ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐

 **************

      [๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า  ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพที่สุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ

      ๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย) เป็นธรรมอันเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

      ๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

      ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้นั้นตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่งเพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

      มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่

                          ๑. สัมมาทิฏฐิ       ๒. สัมมาสังกัปปะ

                          ๓. สัมมาวาจา      ๔. สัมมากัมมันตะ

                          ๕. สัมมาอาชีวะ     ๖. สัมมาวายามะ

                          ๗. สัมมาสติ        ๘. สัมมาสมาธิ

      ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

 ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจนี้ คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ พยาธิเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ ความประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ การไม่ได้อารมณ์ที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

      ภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีกประกอบด้วยความเพลิดเพลิน และความกำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา 

       ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ คือความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้คืออริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ  ๘. สัมมาสมาธิ

       จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขอริยสัจ”

      จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้ควรกำหนดรู้” 

 จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้เรากำหนดรู้แล้ว”

 จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้วแสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ”

 จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ควรละ” 

 จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้เราละได้แล้ว”

 จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ”

 จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง” 

 จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธอริยสัจนี้เราทำให้แจ้งแล้ว”

 จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ”

 จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ควรเจริญ” 

 จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้เราได้เจริญแล้ว”

      ภิกษุทั้งหลาย ยถาภูตญาณทัสสนะของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ๓ รอบ ๑๒ อาการ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ตราบนั้น

      ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ยถาภูตญาณทัสสนะของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ๓ รอบ ๑๒ อาการอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า “ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก”

      พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณ์นี้จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสเวยยากรณ์นี้อยู่ ธัมมจักขุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”

      ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เทพชั้นภุมมะกระจายข่าวว่า “นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”

      เทพชั้นจาตุมหาราชได้สดับเสียงประกาศของเทพชั้นภุมมะแล้ว ได้กระจาย

ข่าวต่อไป ฯลฯ

      เทพชั้นดาวดึงส์ได้สดับเสียงประกาศของเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ได้กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

      เทพชั้นยามา ฯลฯ

      เทพชั้นดุสิต ฯลฯ

      เทพชั้นนิมมานรดี ฯลฯ

      เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ

      เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมสดับเสียงของเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็กระจายข่าวว่า “นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร

พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”

      โดยขณะครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้

      ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ยิ่งกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ก็ปรากฏในโลก

      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ” ดังนั้น คำว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะนั่นแล

      จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขอริยสัจ”

 คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร

 คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว

      จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่าธัมมปฏิสัมภิทา

      สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา

       นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

       ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

 จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้ นั้นแลควรกำหนดรู้” ฯลฯ

       จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้นั้นเรากำหนดรู้แล้ว”

       คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร

       คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว

      จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

      สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา

      นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

       ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในทุกขอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐

      จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นควรละ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นเราละได้แล้ว” ฯลฯ ในทุกขสมุทยอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐

      จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้น ควรทำให้แจ้ง” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นเราทำให้แจ้งแล้ว” ฯลฯ

      ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐

      จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นเราเจริญแล้ว” ฯลฯ

       ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐

       ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐

……………..

ธัมมจักกัปปวัตตนวาร ปฏิสัมภิทากถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ 

http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=75

ดูเพิ่มใน อรรถกถาธรรมจักกัปปวัตตนวาระ  https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=598&p=1...


[full-post]

ปกิณกธรรม,ธรรจักรกัปวัตนสูตร,ปฏิสัมภิทามรรค,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.