ปริจเฉทที่ ๒๒

ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ


๑๓. โคตรภูญาณ

       [๘๐๖] ต่อจากอนุโลมญาณนี้ไป ก็เป็น โคตรภูญาณ โคตรภูญาณนั้นไม่นับเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (และ) ไม่นับเป็นญาณทัสสนวิสุทธิ เพราะตั้งอยู่ในฐานะหันมาสู่มรรค เป็น อัพโพหาริก (คือจะกล่าวว่าอยู่ในวิสุทธิฝ่ายใดมิได้) อยู่ในระหว่างกลางนั้นเอง แต่ถึงการนับว่า "วิปัสสนา" เพราะตกอยู่ในกระแสของวิปัสสนาแล้ว

       ส่วนญาณในมรรค ๔ คือโสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑ อนาคามิมรรค ๑ อรหัตตมรรค ๑  เหล่านี้ เรียกชื่อว่า "ญาณทัสสนวิสุทธิ"

       ในมรรคทั้งหลาย ๔ นั้น ความจริง ขึ้นชื่อว่ากิจไร ๆ อื่น ที่โยคีผู้มีความปรารถนาจะต้องทำ หามีไม่ เพราะว่ากิจใดซึ่งเป็นกิจที่โยคีท่านนี้จะต้องทำ เมื่อท่านทำวิปัสสนาซึ่งมีอนุโลมญาณเป็นญาณสุดท้ายให้บังเกิดขึ้น ก็ได้ทำ(กิจนั้น) เรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับท่านผู้มีอนุโลมญาณบังเกิดขึ้นอย่างนี้แล้ว เมื่ออนุโลมญาณแม้ทั้ง ๓ (หรือ ๒) เหล่านั้น ได้ทำลายความมืด (คือกิเลส) ชนิดหนาๆ ที่ปิดบัง (อริย) สัจจะอยู่ ให้อันตรธานไปตามสมควรแก่กำลังของตนๆ แล้วจิตของโยคีท่านนั้น ก็ไม่แล่นไป ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมไป ไม่ข้อง ไม่ติด ไม่เกาะ ในสังขารทั้งปวง(แต่) ถอยกลับ งอกลับ วกกลับ เหมือนหยาดน้ำ กลอกกลิ้งกลับจากใบบัว นิมิต(คือสังขาร) ที่เป็นอารมณ์ทั้งปวงก็ดี ความเป็นไป (ของสังขาร) ที่เป็นอารมณ์ทั้งปวงก็ดี ยังปรากฏโดย ปลิโพธ (คือสิ่งขัดขวาง) อยู่ในทันที เมื่ออารมณ์คือนิมิตและความเป็นไป (ของสังขาร) ทุกประการปรากฏโดยปลิโพธอยู่นั้น ณ ตอนท้ายสุดแห่งอาเสวนะ (๓ หรือ ๒ ครั้ง *(1) ของอนุโลมญาณ โคตรภูญาณ ที่เป็นญาณถึงยอด เป็นที่สุดของ

---------------

(1) บริกรรม อุปจาร และ อนุโลม หรือ ๒ ได้แก่ อุปจาร,อนุโลม

---------------

น. ๑๑๓๒    คัมภีร์วิสุทธิมรรค


โคตรภู ก็เกิดขึ้น ทำนิโรธคือพระนิพพานอันปราศจากสังขาร ไม่มีนิมิต ไม่มีความเป็นไป ให้เป็นอารมณ์ ก้าวย่างเพื่อข้ามโคตรปุถุชน เริ่มพ้นการเรียกว่าปุถุชน พ้นภูมิปุถุซน ก้าวลงสูโคตรพระอริยะ สู่การเรียกขานว่า พระอริยะ สู่ภูมิพระอริยะ ซึ่งเป็นการรำพึงถึงครั้งแรกคำนึงถึงเป็นครั้งแรก คิดคำนึงถึงเป็นครั้งแรก ในอารมณ์พระนิพพาน ทำให้สำเร็จความเป็นปัจจัยของ (อริย) มรรคโดยอาการ ๖ ประการ คือโดยอนันตรปัจจัย ๑ สมนันตรปัจจัย ๑ อาเสวนปัจจัย ๑ อุปนิสสยปัจจัย ๑ นัตถิปัจจัย ๑ และวิคตปัจจัย ๑ ไม่หวนกลับมาอีก ซึ่ง (เป็นญาณที่) ท่านกล่าวระบุถึงไว้ว่า

       "ปัญญาในการหวนกลับด้วยการออกจากสังขารภายนอก เรียกว่า โคตรภูญาณเป็นอย่างไร ? 

       เรียกว่า โคตรภู เพราะครอบงำความเกิดขึ้น (ของสังขารทั้งหลาย) เรียกว่า โคตรภู เพราะครอบงำความเป็นไป (ของสังขาร ... เพราะครอบงำความคับแค้นใจเรียกว่า โคตรภู เพราะครอบงำนิมิตคือสังขารภายนอก เรียกว่า โคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น (ของสังขาร) เรียกว่า โคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ... ฯลฯ สู่ความไม่คับแค้นใจ สู่นิโรธ สู่พระนิพพาน เรียกว่า โคตรภู เพราะครอบงำความเกิดขึ้น (ของสังขาร) แล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น (คือพระนิพพาน)"(1)


พึงขยายความพิสดารด้วยประการฉะนี้


๑๔. มัคคญาณ - ญาณในอริยมรรค

       ๑. โสดาปัตติมรรคญาณ

       [๔๐๗] ในการนั้น มีอุปมาแสดงถึงอาการที่อนุโลมญาณและโคตรภูญาณ แม้ดำเนินไปในวิถีเดียวกัน โดยอาวัชชนะเดียวกัน แต่ดำเนินไปในอารมณ์ต่างๆ กัน ดังต่อไปนี้


อุปมาด้วยบุรุษโดดข้ามคูน้ำ

       เหมือนหนึ่งว่าบุรุษผู้ (อยู่ฝั่งข้างนี้) ปรารถนาจะกระโดดข้ามคูน้ำกว้างใหญ่ แล้วไปยืน อยู่ ณ ฝั่งฟากข้างโนั้น จึงวิ่งมาโดยเร็ว แล้วยึดเส้นเชือกที่ผูกห้อยอยู่กับกิ่งของต้นไม้ หรือจับไม้ค้ำยัน ณ ฝั่งข้างนี้ของคู แล้วโดดขึ้น (ขณะที่) มีการโน้มน้อมเอียง

-------------------

(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๕๙/๙๔-๙๖

------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๓๓


โอนไปยังฝั่งโน้น ถึงส่วนเบื้องบนของฝั่งโน้นแล้ว จึงละเส้นเชือกหรือไม้ค้ำยันนั้นซวนเซไปตกลง ณ ฝั่งโน้นแล้วจึงค่อย ๆ ทรงตัวยืนอยู่ ฉันใด แม้โยคาวจรท่านนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความปรารถนาเพื่อประดิษฐานอยู่ในพระนิพพานซึ่งเป็นฝั่งโน้นของภพ ๓ โยนิ ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ และ สัตตาวาส ๙ จึงวิ่งมาโดยเร็วด้วยญาณมี อุทยพยานุปัสสนาญาณ เป็นต้น แล้วเหนี่ยวเส้นเชือกคือรูปที่ผูกห้อยไว้กับกิ่งของต้นไม้คืออัตภาพ(ร่างกาย) หรือว่ายึดไม้ค้ำยันคือขันธ์มีเวทนาข้นธ์เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการรำพึงของอนุโลมญาณว่าไม่เที่ยง หรือว่าเป็นทุกข์ หรือว่าเป็นอนัตตา ยังไม่ละเส้นเชือก"(1) คือรูป หรือไม้ค้ำยัน"(2) คือเวทนาเป็นต้นนั้นก่อน โลดขึ้นด้วยอนุโลมจิตดวงที่ 1 (บริกรรม) แล้วเป็นผู้มีจิตใจโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่พระนิพพาน ด้วยอนุโลมจิตดวงที่ ๒  (อุปจาร) ดุจบุรุษผู้มีกายโน้มน้อมเอียงโอนไปยังฝั่งข้างโน้น (ของคูน้ำ) เป็นผู้อยู่ใกล้พระนิพพานที่ตนจะพึงถึง ณ บัดนี้ ด้วยอนุโลมจิตดวงที่ ๓ ดุจบุรุษผู้ (โดด) ถึงส่วนเบื้องบนของฝั่งโน้น แล้วละอารมณ์คือสังขาร (รูปหรือเวทนาเป็นต้น) นั้นด้วยความดับ ของ (อนุโลม) จิตนั้น แล้วตกลงไปในพระนิพพานที่ปราศจากสังขารซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้น ด้วย โคตรภูจิต (มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ แต่เพราะเหตุที่ยังไม่ได้อาเสวนะ (ความคุ้นเคย) ในอารมณ์พระนิพพานเพียงครั้งเดียว จึงยังหวั่นไหว ไม่ตั้งมั่นอยู่ด้วยดีก่อน เหมือนบุรุษ (โดดข้ามคูน้ำ) ผู้นั้นซวนเซอยู่ จากนั้นก็ประดิษฐานอยู่ด้วย มรรคญาณ ด้วยประการฉะนี้

       [๘๐๘] ในญาณทั้งสองนั้น อนุโลมญาณสามารถกำจัดความมืดคือกิเลสที่ปิดบัง (อริย) สัจจะออกไปได้ แต่ทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์มิได้ ส่วนโคตรภูญาณสามารถทำพระนิพพานนั่นแลให้เป็นอารมณ์ได้ แต่มิสามารถกำจัดความมืดที่ปิดบัง(อริย) สัจจะไว้ออกไปได้ ในการทำกิจของอนุโลมญาณและโคตรภูญาณนั้น มีอุปมาดังนี้


อุปมาด้วยบุรุษดูฤกษ์นักษัตรโยคะ

       สมมติว่า บุรุษผู้มีจักษผู้หนึ่ง คิดจักรู้ฤกษ์ร่วมของดาวนักษัตร"(2) จึงออกมาในเวลากลางคืน แล้วแหงนขึ้นไปดูดวงจันทร์ ดวงจันทร์ก็ไม่ปรากฏ เพราะดวงจันทร์นั้นถูกหมู่เมฆทั้งหลายบังไว้ทันใดนั้น ก็มีลมระลอกหนึ่งตั้งขึ้นพัดพาเอาหมู่เมฆหนาๆ ออก

------------------

(1) เส้นเชือกและไม้ค้ำยัน ในที่นี้ ได้แก่ พระไตรลักษณ์ ที่กำหนดรูปนามสังขาร เป็นอารมณ์ 

(2) นักขัตตโยคะ การประจวบแห่งพระจันทร์กับดาวนักษัตร - มหาฎีกา, (บาลี) น. ๕๙๑

----------------

น.  ๑๑๓๔ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


ไป ลมอีกระลอกหนึ่ง ตั้งขึ้นแล้วพัดพาเอาหมู่เมฆชนิดกลางๆ ออกไป ลมอีกระลอกหนึ่งตั้งขึ้นแล้วพัดพาเอาหมู่เมฆบาง ๆ ออกไป แต่นั้น ครั้นท้องฟ้าปราศจากเมฆแล้วบุรุษผู้นั้นก็เห็นดวงจันทร์ แล้วรู้ฤกษ์ร่วมของดาวนักษัตรได้

       ในอุปมานั้น ความมืดคือกิเลสอย่างหนา อย่างกลาง และอย่างละเอียด ที่ปิดบังสัจจะไว้ เป็นเหมือนเมฆทั้งหลาย ๗ ชนิด อนุโลมจิต ๓ ดวง เป็นเหมือนลม ๓ ระลอกโคตรภูญาณ เปรียบบุรุษผู้มีจักษุ พระนิพพาน เปรียบประดุจดวงจันทร์ การกำจัดความมืด (คือกิเลส) ที่ปิดบัง (อริย) สัจจะออกไป ของอนุโลมจิตดวงหนึ่งๆ เปรียบเหมือนการพัดพาเอาหมู่เมฆ ๓ ชนิดออกไปโดยลำดับ ของลมระลอกหนึ่งๆ เมื่อปราศจากความมืดที่ปิดบัง (อริย สัจจะแล้วโคตรภูญาณก็เห็นพระนิพพานอันบริสุทธิ์เปรียบเหมือนเมื่อท้องฟ้าปราศจากหมู่เมฆแล้ว บุรุษผู้นั้นก็เห็นดวงจันทร์อันผ่องใส

       จริงอยู่ อนุโลมจิตทั้งหลาย สามารถกำจัดความมืดที่ปิดบัง (อริย) สัจจะได้แต่อย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถเห็นพระนิพพน  เปรียบเหมือนลม ๓ ระลอกสามารถพัดพาเอาหมู่เมฆทั้งหลายที่บังดวงจันทร์ไว้ออกไปได้  แต่อย่างเดียว  แต่ไม่สามารถเห็นดวงจันทร์ โคตรภูญาณ  สามารถเห็นพระนิพพานได้อย่างเดียว  ไม่สามารถกำจัดความมืดคือกิเลสได้  เปรียบเหมือนบุรุษผู้นั้น  สามารถเห็นดวงจันทร์ได้อย่างเดียว ไม่สามารถพัดพาเอาหมู่เมฆทั้งหลายออกไปได้ และด้วยเหตุนั้นแลท่านจึงกล่าวว่า "โคตรภูญาณ นี้ เป็นอาวัชชนะของมรรค" (คือหันมาสู่มรรค)

       ที่จริง โคตรภูญาณนั้น แม้ไม่หันมา (แต่) ก็ตั้งอยู่ในฐานะแห่งการหันมา คล้ายกับว่าให้สัญญา (นัดหมาย) แก่มรรคว่า "ท่านจงบังเกิดขึ้นอย่างนี้" แล้ว (ตัวเอง) ก็ดับไป ทั้งมรรคเองก็ไม่ละสัญญาที่โคตรภูญาณนั้นให้ไว้ บังเกิดขึ้นติดตาม (โคตรภู) ญาณนั้นโดยสืบเนื่องไม่มีระหว่างคั่นทันทีนั้น ทั้งเจาะทะลุทั้งทุบทำลายกองโลภะกองโทสะ กองโมหะ ที่ไม่เคยเจาะทะลุ ไม่เคยทุบทำลายมาก่อน


อุปมาด้วยนักยิงธนู

       [๔๐๙] ในการเจาะทะลุทุบทำลายนั้น  มีอุปมาดังนี้ เล่ากันมาว่า นักยิงธนูผู้หนึ่ง สั่งให้เขาตั้งแผ่นกระดาน (แก่นไม้สน) ซ้อนกัน ๑๐๐ แผ่นไว้ในประเทศห่างออกไปประมาณ ๘ อุสภะ*(1) แล้วเอาผ้าพันปิดหน้าตนเอง (ขึ้นสาย) ประทับลูกธนูไว้ 

-------------------

(1) ๔ ศอก = ๑ ยัฏฐิ, ๒๐ ยัฏฐิ = ๑ อุสภะ, ๘ อุสภะ - ๒๔๐ ศอก - ๒ เส้น

-----------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ ๑๑๓๕


(กับสาย) ยืนอยู่บนจักรยนต์ (กระดานหมุน) บุรุษอีกผู้หนึ่งหมุนจักรยนต์ไป เมื่อใดแผ่นกระดานอยู่ตรงหน้าของนักยิงธนู เมื่อนั้น บุรุษผู้หมุนจักรยนต์ก็ให้สัญญาด้วย(การเคาะ) ไม้ ณ ที่นั้น นักยิงธนูก็ไม่ละสัญญาเคาะไม้ ยิงลูกธนูไปเจาะทะลุกระดาน ๑๐๐ แผ่นทันที

