สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ
กัมมจตุกก (ตอนที่สี่.ข)
กรรม ๔ อย่าง โดยเกี่ยวกับสถานที่เผล็ดผล
ชื่อว่า กรรม มี ๔ อย่าง อย่างนั้นเหมือนกัน โดยเกี่ยวกับสถานที่ที่เผล็ดผล คือ อกุศลกรรม ๑, กามาวจรกุศลกรรม ๑, รูปาวจรกุศลกรรม ๑, อรูปาวจรกุศลกรรม ๑
กามาวจรกุศลกรรม
แม้กามาวจรกุศลกรรมก็มี ๓ อย่าง โดยเกี่ยวกับทวารของกรรม คือ กายกรรมซึ่งเป็นไปทางกายทวาร วจีกรรมซึ่งเป็นไปทางวจีทวาร และมโนกรรมซึ่ง เป็นไปทางมโนทวาร
มี ๓ อย่าง อย่างนั้นเหมือนกัน โดยเกี่ยวกับเป็นทาน ศีล และภาวนา ส่วน โดยเกี่ยวกับจิตตุปบาท กามาวจรกุศลกรรมนี้ ก็มี ๘ อย่าง มี ๑๐ อย่าง โดยเกี่ยวกับเป็น ทาน ศีล ภาวนา อปจายนะ เวยยาวัจจะ ปัตติทาน ปัตตานุโมทนา ธัมมัสสวนะ ธัมมเทศนา และทิฏฐุชุกรรม
คำอธิบายกามาวจรกุศลกรรม
อธิบายกามาวจรกุศลกรรม ๓ อย่าง โดยเกี่ยวกับทวาร
บัณฑิตพึงทราบความเป็นกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แห่ง กามาวจร กุศลกรรม ตามนัยที่ได้กล่าวแล้วในอกุศลกรรมนั่นเที่ยว และพึงทราบถึงความ ที่กายกรรมมี ๓ อย่าง วจีกรรมมี ๔ อย่าง และมโนกรรมมี ๓ อย่าง โดยเป็น ความงดเว้นจากอกุศลกรรมแต่ละอย่าง เหล่านั้น อย่างนี้ คือ :
กายกรรมมี ๓ อย่าง คือ ความงดเว้นจากปาณาติบาต ๑, ความงดเว้น จากอทินนาทาน ๑, ความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ๑
วจีกรรมมี ๔ อย่าง คือ ความงดเว้นจากมุสาวาท ๑, ความงดเว้นจาก ปิสุณวาจา ๑, ความงดเว้นจากผรุสวาจา ๑, ความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ จ.
มโนกรรมมี ๓ อย่าง คือ อนภิชฌา - ธรรมชาติที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออภิชฌา ๑, อัพยาบาท-สภาวธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท ๑, สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบ (โดยนัยว่า ทานที่บุคคลให้ย่อมมีผลเป็นต้น) ๑.
