อธิบายในบาลีที่แสดงการจำแนกรูปนามและบัญญัติตามลำดับ
เมื่อการแสดงปฏิจจสมุปบาทนัย และปัฎฐานนัยได้จบลงแล้ว ก็เป็นการสมควรที่จะให้ปัจจยสังคหวิภาคนั้นจบลงโดยสมบูรณ์ แต่พระอนุรุทธาจารย์ก็ยังแสดงต่อไปอีกโดยบาลีว่า "ตตฺถ รูปธมฺมา รูปกฺขนฺโธว" เป็นต้น จนถึงคาถาที่ว่า "วจีโฆสานุสาเรน" เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะในปัจฉิมคาถาที่ ๒ ได้แสดงไว้ว่า "ปญญตฺตินามรูปานํ วเสน ติวิธา สิตา" ซึ่งแปลความว่า ธรรมที่ชื่อว่าปัจจัย ๒๔นั้น เมื่อกล่าวโดยองค์ธรรมแล้ว ก็ได้แก่ บัญญัติ นาม รูป นั้นเอง ด้วยเหตุนี้พระอนุรุทธาจารย์จึงจำเป็นต้องแสดงต่อไป เพื่อจำแนกนามรูปเหล่านั้นให้ทราบ
บาลีข้อที่ ๑
ในบาลีข้อนี้ได้แสดงถึง รูป นาม ให้รู้ว่า รูป ได้แก่ รูปขันธ์อย่างเดียว นามมี ๕ อย่าง คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่เป็นฝ่ายสังขตธรรม และนิพพานที่เป็นฝ่ายอสังขตธรรม ซึ่งนามธรรมเหล่านี้จะเรียกว่าอรูปก็ได้
บาลีข้อที่ ๒
ในบาลีข้อนี้ได้แสดงถึงธรรมที่นอกจากรูปนามทั้ง ๒ แล้ว ธรรมนอกนั้นได้ชื่อว่า บัญญัติ และบัญญัตินี้เมื่อกล่าวโคยประเภทใหญ่แล้วมี ๒ ได้แก่ อัตถบัญญัติ และสัททบัญญัติ
คำว่า บัญญัติ หมายความว่า เนื้อความคือวัตถุ สิ่งของ เรื่องราวต่างๆ ที่พึงให้ถูกรู้ได้ ชนิดนี้เรียกว่า อัตถบัญญัติ ดังแสดงวจนัตถะว่า
"ปญญาปิยตฺตา = ปญฺญตฺติ" เนื้อความคือวัตถุสิ่งของเรื่องราวต่างๆ ที่พึงให้ถูกรู้ได้ ชื่อว่า บัญญัติ
หรืออีกนัยหนึ่ง "ปกาเรน ญาปียตีติ - ปญฺญตฺติ" วัตถุสิ่งของเรื่องราวต่างๆ ชื่อว่า บัญญัติ เพราะพึงให้ถูกรู้ได้โดยประการต่างๆ ได้แก่ อัตถบัญญัติ
"ปญญาปนโต = ปญญตฺติ"
คำพูดต่างๆ ชื่อว่า บัญญัติ เพราะทำให้รู้เนื้อความคือวัตถุสิ่งของเรื่องราวและสภาพปรมัตถ์ได้
"ปกาเรน ญาเปตีติ = ปญญตฺติ" เสียงคือคำพูด ย่อมทำให้รู้เนื้อความ คือวัตถุสิ่งของเรื่องราว และสภาพปรมัตถ์ได้ด้วยประการต่างๆ ฉะนั้น ชื่อว่า บัญญัติ ได้แก่ สัททบัญญัติวจนัตถะดังที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า ธรรมที่ได้ชื่อว่าปรมัตถ์นั้น มีเพียงแต่สภาวลักษณะของตนเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วเป็นบัญญัติทั้งสิ้นกล่าวคือธรรมที่มีสภาพรู้อารมณ์ก็เป็นจิตปรมัตถ์ แต่ที่กล่าวว่า "โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺจิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริก" เป็นต้นนั้น ไม่ใช่ตัวจิตปรมัตถ์ เป็นแต่ชื่อของจิต เรียกว่า สัททบัญญัติ
