จำแนกเนื้อความของพระอภิธรรมโดยรูปนามและบัญญัติ

      ๑. ตตฺถ รูปธมฺมา รูปกฺขนฺโธ จ จิตฺตเจตสิกสงฺขาตา จตฺตาโร อรูปิโน ขนฺธา นิพฺพานญฺเจติ ปญฺจวิธมฺปิ อรูปนฺติ จ นามนฺติ ปวุจฺจติ ฯ

      ในเนื้อความของพระอภิธรรมนั้น ที่เรียกว่า รูปธรรม ก็ได้แก่ รูปขันธ์นั้นเอง นามขันธ์ ๔ คือ จิต เจตสิก และนิพพาน รวมทั้ง ๕ อย่างนี้เรียกว่า อรูป ก็ได้ นามก็ได้


แสดงบัญญัติ

      ๒. ตโต อวเสสา ปญฺญตฺติ, สา ปน ปญฺญาปียตฺตา ปญฺญตฺติ, ปญฺญาปนโต ปญฺญตฺตีติ จ ทุวิธา โหติ ฯ

      ส่วนเนื้อความที่เหลือจากรูปนามนั้นเรียกว่า บัญญัติ และบัญญัตินี้แบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ อัตถบัญญัติ เพราะเป็นบัญญัติที่พึงให้ถูกรู้ได้โดยประการต่างๆ อย่างหนึ่ง และสัททบัญญัติ เพราะเป็นบัญญัติที่พึงให้รู้เนื้อความโดยประการต่างๆ อย่างหนึ่ง


แสดงประเภทอัตถบัญญัติ

      3. กถํ ตํตภูตวิปริณามาการมุปาทาย ตถา ตถา ปญฺญตฺตา ภูมิปพฺพตาทิกา, สมฺภารสนฺนิเวสาการมุปาทาย เคหรถสกฏาทิกา, ขนฺธปญฺจกมุปาทาย ปุริสปุคฺคลาทิกา, จนฺทาวฏฺฏนาทิกมุปาทาย ทิสากาลาทิกา, อสมฺผฏฺฐาการมุปาทาย กูปคูหาทิกา, ตํตํภูตนิมิตฺตํ ภาวนาวิเสสญฺจ อุปาทาย กสิณนิมิตฺตาทิกา เจติ, เอวมาทิปุปฺเภทา ปน ปรมตฺถโต อวิชฺชมานา อตฺถจฺฉายากาเรน จิตฺตุปฺปาทานมารมฺมณภูตา, ตํ ตํ อุปาทาย อุปนิธาย การณํ กตฺวา ตถา ตถา ปริกปฺปียมานา สงฺขายติ สมญฺญายติ โวหรียติ ปญฺญาปียตีติ ปญฺญตฺตีติ ปวุจฺจติ ฯ อยํ ปญญตฺติ ปญญาปิยตฺตา ปญฺญตูติ นาม ฯ


บัญญัติทั้ง ๒ ประเภทนั้นเป็นอย่างไร?

      สันตานบัญญัติ  มีพื้นดิน ภูเขา เป็นต้น ที่ได้สมมติเรียกกันด้วยประการต่างๆ ว่า พื้นคิน ภูเขาเป็นต้นนั้นๆ ก็โดยอาศัยอาการที่เป็นไปต่างๆ ของมหาภูตรูป ๔ นั้นๆ ประการหนึ่ง

      สมูหบัญญัติ มีบ้าน รถ เกวียน เป็นต้น ที่ได้สมมติเรียกกันด้วยประการต่างๆ ว่า บ้าน รถ เกวียน เป็นต้นนั้นๆ ก็โดยอาศัยอาการที่ประชุมแห่งวัตถุสิ่งของต่างๆ ประการหนึ่ง

      สัตวบัญญัติ มีผู้ชาย บุคคล เป็นต้น ที่ได้สมมติเรียกกันด้วยประการต่างๆ ว่า ผู้ชาย บุคคล เป็นต้นนั้นๆ ก็โดยอาศัยขันธ์ทั้ง ๕ ประการหนึ่ง

      ทิสาบัญญัติ มีทิศตะวันออกเป็นต้น และกาลบัญญัติ มีเวลาเช้าเป็นต้นที่ได้สมมติเรียกกันด้วยประการต่างๆ ว่า ทิศตะวันออก เวลาเช้า เป็นต้นนั้นๆ ก็โดยอาศัยการ โคจรหมุนเวียนประทักษิณรอบภูเขาสิเนรุของพระจันทร์ พระอาทิตย์ นักขัตคาราเหล่านี้ประการหนึ่ง

