อธิบายในบาลีข้อที่ ๑๓
แสดงการจำแนกกรรมฐานที่เหมาะสมแก่จริต
ในบรรดาจริต อย่างนี้ ราคะ โทสะ โมหะ วิตกจริต เป็นจริตที่ไม่ดีไม่งาม ดังนั้น พระโยดีบุคคลจึงต้องใช้กรรมฐานที่ไม่ถูกกับจริตเหล่านี้ เพื่อทำลายให้หมดไปจากจิตตสันดาน สำหรับศรัทธาและพุทธิจริตทั้ง ๒ นี้ เป็นจริตที่ดีที่งาม ดังนั้นพระโยคีบุคคลจึงจำเป็นที่จะต้องประดับประคองส่งเสริมโดยการใช้กรรมฐานให้ถูกกับจริตทั้ง นี้ เพื่อแก่การที่จะให้เจริญยิ่งๆ ขึ้น เสมือนหนึ่งผู้ที่มีโรคต้องบริโภคยาและอาหารที่เป็นปฏิปักษ์กับโรคนั้น ในอันที่จะทำลายให้หายไป แต่ถ้าใช้ยาและอาหารที่ถูกกับโรคนั้นเข้า แทนที่โรคจะหายก็กลับทำให้โรคนั้น กำเริบขึ้นจนได้รับอันตรายก็ได้ ส่วนผู้ที่ไม่มีโรคและมีสุขภาพดี ก็ต้องรับประทานอาหารที่ดีๆ เพื่อช่วยบำรุงรักษาสุขภาพที่ดีอยู่แล้วนั้นให้ดียิ่งขึ้น และเว้นจากอาหารไม่ดี ที่จะไปทำลายสุขภาพให้เสียอีกด้วย ส่วนการใช้กรรมฐานที่ไม่เหมาะสมแก่จริต ถึงแม้ไม่มีโทษ แต่ก็ทำให้ได้ผลช้า
ก. ฉะนั้น ผู้มีราคจริต จึงต้องเจริญอสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ ราคะจึงจะสงบแล้วทำให้ฌานเกิดขึ้น ถ้าเจริญอัปปมัญญา ๔ หรือวัณณกสิณ ๔ ราคะก็จะทวีมากขึ้น ทำให้ฌานเกิดขึ้นไม่ได้
ข. ผู้มีโทสจริต ธรรมชาติของโทสะ เป็นสภาพที่ไม่สวย ไม่งาม น่าเกลียดอสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ ก็มีสภาพไม่สวย ไม่งาม น่าเกลียด เช่นกัน ฉะนั้น ผู้ที่มีโทสจริต เจริญกรรมฐานนี้เข้า โทสะที่มีอยู่ก็จะมีมากขึ้น ฌานก็ไม่สำเร็จ ส่วนอัปปมัญญา ๔ เป็น สภาพที่ทำให้จิตใจเยือกเย็น ชุ่มชื่น เบิกบาน และวัณณกสิณ ๔ ก็เป็นสภาพที่สวยงาม สามารถทำให้จิตใจของผู้เพ่งเกิดปีติโสมนัส เหตุนั้นผู้มีโทสจริตจึงต้องเจริญอัปปมัญญา และ วัณณกสิณ ๔ เพื่อที่จะทำลายโทสะให้สงบลง และให้ฌานเกิดขึ้น
ค. ผู้มีโมหจริตและวิตกจริต ธรรมชาติของโมหะเป็นสภาพที่มืดมัว ย่อมทำให้จิตใจฟุ้งซ่านโลเลหวั่นไหว ธรรมชาติของวิตมีการติดนึกเรื่อยเปื่อยไป ฉะนั้นถ้าวิตกนี้มีกำลังกล้าขึ้นก็ทำให้บุคคลมีจิตใจเลื่อนลอยไม่สงบ ดังนั้น ผู้ที่มีโมหจริตและวิตกจริตถ้าเจริญมรณานุสสติ อุปสมานุสสดิ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถานที่มีความละเอียดลึกซึ้ง เห็นคุณโทษได้ยากแล้ว ก็จะทำให้โมหะและวิตกทวีกำลังขึ้นส่วนอานาปานัสสตินั้น ไม่มีความลึกซึ้งและปรากฏชัดอยู่ทุกๆ ขณะที่หายใจเข้าออกดังนั้น ผู้รู้ทั้งหลายจึงได้กล่าวว่า ถ้ามีวิตกมากจนถึงกับนอนไม่หลับแล้วก็จงกำหนดลมหายใจเข้าออกเหตุนั้นผู้ที่มี โมหะ หรือวิตกจริต จึงต้องเจริญอานาปานัสสติเพื่อจะได้ทำลายโมหะและวิตกให้สงบลงและให้ฌานเกิดขึ้น