       ในอุปมานั้น โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนสัญญาเคาะไม้ มรรคญาณ เปรียบเหมือนนักยิงธนู การที่มรรคญาณไม่ละสัญญาที่โคตรภูญาณให้ไว้ แล้วทำพระนิพพานเป็นอารมณ์ เจาะทะลุทุบทำลายกองโลภะ โทสะ และโมหะ ที่ไม่เคยเจาะทะลุมาก่อน ที่ไม่เคยทุบทำลายมาก่อน เปรียบเหมือนนักยิงธนูไม่ละสัญญาเคาะไม้ ยิงลูกธนูเจาะทะลุแผ่นกระดาน ๑๐๐ ชั้นในทันที


อานิสงส์โสดาปัตติมรรค

       [๘๑๐] อนึ่ง (โสดาปัตติ) มรรคนี้ มิใช่แต่ทำการเจาะทะลุกองกิเลสทั้งหลายมีกองโลภะป็นตัน อย่างเดียวเท่านั้น แต่ทำมหาสมุทรแห่งความทุกข์ในสังสารวัฏ ซึ่งไม่มีใครรู้ที่สุดเบื้องต้น ให้เหือดแห้งไปด้วย ปิดประตูอบายทั้งปวง ทำให้เป็นผู้มีอริยทรัพย์ ๗ ประการอยู่พร้อมพรั่ง สลัดทิ้งมิจฉามรรค (ทางดำเนินผิด) ๘ ประการเสียได้ทำเวรและภัยทุกประการให้สงบลง นำ (โยคี) เข้าถึงความเป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และดำเนินไปเพื่อได้อานิสงส์อื่น ๆ อีกหลายร้อยอย่างด้วยประการฉะนี้

       ญาณ ที่สัมปยุตด้วยโสดาปัตติมรรค ซึ่งให้อานิสงส์หลายประการ ดังกล่าวนี้ คือญาณในโสดาปัตติมรรค ฉะนี้แล

จบ (มรรค) ญาณที่ ๑


๑๕. ผลญาณ - ญาณในอริยผล

       [๘๑๑] อนึ่ง ในลำดับแห่ง (ปฐมมรรค) ญาณนี้ ผลจิต ๒ หรือ ๓ ดวง ซึ่งเป็นวิบากของโสดาปัตติมรรคจิตนั้นเอง ก็เกิดขึ้น ความจริง (วิปากจิตของโสดาปัตติมรรคจิตนี้) พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสไว้ว่า:-

--------------

น. ๑๑๓๖ คัมภีร์วิสุทธิมรรค

              "สมาธิมานนฺตริกญฺญมาหู"(1)

              "ซึ่งปราชญ์ทั้งหลายเรียกกันว่า อานันตริกสมาธิ (คือมรรคสมาธิซึ่งให้อริยผลในทันที)"

       และตรัสไว้ว่า

              ... ทนฺธํ อานนฺตริกํ ปาปุณาติ อาสวานํ ขยาย"(2)

              "(เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน) บุคคลผู้นั้นจึงบรรลุ

              อานันตริกสมาธิ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ช้า"

              ดังนี้เป็นต้น

       เพราะโลกุตตรกุศลทั้งหลายมีวิบาก (สืบเนื่องอยู่)ในลำดับโดยแน่นอน แต่อาจารย์ทั้งหลาย บางพวกก็กล่าวว่า "ผลจิต ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือ ๔ ดวง (เกิดขึ้น)" คำของอาจารย์ทั้งหลายพวกนั้นไม่ควรยึดถือ เพราะว่า โคตรภูญาณ เกิดขึ้นในตอนสุดท้ายแห่งอาเสวนะของอนุโลมญาณ เพราะฉะนั้น โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดโดยประการทั้งปวง ต้องมีอนุโลมจิต ๒ ชวนะ เพราะว่า อนุโลมจิตชวนะเดียว ยังไม่ได้อาเสวนปัจจัย และ ๑ อาวัชชนวิถีก็มี ๗ ชวนจิตเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น โยคีท่านใดมีอนุโลมจิต ๒ (อุปจาร และ อนุโลม) ชวนจิตที่ ๓ ของโยคีท่านนั้นเป็นโคตรภู ชวนจิตที่ ๔ เป็นมรรคจิต มีผลจิต ๓ ชวนะ โยคีท่านใด มีอนุโลมจิต ๓ (บริกรรม อุปจารและอนุโลม) ชวนจิตที่ ๔ ของโยคีท่านนั้นเป็นโคตรภู ชวนจิตที่ ๕ เป็นมรรคจิต มีผลจิต ๒ ชวนะ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวไว้ (ข้างต้น) ว่า "ผลจิต ๒ หรือ ๓ ดวง ... ก็เกิดขึ้น"

       อนึ่ง อาจารย์ทั้งหลายบางพวกก็กล่าวว่า "โยคีท่านใด มีอนุโลมจิต ๔ ชวนจิตที่ ๕ ของโยคีท่านนั้น เป็นโคตรภู ชวนจิตที่ ๖ เป็นมรรคจิต มีผลจิต ๑" แต่คำของอาจารย์ ทั้งหลายบางพวกนั้น ไม่พึงเชื่อถือเป็นสาระ เพราะท่านห้ามไว้แล้วว่า "ชวนจิตดวงที่ ๔ หรือ ที่ ๕ เป็นอัปปนา (เป็นมรรคชวนะแล้ว) ไม่เกินไปกว่านั้นเพราะใกล้ภวังค์แล้ว" ดังนี้

------------------

(1) ดูเทียบ ขุ. ขุ. (ไทย) ๒๕/๕/๑๐ 

(2) ดูเทียบ อง. จตุกุก. (ไทย) ๒๑/๑๖๒/๒๒๗

------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๓๗


       [๘๑๒] แต่ว่า โยคีท่านนี้ก็เป็นพระอริยบุคคลที่ ๒ ชื่อว่าพระโสดาบัน ด้วยอาการเช่นกล่าวมานี้ แม้ท่านจะยังเป็นผู้ประมาทอยู่มาก ท่านก็จะเร่อนท่องเที่ยวไปใน (โลก) เทวดาทั้งหลาย และใน (โลก) มนุษย์ทั้งหลาย เพียง ๗ ครั้ง (๗ ชาติ)แล้วจะเป็นผู้สามารถทำที่สุดทุกข์ได้


๑๖. ปัจจเวกขณญาณ

       แต่ในขณะสุดท้ายของ (โสดาปัตติ) ผลจิต จิตของพระโสดาบันนั้นก็หยั่งลงสู่ภวังค์ แต่นั้น มโนทวาราวัชชนะก็ตัดภวังค์เกิดขึ้น เพื่อต้องการสำรวจดูมรรค ครั้นมโนทวาราวัชชนะ นั้นดับแล้ว ชวนจิตในการกลับไปสำรวจดูมรรค ๗ ชวนะ ก็เกิดขึ้นโดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้ แล้วตกลงสู่ภวังค์อีก แล้วชวนะทั้งหลายมี (มโนทวาร)อาวัชชนะเป็นต้นก็เกิดขึ้น เพื่อย้อนกลับไปสำรวจดูผลเป็นต้น ตามนัย (ที่กล่าวแล้วในการสำรวจดูมรรค) นั้นนั่นแล ซึ่งพระอริยบุคคลท่านนี้จะสำรวจทบทวนดูมรรค ๑ สำรวจทบทวนดูผล ๑ สำรวจทบทวนดูกิเลสทั้งหลายที่ละได้แล้ว ๑ สำรวจทบทวนดูกิเลสทั้งหลายที่ยังเหลืออยู่ ๑ สำรวจทบทวนดูพระนิพพาน ๑ ด้วยการเกิดขึ้นของชวนจิตเหล่านั้น

       เพราะว่า พระอริยบุคคลท่านนั้นสำรวจทบทวนดูมรรคว่า "ข้าพเจ้ามาด้วยมรรคนี้แน่แล้ว" ๑ จากนั้นก็สำรวจทบทวนดูผลว่า "อานิสงส์ดังนี้ข้าพเจ้าได้รับแล้ว"จากนั้นสำรวจทบทวนดูกิเลสที่ละได้แล้วว่า "กิเลสทั้งหลายชื่อนี้ ๆ ข้าพเจ้าละได้แล้ว" ๑ จากนั้นสำรวจทบทวนดูกิเลสทั้งหลายที่ต้องฆ่าด้วยมรรค ๓ เบื้องสูงว่า "กิเลสทั้งหลายชื่อนี้ ๆ ของข้าพเจ้า ยังเหลืออยู่" ๑ และในที่สุด ก็สำรวจทบทวนดูพระอมตนิพพานว่า "พระธรรมนี้ ข้าพเจ้าแทงตลอดโดยอารมณ์แล้ว" ๑ พระโสดาบันอริยสาวกมีปัจจเวกขณะ (คือการสำรวจทบทวน) ๕ ประการด้วยประการดังกล่าวนี้

       และพระโสดาบันมีปัจจเวกขณะ ๕ ฉันใด แม้พระสกทาคามีและพระอนาคามีทั้งหลาย ก็มีปัจจเวกขณะ ๕ ฉันนั้น แต่ของพระอรหันต์ไม่มีการสำรวจทบทวนดูกิเลสที่เหลือแล (เพราะ ท่านละกิเลสทั้งหลายหมดแล้ว) ที่เรียกว่า ปัจจเวกขณะ (การ

---------------

น. ๑๑๓๘ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


สำรวจทบทวน) รวมทั้งหมดจึงมี ๑๙ ด้วยประการฉะนี้"(1) และนี้เป็นการกำหนดอย่างสูงเลยทีเดียว ความจริงแม้พระเสขอริยบุคคลทั้งหลายก็มีการสำรวจทบทวนดูกิเลสที่ท่านละได้แล้ว และกิเลสที่ยังเหลืออยู่บ้ง ไม่มีการสำรวจทบทวนดูบ้าง เพราะว่าโดยความที่ไม่มีการสำรวจทบทวนดูนั้นเอง เจ้าศากยะ มหานามะ (ซึ่งเป็นพระสกทาคามีอริยบุคคล) จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า "ยังมีธรรม ที่หม่อมฉันมิได้ละแล้วภายในตน ซึ่งเป็นเหตุให้สิ่งที่เรียกว่าโลภะทั้งหลายครอบงำมีชื่ออะไรอยู่อีกหรือ จิตของหม่อมฉันอยู่ในกาลบางคราว" ดังนี้"(2) ควรทราบความทั้งหมด (ในพระสูตร) โดยพิสดาร


๒. สกทาคามิมรรคญาณ

       [๘๑๓) อนึ่ง พระโสดาบันอริยสาวกนั้น ครั้นสำรวจทบทวนดู (ด้วยปัจจเวกขณญาณ) โดยอาการดังกล่าวแล้ว ยังนั่งอยู่ ณ อาสนะนั้นนั่นเอง หรือในสมัยอื่น(ต่อมา)ทำโยคะ (ความเพียรในวิปัสสนายิ่งขึ้น)เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ (สกทาคามิมรรคญาณ) เพื่อความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท (อย่างหยาบ) ท่านชุมนุมอินทรีย์ (๕)พละ (๕) และโพชฌงค์ (๗) ให้เสมอกัน แล้วบดขยี้สังขาร ซึ่งจำแนกเป็นรูป เวทนาสัญญา  สังขาร และวิญญาณนั้นนั่นแล ด้วยญาณกำหนดรู้ว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา" ทบทวนไปมา หยั่งลงสู่วิถีของวิปัสสนาญาณ เมื่อพระอริยสาวกนั้นปฏิบัติโดยอาการอย่างนี้แล้ว ครั้นอนุโลมญาณและโคตรภูญาณเกิดขึ้น โดยอาวัชชนะเดียวกัน ในตอนท้ายของสังขารุเปกขาญาณ โดยนัยที่กล่าวแล้ว (ในการทำให้ญาณทั้งหลายมีอุทยัพยญาณเป็นต้นเกิดขึ้น) นั่นแล สกทาคามิมรรคก็เกิดขึ้นในลำดับโคตรภูญาณ

       ญาณ ซึ่งสัมปยุตด้วยสกทาคามิมรรคนั้น คือญาณในสกทาคามิมรรค ฉะนี้แล

จบ (มรรค) ญาณที่ ๒

-------------------------

(1) ปัจจเวกขนญาณ ของพระโสดบัน ๕  ของพระสกทาคามี ๕  ของพระอนาคามี ๕  ของพระอรหันต์ ๔ รวมเป็น ๑๙ ปัจจเวกขณะ

(2) ดูเทียบ ม. มู. (ไทย) ๑๒/๑๗๕/๑๗๗

--------------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ  น. ๑๑๓๙


๒. พระสกทาคามีอริยบุคคล

       [๘๑๔] ควรทราบไว้ด้วยว่า ผลจิต (สกทาคามิผลจิต) ทั้งหลาย (ก็เกิดขึ้น) แม้ในลำดับของ (สกทาคามิมรรค) ญาณนี้ โดยนัยดังกล่าวไว้แล้ว (ในโสดาปัตติมรรคญาณและโสดาปัตติผลญาณ) เช่นกัน และด้วยอาการเพียงนี้ พระอริยสาวกท่านนี้ก็เป็นพระอริยบุคคลที่ ๔ มีนามว่า พระสกทาคามี เป็นผู้ที่จะกลับมายังโลกนี้ (ด้วยการถือปฏิสนธิ)เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแล้วสามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้การสำรวจทบทวนดู(ด้วยปัจจเวกขณะ) ต่อแต่นั้นไป ก็มีนัยดังกล่าวแล้วเช่นกัน


๓. อนาคามิมรรคญาณ

       อนึ่ง พระสกทาคามีอริยสาวกนั้น ครั้นสำรวจทบทวนดูโดยอาการดังกล่าวแล้วยังนั่งอยู่ ณ อาสนะนั้นนั่นเอง หรือในสมัยต่อมา ทำโยคะเพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ เพื่อละ(สังโยชน์ส่วนล่างอีก ๒ คือ) กามราคะและพยาบาท (ที่เป็นส่วนละเอียด โดยไม่เหลือพระอริยสาวกนั้น จึงชุมนุมอินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ ทำให้สม่ำเสมอกัน แล้วบดขยี้สังขารนั้นนั่นแล ด้วยญาณกำหนดรู้ว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ทบทวนไปมา หยั่งลงสู่วิถีของวิปัสสนาญาณ (อีกครั้ง) เมื่อพระอริยสาวกนั้น ปฏิบัติโดยอาการอย่างนี้แล้ว ครั้นอนุโลมญาณและโคตรภูญาณเกิดขึ้นโดยอาวัชชนะเดียวกันในตอนท้ายของสังขารุเปกขาญาณ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล อนาคามิมรรคก็เกิดขึ้นในลำดับโคตรภูญาณ

       ญาณ ซึ่งสัมปยุตต์ด้วยอนาคามิมรรคนั้น คือญาณในอนาคามิมรรค ฉะนี้แล

จบ (มรรค) ญาณที่ ๓


พระอนาคามีอริยบุคคล

       [๘๑๕] แม้ในลำดับของ (อนาคามิมรรค) ญาณนี้ ก็ควรทราบผลจิตทั้งหลาย(อนาคามิผลจิตที่เกิดขึ้น) โดยนัยดังกล่าวแล้วเช่นกัน และด้วยอาการเช่นกล่าวมานี้พระอริยสาวกท่านนี้ก็เป็น พระอริยบุคคลที่ ๖ มีนามว่า พระอนาคามี เป็นผู้เกิดผุดขึ้น ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับมาเป็นธรรมดา กล่าวคือไม่มายัง(มนุษย์) โลกนี้ด้วยการถือปฏิสนธิอีกต่อไป ปัจจเวกขณะ (คือการสำรวจทบทวนดู)ต่อแต่ (อนาคามิผลญาณ) นั้นก็มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นแล

