สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ


แสดงวจนัตถะ (ความหมาย) และลักขณาทิจตุก (วิเสสลักษณะ) ของปฏิจจสมุปบาท

๑. อวิชชา

   1.วิชฺชา ปฏิปกฺขาติ=อวิชฺชา-ธรรมชาติใด เป็นไปตรงกันข้ามกับปัญญา ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา

   2. อวินฺทิยํ วินฺทตีติ=อวิชฺชา-ธรรมชาติใด ย่อมได้ซึ่งทุจริตที่ไม่ควรจะได้ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา

   3. วินฺทยํ น วินฺทตีติ=อวิชชา-ธรรมชาติใด ย่อมไม่ได้ซึ่งสุจริตธรรมที่ควรจะได้ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา

   4. อวิชฺชมาเน ชวาเปตีติ=อวิชฺชา - ธรรมชาติใดเป็นผู้รู้ผิดในบัญญัติธรรม มี ชาย หญิง เป็นต้น ที่ไม่มีปรากฏโดยสภาวะ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา

   5. วิชฺชมาเน น ชวาเปตีติ=อวิชฺชา-ธรรมชาติใด เป็นผู้ทำให้ไม่รู้ ในปรมัตถธรรม มี ขันธ์ 5 เป็นต้น ที่มีปรากฏโดยสภาวะ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา

   6. วิทิตพฺพํ อวิทิตํ กโรตีติ=อวิชฺชา-ธรรมชาติใด ย่อมทำให้ไม่รู้ฃึ่งธรรมที่ควรรู้ มี สัจจะ 4 เป็นต้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา

   สรุปความว่า การไม่รู้

ความเป็นจริงที่ควรรู้ รู้แต่สิ่งที่ไม่เป็นไปตามเป็นจริงที่ไม่ควรรู้ นี่แหละ ชื่อว่า อวิชชา องค์ธรรมปรมัตถ์ ก็คือ โมหเจตสิก ที่ในอกุศลจิต 12

   แสดงลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน, ปทัฏฐาน, ของอวิชชา

   1. อญานลกฺขณา มีความไม่ร ู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง เป็นลักษณะ

   2. สมฺโมหนรสา มีความลุ่มหลงเป็นกิจ

   3. ฉาทนปจฺจุปฏฺฐานา มีการปกปิดความเป็นจริง เป็นอาการปรากฏ

   4. อาสวปทฏฺฐานา มี อาสวะ 3 (เว้นอวิชชาสวะ)เป็นเหตุใกล้


๒. สังขาร

   1. สงฺขตํ  สงฺขโรนฺติ อภิสงฺขโรนฺตีติ=สงฺขารา-ธรรมเหล่าใดย่อมปรุงแต่งสังขตธรรม ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร ได้แก่เจตนาที่ในอกุศลจิตและในโลกิยกุศลจิต

   2. สงฺขตํ กายวจีมโนกมฺมํ อภิสงฺขโรนฺติ เอเตหีติ=สงฺขารา-สัตว์ย่อมปรุงแต่ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นสังขตธรรม โดยเจตนาเหล่านั้น เจตนาที่เป็นเหตุปรุงแต่งเหล่านั้น ชื่อ

ว่า สังขาร ได้แก่เจตนาที่ในอกุศลจิตและในโลกิยกุศลจิต

   แสดงลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน, ปทัฏฐาน, ของสังขาร

   1. อภิสงฺขรณลกฺขณา มีการปรุงแต่งสังขตธรรม(ขันธ์ 5)เป็นลักษณะ

   2. อายูหนรสา มีการกระตุ้นเตือนสัมปยุตตธรรม(นามขันธ์ 4)ให้ขนขวายเป็นกิจ

   3. เจตนาปจฺจุปฏฐานา มีกาาจัดแจงสังขตธรร(ขันธ์ 5) เป็นอาการปรากฏ

   4. อวิชฺชาปทฏฺฐานา มีอวิชชาเป็นเหตุใกล้


๓. วิญญาณ

   1. วิชานาตีติ=วิญฺญานํ-ธรรมชาติใดย่อมรับรู้อารมณ์ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า วิญญาน(หมายเอาโลกิยวิปากจิต 32)

   2.วิชานนฺติ เอเตนาติ=วิญฺญานํ-สัตว์บุคคลทั้งหลาย ย่อมรับรู้อารมณ์โดยอาศัยธรรมชาตินั้น ธรรมชาติที่่เป็นเหตุให้สัตว์บุคคลรับรู้อารมณ์ได้นั้น ชื่อว่า วิญญาณ(หมายเอาโลกิยวิปากจิต 32)

   แสดงลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน, ปทัฏฐาน, ของวิญญาณ

   1.วิชานนลกฺขณํ มีการรับรู้อารมณ์เป็นลักษณะ

   2.ปุพฺพงฺคมรสํ มีการเป็นประธานแก่เจตสิกและกัมมชรูป เป็นกิจ

   3.ปฏิสนฺธิปจฺจุปฏฺฐานํ มีการปฏิสนธิเป็นอาการปรากฏ

   4.สงฺขารปทฏฺฐานํ วา วตฺถารมฺมณปทฏฺฐานํ มีสังขาร 3 เป็นเหตุใกล้ หรือ มีวัตถุ 6 กับอารมณ์ 6 เป็นเหตุใกล้