ฆ. ผู้มีศรัทธาจริต ธรรมชาติของศรัทธานั้น เป็นสภาพที่มีความเชื่อ ความเลื่อมใส ฉะนั้น เมื่อได้รู้ได้เห็นคุณความดีของพระธรรม และศีล สมาธิ ปัญญาของพระพุทธ พระสงฆ์แล้ว ศรัทธาก็จะทวียิ่งขึ้น เหตุนั้นผู้มีศรัทธาจึงต้องเจริญอนุสสติ ๖ มีพุทธานุสสติ เป็นต้นจนถึง เทวตานุสสติ เพื่อจะให้ศรัทธาแก่กล้าขึ้น
ง. ผู้มีพุทธิจริต ธรรมชาติของปัญญานั้น เป็นสภาพที่มีความรู้แจ้งแทงตลอดโดย ไม่มีสิ่งปกปิดกำบังสภาพความเป็นจริงของอารมณ์นั้นๆ ได้ ฉะนั้น เมื่อได้พิจารณาในอารมณ์ที่มีสภาพละเอียดสุขุมแล้ว ปัญญาก็จะมีความเฉียบแหลมแก่กล้าขึ้นไปอีก เหตุนั้น ผู้มีพุทธิจริตจึงต้องเจริญกรรมฐาน ๔ อย่าง คือ มรณานุสสติอุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถาน เพื่อเป็นการอบรมปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เฉียบแหลมเพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้นไป
กรรมฐานที่เหมาะสมแก่จริตทั่วไป
จ. มหาภูตกสิณ ๔ อากาสกสิณ อาโลกกสิณ อารุปปกรรมฐาน ๔ รวม ๑๐ อย่างนี้ บุคคลที่มีจริตใด ๆ ก็ตาม เมื่อได้มีการเจริญแล้ว ย่อมข่มกิเลสนิวรณ์ให้สงบลงแล้ว. ให้ฌานเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น พระอนุรุทราจารย์จึงได้กล่าวว่าเหมาะสมแก่ผู้มีจริตทั่วไป แต่มีข้อพิเศบอยู่ว่า ผู้มีโมหจริตและวิตกจริตจะเจริญกสิณ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ต้องมีการปฏิบัติดังนี้ คือ
ฉ. ผู้มีโมหจริตต้องใช้ ปูถุลกสิณ คือ องค์กสิณที่มีขนาดกว้างเท่าลานข้าวสำหรับเพ่ง ถ้าองค์กสิณเล็กไป ก็จะทำให้เกิดความอึดอัด เผลอเรอ ใจลอย ส่วนผู้มีวิตกจริตต้องใช้ขุทกกสิณ คือ องค์กสิณที่มีขนาดโตเท่ากระด้ง หรือ เล็กประมาณเท่าจานข้าว ถ้าองค์กสิณใหญ่นัก ก็ไปสนับสนุนวิตกให้นึกพล่านมากขึ้นเป็นไปตามองค์กสิณที่กว้างใหญ่นั้น สำหรับผู้มี ราคะ โทสะ ศรัทธา พุทธิจริตนั้น ใช้เพ่งองค์กสิณขนาดกลางจึงจะเหมาะสม