-------------------

น. ๑๑๔๐  คัมภีร์วิสุทธิมรรค


๔. อรหัตตมรรคญาณ

       อนึ่ง พระอนาคามีอริยสาวกนั้น ครั้นสำรวจทบทวนดูโดยอาการดังกล่าวแล้ว ยังนั่งอยู่ในอาสนะนั้นนั่นเอง หรือในสมัยต่อมา ทำโยคะเพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อละ(สังโยชน์ส่วนบนอีก ๕ คือ) รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ โดยไม่เหลือเลย พระอริยสาวกนั้นจึงชุมนุมอินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ ทำให้สม่ำเสมอกันแล้วบดขยี้สังขารนั้นนั่นแหละด้วยญาณกำหนดรู้ว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ทบทวนไปมา หยั่งลงสู่วิถีของวิปัสสนาญาณ (อีกครั้ง) เมื่อท่านอริยสาวกนั้นปฏิบัติโดยอาการอย่างนี้แล้ว  ครั้นอนุโลมญาณและโคตรภูญาณเกิดขึ้นโดยอาวัชชนะเดียวกัน ในตอนท้ายของสังขารุเปกขาญาณ  โดยนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นแล พระอรหัตตมรรคก็เกิดขึ้นในลำดับโคตรภูญาณ

       ญาณ ซึ่งสัมปยุตด้วยพระอรหัตตมรรคนั้น คือญาณในอรหัตตมรรค ฉะนี้แล


จบ (มรรค) ญาณที่ ๔


พระอรหันตมหาขีณาสพ

       [๘๑๖] ถึงแม้ในลำดับของ (พระอรหัตตมรรค) ญาณนี้ ก็ควรทราบผลจิต (อรหัตตผลจิตที่เกิดขึ้น) โดยนัยดังกล่าวมาแล้วเช่นกัน และด้วยอาการเช่นกล่าวมานี้พระอริยสาวกท่านนี้ก็เป็นพระอริยบุคคลที่ ๘ มีนามว่า พระอรหันต์ เป็นพระมหาขีณาสพ ผู้ทรงร่างกายนี้เป็นวาระสุดท้าย เป็นผู้ปลงภาระลงได้แล้ว เป็นผู้บรรลุถึงความต้องการของตนเองโดยลำดับแล้ว เป็นผู้หมดสิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว เป็นผู้พ้นพิเศษด้วยความรู้โดยชอบแล้ว เป็นทักชิไณยบุคคล ชั้นสุดยอดของ (มนุษย์) โลกรวมทั้งเทวโลก ด้วยประการฉะนี้

       คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ (ข้างต้น) ว่า "ส่วนญาณในมรรค ๔ คือ โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑ อนาคามิมรรค ๑ อรหัตตมรรค ๑ เหล่านี้ เรียกชื่อว่าญาณทัสสนวิสุทธิ" ดังนี้ คำนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ หมายถึงญาณทั้งหลาย ๔ เหล่านี้ ซึ่งโยคีพึงบรรลุได้โดยลำดับ (ดังกล่าวมา) นี้ ด้วยประการฉะนี้

-------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ  น. ๑๑๔๑


อานุภาพของมรรคญาณ

       [๘๑๗] ณ บัดนี้ เพื่อทราบโดยแจ่มแจ้งถึงอานุภาพของ (มรรค) ญาณ ๔ คือ ญาณทัสสนวิสุทธิ นี้นั่นเอง (ท่านจึงกล่าวไว้ว่า)

                     ปริปุณฺณโพธิปกฺขิย-   ภาโว วุฏฺฐานพลสมาโยโค

                     เย เยน ปหาตพฺพา    ธมฺมา เตสํ ปหานญฺจ.

                     กิจฺจานิ ปริญฺญาทีนิ    ยานิ วุตฺตานิ อภิสมยกาเล

                     ตานิ จ ยถาสภาเวน   ชานิตพฺพานิ สพฺพานีติ.

              แปลความว่า

                     ๑. โยคีควรทราบความที่มรรคมีโพธิปักขิยธรรม ๓๗ บริบูรณ์

                     ๒. วุฏฐานะ

                     ๓. พลสมาโยคะ

                     ๔. การละธรรมทั้งหลายที่พึงละด้วยญาณ และ

                     ๕. กิจทั้งหลาย มีการกำหนดรู้เป็นต้น ในเวลาตรัสรู้

                     ซึ่งกล่าวไว้แล้วนั้น ตามสภาวะ ทุกประการ ฉะนี้


๑. ความที่มรรคมีโพธิปักขิยธรรม ๓๗ บริบูรณ์

       [๘๑๘ ในเรื่องที่โยคีควรทราบนั้น คำว่า "(๑) ความที่มรรคมีโพธิปักขิยธรรม ๓๗ บริบูรณ์" หมายถึง ความบริบูรณ์ของโพธิปักชิยธรรมทั้งหลาย เพราะว่า ธรรมทั้งหลาย ๓๗ คือ:-

              สติปัฏฐาน  ๔

              สัมมัปปธาน ๔

              อิทธิบาท ๔

              อินทรีย์ ๕

              พละ ๕

              โพชฌงค์ ๗

              อริยมรรคมีองค์ ๘

-------------------

น. ๑๑๔๒ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


       เหล่านี้ ชื่อว่า โพธิปักขิยะ เพราะอยู่ในฝ่ายของ อริยมรรค ซึ่งได้นามว่า "โพธะ" โดยความหมายว่า การตรัสรู้ คำว่า "เพราะอยู่ในฝ่าย" หมายความว่า เพราะตั้งอยู่ในความเป็นอุปการะ


สติปัฏฐาน ๔

       [๘๑๙) ในโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะรุดแล่นเข้าไปตั้งอยู่ในอารมณ์ทั้งหลาย สตินั่นแหละเป็นปัฏฐาน ชื่อ สติปัฏฐาน แต่ทว่า สติ นั้นจำแนกโดยส่วน ๔ เพราะดำเนินไป ด้วยการถือโดยอาการว่า ไม่งาม เป็นทุกข์ ไม่เที่ยงและเป็นอนัตตา และด้วยการทำกิจให้สำเร็จในการละเสีย ซึ่งความสำคัญ ว่างาม ว่าเป็นสุข ว่าเที่ยง ว่ามีอัตตา ในกาย ในเวทนา ในจิต และในธรรม เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔


สัมมัปปธาน ๔

       [๘๒๐]  ชื่อว่า ปธาน เพราะเป็นเหตุเริ่มตั้ง การเป็นเหตุเริ่มตั้ง อันงาม ชื่อว่าสัมมัปปธาน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัมมัปปธาน เพราะเป็นเหตุเริ่มตั้งโดยชอบ หรืออีกอย่างหนึ่ง สัมมัปปธาน นั้น ชื่อว่า งาม เพราะเว้นจากความเป็นรูปพิการด้วยกิเลสและชื่อว่า ปธาน เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐ และเพราะทำความเป็นประธานโดยความหมายว่า ทำให้สำเร็จประโยชน์และความสุข เพราะเหตุนี้ จึงชื่อ "สัมมัปปธาน" คำว่า "สัมมัปปธาน" นี้ เป็นชื่อของความเพียร

       ความเพียรนี้นั้น ทำให้สำเร็จกิจในการละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ กิจในการมิให้เกิดขึ้นแก่อกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น ๑ และทำให้สำเร็จกิจในการเกิดขึ้นแห่งกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น ๑ ทำให้สำเร็จกิจในการตั้งอยู่แห่งกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ด้วยเหตุนี้ จึงมี ๔ อย่างเพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สัมมัปปธาน ๔


อิทธิบาท ๔

       [๘๒๑] ชื่อว่า อิทธิ โดยความหมายว่า ความสำเร็จผล ซึ่งได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว เรียกว่า อิทธิบาท เพราะเป็นทางแห่งความสำเร็จ โดยความหมายว่า เป็นหัวหน้าของสัมปยุตตธรรมของอิทธินั้น และโดยความหมายว่า เป็นการกระทำภาคต้นของ

-----------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ ๑๑๔๓


อิทธิซึ่งเป็นผล อิทธิบาทนั้น มี ๔ อย่าง โดยธรรมมีฉันทะเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า อิทธิบาท ๔ ดังพระบาลี(1) (แปลความ) ว่า "อิทธิบาท ๔ คือ อิทธิบาทคือฉันทะ ๑ อิทธิบาทคือวีริยะ ๑ อิทธิบาทคือจิตตะ ๑  อิทธิบาทคือวิมังสา ๑" ดังนี้ ธรรมทั้งหลาย (มีฉันทะเป็นต้น) เหล่านี้ เป็นโลกุตตระ โดยแท้  แต่ที่เป็นโลกิยะ แม้เป็นธรรมที่ได้โดยความเป็นอธิบดี  มีฉันทะเป็นต้น  ก็เป็นอิทธิบาท  เพราะมีพระพุทธดำรัสว่า "หากว่า ภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดีแล้วได้สมาธิ ได้ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ"*(2) ดังนี้เป็นต้น


อินทรีย์ ๕ และพละ ๕

       [๘๒๒] ชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่า เป็นอธิบดี (ความเป็นใหญ่) กล่าวคือการครอบงำ เพราะครอบงำเสียซึ่งอัสสัทธิยะ (ความไม่เชื่อ) โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) ปมาทะ (ความประมาท) วิกเขปะ (ความฟุ้งซ่าน) และสัมโมหะ (ความหลง) และชื่อว่า พละ โดยความหมาย ว่า ไม่หวั่นไหว เพราะอกุศลธรรมทั้งหลายมีอัสสัทธิยะเป็นต้นครอบงำไม่ได้ อินทรีย์ และ พละ แม้ทั้งสองนั้น มี ๕ อย่าง โดยธรรมมีศรัทธาเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "อินทรีย์ ๕ พละ ๕"


โพชฌงค์ ๗ และองค์มรรค ๘

       [๘๒๓] อนึ่งธรรมทั้งหลาย ๗ มีสติเป็นต้น ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของสัตว์ผู้ตรัสรู้ และธรรมทั้งหลาย ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็น องค์ของมรรค โดยความหมายว่า เป็นไปเพื่อการนำออก (จากสังสารวัฏ) เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า "โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘"


โพธิปักขิยธรรมเกิดในจิตต่างๆ กัน

       [๘๒๔] โพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ๓๗ ดังกล่าวมานี้ เมื่อโลกียวิปัสสนายังดำเนินไปในภาคต้น (ๆ) ก็ได้ใน (ขณะ) จิตต่างๆ กัน คือ:-

--------------------

(1) ดูเทียบ อภิ. วิ. (ไทย) ๓๕/๔๕๗/๓๕๒ 

(2) ดูเทียบ อภิ. วิ. (ไทย) ๓๕/๔๓๒/๓๔๒

-------------------

น. ๑๑๔๔ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


       กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ โยคีผู้กำหนดรู้กายด้วยอาการ ๑๔ อย่าง ๑ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ โยคีผู้กำหนดรู้เวทนาด้วยอาการ ๙ อย่าง ๑ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่  โยคีผู้กำหนดรู้จิตด้วยอาการ ๑๖ อย่าง ๑ และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ โยคีผู้กำหนดรู้ธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วยอาการ ๕ อย่าง ๑

       สัมมัปปธานที่ ๑ ได้ในเวลาเห็นอกุศลที่ไม่เคยเกิดขึ้น (แก่ตน) ในอัตภาพนี้ ซึ่งเกิดขึ้นแก่บุคคลอื่นจึงคิดอยู่ว่า "อกุศลนี้เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลอื่นผู้ปฏิบัติอย่างใดข้าพเจ้าจักไม่ปฏิบัติอย่างนั้น ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ อกุศลนี้ก็จักไม่เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า" แล้วพยายามมิให้อกุศลนั้นเกิดขึ้น ๑ สัมมัปปธานที่ ๒ ได้ในเวลาเห็นอกุศลถึงความฟุ้งขึ้นแก่ตนเอง แล้วพยายามละอกุศลนั้น ๑ สัมมัปปธานที่ ๓ ได้แก่ โยคีผู้พยายามเพื่อให้ฌานหรือวิปัสสนาที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในอัตภาพนี้ให้เกิดขึ้น ๑ สัมมัปปธานที่ ๔ ได้แก่ โยคีผู้ทำให้ฌานหรือวิปัสสนาที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เกิดขึ้นบ่อยๆ โดยอาการที่ (ฌานหรือวิปัสสนานั้น) จะไม่เสื่อมหายไปเสีย ๑

       อิทธิบาททั้งหลายมีฉันทิทธิบาทป็นต้น ได้ในเวลาทำอิทธิบาททั้งหลายมีฉันทิทธิบาทเป็นตันนั้นๆ ให้เป็นธุระ (หลัก) แล้วทำกุศลให้เกิดขึ้น ... วิรัติทั้งหลายมีสัมมาวาจาเป็นต้น ได้ในเวลางดเว้นจากบาปธรรมทั้งหลายมีมิจฉาวาจาเป็นต้นด้วยประการฉะนี้


โพธิปักขิยธรรมเกิดพร้อมในจิตดวงเดียวกัน

       แต่ในเวลา (มรรค) ญาณทั้ง ๔ เหล่านี้ (แต่ละญาณ) เกิดขึ้น โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เหล่านี้ ได้มี (พร้อมกัน) ในจิตดวงเดียวกัน ส่วนในขณะผลจิต ได้โพธิปักขิยธรรมที่เหลือ ๓๓ เว้นสัมมัปปธาน ๔


(ดูคาถานี้ เป็นองค์ประกอบในกรณีที่ โพธิปักขิยธรรม เกิดในจิตดวงเดียวกัน ซึ่งมีข้อยกเว้น)

       สพฺเพ โลกุตฺตเร โหนฺติ      น วา สงฺกปฺปปีติโย

       โลกิเยปิ ยถาโยคํ                ฉพฺพิสุทฺธิปวตฺติยํ. (อภิ.สํ.โพธิปกฺขิยสํคห.)


       [๘๒๕] และในบรรดาโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายเหล่านี้ที่ได้ใน (มรรค-ผล) จิตดวงเดียวกันดังกล่าวนี้ "สติ ซึ่งมีพระนิพพานเป็นอารมณ์อย่างเดียวนั่นแหละ" ท่านเรียกว่า "สติปัฎฐาน" ด้วยทำให้สำเร็จกิจในการละความหมายรู้ มีความหมายรู้ว่างามเป็นต้น  ในอารมณ์

----------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๔๕


ทั้งหลายมีกายเป็นต้น วีริยะอย่างเดียวนั่นแหละ ท่านเรียกว่า สัมมัปปธาน ๔ ด้วยการทำให้สำเร็จกิจมีการมิให้เกิดขึ้นแห่งอกุศลทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นต้นแม้ในโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายที่เหลือ (อีก ๕ หมวด มีอิทธิบาท ๔ เป็นต้น) ก็ไม่มีการลดและการเพิ่ม


การจำแนกข้อธรรมในโพธิปักขิยธรรม ๓๗

       (๘๒๖]  อีกประการหนึ่ง ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ เหล่านั้น (เพื่อจำง่ายมีคาถาจำแนกข้อธรรมดังนี้

                     นว เอกวิธา เอโก      เทฺวธาถ จตุ ปญฺจธา

                     อฏฺฐธา นวธา เจว      อิติ ฉธา ภวนฺติ เต.

