การแสดงปฏิจจสมุปบาทธรรม โดยอภิธรรมภาชนียนัย


      การแสดงปฏิจจสมุปบาทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ มีอยู่ ๒ นัยคือสุตตันตภาชนียนัย และอภิธรรมภาชนียนัย ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้นำมาแสดงในปริจเฉทที่ ๘ นี้ เป็นการแสดงโดยสุตตันตภาชนียนัย ซึ่งแสดงถึงความเป็นไปแห่งปฏิจจสมุปบาทในจิตหลายๆ ดวง ชื่อว่า "นานาจิตตักขณิกปฏิจจสมุปบาท" และต่อไปนี้จะได้แสดงโคยอภิธรรมภาชนียนัย ซึ่งแสดงถึงความเป็นไปแห่งปฏิจจสมุปบาทในจิตดวงหนึ่งๆ ชื่อว่า "เอกจิตตักขณิกปฏิจจสมุปบาท"

      ในการแสดงโดยอภิธรรมภาชนียนัยนี้ ได้แบ่งออกเป็น ๆ พวก คือ

      ๑. อกุศลบท ๒. กุศลบท ๓. อพยากตบท


๑) อกุศลบท ในอกุศลบทนี้จะแสดงความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาท เฉพาะในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ เท่านั้น

      อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาโร สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ วิญฺญาณปจฺจยา นามํ นามปจฺจยา ฉฏฺฐายตนํ ฉฏฺฐายตนปจฺจยา ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา เวทนาปจฺจยา ตณฺหา ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ อุปาทานปจฺจยา ภโว ภวปจฺจยา ชาติ ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ฯ

      เพราะอวิชชาเป็นเหตุ อปุญญาภิสังขาร คือทิฏฐิคตสัมปยุตตอกุศลเจตนาที่เป็นไปพร้อมด้วยอวิชชานั้น จึงเกิดขึ้น

      เพราะอปุญญาภิสังขาร คือทิฏฐิคตสัมปยุตตอกุศลเจตนาเป็นเหตุ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น

      เพราะทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตนั้นๆ จึงเกิดขึ้น

      เพราะเจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ มนายตนะคือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น

      เพราะมนายตนะ คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ มโนสัมผัสสะที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น

      เพราะมโนสัมผัสสะ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เวทนาที่ประกอบกับทิฎฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น

      เพราะเวทนา ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ตัณหาที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น

      เพราะตัณหา ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ อุปาทาน ๓ (เว้นกามุปาทาน) ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น

      เพราะอุปาทาน ๓ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ภวะ คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท (เว้นทิฏฐิ) จึงเกิดขึ้น

      เพราะภวะ คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท (เว้นทิฏฐิ) เป็นเหตุ นามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาทนั้น จึงเกิดขึ้น

      เพราะนามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาทเป็นเหตุ นามชรา นามมรณะ คือขณะตั้งและขณะดับของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท จึงเกิดขึ้น 

      ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์แท้ๆ ทั้งปวงนี้ เพราะอาศัยปัจจัยต่างๆ มีอวิชชาเป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้


อธิบายพิเศษ

      ในที่นี้ที่แสดงว่า "วิญฺญาณปจฺจยา นามํ" ไม่แสดงว่า "วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ" นั้น ก็เพราะว่าต้องการแสดงธรรมที่ประกอบกับจิตดวงหนึ่งๆ และต้องการแสดงให้เป็นไปได้ในภูมิที่จิตเกิดได้ทั่วไป ฉะนั้น จึงไม่ใช้คำว่า "นามรูปํ"

