สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ


กัมมจตุกก (ตอนที่สี่.ก)

กรรม ๔ อย่าง โดยเกี่ยวกับสถานที่เผล็ดผล

      ชื่อว่า กรรม มี ๔ อย่าง อย่างนั้นเหมือนกัน โดยเกี่ยวกับสถานที่ที่เผล็ดผล

คือ อกุศลกรรม ๑, กามาวจรกุศลกรรม ๑, รูปาวจรกุศลกรรม ๑, อรูปาวจรกุศลกรรม ๑

      คำอธิบายกรรม ๔ อย่าง โดยเกี่ยวกับสถานที่ดูเผล็ดผล

   คำว่า โดยเกี่ยวกับสถานที่เผล็ดผล คือโดยเกี่ยวกับภูมิอันเป็นที่เผล็ดวิบากซึ่งมี ๔ ภูมิ คือ อบายภูมิ ๑, กามสุคติภูมิ ๑, รูปภูมิ ๑, อรูปภูมิ ๑ เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “คือ อกุศลกรรม ๑” ดังนี้ เป็นต้น ความว่า อกุศลกรรมย่อมเผล็ดปฏิสนธิวิบากและปวัตติวิบากในอบายภูมิ ๔ ย่อมเผล็ดเฉพาะ

ปวัตติวิบากในกามสุคติภูมิและรูปภูมิ ตามสมควรแก่ภูมิ ย่อมไม่เผล็ดวิบากอะไร ๆ ในอรูปภูมิ แม้เกี่ยวกับการเผล็ดวิบากแห่งกามาวจรกุศลกรรมเป็นต้น บัณฑิต พึงประกอบความตามสมควร ตามนัยเดียวกันนี้

   กรรมเป็นอกุศล มีวิบากไม่น่าปรารถนา ชื่อว่า อกุศลกรรม 

   กรรมเป็นกุศลชั้นกามาวจร มีวิบากน่าปรารถนา ชื่อว่า กามาวจรกุศลกรรม     

   กรรมเป็นกุศลชั้นรูปาวจร มีวิบากน่าปรารถนา ชื่อว่า รูปาวจรกุศลกรรม 

   กรรมเป็นกุศลชั้นอรูปาวจร มีวิบากน่าปรารถนา ชื่อว่า อรูปาวจรกุศลกรรม.


อกุศลกรรม

   ในบรรดากรรม ๔ อย่าง โดยเกี่ยวกับสถานที่เผล็ดผล นั้น อกุศลกรรมมี ๓ อย่าง โดยเกี่ยวกับทวารของกรรม คือ กายกรรม ๑, วจีกรรม ๑, มโนกรรม ๑ ดังนี้ คืออย่างไร? คือว่า ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่า กายกรรม เพราะเป็นไปโดยมากทางกายทวาร กล่าวคือ กายวิญญัติ มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะ ชื่อว่า วจีกรรม เพราะเป็นไปโดยมากทางวจีทวาร กล่าวคือ วจวิญญัติ อภิชฌา พยาบาทและมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า มโนกรรม เพราะแม้เว้นวิญญัติเสีย ก็เป็นไปโดยมากทางใจ นั่นเที่ยว

   ในอกุศลกรรม ๑๐ อย่างเหล่านั้น ปาณาติบาต ผรุสวาจา และพยาบาท ย่อมเกิดด้วยมูลคือโทสะ กาเมสุมิจฉาจาร อภิชฌา และมิจฉาทิฏฐิ ย่อมเกิดด้วย มูลคือโลภะ อกุศลกรรมที่เหลือ แม้ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้ด้วยมูล ๓ อนึ่ง อกุศลกรรมนี้นั้น ย่อมมี ๑๒ อย่าง โดยเกี่ยวกับจิตตุปบาทแม้โดยประการทั้งปวง


คำอธิบายอกุศลกรรม

   กรรม ๑๐ อย่าง มีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า อกุศลกรรมบถ เพราะเป็น อกุศลกรรมที่เป็นทางไปสู่ทุคติ แม้เป็นอย่างนี้ ท่านอาจารย์ก็ไม่เรียกกรรมเหล่านี้ ว่า “อกุศลกรรมบถ” เรียกว่า “อกุศลกรรม” เท่านั้น ไม่มีคำว่า “บถ” พึงทราบ ว่าเป็นเพราะท่านมุ่งถึงความต่างกันโดยชาติแห่งกรรมทั้งหลายเป็นสำคัญ มิได้มุ่งถึงความเป็นทางไปสู่ทุคติหรือแม้สุคติเป็นสำคัญ บัณฑิตพึงเห็นอย่างนี้ว่า อกุศลกรรมที่สามารถทำปฏิสนธิวิบากให้บังเกิดได้ ชื่อว่า อกุศลกรรมบถ, ที่ไม่แน่นอน ว่าจะสามารถทำปฏิสนธิวิบากให้บังเกิดได้ ชื่อว่า อกุศลกรรมเท่านั้น ไม่ชื่อว่า อกุศลกรรมบถ ก็เป็นอันว่า อกุศลกรรมบถเป็นอกุศลกรรมแน่นอน แต่อกุศลกรรมไม่แน่นอนว่าเป็นอกุศลกรรมบถ. แม้เกี่ยวกับกุศล ก็อย่างนี้เหมือนกัน ข้อ นี้ สมจริงตามที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา ปฏิสัมภิทามรรค ที่ชื่อว่า สัทธัมมัปปกาสนี อย่างนี้ ว่า “กุสลากุสลาปิ จ ปฏิสนฺธิชนกาเยว กมฺมปถาติ วูตฺตา" เป็นต้น แปลว่า “ทั้งกุศลและอกุศล เฉพาะที่ทำปฏิสนธิให้เกิดได้เท่านั้น กรรมบถ กุศลและอกุศลที่เหลือจากที่กล่าวแล้ว ไม่เรียกว่า กรรมบถ เพราะไม่ แน่นอนในอันทำปฏิสนธิให้เกิด” ดังนี้ 