              แปลความว่า

                     ธรรมทั้งหลายนั้น มีอยู่ ๖ หมวด ดังนี้ คือธรรมทั้ง

                     หลาย ๙ ข้อ เป็นธรรมมีอยู่โดยหมวดเดียว ธรรม ๑ ข้อ

                     มีโดย ๒ หมวด อนึ่ง ธรรมเดียวมีโดย ๔ หมวด (และ) โดย

                     ๕ หมวด โดย ๘ และ ๙ หมวดด้วย

       คำว่า "ธรรมทั้งหลาย ๙ ข้อ ... โดยหมวดเดียว" หมายความว่า ธรรมทั้ง ๙ ข้อ คือฉันทะ ๑ จิตตะ ๑ ปีติ ๑ ปัสสัทธิ ๑ อุเบกขา ๑ สังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ อาชีวะ ๑ เหล่านี้ มีอยู่โดยหมวดเดียวเท่านั้น เช่น ฉันทะ เป็นฉันทิทธิบาทเป็นต้นไม่ผนวกหมวดอื่น

       คำว่า "ธรรม ๑ ข้อมีโดย ๒ หมวด" หมายความว่า เช่น ศรัทธาตั้งอยู่โดย ๒ หมวด โดยเป็นอินทรีย์และพละ

       คำว่า "อนึ่ง ธรรมเดียว มีโดย ๔ หมวด (และ) โดย ๕ หมวด" อธิบายความว่า อนึ่ง ธรรมอื่นธรรมเดียว มีโดย ๔ หมวด (และ) ธรรมอื่นอีกธรรมหนึ่ง มีโดย ๕ หมวด ในธรรมมีโดย ๔ หมวดและ ๕ หมวดนั้น สมาธิข้อเดียวตั้งอยู่โดยเป็นอินทรีย์ ๑ พละ ๑ โพชฌงค์ ๑ องค์มรรค ๑ ปัญญา (ข้อเดียว) ตั้งอยู่โดย ๕ หมวด โดยหมวดแห่งหมวดธรรม ๔ เหล่านั้น และโดยเป็นส่วนหนึ่งของอิทธิบาท (วิมังสา) ด้วย

-----------------------

น. ๑๑๔๖  คัมภีร์วิสุทธิมรรค 


       คำว่า "โดย ๘ และ ๙ หมวดด้วย" อธิบายว่า ธรรมอย่างเดียว อีกข้อหนึ่งตั้งอยู่ โดย ๘ หมวด ธรรมเดียวข้อหนึ่งตั้งอยู่โดย ๙ หมวด คือสติ (ธรรมข้อเดียว) ตั้งอยู่โดย ๘ หมวด โดยเป็นสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๑ พละ ๑ โพชฌงค์ ๑ องค์มรรค ๑ วีริยะตั้งอยู่โดย ๙ หมวด โดยเป็นสัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๑ อินทรีย์ ๑ พละ ๑ โพชฌงค์ ๑ และองค์มรรค ๑ ด้วยประการฉะนี้ 

       โดยนัยดังกล่าวมานี้

                     จุทฺทเสว อสมฺภินฺนา      โหนฺเตเต โพธิปกฺขิยา

                     โกฏฺฐาสโต สตฺตวิธา     สตฺตตึสปฺปเภทโต.

                     สกิจฺจนิปฺผาทนโต         สรูเปน จ วุตฺติโต

                     สพฺเพว อริยมคฺคสฺส      สมฺภเว สมฺภวนฺติ เตติ.

       แปลความว่า

              โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายเหล่านั้นที่ไม่ประสมกันก็มี ๑๔

              เท่านั้น โดยหมวดก็มีอยู่ ๗ หมวด โดยประเภทมี ๓๗

              เมื่ออริยมรรคเกิดขึ้น โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นก็เกิดขึ้น

              พร้อมกันทั้งหมดที่เดียว ด้วยการทำกิจของตนๆ ให้สำเร็จ

              และดำเนินไปตามรูป (สภาวะ) ของตน ด้วยประการฉะนี้

       โยคีควรทราบความที่มรรคมีโพธิปักชิยธรรม (๓๗) บริบูรณ์ ใน ญาณทัสสนวิสุทธิ นี้ ด้วยประการดังกล่าวนี้เถิด


(คาถาในโพธิปักขิยสังคหะ ปริจเฉทที่ ๗)

              สงฺกปฺปปสฺสทฺธิ จ ปีตฺยุเปกฺขา 

              ฉนฺโท จ จิตฺตํ วิรติตฺตยญฺจ 

              นเวกฐานา วิริยํ นวฏฺฐ

              สตี สมาธี จตุ ปญฺจ ปญฺญา

              สทฺธา ทุฐานุตฺตมสตฺตตึส-

              ธมฺมานเมโส ปวโร วิภาโค. 


       [๘๒๓) คำว่า "๒. วุฏฐานะ ๓. พลสมาโยคะ" (ข้างต้นนั้น) หมายความว่า ๒. วุฏฐานะ คือความออกไป และ ๓. พลสมโยคะ คือความประกอบเสมอกันแห่งพละ


๒. วุฏฐานะ ความออกไป

       เพราะว่า โลกียวิปัสสนา ยังไม่ออกไปจากนิมิตโดยแท้ เพราะมีนิมิต (สังขารธรรมรูป-นาม) เป็นอารมณ์และยังมิได้ออกไปจากความเป็นไป (ของสังขาร) เพราะยังมิได้ตัดขาดสมุทัยอันเป็นเหตุของความเป็นไป โคตรภูญาณยังมิได้ออกไปจากความเป็นไป เพราะยังมิได้

--------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ  น. ๑๑๔๗


ตัดขาดสมุทัย แต่ออกไปจากนิมิต เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ด้วยเหตุนี้ (โคตรภูญาณ) จึงเป็นการออกไปจากส่วนเดียว เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "ปัญญาในการถอยกลับ ได้แก่ การออกไปเสียจาก (อารมณ์) ภายนอก คือโคตรภูญาณ"(1) อนึ่ง ควรทราบโคตรภูญาณทั้งหมด (เป็นต้นว่า) "ชื่อว่า โคตรภู เพราะถอยกลับจากความเกิดขึ้น แล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า โคตรภู เพราะถอยกลับจากความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป"*(2) อนึ่ง (อริยมรรค) ญาณแม้ทั้ง ๔ เหล่านี้ เป็นการออกไปจากส่วนทั้ง ๒  เพราะออกไปจากนิมิต เพราะมีพระนิพพานอันหานิมิตมิได้เป็นอารมณ์ ๑ เพราะออกไปจากความเป็นไป เพราะตัดขาดสมุทัย ๑

       เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการถอยกลับ ได้แก่ การออกไปเสียจากทั้งสองส่วน คือญาณในมรรค (ถามว่า) เป็นอย่างไร ? (ตอบว่า) คือเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ โดยความหมายว่าเห็นในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ออกไปจากมิจฉาทิฏฐิออกไปจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น และจากขันธ์ทั้งหลายที่ดำเนินไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น และออกไปจากนิมิตทั้งปวงภายนอกด้วย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "ปัญญาในการถอยกลับ ได้แก่ การออกไปจากทั้งสองส่วน คือญาณในมรรค" 

       เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ โดยความหมายว่า ยก (จิต) ขึ้น (สู่อารมณ์ ... ออกไปจากมิจฉา-สังกัปปะ เรียกว่า สัมมาวาจา โดยความหมายว่า ประคับประคองไว้ ... ออกไปจากมิจฉาวาจา ...เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) โดยความหมายว่าหมั่นเพียร...เรียกว่า สัมมาอาชีวะ (อาชีพโดยชอบ) โดยความหมายว่า (บริสุทธิ์) ขาวสะอาด ...เรียกว่า สัมมาวายามะ (พยายามโดยชอบ) โดยความหมายว่าประคองไว้ ... เรียกว่าสัมมาสติ โดยความหมายว่าเข้าไปตั้งไว้ ...เรียกว่า สัมมาสมาธิ โดยความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะโสดาปัตติมรรคออกไปจากมิจฉาสมาธิ ออกไปจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น และจากขันธ์ทั้งหลายที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้นด้วย และออกไปจากนิมิตทั้งปวงภายนอกด้วย  เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "ปัญญา ในการถอยกลับ ได้แก่ การออกไปจากทั้งสองส่วน คือ ญาณในมรรค"

-------------------

(1) ดูเทียบ ขุ ป. (ไทย) ๓๑/๑๐/๒ 

(2) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/ ๕๙/๙๕

-----------------

น. ๑๑๔๘  คัมภีร์วิสุทธิมรรค


       เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ โดยความหมายว่าเห็นในขณะสกทาคามิมรรค ... เรียกว่า สัมมาสมาธิ โดยความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ออกไปจากกามราคสังโยชน์ จากปฏิฆสังโยชน์อย่างหยาบ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ ...เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ โดยความหมายว่าเห็นในขณะอนาคามิมรรค ... เรียกว่าสัมมาสมาธิ โดยความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ออกไปจากกามราคสังโยชน์ จากปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด...เรียกว่า สัมมาสมาธิ โดยความหมายว่าเห็นในขณะอรหัตตมรรค ... เรียกว่าสัมมาสมาธิ โดยความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ออกไปจากรูปราคะ จากอรูปราคะ จากมานะ จากอุทธัจจะ จากอวิชชา จากมานานุสัย จากภวราคานุสัย จากอวิชชานุสัย(1)ออกไปจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น และจากขันธ์ทั้งหลายที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น และออกไปจากนิมิตทั้งปวงภายนอกด้วย เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า "ปัญญาในการถอยกลับ ได้แก่ การออกไปจากทั้งสองส่วน คือญาณในมรรค" ดังนี้"(2)


๓. พลสมาโยคะ ความประกอบเสมอกันแห่งพละ

       (๘๒๘) อนึ่ง ในเวลาเจริญโลกียสมาบัติ ๘ กำลังสมถะมีมากยิ่ง ในเวลาเจริญอนุปัสสนามีอนิจจานุปัสสนาป็นต้น กำลังวิปัสสนามีมากยิ่ง แต่ในขณะ (บรรลุ) อริยมรรค ธรรม (ทั้งสอง) เหล่านั้น เทียมคู่กันดำเนินไป โดยความมุ่งหมายไม่ก้ำเกินกันและกัน เพราะฉะนั้น ใน (มรรค) ญาณแม้ทั้ง ๔ เหล่านี้ จึงมีความประกอบเสมอกันแห่งพละทั้งสอง (คือสมถพละ และ วิปัสสนาพละ ดังที่ท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า จิตที่ออกไปจากกิเลสประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ทั้งหลายมีความมีอารมณ์ป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ มีนิโรธ (คือ พระนิพพาน) เป็นโคจรจิตที่ออกไปจากกิเลสประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ทั้งหลาย มีวิปัสสนาโดยความหมายแห่งอนุปัสสนา มีนิโรธเป็นโคจร (มีพระนิพพานเป็นอารมณ์) เพราะเหตุนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรส (คือกิจ) ร่วมเป็นอันเดียวกัน โดยความหมายว่าออกไปเป็นธรรมเทียมคู่กัน ไม่ก้ำเกินกันและกัน ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระภิกษุทำสมถะและวิปัสสนาเทียมคู่กัน โดยความหมายว่าออกไปให้เกิดขึ้น ดังนี้"(3)

-------------------

(1) ความหมายของสังโยชน์ และ อนุสัย เหล่านี้ จะปรากฏข้างหน้า

(2) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๖๑/๑๐๑ 

(3) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๕/๔๒๒

-------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ  น. ๑๑๔๙


พึงทราบความประกอบเสมอกันแห่งพละในการออกไป ในญาณทัสสนวิสุทธินี้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้


๔. การละธรรมทั้งหลายด้วยมรรคญาณ

       [๘๒๙] คำว่า ๔. การละธรรมทั้งหลายที่พึงละด้วยญาณใด หมายความว่า ก็และในบรรดา (มรรค) ญาณทั้งหลาย ๔ เหล่านี้ ธรรมทั้งหลายใด ที่พึงละได้ด้วย(มรรค) ญาณใด ควรทราบการละธรรมทั้งหลายเหล่านั้นด้วยว่าด้วยการละสังโยชน์และกิเลสเป็นต้นแน่ละ (มรรค) ญาณ (๔) เหล่านี้ ทำการประหาน (ละ) ได้ ตามโยคะ ซึ่งธรรมทั้งหลาย กล่าวคือ:

              ๑. สังโยชน์ กิเลสอันผูกสัตว์อยู่

              ๒. กิเลส เครื่องเศร้าหมองใจ

              ๓. มิจฉัตตะ ความเห็นผิด

              ๔. โลกธรรม ธรรมครอบงำสัตวโลก

              ๕. มัจฉริยะ ความตระหนี่ ความหวง

              ๖. วิปลาส ความคลาดเคลื่อน

              ๗. คันถะ ธรรมร้อยรัด

              ๘. อคติ ความลำเอียง

              ๙. อาสวะ ธรรมไหลซึมซาบ

              ๑๐. โอฆะ ธรรมพัดพาไป

              ๑๑. โยคะ ธรรมผูกมัดไว้

              ๑๒. นิวรณ์ ธรรมอันกั้นจิต (มิให้บรรลุความดี)

              ๑๓. ปรามาส ความยึดถือ

              ๑๔. อุปาทาน ความยึดมั่น

              ๑๕. อนุสัย กิเลสอันนอนเนื่อง

              ๑๖. มละ มลทิน

              ๑๗. อกุศลกรรมบถ กรรมเป็นทางไปฝ่ายอกุศล

              ๑๘. จิตตุปบาท ความคิดที่เกิดขึ้น (อกุศล)

-----------------------

น. ๑๑๕๐   คัมภีร์วิสุทธิมรรค


สังโยชน์ ๑๐

       ในบรรดาธรรมทั้งหลายนั้น ธรรมทั้งหลาย ๑๐ มีรูปราคะเป็นตัน ท่านเรียกว่าสังโยชน์ เพราะผูกขันธ์ทั้งหลายไว้กับขันธ์ทั้งหลาย ผูกกรรมไว้กับผล หรือว่าผูกสัตว์ทั้งหลายไว้กับทุกข์ เพราะว่าธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ยังมีอยู่ดราบใด ขันธ์ทั้งหลายผลและทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ยังไม่ขาดไปตราบนั้น อนึ่ง ในธรรม ๑๐ อย่างนั้น ๕ อย่างเหล่านี้ คือ:

              ๑. รูปราคะ ความกำหนัดยินดีในรูปธรรม

              ๒. อรูปราคะ ความกำหนัดยินดีในอรูปธรรม

              ๓. มานะ ความถือตัว

              ๔. อุทธัจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน

              ๕. อวิชชา ความไม่รู้

                 มีชื่อว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์ เพราะผูกขันธ์เป็นต้นไว้ให้เกิดใน (ภพ) เบื้องบน

       (แต่) ๕ อย่างเหล่านี้ คือ:

              ๖. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่ามีอัตตา

              ๗. วิจิกิจฉา ความสงสัย

              ๘. สีลัพพตปรามาส ความยึดถือศีลและวัตร (ในทางงมงาย)

