สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ


กัมมจตุกก(ตอนที่สาม)

กรรม ๔ อย่าง โดยเกี่ยวกับเวลาที่ให้ผล

   ชื่อว่า กรรม มี ๔ อย่าง โดยเกี่ยวกับเวลาที่ให้ผล คือ ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ๑, อุปปัชชเวทนียกรรม ๑, อปราปรเวทนียกรรม ๑, อโหสิกรรม  

อธิบายกรรม ๔ อย่าง โดยเกี่ยวกับเวลาที่ให้ผล

   คำว่า โดยเกี่ยวกับเวลาที่ให้ผล คือ โดยเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ให้ผล อย่างนี้คือ ในปัจจุบันกาล ๑, ในกาลถัดไปจากปัจจุบันกาล ๑. ในกาลใดกาลหนึ่งถัดไปจากนั้น ๑ 

 อธิบายทิฏฐธัมมเวทนียกรรม 

      อัตภาพที่มีอยู่เป็นประจักษ์ คือเป็นปัจจุบัน ชื่อว่า ทิฏฐธัมมะ กรรมชื่อ ว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เพราะมีความหมายว่า เป็นกรรมที่สัตว์จึงเสวย โดย เกี่ยวกับการเสวยวิบากในอัตภาพปัจจุบันนั้น 

   ในบรรดาชวนวิถีจิต ที่มีชวนะแล่นไป ๗ ขณะ โดยความเป็นกุศลก็ตาม โดยความเป็นอกุศลก็ตาม เจตนาในชวนะขณะแรก แม้มีกำลังก็ไม่กล้าแข็ง เพราะ ไม่ได้อาเสวนปัจจัย (ปัจจัยคือความเสพคุ้น) จากชวนะก่อนหน้านี้ เพราะเหตุที่เพิ่งเกิดขึ้นเป็นขณะแรกนั่นเอง เพราะฉะนั้น แม้มีอานุภาพทำวิบากให้เกิดได้ ก็ไม่ อาจทำให้เกิดได้ในภพต่อ ๆ ไป ย่อมทำวิบากให้เกิดได้ก็เฉพาะในอัตภาพปัจจุบัน นี้เท่านั้น จึงมีแต่วิบากประเภทอเหตุกะ (ไม่มีเหตุ) อย่างเดียวในปวัตติกาล ทางตาคือจักขุวิญญาณบ้าง ทางหูคือโสตวิญญาณบ้าง เป็นต้น ดุจต้นไม้ที่ให้ผลเป็นเพียงดอกไม้ มิได้ให้ผลเป็นผลไม้ ฉะนั้น

   อนึ่ง ในคราวที่ชวนวิถีดังกล่าวนี้เป็นไป ถ้าหากเป็นไปในท่านผู้ยิ่งด้วยคุณ วิเศษ เจตนาในชวนะขณะแรกที่เป็นไปโดยเกี่ยวกับความเชื่อใยอุปการะก็ตาม โดยเกี่ยวกับความประทุษร้ายก็ตาม ย่อมยังผลวิบากให้บังเกิดภายใน ๗ วันที่เดียว

   ในฝ่ายกุศลที่เป็นไปเกี่ยวกับความเชื่อในอุปการะ นั้น ก็เหมือนอย่างเจตนากรรมของกากวลิยเศรษฐี เป็นต้น ที่ได้น้อมถวายอาหารแก่พระมหากัสสปะผู้ออก

จากนิโรธสมาบัติในวันนั้น เป็นเหตุให้เขาได้รับสมบัติมากมาย ถึงความเป็นเศรษฐีในวันนั้น เป็นความจริงว่า ในคราวถวายทานนั้น ถ้ามีความถึงพร้อมด้วย ทักขิณาวิสุทธิ์ (เหตุหมดจดแห่งทักขิณา) ๔ ประการ อันได้แก่ 

   - ปจฺจยานํ ธมฺมิกตา - ความที่ปัจจัยทั้งหลาย (อันจะน้อมถวายนั้น) ได้มาถูกต้องตามธรรม 