   คำว่า มี ๓ อย่าง โดยเกี่ยวกับทวารของกรรม คือ มี ๓ อย่าง โดย เกี่ยวกับช่องทางแห่งความเป็นไปของกรรม ซึ่งมี ๓ อย่าง คือ กาย วาจา และใจ เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า “คือกายกรรม ๑” ดังนี้เป็นต้น ความว่า กรรมที่เป็นไปทางกายทวาร ชื่อว่า กายกรรม แม้ที่ชื่อว่า วจีกรรม และที่ชื่อ ว่า มโนกรรม ก็อย่างนี้เหมือนกัน

   ท่านอาจารย์ ประสงค์แสดงประเภทแห่งกรรม ที่นับว่าเป็นกายกรรม เป็นต้น นั้น จึงกล่าวว่า “คืออย่างไร? คือว่าปาณาติปาต” ดังนี้ เป็นต้น 


อธิบายปาณาติปาต

   การทําสัตว์ให้ตกไปโดยเร็ว ชื่อว่า ปาณาติปาต. ความว่า สัตว์มีอันค่อยๆ ตกไป คือตายไปเองตามปกติของตน ไม่ยอมให้ค่อยๆ ตกไปอย่างนั้น กลับทำให้ ตกไปโดยเร็วเสียนั่นเทียว อธิบายว่า ได้แก่การฆ่าสัตว์ ก็คำว่า “ปาณะ” ในคำ ว่า ปาณาติบาต นี้ ว่าโดยโวหารก็ได้แก่สัตว์ ว่าโดยปรมัตถ์ก็ได้แก่ชีวิตของสัตว์ วธกเจตนา (เจตนาฆ่า) ที่ทำความพยายามให้ตั้งขึ้น เพื่อการตัดขาดชีวิตผู้อื่น อันเป็นไปทางกายทวาร โดยเกี่ยวกับลงมือฆ่าเอง หรือทางวจีทวาร โดยเกี่ยวกับ สั่งให้ผู้อื่นไปฆ่า แห่งบุคคลผู้รู้อยู่ว่า สัตว์ผู้นั้นมีชีวิต ชื่อว่า ปาณาติบาต ในที่นี้ ประสงค์ว่า เมื่อสัตว์ตายลง วธกเจตนานั่นเอง ชื่อว่า ปาณาติปาต

   เป็นความจริงว่า ในอรรถกถา ท่านได้รวบรวมองค์ประกอบแห่งกรรมที่ถึง ความนับว่าเป็นปาณาติบาต ถึงความเป็นอกุศลกรรมบถไว้อย่างนี้ว่า เมื่อถึงความ พร้อมเพรียงด้วยองค์ ๕ อย่าง ดังจะกล่าวต่อไปนี้แล้ว วธกเจตนานั้นย่อมถึง

ความนับว่า เป็นปาณาติบาต เป็นอกุศลกรรมบถ องค์ประกอบ ๕ อย่าง อะไร บ้าง? ได้แก่:

      ๑. ปาโณ - สัตว์มีชีวิต

      ๒. ปาณสญฺญิตา - ความเป็นผู้รู้อยู่ว่า เป็นสัตว์มีชีวิต

      ๓. วธกจิตตํ - มีความคิดที่จะฆ่า

      ๔. อุปกุกโม - มีความพยายามที่จะฆ่า

      ๕. เตน มรณํ - สัตว์ตายเพราะความพยายามนั้น 

   ฉะนี้แล และเมื่อถึงความเป็นอกุศลกรรมบถ ก็ตั้งอยู่ในฐานะเป็นทางไปสู่ทุคติได้ แม้อกุศลกรรมบถที่เหลือมือทินนาทานเป็นต้น ก็อย่างนี้เหมือนกัน

อธิบายอทินนาทาน

   การถือเอาของที่เขามิได้ให้ ชื่อว่า อทินนาทาน ความว่า การลักของของผู้อื่น การขโมย การโจรกรรม.

   ในคำว่า อทินนาทาน นั้น คำว่า “อทินนะ” อันแปลว่า ของที่เขามิได้ให้ นั้น ได้แก่ของที่ผู้อื่นผู้เป็นเจ้าของหวงแหน ซึ่งผู้เป็นเจ้าของนั้นมีสิทธิครอบครอง โดยชอบธรรม สามารถใช้สอยได้ตามที่ปรารถนา ไม่ถูกลงโทษลงทัณฑ์ในการใช้ สอยนั้น ไถยเจตนา (เจตนาลักขโมย) ที่ทำความพยายามให้ตั้งขึ้น เพื่ออันจะถือของที่เขามิได้ให้นั้น แห่งบุคคลผู้รู้อยู่ว่าเป็นของที่เขาหวงแหน ชื่อว่า อทินนาทาน. โดยทำนองเดียวกันกับปาณาติปาตนั้น ไถยเจตนานั้นจะถึงความเป็น อกุศลกรรมบถข้ออทินนาทานนี้ ก็ต่อเมื่อพร้อมเพรียงด้วยองค์ประกอบ ๕ อย่าง เหล่านี้ คือ

   ๑. ปรปริคคหิตํ - ของที่คนอื่นเขาหวงแห   

   ๒. ปรปริคคหิตสญฺญิตา - ความเป็นผู้รู้อยู่ว่า เป็นของที่คนอื่นเขา หวงแหน 

  ๓. เถยุยจิตตํ - มีความคิดจะลักขโมย 

๔. อุปกุกโม - มีความพยายามที่จะลักขโมย

๕. เตน หรณํ - ลักไปด้วยความพยายามนั้น ฉะนี้แล. 


