สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ


โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? 1

เมื่อว่าโดยสภาวะ(องค์ธรรม) มีกี่ประเภท 1

เมื่อว่าโดยกลุ่ม มีกี่กลุ่ม 1

แต่ละกลุ่ม ประกอบด้วยอะไรบ้าง? 1

แต่ละองค์ธรรม มี ฐานะ เป็นอะไรบ้าง? 1

ทั้งหมดที่ว่ามานี้ จักปรากฏให้รู้เห็นที่ไหน เวลาใด 1

   รวม ประเด็น(หัวข้อ)ที่พึ่งรู้ 6 หัวข้อ

   คำว่า โพธิ มีอรรถาธิบายว่า จตฺตาริ สจฺจานิ พุชฌตีติ โพธิ แปลว่า สภาวธรรมที่รู้อริยสัจจะ 4 ประการ ชื่อว่า โพธิ ได้แก่ ปัญญาในมรรคจิต 4 ดวง มี โสดาปัตติมรรคจิต เป็นต้น

   คำว่า โพธิปักขิยะ มีอรรถาธิบายว่า โพธิยา ปกฺเข ภวติ โพธิปกฺขิยา แปลว่า หมวดธรรมที่เกิดในฝ่ายโพธิ ชื่อว่า โพธิปักขิยะ ได้แก่ ธรรม 7 หมวด(กลุ่ม) อันมี 37 ประการ(ฐานะ)

   เพื่อความกระจ่างชัดแห่งหัวข้อที่ 2-6 ขอให้พิจารณาคาถาสังคหะในโพธิปักขิยสังคหะ เพื่อนสหธรรมิกก็จะทราบความได้ทั้งหมด

   " ฉนฺโท จิตฺตมุเปกฺขา จ     สทฺธาปสฺสทฺธิปิติโย

     สมฺมาทิฏฺฐิ จ สงฺกปฺโป    วายาโม วิรติตฺตยํ

     สมฺมาสติ สมาธีติ        จุทฺเสเต สภาวโต

     สตฺตตฺตึสปฺปเภเทน       สตฺตธา ตตฺถ สงฺคโห."

   " สงฺกปฺปปสฺสทธิ จ ปิตยุเปกฺขา

     ฉนฺโท จ จิตฺตํ วิรตฺิตฺตยญฺจ

     นเวกฺฐานา วิริยํ นวฏฺฐ

     สตี สมาธี จตุ ปญฺญา

     สทฺธา ทุฐานุตฺตมสตฺตตึส

     ธมฺมานเมโส ปวโร วิภาโค."

   " สพฺเพ โลกุตฺตเร โหนฺติ     น วา สงฺกปฺปปิติโย

     โลกิเยปิ ยถาโยคํ          ฉพฺพิสุทฺธิปฺปวตฺติยํ."

แปลว่า " ธรรมเหล่านี้ ว่าโดยสภาวะ มี 14 ประเภท คือ ฉันทะ 1 จิต 1 อุเบกขา 1 ศรัทธา 1 ปัสสัทธิ 1 ปิติ 1 สัมมาทิฏฐิ 1 สังกัปปะ 1 วายามะ 1 วิรติ 3 สัมมาสติ 1 สมาธิ 1 สภาวธรรมทั้ง 14 ประเภทใน โพธิปักขิยธรนมี้สงเคราะห์เป็นกลุ่มได้ 7 หมวด."

   " ธรรม 9 ประเภท คือ สังกัปปะ 1 ปัสสัทธิ 1 ปิติ 1 อุเบกขา 1 ฉ้นทะ 1 จิต 1 และ วิรติ 3 มีฐานะเดียว วืริยะ มี 9 ฐานะ  สติ มี 8 ฐานะ สมาธิ มี 4 ฐานะ ปัญญา มี 5  ฐานะ ศรัทธา มี 2 ฐานะ นี่เป็นการจำแนกโพธิปักขิยธรรมอันประเสริฐ เป็นกลุ่มได้ 7 หมวด เป็นฐานะได้ 37 ประการ."

   " ธรรมทั้ง 6 ข้อ ย่อมเป็นไปในโลกุตตรจิต หรือจะไม่มี สังกัปปะ และปิติบ้างก็ได้ ขึ้นอยู่กับฌานที่ประกอบกับโลกุตตรจิตนั้นๆ ย่อมเป็นไปได้แม้ในโลกิยจิต ตามสมควรที่จะประกอบได้ในคราวที่วิสุทธิ 6 เป็นไปเท่านั้น (เว้นศีลวิสุทธิเพราะอยู่นอกเขตความเป็นไปแห่งโพธิปักขิยธรรม)."

