น. ๑๒๐๖ (คัมภีร์วิสุทธิมรรค)
นิคมกถา
[๘๙๑) ข้าพเจ้าตั้งคาถานี้ คือ :
สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏเย ชฏํ ฯ
แปลความว่า
นรชน ผู้มีปัญญา เป็นภิกขุ มีความเพียร มีปัญญา
เครื่องบริหาร ตั้งตนไว้ในศีลแล้วทำสมาธิจิต และปัญญา
ให้เจริญอยู่ เธอจะพึงถางรกชัฏอันนี้เสียได้ ฯ
ได้กล่าวคำใดไว้ว่า:-
บัดนี้ ข้าพเจ้า (หมายเอาพระมหาพุทธโฆสาจารย์) จัก
บรรยายความแห่งพระพุทธนิพนธคาถาที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงแสวงหาพระคุณยิ่งใหญ่ตรัสวิสัชนาไว้แล้วนี้ อันต่าง
ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ตามที่เป็นจริงต่อไป
โยคีบุคคลเหล่าใดในพระศาสนานี้ ได้รับการ
บรรพชาอันหาได้ด้วยในพระศาสนาของพระชินเจ้าแล้ว
แม้ถึงจะต้องการความบริสุทธิ์ เมื่อไม่รู้จักทางแห่งความ
บริสุทธิ์อันเป็นทางตรง ทางเกษมซึ่งสงเคราะห์ด้วยศีล
เป็นต้น ตามที่เป็นจริงแล้ว ก็จะไม่บรรลุถึงซึ่งความ
บริสุทธิ์ได้ แม้ถึงจะเพียรพยายามอยู่ก็ตาม
ซึ่งมีอันไตร่ตรอง ข้าพเจ้าจักรจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ถูกต้องดีแล้ว โดยอิงอาศัยเทศนานัยของพระเถระทั้งหลาย
ชาวมหาวิหาร อันจะทำความปราโมชให้แก่โยคีบุคคล
เหล่านั้น
เมื่อข้าพเจ้ารจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นโดยความเคารพ
ขอสาธุชนทั้งหลายผู้ประสงค์ความบริสุทธิ์สิ้นทั้งมวล จง
ใคร่ครวญดูโดยความเคารพเทอญ ดังนี้
วิสุทธิมรรคนี้นั้น ก็เป็นอันข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วด้วยพรรณนาความดังกล่าวนี้
-----------------------
น. ๑๒๐๗
(ปริจเฉทที่ ๒๓ ปัญญาภาวนานิสังสนิเทศ)
[๘๙๒] ก็แล ในวิสุทธิมรรคนั้น
วินิจฉัยแห่งอรรถทั้งหลาย ต่างโดยคุณมีศีลเป็นต้น
เหล่านั้นใด เป็นวินิจฉัยที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถานัย
แห่งนิกายทั้ง วินิจฉัยนั้นพ้นจากโทษคือความปะปน
แห่งนิกายอื่นทั้งสิ้น ข้าพเจ้า นำเอาวินิจฉัยทั้งปวงนั้น มา
ประกาศไว้ เป็นส่วนมาก เหตุใด เพราะเหตุนั้น ความ
เอื้อเนื้อในวิสุทธิมรรคนั้น พระโยคีทั้งหลาย ผู้มีปัญญา
หมดจด ปรารถนาวิสุทธิ จึงควรทำแท้แล
[๘๙๓] ข้าพเจ้าผู้หวังความ ตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม ได้
รับคำเชื้อเชิญจากท่านพระสังฆปาละ ผู้เกิดในวงศ์
ของภิกษุชาวมหาวิหาร ซึ่งเป็นฝ่ายเถรวาท มีชื่อ
เสียงเป็นวิภัชชวาทีประเสริฐสุด เป็นผู้มีความรุ่งเรือง
มีความประพฤติสะอาด เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา
ประกอบด้วยวินัยและอาจาระ ประกอบ (ความ
เพียร ในการปฏิบัติ มีใจประดังด้วยคุณ มีขันติ โสรัจจะ
และเมตตา เป็นต้น แล้วรจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้ขึ้น
ได้รับกองบุญใด ด้วยเดชแห่งกองบุญนั้น ขอสรรพสัตว์
จงประสบสุขเถิด
[๘๙๔] คัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้แล จบลงโดยพระบาลี ๕๘ ภาณวาร
โดยปราศจากอันตราย ในที่นี้ ฉันใด ขอมโนรถทั้งหลาย
ที่ถึงความดีงามทุกอย่างของสัตวโลก จงปราศจาก
อันตรายสำเร็จโดยเร็วพลัน ฉันนั้นเหมือนกันเทอญ
[๘๙๕] พระเถระผู้ควรจะเรียกว่า โมรัณฑเขฏกะ มีนามไธย ที่ครูทั้งหลาย
ขนานนามให้ว่า "พุทธโฆสะ"
๑. ผู้ประดับด้วยศรัทธา พุทธิ และวิริยะอันหมดจดอย่างยิ่ง
๒. ผู้เด่นด้วยคุณสมุทัย มีศีล อาจาระ อาชวะ และมัททวะ เป็นต้น
๓. ผู้สามารถในการหยั่งลงสู่ป่าชัฏ (ข้อวินิจฉัยที่ยุ่งยาก ได้ทั้งในลัทธิฝ่าย
ตน และในลัทธิฝ่ายอื่น
-----------------------
น. ๑๒๐๘ (คัมภีร์วิสุทธิมรรค)
๔. ผู้ประกอบด้วยความเฉียบคมแห่งปัญญา
๕. ผู้มีอานุภาพแห่งญาณอันไม่ขัดข้องในคำสอนของพระศาสดา ที่
จำแนกเป็นปริยัติคือพระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา
๖. ผู้เป็นนักไวยากรณ์ใหญ่
๗. ผู้ประกอบด้วยความงามแห่งถ้อยคำอันไพเราะเป็นเลิศ ที่ความถึง
พร้อมแห่งกรณ์ ทำให้เกิดเสียงเปล่งออกมาได้สะดวก
๘. ผู้เป็นนักพูดชั้นเยี่ยม พูดได้ทั้งผูกทั้งแก้
๙. ผู้เป็นมหากวี
๑๐. ผู้เป็นอลังการแห่งวงศ์ของเหล่าพระเถระ ชาวมหาวิหารผู้เป็นประทีป
แห่งเถรวงศ์ มีความรู้อันไม่ข้องขัดในอุตริมนุสสธรรม ซึ่งปราศัยไป
ด้วยคุณต่าง ๆ มีอภิญญา ๖ เป็นต้น มีปฏิสัมทิภาอันแตกฉานเป็น
บริวาร
๑๑. ผู้มีความรู้หมดจด กว้างขวาง
ได้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรคไว้แล้ว
[๘๙๖] ขอคัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้ จงตั้งอยู่ในโลกแสดงนัย
แห่งวิสุทธิ มีศีลเป็นต้น แก่เหล่ากุลบุตรผู้แสวงหาธรรม
เครื่องสลัดตนออกจากโลก ตราบเท่าที่พระนามว่า
"พุทโธ" ขององค์พระโลกเชษฐ์ผู้เป็นมหาฤๅษีเจ้า มี
พระหฤทัยบริสุทธิ์ คงที่ ยังเป็นไปอยู่ในโลกเทอญฯ
คัมภีร์วิสุทธิมรรค จบบริบูรณ์
--------///---------
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