อธิบายกาเมสุมิจฉาจาร

   คำว่า กาเมสุมิจฉาจาร แปลว่า ความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ก็ คำว่า “ในกามทั้งหลาย” ในที่นี้ ได้แก่ในเมถุนธรรมคือในสิ่งที่คนคู่อันได้แก่หญิง และชายกระทำต่อกันเพราะความกำหนัด ความว่า การร่วมประเวณีนั่นเอง ว่า “ความประพฤติผิด” ได้แก่ ความประพฤติชั่วช้าที่สาธุชนทั้งหลายติเตียน

   พึงทราบว่า วิติกกมเจตนา (เจตนาล่วงละเมิด) ในฐานะที่ไม่ควรถึง คือ ไม่ควรแตะต้องข้องแวะ อันเป็นไปทางกายทวาร ด้วยความประสงค์จะเสพอสัทธรรม (เมถุนธรรมนั่นเอง) ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร

   คำว่า ฐานะที่ไม่ควรถึง (อคมนียฐานะ) ได้แก่ ฐานะที่ไม่ควรแตะต้องข้องแวะ โดยเกี่ยวกับความประสงค์จะเสพอสัทธรรม

   ก่อนอื่น ฐานะที่ชายไม่ควรถึง ได้แก่หญิง ๒๐ จำพวก คือ หญิงที่มิใช่ ภรรยา ๑๐ จำพวกก่อน ได้แก่

      ๑. มาตุรกฺขิตา - หญิงที่มารดารักษา คือมารดาปกครองดูแล

      ๒. ปิตุรกฺขิตา - หญิงที่บิดารักษา คือบิดาปกครองดูแล

      ๓. มาตาปิตุรกฺขิตา - หญิงที่ทั้งมารดาทั้งบิดารักษา

      ๔. ภาตุรกฺขิตา - หญิงที่พี่น้องชายรักษา

      ๕. ภคนิรกฺขิตา - หญิงที่พี่น้องหญิงรักษา

      ๖. ญฺาติรกฺขิตา - หญิงที่ญาติรักษา

      ๗. โคตฺตรกฺขิตา - หญิงที่โคตร(หรือตระกูล)รักษา

      ๘. ธมฺมรกุขิตา - หญิงที่ธรรมรักษา อันได้แก่ ภิกษุณี สามเณรี สิกขมานา หรือหญิงที่ออกจากเรือนบวชปรพพฤติธรรม

      ๙. สารกฺขา - หญิงที่รับมั่นชายอื่นแล้ว

      ๑๐. สปริทณฺฑา - หญิงที่มีกฏหมายรักษา คือหญิงที่พระราชา หรือทางบ้านเมืองออกกฏประกาศห้ามชายล่วงล้ำก้ำเกิน และได้แก่หญิงที่เป็นภรรยาอีก ๑๐ จำพวก คือ :

           ๑) ธนกีตา - หญิงที่เขาใช้ทรัพย์ซื้อมาอยู่กินเป็นภรรยา

           ๒) ฉนฺทวาสินี - หญิงอยู่กับชายอื่นเพราะความพอใจ

           ๓) โภควาสินี - หญิงที่อยู่กับชายอื่นเพราะโภคทรัพย์เป็นเหตุ คือหญิงที่ยอมอยู่เป็นภรรยาเพื่อปลดหนี้เป็นต้น

           ๔) ปฏวาสินี - หญิงที่อยู่กับชายอื่นเพราะผ้าเป็นเหตุ คือหญิงที่ยอมอยู่เป็นภรรยา เพื่อประโยชน์แก่ผ้าผ่อน เครื่องประดับ ยานพาหนะ ฯลฯ ที่พึได้รับจากชาย

           ๕) โอทปตฺตกินี - หญิงที่ญาติทั้งสองฝ่ายกำหนดให้ใช้มือจุ่มลงไปในภาชนะไส่น้ำ แล้วสัญญาว่าจะอยู่ร่วมกัน

           ๖) โอภฏจุมฺพฏา - หญิงที่ชายปลงเทริดลงจากศรีษะ ความว่าหญิงที่ชายปลดปล่อยจากความเป็นทาส แล้วแต่งตั้งเป็นภรรยา

           ๗) ทาสี จ ภริยา - หญิงที่เป็นทั้งทาส เป็นทั้งภรรยา

           ๘) กมฺมการี จ ภริยา - หญิงที่เป็นทั้งกรรมกร คือเป็นคนรับจ้างทำงานอยู่ในเรือน เป็นทั้งภริยา

           ๙) ธชาหฏา - หญิงเชลย คือหญิงที่คนในกองทัพซึ่งเข้าตีเมืองอื่นได้แล้ว ก็นำมาตั้งเป็นภรรยา