ธรรมที่มีสภาพกระทบอารมณ์ เสวยอารมณ์ จำอารมณ์ เป็นต้นเหล่านี้เป็นตัวผัสสเจตสิก เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก เป็นต้น แต่ที่กล่าวว่าผัสสะ เวทนาเป็นต้น ก็ไม่ใช่เป็นตัวผัสสเจตสิก เวทนาเจตสิก เป็นต้น เป็นแต่ชื่อของผัสสะเจตสิก เวทนาเจตสิก เป็นต้นเท่านั้น เรียกว่า สัททบัญญัติ
ธรรมที่มีสภาพแข็งและอ่อน หรือสภาพที่ไหลและเกาะกุม สภาพที่ร้อนและเย็น สภาพที่เคลื่อนไหว และเคร่งตึง เป็นต้นเหล่านี้ เป็นตัวปถวี อาโป เตโชวาโย เป็นต้น ซึ่งเป็นรูปปรมัตถ์ แต่ที่กล่าวว่า ปถวี อาโป เตโช วาโย เป็นต้นเป็นชื่อของ ปถวี อาโป เตโช วาโย เท่านั้น เรียกว่า สัททบัญญัติ ธรรมที่มีสภาพสงบดับสูญสิ้นจากกิเลสและรูปนามขันธ์ ๕ นี้ เป็นตัวนิพพานปรมัตถ์ แต่ที่กล่าวว่านิพพาน หรืออมตะ อัจจุตะ เป็นต้น ก็ไม่ใช่เป็นตัวนิพพาน เป็นแต่ชื่อของนิพพานปรมัตถ์ เรียกว่า สัททบัญญัติต่อไปนี้จะได้ยกวัตถุอย่างหนึ่งขึ้นมาแสดงให้เห็นถึงสภาพปรมัตถ์และบัญญัติ เพื่อให้เป็นตัวอย่าง เช่น กระดานดำ ที่ชื่อว่า "กระคานคำ" นั้นเป็นสัททบัญญัติ รูปร่างสัณฐานมีรูปสี่เหลี่ยม กว้าง ยาว เป็นต้น ที่ทำให้เรารู้ได้ว่าเป็นกระคานคำนั้น เป็นอัตถบัญญัติสี่ที่ปรากฎให้เห็นได้และเมื่อเอามือจับดูจะรู้สึกว่าเเข็ง เย็น ถ้าดมดูจะรู้สึกว่ามีกลิ่นเป็นต้น สี แข็ง เย็น กลิ่น เป็นต้นเหล่านี้ เป็นตัวปรมัตถ์คือรูป
ส่วนในสิ่งที่มีชีวิต เช่น งู ที่ชื่อว่า งู เป็นสัททบัญญัติ รูปร่างของงูมีตัวยาว กลม เป็นต้น เป็นอัตถบัญญัติ สีของงูทำให้เห็นได้ ถ้างูนั้นทำเสียงขู่เราก็ได้ยินเสียงได้ ถ้าจับตัวดูก็รู้สึกว่าอ่อน งูนั้นก็มีการมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ได้ยินเสียงได้ ถ้าถูกคนตีก็มีความรู้สึกเจ็บ และมีความกลัว ความโกรธได้ สีเสียง อ่อน เป็นต้นเหล่านี้ เป็นรูปปรมัตถ์ การเห็น การได้ยิน ความรู้สึกเจ็บความกลัว ความโกร ธของงูเหล่านี้เป็นจิต และเจตสิกปรมัตถ์
สรุปความว่า ชื่อต่างๆ ภาพต่างๆ และคำพูดต่างๆ เป็นสัททบัญญัติวัตถุสิ่งของ และเรื่องราวต่างๆ เป็นอัตถบัญญัติ สภาวลักษณะของชื่อที่เกี่ยวกับรูปนาม และสภาวลักษณะที่มีอยู่ในวัตถุสิ่งของต่างๆ เป็นปรมัตถ์
บาลีข้อที่ ๓
ในบาลีข้อนี้ได้แสดงถึงประเภทของอัตถบัญญัติโดยย่อมี ๖ หรือ โดยพิสดารมี ๑๗ คือ