              ๙. กามราคะ ความกำหนัดในกามารมณ์

              ๑๐. ปฏิฆะ ความขัดเคือง

       มีชื่อว่า อโธภาคิยสังโยชน์ เพราะผูกขันธ์เป็นต้นไว้ให้เกิดใน (ภพ) เบื้องล่าง


กิเลส ๑๐

       ธรรมทั้งหลาย ๑๐ เหล่านี้ คือ:-

              ๑. โลภะ อยากได้

              ๒. โทสะ คิดประทุษร้าย

              ๓. โมหะ หลง

              ๔. มานะ ถือตัว

              ๕. ทิฏฐิ เห็นผิด

----------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ  น. ๑๑๕๑


              ๖. วิจิกิจฉา สงสัย

              ๗. ถีนะ จิตใจหดหู่-ท้อแท้

              ๘. อุทธัจจะ ฟุ้งซ่าน

              ๙. อหิริกะ ไม่มีความละอายบาป

              ๑๐. อโนตตัปปะ ไม่มีความเกรงกลัวบาป

       ท่านเรียกว่า กิเลส เพราะตัว (ธรรมทั้งหลาย ๑๐ เหล่านั้น) เองก็เศร้าหมองและเพราะทำให้สัมปยุตตธรรมทั้งหลายเศร้าหมองด้วย


มิจฉัตตะ ๘ หรือ ๑๐

       ธรรมทั้งหลาย ๘ เหล่านี้ คือ:-

              ๑. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด

              ๒. มิจฉาสังกัปปะ ความดำริผิด

              ๓. มิจฉาวาจา พูดผิด

              ๔. มิจฉากัมมันตะ การกระทำผิด

              ๕. มิจฉาอาชีวะ อาชีพผิด

              ๖. มิจฉาวายามะ พยายามผิด

              ๗. มิจฉาสติ รำลึกผิด

              ๘. มิจฉาสมาธิ สมาธิผิด

       หรือเป็น ๑๐ กับทั้ง

              ๙. มิจฉาวิมุตติ ความหลุดพันผิด และ

              ๑๐. มิจฉาญาณ ความรู้ผิด

       เรียกว่า "มิจฉัตตะ" เพราะดำเนินไปผิด


โลกธรรม ๘

       ธรรมทั้งหลาย ๘ เหล่านี้ คือ:

              ๑. ลาภ

              ๒. ไม่มีลาภ

              ๓. ยศ

              ๔. มานะ

              ๕. ทิฏฐิ

              ๗. ถีนะ

-------------

น. ๑๑๕๒ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


              ๔. ไม่มียศ

              ๕. สุข

              ๖. ทุกข์

              ๗. นินทา

              ๘. สรรเสริญ

       เรียกว่า โลกธรรม เพราะเมื่อโลกยังเป็นไปอยู่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ขาดหายไป แต่ควรทราบไว้ว่า คำว่า "โลกธรรม" ในที่นี้ ท่านหมายเอาความยินดีพอใจ ซึ่งมีลาภเป็นต้นเป็นที่ตั้ง และความยินร้ายกระทบกระทั่งใจ ซึ่งมีความไม่มีลาภเป็นต้นเป็นที่ตั้งด้วยศัพท์ว่า "โลกธรรม" โดยเข้าไปอิงอาศัยเหตุ (ของมัน)


มัจฉริยะ ๕

       ความตระหนี่ที่ป็นไปในอาวาสเป็นต้นโดยอาการอดทนซึ่งความเป็นของสาธารณ์ทั่วไปแก่คนทั้งหลายอื่นมิได้ ๕ อย่างเหล่านี้ คือ:

              ๑. อาวาสมัจฉริยะ หวงที่อยู่

              ๒. กุลมัจฉริยะ หวงตระกูล

              ๓. ลาภมัจฉริยะ หวงลาภ

              ๔. ธัมมมัจฉริยะ หวงธรรม

              ๕. วรรณมัจฉริยะ หวงวรรณะ

       เรียกว่า มัจฉริยะ


วิปลาส ๓

       วิปลาส ๓ เหล่านี้ คือ:

              ๑. สัญญาวิปลาส ความสำคัญคลาดเคลื่อน

              ๒. จิตตวิปลาส ความคิดคลาดเคลื่อน

              ๓. ทิฏฐิวิปลาส ความเห็นคลาดเคลื่อน

       ซึ่งเป็นไปในวัตถุทั้งหลายที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีอัตตา และไม่งาม นั่นแลโดยอาการอย่างนี้ ว่าเที่ยง ว่าเป็นสุข ว่ามีอัตตา ว่างาม ดังนี้ เรียกว่า วิปลาส

-----------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ   น. ๑๑๕๓


คันถะ ๔

       ธรรมทั้งหลาย ๔ มีอภิชฌาป็นต้น เรียกว่า คันถะ เพราะร้อยรัดนามกายและรูปกายไว้ เพราะเป็นความจริงอย่างนั้น ท่านจึงกล่าวถึงธรรมทั้งหลายเหล่านั้นว่าดังนี้.

              ๑. อภิชฌา เป็น กายคันถะ

              ๒. พยาบาท เป็น กายคันถะ

              ๓. สีลัพตปรามาส เป็น กายคันถะ

              ๔. อิทังสัจจาภินิเวส(1)  เป็น กายคันถะ (2)


อคติ ๔

       คำว่า อคติ เป็นคำเรียกการทำสิ่งที่ไม่ควรทำ และการไม่ทำสิ่งที่ควรทำ เพราะความรัก ความชัง ความโง่เขลา และเพราะความกลัว เพราะว่าการทำสิ่งที่ไม่ควรทำและการไม่ทำสิ่งที่ควรทำเพราะความรัก ความชังความโง่เขลา และเพราะความกลัวนั้นท่านเรียกว่า อคติ เพราะเป็นการที่พระอริยเจ้าทั้งหลายไม่พึงถึง ไม่พึงดำเนิน


อาสวะ ๔ โอฆะ ๔ และโยคะ ๔

       คำว่า "อาสวะ" นี้ เป็นคำเรียก:

              ๑. กามราคะ

              ๒. ภวราคะ

              ๓. มิจฉาทิฏฐิ และ

              ๔. อวิชชา

       เพราะไหลมาแต่ อา คือโคตรภูโดยทางอารมณ์ และแต่ อา คือภวัคคะโดยทางโอกาส อีกอย่างหนึ่ง (เรียก อาสวะ เพราะไหลออกจากทวารทั้งหลายที่ไม่สำรวมไว้โดยความหมายว่าไหลออกเป็นนิจ เหมือนน้ำไหลออกจากรูทะลุของหม้อ หรือว่าเพราะประสบสังสารทุกข์(3)

---------------

(1) ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้เป็นของจริง 

(2) ดูเทียบ อภิ. วิ. (ไทย) ๓๕/๑๓๘/๕๘๗

(3) ดู-ปปัญจสูทนี, ปฐมภาค, (บาลี) น. ๘๓-๘๔

------------------

๑๑๕๔ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


       เรียกธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละว่า โอมะ บ้าง โดยความหมายว่าพัดพาไปในสาคร (ห้วงทะเล) คือภพและโดยความหมายว่าข้ามพ้นได้ยากเรียกว่า โยค บ้าง เพราะไม่ให้พรากไปจากอารมณ์และพรากไปจากทุกข์


นิวรณ์ ๕

       ธรรมทั้งหลาย ๕ มีกามฉันทะเป็นตัน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ โดยความหมายว่ากีด ว่ากั้น ว่าปิดบังจิตไว้


ปรามาส

       คำว่า ปรามาส นี้ เป็นคำเรียก ความเห็นผิด (มิจฉาทิฎฐิ เพราะดำเนินไปโดยอาการก้าวเลยสภาวะ (ความเป็นจริง) ของธรรมนั้นๆ แล้วไปยึดถือสภาวะที่ไม่จริงโดยประการอื่น


อุปาทาน ๔

       อุปาทานทั้งหลาย มีกามุปาทานป็นต้น ที่กล่าวไว้แล้วในนิเทสแห่งปฏิจจสมุปบาท"(1) โดยอาการทั้งปวง เรียกว่า อุปาทาน


อนุสัย ๗

       ธรรมทั้งหลาย ๗ มีกามราคะเป็นต้นซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ คือ:

              ๑. กามราคานสัย อนุสัย คือ ความกำหนัดในกามารมณ์

              ๒. ปฏิฆานุสัย อนุสัย คือ ความขัดเคือง

              ๓. มานานุสัย อนุสัย คือ ความถือตัว

              ๔. ทิฏฐานุสัย อนุสัย คือ ความเห็นผิด

              ๕. วิจิกิจฉานุสัย อนุสัย คือ ความสงสัย

              ๖. ภวราคานุสัย อนุสัย คือ ความกำหนัดยินดีในภพ

              ๗. อวิชชานุสัย อนุสัย คือ อวิชชา

------------------

(1) วิสุทฺธิ. (บาลี) ๒/๕๗๐/๑๖๖

------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ   น. ๑๑๕๕


       เรียกว่า อนุสัย โดยความหมายว่ามีเรี่ยวแรง เพราะว่าธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า อนุสัย เพราะว่านอนเนื่องอยู่นั่นแลโดยความเป็นเหตุของการบังเกิดขึ้นแล้วๆ เล่าๆ แห่งกามราคะเป็นต้น เพราะความมีเรี่ยวแรง


มละ ๓

       โลภะ โทสะ และโมหะ ทั้ง ๓ เรียกว่า มละ เพราะตัวเองก็ไม่สะอาด และเพราะทำความไม่สะอาดแก่ธรรมทั้งหลายเหล่าอื่นด้วยเหมือนน้ำมัน ยาหยอดตา และโคลนตม


อกุศลกรรมบถ ๑๐

       ธรรม ๑๐ อย่าง คือ:-

              ๑. ปาณาติบาต ทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง (ฆ่าสัตว์)

              ๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ (ขโมย)

              ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย

              ๔. มุสาวาท พูดเท็จ

              ๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด

              ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ

              ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ

              ๘. อภิชฌา อยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น

              ๙. พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น

              ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด

       เหล่านี้ ท่านเรียกว่า อกุศลกรรมบถ เพราะเป็นอกุศลกรรมด้วย และเพราะเป็นทางแห่งทุคติทั้งหลายด้วย


อกุศลจิตตุปบาท ๑๒

       ธรรมทั้งหลาย ๑๒ เหล่านี้ คือโลภมูล ๘ โทสมูล ๒ โมหมูล ๒ ท่านเรียกว่าอกุศลจิตตุปบาท

       [๘๓๐) (มรรค) ญาณ ๔ เหล่านี้ ทำการประหาน (ละ) ได้ ตามโยคะ ซึ่งธรรมทั้งหลายมีสังโยชน์เป็นต้นเหล่านั้นโดยประการดังกล่าวนี้

---------------

๑๑๕๖ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


มรรคญาณ ๔ ประหานสังโยชน์กิเลสเป็นต้น

       ถามว่า ญาณ ๔ เหล่านี้ ทำการประหานอย่างไร ?

       ตอบว่า ในสังโยชน์ทั้งหลายก่อน ธรรม ๕ คือ

              ๑. สักกายทิฏฐิ

              ๒. วิจิกิจฉา

              ๓. สีลัพตปรามาส

              ๔. กามราคะ ๕. ปฏิฆะ ที่เป็น อปายคมนียะ (นำไปสู่อบาย) เหล่านี้ ฆ่าได้ด้วย (มรรค ญาณที่ ๑ (โสดาปัตติมรรค) 

                 กามราคะและปฏิมะ (ซึ่งไม่เป็น อปายคมนียะ) ชนิดหยาบที่ยังเหลือ ฆ่าด้วย (มรรค) ญาณที่ ๒ (สกทาคามิมรรค) 

                 กามราคะและปฏิฆะชนิดเบาบาง ฆ่าด้วย (มรรค) ญาณที่ ๓ (อนาคามิมรรค)

                 ส่วนธรรม (คือสังโยชน์) อีก ๕ มีรูปราคะเป็นต้น ฆ่าด้วย (มรรค) ญาณที่ ๔ (อรหัตตมรรค) โดยแท้

       อนึ่ง ต่อไปข้างหน้า ณ ที่ใด ข้าพเจ้าทั้งหลายมิได้ทำการจำกัดความไว้ด้วยศัพท์ "เอว" (ในความหมายว่า"เท่านั้นโดยแท้") ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายกล่าวถึงธรรม (กิเลสเป็นต้น) ใดๆ ว่า "ถูกฆ่าด้วย (มรรค) ญาณเบื้องบน" พึงทราบว่า ธรรม (มีกิเลสเป็นตัน) นั้นๆ ที่เป็นภาวะแห่งอปายคมนียะเป็นต้น ซึ่งได้ถูกญาณต้นๆ กำจัดมาแล้วนั่นแล เป็นธรรมที่ถูกฆ่าด้วยญาณเบื้องบน

       ในบรรดากิเลสทั้งหลาย ทิฏฐิและวิจิกิจฉา ฆ่าด้วยญาณที่ ๑ โทสะ ฆ่าด้วยญาณที่ ๓ โลภะ ๑ โฆหะ ๑ มานะ ๑ ถีนะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อหิริกะ ๑ อโนตตัปปะ ๑ ฆ่าด้วยญาณที่ ๔

       ในบรรดามิจฉัตตะทั้งหลาย มิฉัตตะเหล่านี้ คือมิจฉาทิฏฐิ ๑ มุสาวาท ๑ มิจฉากัมมันตะ ๑ มิจฉาอาชีวะ ๑ ฆ่าด้วยญาณที่ ๑ มิจฉาสังกัปปะ ๑ ปิสุณาวาจา ๑ ผรุสวาจา   เหล่านี้ ฆ่าด้วยญาณที่ ๓ และในที่นี้ พึงทราบว่า เจตนานั่นแล คือ วาจาสัมผัปปลาปะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสติ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑ มิจฉาวิมุตติ ๑ มิจฉาญาณ ๑ เหล่านี้แล ฆ่าด้วยญาณที่ ๔

----------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ  น. ๑๑๕๗


       ในบรรดโลกธรรมทั้งหลาย ปฏิฆะ (คือความยินร้าย) ฆ่าด้วยญาณที่ ๓ อนุนยะ (ความยินดีพอใจ ฆ่าด้วยญาณที่  พระอาจารย์พวกหนึ่งก็กล่าวว่า "ความยินดีพอใจในยศและในสรรเสริญ ฆ่าด้วยญาณที่ ๕"

       มัจฉริยะ (ความตระหนี่ ทั้งหลาย ฆ่าด้วยญาณที่ ๑ เท่านั้น

       ในบรรดาวิปลาสทั้งหลาย ความสำคัญคิดเห็นคลาดเคลื่อนในสิ่งไม่เที่ยงว่าเที่ยงในความไม่มีอัตตาว่ามีอัตตา และความเห็นคลาดเคลื่อนในทุกข์ว่าสุข ในสิ่งไม่งามว่างามเหล่านี้ ฆ่าด้วยญาณที่ ๑ ความสำคัญคิดคลาดเคลื่อนในสิ่งไม่งามว่างาม ฆ่าด้วยญาณที่ ๓ ความสำคัญคิดคลาดเคลื่อนในทุกข์ว่าเป็นสุข ฆ่าด้วยญาณที่ ๔

       ในบรรดาคันถะทั้งหลาย กายคันถะ (๒) คือสีลัพตปรามาส และอิทังสัจจาภินิเวส ฆ่าด้วยญาณที่ ๑ กายคันถะ คือพยาบาท ฆ่าด้วยญาณที่ ๓ อีกหนึ่ง (คืออภิชฌา) ฆ่าด้วยญาณที่ ๔


อคติ ฆ่าด้วยญาณที่ ๑ เท่านั้น

       ในบรรดาอาสวะทั้งหลาย อาสวะคือทิฏฐิ ฆ่าด้วยญาณที่ ๑ อาสวะคือกาม ฆ่าด้วยญาณที่ ๓  ส่วนอีก ๒ อาสวะ ฆ่าด้วยญาณที่ ๔ ถึงแม้ในโอฆะและโยคะทั้งหลายก็นัยนี้เช่นกัน