บัณฑิต พึงทราบถึงข้อที่แปลกไปจากอกุศล โดยเกี่ยวกับตัวสภาวธรรม อย่างนี้ ว่า : ในฝ่ายกุศลนั้น สำหรับกุศลกรรม ๗ อย่างข้างต้น (กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔) มีสภาวะเป็นเจตนาก็ได้ เป็นวีรติ (ความงดเว้น, สภาวะที่เป็นเหตุ ให้งดเว้น) ก็ได้ ไม่ใช่เป็นเจตนาอย่างเดียว เหมือนอย่างในฝ่ายอกุศลกรรม ส่วน กุศลกรรม ๓ อย่างข้างท้าย (มโนกรรม ๓) มีสภาวะเป็น อโลภะ อโทสะ และปัญญา ที่เป็นไปโดยอาการนั้น ๆ ฉะนี้ แล
อธิบายกามาวจรกุศล ๓ อย่าง โดยเกี่ยวกับเป็น ทาน ศีล ภาวนา
ท่านอาจารย์ทำไว้ในใจว่า “กามาวจรกุศลกรรม นี้ เมื่อจะเกิดขึ้นในอารมณ์ ๖ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นโดยเกี่ยวกับเป็นกรรม ๓ อย่าง มีกายกรรมเป็นต้น ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น ก็ย่อมเกิดขึ้นโดยข้อกำหนด ๓ อย่าง” ดังนี้ แล้วจึงกล่าวว่า “มี อย่าง ๓ อย่างนั้นเหมือนกัน โดยเกี่ยวกับเป็น ทาน ศีล และภาวนา” ดังนี้ ความว่า มี ๓ อย่าง โดยเกี่ยวกับเป็นบุญกิริยาวัตถุอย่างย่อ มีทานเป็นต้น เป็น ความจริงว่า ท่านแสดงไขบุญกิริยาวัตถุไว้ ๑๐ อย่าง บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่างนั้น ท่านรวมย่อไว้ ๓ อย่างมีทานเป็นต้น ส่วนว่าในบรรดาบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง นั้น บุญกิริยาวัตถุข้อไหนบ้าง ถึงความรวมย่อเข้าในข้อทานเป็นต้น และเหตุแห่ง การรวมย่อนั้น จะขอกล่าวถึงข้างหน้า ส่วนการประกอบความเป็นไปในอารมณ์ ๖ อย่าง และในทวารของกรรม ๓ อย่าง แห่งบุญกิริยาวัตถุเหล่านี้ เพื่อให้ทราบ ว่า บุญกิริยาวัตถุข้อนั้นๆ ในคราวนั้น เป็นไปปรารภอารมณ์อะไร ในบรรดาอารมณ์ ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น และถึงความนับว่าเป็นกรรมอะไรในบรรดากรรม ๓ อย่างมีกายกรรมเป็นต้น นั้น บัณฑิตพึงถือเอาตามที่มาแล้วในปกรณ์อรรถกถาทั้งหลายมี อัฏฐสาลินี เป็นต้น เถิด จักขอไม่กล่าวถึงในที่นี้ เพื่อป้องกันฝความฟั่นเฝือของผู้ไม่คุ้นเคยกับเนื้อหาที่ลึกซึ้งในคัมภีร์
ท่านอาจารย์กล่าวว่า “ส่วน โดยเกี่ยวกับจิตตุปบาท กามาวจรกุศลกรรม นี้ ก็มี ๘ อย่าง” ดังนี้ ก็เพราะความที่เจตนาที่ถึงความเป็นกามาวจรกุศลกรรม ย่อมเป็นไปในกามาวจรกุศลจิต ๘ นั่นเอง
คำว่า มี ๑๐ อย่าง โดยเกี่ยวกับเป็นทาน ศีล ฯลฯ และทิฏฐุชุกรรม นี้ พึงทราบว่า เป็นคำพูดถึงบุญกิริยาวัตถุที่แตกประเภทเป็น ๑๐ ประการ นั่นเที่ยว พึงทราบวจนัตถะ (ความหมายของคำ) ดังต่อไปนี้