๑. (๑) สันตานบัญญัติ ได้แก่ พื้นที่ดิน ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ต้นไม้เป็นต้น ชื่อที่ตั้งขึ้นเหล่านี้ก็โดยอาศัยความเป็น ไปของอวินิพโภครูป ๘ ที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นพืดไม่ขาคสาย โดยมีลักษณะอาการต่างๆ กัน เช่น ถ้าความเป็นไปของอวินิพโภครูปที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนนั้น มีลักษณะติดกันเป็นพืคราบตลอดไป ก็สมมติเรียกว่า พื้นแผ่นดิน ถ้าความเป็นไปของอวินิพโภครูปนั้น มีลักษณะติดต่อกันสูงขึ้น ก็สมมติเรียกว่า ภูเขา ถ้าความเป็นไปของอวินิพโภครูปนั้น มีอาโปธาตุเป็นประธานและมีลักษณะเหลว สามารถไหลไปมาได้ ก็สมมติเรียกว่า แม่น้ำ มหาสมุทร ถ้าความเป็นไปของอวินิพโภครูปนั้น มีลักษณะเป็นลำสูงขึ้นไปและมีกิ่งก้านสาขาแตกออก ก็สมมติเรียกว่า ต้นไม้ แต่ในที่นี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้ยกเฉพาะมหาภูตรูป ๔ ขึ้นมาแสดงเท่านั้น ส่วนรูปที่เหลืออีก ๔ ไม่ได้กล่าวถึง ทั้งนี้ก็เพราะในบรรดารูปธรรมทั้งหลายนั้น มหาภูตรูป ๔ เป็นประธานและเป็นที่อาศัยของรูปอื่นๆ ฉะนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงเฉพาะรูปที่เป็นประธานเท่านั้น และสันตานบัญญัตินี้ อาจารย์บางท่านก็เรียกว่า สมูหบัญญัติ
วจนัตถะของบทที่แสคงถึงสันตานบัญญัติ
"วิวิธํ ปริสมนฺตโต นมนํ = วิปริณาโม" ความตั้งอยู่โดยรอบด้วยประการต่างๆ ชื่อว่า วิปริณามะ
"ภูตานํ วิปริณาโม = ภูตวิปริณาโม" ความตั้งอยู่โดยรอบด้วยประการต่างๆ ของมหาภูตรูป ชื่อว่า ภูตวิปริณามะ
"ภูตวิปริณาโม จ โส อากาโร จาติ - ภูตวิปริณามากาโร" ความตั้งอยู่โคยรอบด้วยประการต่างๆ ของมหาภูตรูปนั้นแหละ เป็นลักษณะอาการที่เป็นไปด้วย จึงชื่อว่า ภูตวิปริณามาการะ
๒. (๒) สมูหบัญญัติ ได้แก่ บ้าน รถ เกวียน และหมู่บ้าน โอ่ง ผ้าเป็นต้น ที่ตั้งชื่อว่า บ้าน รถ เป็นดันเหล่านี้ ก็โดยอาการที่ประชุมแห่งสัมภาระต่างๆ มีไม้ เหล็ก อิฐ กระเบื้อง สังกะสี ตะปู เป็นต้น ประกอบเป็นรูปร่างสัณฐานต่างๆ และใช้ให้เป็นประโยชน์ต่างๆ กัน ถ้าสัมภาระต่างๆ ที่ประกอบขึ้นนั้นใช้ประโยชน์เป็นที่อาศัยอยู่ ก็สมมติเรียกว่า บ้าน ถ้าสัมภาระต่างๆ ที่ประกอบขึ้นนั้นใช้ประโยชน์ในการเดินทาง ก็สมมติเรียกว่า รถ ถ้าบ้านหลายๆบ้านอยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่ ก็สมมติเรียกว่า หมู่บ้าน ถ้าเอาดินมารวมกันเข้าแล้วขึ้นขึ้นให้เป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำ ก็สมมติเรียกว่า โอ่ง ถ้าเอาเส้นด้ายมารวมเข้าทอให้เป็นผืน ก็สมมติเรียกว่า ผ้า เป็นต้น และสมูหบัญญัตินี้ อาจารย์บางท่านก็เรียกว่า สัณฐานบัญญัติ
วจนัตถะของบทที่แสดงถึงสมูหบัญญัติ
"สมฺภารานํ สนฺนิเวโส = สมฺภารสนฺนิเวโส" ความเป็นอยู่รวมกันของสัมภาระต่างๆ มีไม้เป็นต้น ชื่อว่า สัมภารสันนิเวสะ "สมฺภารสนฺนิเวโส จ โส อากาโร จาติ = สมฺภารสนฺนิเวสากาโร" ความเป็นอยู่รวมกันของสัมภาระต่างๆ มีไม้เป็นต้นนั้นแหละ เป็นลักษณะอาการที่เป็นไปด้วย จึงชื่อว่า สัมภาระสันนิเวสาการะ
