อาตมาภาพได้รจนาสมถกรรมฐานทีปนี ในปริจเฉทที่ ๙
สำเร็จเรียบร้อย ณ วันอังคารที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๔
คำปรารถนา
อิมินา ปุญฺญกมฺเมน พุทฺโธ โหมิ อนาคเต
ยตฺถ ยตฺถ ภเว ชาโต มา ทลิทฺโท ภวามหํ ฯ
ด้วยอำนาจแห่งกุศลที่เกิดจากการแต่งปกรณ์นี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้ปัญญาธิกะ-
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในข้างหน้า และขออย่าให้ข้าพเข้าต้องเป็นคนยากจนในภพต่างๆ
ที่ยังต้องเกิดอยู่
อปตฺตํ ยาว พุทฺธตฺตํ ปญฺญาธิกํ ภวามิหํ
ชาติสรญานิโกว เชฏฺฐเสฏฺโฐ นิรนฺตรํ ฯ
ตราบใด ที่ปัญญาธิกะพุทธภาวะของข้าพเข้า ยังไม่ถึงซึ่งสัมฤทธิผล ขอให้
ข้าพเจ้าเป็นผู้เจริญ ผู้ประเสริฐ และมีญาณอันเป็นเครื่องระลึกชาติได้ตลอดกาลนิรันดร
กเรยฺยํ คารวํ ครุ มาเนยฺยํ มานนารหํ
วนฺเทยฺยํ วนฺทนารหํ ปูเชยฺยํ ปูชนารหํ ฯ
ขอให้ข้าพเจ้าได้เคารพผู้ที่ควรเการพ ขอให้ข้าพเจ้านับถือผู้ที่ควรนับถือ ขอให้
ข้าพเจ้าได้กราบไหว้ผู้ที่ควรกราบไหว้ ขอให้ข้าพเจ้าได้บูชาผู้ที่ควรบูชา
---------///---------
สารนิยกถา
จาก
ท่านอาจารย์พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
สาสนสฺส จ โลกสฺส วุฑฺฒิ ภวตุ สพฺพทา
สาสนมฺปี จ โลกญฺจ เทวา รกฺขนฺตุ สพฺพทา ฯ
ขอให้ศาสนาทั้ง ๓ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ และชนทั้งหลายจงเจริญทุกๆ
สมัย ขอสัมมาเทวาทั้งหลายจงช่วยกันรักยาศาสนาทั้ง ๓ และชนทั้งหลายทุกทิพาราตรีกาล ฯ
อาตมาภาพขออนุโมทนาแก่บรรดานักศึกษาที่ได้มาศึกยาในด้านการสร้างปัญญาบารมีที่เกี่ยวกับสุตมยวิปัสสนาญาณ และจินตามยวิปัสสนาญาณ คือการรู้ในความเป็นไปของ รูป นาม ขันธ์ ๕ เป็นกำลังอย่างสำคัญยิ่ง แก่การช่วยอุดหนุนส่งเสริมให้เกิดภาวนามยวิปัสสนาญาณ ซึ่งเป็นหนทางจะนำผู้ปฏิบัติ ให้บรรลุถึงฟากฝั่งพระนิพพานในภพนี้ หรือภพต่อไปโดยแน่แท้
การที่อาตมาภาพตั้งความปรารถนาโดยยกคาถา สาสนสฺส จ โลกสฺส เป็นต้นขึ้นมาตั้ง ณ ที่นี้นั้น ก็เพราะว่าเวลานี้ศาสนาทั้ง ๓ หาใช่เจริญก้าวหน้าไปอย่างแท้จริงโดยถูกต้องสมบูรณ์ตามพุทธประสงค์ไม่ คงเป็นไปเพียงแต่ผิวๆ เท่านั้น ส่วนความเจริญของประชาชนนั้น ก็คงเจริญก้าวหน้าไปแต่ในทางด้านวัตถุ ฝ่ายจิตใจนั้นมีแต่ความเสื่อมลงทั้งมิได้รู้เห็นว่าเป็นความเสื่อมของจิตใจอีกด้วย จริงอยู่ที่กล่าวว่า ศาสนาทั้ง ๓ มิได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างแท้จริง โดยถูกต้องสมบูรณ์ตามพุทธประสงค์นั้น หมายความว่า การสอน การศึกษาปริยัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร ส่วนมากมิได้มีการศึกษาให้ทั่วถึงในปีฎกทั้ง ๓ เพียงแต่มีการสอนการศึกษาไปตามหลักสูตรนักธรรมและเปรียญ สำหรับการสอน การศึกยาในอรรถกถา ฎีกา ก็มีการศึกษาน้อยเต็มที มีการศึกษาอยู่แต่ในข้อบันทึกที่ได้จัดรวบรวมไว้เท่านั้น เป็นส่วนมาก .