      อากาสบัญญัติ มีบ่อ ถ้ำ เป็นต้น ที่ได้สมมติเรียกกันด้วยประการต่างๆว่า บ่อ ถ้ำ เป็นต้นนั้นๆ ก็โดยอาศัยอาการที่มหาภูตรูปทั้ง ๔ ไม่ได้กระทบกัน ประการหนึ่ง

      กสิณบัญญัติ และนิมิตบัญญัติ มีบริกรรมนิมิตเป็นต้น ที่ได้สมมติเรียกกันด้วยประการต่างๆ ว่า กสิณ บริกรรมนิมิตเป็นต้นนั้นๆ ก็โดยอาศัยนิมิตอารมณ์ของมหาภูตรูปมีปถวีกสิณเป็นต้น และอาศัยความเป็นไปโดยพิเศษตามลำดับแห่งภาวนา มีบริกรรมภาวนาเป็นต้นประการหนึ่ง

      ประเภทแห่งอัตถบัญญัติ มีสันตานบัญญัติเป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้แม้ว่าจะไม่ปรากฏมีจริงโดยสภาพปรมัตถ์ก็ตาม แต่เป็นอารมณ์ของจิต เจตสิก โดยอาการที่เป็นเงาของปรมัตถธรรม มีมหาภูตรูปเป็นต้นเหล่านั้นประการหนึ่งและเป็นบัญญัติที่บัณฑิตทั้งหลาย พึงยึดถือเอาโดยการค้นคว้าพิจารณาด้วยประการต่างๆ ซึ่งอาศัยวัตถุนั้นๆ บ้าง อาศัยการเปรียบเทียบบ้าง เป็นเหตุ แล้วก็ตั้งชื่อขึ้นได้โดยถูกต้อง และชนทั้งหลายก็รู้ได้ ใช้พูดกันได้ ให้ผู้อื่นรู้ได้ ฉะนั้น คำว่า ดิน ภูเขา บ้าน เป็นต้นเหล่านั้น จึงเรียกว่า บัญญัติ สันตานบัญญัติเป็นต้นดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ชื่อว่า อัตถบัญญัติ เพราะเป็นบัญญัติที่พึงให้ถูกรู้เนื้อความได้โคยประการต่างๆ


แสดงสัททบัญญัติอย่างเดียว เรียกชื่อได้ ๖ อย่าง

๔. ปญฺญาปนโต ปญฺญตฺติ ปน นามนามกมฺมาทินาเมน ปริทีปีตา ฯ 

    ผู้ฉลาดพึงแสดงสัททบัญญัติที่ให้รู้เนื้อความได้ด้วยประการต่างๆ นั้นโดยมีชื่อ ๖ อย่าง มีนามะ นามกัมมะ เป็นต้น คือ

      ๑) นามะ ได้แก่ชื่อต่างๆ ที่มีสภาพน้อมเข้าสู่เนื้อความ คืออัตถบัญญัติและทำให้เนื้อความนั้นน้อมเข้าสู่ตน คือชื่อต่างๆ นั้นด้วย

      ๒) นามกัมมะ ได้แก่นามบัญญัติที่นักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยโบราณเรียกขาน เช่นเรียกว่า แผ่นดิน ภูเขา เป็นต้น

      ๓) นามเธยยะ ได้แก่นามบัญญัติที่นักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยโบราณตั้งชื่อไว้จนถึงทุกวันนี้ เช่น ตั้งชื่อไว้ว่า แผ่นดิน ภูเขา เป็นต้น

      ๔) นิรุตติ ได้แก่นามบัญญัติที่นักปราชญ์ทั้งหลายคิดนึกพิจารณาเรียกชื่อสิ่งต่างๆ ให้ปรากฎขึ้น

      ๕) พยัญชนะ ได้แก่นามบัญญัติที่สามารถแสดงเนื้อความ คืออัตถบัญญัติให้ปรากฎขึ้นได้

      ๖) อภิลาปะ ได้แก่นามบัญญัติที่ผู้กล่าวเรียก ย่อมมุ่งสู่ตรงเนื้อความแล้วก็กล่าวเรียกขึ้น