           ๑๐) มุหุตฺติกา - หญิงที่ชายอยู่ร่วมช้่วคราว

   ส่วนฐานะที่หญิงไม่ควรถึงได้แก่ชายอื่นทั้งหลายนั่นเอง และหญิงที่ไม่ควรถึงฐานะคือชายอื่นเหล่านั้น ได้แก่ หญิง ๑๒ จำพวก คือหญิงที่ไม่ใช่ภรรยา ๒ จำพวก ได้แก่ หญิงที่รับม้่นชายอื่นแล้ว และหญิงที่มีกฏหมายรักษา กับหญิงที่เป็นภรรยาทั้ง ๑๐ จำพวกนั่นเทียว ก็หญิง ๑๒ จำพวกเหล่านี้ หากมีความพอใจเสพเมถุนธรรมกับชายอื่น ก็ชื่อว่า ทำอกุศลกรรมข้อกาเมสุมิจฉาจารนี้

   วีติกกมเจตนานี้ จะเป็นอันถึงความเป็นอกุศลกรรมบถข้อกาเมสุมิจฉาจาร ก็ด้วยความพร้อมเพรียงด้วยองค์ประกอบ ๔ อย่าง เหล่านี้ คือ:

      ๑. อคมนียวตฺถุ - วัตถุอันไม่ควรถึง ได้แก่ หญิง ๒๐ จำพวกเป็นต้น

      ๒. ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ - มีจิตคิดส้องเสพในวัตถุที่ไม่ควรถึงนั้น

      ๓. เสวนปฺปโย - มีความพยายามที่จะส้องเสพ

      ๔. มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนํ - มีการทำมรรคกับมรรคให้จรดถึงกัน(มรรคในที่นี้ได้แก่ทางออกแห่งอสุจิ ความว่าทำอวัยวะเพศให้จรดถึงกันนั่นเอง) ฉะนี้แล

    ท่านอาจารย์กล่าวว่า “ชื่อว่า กายกรรม เพราะเป็นไปโดยมากทางกายทวาร” ดังนี้ ด้วยมีความประสงค์ว่า ในบรรดาทวารของกรรม ๓ อย่าง คือ กายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร นั้น อกุศลกรรม ๓ อย่างมีปาณาติบาตเป็นต้น ย่อมเป็นไปทางทวาร ๒ คือกายทวารและวจีทวาร เว้นมโนทวาร เพราะสัตว์จะ ถึงความตายได้ ก็ในเมื่อผู้ฆ่ามีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวกายหรือวาจาลงมือฆ่า เท่านั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ถือเอาได้ว่า ปาณาติบาต นี้ เป็นไปทางทวาร ๒ ดังกล่าวนี้ อนึ่ง แม้เป็นไปทางวจีทวารได้ในคราวที่สั่งให้เขาไปฆ่าเป็นต้น เทียบกับกายทวารแล้วนับว่าน้อยกว่า เป็นไปทางกายทวารนั่นแหละโดยมาก ดุจบุคคลได้ชื่อว่า พรานป่า  เพราะโดยมากเที่ยวไปในป่า เที่ยวไปในที่อื่นน้อย ฉะนั้น เพราะฉะนั้น เพราะอาศัยความที่เป็นไปโดยมากทางกายทวาร ปาณาติปาตนี้ จึงถึงความนับว่าเป็นกายกรรม แม้ความที่อทินนาทานและกาเมสุมิจฉาจาร ถึงความว่าเป็น กายกรรม บัณฑิตที่พึงทราบโดยนัยนี้เหมือนกัน

   ท่านอาจารย์ ประสงค์แสดงให้ทราบว่า ทวารของกรรมที่เรียกว่า กายทวาร นี้ เป็นไฉน เป็นอย่างเดียวกันกับกายทวารที่เป็นทวารของกายทวารวิถีจิตหรือไม่ ดังนี้ จึงกล่าวว่า “กล่าวคือ กายวิญญัติ” ดังนี้ พึงทราบว่า อาการแห่งกายที่ บุคคลทำขึ้นเพื่อให้ผู้อื่นรู้ความประสงค์ หรือตนเองรู้ความประสงค์แล้วทำขึ้น ชื่อ ว่า กายวิญญัติ กายวิญญัตินี้เองเป็นกายทวารในที่นี้         


อธิบายมุสาวาท 

   ความพยายามทางวาจา (คือการเปล่งวาจานั่นแหละ) หรือแม้ความพยายามทางกาย (คือการเคลื่อนไหวกายโดยอาการต่างๆ มี พยักหน้า สั่นศีรษะ เป็นต้น) อันหักรานประโยชน์ของผู้อื่น แห่งบุคคลผู้มุ่งจะให้เขาเข้าใจคลาดเคลื่อน ชื่อว่า มุสา เจตนาที่ยังความพยายามทางวาจา และความพยายามทางกายดังกล่าวนั้นให้ตั้งขึ้น ชื่อว่า มุสาวาท

   อีกนัยหนึ่ง เรื่องไม่จริงไม่แท้ ชื่อว่า มุสา การกล่าว การทำให้เขาเข้าใจ เรื่องไม่จริงไม่แท้นั้น โดยความเป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ ชื่อว่า มุสาวาท. ว่าโดย สภาวะ ก็ได้แก่เจตนาที่จงใจเปล่งวาจา เคลื่อนไหวกาย เพื่อให้ผู้อื่นรู้เรื่องที่ไม่จริง ไม่แท้ โดยความเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ นั่นเอง