ธรรมชาติอย่างหนึ่งชื่อว่า ทาน เพราะมีความหมายว่าเป็นเหตุให้บุคคลให้ วัตถุ (มีข้าว น้ำ) เป็นต้น แก่คนอื่น แม้การแบ่งปันก็ชื่อว่าทานนั่นแหละ เพราะ มีสภาวะอย่างนั้น
อีกอย่างหนึ่ง แม้ความงดเว้นการปลงชีวิตสัตว์อื่น ความงดเว้นการลงโทษ ทัณฑ์ต่อผู้อื่นแม้ว่ามีความผิด ก็ชื่อว่า ทาน ได้ในคำว่า อภัยทาน
ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ศีล เพราะมีความหมายว่า ตั้งไว้โดยชอบ คือ ตั้งดำรงไว้โดยชอบซึ่งกายกรรมและวจีกรรม ไม่ให้กระจัดกระจายหรือทำลายไป เพราะความทุศีล
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ศีล เพราะมีความหมายว่า เป็นที่ตั้ง คือเป็นที่รองรับ กุศลทั้งหลายยิ่งๆ ขึ้นไป สมตามที่ตรัสไว้ว่า “สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺฺโญ - นระ ผู้มีปัญญา ตั้งมั่นในศีลแล้ว” ดังนี้ เป็นต้น
ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภาวนา เพราะมีความหมายว่า เจริญ คือทำให้ เกิดและเพิ่มพูน ความว่า ยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพิ่มพูนกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อปจายนะ เพราะมีความหมายว่า เป็นเหตุ ประพฤตินอบน้อมต่อผู้อื่น โดยเกี่ยวกับเป็นการบูชา
ความเป็นคนผู้ขวนขวายในกิจนั้น ๆ ไม่เพิกเฉย ชื่อว่า เวยยาวัจจะ
ชน ย่อมให้บุญที่ตนถึงแล้ว คือ บังเกิดแล้วในสันดานของตนแก่คนอื่น เพราะธรรมชาติใด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ปัตติทาน
.ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปัตตานุโมทนา เพราะมีความหมายว่า เป็นเหตุอนุโมทนาบุญที่คนอื่นถึงแล้ว คือที่คนอื่นสำเร็จแล้ว
ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธัมมัสสวนะ เพราะมีความหมายว่า เป็นเหตุ ฟังธรรม
ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธัมมเทศนา เพราะมีความหมายว่า เป็นเหตุแสดงธรรม
การทำความเห็นให้ตรง คือให้ถูกต้องไม่วิปริต ชื่อว่า ทิฏฐุชุกรรม ฉะนี้แล
ที่กล่าวมานี้ คือ วจนัตถะ (ความหมายของคำ) แห่งบุญกิริยาวัตถุแต่ละอย่างเหล่านี้ ส่วน วจนัตถะ ของคำว่า บุญกิริยาวัตถุ นี้ มีอย่างนี้ คือ:
การกระทำ ๑๐ อย่าง มีทานเป็นต้น ชื่อว่า บุญ เพราะเป็นเครื่องชำระ จิตสันดานให้หมดจด (สำเร็จจาก ปุ ธาตุ ที่มีอรรถว่า “ชำระ”) หรือ เพราะเป็น ของควรทำให้เต็ม (สำเร็จจาก ปรธาตุ ที่มีอรรถว่า “เต็ม”), ทานเป็นต้นนั้น นั่นแหละ ชื่อว่า กิริยา เพราะเป็นสิ่งควรทำ และชื่อว่า วัตถุ เพราะเป็นที่ตั้งอาศัย
