"พีชสูตร" พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙, (ฉบับมหาจุฬาฯ) สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค 


๒. พีชสูตร


"เสยฺยถาปิ  ภิกฺขเว  ปฐวีธาตุ เอวํ จตสฺโส วิญฺญาณฏฺฐิติโย ทฏฺฐพฺพา ฯ" ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ พึงเห็นภูมิ อันเป็นที่ตั้งของวิญญาณ ๔ ดั่งเช่นธาตุคือแผ่นดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของพืช ๕ อย่าง ฉะนั้น ฯ


อธิบาย (ภูมิ อันเป็นที่ตั้งของวิญญาณ ๔ อย่าง) (หมายเอาเฉพาะภูมิที่มีรูปขันธ์ด้วย)

     ๑) ตติยฌานภูมิ ๓, จตุตถฌานภูมิ ๖  เป็นที่ตั้งของสัตว์จำพวก "เอกัตตกาย เอกัตตสัญญี" (มีกายเหมือน และมีสัญญา "ปฏิสนธิวิญญาณ" เหมือน)   

     ๒) ทุติยฌานภูมิ ๓  เป็นที่ตั้งของสัตว์จำพวก  "เอกัตตกาย นานาตตสัญญี" (มีกายเหมือน แต่มีสัญญา "ปฏิสนธิวิญญาณ" ต่าง)

     ๓) ปฐมฌานภูมิ ๓, อบายภูมิ ๔  เป็นที่ตั้งของสัตว์จำพวก "นานาตตกาย เอกัตตสัญญี" (มีกายต่าง แต่มีสัญญา (ปฏิสนธิวิญญาณ) เหมือน 

     ๔) มนุษย์ ๑, เทวภูมิ ๖ เป็นที่ตั้งของสัตว์จำพวก  "นานาตตกาย นานาตตสัญญี" (มีกายต่าง และมีสัญญา (ปฏิสนธิวิญญาณ) ต่าง 

 

"เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว อาโปธาตุ เอวํ นนฺทิราโค ทฏฺฐพฺโพ ฯ" 

 พึงเห็น ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิดเพลินยินดี เหมือนดั่งเช่นอาโปธาตุ ฯ

"เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ปญฺจ พีชชาตานิ เอวํ วิญฺญาณํ สาหารํ ทฏฺฐพฺพํ ฯ" 

 พึงเห็น วิญญาณ พร้อมทั้งอาหาร (ปัจจัย) เหมือนดั่งเช่น พืช ๕ ชนิด ฯ  (วิญญาณํ พีชํ)

"รูปูปายํ วา ภิกฺขเว วิญฺญาณํ ติฏฺฐมานํ ติฏฺเฐยฺย รูปารมฺมณํ รูปปฺปติฏฺฐํ นนฺทูปเสวนํ วุฑฺฒึ วิรูฬฺหึ เวปุลฺลํ อาปชฺเชยฺย ฯ เวทนูปายํ วา ภิกฺขเว วิญฺญาณํ ติฏฺฐมานํ ติฏฺเฐยฺย ฯเปฯ  นนฺทูปเสวนํ วุฑฺฒึ วิรูฬฺหึ เวปุลฺลํ อาปชฺเชยฺย ฯ สญฺญูปายํ วา ฯเปฯ สงฺขารูปายํ วา ภิกฺขเว วิญฺญาณํ ติฏฺฐมานํ ติฏฺเฐยฺย สงฺขารารมฺมณํ สงฺขารปฺปติฏฺฐํ นนฺทูปเสวนํ วุฑฺฒึ วิรูฬฺหึ เวปุลฺลํ อาปชฺเชยฺย ฯ"

(แปลความว่า - ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูป (มีวัตถุรูปเป็นที่ตั้ง) ก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่, วิญญาณ ที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเข้าไปซ่องเสพ (มีโลภะทำหน้าที่ชวนะ)  พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯวิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งมีความยินดีเข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.) 


(ข้อความ ตรงนี้ ท่านกล่าวถึง วิญญาณ (ภวังค์) 

     - ที่รับอารมณ์ที่เป็น "รูป คือรูปขันธ์" (รูปารมณ์,สัททารมณ์,คันธารมณ์,รสารมณ์,โผฏฐัพพารมณ์) แล้วแปรสภาพไปเป็น จักขุวิญญาณ,โสตวิญญาณ,ฆานวิญญาณ,ชิวหาวิญญาณ,กายวิญญาณ, มโนธาตุ ๓ ที่เป็นปัจจุบันในทางปัญจทวาร, และมโนวิญญาณธาตุ (คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑, กามชวนะ ๒๙, ตทารัมมณจิต ๑๑) ที่รับรูปขันธ์ที่เป็นธรรมารมณ์ (ปสาทรูป ๕,สุขุมรูป ๑๖) และวิสยรูป ๗ ได้อีก ในทางมโนทวาร โดยกาลทั้ง ๓ ฯ    

