณ์เป็นคนละอัน เหมือน เหมือนต้นไม้กับเงา
2.3 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า การเสวยอารมณ์อยู่ในเรา เข้าใจว่า เราและการเสวยอารมณ์เป็นคนละอัน เหมือนกลิ่นดอกไม้อยู่ในดอกไม้
2.4 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า เราอยู่ในการเสวยอารมณ์ เข้าใจว่าเรากับการเสวยอารมณ์เป็นคนละอัน เหมือนแก้วมณีที่อยู่ในหีบ
3. สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาขันธ์เป็นอารมณ์ มี 4 ประเภท คือ
3.1 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า การจำอารมณ์เป็นเรา เราก็คือผู้จำอารมณ์ เข้าใจว่าเรากับการจำอารมณ์เป็นอันเดียวกัน เหมือนเปลวไฟกับแสงไฟ
3.2 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า เรามีการจำอารมณ์ เข้าใจว่า เรากับการจำอารมณ์เป็นคนละอัน เหมือนต้นไม้กับเงา
3.3 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า การจำอารมณ์อยู่ในเรา เข้าใจว่าเรากับการจำอารมณ์เป็นคนละอัน
เหมือนกลิ่นดอกไม้ในดอกไม้
3.4 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า เราอยู่ในการจำอารมณ์ เข้าใจว่าเรากับการจำเป็นคนละอัน เหมือนแก้วมณีในหีบ
4. สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสังขารขันธ์เป็นอารมณ์ มี 4 ประเภท คือ
4.1 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า การปรุงแต่งเป็นเรา เราก็คือผู้ปรุงแต่ง เข้าใจว่าเรากับการปรุงแต่งเป็นอันเดียวกัน เหมืินเปลวไฟกับแสงไฟ
4.2 เห็นผิดและยึดมั่นว่า เรามีการปรุงแต่ง เข้าใจว่า เรากับการปรุงแต่งเป็นคนละอัน เหมือนต้นไม้กับเงา
4.3 เห็นผิดและยึดมั่นว่าการปรุงแต่งมีในเรา เข้าใจว่าเรากับการปรุงแต่งเป็นคนละอัน เหมือนกลิ่นดอกไม้ในดอกไม้
4.4 เห็นผิดและยึดมั่นว่า เราอยู่ในการปรุงแต่ง เข้าใจว่า เรากับการปรุงแต่งเป็นคนละอัน เหมือนแก้วมณีในหีบ
5. สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวิญญาณขันธ์เป็นอารมณ์ มี 4 ประเภท คือ
5.1 เห็นผิดและยึดมั่นว่า การรู้อารมณ์เป็นเรา เราก็คือผู้รู้อารมณ์ เข้าใจว่าเรากับการรู้อารมณ์เป็นอันเดียวกันเหมือนเปลวไฟกับแสงไฟ
5.2 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า เรามีการรู้อารมณ์ เข้าใจว่า เรากับการรู้อารมณ์เป็นคนละอัน.เหมือนต้นไม้กับเงา
5.3 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า การรู้อารมณ์อยู่ในเรา เข้าใจว่า เรากับการรู้อารมณ์เป็นคนละอัน เหมือนกลิ่นดอกไม้อยู่ในดอกไม้
5.4 ความเห็นผิดและยึดมั่นว่า เราอยู่ในการรู้อารมณ์ เข้าใจว่าเราและการรู้อารมณ์เป็นคนละอัน เหมือนแก้วมณีในหีบ
ในนิสสยะอักษรธรรมล้านช้างกล่าวว่าสักกายทิฏฐิมีเพราะฆนะ (ความเป็นกลุ่มก้อน) และสันตติ (ความสือต่อที่เป็นไปรวดเร็ว) ปิดบังไว้ ไม่ให้ความเป็นจริงปรากฏ ผู้เพิกฆนะและสันตติได้ความรู้เห็นตามความเป็นจริงจึงจะปรากฏให้เห็นได้ ไม่ใช่สักแต่ว่านึกเอา คือสักกายทิฏฐิจะคลายออกได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