      ที่แสดงว่า "นามปจฺจยา ฉฏฺฐายตน" ไม่แสดงว่า "นามปจฺจยา สฬายตนํ" นั้น ก็เพราะว่าธรรมที่เป็นเหตุนั้นเป็นนาม คือเจตสิกอย่างเดียวไม่มีรูป ฉะนั้นธรรมที่เป็นผลจึงต้องเป็นนามด้วยกัน คืออายตนะที่ ๖ อันได้แก่จิตอย่างเดียว องค์ธรรมของ "วิญฺญาณํ" ในบทว่า "สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ" และองค์ธรรมของ "ฉฏฺฐายตนํ" ในบทว่า "นามปจฺจยา ฉฏฺฐายตนํ" ทั้ง ๒ นี้ ได้แก่ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเหมือนกัน แต่ที่มีพิเศษนั้นก็คือ ในบทว่า "สงฺขาปจฺจยา วิญฺญาณํ" นั้น เจตนาเป็นเหตุพิเศษของวิญญาณ, เจตสิกขันธ์ ๓ เป็นผลสามัญของวิญญาณ

      ในบทว่า "นามปจฺจยา ฉฏฺฐายตนํ" นั้น เจตสิกขันธ์ ๓ เป็นเหตุสามัญของฉัฏฐายตนะ ผัสสะเจตสิกเป็นผลพิเศษของฉัฏฐายตนะ

      ในอภิธรรมภาชนียนัยนี้ พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงแสดง โสกะ ปริเทวะเป็นต้น ซึ่งเป็นผลของชาติ ทรงแสดงแต่ "ชาติปจฺจยา ชรามรณ" เท่านั้นทั้งนี้ก็เพราะว่าในจิตตักขณะดวงหนึ่งๆ นั้น โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ และอีกประการหนึ่ง โสกะ ปริเทวะ เป็นต้นเหล่านี้ ก็ไม่ได้เกิดในภูมิทั่วไป เช่น ในรูปภูมิ อรูปภูมิ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงไม่ทรงแสดง โสกะปริเทวะ เป็นต้น ให้เป็นผลของชาติ

      *ความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ มีพิเศษดังนี้

      "เวทนา ปจฺจยา ตณฺหา ตณฺหาปจฺจยา อธิโมกฺโข อธิโมกฺขปจฺจยา ภโว"

      ความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทในโทสมูลจิต มีพิเศษดังนี้ "เวทนาปจฺจยา ปฏิฆํ ปฏิฆปจฺจยา อธิโมกฺโข อธิโมกฺขปจฺจยา ภโว"

      *ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต มีพิเศษดังนี้ "เวทนาปจฺจยา วิจิกิจฺฉา วิจิกิจฺฉาปจฺจยา ภโว"

      *ในอุทธัจจสัมปยุตตจิต มีพิเศษคังนี้ "เวทนาปจฺจยา อุทฺธจํ อุทฺธจฺจปจฺจยา อธิโมกฺโข อธิโมกฺขปจฺจยา ภโว"

๒) กุศลบท ในกุศลบทนี้ จะแสดงความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทเฉพาะในมหากุศถญาณสัมปยุตตจิต ๔ เท่านั้น 

      กุสลมูลปจฺจยา สงฺขาโร สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ วิญฺญาณปจฺจยา นามํ นามปจฺจยา ฉฏฺฐายตนํ ฉฏฺฐายตนปจฺจยา ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา เวทนาปจฺจยา ปสาโท ปสาทปจฺจยา อธิโมกฺโข อธิโมกฺขปจฺจยา ภโว ภวปจฺจยา ชาติ ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ฯ

      เพราะกุศลมูล ๓ เป็นเหตุ ปุญญาภิสังขาร คือมหากุศลญาณสัมปยุตเจตนาที่เป็นไปพร้อมด้วยกุศลมูล ๓ จึงเกิดขึ้น

      เพราะปุญญาภิสังขาร คือมหากุศลญาณสัมปยุตตเจตนาเป็นเหตุ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น

      เพราะมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น

      เพราะเจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ มนายตนะ คือมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น

      เพราะมนายตนะ คือมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ มโนสัมผัสสะที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น

      เพราะมโนสัมผัสสะ ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เวทนาที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น

      เพราะเวทนา ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ปสาทะ คือศรัทธาที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น

      เพราะปสาทะ คือศรัทธาที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุอธิโมกข์ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงเกิดขึ้น