แห่งอานิสงส์นับเป็นร้อย เพราะเหตุนั้น ทานเป็นต้น แต่ละอย่างนั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ
ต่อไปนี้ เป็น คำไขความบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง เหล่านั้น
๑. ทาน
เจตนาที่ตั้งใจสละวัตถุที่มีอยู่ของตน (จาคเจตนา) ด้วยความต้องการจะ บูชาท่านผู้มีคุณก็ดี ด้วยกรุณาหวังจะอนุเคราะห์ช่วยเหลือบุคคลเหล่าอื่นให้พ้น จากความทุกข์ก็ดี แม้ด้วยเมตตาประสงค์ให้ผู้อื่นมีสุขก็ดี แห่งบุคคลผู้มีจิตสันดาน เป็นไปกับอนุสัย ยังไม่ปราศจากอนุสัย ชื่อว่า ทาน-การให้ เจตนาที่เป็นไปก่อน หน้าแต่การมอบวัตถุแก่ปฏิคาหก โดยเกี่ยวกับเป็นการตระเตรียมวัตถุทาน เพื่อ มอบแก่ปฏิคาหกในคราวต่อมาก็ดี เจตนาที่เป็นไปในภายหลังแต่การมอบวัตถุทาน นั้น โดยเกี่ยวกับเป็นการตามระลึกถึงการกระทำ ด้วยจิตโสมนัสก็ดี ก็สงเคราะห์ เข้าในทานนั้น นั่นแหละ แม้ในบุญกิริยาวัตถุที่เหลือ ก็พึงทราบคำอธิบายเกี่ยวกับเจตนาที่เป็นไปก่อนและหลัง ตามสมควร ตามทำนองเดียวกันนี้แหละ
อนึ่ง ความงดเว้นโทษ ไม่ลงโทษแก่ผู้กระทำผิด เหมือนอย่างที่พระราชา ทรงงดโทษประหารชีวิต แก่ผู้ต้องโทษประหารชีวิตเป็นต้น ก็มีสภาพเป็นทาน เรียก ว่า อภัยทาน
พึงทราบว่า การให้ของ ๕ อย่างดังต่อไปนี้ ไม่ชื่อว่า เป็นบุญกิริยาวัตถุข้อทาน : เพราะจิตใจของผู้ให้หาความหมดจดเป็นบุญมิได้เลย ได้แก่ :
๑) การให้สิ่งสร้างความมึนเมา คือสุราและเมรัย
๒) การให้มหรสพ ฟ้อนรำ ขับร้อง หรือการละเล่นต่างๆ
๓) การให้หญิงแก่ชาย (เพื่อบำเรอความสุขในเมถุน)
๔) การให้โคตัวผู้แก่โคตัวเมีย ใจความคือ จัดการให้สัตว์ได้ผสมพันธุ์กัน
๕) การให้ภาพจิตรกรรมลามก
๒. ศีล
เจตนาที่ตั้งใจจะทำให้บริบูรณ์ซึ่งสิกขาบท ๕ สิกขาบท ๘ หรือแม้สิกขา บท ๑๐ โดยหวังจะให้เป็นนิจศีลเป็นต้น แห่งบุคคลผู้สมาทานสิกขาบทเหล่านั้น หรือถึงแม้ไม่สมาทาน แต่ก็เกิดวิรติงดเว้นกายทุจริต หรือวจีทุจริตได้ในคราวนั้น ๆ เจตนาและวีรติดังกล่าวมานี ชื่อว่า ศีล
อนึ่ง เจตนาแห่งบุคคลผู้บวชในโรงอุปสมบท แล้วกระทำให้บริบูรณ์อยู่ซึ่ง จตุปาริสุทธิศีล ก็ชื่อว่า ศีล
ก็ศีลนั้น มี ๒ อย่าง คือ วาริตศีล และ จาริตศีล, วาริตศีล คือ ศีลที่ เป็นไปด้วยสามารถการสมาทานสิกขาบทอันเป็นข้อห้าม ได้แก่ข้อที่งดเว้นการ ฆ่าสัตว์เป็นต้น ส่วนจาริตศีล คือ ศีลที่เป็นไปเกี่ยวกับเป็นความประพฤติในข้อที่ ควรประพฤติ มีการทะนุบำรุงมารดาบิดาเป็นต้น
๓. ภาวนา