   สรุปโพธิปักขิยธรรม 

   ก. เมือกล่าวโดยองค์ธรรม มี 14 ประเภท คือ 1.ฉันทะ 2.จิต 3.อุเบกขา 4.ศรัทธา 5.ปัสสัทธิ 6.ปิติ 7.สัมมาทิฏฐื 8.สังกัปปะ 9.วายามะ 10-12.วิรติ 3 13.สัมมาสติ 14.สมาธิ

   ข. เมื่อกล่าวโดยความเป็นกลุ่ม มี 7 หมวด มีชื่อกลุ่มว่า "โพชฌงค์ 7 " ได้แก่

   1. สติสัมโพชฌงค์ คือ สติที่ถึงพร้อมด้วยฐานะ 8

   2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ปัญญาที่ถึงพร้อมด้วยฐานะ 5

   3. วิริยสัมโพชฌงค์ คือ วิริยะที่ถึงพร้อมด้วยฐานะ 9

   4. ปีติสัมโพชฌงค์ คือ ปีติที่ถึงพร้อมด้วยพละกำลัง ทั้งๆที่เห็นไตรลักษณ์ แต่ก็อิ่มเอิบใจ เป็นปีติพวกที่ไม่อาศัยเรืิอน คือ ตัณหานั่นเอง

   5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือความระงับกายและจืตที่ถึงพร้อมด้วยพละกำลัง ทั้งๆที่เห็นไตรลักษณ์ แต่ก็ระงับความดิ้นรนได้ เป็นปัสสัทธิพวกที่ มุ่งตรงต่อมรรคนั้นเอง

   6. สมาธิสัมโพชฌงค์ คือ สมาธิที่ถึงพร้อมด้วยฐานะ 4

   7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ ตัตรมัชฌัตตุเบกขา 

ได้แก่ความเป็นกลางในสัมปยุตธรรทั้งหลาย เพราะยอมรับความเป็นจริงได้ ว่าธรรมเหล่านั้นเป็นเช่นนั้นนี่นเอง

   ค.เมื่อกล่าวโดยฐานะ แบ่งจำแนกได้ 37 ประการ คือ

   1. สติปัฏฐาน 4

   2. สัมมัปปธาน 4

   3. อิทธิบาท 4

   4. อินทรีย์ 5

   5. พละ 5

   6. โพชฌงค์ 7

   7. มรรคมีองค์ 8

สรุปองค์ธรรม ที่มีฐานะมากกว่า 1 ประการ   

   1. วิริยะ มี ฐานะ 9 ประการ เพราะมีกิจ 9 อย่าง คือ เป็นสัมมัปปธาน 4 เป็นวิริยิทธิบาท 1 เป็นวิริยินทรีย์ 1 เป็นวิริยพละ 1 เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ 1 เป็นสัมมาวายามะ 1

   2. สติ มี ฐานะ 8 ประการ เพราะทำกิจ 8 อย่าง คือ เป็นสติปัฏฐาน 4 เป็นสตินทรีย์ 1 เป็นสติพละ 1 เป็นสติสัมโพชฌงค์ 1 เป็นสัมมาสติ 1 

   3. สมาธิ มี ฐานะ 4 ประการ เพราะทำกิจ 4  อย่าง คือ เป็นสมาธินทรีย์ 1 เป็นสมาธิพละ 1 เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ 1 เป็นสัมมาสมาธิ 1

   4. ปัญญา มี ฐานะ 5 ประการ เพราะทำกิจ 5 อย่าง คือ เป็นวิมังสิทธิบาท 1 เป็นปัญญินทรีย์ 1 เป็นปัญญาพละ 1 เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ 1 เป็นสัมมาทิฏฐิ 1

   5. ศรัทธา มี ฐานะ 2 ประการ เพราะทำกิจ 2 อย่าง คือ เป็นสิทธินทรีย์ 1 เป็นสัทธาพละ 1

(สาระจากนิสสยอักษรปัลลวะ อักษรสิงหล อักษรมอญ อักษรพม่า อักษรขอม)

 

[right-side]

โพธิปักขิยธรรม

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.