การเจริญภาวนาในหลายสำนักก็ยังไม่เข้าถึงฌาน มรรค ผล เจริญได้แต่เพียงนิมิต หรือ วิปัสสนาญาณขั้นต้น ผู้ปฏิบัติและผู้สอนต่างก็พอใจว่าได้ธรรมชั้นสูง ความเป็นไปอย่างนี้แหละเป็นส่วนมาก จึงกล่าวได้ว่าศาสนาทั้ง ๓ ยังไม่เจริญก้าวหน้า การเป็นดังนี้ ก็เพราะทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยโดยมากยังไม่มีการสนใจในด้านนิรามิสปริยัติ ปฏิบัติ ที่เป็นฝ่าย วิวัฏฏนิสสิตศาสนกิจ นั้นเอง เพียงแต่สนใจสนับสนุนชักชวนอยู่ใน สามิสปริยัติ ปฏิบัติ ที่เป็น วัฎฎนิสสิตตาสนกิจ ฝ่ายเดียวจึงเป็นที่น่าเสียดายยิ่ง
สามิสปริยัติ ปฏิบัติ อันเป็น วัฏฏนิสสิตศาสนกิจ นั้น หมายความว่าการสอน การศึกษา การเจริญภาวนา มุ่งอยู่ที่จะได้รับผลกำไรในทางโลก อันเป็น ศาสนกิจที่ยังวนเวียนอยู่ในวัฏฏทุกข์
นิรามิสปริยัติ ปฏิบัติ อันเป็น วิวัฏฏนิสสิตศาสนกิจ นั้น หมายความว่า การสอน การศึกษา การเจริญภาวนาที่ไม่มีความมุ่งหวังผลกำไรอย่างใด ๆ ในทางโลกอันเป็นความเสียหายแห่งเมตตา
อนึ่ง ผู้ใหญ่และผู้น้อยที่มีการสนใจสนับสนุน ชักชวนอยู่แต่ในวัฎฎนิสสิตศาสนกิจ คือ สามิสปริยัติ ปฏิบัตินั้น โดยมากพากันละเลย เพิกเฉยไม่สนใจ กลับไปวิพากษ์วิจารณ์ด้วยวิธิต่าง ๆ มีปาฐกถาบ้าง โต้วาทีบ้าง ดังนั้น เมื่อได้คำนึงถึงพุทธศาสนิกชนในระยะ ๒๐ ปีข้างหน้าเป็นต้นไปแล้ว ผู้ใหญ่และผู้น้อยที่มีหน้าที่โดยตรง ในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากเหล่านี้ จะต้องตกเป็นจำเลยในการที่พระพุทธศาสนาไม่เจริญก้าวหน้าอย่างถูกต้องโดยสมบูรณ์ตามพุทธประสงค์อย่างแน่แท้ ต่างกันก็เพียงเป็นจำเลยที่ ๑-๒-๓ เท่านั้นเอง
การมีวัควาอารามและภิกษุ สามเณรมากนั้นยังไม่เรียกว่าพระพุทธศาสนาถึงซึ่งความเจริญก้าวหน้าโดยแท้จริงแต่ประการใด สำหรับประชาชนนั้น ถ้าจิตใจมีความเจริญยิ่งขึ้นไปด้วยคุณธรรมเหมือนกับการเจริญแห่งวัตถุแล้ว วัตถุภายนอกที่กำลังเจริญก้าวหน้าอยู่ ณ บัดนี้ ก็จะช่วยอำนวยสุขให้แก่ประชาชนทั้งหลายได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ แต่บัดนี้หาได้เป็นเช่นนี้ไม่ ดังนั้นวัตถุภายนอกที่ถึงซึ่งความเจริญอยู่นี้ จึงกลายเป็นภัยอย่างใหญ่หลวงแก่ประชาชนไปถึงจะมีวิธีแก้ไขจิตใจให้มีคุณธรรมเจริญขึ้น ก็ไม่มีโอกาสจะทำได้อย่างเต็มที่ เพราะขาดการสนับสนุนช่วยหลือ จึงต้องปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม
พ.ศ. ๒๕๐๗
----------///-----------
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