      เพราะอธิโมกข์ ที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ภวะคือมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตตุปบาท (เว้นอธิโมกข์) จึงเกิดขึ้น

      เพราะภวะ คือมหากุศลญาณสัมปยุตตุปบาท (เว้นอธิโมกข์) เป็นเหตุ นามชาติ คือการเกิดขึ้นของมหากุศลญาณสัมปยุตดจิตตุปบาท จึงเกิดขึ้น

      เพราะนามชาติ คืออาการเกิดขึ้นมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตตุปบาทเป็นเหตุ นามชรา นามมรณะ คือขณะตั้ง และขณะดับของมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตตุปบาทจึงเกิดขึ้น

      ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์แท้ๆ ทั้งปวงนี้ เพราะอาศัยปัจจัยต่างๆ มีกุศลมูล เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้


อธิบายพิเศษ

      ความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทในกุศลบทนี้ ไม่ได้แสดงว่า "เวทนาปจฺจยา ตณฺหา ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ" แต่แสดงว่า "เวทนาปจฺจยา ปสาโท ปสาทปจฺจยา อธิโมกฺโข" นั้น ก็เพราะ ตัณหา อุปาทาน นี้ประกอบกับโลภมูลจิตเท่านั้น ไม่ได้ประกอบกับจิตอื่นๆ ฉะนั้น จึงแสดงศรัทธาแทนตัณหา อธิโมกข์ แทนอุปาทาน ดังที่แสดงว่า "เวทนาปจฺจยา ปสาโท ปสาทปจฺจยา อธิโมกฺโข" ซึ่งเปรียบเทียบสภาพความเป็นไปแล้ว ตัณหามีสภาพยินดีติดใจในอารมณ์ ศรัทธาก็มีสภาพยินดีติดใจในอารมณ์เหมือนกัน และอุปาทานมีสภาพเข้าไปยึดมั่นในอารมณ์ อธิโมกข์ก็มีสภาพเข้าไปยึมั่นในอารมณ์เหมือนกัน ฉะนั้นจึงได้ยกเอาศรัทธา และอธิโมกข์ขึ้นแสดงแทนตัณหา อุปาทาน ความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทในกุศลจิตอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน แต่สำหรับในบทสุดท้าย ที่แสดงกับโลกุตตรจิตนั้นแสดงว่า "เอวเมเตสํ ธมฺมานํ สมุทโย โหติ" แปลว่า การเกิดขึ้นของโลกุตตรกุศลธรรม ย่อมเป็นไปดังนี้

๓) อพยากตบท ในอพยากตบทนี้ จะแสดงความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาท เฉพาะในทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เท่านั้น

      สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ วิญฺณาณปจฺจยา นามํ นามปจฺจยา ฉฏฺฐายตนํ ฉฏฺฐายตนปจฺจยา ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา เวทนาปจฺจยา ภโว ภวปจฺจยา ชาติ ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ฯ

      เพราะปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร คือมหากุศลเจตนา ๘ อกุศลเจตนา ๑๒ เป็นเหตุ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ จึงเกิดขึ้น

      เพราะทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ จึงเกิดขึ้น

      เพราะเจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุ มนายตนะ คือทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ จึงเกิดขึ้น

      เพราะมนายตนะ คือทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุ ผัสสะ ๕ มีจักขุสัมผัสสะ เป็นต้น ที่ประกอบกับทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ จึงเกิดขึ้น

      เพราะผัสสะ ๕ มีจักขุสัมผัสสะเป็นต้น ที่ประกอบกับทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุ เวทนาที่ประกอบกับทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ จึงเกิดขึ้น

      เพราะเวทนา ที่ประกอบกับทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นเหตุ ภวะ คือทวิปัญจวิญญาณจิตตุปบาท (เว้นเวทนา) จึงเกิดขึ้น

      เพราะภวะ คือทวิปัญจวิญญาณจิตตุปบาท (เว้นเวทนา) เป็นเหตุ นามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทวิปัญจวิญญาณจิตตุปบาท จึงเกิดขึ้น

      เพราะนามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทวิปัญจวิญญาณจิตตุปบาทเป็นเหตุ นามชรา นามมรณะ คือขณะตั้งและขณะดับของทวิปัญจวิญญาณจิตอุปบาท จึงเกิดขึ้น

      ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์แท้ๆ ทั้งปวงนี้ เพราะอาศัยปัจจัยต่างๆ มีปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้

      หมายเหตุ การแสดงปฏิจจสมุปบาทในอเหตุกวิปากจิตที่เหลือและอาวัชชนจิต ๒ ดวง นั้น มีแสดงพิเศษตรงที่ว่า "เวทนาปจฺจยา อธิโมกฺโข อธิโมกฺขปจฺจยา ภโว" เท่านั้น และในสเหตุกวิปากจิตแสดงว่า "เวทนาปจฺจยา ปสาโท ปสาทปจฺจยา อธิโมกฺโข อธิโมกฺขปจฺจยา ภโว" บทนอกนั้นแสดงเหมือนกัน

      ในบทสุดท้ายที่แสดงกับโลกุตตรวิปากจิตนั้นไม่ได้แสดงว่า "เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ" เปลี่ยนเป็นแสดงว่า "เอวเมเตสํ ธมฺมานํ สมุทโย โหติ" แปลว่า การเกิดขึ้นของโลกุตตรวิปากธรรม ย่อมเป็นไปดังนี้

หมายเหตุ ในคัมภีร์วิภังค์ได้แสดงปฏิจสมุปบาทโดยอภิธรรมภาชนียนัย แบ่งออกเป็นนิทเทสมีอยู่ ๖ คือ

      ๑. อกุสลนิทเทส

      ๒. กุสลนิทเทส

      ๓. อัพยากตนิทเทสนิทเทส   

         (ทั้ง ๓ นี้ เหมือนกันกับอกุสลบท กุสลบท อัพยากตบทในหลักสูตรนั้นเอง)

      ๔. อวิชชามูลกกุสลนิทเทส ได้แก่ นิทเทสของกุศลจิต ๒๑ ที่มีอวิชชาเป็นมูล ในนิทเทสนี้มีองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นาม ฉัฏฐายตนะ ผัสสะ เวทนา ปสาทะ อธิโมกข์ ภวะ ชาติ ชรามรณะ

      ๕. กุสลมูลกวิปากนิทเทส ได้แก่ นิทเทสของกุศลวิปากจิต ๒๙ ที่มีกุศลเป็นมูล ในนิทเทสนี้ ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิปากจิต ๕ มีองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๐ คือ กุสลมูล สังขาร วิญญาณ นาม ฉัฎฐายตนะ ผัสสะ เวทนา ภวะ ชาติ ชรามรณะ

      อเหตุกกุศลวิปากจิตที่เหลือ ๓ มีองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๑ คือเพิ่มอธิโมกข์ ในระหว่างเวทนา กับภวะ เป็นเวทนา อธิโมกข์ ภวะ องค์ที่เหลือเหมือนกันกับปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิปากจิต

      ๖. อกุสลมูลกวิปากนิทเทส ได้แก่ นิทเทสของอกุศลวิปากจิต ๓ ที่มีอกุศลเป็นมูล ในนิทเทสนี้ ปัญจวิญญาณที่เป็นอกุศลวิปากจิต ๕ มีองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๐ คืออกุสลมูล สังขาร องค์ที่เหลือเหมือนกันกับปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิปากจิต

      อกุศลวิปากจิตที่เหลือ ๒ มีองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๑ คือเพิ่มอธิโมกข์ ในระหว่างเวทนา กับภวะ เป็นเวทนา อธิโมกข์ ภวะ เท่านั้น


จบ ปฏิจจสมฺปปาทนัย

--------------///-------------


[full-post]

ปฏิจจสมุปบาท,ปริจเฉทที่๘,ปัจจยสังคหะ,อภิธัมมัตถสังคหะ,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.