   แม้หมายเอาเจตนาดังกล่าวนี้ก็ตาม ถึงกระนั้น เจตนานั้นจะเป็นอันสำเร็จ ความเป็นอกุศลกรรมที่นับว่าเป็นอกุศลกรรมบถข้อนี้ได้ ก็ในเมื่อประกอบพร้อม ด้วยองค์ประกอบ ๔ อย่าง เหล่านี้เท่านั้น คือ:

      ๑. อตถํ วตฺถุ - เรื่องไม่จริง

      ๒. วิสวาทนจิตตํ - มีความคิดจะทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน

      ๓. ตชฺโช วายาโม - มีความพยายามอันเกิดจากความคิดนั้น

      ๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ - ผู้อื่นรู้เนื้อความนั้น

   มุสาวาทนั้น เฉพาะผู้อื่นเชื่อถือแล้วทำลายประโยชน์ของคนอื่นได้เท่านั้น จึงจะชื่อว่าเป็นกรรมบถ


อธิบายปิสุณวาจา

   เจตนามัวหมองที่ทำความพยายามทางวาจา หรือแม้ทางกาย ให้ตั้งขึ้นเพื่อให้คนเหล่าอื่นแตกแยกกันเพราะเกิดความเกลียดชังกันขึ้นก็ดี เพื่อให้ตนเป็นที่รักแห่งคนนั้นแทนอีกคนหนึ่งก็ดี ชื่อว่า ปิสุณวาจา - วาจาส่อเสียดยุยง ขยายความ ว่า คน ๒ คน หรือแม้หลายคน สามัคคีกันอยู่ ตนเป็นคนที่ ๓ มีเจตนากล่าว วาจายุยงประสงค์ให้เขาแตกความสามัคคีกัน ด้วยความต้องการจะให้คนหนึ่งถูกคนอื่นเกลียดชังก็ดี ด้วยความต้องการที่จะให้คนหนึ่งเกลียดชังคนนั้น (หรือผิด ใจกัน) แล้วหันมารักตนแทนก็ดี เจตนาที่เปล่งวาจาออกมานั้นชื่อว่า ปิสุณวาจา แม้ว่า หมายเอาเจตนาดังกล่าวนี้ก็ตาม แต่เจตนานั้นต้องประกอบพร้อมด้วยองค์ ประกอบ ๔ อย่าง ดังต่อไปนี้เท่านั้น จึงจะถึงความนับว่าเป็นอกุศลกรรมบถ ได้แก่: 

๑. ภินฺทิตพฺโพ ปโร - คนอื่นที่ตนจะพึงยุยงให้แตกแยกจากอีกคน

๒. เภทปุเรกฺขารตา - ความเป็นผู้มีจิตคิดมุ่งให้เขาแตกแยกกัน โดยนัยว่า " คนเหล่านั้นจักแยกจากกัน จักเว้นห่างจากกันเสียได้ก็โดยอุบายนี้ " ดังนี้ หรือว่า ปิยกมฺยตา - ความใคร่จะให้ตนเป็นที่รักของคนหนึ่ง โดยนัยว่า " เราจักเป็นคนที่เขารัก,เป็นคนที่เขาสนิทสนมได้ก็โดยอุบายนี้ " ดังนี้

 ๓. ตชฺโช วายาโม - มีความพยายามอันเกิดจากความคิดนั้น

 ๔. ตสฺส ตทตฺถวิชานนํ - คนที่ตนจะทำให้แตกแยกกันนั้น รู้ความนั้น  ฉะนี้แล.

      พึงทราบว่า เมื่อชน ๒ ฝ่ายแตกแยกกันแล้วเท่านั้น จึงจะถึงความเป็น อกุศลกรรมบถ ถ้ายังไม่แตกแยกกันก็เป็นเพียงอกุศลกรรมเท่านั้น ไม่ถึงความเป็น อกุศลกรรมบถ


อธิบายผรุสวาจา

   เจตนาหยาบโดยส่วนเดียว ที่ทำวจีปโยคะ หรือแม้กายปโยคะ ให้ตั้งขึ้น เพื่อตัดเสียซึ่งความเยื่อใยของผู้อื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา เป็นความจริงว่า หากมีจิต ไม่หยาบ คือ อ่อนโยน แม้เปล่งคำหยาบช้า ก็หาชื่อว่า เปล่ง ผรุสวาจา ไม่

   ก็เจตนาดังกล่าวนี้ จะถึงความเป็นอกุศลกรรมบถก็ต่อเมื่อประกอบพร้อม ด้วยองค์ ๓ เหล่านี้เท่านั้น คือ:

      ๑. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร - คนอื่นที่ตนจะพึงด่าว่า

      ๒. กุปิตจิตตํ - มีจิตโกรธเคือง

      ๓. อกฺโกสนํ - มีการด่าว่าฉะนี้แล


อธิบายสัมผัปปลาปะ

   เจตนามัวหมอง (เป็นไปกับมลทินมีราคะเป็นต้น) ที่ทำความพยายามให้ ตั้งขึ้น เพื่อจะให้ผู้อื่นรู้เรื่องไร้ประโยชน์มีเรื่องฉุดลักนางสีดาเป็นต้น ชื่อว่า สัมผั ปลาปะ

   ก็เจตนามัวหมองดังกล่าวนี้ เมื่อประกอบพร้อมด้วยองค์ ๒ ประการเท่านั้น จึงจะถึงความเป็นกรรมบถ คือ:  