   - เจตนามหตฺตํ - เจตนา (ที่ตั้งใจจะถวาย) มีความยิ่งใหญ่ โดยเกี่ยวกับเป็นความตั้งใจถวายด้วยศรัทธาที่มี กำลัง ๑ 

   - วตฺถุสมฺปตฺติ - วัตถุสมบัติ คือท่านผู้เป็นปฏิคาหกเป็นวัตถุสมบัติ  คือเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ๑ 

   - คุณาติเรกตา - พระขีณาสพผู้เป็นปฏิคาหกนั้น เป็นผู้ยิ่งด้วยคุณานุภาพ คือออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ ๆ ๑ 

   ดังนี้แล้ว เจตนาในชวนะขณะแรกนั้น ย่อมให้ผลในภาพเดียวกันนั้น นั่นแหละ และ ภายใน ๗ วันเท่านั้น ทีเดียว ก็ถ้าหากว่าไม่ได้ทักขิณาวิสุทธิ ๔ ประการนี้ เจตนาชวนะขณะแรกนั้น ก็มีกำลังสักว่ายังวิบากให้บังเกิดในภพเดียวกันนั้นเท่านั้น ไม่มีข้อกำหนดแน่นอนเกี่ยวกับระยะเวลาว่า ภายใน ๗ วัน หรือ ๑๕ วัน หรือ ๑ เดือน เป็นต้น

   ในฝ่ายอกุศลที่เป็นไปโดยเกี่ยวกับความประทุษร้ายนั้น ก็เหมือนอย่างเจตนากรรมของนันทยักษ์ผู้ทุบตีท่านพระสารีบุตร ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ เป็นต้น ฉะนั้น ในบรรดาเจตนาเหล่านั้น เจตนาในชวนจิตขณะแรกย่อมยังวิบาก ที่ไม่น่าปรารถนาให้บังเกิดแก่คนเหล่านั้น ภายใน ๗ วันนั้น นั่นแหละ เช่นเดียวกัน ถ้าเกี่ยวกับเป็นความประทุษร้ายต่อบุคคลนอกนี้ ก็มีความสามารถสักว่ายังวิบากให้บังเกิดในภพนั้นอย่างเดียว ไม่มีข้อกำหนดแน่นอนเกี่ยวกับระยะเวลา เช่น เดียวกับในฝ่ายกุศลนั่นเที่ยว

   ก็เจตนาในชวนะขณะแรกนี้ เพราะเหตุที่ไม่มีกำลังนัก จึงให้ผลให้วิบากได้ เฉพาะในปัจจุบันนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีโอกาสจะให้ผลได้ในชั่วระยะเวลาที่ตนสามารถจะให้ได้ ก็ย่อมเป็นอโหสิกรรมไป ไม่มีผล ไม่มีวิบาก ข้อนี้ก็เหมือน อย่างการที่นายพรานนาวคันธนูยิงลูกศรไป ถ้ายิงไม่ผิด ก็จะทำเนื้อให้ล้มลงใน ที่นั่น ถ้ายิงผิด เนื้อก็จะกระโจนหนีไม่เหลียวหลัง ฉะนั้น การได้โอกาสทำวิบาก ให้บังเกิด แห่งทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เหมือนการที่ลูกศรแล่นไปถูกเนื้อไม่ผิดพลาด การถึงความเป็นกรรมที่หาวิบากมิได้ คือเป็นอโหสิกรรม เหมือนการยิงผิด ฉะนี้แล

อธิบายอุปปัชชเวทนียกรรม

   กรรมที่สัตว์ต้องเข้าถึงอัตภาพถัดไปจากอัตภาพปัจจุบัน แล้วจึงเสวยวิบาก ได้ ชื่อว่า อุปปัชชเวทนียกรรม ความว่า เป็นกรรมที่ให้วิบากในภพถัดไป