เจตนาที่เป็นไปจับตั้งแต่ประมวลจิตตั้งลงเพื่อการบริกรรมในกรรมฐาน ๔๐ มีปฐวีกสิณเป็นต้น หรือเพื่อการพิจารณาสภาวธรรม ในภูมิทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น จนถึงโคตรภูเป็นที่สุด ชื่อว่า ภาวนา เพราะฉะนั้น ว่าโดยนิปริยาย ภาวนานี้ ย่อม มี ๒ อย่าง คือ สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา
สมถภาวนา คือการเจริญสมถะ ได้แก่ การทำสมถะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และการยังสมถะที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้นไป ท่านเรียกสมาธิว่า “สมถะ" เพราะเป็นความสงบแห่งจิต
วิปัสสนาภาวนา คือการเจริญวิปัสสนา ได้แก่ การทำวิปัสสนาที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น และการทำวิปัสสนาที่เกิดขึ้นแล้วให้เพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้นไป ท่านเรียกปัญญา ที่รู้เห็น คือรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ว่า “วิปัสสนา”
สมถภาวนา เป็นไปในกรรมฐาน ๔๐ มีปฐวีกสิณเป็นต้น, วิปัสสนาภาวนา เป็นไปในภูมิมีขันธ์เป็นต้น ๔. อปจายนะ
เจตนาที่มุ่งกระทำความนับถือเป็นอันมาก ต่อท่านผู้ใหญ่ ผู้เจริญด้วยชาติ วัย และคุณ ด้วยอัธยาศัยที่ไม่มัวหมอง คือปราศจากความรังเกียจเหนื่อยหน่าย ปราศจากการหวังผลตอบแทนเป็นต้น โดยวิธีลุกรับ น้อมอาสนะให้ น้อมน้ำดื่ม ของกินให้ เป็นต้น ชื่อว่า อปจายนะ
๕. เวยยาวัจจะ
เจตนาที่มุ่งทำกิจนั้น ๆ แก่ท่านผู้ใหญ่ ผู้เจริญด้วยชาติเป็นต้น เหล่านั้นนั่นแหละ ด้วยอัธยาศัยที่ไม่มัวหมองดังกล่าวนั้น โดยการปัดกวาดสถานที่อยู่อาศัยของท่าน ตระเตรียมน้ำดื่มน้ำใช้ไว้ให้ท่าน ทะนุบำรุงท่านด้วยข้าวปลาอาหาร เป็นต้น หรือแก่คนไข้ โดยการอุปัฏฐากพยาบาลไข้ เป็นต้น ชื่อว่า เวยยาวัจจะ ของท่าน
๖. ปัตติทาน
เจตนาทีหวังจะให้บุญที่ตนถึงแล้ว คือทำแล้ว มีความเป็นสาธารณะแก่คน อื่น คือ ตกถึงแก่คนอื่น ๆ ด้วย ด้วยอัธยาศัยที่ไม่มัวหมองดังกล่าวนั้น ชื่อว่า ปัตติทาน ความว่า อุทิศทักขิณาคือบุญที่ตนทำแล้ว แก่ผู้อื่น นั่นเอง พึงทราบว่า สัตว์บุคคลผู้สามารถรับเอาบุญที่คนอื่นอุทิศให้นั้น ได้แก่พวกเปรตเท่านั้น และ เป็นเปรตจำพวกเดียวที่ท่านเรียกว่า “ปรทัตตุปชีวี” เท่านั้น ก็บุญนั้นจะตกถึงแก่ พวกเปรตเหล่านี้ได้ เพราะมีความพร้อมเพรียงด้วยองค์ ๓ คือ ความตั้งใจอุทิศ ของทายก (ผู้ถวายทาน) อย่างนี้ ว่า “ขอทานที่ข้าพเจ้าได้ให้แล้วในครั้งนี้ จงตก ถึงแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว เถิด” ดังนี้ เป็นต้น ๑ ปฏิคาหก (ผู้รับเอาทาน) เป็น ผู้มีคุณสมบัติมีศีลเป็นต้น เพียบพร้อม ๑, การอนุโมทนาของพวกเปรตเหล่านั้น ๑.