      ๑. ภารตยุทฺธสีตาหรณาทินิรตฺถกกถากถาปุเรกฺขารตา - ความเป็นผู้มุ่งจะกล่าวเรื่องไร้ประโยชน์ มีเรื่องภารตยุทธ เรื่องฉุดลักนางสีดา เป็นต้น 

      ๒. ตถารูปิกถานํ - มีการกล่าวเรื่องไร้ประโยชน์ที่เป็นเช่นนั้น 

   ถึงกระนั้น เมื่อผู้อื่นยังไม่ถือเอาเรื่องนั้น (ไม่เชื่อถือเป็นสาระ) ก็ยังไม่ถึง ความเป็นกรรมบถ เรียกได้ว่าเป็นอกุศลกรรมเท่านั้น แต่เมื่อผู้อื่นถือเอานั่นเที่ยว จึงจะถึงความเป็นกรรมบถ ฉะนี้แล กรรม ๔ อย่างมีมุสาวาทเป็นต้นนี้ เรียกว่า วจีกรรม, ท่านอาจารย์ประสงค์จะให้ทราบความเป็นวจีกรรม จึงกล่าวว่า “เพราะ เป็นไปโดยมากทางวจีทวาร” เป็นต้น

   คำว่า เพราะเป็นไปโดยมากทางวจีทวาร กล่าวคือ วจีวิญญัติ คือ แม้ว่า เป็นไปทางกายทวารก็ได้ ในเวลาที่บุคคลส่ายหน้า พยักหน้า เป็นต้น เพื่อให้เขา เข้าใจคลาดเคลื่อนเป็นต้น ถึงกระนั้นก็เป็นส่วนน้อย โดยมากเป็นไปทางวจีทวาร นั่นแหละ ก็วจีทวารนี้คืออะไรเล่า? คือวจวิญญัติ อันได้แก่อาการที่ขยับเขยื้อน เคลื่อนไหววาจา บริเวณฐานที่เกิดเสียงที่บุคคลทำขึ้น เพื่อให้ผู้อื่นรู้ความประสงค์ หรือตนเองรู้ความประสงค์แล้วทำขึ้น เพราะฉะนั้น เพราะอาศัยความเป็นไปโดย มากทางวจีทวาร เป็นไปทางกายทวารเป็นต้น เป็นส่วนน้อยนี่เอง กรรม ๔ อย่าง มีมุสาวาทเป็นต้นเหล่านี้ ท่านจึงเรียกว่า วจีกรรม


อธิบายอภิชฌา

   ความเพ่งจ้องสมบัติของผู้อื่นแล้วเป็นไปโดยภาวะที่น้อมใจไปในสมบัติของ ผู้อื่นนั้น ชื่อว่า อภิชฌา ได้แก่ โลภะ คือความอยากที่เป็นไปโดยอาการอย่าง ที่กล่าวแล้วนั่นเอง อภิชฌามีความเพ่งจ้องสมบัติของผู้อื่น โดยอาการที่น้อมมา เพื่อเป็นของตน อย่างนี้ว่า “โอหนอ ขอสิ่งนี้จงเป็นของเราเสียเถิด” ดังนี้ เป็น ลักษณะ

   ก็โลภะที่มีอาการดังกล่าวมานี้ จะถึงความนับว่า เป็นกรรมบถ ก็ในเมื่อ ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๒ เหล่านี้เท่านั้น คือ 

    ๑. ปรภณฺฑํ - สิ่งของของผู้อื่น

    ๒. อตฺตโน   ก็ยังไม่นับว่าสำเร็จความเป็นกรรมบถ เมื่อมีความคิดดังกล่าวนั้นเท่านั้น จึงจะนับ ว่าสําเร็จความเป็นกรรมบถ

   อนึ่ง แม้มีความพยายามทางกาย หรือวาจาติดตามมา อันเนื่องจากความ คิดนั้น เป็นเหตุให้สัตว์อื่นถึงความพินาศหรือตายไปตามความคิดนั้น ก็ยังคงนับว่า เป็นมโนกรรมข้อพยาบาทนี้นี่แหละ หาได้เป็นกายกรรมข้อปาณาติปาตไม่ เพราะ มีโทสะออกหน้าเป็นประธาน มิใช่มีเจตนาออกหน้าเป็นประธานแล


อธิบายมิจฉาทิฏฐิ

   ธรรมชาติที่เห็นผิด เพราะไม่มีการถือเอาตามความเป็นจริง ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ ขยายความว่า ความจริงเป็นอย่างหนึ่ง ธรรมชาตินี้เกิดขึ้นแล้วก็เป็นเหตุ ให้ไม่ถือเอาตามที่เป็นจริงนั้น ทว่า กลับถือเอาตามความไม่เป็นจริง โดยนัยว่า “ทานที่บุคคลให้ไม่มีผล ไม่มีวิบาก” ดังนี้ เป็นต้น

   ก็อกุศลกรรมข้อมิจฉาทิฏฐิ นี้ จะถึงความเป็นกรรมบถ ก็เพราะประกอบ ด้วยองค์ประกอบ ๒ อย่าง คือ:

๑. วตฺถุโน คหิตาการวิปรีตตา - วัตถุ(ของจริง) มีความผิดไปจากที่ตนยึดถือ  วัตถุ (ของจริง) มีความผิดไปจากที่ตน  

๒. ยถา ตํ คณฺหาติ, ตถาภาเวน ตสฺสูปฏฺฐานํ - วัตถุมีความปรากฏ โดยไม่เป็นอย่างที่ยึดถือ.  

   ในบรรดามิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิที่นับว่าเป็นอกุศลมโนกรรมนั้น ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่าง เหล่านี้เท่านั้น คือ : 

   -นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่า ผลของบุญของบาปไม่มี

   -อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่า สัตว์จะบริสุทธิ์หรือมัวหมอง จะถึงสุคติหรือทุคติ ล้วนเป็นไปเอง ไม่มีเหตุ, ไม่มีปัจจัย

   -อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่า กรรมมีการฆ่าสัตว์เป็นต้น ทำไปก็ไม่เป็นอันทำ คือไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป ฉะนี้แล

   คำว่า ชื่อว่า มโนกรรม เพราะแม้เว้นวิญญัติเสีย ก็เป็นไปโดยมากทางใจ นั่นเทียว ความว่า กรรม ๓ อย่างมีอภิชฌาเป็นต้นนี้ แม้เว้นกายวิญญัติ และ วจวิญญัติเสีย คือแม้มิได้อาศัยวิญญัติทั้ง ๒ เป็นไป ก็ชื่อว่า มโนกรรม เพราะ ความที่เป็นไปโดยมากทางใจที่เรียกว่า มโนทวาร นั่นเทียว เป็นอันท่านอาจารย์ ส่องให้ทราบความอย่างนี้ว่า กรรม ๓ อย่างมีอภิชฌาเป็นต้น นี้ แม้ที่เป็นไป อาศัยวิญญัติทั้ง ๒ ก็มีอยู่ ในคราวที่บุคคลเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น แล้วถึงความพยายามด้วยกาย ลักเอาสิ่งของของผู้นั้นมา หรือบอกกล่าวให้ผู้อื่นไปลักเอามาเป็นต้น แม้เป็นไปอาศัยวิญญัติทั้ง ๒ อย่างดังกล่าวนั้น ก็ยังคงนับว่าเป็น มโนกรรมนั่นแหละ เพราะโดยมากเป็นไปทางใจ ไม่อาศัยวิญญัติทั้ง ๒ นั้น 


อธิบายมูลของอกุศลกรรม

   คำว่า ปาณาติบาต ผรุสวาจา และพยาบาท ย่อมเกิดด้วยมูลคือโทสะ มีความหมายว่า มีโทสะเป็นมูลคือเป็นรากเหง้า อย่างนี้คือ ก่อนอื่น ปาณาติปาต และผรุสวาจา ชื่อว่า ย่อมเกิดด้วยมูลคือโทสะ เพราะเจตนาที่ปลงชีวิตสัตว์ (เจตนาฆ่า) ย่อมเป็นไปพร้อมกับโทสะที่ประทุษร้ายชีวิตสัตว์ และเพราะเจตนาที่

 เปล่งคำหยาบย่อมเป็นไปพร้อมกับโทสะที่ขุ่นเคืองผู้อื่น ส่วน พยาบาท ชื่อว่า  เกิดด้วยมูลคือโทสะนั้น มีความหมายว่า ย่อมเกิดด้วยจิตที่มีโทสะเป็นมูล มิได้มีความหมายตรงตามคำพูดว่า ย่อมเกิดด้วยมูลคือโทสะเหมือนอย่างปาณาติปา และผรุสวาจา เพราะว่า พยาบาท นั้น ว่าโดยตัวสภาวธรรมก็ได้แก่โทสะ นั่นเอง ขยายความว่า โทสะนั่นแหละ ถึงฐานะเป็นพยาบาท หรือว่า พยาบาทนี้ ย่อมเกิดด้วยมูล คือ โทสะ อย่างนี้ คือ โทสะที่เกิดหลัง ๆ ถึงฐานะเป็นพยาบาทได้ ก็ด้วยอาศัยมูล คือ โทสะที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย อกุศลกรรม ๓ ข้อนี้ มิได้เกิดด้วยมูลอื่นมีโลภะเป็นต้น เป็นความจริงว่า พระราชา แม้ว่าทรง พระสรวลอยู่ ก็ยังรับสั่งให้เขาฆ่า ด้วยโทสจิตที่เกิดขึ้นในระหว่างแห่งโลภจิต เหล่านั้น นั่นเทียว แม้เกี่ยวกับผรุสวาจา และพยาบาท ก็พึงกล่าวไปตามสมควร ตามทํานองเดียวกันนี้

   คำว่า กาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ ย่อมเกิดด้วยมูลคือโลภะ ความว่า เจตนา ที่ถึงความเป็น กาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่า ย่อมเกิดด้วยมูลคือโลภะ เพราะมีความ เป็นไปพร้อมกับโลภะที่ปรารถนาในเมถุนธรรม

   อภิชฌา ชื่อว่า ย่อมเกิดด้วยมูลคือโลภะ โดยความหมายว่า ย่อมเกิดด้วย จิตที่มีโลภะเป็นมูล โดยเป็นธรรมชาติที่เกิดร่วมกัน หรือว่า โลภะที่เกิดหลังๆ ที่ ถึงความเป็นอภิชฌา ย่อมเกิดด้วยมูลคือโลภะที่เกิดก่อน ๆ

   มิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า ย่อมเกิดด้วยมูลคือโลภะ เพราะความเห็นผิดในวัตถุที่ เห็นผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมเป็นไปพร้อมกับโลภะที่ยึดมั่นในวัตถุที่เห็นผิดนั้น 