อนึ่งการจำแนกกรรมฐานที่เหมาะสมกับจริตที่ได้ชื่อว่า สัปปายเภท ดังที่กล่าวนี้ หาใช่บังคับไม่ให้ทำการเจริญกรรมฐานอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมกับจริตของตนแต่อย่างใดไม่ เพียงแต่เป็นการชี้แจงให้ทราบว่า กรรมฐานใดเหมาะสมแก่จริตใด เมื่อต้องการเจริญก็จะได้เลือกเจริญให้ถูกแก่จริตของตนเท่านั้น สมดังที่แสดงไว้ในปรมัตถทีปนี้มหาฎีกาว่า สพฺพญฺเจติ อุชุวิปจฺจนีกวเสน เจว อติสปฺปายตาย จ วุตฺติ ฯ แปลความว่า ท่านได้กล่าวเนื้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับสัปปายเภทเหล่านี้ เพราะเป็นกรรมฐานที่ไม่ถูกต้องกันกับจริตไม่ดีโดยตรง อย่างหนึ่ง และเบีนกรรมฐานที่ถูกกันกับจริตมากที่สุด อย่างหนึ่งนั้นเอง
เพราะขึ้นชื่อว่ากรรมฐานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานอย่างไหน ย่อมสามารถทำลายจริตที่ไม่ดี และอุดหนุนส่งเสริมจริตที่ดี มีศรัทธาจริต และพุทธิจริต ให้เจริญยิ่งขึ้นได้ทั้งสิ้น ฉะนั้น เมื่อว่ากันโดยสามัญแล้ว จะใช้อย่างไหนก็ได้ในกรรมฐาน ๔๐ นี้
อธิบายในบาลีข้อที่ ๑๔
แสดงการจำแนกกรรมฐานโดยภาวนา ๓
ก. ตามธรรมดาผู้ที่จะทำการเจริญกรรมฐานนั้น ไม่ว่าจะเจริญกรรมฐานใด ถ้าเว้นเสียจากบริกรรมภาวนาเสียแล้ว อุปจารภาวนาอันเป็นกุศลจิตตุปบาทที่ใกล้ต่อฌานก็ดี และอัปปนาภาวนานที่เป็นตัวฌานก็ดี เหล่านี้ก็จักไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลยดังนั้น บริกรรมภาวนาจึงได้ในกรรมฐานทั้งหมด
ข. กรรมฐาน ๑๐ อย่าง ถือ อนุสสติ ๘ มีพุทธานุสสติเป็นต้น จนถึงมรณานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถาน ๑ รวม ๑๐ อย่างนี้ ไม่สามารถทำให้กุศลจิตตุปบาทของผู้เจริญเข้าถึงอัปปนาภาวนา ซึ่งเป็นมหัคคตฌานได้เพียงแต่ให้เข้าถึงอุปจารภาวนาเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะกรรมฐานเหล่านี้มีอารมณ์เป็นปรมัตถ์อันละเอียดสุขุมลุ่มลึก องค์ฌาน ๕ มีวิตกเป็นต้น มิสามารถที่จะตั้งอยู่ในอารมณ์กรรมฐานเหล่านี้จนถึงสมาธิมีกำลังแก่กล้าให้ฌานเกิดได้ อุปมาเหมือนเรือที่ทอดสมออยู่กลางน้ำลึก เรือมิอาจหยุดอยู่กับที่ได้ เนื่องจากสมอที่ทอดลงไปมิได้หยั่งลงถึงที่ก็ฉันนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และพระนิพพานนั้น นอกจากจะมีความละเอียดสุขุมลุ่มลึกแล้ว ยังมีความกว้างขวางลึกซึ้งเหลือที่จะนับจะประมาณได้อีกด้วย ซึ่งจะระลึกอยู่แต่ในพระคุณบทใดบทหนึ่งก็ไม่ได้ ผู้เจริญจะต้องระลึกไปในพระคุณอันกว้างขวางลึกซึ้งนั้นตามสติปัญญาของตน เหตุนั้นสมาธิของผู้นั้นจึงไม่มีกำลังพอที่จะเข้าถึงฌานได้ สมดังที่พระฎีกาจารย์ได้แสดงไว้ว่า
ปรมตฺถคมฺภีรตฺตา เนกตฺตา เนกลมฺพโต
พุทฺธานุสฺสติอาทีสุ อุปจาโรว นาปฺปนา ฯ