       ในบรรดานิวรณ์ทั้งหลาย วิจิกิจฉานิวรณ์ ฆ่าด้วยญาณที่ ๑ นิวรณ์ ๓ คือกาม ฉันทะ ๑ พยาบาท ๑  กุกกุจจะ ๑ ฆ่าด้วยญาณที่ ๓ ถิ่นมิทธะและอุทธัจจะ ฆ่าด้วยญาณที่ ๓ 


ปรามาส ฆ่าด้วยญาณที่ ๑ เท่านั้น

       ในบรรดาอุปาทานทั้งหลาย ถึงแม้รูปราคะและอรูปราคะก็รวมอยู่ในกามุปาทานเพราะโลกียธรรมทั้งหลายแม้ทั้งปวงมาแล้ว (ในคำ) ว่า "กาม" โดยวัตถุกาม เพราะฉะนั้น กามุปาทานนั้นฆ่าด้วยญาณที่ ๔ ด้วยประการฉะนี้ ส่วนอุปาทานที่เหลือฆ่าด้วยญาณที่ ๑

       ในบรรดาอนุสัยทั้งหลาย อนุสัยคือทิฏฐิ และอนุสัยคือวิจิกิจฉา ฆ่าด้วยญาณที่ ๑ เท่านั้น อนุสัยคือกามราคะและปฏิฆะ ฆ่าด้วยญาณที่ ๓ อนุสัยคือมานะ ๑ ภวราคะ ๑ อวิชชา ๑ ฆ่าด้วยญาณที่ ๔

------------------------

น. ๑๑๕๘ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


       ในบรรดามละ (คือมลทิน) ทั้งหลาย มละคือโทสะ ฆ่าด้วยญาณที่ ๓ นอกนั้น ฆ่าด้วยญาณที่ ๔

       ในบรรดาอกุศลกรรมบถทั้งหลาย อกุศลกรรมบถเหล่านี้ คือ ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ ฆ่าด้วยญาณที่ ๑ อกุศลกรรมบถ ๓ คือปิสุณาวาจา ๑ ผรุสวาจา ๑ พยาบาท ๑  ฆ่าด้วยญาณที่ ๓ สัมผัปปลาปะและอภิชฌา ฆ่าด้วยญาณที่ ๔

       ในอกุศลจิตตุปบาททั้งหลาย อกุศลจิตตุปบาท ๕ คือ ที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง และที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา ๑ ดวง ฆ่าด้วยญาณที่ ๑ นั่นเอง ที่สัมปยุตด้วยปฏิมะ ๒ ดวง ฆ่าด้วยญาณที่ ๓ เหลือจากนั้น (๕ ดวง) ฆ่าด้วยญาณที่ ๔ ด้วยประการฉะนี้แล

       อนึ่ง สังโยชน์และกิเลสเป็นต้นใด ฆ่าด้วยญาณใด สังโยชน์และกิเลสเป็นตันนั้นชื่อว่า โยคีพึงละได้ด้วยญาณนั้น ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า "(มรรค) ญาณ (๔)เหล่านี้ ทำการประหาน (ละ ได้ ตามโยคะ ซึ่งธรรมทั้งหลายมีสังโยชน์เป็นต้นเหล่านั้นด้วยประการดังกล่าวนี้"


คำทักท้วง และคำกล่าวแก้

       [๘๓๑] ถามว่า แต่ว่า ญาณ ๔ เหล่านี้ ละธรรมทั้งหลายเหล่านั้นที่เป็นอดีตและอนาคตหรือ หรือว่าที่เป็นปัจจุบัน

       ตอบว่า แต่ในเรื่องนี้จะมีประโยชน์อะไร ก่อนอื่น ถ้าญาณเหล่านี้ ละธรรมทั้งหลายที่เป็นอดีตและอนาคต ความพยายามก็ต้องไม่มีผล เพราะเหตุไร ? เพราะไม่มีธรรมทั้งหลายที่พึงละ ครั้นละธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ถึงกระนั้น ความพยายามก็ยังต้องไม่มีผล เพราะธรรมทั้งหลายที่พึงละกับทั้งความพยายามมีอยู่ และมรรคภาวนาก็ยังต้องประกอบด้วยสิ่งเศร้าหมอง (เป็นสังกิเลส) อยู่ หรือว่ากิเลสทั้งหลายเป็นวิปปยุต (คือไม่มีอยู่กับจิตใจ) และกิเลสปัจจุบัน จะถือว่าเป็นจิตตวิปปยุต (คือไม่มีอยู่กับจิตใจ) หามีไม่

       คำทักท้วง (ข้างต้น)  นี้ มิใช่เป็นของแปลก เพราะว่าท่านกล่าวไว้ในพระบาลี ละกิเลส เลยทีเดียว (แปลความ) ว่า "พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอริยมรรคนี้นั้นทั้งหลาย (หมายถึง ละทั้งกิเลสทั้งหลายที่เป็นอดีต ละทั้งกิเลสทั้งหลายที่เป็นอนาคต

------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ ๑๑๕๙


ละทั้งกิเลสทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน หรือ" และแล้วก็กล่าวต่อไปอีกว่า "หากพระอริยบุคคลนั้น ละกิเลสทั้งหลายที่เป็นอดีต ถ้ากระนั้นก็ (หมายความว่า) ทำของที่สิ้นไปแล้วให้สิ้นไป  ทำของที่ดับไปแล้วให้ดับไป ทำของปราศจากไปแล้วให้ปราศจากไปทำของที่ถึงความดับสูญแล้วให้ดับสูญไป (เท่ากัน) ละของที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งไม่มีอยู่กระนั้นหรือ" จึงปฏิเสธว่า "มิได้ละกิเลสทั้งหลายที่เป็นอดีต"(1)

       อนึ่ง และท่านกล่าวไว้ว่า "หากพระอริยบุคคลนั้น ละกิเลสทั้งหลายที่เป็นอนาคตถ้ากระนั้นก็ (หมายความว่า) ละของที่ยังมิได้เกิด ละของที่ยังมิได้บังเกิด ละของที่ยังมิได้เกิดขึ้น ละของที่ยังมิได้ปรากฏ (เท่ากัน) ละของที่ยังมิมาถึง ซึ่งไม่มีอยู่กระนั้นหรือ" แล้ว ปฏิเสธว่า "มิได้ละกิเลสทั้งหลายที่เป็นอนาคต"(2)

       อนึ่ง และท่านกล่าวไว้ว่า "หากพระอริยบุคคลนั้น ละกิเลสทั้งหลายที่เป็นปัจจุบันถ้ากระนั้น คนมีกำหนัดก็ละราคะ คนมีโทสะก็ละโทสะ คนมีโมหะก็ละโมหะ คนหัวรั้นก็ละมานะ คนยึดมั่นในทิฏฐิก็ละทิฏฐิ คนมีจิตฟุ้งซ่านก็ละอุทธัจจะ คนปลงใจไม่ตกก็ละวิจิกิจฉา คนมีกิเลสเรี่ยวแรงก็ละอนุสัย (เป็นอันว่า) ธรรมฝ่ายดำกับธรรมฝ่ายขาวเข้าเทียมคู่กันไป มรรคภาวนาก็เป็นของประกอบด้วยสิ่งเศร้าหมอง (เป็นสังกิเลส)ไป" ดังนี้ แล้วปฏิเสธสิ้นเชิงเลยว่า "มิได้ละกิเลสทั้งหลายที่เป็นอดีต มิได้ละกิเลสทั้งหลายที่เป็นอนาคต มิได้ละกิเลสทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน"(3) ในตอนสุดท้ายของปัญหาความว่า "ถ้ากระนั้น มรรคภาวนาก็ไม่มีการทำให้เห็นแจ้งซึ่ง (อริย) ผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มีธรรมาภิสมัย (คือการตรัสรู้ธรรม) ก็ไม่มีหรือ" ท่านตอบรับว่า "ความจริง มิใช่ไม่มีมรรคภาวนา มิใช่ไม่มีการทำให้เนแจ้งซึ่งผล มิใช่ไม่มีการละกิเลสมิใช่ไม่มีธรรมาภิสมัย" เมื่อถูกถามปัญหาว่า "มีอยู่ดุจโดยประการไร" จึงกล่าวคำ(เปรียบเทียบต่อไป นี้ว่า "เปรียบเหมือนต้นไม้รุ่น ยังไม่เกิดผล บุรุษตัดต้นไม้รุ่นนี้นั้นเสียที่โคนต้น ผลเหล่าใดที่ยังไม่เกิดของต้นไม้รุ่นนั้น ผลเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดนั่นแหละก็เลยไม่เกิด ผลเหล่านั้นที่ยังไม่บังเกิดนั่นแหละก็เลยไม่บังเกิด ผลเหล่านั้นที่

-------------------------

(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๑/๕๗๖

(2) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๑/๕๗๖

(3) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๑/๕๗๖

-------------------------

น. ๑๑๖๐   คัมภีร์วิสุทธิมรรค


ยังไม่เกิดขึ้นนั่นแหละก็เลยไม่เกิดขึ้น ผลเหล่านั้นที่ยังไม่ปรากฏนั่นแหละก็เลยไม่ปรากฏแม้ฉันใด อุปปาทะ (ความเกิดขึ้นของสังขารทั้งหลาย) เป็นเหตุ อุปปาทะ (ความเกิดขึ้น) เป็นปัจจัย ให้กิเลสทั้งหลายบังเกิดขึ้น เพราะเห็นโทษชั่วร้ายในความเกิดขึ้น จิตก็แล่นเข้าไปในความไม่เกิดขึ้น (คือพระนิพพาน) เพราะความที่จิตแล่นเข้าไปในความไม่เกิดขึ้น กิเลสทั้งหลายเหล่าใดจะพึงบังเกิดขึ้นเพราะอุปปาทะเป็นปัจจัย กิเลสทั้งหลายเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดนั่นแลก็จะไม่เกิดขึ้น ที่ยังไม่บังเกิดนั่นแลก็ไม่บังเกิด ที่ยังไม่เกิดขึ้นนั่นแลก็ไม่เกิดขึ้น ที่ยังไม่ปรากฏนั่นแลก็ไม่ปรากฎ ฉันนั้นเช่นกัน เพราะเหตุดับไป ทุกข์จึงดับไป ด้วยอาการดังนี้

       ความเป็นไป (ของสังขารทั้งหลาย) เป็นเหตุ ความเป็นไป เป็นปัจจัย ... นิมิต (คือสังขาร) เป็นเหตุ นิมิต เป็นปัจจัย ..อายูหนา (ความขวนขวาย) เป็นเหตุ อายูหนาเป็นปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นของกิเลสทั้งหลาย เพราะเห็นโทษชั่วร้ายในอายูหนา จิตก็แล่นเข้าไปในความไม่มีอายูหนา (คือพระนิพพาน) เพราะความที่จิตแล่นเข้าไปในความไม่มีอายูหนา กิเลสทั้งหลายเหล่าใดจะพึงบังเกิดขึ้น เพราะอายูหนาเป็นปัจจัย กิเลสทั้งหลายเหล่านั้น ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น ... ที่ยังไม่ปรากฏเลยก็ไม่ปรากฏเพราะเหตุดับไป ทุกข์ก็ดับไป ด้วยอาการดังนี้ มรรคภาวนาก็มีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลก็มีอยู่ การละกิเลสก็มีอยู่ ธรรมาภิสมัยก็มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้แล"(1)


อุปปันนะ ๔

       [๘๓๒] ถามว่า ด้วยคำกล่าวเป็นต้นว่า "กิเลสทั้งหลายเหล่านั้น ที่ยังไม่เกิดขึ้นนั่นแลก็ไม่เกิดขึ้น" ดังนี้นั้น เป็นการแสดงถึงการละอะไร

              ตอบว่า เป็นการแสดงถึงการละกิเลสทั้งหลายที่เป็น ภูมิลัทธะ (ได้ภูมิพื้น-ภูมิพื้น คือฐานที่ตั้งแห่งความเป็นไป)

---------------------

(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๑/๕๗๖-๕๗๗

----------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๖๑


       ถามว่า แต่ว่ากิเลสทั้งหลายที่ได้ภูมิพื้นเหล่านั้น เป็นอดีต หรืออนาคต หรือว่าเป็นปัจจุบัน

       ตอบว่า กิเลสทั้งหลายเหล่านั้น คือที่เขาเรียกว่า ภูมิลัทธุปปันนะ (คือบังเกิดขึ้นโดยได้ภูมิพื้น) นั่นเอง

       [๘๓๓) เพราะว่าสิ่งที่เป็น อุปปันนะ"(1) (คือสิ่งเกิดขึ้น) มีหลายประเภทโดยเป็น

              ๑. วัตตมานะ กำลังเป็นไปอยู่

              ๒. ภูตาปคตะ เกิดแล้วจากไป 

              ๓. โอกาสกตะ โอกาสอันกรรมทำให้

              ๔. ภูมิลัทธะ ได้ภูมิพื้น


ในอุปปันนะทั้งหลายนั้น

       ๑. สิ่งที่กล่าวว่า มีองค์ประกอบพร้อมด้วย (ขณะทั้ง ๓ คือ) อุปปาทะ (ความเกิดขึ้น) ๑ ชรา (ความเสื่อมโทรม) ๑ และภังคะ (ความแตกดับ) ๑ แม้ทุกอย่างเรียกว่า วัตตมานุปปันนะ คือสิ่งเกิดขึ้นที่กำลังเป็นไปอยู่

       ๒. กุศลและอกุศล  ที่เสวยรสของอารมณ์แล้วดับไป ซึ่งเรียกได้ว่า อนุภูตาปคตะ (คือเสวยแล้วจากไป ก็ดี กุศลและอกุศลอันเป็นสังขตะที่ยังเหลือ ซึ่งมาถึงขณะ ๓ มีอุปปาทขณะเป็นต้นโดยลำดับ แล้วดับไป อันเรียกได้ว่า ภูตาปคตะ (คือเกิดแล้วจากไป) ก็ดี เรียกว่า ภูตาปคตุปปันนะ คือสิ่งเกิดขึ้นโดยเกิดแล้วจากไป

       ๓. กรรมที่กล่าวแล้วโดยนัยว่า "กรรมทั้งหลายเหล่านั้นใด เป็นกรรมที่บุคคลผู้นั้นทำไว้แล้วในกาลก่อน" ดังนี้ป็นต้น แม้เป็นอดีตก็เรียกว่า โอกาสกตุปปันนะ คือสิ่งเกิดขึ้นโดยมีโอกาสอันกรรมทำให้ เพราะห้ามวิบากอื่นแล้วทำโอกาส (ให้) แก่วิบากของตนเอง และอนึ่ง วิบากที่มีโอกาสนกรรมทำให้แล้วแม้เป็นวิบากที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เรียกว่า โอกาสกตุปปันนะ (เหมือนกัน) เพราะเมื่อกรรมทำโอกาสให้อย่างนั้นแล้วก็เกิดขึ้นโดยแน่นอน

       ๔. กรรมเป็นอกุศลที่ยังมิได้จุดถอนให้ขาดในภูมิทั้งหลายนั้นๆ  เรียกว่าภูมิลัทธุปปันนะ คือสิ่งเกิดขึ้นโดยได้ภูมิพื้น

--------------------

(1) เรื่อง อุปปันนะ หลายประเภทนี้ มีกล่าวถึงในที่อื่น เช่น ขุ.สุ.อ. (บาลี) ๑/๑/๔-๗

