เหตุให้เกิดกุศล (ในหลักสูตรของภิธรรมทั่วไปที่ว่าด้วยเรื่องกุศลธรรม (กามาวจรกุศล) ซึ่งอ้างมาจากพระสุตตันตปิฎกบ้าง, อรรถกถาอัฏฐสาลินีบ้าง, อภิธัมมัตถวิภาวินีบ้าง, อภิธัมมาวตารบ้าง...) วางหลักไว้ว่า...
เหตุให้กุศลจิตเกิดขึ้นก็ได้แก่ "โยนิโสมนสิการธรรม" (ธรรมอันเป็นปัจจัยให้มนสิการตัดสินอารมณ์อย่างถูกต้อง,ถูกทาง,โดยชอบ) มี ๕ ประการ คือ
๑. ปุพฺเพกตปุญฺญตา เคยทำบุญไว้แต่อดีต
๒. ปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่สมควร คือประเทศที่มีสัปบุรุษ
๓. สปฺปุริสูปนิสฺสย (สปฺปุริสูปสํเสว) คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
๔. สทฺธมฺมสฺสวน ฟังธรรมของสัปบุรุษ
๕. อตฺตสมฺนาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
(ธรรมเหล่านี้ ปรากฏชัดในมงคลสูตร, จักรธรรม...)
คำสอนในสูตรใด หรือในที่ใด ๆ ก็ตาม ที่มีองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อนี้ มีครบทั้ง ๕ บ้าง ไม่ครบบ้าง (อนวเสส, อวเสส) ในที่นั้น ๆ นับว่าทรงสอนเรื่องของธรรมอันเป็นโยนิโสมนสิการ...คือธรรมอันเป็นปัจจัยให้เกิดกุศล... เริ่มต้นแต่ กามาวจรกุศล และกุศลที่สูง ๆ ขึ้นไป คือ รูปาวจรกุศล, อรูปาวจรกุศล, มรรคกุศล ฯ
๑) ปุพฺเพกตปุญฺญตา เคยทำบุญไว้แต่อดีต (กุศลชวนะที่เคยก่อไว้ในอดีตชาติ ก่อปฏิสนธิวิบากนำมาเกิดเป็นมนุษย์-เทวดา....ในภพนี้...และก่อปวัตติวิบากวิญญาณ มีจักขุ-โสตวิญญาณเป็นต้น เป็นเหตุให้ได้เห็น ได้ฟัง...คำสอนในพระพุทธศาสนา...ในเชิงของนิสสันทผล คือผลอันหลั่งไหลมาแต่การได้เกิดเป็นมนุษย์...ส่งผลให้ได้พบพุทธศาสนา...) และกุศลชวนะที่เกิดในภพนี้ มีให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น ที่ดับไปแล้ว ก็นับว่าเป็น "ปุพเพกตปุญญตา" เช่นเดียวกัน...ฯ
๒) -หลังจากได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว...นิสสันทผล (ผลที่หลั่งไหล) ยังส่งให้ได้เกิดในปฏิรูปเทส คือสถานที่อันสมควร ร่วมสมัยกับพุทธเจ้าบ้าง, หลังพุทธกาลบ้าง...สืบต่อ ๆ กันมา..เนิ่นนาน... แต่ยังมีสัตบุรุษอยู่ มีพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา อยู่... เรียกว่า "ได้อยู่ในประเทศที่สมควร"
๓) - เพราะเหตุที่อยู่ในประเทศอันสมควร มีสัตบุรุษอยู่...จึงได้คบหาสมาคมกับสัตบุรุษ ซึ่งก็อาศัยกุศลในอดีตเช่นเดียวกัน...ถ้าไม่มีกุศลในอดีตเกื้อหนุนแล้วละก็...ไม่มีทางที่จะได้คบหาสมาคมกับสัตบุรุษ แม้เกิดร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า เห็นพระพุทธเจ้าแท้ ๆ ... แต่ก็ไม่เชื่อ,ไม่เลื่อมใส...
สัตบุรุษนั่นแล ท่านเรียกว่า "กัลยาณมิตร" นับแต่พระพุทธเจ้า เป็นต้นมา ถึงพระอริยสาวก อนุพุทธสาวก...จนถึงพุทธศาสนิกชน... และกัลยาณมิตรนั่นเอง เป็นผู้ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้"
๔) - เพราะได้คบกับสัตบุรุษ... ย่อมได้ฟังธรรม ได้รับคำแนะนำในมรรคาแห่งกุศลต่าง ๆ จากสัตบุรุษ
๕) - และเพราะได้ฟังธรรมจากสัตบุรุษ จึงได้ตั้งตนไว้ชอบ (อัตตสัมมาปณิธิ) มีสัมมาทิฏฐิ คือ มีศรัทธา ได้แก่ ตถาคตโพธิศรัทธา,กัมมศรัทธา,วิปากศรัทธา,กัมมัสสกตาศรัทธา...ฯ
*องค์ประกอบทั้ง ๕ ประการ ดังกล่าวมานี้แล...ชื่อว่า "โยนิโส" ไปกระตุ้นเตือนมนสิการ คือ มโนทวาราวัชชนะที่ทำหน้าที่ โวฏฐัพพนในปัญจทวารวิถี และทำหน้าที่อาวัชชนะในมโนทวารวิถี (ชวนปฏิปาทกมนสิการ) ตัดสินอารมณ์โดยชอบ,โดยควร,โดยถูกทาง อันเป็นปัจจัยให้กุศลชวนะเกิดขึ้น...ฯ
ในมหาสติปัฏฐานสูตร ท่านกล่าวหมายเอา กุศลจิตตุปบาทที่มีปัญญาเป็นประธาน เป็นโยนิโสมนสิการ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะกุศลที่เกิดขึ้นนั้น เป็นทั้งโยนิโสมนสิการ และเมื่อดับลงไป ก็จะเป็นโยนิโสมนสิการแก่กุศลชวนวิถี ที่จะเกิดต่อมาในภายหลังอีก โดยฐานที่ชื่อว่า "ปุพเพกตปุญญตา" ด้วยอำนาจปกตูปนิสสยปัจจัย คือเป็นปัจจัยแก่กุศลที่เกิดหลัง ๆ ฯ
---------------
คำแปลของ "โยนิโสมนสิการ"
- ใส่ใจในเหตุที่ทำให้กุศลจิตเกิด
- ใส่ใจในธรรมที่ไม่วิปริตร (มหาสติปัฏฐาน)
-------------
โยนิโส มนสิกาโร ธมฺโม กลฺยาณชนฺตุโน
พหูการฺวุตฺตมตฺถสฺส ปตฺติยา สมฺปวตฺตติ.
โยนิโสมนสิการธรรม เป็นธรรมที่มีอุปการมาก
ย่อมเป็นไปเพื่อการบรรลุประโยชน์อันสูงสุด
ของกัลยาณชน.
------------
นิติเมธี //
[full-post]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