   ก็ในบรรดาชวนจิต ๗ ขณะ ซึ่งมีนัยดังได้กล่าวแล้วนั่นเอง เจตนาในชวนะ ขณะที่ ๗ อันให้สําเร็จความต้องการในการให้ทานเป็นต้น หรือในการฆ่าสัตว์ เป็นต้น เป็นอุปปัชชเวทนียกรรม ให้วิบากในภพถัดไปเท่านั้น ไม่เกินเลยไปกว่า ก็เจตนาในชวนะขณะที่ ๗ นี้ แม้ว่ามีกำลังมากกว่าเจตนาในขณะที่ ๑ เพราะความที่ได้ชวนจิตขณะที่ ๑ ถึง ๖ เป็นอาเสวนปัจจัย ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น เมื่อเกิดขึ้นเป็นขณะสุดท้ายใกล้ตกภวังค์ ก็ย่อมมีกำลังหย่อนไปส่วนหนึ่ง ไม่เต็มที่ จึงมีความสามารถทำวิบากให้เกิดได้ก็ในภพถัดไปเท่านั้น ทั้งในปฏิสนธิกาล ทั้งในปวัตติกาล หากในภพหน้านั้น ไม่มีโอกาสให้ผล ก็หมดโอกาสของตนไป ย่อมเป็นอโหสิกรรม ไม่มีผล ไม่มีวิบาก เฉพาะมหัคคตกรรม คือ สมาบัติ ๘ หรือ ๙ และอนันตริยกรรม ๕ เท่านั้น ที่ให้ผล ให้วิบาก ในภพถัดไปแน่นอน ไม่เป็นอโหสิกรรมเลย เพราะเป็นกรรมหนัก 

   อนึ่ง ถ้าหากว่าบุคคลเป็นผู้ได้สมาบัติหลายสมาบัติ หากไม่มีอัธยาศัยมีใจ น้อมไปเกี่ยวกับภพที่พึงถึงอะไร ๆ เป็นเรื่องหนึ่งต่างหาก เหมือนอย่างท่านผู้มี

บุญญาธิการยิ่งใหญ่อย่างพระโพธิสัตว์เป็นต้น ไซร้ เฉพาะสมาบัติเดียวที่สูงสุด เท่านั้น ย่อมเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม ยังผลยังวิบากให้บังเกิดในภพถัดไป สมาบัติ ที่เหลือย่อมถึงความเป็นอโหสิกรรมไป

   แม้เกี่ยวกับอนันตริยกรรม ๕ ก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากบุคคลผู้นั้นทำอนันตริยกรรมไว้หลายอย่าง อนันตริยกรรมข้อที่หนักที่สุดอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมเป็น อุปปัชชเวทนียกรรม ยังผลยังวิบากให้บังเกิดในภพหน้าถัดไป อนันตริยกรรมข้อ ที่เหลือ ย่อมถึงความเป็นอโหสิกรรม

   ในบรรดาอนันตริยกรรม ๕ อย่าง นั้น อนันตริยกรรมข้อสังฆเภทนั่นเทียว หนักที่สุด รองลงมาได้แก่ โลหิตุปบาท รองลงมาอีกได้แก่ อรหันตฆาต ลงมายิ่งกว่านั้นอีกก็ได้แก่ มาตุฆาตหรือปิตุฆาต เนื่องอยู่กับว่า มารดามีคุณธรรม มากกว่าบิดา หรือบิดามีคุณธรรมมากกว่ามารดา ถ้ามารดามีคุณธรรมมากกว่าบิดา มาตุฆาตจะจะเป็นกรรมที่หนักกว่า แม้เกี่ยวกับการที่บิดามีคุณธรรมมากกว่า มารดา ก็มีอรรถาธิบายทำนองเดียวกัน แต่ว่า ถ้ามารดาเป็นผู้เท่าเทียมกับบิดา ด้วยคุณมีศีลเป็นต้นก็ดี ด้วยบาปธรรมมีความเป็นคนทุศีลเป็นต้นก็ดี การฆ่ามารดาจะเป็นกรรมที่หนักกว่า เพราะมารดามีคุณมีอุปการะต่อบุตรมากกว่าบิดา ฉะนี้ แล เป็นต้นก็ดี การ ฆ่ามารดาจะเป็นกรรมที่หนักกว่า บิดา ฉะนี้ แล.  