   คำว่า อกุศลกรรมที่เหลือแม้ทั้ง ๔ ย่อมเกิดด้วยมูล ๓ ความว่า อกุศล กรรม ๔ อย่าง คือ อทินนาทาน มุสาวาท ปิณวาจา และสัมผัปปลาปะ ชื่อว่า ย่อมเกิดด้วยมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ อย่างนี้ คือ:

   ก่อนอื่น บุคคลใด เล็งเอาประโยชน์ที่ตนจะพึงได้จากวัตถุที่เป็นของผู้อื่นก็ดี ที่พวกญาติเป็นต้น จะพึงได้ ก็ดี แล้วลักเอาวัตถุนั้นมา อทินนาทานของบุคคล นั้นย่อมมีด้วยโลภะ

   อทินนาทานของบุคคลผู้ลักเอาไปเพราะจองเวร (แก้แค้นเป็นต้น) ย่อมมี ด้วยมูลคือโทสะ

      อทินนาทานของพระราชา ผู้รับสั่งให้ริบเอาของของผู้อื่น เพื่อลงโทษคนชั่ว โดยไม่พิจารณาโทษหนักเบาตามความเป็นจริง ก็ดี อทินนาทานของพวกพราหมณ์ ผู้กล่าวอยู่ว่า “ทรัพย์ทั้งหมดนี้ พระราชาพระราชทานให้แก่พวกพราหมณ์ในพิธี ราชาภิเษก คนอื่นจักใช้สอยได้ก็ต่อเมื่อพวกพราหมณ์ทั้งหลายทุพพลภาพไม่อาจ ใช้สอยทรัพย์นั้นได้ โดยประการทั้งปวงเท่านั้น พวกพราหมณ์ เมื่อใช้สอย ชื่อ ว่าย่อมใช้สอยของที่เป็นของตนนั่นเที่ยว” ดังนี้ ก็ดี อทินนาทานของชนทั้งหลาย ผู้มีปกติไม่ทราบความสัมพันธ์กันแห่งกรรมและผลของกรรม ไม่เชื่อกรรม ไม่เชื่อ ผลของกรรม ก็ดี ย่อมมีด้วยมูลคือโมหะ แม้ในกรรมที่เหลือมีมุสาวาทเป็นต้น ก็ พึงประกอบคำพูดไปตามสมควร ตามทำนองนี้แหละ

   บัณฑิตพึงเห็นว่า คำพูดเกี่ยวกับมูลทั้งหมดนี้เป็นอันท่านอาจารย์กล่าวหมายเอามูลที่เป็นประธานในอันให้สำเร็จอกุศลกรรมข้อนั้นๆ เท่านั้น ถ้าว่าโดย ประการทั้งปวง พึงทราบว่า โมหะ ย่อมเป็นมูลแห่งอกุศลกรรมทุกข้อ โดยเป็น มูลที่สาธารณะ โดยเกี่ยวกับว่า ในเวลาที่บุคคลก่ออกุศลกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเวลานั้น เขาย่อมมีความหลง คือความไม่รู้ว่า นี้ เป็นสิ่งไม่ควรทำ เห็นอยู่ว่า เป็นสิ่งควรทํา แล้วก็ทำ เพราะฉะนั้น คำว่า ย่อมเกิดด้วยมูลคือโลภะ นี้ บัณฑิตพึงทราบความหมายว่า “ย่อมเกิดด้วยมูลคือโลภะและโมหะ” และคำว่า ย่อมเกิดด้วยมูลคือโทสะ นี้ พึงทราบความหมายว่า “ย่อมเกิดด้วยมูลคือโทสะ และโมหะ” ดังนี้เถิด ส่วน คำว่า ย่อมเกิดด้วยมูล ๓ นั้น ไม่พึงเห็นว่า ย่อม เกิดด้วยมูล พร้อมกัน แต่พึ่งเห็นว่า อกุศลกรรม ๔ อย่าง คือทินนาทาน เป็นต้น เหล่านี้ แต่ละอย่าง ย่อมเกิดด้วยมูล ๓ อย่างนี้ คือ ย่อมเกิดด้วยมูลคือ โลภะกับโมหะ, หรือด้วยมูลคือโทสะกับโมหะ หรือด้วยมูลคือโมหะอย่างเดียว ฉะนี้  แล.

   ท่านอาจารย์กล่าวว่า อนึ่ง อกุศลกรรมนี้นั้น ย่อมมี ๑๒ อย่าง โดยเกี่ยว กับจิตตุปบาท แม้โดยประการทั้งปวง ดังนี้ ก็เพราะความที่เจตนาทั้งหลาย และ ธรรมมีโลภะเป็นต้นที่สัมปยุตกับเจตนา ถึงความเป็นกรรมแต่ละอย่างเหล่านั้น ย่อมเป็นไปในอกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง เพราะเป็นธรรมที่เกิดร่วมกับจิตตุปบาท เหล่านี้ เพราะฉะนั้น ก็ย่อมกล่าวได้ว่า มี ๑๒ อย่าง ตามจำนวนอกุศลจิตตุปบาท เหล่านี้(โปรดติดตามส่วนที่เป็นกามาวจรกุศลกรรมต่อครับ)

 

[full-post]

ปริจเฉทที่๘,อภิธัมมัตถสังคหะ,กัมมจตุกกะ,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.