แสดงสัททบัญญัติ ๖ ประเภท

     ๕. สา วิชฺชมานปญฺญตฺติ อวิชฺชมานปญฺญตฺติ, วิชฺชมาเนนอวิชฺชมานปญฺญตฺติ, อวิชฺชมาเนนวิชฺชมานปญฺญตฺติ, วิชฺชมาเนนวิชฺชมานปญฺญตฺติ, อวิชฺชมาเนนอวิชฺชมานปญฺญตฺติ, เจติ ฉพฺพิธา โหติ ฯ


สัททบัญญัตินี้มี ๖ ประเภท คือ

      ๑. วิชชมานบัญญัติ 

      ๒. อวิชชมานบัญญัติ

      ๓. วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ 

      ๔. อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ

      ๕. วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ 

      ๖. อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ


แสดงการยกตัวอย่างในสัททบัญญัติ ๖ ประเภท

      ๖.  ตตฺถ ยทา ปน ปรมตฺถโต วิชฺชมาน รูปเวทนาที เอตาย ปญฺญาเปนฺติ ตทาย วิชฺชมานปญฺญตฺติ ฯ

          ในสัททบัญญัติ ๖ ประเภทนั้น เวลาใคบัณฑิตทั้งหลายย่อมทำให้รู้โดยการเรียกชื่อ รูป เวทนา เป็นต้น ที่ปรากฎมีอยู่โคยความเป็นปรมัตถ์ เวลานั้นพึงเรียกสัททบัญญัตินี้ว่า วิชชมานบัญญัติ

      ๗. ยทา ปน ปรมตฺถโต อวิชฺชมานํ ภูมิปพฺพตาที เอตาย ปญฺญาเปนฺติ ตทายํ อวิชฺชมานปญฺญตฺตีติ ปวุจฺจติ ฯ

         เวลาใด บัณฑิตทั้งหลายย่อมทำให้รู้โดยการเรียกชื่อ แผ่นดิน ภูเขา เป็นต้น ที่ไม่ปรากฎมีความเป็นปรมัตถ์ เวลานั้นพึงเรียกสัททบัญญัตินี้ว่า อวิชชมานบัญญัติ

      ๘. อุภินฺนํ ปน โวมิสฺสกวเสน เสสา ยถากฺกมํ ฉฬภิญฺโญ อิตฺถีสทฺโท จกฺขุวิญฺญาณํ ราชปุตฺโตติ จ เวทิตพฺพา ฯ

         นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบสัททบัญญัติที่เหลือ ๔ โดยประเภทที่ปะปนกันของเนื้อความ ๒ อย่าง คือวิชชมานบัญญัติ และอวิชชมานบัญญัติ ตามลำดับ ดังนี้คือ ผู้ที่ได้อภิญญา ๖ เสียงผู้หญิง วิญญาณที่อาศัยจักขุวัตถุเกิด บุตรของพระราชา


คาถาแสดงการรู้ถึงสัททบัญญัติ อัตถบัญญัติทั้ง ๒ และต้นเหตุที่นามบัญญัติปรากฎขึ้น

         ๙. วจีโฆสานุสาเรน           โสตวิญฺญาณวีถิยา

            ปวตฺตานนฺตรุปฺปนฺน-       มโนทฺวารสุส โคจรา ฯ

            อตฺถา ยสฺสานุสาเรน       วิญฺญายนฺติ ตโต ปรํ

            สายํ ปญฺญตฺติ วิญฺเญยฺยา  โลกสงฺเกตนิมฺมิตา ฯ

      บุคคลทั้งหลายได้รู้ถึงอัตถบัญญัติ คือวัตถุสิ่งของ เรื่องราวต่างๆ โดย

      เป็นไปตามนามบัญญัติภายหลังจากนามัคคหณวิถี นามบัญญัติซึ่งเป็นอารมณ์ของ

      นามัคคหณวิถีที่เกิดขึ้นในลำดับแห่งโสตทวารวิถี และอตีตัคคหณวิถี

      สมูหัคคหณวิถีซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปตามคำพูดนั้น นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบนาม 

      บัญญัตินั้นว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมตั้งขึ้นอนุโลมไปตามโวหารของโลกทีละเล็กละน้อย


อิติ อภิธมฺมตฺถสงฺคเห ปจฺจยสงฺคหวิภาโค นาม

อฏฺฐโม ปริจฺเฉโท

ปริจเฉทที่ ๘ ชื่อว่าปัจจัยสังคหวิภาคในอภิธัมมัตลสังคหปกรณ์ จบลงเพียงเท่านี้

---------------

[full-post]

ปริจเฉทที่๘,อภิธัมมัตถสังคหะ,ปฏิจจสมุปบาท,ปัจจยสังคหะ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.