๓. (๓) สัตวบัญญัติ ได้แก่ ผู้ชาย ผู้หญิง บุคคล ตัวตน ชีวิต เป็นต้นที่ตั้งชื่อว่า ชาย หญิง เป็นต้นเหล่านี้ ก็โดยอาศัยความเป็นไปของร่างกาย เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นขันธ์ ๕ ด้วยประการต่างๆ จึงสมมติเรียกว่า ชาย หญิง บุคคล ตัวตน ชีวิต เป็นต้น
๔. (๔ ) ทิสาบัญญัติ ได้แก่ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ เป็นต้น ที่ชื่อว่า ทิศตะวันออก เป็นต้นเหล่านี้ ก็โดยอาศัยการโคจรหมุนเวียนของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ นักขัตดารา โดยประทักษิณรอบเขาสิเนรุ คือถ้าดวงอาทิตย์เริ่มปรากฎขึ้นทางทิศใด บุคคลที่อยู่ในทวีปนั้น ก็สมมติเรียกทิศนั้นว่าปุรัตถิมทิส คือทิศตะวันออก ถ้าดวงอาทิตย์โคจรลับลงในทางทิศใด บุคคลที่อยู่ในทวีปนั้น ก็สมมติเรียกทิศนั้นว่า ปัจฉิมทิส คือทิศตะวันตก ถ้าบุคคลในทวีปนั้นหันหน้าตรงไปทางทิศตะวันออกแล้ว ทิศที่อยู่ทางซ้ายมือของผู้นั้นเป็นทิศสูงและสมมติเรียกทิศนั้นว่า ทิศอุตตรทิส คือทิศเหนือ ทิศที่อยู่ตรงทางขวามือของผู้นั้น ก็สมมติเรียกว่า ทักขิณทิส คือทิศใต้ ดังนี้เป็นต้น ส่วน...
(๕) กาลบัญญัติ ซึ่งได้แก่ เวลาเช้า เที่ยง เย็น กลางคืน เหล่านี้ก็โดยอาศัยการ โคจรหมุนเวียนของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เป็นต้น เช่นเดียวกันคือในเวลาที่ควงอาทิตย์เริ่มปรากฏขึ้นเป็นต้นไป แต่ยังไม่ถึงตรงกลาง เวลานั้นสมมติเรียกว่า ปุพพัณหะ คือเวลาเช้าเมื่อควงอาทิตย์โคจร ไปถึงตรงกลางแล้วเวลานั้นสมมติเรียกว่า มัชฌัณหะ คือเวลาเที่ยง เมื่อดวงอาทิตย์โคจรจากตรงกลางไปจวนจะลับเวลานั้นสมมติเรียกว่า อปรัณหะ คือเวลาเย็น เมื่อดวงอาทิตย์โคจรลับสายตาไปแล้ว เวลานั้นสมมติเรียกว่า รัตติ คือเวลากลางคืน อังนี้ในคำว่า "ทิสากาลาทิกา" ซึ่งแปลว่า ทิสาบัญญัติ กาลบัญญัติ เป็นต้นนั้น ก็หมายความว่า ยังมีบัญญัติชนิดอื่นอีก คือ
(๖) อุตุบัญญัติ ได้แก่ เหมันตอุตุ ฤดูหนาว ดิมหันตอุตุ ฤดูร้อน วัสสันตอุตุ ฤดูฝน
(๓)มาสบัญญัติ ได้แก่ จิตโต เดือนเมษายน, เวสาโข เดือนพฤษภาคม, เชฏโฐ เดือนมิถุนายน, อาสาฬโห เดือนกรกฎาคม, สาวโณ เดือนสิงหาคม โปฏฐปาโท เดือนกันยายน, อัสสยุโช เดือนตุลาคม, กัตติโก เดือนพฤศจิกายน,มาคสิโร เดือนธันวาคม, ผุสโส เดือนมกราคม, มาโฆ เดือนกุมภาพันธ์, ผัคคุโณ เดือนมีนาคม
(๘) สังวัจฉรบัญญัติ ได้แก่ ปีชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุน
(๙) วารบัญญัติ ได้แก่ สุริยวาระ วันอาทิตย์, จันทวาระ วันจันทร์, ภุมมวาระ วันอังคาร, พุธวาระ วันพุธ, คุรุวาระ วันพฤหัสบดี, สุกกวาระ วันศุกร์, โสรีวาระ วันเสาร์
๕. (๑๐) อากาสบัญญัติ ได้แก่ บ่อ ถ้ำ อุโมงค์ รู ช่อง โพรง เป็นต้นที่ตั้งชื่อว่า บ่อ ถ้ำ เป็นต้นเหล่านี้ ก็โคยอาศัยอาการที่อวินิพโภครูป ๘ ไม่ได้กระทบกัน หมายความว่า ระหว่างเนื้อดิน หิน ไม้ ข้างหนึ่ง กับอีกข้างหนึ่งนั้นไม่ได้ติดต่อกัน มีช่องว่างคั่นกลาง ช่องว่างนี้แหละชื่อว่า อากาสบัญญัติ
๖. (๑๑) กสิณบัญญัติ ได้แก่ ปถวีกสิณ อาโปกสิณ เป็นต้น ที่เรียกว่าปถวีกสิณ เป็นต้นเหล่านี้ ก็โดยอาศัยนิมิตอารมณ์ของอวินิพโภครูป ๘
(๑๒) นิมิตบัญญัติ ได้แก่ บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ที่เรียกชื่อทั้ง ๓ นี้ ก็โดยอาศัยความเป็นไปที่มีอาการพิเศษของการเจริญภาวนา ในบทว่า "เอวมาทิปุปเภทา" ซึ่งแปลว่า ประเภทแห่งอัตถบัญญัติ มีสันตานบัญญัติเป็นต้นนั้น มีความหมายว่า อัตถบัญญัติดังที่ได้กล่าวมานี้ยังไม่หมด ยังมีอยู่อีกมาก เช่น
(๑๓) นัตถิภาวบัญญัติ
(๑๔) อานาปานบัญญัติ
(๑๕) อสุภบัญญัติ
(๑๖) อุปาทาบัญญัติ ซึ่งเป็นบัญญัติที่อาศัยปรมัตถธรรมที่แสดงไว้ในบุคคลบัญญัติอรรถกถา
(๑๓) อุปนิธาบัญญัติ ซึ่งเป็นบัญญัติที่เปรียบเทียบ เช่นกล่าวว่า ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม หรือ ยาว สั้น ใหญ่ เล็ก เป็นต้น อัตถบัญญัติต่างๆ ดังกล่าวมานี้ เมื่อพิจารณาถึงสภาวะแล้วย่อมไม่มีเลยเช่นที่เรียกว่า "แผ่นดิน" ชนทั้งหลายย่อมเข้าใจกันว่า ลักษณะของดินเป็นผืนเป็นแผ่นนั้นแหละเรียกว่า แผ่นดิน แต่ความจริงนั้นแผ่นดินไม่มี มีแต่รูปกลาปหรือเรียกว่า รูปปรมาณู รวมกันอยู่เท่านั้น ส่วนอัตถบัญญัติที่เกี่ยวกับสัตว์บุคคลนั้น ก็มีแต่รูปปรมาณและจิตเจตสิกเท่านั้น แต่ที่อัตถบัญญัติต่างๆ เหล่านี้ปรากฎให้จิตเจตสิกรู้ได้โดยอาศัยสภาวปรมัตถ์รองรับอยู่นั้นเอง ฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายเมื่อจะตั้งชื่อสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ขึ้นแล้ว ก็ต้องอาศัยการค้นคว้าพิจารณาลักษณะอาการของวัตถุนั้นๆ บ้าง อาศัยการเปรียบเทียบระหว่างวัตถุนั้นฯ บ้างให้เป็นหลัก เรียกว่า ปวัตตนิมิตของอัตถบัญญัติ แล้วก็ตั้งชื่อสิ่งต่างๆ นั้นขึ้นและชื่อต่างๆ ที่ตั้งขึ้นนี้ก็เป็นการตั้งชื่อได้โดยถูกต้อง ฉะนั้น ชนทั้งหลายจึงรู้ได้เรียกชื่อได้ ทำให้ผู้อื่นรู้ได้ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้
จบ คำอธิบายในอัตถบัญญัติ
-------///------
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