๔. นาม

   อารมฺมเณ นมตีติ=นามํ-ธรรมชาติใด ย่อมน้อมไปสู่อารมณ์ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า นาม (หมายเอาเจตสิกในโลกิยวิปากจิต 32)

   แสดงลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน, ปทัฏฐาน ของนาม

   1. นมนลกฺขณํ มีการน้อมไปสู่อารมณ์เป็นลักษณะ

   2. สมฺปโยครสํ มีการประกอบร่วมกันกับจิตเป็นกิจ (คือ มีความเกิดดับพร้อมกับจิต  มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยอย่างเดียวกันกับจิต)

   3. อวินิพฺโภคปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไม่แยกกันกับจิต เป็นอาการปรากฏ

   4. วิญฺญาณปทฏฺฐานํ มี วิญญาณเป็นเหตุใกล้


๕. รูป

   สีตุณฺหาทิวิโรธิปจฺจเยหิ รูปฺปตีติ=รูปํ-ธรรมชาติใด ย่อมแตกทำลายไป เพราะปัจจัยอันเป็นข้าศึก มีความเย็นความร้อนเป็นต้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ลรูป(หมายเอา กัมมขรูป และจิตตชรูป)

   แสดงลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน, ปทัฏฐาน, ของรูป

   1. รุปฺปนลกฺขณํ มีการแตกทำลายไป เป็นลักษณะ

   2. วิกิรณรสํ มีการแยกอยู่เป็นกลาปเช่น จักขุทสกลาป เป็นสัมปัตติรส (คุณสมบัติ)

   3. อพฺยากตปจฺจุปฏฺฐานํ มีผลปรากฏเป็นอัพยากตฝ่ายรูป จึงไม่รู้อารมณ์

   4. วิญฺญาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้


๖. สฬายตนะ

   อายตํ สํสารวฏฺฏํ นยตีติ=อายตนํ-ธรรมชาติใด ย่อมทรงไว้ซึ่งสังสารวัฏฏ์ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อายตนะ ได้แก่ อายตนะ 12 เป็น ภายใน 6 มี ตา,หู เป็นต้น และเป็นภายนอก 6 มี รูป(แสง,ภาพช) เสียง เป็นต้น ในปฏิจจสมปบาท ทรงหมายเอาอายตนภายใน 6 คือ สฬายตนะ

   ฉ อายตนานิ=สฬายตนํ แปลง ฉ เป็น ส ลง ฬ อาคม

   แสดงลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน, ปทัฏฐาน, ของสฬายตนะ

   1. อายตนลกฺขณํ มีการทำให้วัฏฏสงสารยืดเยื้อออกไปเป็นลักษณะ

   2. ทสฺสนรสํ มีการรับกระทบอารมณ์ เช่น การเห็นเป็นต้น เป็นกิจ

   3. วตฺถุทฺวารภาวปจฺจุปฏฺฐานํ มี วัตถุ 6 ทำกิจเป็นทวารรับรู้ เป็นผลปรากฏ

   4. นามรูปปทฏฺฐานํ มี เจตสิก และกัมมชรูปเป็นเหตุใกล้


๗. ผัสสะ

   1. อารมฺภํ ผุสตีติ=ผสโส-ธรรมชาติใด ย่อมกระทบซึ่งอารมณ์ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ผัสสะ

   2. ผุสนฺติ สมฺปยุตฺตธมฺมา เอเตนาติ=ผสฺโส-ธรรมชาติใดที่เป็นเหตุให้สัมปยุตตธรรม คือ จิต และเจตสิกต้องกระทบอารมณ์ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ผัสสะ

   3. ผุสนํ=ผสฺโส-การกระทบอารมณ์ ชื่อว่า ผัสสะ

   แสดงลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน, ปทัฏฐาน, ของผัสสะ

   1. ผุสนลกฺขโณ มีการกระทบอารมณ์ เป็นลักษณะ

   2. สงฺฆฏฺฏนรโส มีการกระทำให้จิตและเจตสิกกระทบอารมณ์ไปพร้อมกับตนเป็นกิจ

   3. สงฺคติปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประชุมพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม 3 อย่าง คือ วัตถุ อารมณ์ และวิญญาณ เป็นผลปรากฏ

   4. สฬายตนปทฏฺฐาโน มีอายตนภายใน 6 เป็นเหตุใกล้


๘. เวทนา

   เวทยตีติ=เวทนา-ธรรมชาติใด ย่อมเสวยอารมณ์ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า เวทนา

   แสดงลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน, ปทัฏฐาน, ของเวทนา

   1. อนุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ

   2. วิสยรสสมฺโภครสา มีการเสวยรสของอารมณ์เป็นกิจ

   3. สุขทุกฺขปจฺจุปฏฺฐานา มีความสุขและความทุกข์เป็นผลปรากฏ

   4. ผสฺสปทฏฺฐานา มีผัสสะเป็นเหตุใกล้


๙. ตัณหา

   1. วตฺถุกามํ ปริตสฺสตีติ=ตณฺหา-ธรรมชาติใด ย่อมยินดีติดใจ ซึ่งวัตถุกาม ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ตัณหา