-------------------

๑๑๖๒ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


ภูมิและภูมิลัทธะ

       [๘๓๔] อนึ่ง ในเรื่องนี้ ควรทราบความแตกต่างกันของ ภูมิพื้น (ภูมิ) และได้ภูมิพื้น (ภูมิลัทธะ) ไว้ด้วย เพราะว่าขันธ์ ๕ ที่เป็นไปอยู่ในภูมิ ๓ ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา เรียกว่า ภูมิ (คือภูมิพื้น) กิเลสที่ควรแก่การเกิดขึ้นในขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น เรียกว่า ภูมิลัทธะ (ได้ภูมิพื้น) เพราะเหตุที่ภูมิพื้นนั้น ชื่อว่าเป็นภูมิพื้นอันกิเลสนั้นได้แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า "ภูมิลัทธะ - กิเลสที่ได้ภูมิพื้นแล้ว" ด้วยประการฉะนี้ และภูมิพื้นนั้น มิใช่ได้โดยทางเป็นอารมณ์ เพราะว่ากิเลสทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นโดยทางเป็นอารมณ์ เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นอดีตและอนาคตบ้าง และเพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายของพระขีณาสพทั้งหลาย ที่ท่านกำหนดรู้แล้วบ้าง เช่นกิเลสทั้งหลายที่เกิดขึ้นแก่โสเรยยเศรษฐี"(1) และแก่นันทมาณพ"(2) เป็นต้น เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายของท่านพระมหากัจจานะ และพระอุบลวัณณาเถรีเป็นต้น

       และผิว่า กิเลส (ดังกล่าว) นั้นพึงมีชื่อเป็นภูมิลัทธะ (คือได้ภูมิพื้น) ไซร้ ใครๆ ก็ละรากเหง้าของภพมิได้ เพราะละกิเลส (ดังกล่าว) นั้นมิได้ แต่ (กิเลสที่เป็น) ภูมิลัทธะควรทราบโดยทางเป็นวัตถุ (ที่เกิดขึ้น) เพราะว่าขันธ์ทั้งหลายที่มิได้กำหนดรู้ด้วยวิปัสสนา เกิดขึ้นในภพใด ๆ หรือในสันดานใดๆ จำเดิมแต่การเกิดขึ้น (ของขันธ์ทั้งหลาย) ในภพนั้น ๆ หรือในสันดานนั้น ๆ กิเลสที่เป็นรากเหง้าของวัฏฎะก็แทรกซึมอยู่ในขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วย พึงทราบเถิดว่า กิเลส (ที่แทรกซึมอยู่) นั้น คือภูมิลัทธะ (ได้ภูมิพื้น) โดยความหมายว่ายังละไม่ได้

       [๘๓๕] อนึ่งในบรรดาขันธ์ทั้งหลายนั้น กิเลสทั้งหลายที่แทรกซึมอยู่(อนุสัย)โดยความหมายว่ายังละไม่ได้ ในขันธ์ทั้งหลายเหล่าใดของบุคคลผู้ใด ขันธ์ทั้งหลาย (ตามที่กิเลสแทรกซึมอยู่) เหล่านั้นนั่นแหละของบุคคลผู้นั้น เป็นวัตถุ (ที่เกิดขึ้น) ของกิเลสทั้งหลายเหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นของผู้อื่นหาเป็นวัตถุ (ที่เกิด) ไม่ อนึ่ง ขันธ์ที่เป็นอดีตทั้งหลายเท่านั้นที่เป็นวัตถุ (ที่เกิดขึ้น) ของกิเลสทั้งหลายที่แทรกซึมอยู่เพราะยังละไม่ได้ในขันธ์ที่เป็นอดีตทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายนอกนี้หาเป็นวัตถุ (แห่งกิเลสทั้งหลาย ไม่ นัยในขันธ์ทั้งหลายมีขันธ์ที่เป็นอนาคตเป็นต้นก็เช่นนี้ (และ) เป็นอย่างนั้น

-------------------

(1) ดู-โสเรยฺยตฺเถรวตุถุ ใน ธมฺมปทฎรกถา (บาลี) ๒/๑๕๘-๑๖๕

(2) ดู-อุปฺปลวณุณาเถรีวตถุ ใน ธมุมปทฎจกถา (บาลี) ๓/๑๔๖-๑๕๐

-------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ ๑๑๖๓


       ขันธ์ที่เป็นกามาวจรทั้งหลายนั่นแลเป็นวัตถุ (ที่เกิดขึ้น) ของกิเลสทั้งหลายที่แทรกซึมอยู่ เพราะยังละไม่ได้ในขันธ์ที่เป็นกามาวจรทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายนอกนี้หาเป็นวัตถุไม่ ในขันธ์ทั้งหลายที่ป็นรูปาวจรและที่เป็นอรูปาวจรก็มีนัย (ดังกล่าว) นี้ แต่ทว่า ในบรรดาพระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระโสดาบันเป็นต้น กิเลสอันเป็นรากเหง้าของวัฏฏะนั้น ๆ ในขันธ์ทั้งหลายของพระอริยบุคคลท่านใดๆ ที่ละได้แล้วด้วยมรรคนั้น ๆ  ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นและเหล่านั้นของพระอริยบุคคลท่านนั้นๆ  จะนับว่าเป็นภูมิพื้นหาได้ไม่ เพราะไม่เป็นวัตถุ (ที่เกิดขึ้น) ของกิเลสอันเป็นรากเหง้าของวัฏฏะทั้งหลายเหล่านั้นและเหล่านั้น ซึ่งท่านละได้แล้ว แต่สำหรับปุถุชน เพราะยังละกิเลสอันเป็นรากเหง้าของวัฏฏะทั้งหลายไม่ได้โดยประการทั้งปวง กรรมอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำไป จึงเป็นกุศลบ้าง  เป็นอกุศลบ้าง วัฏฏะของปุถุชนนั้น จึงวนเวียนไปเพราะกรรมและกิเลสเป็นปัจจัยด้วยประการดังกล่าวนั้น กิเลสอันเป็นรากเหง้าของวัฏฏะนี้ของปุถุชนนั้น มิควรกล่าวว่า "แทรกซึมอยู่แต่ในรูปขันธ์เท่านั้น หาแทรกซึมอยู่ในขันธ์ทั้งหลายอื่นมีเวทนาขันธ์เป็นต้นไม่ ฯลฯ หรือกล่าวว่าแทรกซึมอยู่แต่ในวิญญาณขันธ์เท่านั้น หาแทรกซึมอยู่ในขันธ์ทั้ งหลายอื่น มีรูปขันธ์เป็นต้นไม่" ดังนี้ เพราะเหตุไร ? เพราะแทรกซึมอยู่ในขันธ์ทั่วทั้ง ๕ ขันธ์โดยไม่แตกต่างกัน

       [๘๓๖] มีอุปมาอย่างไร ?

       อุปมาเหมือนรสดินเป็นต้นแทรกซึมอยู่ในต้นไม้ ความจริง เมื่อต้นไม้ใหญ่ยืนต้น ยึดพื้นแผ่นดินตั้งอยู่อาศัย รสดินและรสน้ำเจริญด้วยราก ลำตัน กิ่ง ค่าคบ ใบอ่อน ใบแก่ ดอกและผลทั้งหลาย เพราะรสดินและรสน้ำนั้นเป็นปัจจัย เติบโตเต็มท้องฟ้า สืบต่อเชื้อสายของต้นไม้ ด้วยการสืบต่อทางพืชพันธุ์ ตั้งอยู่ตลอดกาลจนสิ้นกัลป์ พูดไม่ได้ว่า "รสดินเป็นต้นนั้น  แทรกซึมอยู่แต่ในรากเท่านั้น หาแทรกซึมอยู่ในส่วนทั้งหลายอื่นมีลำต้นเป็นอาทิไม่ ฯลฯ ... หรือว่าแทรกซึมอยู่แต่ในผลเท่านั้น หาแทรกซึมอยู่ในส่วนทั้งหลายอื่นมีรากเป็นตันไม่" ดังนี้ เพราะเหตุไร ? เพราะแทรกซึมอยู่ในส่วนทั้งหลายมีรากเป็นต้น ทุกส่วนโดยไม่ต่างกันแล แต่ทว่า มีบุรุษบางคนเบื่อหน่ายในดอกและผลเป็นต้นของต้นไม้ต้นนั้นแหละ แล้วตอกหนามมีพิษชื่อว่าหนามมัณฑกะ เข้าไปทั้ง ๔ ด้าน ครั้นต้นไม้นั้นถูกระทบด้วยสัมผัสเป็นพิษนั้น รสดินและรสน้ำทั้งหลายก็ถึงความไม่ซึมซาบเข้าไปเป็นธรรมดา เพราะรสดินและรสน้ำทั้งหลายหมดสิ้นไปแล้ว ไม่สามารถทำให้เกิดความสืบต่อ (เชื้อสายของต้นไม้) ต่อไปได้อีกฉันใด

--------------

น. ๑๑๖๔ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


กุลบุตรผู้เบื่อหน่ายในความเป็นไปของ (เบญจ) ขันธ์ก็ฉันนั้นเช่นกันเริ่ม ต้นทำมรรค ๔ ให้เกิดในสันดานของตน เหมือนการที่บุรุษนั้นประกอบพิษเข้าในต้นไม้ทั้ง ๔ ด้าน ครั้นแล้วขันธสันดานนั้นของกุลบุตรนั้น เมื่อถูกสัมผัสพิษคือมรรค ๔ นั้นกระทบแล้วก็เป็นขันธสันดานที่ประเภทของกรรมทั้งปวงมีกายกรรมเป็นต้น เข้าถึงแต่เพียงความเป็นกิริยา เพราะกิเลสเป็นรากเหง้าของวัฏฏะทั้งหลายสิ้นไปแล้วโดยประการทั้งปวง มาถึงความไม่เกิดขึ้นในภพใหม่เป็นธรรมดา ไม่สามารถทำให้สืบต่อไปในภพอื่นบ้าง เป็นผู้หาอุปาทานมิได้ ดับสิ้นไปทุกประการ ด้วยการดับของวิญญาณดวงสุดท้าย (จุติจิตของพระอรหันต์) เหมือนไฟหาเชื้อมิได้ดับไป

       พึงทราบความแตกต่างกันของภูมิพื้นและ (กิเลสที่) ได้ภูมิพื้น โดยประการดังกล่าวนี้


อุปปันนะ อีก ๔

       [๘๓๗) (1)"อีกประการหนึ่ง ยังมีอุปปันนะอื่น อีก ๔ อย่างโดยเป็น-

              ๑. สมุทาจาระ คือ นิสัยเคยชิน

              ๒. อารัมมณาธิคหิตะ คือ ยึดมั่นอารมณ์ไว้

              ๓. อวิกขัมภิตะ คือ มิได้ถูกข่มไว้

              ๔. อสมูหตะ คือ ยังถอนรากไม่ขาด

       ในอุปปันนะ ๔ อย่างนั้น อุปปันนะที่กำลังเป็นไปอยู่นั่นแล เป็นสมุทาจารุปปันนะ คือกิเลสที่เกิดขึ้นด้วยความเคยชิน แต่เมื่ออารมณ์ (คือรูป) มาสู่คลองแห่งทวารมีตาเป็นต้น กิเลสแม้จะยังไม่เกิดขึ้นในตอนต้น แต่เพราะยึดมั่นอารมณ์ไว้นั่นเองท่านกล่าวว่า "เป็นอุปปันนะด้วยยึดมั่นอารมณ์ไว้" เพราะในตอนท้าย (กิเลส) ก็จะเกิดขึ้นโดยแน่นอนเหมือนอย่างกิเลสที่เกิดขึ้นแก่พระมหาติสสเถระผู้กำลังเที่ยวเดินบิณฑบาตอยู่ในหมู่บ้านกัลยาณคาม (หมู่บ้านเป็นที่เกิดของหญิงงาม) โดยได้เห็นรูปที่ไม่สมควร (แก่สมณะ) กิเลสที่มิได้ถูกข่มไว้ด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา อำนาจใดอำนาจหนึ่งแม้จะยังไม่ผุดขึ้นสู่สันตติของจิตก็เรียกว่า เป็นอุปปันนะโดยมิได้ถูกข่มไว้ เพราะไม่มีเหตุเป็นผู้ห้ามการเกิดขึ้น แต่แม้ว่าถูกข่มไว้แล้วด้วยสมถะและวิปัสสนา ท่านก็เรียกว่า เป็น

--------------

(1) ดูเปรียบเทียบใน อง.เอกุก.อ. (บาลี) ๑/๓๙๔/๔๔๑-๔๔"

--------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ ๑๑๖๕


อุปปันนะที่ยังถอนรากไม่ขาด โดยเหตุที่ยังไม่พ้นความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เพราะเป็นกิเลสที่ยังถอนรากไม่ขาดด้วยอริยมรรค เหมือนกิเลสที่เกิดขึ้นแก่พระเถระผู้ได้สมาบัติที่กำลังเดินทาง (เหาะไป) โดยอากาศ ได้ยินเสียงเพลงขับร้องของมาตุคามซึ่งเก็บดอกไม้ที่ต้นไม้มีดอก อยู่ในป่าใกล้ๆ ขับร้องอยู่ด้วยเสียงไพเราะ

       อนึ่ง อุปปันนะแม้ทั้ง ๓ อย่าง คืออารัมมณาธิคหิตะ ๑ อวิกขัมภิตะ ๑ และอสมูหตะ ๑ นี้ พึงทราบว่า สงเคราะห์เข้ากับภูมิลัทธะ (อุปปันนะ) นั่นเอง

       [๘๓๘] ในอุปปันนะซึ่งจำแนกประเภทดังกล่าวมานี้ อุปปันนะ ๔ อย่าง กล่าวคือวัตตมานะ ๑ ภูตาปคตะ ๑ โอกาสกตะ ๑ และสมุทาจาระ ๑ นี้นั้น ไม่เป็นอุปปันนะที่จะต้องละด้วย (มรรค) ญาณแม้ไร ๆ เพราะมิใช่อุปปันนะที่ฆ่าด้วย (อริย) มรรคแต่อุปปันนะ กล่าวคือภูมิลัทธะ ๑ อารัมมณาธิคหิตะ ๑ อวิกขัมภิตะ ๑ และอสมูหตะ ๑(๔ อย่าง) นี้ใด เพราะโลกียญาณและโลกุตตรญาณนั้นๆ เกิดขึ้น ทำให้ความเป็นอุปปันนะนั้น ๆ ของอุปปันนะ (๔ อย่าง) นั้นพินาศไป เพราะฉะนั้น อุปปันนะแม้หมด (ทั้ง ๔ อย่างข้างหลังนี้) นั้นจึงเป็นอุปปันนะที่ต้องละฉะนี้แล

       พึงทราบ  "(๔) การละธรรมทั้งหลายที่พึ่งละด้วยญาณใด" ในญาณทัสสนวิสุทธินี้ด้วยประการดังกล่าวนี้


กิจในอริยสัจจ์ ๔

       [๘๓๙] คำว่า และ (๕) กิจทั้งหลายใด มีการกำหนดรู้เป็นต้น ในเวลาตรัสรู้ ซึ่งกล่าวไว้แล้วนั้น โยคีควรทราบไว้ตามสภาวะทุกประการ ความว่า

       ที่จริง ในเวลาตรัสรู้ (อริย) สัจจะ ท่านกล่าวไว้ว่า บรรดาญาณทั้งหลาย ๔ เหล่านั้น ในแต่ละญาณ มีกิจ (ญาณละ) ๔ มีปริญญา (การกำหนดรู้) เป็นต้น เหล่านี้ คือ

       ๑. ปริญญา กำหนดรู้

       ๒. ปหาน ประหาณ (ละ)

       ๓. สัจฉิกิริยา ทำให้เห็นแจ้ง

       ๔. ภาวนา ทำให้บริบูรณ์

       (เกิดขึ้น) โดยขณะเดียวกัน โยคีควรทราบกิจทั้งหลายเหล่านั้น ตามสภาวะ

-----------------

น. ๑๑๖๖  คัมภีร์วิสุทธิมรรค


มรรคญาณเปรียบด้วยดวงประทีป

       เพราะว่ากิจ ๔ อย่างนี้ พระโบราณาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวไว้แล้วว่า ดวงประทีปทำกิจ ๔ อย่างไม่ก่อนไม่หลังโดยขณะเดียวกัน คือเผาไส้ ๑ กำจัดความมืด ๑ ทำแสงสว่างให้ปรากฎ ๑ ทำน้ำมันให้สิ้นไป ๑ ฉันใด มรรคญาณก็ฉันนั้นเหมือนกันตรัสรู้สัจจะ ๔ ไม่ก่อนไม่หลังโดยขณะเดียวกัน คือตรัสรู้ทุกข์ ด้วยการตรัสรู้โดยกำหนดรู้ ๑ ตรัสรู้สมุทัย ด้วยการตรัสรู้โดยการละ ๑ ตรัสรู้มรรค ด้วยการตรัสรู้โดยการทำให้ (มรรค) ประชุมพร้อม ๑ ตรัสรู้นิโรธ ด้วยการตรัสรู้โดยการทำให้เห็นแจ้ง ๑


ถามว่า มีคำอธิบายกล่าวไว้อย่างไร ?