     - ที่รับอารมณ์ที่เป็น "เวทนา คือ เวทนาขันธ์" (ที่เป็นธัมมารมณ์ เกิดทางมโนทวาร)

     - ที่รับอารมณ์ที่เป็น "สัญญา คือ สัญญาขันธ์" (ที่เป็นธัมมารมณ์ เกิดทางมโนทวาร)

     - ที่รับอารมณ์ที่เป็น "สังขาร คือสังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิก ๕๐" (ที่เป็นธัมมารมณ์ เกิดทางมโนทวาร)

  (การรับอารมณ์ของวิญญาณ เป็นไปพร้อมกับนามอาหาร ๒ คือ ผัสสะ (ผัสสาหาร) และเจตนา (มโนสัญเจตนาหาร) เข้าประกอบด้วย  "สาหารํ") 

  พร้อมกับนันทิราคะ คือมีตัณหา ได้แก่โลภะเข้าประกอบ หมายความว่า วิถีทั้งทาง ปัญจทวารและมโนทวารในที่นี้ มีโลภมูลจิตเป็นชวนะ 

  ด้วยอำนาจการเกิดเป็นวิถีนั่นแหละ (อันมีอารมณ์ทั้ง ๖ เป็นปัจจัย, สนับสนุนด้วยอาหาร) "วิญญาณ" จึงได้ชื่อว่า "เจริญ" โดยเฉพาะตรงชวนะ เสพติดต่อกันถึง ๗ ขณะ .... 

  นอกจากนั้น วิญญาณที่ทำหน้าที่เป็นชวนะ ได้ชื่อว่า "กัมมวิญญาณ" เพราะมีเจตนาเข้าประกอบ โดยได้ชื่อว่า "สังขาร" (อปุญญาภิสังขาร) หรือ (อปุญญกัมมภวะ, หรืออกุศลกรรม) เป็นเหตุให้วิบากเจริญต่อไปอีก คือ ก่ออุปปัตติภวะ คือ "ปฏิสนธิวิญญาณ, และปวัตติวิญญาณ" ในภพใหม่...(ด้วยอำนาจของเจตนาที่ทำหน้าที่เป็น พีชนิธานกิจ) 


"โย ภิกฺขเว เอวํ วเทยฺย อหํ อญฺญตฺร รูปา อญฺญตฺร เวทนาย อญฺญตฺร สญฺญาย อญฺญตฺร สงฺขาเรหิ วิญฺญาณสฺส อาคตึ วา คตึ วา จุตึ วา อุปปตฺตึ วา วุฑฺฒึ วา วิรูฬฺหึ วา เวปุลฺลํ วา ปญฺญเปสฺสามีติ เนตํ ฐานํ วิชฺชติ ฯ"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้."


"รูปธาตุยา เจ ภิกฺขเว ภิกฺขุโน ราโค ปหีโน โหติ ราคสฺส ปหานา โวจฺฉิชฺชตารมฺมณํ ปติฏฺฐา วิญฺญาณสฺส น โหติ ฯ เวทนาธาตุยา เจ ฯ สญฺญาธาตุยา เจ ฯ สงฺขารธาตุยา เจ ฯ วิญฺญาณธาตุยา เจ ภิกฺขเว ภิกฺขุโน ราโค ปหีโน โหติ ราคสฺส ปหานา โวจฺฉิชฺชตารมฺมณํ ปติฏฺฐา วิญฺญาณสฺส น โหติ ฯ ตทปฺปติฏฺฐิตํ วิญฺญาณํ อวิรูฬฺหํ อนภิสงฺขจฺจ วิมุตฺตํ วิมุตฺตตฺตา    ฐิตํ ฐิตตฺตา สนฺตุสิตํ สนฺตุสิตตฺตา น ปริตสฺสติ อปริตสฺสํ ปจฺจตฺตญฺเญว ปรินิพฺพายติ ฯ ขีณา ชาติ ฯเปฯ นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาตีติ ฯ"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ  ในสังขารธาตุ  ในวิญญาณธาตุเป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไปจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น. เธอย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี."


อธิบาย

    ข้อความในส่วนท้ายนี้ ก็เป็นอันชัดเจน ถึงผู้ที่คลายราคะ กำจัดตัณหาได้เด็ดขาดด้วยอรหัตตมรรค ฯ วิญญาณไม่เจริญ คือไม่ก่อปฏิสนธิวิญญาณอีกในภพต่อไป จึงกล่าวว่า "วิญญาณดับ" (ปฏิสนธิวิญญาณ, ปวัตติวิญญาณ) เพราะสังขารดับ, สังขารดับ เพราะอวิชชา (ตัณหา) ดับ ... ฯ   


-------------///--------------

[full-post]

พีชสูตร,สุตตันตปิฎก,สังยุตตนิกาย,ขันธวารวรรค

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.