   2. วตฺถุกามํ ตสฺสนฺติ ปริตสฺสนฺติ สตฺตา เอตายติ=ตณฺหา-ธรรมชาติใดเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายยินดีติดใจซึ่งวัตถุกาม ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ตัณหา ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต 8

   แสดงลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน, ปทัฏฐาน, ของตัณหา

   1. เหตุลกฺขณา มีความเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงเป็นลักษณะ

   2. อภินนฺทนรสา มีความยินดีมัวเมาเพลิดเพลินวัฏฏสงสารเป็นกิจ

   3. อติตฺตภาวปจฺจุปฏฺฐานามีความไม่อิ่มไม่เบื่อหน่ายวัฎฎสงสารเป็นผลปรากฏ

   4. เวทนาปทฏฺฐานา มีเวทนาเป็นเหตุใกล้


๑๐. อุปาทาน

    1. ภุสํ อาทิยนฺติ อมุญฺจคาหํ คยฺหนฺตีติ=อุปาทานานิ-ธรรมชาติเหล่าใด ย่อมยึดถือมั่น คือ ถือไว้ไม่ยอมปล่อย ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อุปาทาน

    2. อุปาทิยนฺตีติ=อุปาทานานิ-ธรรมเหล่าใด ย่อมยึดมั่น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อุปาทาน ได้แก่ ตัณหาและทิฏฐิ ที่มีกำลังแรง

   แสดงลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน, ปทัฏฐาน, ของอุปาทาน

    1. คหณลกฺขณํ มีการยึดไว้เป็นลักษณะ

    2. อมุญฺจนรสํ มีการไม่ยอมปล่อยเป็นกิจ

    3. ตณฺหาทฬฺหตฺตทิฏฐิปจฺจุปฏฺฐานา อุปาทานมีเป็นผลปรากฏเพราะมีตัณหาและทิฏฐิที่หนักแน่นในสันดานอยู่

    4. ตณฺหาปทฏฺฐานํ มีตัณหาเป็นเหตุใกล้


๑๑. ภว(ภพ)

    กมฺมเมว ภโว =กมฺมภโว-กรรมนั่นเองเป็นภพ เพราะเป็นแดนเกิดแห่งผล จึงชื่อว่า กัมมภพ มี 29 อย่าง  คือ  กามาวจรกุศลเจตนา 8 อกุศลเจตนา 12 มหัคคตกุศลเจตนา 9

    แสดงลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน, ปทัฏฐาน, ของกัมมภพ

    1. กมฺมลกฺขโณ มีความเป็นกรรมเป็นลักษณะ

    2. ภาวนรโส มีการทำขันธ์ให้เกิดเป็นกิจ

    3. กุสลากุสลปจฺจุปฏฺฐาโน มีความกุศล อกุศลเป็นผลปรากฏ

    4. อุปาทานปทฏฺฐาโน มีอุปาทานเป็นเหตุใกล้


๑๒. อุปปัตติภว (อุปปัตติภพ)

   อุปปชฺชตีติ=อุปปตฺติ-อุปาทานขันธ์ที่เข้าถึงภพใหม่ ชื่อว่า อุปปัตติ  อุปปัติตินั่นเองเป็นภพ ในความหมายว่าเกิดขึ้นเพราะกรรม จึงชื่อว่า อุปปัตติภพ ได้แก่ ภพ 3 คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ หรือว่าได้แก่ภพ 9 คือ :-

   -ภพ 3 มีกามภพเป็นต้น เหล่านั้นนั่นแหละ

   -ภพ 3 ได้แก่ เอกโวการภพ(ภพที่มีขันธ์เดียว 1 จตุโวการภพ(ภพที่มี 4 ขันธ์) 1 ปัจจโวการภพ(ภพที่มีขันธ์ 5) 1

   -ภพ 3 ได้แก่ สัญญีภพ(ภพของสัตว์ผู้มีสัญญา) 1 อสัญญีภพ(ภพของสัตว์ผู้ไม่มีสัญญา) 1 เนวสัญญีนาสัญญีภพ(ภพของสัตว์ผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่) 1

   แสดงลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน, ปทัฏฐาน ของอุปปัตติภพ

    1. กมฺมผลลกฺขโณ มีความเป็นผลของกรรมเป็นลักษณะ

    2. ภวนรโส มีการเกิดขึ้นเป็นกิจ

    3. อพฺยากตปจฺจุปฏฺฐาโน มีวิบากนามขันธ์ คือ โลกิยวิปากจิต 32 เจตสิก 35 และ รูปขันธ์ คือ กัมมชรูป 20 อันเป็นอัพยากตธรรมเป็นผู้เข้าถึงภพใหม่ เป็นผลปรากฏ

    4. อุปาทานปทฏฺฐาโน มีอุปาทานเป็นเหตุใกล้


---------///---------


[full-post]

ปฏิจจสมุปบาท

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.