๗. ปัตตานุโมทนา
เจตนาที่อนุโมทนา คือ ยินดี ชื่นชม สรรเสริญ บุญที่ผู้อื่นถึงแล้ว คือ ทำแล้ว สำเร็จแล้ว หรือแม้ผู้อื่นนั้นยังไม่ทำ แต่จักทำ ดุจตนทำหรือจักทำบุญ นั้นเองทีเดียว แห่งบุคคลผู้มีจิตผ่องใส ปราศจากมลทินคือวัณณมัจฉริยะ (ความ ตระหนี่คำสรรเสริญ) ชื่อว่า ปัตตานุโมทนา
ก็คำว่า อนุโมทนา ในที่นี้ เพ่งถึงจิตใจที่เป็นไปโดยอาการนั้นเป็นสำคัญ มิได้เพ่งถึงคำกล่าวอนุโมทนาเป็นสำคัญ “สาธุ ดีจริง” เป็นต้น แต่เมื่อหาความยินดี ชื่นชมในบุญที่เขาทำหรือจักทำมิได้ ก็ไม่ชื่อว่ามีบุญกิริยาวัตถุข้อนี้เกิดขึ้น เพราะแม้มีการกล่าวคำอนุโมทนาว่า ชื่นชมในบุญที่เขาทำหรือจักทำมิได้ ทว่า เมื่อมีความชื่นชมยินดีเกิดขึ้นแล้ว นั่นเทียว แม้ไม่มีการเปล่งวาจากล่าวอนุโมทนา เพราะไม่มีโอกาส ก็ชื่อว่ามี บุญกิริยาวัตถุข้อนี้เกิดขึ้นแล้ว
๘. ธัมมัสสวนะ
เจตนาที่มุ่งสดับตรับฟังธรรมของบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ด้วย อัธยาศัยที่ไม่มัวหมอง คือมิได้หวังคำสรรเสริญยกย่อง นับถือบูชาจากผู้อื่น มิได้ประสงค์ความยกตนข่มผู้อื่น ทว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนและแก่ผู้อื่น อย่างนี้้ว่า “เราฟังธรรมได้ความรู้แล้ว จักอาศัยความรู้นี้ เป็นแบบแผนการปฏิบัติ เพื่อ ประโยชน์แก่ตน เราเป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมนั้นแล้ว ก็จักอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยธรรม เทศนาต่อไป” ดังนี้ ชื่อว่า ธัมมัสสวนะ แม้การฟังวิชาการอันไม่มีโทษทั้ง หลาย ด้วยปรารภประโยชน์ในโลกนี้เป็นสำคัญ ก็สงเคราะห์เข้าในธัมมัสสวนะ เหมือนกัน.
๙. ธัมมเทสนา
เจตนามุ่งชี้แจงธรรมอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลของบัณฑิต อย่างมีโยนิโสมนสิการโดยไม่มีการเพ่งถึงผลตอบแทนคือลาภสักการะ ชื่อเสียง บริวาร ความนับถือ ความบูชาเป็นต้น ชื่อว่า ธัมมเทศนา แม้การแสดงวิชาการค้นหาโทษมิได้ อัน เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในโลกปัจจุบันนี้ ก็สงเคราะห์เข้าในธัมมเทศนานี้ เหมือนกัน.
๑๐. ทิฏฐชุกรรม
การทำความเห็นให้ตรง คือไม่วิปริต โดยนัยว่า “อตฺถิ ทินนํ-ทานที่บุคคล ให้ย่อมมีผล” เป็นต้น ชื่อว่า ทิฏฐุชุกรรม ใจความคือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ นั่นเอง ก็สัมมาทิฏฐินี้ มี ๕ อย่าง คือ:
๑) กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบว่า สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็น ของตน กล่าวคือ ตนทำกรรมใดไว้ เป็นกุศลก็ตาม เป็นอกุศลก็ตาม ตนนั่นแหละ ย่อมเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น
๒) ฌานสัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบที่สัมปยุตกับฌาน ได้แก่ ปัญญาที่เกิด ร่วมกับฌานที่เจริญได้
๓) วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบที่เป็นวิปัสสนา ได้แก่ ปัญญาที่รู้ สภาวธรรมทั้งหลาย โดยอาการต่าง ๆ กัน กล่าวคือ รู้ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา
๔) มัคคสัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบที่เป็นองค์มรรค องค์แรกแห่งบรรดา องค์มรรค ๘ ที่สัมปยุตกับมัคคจิต อันเห็นชอบ คือหยั่งรู้อริยสัจ
๕) ผลสัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบที่สัมปยุตกับพระอริยผล คือปัญญาที่ เกิดร่วมกับพระอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น นั่นเอง
เพราะเหตุที่ในวาระนี้ เป็นอธิการแห่งกามาวจรกุศลกรรม บุญกิริยาข้อสัมมาทิฏฐิในที่นี้ จึงประสงค์เอากัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ และวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิเท่านั้น เพราะฌานสัมมาทิฏฐิ แม้เป็นบุญกิริยาวัตถุ (ข้อภาวนา) ก็ไม่ ใช่กามาวจรกุศลกรรม ทว่า เป็นรูปาวจรกุศลกรรม และอรูปาวจรกุศลกรรม อย่าง นั้นเหมือนกัน มัคคสัมมาทิฏฐิ แม้เป็นบุญกิริยาวัตถุ (ข้อภาวนา) ก็มิใช่กามาวจร กุศลกรรม ทว่า เป็นโลกุตตรกุศลกรรม ส่วน ผลสัมมาทิฏฐิ ไม่มีคำพูดต้องกล่าว ถึง เพราะเป็นวิบากของกรรม จึงไม่ใช่กุศลกรรม ไม่ใช่บุญกิริยาวัตถุ แล
ถามว่า บุญกิริยาวัตถุข้อทิฏฐุชุกรรมนี้ เกิดในกามาวจรกุศลจิตกี่ดวง?