แปลความว่า ในกรรมฐาน ๑๐ อย่าง มีพุทธานุสสติเป็นต้น อุปจารภาวนาเท่านั้นที่เกิดขึ้นได้ ส่วนอัปปนาภาวนานั้นเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะอารมณ์เป็นปรมัตถ์มีความละเอียดสุขุมลึกซึ้ง ประการหนึ่ง และต้องระลึกไปในพระพุทธคุณอย่างกว้างขวางตามที่พระคุณอยู่อย่างกว้างขวางนั้น ประการหนึ่ง
ค. กรรมฐานที่เหลือ ๓๐ ได้แก่ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อานาปานัสสติ ๑ อัปปมัญญา ๔ อารุปป ๔ ทั้งหมดนี้ ย่อมทำให้กุศลจิตตุปบาทของผู้เจริญเข้าสู่ขั้นอัปปนาภาวนาได้นั้น ก็เพราะนอกจากวิญญาณัญจายตนฌานและเนวสัญญานาสัญญายตนฌานทั้ง ๒ แล้ว กรรมฐานเหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวกับบัญญัติซึ่งเป็นอารมณ์ของปฐมฌานเป็นต้นบ้าง เป็นอารมณ์ของอากาสานัญจายตนและอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนั้น จึงไม่มีข้อที่น่าสงสัยแต่อย่างใดในการที่ฌานเกิดขึ้น
สำหรับ อารุปปกรรมฐาน ๒ ที่มีอารมณ์เป็นปรมัตถ์ แต่ฌานก็เกิดได้นั้นก็เพราะว่าการเกิดขึ้นของอรุปฌานนั้นเป็น อารัมมณาติกกมฌาน ความหมายว่าเวลาใดภาวนาจิตของผู้เจริญสามารถก้าวล่วงละทิ้งอารมณ์ของฌานเบื้องต่ำจากใจ แล้วทำให้ อารมณ์ใหม่ปรากฏขึ้นแทนขณะใด ในขณะนั้นฌานเบื้องบนก็เกิดขึ้น ไม่ว่าอารมณ์ใหม่จะเป็นบัญญัติหรือปรมัตถ์ ขอแต่ให้อารมณ์กรรมฐานกับฌานตรงกันเท่านั้น เหตุนี้แหละ อารุปปกรรมฐาน ๒ จึงให้ฌานเกิดขึ้นได้
มีข้อที่น่าคิดอยู่ว่า นิพพานก็เป็นปรมัตถอารมณ์เหมือนกัน แต่ไฉน มรรค ผล จึงเกิดได้ ที่เป็นดังนี้ เพราะเป็นด้วยอำนาจแห่งภาวนาจิตที่เกิดขึ้นตามลำดับของวิสุทธิ ๗ และวิปัสสนาญาณนั้นเอง หมายความว่า แม้พระนิพพานจะมีความละเอียดลึกซึ้งสักปานใดก็ตาม เมื่อจิตใจของพระโยคีบุคคลได้มีการอบรมด้วยภาวนาไปตามลำดับชั้น จนกระทั่งถึงวิสุทธิที่ ๖ และมีสังขารุเปกขาญาณเป็นเครื่องประกอบขั้นสุดท้ายแห่งภาวนาจิตนั้นเอง นิพพานอารมณ์ก็จักปรากฏพร้อมทั้งมรรด ผล เกิดขึ้น ดังนั้น ท่านฎีกาจารย์จึงได้แสดงไว้ว่า
ปรมตฺถคมฺภีเรปี ภาวนาอนุกฺกมโต
โลกุตฺตโร อารุปฺปา ตุ อาลมฺพสมติกฺกมา ฯ
แปลความว่า แม้นิพพานเป็นปรมัตถอารมณ์มีความละเอียดสึกซึ้งสัก
เพียงใดก็ตาม แต่ด้วยอำนาจแห่งภาวนาจิตที่แก่กล้าเกิดขึ้นตามลำดับวิสุทธิ และวิปัส-
สนาญาณ โลกุตตรอัปปนาก็เกิดขึ้นได้ ส่วนอารุปปกรรมฐาน ๒ ที่มีปรมัตถ์เป็น
อารมณ์ฌานก็เกิดได้นั้น เพราะเนื่องด้วยภาวนาจิตที่สามารถก้าวล่วงอารมณ์ของฌาน
เบื้องต่ำเสียได้นั้นเอง
-------///-------
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