อธิบายอปราปรเวทนียกรรม

   กรรม มีวิบากอันพึงเสวยในภพต่อ ๆ ไป   คือ ในอัตภาพอื่นจากอัตภาพ ปัจจุบันและอัตภาพถัดไป อัตภาพใดอัตภาพหนึ่ง ชื่อว่า อปราปรเวทนียกรรม บางแห่งเรียกว่า อปราปริยเวทนียกรรม

   ก็ในบรรดาชวนจิตที่แล่นไป ๗ ขณะ ตามนัยดังได้กล่าวแล้ว นั่นแหละ  เจตนาในชวนะ ๕ ขณะ อันเป็นไปในระหว่างชวนะขณะแรก และชวนะขณะสุดท้าย ย่อมไม่ถึงความเป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรมเป็นต้น เพราะปราศจากเหตุแห่งความเป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรมเป็นต้น ตามที่กล่าวมาแล้ว  มีกำลังยิ่งเพราะ ได้อาเสวนปัจจัยจากชวนะขณะก่อนหน้า ย่อมเป็นอปราปรเวทนียกรรม ให้วิบากทั้งในปฏิสนธิกาล ทั้งในปวัตติกาล ในภพที่ ๓ เป็นต้นไป (นับภพปัจจุบัน เป็นภพที่ ๑) ในเมื่อได้โอกาสเข้าในเวลาใดเวลาหนึ่ง เพราะไม่ขาดสภาพการให้วิบาก เมื่อสังสารวัฏยังเป็นไปอยู่ ชื่อว่า โอกาสจะเป็นอโหสิกรรมนั้น หามีไม่

   เปรียบเหมือนว่า นายพรานสุนัขพบเนื้อแล้วปล่อยสุนัขไป สุนัขนั้น ติดตามเนื้อนั้นไปไม่ลดละ ทันเข้าที่ใดก็กระโจนกัดเอาในที่นั้น ไม่ทันก็ติดตาม ต่อไปอีก ฉันใด, อปราปรเวทนียกรรมนี้ ก็ฉันนั้น ได้โอกาสเข้าในที่ใดและเมื่อใด ก็ย่อมให้วิบากในที่นั้น เมื่อนั้น เมื่อยังไม่ได้โอกาสก็คอยติดตามต่อไปอีก ฉันนั้น ก็สัตว์ผู้ได้ชื่อว่า หลุดพ้นจากอปราปรเวทนียกรรมนี้ หามีไม่ ความว่า ไม่เป็นอโหสิกรรม ตราบเท่าที่สังสารวัฏยังเป็นไป

อธิบายอโหสิกรรม

   คนกรรมที่พึงกล่าวได้อย่างนี้ ว่า “กรรมได้มีแล้ว วิบากของกรรมมิได้มีแล้ว มิได้มีอยู่ หรือจักไม่มี” ดังนี้ ชื่อว่า อโหสิกรรม. ขยายความว่า กรรมได้มีแล้ว กล่าวคือ ทำเสร็จสิ้นไปแล้วในอดีต หรือในปัจจุบัน ควรจะให้วิบากในปัจจุบัน แต่ก็มิได้ให้ ก็ดี กรรมได้มีแล้ว กล่าวคือ ทำเสร็จสิ้นไปแล้วในอดีตหรือในปัจจุบัน ควรจะให้วิบากในอนาคต แต่ก็จักไม่ให้ ก็ดี เพราะหมด  โอกาส หรือล่วงเลยโอกาสที่จะให้ของตนไป ตามนัยดังกล่าวแล้ว ชื่อว่า อโหสิกรรม ได้แก่ กรรม ๒ อย่างข้างต้น ที่ล่วงเลยโอกาสของตนไปแล้ว หรือหมดโอกาสเพราะถูกกรรมที่มีกำลังกว่า ครอบงำเสียนั่นเอง ส่วนอปราปรเวทนียกรรม จะถึงความเป็นอโหสิ กรรมได้ ก็โดยประการเดียวเท่านั้น คือ ความเป็นไปของสังสารวัฏขาดสายลง 



[full-post]

กัมมจตุกก,กรรม ๑๒, กรรม ๑๖

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.