ตอบว่า ย่อมเกิดในกามาวจรกุศลจิตได้ ทั้ง ๘ ดวง นั่นเที่ยว
ท้วงว่า เกิดในกามาวจรกุศลจิตที่เป็นญาณวิปปยุตได้อย่างไร เพราะในจิตเหล่านี้ ไม่มีปัญญาเกิดร่วม ก็สัมมาทิฏฐิ คือปัญญา มิใช่หรือ?
เฉลยว่า ทิฏฐุชุกรรมนี้ ย่อมเกิดได้ แม้ในจิตที่เป็นญาณวิปปยุต ในคราว ที่จิตตุปบาทอันเป็นญาณสัมปยุตนั้น มีเจตนาในจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต แวดล้อม โดยเป็นไปก่อนหน้า และภายหลังจิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุคนั้น เจตนาเหล่านั้น ล้วนสงเคราะห์เข้าในทิฏฐธุกรรมนี้ เพราะเป็นไปในคราวสืบต่อ คราวเดียวกัน. เป็นความจริงว่า ในเวลาที่มีการทำความเห็นให้ตรง คือเกิด สัมมาทิฏฐิขึ้นนั้น ในเวลานั้น ย่อมมีแต่จิตที่เป็นญาณสัมปยุตเท่านั้น ก็จริงอยู่ ถึง กระนั้น ในกาลก่อนแต่นั้น และในภายหลังจากนั้น ย่อมมีจิตแม้ที่เป็นญาณวิปปยุต ก็ได้ เพราะฉะนั้น ทิฏฐชกรรม ย่อมเกิดได้ แม้ในจิตที่เป็นญาณวิปปยุต ย่อม สำเร็จได้ แม้ด้วยจิตที่เป็นญาณวิปปยุต
อนึ่ง ในบรรดาบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่างเหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบถึง การ สงเคราะห์บุญกิริยาวัตถุ อย่าง เหล่านี้ เข้าในบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง มีทานมัยเป็นต้น ดังต่อไปนี้
พึงทราบว่า ปัตติทาน และปัตตานุโมทนา สงเคราะห์เข้าในทานนั่นเอง เพราะมีลักษณะเหมือนทานโดยประการ ๒ คือ เพราะเป็นไปโดยอัธยาศัยบริจาค เหมือนกัน ๑ เพราะมีธรรมที่เป็นปฏิปักษ์เหมือนกัน คือ อิสสาและมัจฉริยะ ๑ เพราะฉะนั้น เพราะเหตุที่มีลักษณะเหมือนกันกับทานโดยประการ ๒ ดังกล่าว มานี้ ปัตติทาน และปัตตานุโมทนา จึงเป็นอันสงเคราะห์เข้าในบุญกิริยาวัตถุข้อทานมัย ได้ทีเดียว
ส่วน อปจายนะ และเวยยาวัจจะ สงเคราะห์เข้าในบุญกิริยาวัตถุข้อศีลมัย เพราะความนอบน้อมต่อผู้อื่นก็ดี ความขวนขวายในกิจที่ควรทำแก่ผู้อื่นก็ดี เป็น จาริตศีล
อาจารย์ธรรมปาลเถระกล่าวว่า “การแสดงธรรม และการฟังธรรม และความ เห็นที่ตรง ถึงการสงเคราะห์เข้าใน ภาวนามัย เพราะเป็นการร้องเสพ (คือเป็นเหตุ เจริญ) ซึ่งกุศลธรรม” ดังนี้
อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า “เวลามีการแสดงธรรม และการฟังธรรม ทั้ง ผู้แสดง ทั้งผู้ฟัง ส่งญาณไปตามกระแสธรรมที่แสดง ที่ฟังอยู่นั้นแล้ว ก็อาจแทง ตลอดลักษณะทั้งหลายได้ กำลังแสดงอยู่นั่นแหละ กำลังฟังอยู่นั่นแหละ ก็ อาจยังแม้ญาณที่เห็นลักษณะนั้น ให้ก้าวหน้าไปจนจรดถึงปฏิเวธธรรมได้ทีเดียว เพราะฉะนั้น ธัมมเทศนา และธัมมสวนะ จึงถึงการสงเคราะห์เข้าในภาวนามัย" ดังนี้
อนึ่ง การที่บัณฑิตจะกล่าวว่า ธัมมเทศนา ถึงการสงเคราะห์เข้าในทานมัย ดังนี้ก็ได้ เพราะมีลักษณะเป็นการให้ธรรม สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า “สพฺพทานํ ธมฺฺม ทานํ ชินาติ(ขุ.ธ.๒๕/๘๖) - การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ดังนี้ อย่างนั้นเหมือนกัน ทิฏฐุชุกรรม ย่อมมีอันสงเคราะห์เข้าในบุญกิริยาวัตถุทุกข้อ โดยเกี่ยวกับว่า มี ลักษณะเป็นเครื่องชำระบุญกิริยาวัตถุทั้งปวง จริงอยู่ บุญกิริยาวัตถุขอทานมัย เป็นต้น จะเป็นอันหมดจดได้ด้วยดี ก็เพราะได้อาศัยสัมมาทิฏฐิที่เป็นไปโดยนัยว่า “ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผล” ดังนี้ เป็นต้น ซึ่งข้อนี้จะเป็นเหตุให้มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็ท่านพระพุทธโฆสาจารย์ได้ทำไว้ในใจอย่างนี้แหละ ท่านจึงได้ กล่าวไว้ในอรรถกถาทีฆนิกาย ว่า “ทิฏฺฐุชุกมุมํ สพฺเพสํ นิยมนลกฺขณํ (สุมงฺคลวิลาสินี ๓/๒๔๗) ทิฏฐุชุกรรมมีลักษณะเป็นเครื่องชำระบุญกิริยาวัตถุทั้งปวง” ดังนี้
พึงทราบว่า เพราะสงเคราะห์เอาบุญกิริยาวัตถุนอกนี้ รวม ๗ อย่าง มี ปัตติทานเป็นต้น เข้าในบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง คือ ทานมัย สีลมัย และภาวนามัย ได้ตามประการดังกล่าวมานี้ จึงมีบุญกิริยาวัตถุโดยย่อ ๓ อย่างเท่านั้น ซึ่งท่านอาจารย์ก็ได้แสดงไว้ก่อนแล้วทีเดียว
บัณฑิตพึงทราบว่า มย-ศัพท์ ที่ปรากฏในปกรณ์ทั้งหลายว่า ทานมยํ(ทานมัย) สีลมยํ(สีลมัย) เป็นต้น เป็นไปในอรรถของตนนั่นเอง (มิได้ทำความหมายของศัพท์ว่า
" ทาน " เป็นต้นให้แปลกไป)
ความว่า ทานนั่นเอง ชื่อว่า ทานมัย ศีลนั่นเอง ชื่อว่า สีลมัย ภาวนานั่นเอง ชื่อว่า ภาวนามัย ฉะนี้ แล.(โปรดติดตามส่วนที่เป็นรูปาวจรกุศลกรรมต่อครับ)
[full-post]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