       ตอบว่า "โยคีทำนิโรธ (พระนิพพาน) เป็นอารมณ์ แล้วบรรลุ คือเห็น คือว่าแทงทะลุซึ่งสัจจะหมดทั้ง ๔" และแม้ความข้อนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้วว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นทุกข์ แม้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ ผู้นั้นก็เห็น แม้ความดับแห่งทุกข์ก็เห็น เขาเห็นทั้งปฏิปทาดำเนินไปสู่ความดับแห่งทุกข์ด้วย" ดังนี้"(1) ควรทราบพระพุทธดำรัส (เรื่องนี้) ทั้งหมด ทั้งท่านพระสารีบุตรเถระก็ได้กล่าวไว้อีกว่า "ญาณของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยมรรค คือญาณนี้ในทุกข์ด้วย ญาณนี้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ด้วยญาณนี้ในความดับแห่งทุกข์ด้วย ญาณนี้ในปฏิปทาดำเนินไปสู่ความดับแห่งทุกข์ด้วย"ดังนี้"(2)

       ในข้ออุปมานั้นพึงทราบการเปรียบเทียบด้วยอุปมาอย่างนี้คือ 

       - มรรคญาณกำหนดรู้ทุกข์ เปรียบเหมือนดวงประทีปเผาไส้

       - ละสมุทัย เปรียบเหมือนดวงประทีปกำจัดความมืด

       - ทำมรรคกล่าวคือสัมมาสังกัปปะเป็นต้นให้เกิดโดยความเป็นปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น เปรียบเหมือนดวงประทีปทำแสงสว่างให้ปรากฏโดยรอบ 

       - ทำให้เห็นแจ้งนิโรธอันหมดสิ้นกิเลส เปรียบเหมือนดวงประทีบทำน้ำมันให้สิ้นไป

----------------

(1) ดูเทียบ สํ. ม. (ไทย) ๑๙/ ๑๑๐๐/๖๑๑ 

(2) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/ ๑๐๙/ ๑๖๙

-----------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ  น. ๑๑๖๗


มรรคญาณเปรียบด้วยดวงอาทิตย์

       [๘๔๐]  อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ เมื่อโผล่ขึ้นมาก็ทำกิจ ๔ อย่างพร้อมกับความปรากฏไม่ก่อนไม่หลังคือส่องให้เห็นสิ่งที่เป็นรูป ๑ กำจัดความมืด ๑ ให้ความสว่าง ๑ ระงับความหนาว ๑ ฉันใด มรรคญาณก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตรัสรู้สัจจะ ๔ โดยขณะเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลัง คือ ... ฯลฯ ... ตรัสรู้นิโรธ ด้วยการตรัสรู้โดยการทำให้เห็นแจ้ง ๑ แม้ในอุปมานี้ก็พึงทราบการเปรียบเทียบด้วยอุปมาอย่างนี้คือ 

       - มรรคญาณกำหนดรู้ทุกข์ เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ส่องให้เห็นสิ่งที่เป็นรูป 

       - ละสมุทัยเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์กำจัดความมืด 

       - ทำมรรคให้เกิดโดยความเป็นปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น  เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ให้ความสว่าง

       - ทำให้เห็นแจ้งนิโรธคือความสงบระงับกิเลส เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ระงับความหนาว


มรรคญาณเปรียบด้วยนาวา

       [๘๔๑] อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนนาวา ทำกิจ ๔ อย่างไม่ก่อนไม่หลังโดยขณะเดียวกัน คือ ละฝั่งนี้  ตัดกระแสน้ำ นำสิ่งของไป กำลังถึงฝั่งโน้น ฉันใด มรรคญาณก็ฉันนั้น  เหมือนกัน ... ฯลฯ ... ตรัสรู้นิโรธ ด้วยการตรัสรู้โดยการทำให้เห็นแจ้ง ๑ แม้ในอุปมานี้ก็พึงทราบการเปรียบเทียบด้วยอุปมาอย่างนี้ คือ

       - มรรคญาณกำหนดรู้ทุกข์เปรียบเหมือนนาวาละฝั่งนี้ 

       -ละสมทัย เปรียบเหมือนนาวาตัดกระแสน้ำ

       - ทำมรรคให้เกิดโดยความเป็นปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น เปรียบเหมือนนาวานำสิ่งของไป 

       - ทำให้เห็นแจ้งนิโรธอันเป็นฝั่งโน้น เปรียบเหมือนนาวา (กำลัง) ถึงฝั่งโน้น


ตรัสรู้อริยสัจจ์โดยอาการ ๑๖

       [๘๔๒] อนึ่ง ในเวลาตรัสรู้ (อริย) สัจจะดังกล่าวมานั้น มรรคซึ่งมีญาณดำเนินไปด้วยกิจ ๔ อย่าง โดยขณะเดียวกันนั้นก็มีสัจจะ ๔ นั่นแลเป็นอาการพึงรู้แจ้งแทงตลอดด้วยมรรคเดียวกัน (เอกปฏิเวธ)"(1) โดยความหมายว่า (เป็นสภาวะ) เที่ยงแท้ ด้วยอาการ ๑๖ ดังที่ท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า "(ถามว่า) สัจจะ ๔ มีอาการพึงรู้แจ้ง

--------------------

(1) อรรถกถาแก้ไว้ แปลได้ ๒ อย่าง คือ มีอาการพึงรู้แจ้งแทงตลอดด้วยมรรคเดียวกัน หรือมีอาการพึงรู้แจ้งแทงตลอดโดยความเป็นอันเดียวกัน

-------------------

น. ๑๑๖๘ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


แทงตลอดด้วยมรรคเดียวกันโดยความหมายว่า (เป็นสภาวะ) เที่ยงแท้อย่างไร ? (ตอบว่า) สัจจะ ๔ มีอาการพึงรู้แจ้งแทงตลอดด้วยมรรคเดียวกันโดยความหมายว่าเที่ยงแท้โดยอาการ ๑๖ คือ

       (ก) สภาวะที่เที่ยงแท้ของทุกข์ (มี ๔ อาการ) คือ

              ๑. เป็นสภาวะที่ บีบคั้น (ปีฬนฏฺโฐ)

              ๒. เป็นสภาวะที่ ปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขตฏฺโฐ)

              ๓. เป็นสภาวะที่ ทำให้เร่าร้อน (สนฺตาปฏฺโฐ)

              ๔. เป็นสภาวะที่ แปรผัน (วิปริณามฏโจ)

       (ข) สภาวะที่เที่ยงแท้ของสมุทัย (มี ๔ อาการ) คือ

              ๕. เป็นสภาวะที่ ประมวลมาไว้ (อายูหนฏฺโฐ)

              ๖. เป็นสภาวะที่ (นิทานฏฺโฐ)

              ๗. เป็นสภาวะที่ (สํโยคฏฺโฐ)

              ๘. เป็นสภาวะที่ พัวพัน (ปลิโพธฏฺโฐ)

       (ค) สภาวะที่เที่ยงแท้ของนิโรธ (มี ๔ อาการ) คือ

              ๙. เป็นสภาวะที่ สลัดออกไป (นิสฺสรณฏโฐ)

              ๑๐. เป็นสภาวะที่ ว่างสงัด (วิเวกฏฺโฐ)

              ๑๑. เป็นสภาวะที่ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง (อสงฺขตฏฺโฐ)

              ๑๒. เป็นสภาวะที่ ไม่ตาย (อมตฏฺโฐ)

       ง) สภาวะที่เที่ยงแท้ของมรรค (มี ๔ อาการ) คือ

              ๑๓. เป็นสภาวะที่ นำออกไป (นิยฺยานฏฺโฐ)

              ๑๔. เป็นสภาวะที่ (เหตุฏฺโฐ)

              ๑๕. เป็นสภาวะที่ เห็น (ทสฺสนฏฺโฐ)

              ๑๖. เป็นสภาวะที่เป็นใหญ่ (อธิปเตยฺยฏฺโฐ)


       สัจจะ ๔ โดยสภาวะที่เที่ยงแท้ ท่านสงเคราะห์ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้ เข้าเป็นสภาวะเดียวกัน สิ่งใดที่ท่านสงเคราะห์เป็นสภาวะเดียวกัน สิ่งนั้นก็มีความเป็นอันเดียวกัน

------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ ๑๑๖๙


สิ่งใดมีความเป็นอันเดียวกัน สิ่งนั้นพระโยคีก็รู้แจ้งแทงตลอดด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้นสัจจะ ๔ จึงมีอาการ พึงรู้แจ้งแทงตลอดด้วยมรรคญาณเดียว" ดังนี้"(1)

       [๘๔๓] จะพึงมีคำทักท้วงในข้อนั้นว่า "ในเมื่อความหมายแม้อย่างอื่นของสัจจะทั้งหลายมีทุกข์เป็นต้น เช่น (เป็น) โรคและ (เป็น) ฝีเป็นต้น ยังมีอยู่ แต่แล้วเพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวไว้เพียง ๔ เท่านั้น" ในข้อนี้เราขอกล่าวตอบว่า "เพราะ(สัจจะทั้งหลาย) ปรากฏซัดด้วยการเห็นสัจจะอื่น (ด้วย)" เพราะว่าสัจจญาณ ท่านกล่าวไว้โดยมีสัจจะแต่ละสัจจะเป็นอารมณ์โดยนัยเป็นต้นว่า "ในญาณทั้งหลายนั้น ญาณในทุกข์เป็นไฉน ? คือปัญญา ความรู้ทั่ว ซึ่งเกิดขึ้นปรารภทุกข์ นี้ ท่านกล่าวว่าญาณในทุกข์" ดังนี้"(2) บ้าง กล่าวโดยทำสัจจะอย่างหนึ่งให้เป็นอารมณ์แล้ว สำเร็จกิจในสัจจะทั้งหลายแม้ที่เหลืออื่นด้วย โดยนัยเป็นต้นว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นทุกข์แม้ทุกขสมุทัย ผู้นั้นก็เห็นด้วย" ดังนี้"(3) บ้าง ในการเห็น ๒ อย่างนั้น ในกาลใด โยคีทำสัจจะแต่ละอย่างให้เป็นอารมณ์ ในกาลนั้น สภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์แม้มีความบีบคั้นเป็นลักษณะโดยสภาพนั้นก็ปรากฎชัดแจ้งขึ้นก่อน ด้วยการเห็นสมุทัยเพราะทุกข์นั้นถูกสมุทัยซึ่งมีการประมวลมาเป็นลักษณะประมวลเข้าไว้ ปรุงแต่งไว้ ทำเป็นกองไว้ แต่เพราะเหตุที่มรรคนำเอาภาวะทำให้เร่าร้อนเพราะกิเลสไปเสีย จึงเป็นสภาวะเย็นสนิท เพราะฉะนั้นสภาวะที่ทำให้เร่าร้อนแห่งทุกข์ (สัจจ์) นั้นก็ปรากฏ ชัดแจ้งด้วยการเห็นมรรค (สัจจ์) เหมือนหนึ่งความไม่สวยงามของนางสุนทรีปรากฏชัดเจนแก่ท่านพระนันทะด้วยการเห็นนางอัปสร"(4) ส่วนสภาวะที่แปรผันแห่งทุกข (สัจจ์) นั้นปรากฏชัดแจ้งด้วยการเห็นนิโรธ (สัจจ์) ซึ่งเป็นสภาวะไม่แปรผัน เพราะเหตุนี้ จึงไม่มีคำที่จะพึงกล่าวในเรื่องนี้โดยแท้

       อนึ่ง  สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย (สัจจ์) แม้มีการประมวลมาเป็นลักษณะโดยสภาพ จะปรากฏชัดแจ้งด้วยการเห็นทุกข์ (สัจจ์) เหมือนหนึ่งความที่โภชนะเป็นเหตุแห่งความป่วยไช้ ปรากฏชัดเจนด้วยการเห็นความป่วยไข้ซึ่งเกิดแต่ (การบริโภค) โภชนะไม่เป็นสัปปายะ สภาวะที่ผูกมัด (แห่งสมุทยสัจจ์) จะปรากฏชัดแจ้งด้วยการ

---------------------

(1) ดูเทียบ ขุ, ป. (ไทย) ๓๑/๑๑/๔๓๔ 

(2) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๑๐๙/๑๖๙

(3) ดูเทียบ สํ. ม. (ไทย) ๑๙/๑๑๐๐/๖๑๑

(4) ดู - สงฺคามาวจรชาตก, ขุ.ซา.อ. (บาลี ๓/๙๑ และ นนฺทตุเถรวตุถุ, ธมุมปทฏฐกถา (บาลี) ๑/๑๐-๑๒๑

---------------

น. ๑๑๗๐   คัมภีร์วิสุทธิมรรค


เห็นนิโรธ (สัจจ์) ซึ่งเป็นสภาวะที่ปราศจากความผูกมัด และสภาวะที่พัวพัน (แห่งสมุทยสัจจ์) จะปรากฏชัดแจ้งด้วยการเห็นมรรค (สัจจ์) ซึ่งเป็นสภาวะที่นำออก ฉะนี้แล

       อนึ่ง สภาวะที่ว่างสงัดแห่งนิโรธ (สัจจ์) แม้มีการสลัดออกไป (จากทุกข์ เป็นลักษณะจะปรากฏชัดแจ้ง ด้วยการเห็นสมุทัย (สัจจ์) ซึ่งเป็นสภาวะไม่ว่างสงัด สภาวะที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง (แห่งนิโรธสัจจ์) จะปรากฏชัดแจ้งด้วยการเห็นมรรค (สัจจ์)ความจริง มรรคเป็นสภาวะที่ท่นโยคีผู้นี้ไม่เคยเห็นมาก่อน ในสังสารวัฏซึ่งไม่มีใครรู้ที่สุดและเบื้องต้น อีกอย่างหนึ่ง แม้มรรคนั้นก็ยังเป็นสังขตะ (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง) โดยแท้ เพราะยังมีปัจจัยอยู่ เพราะเหตุนั้น ความที่นิโรธสัจจ์ซึ่งเป็นสภาวะหาปัจจัยมิได้ เป็นสภาวะที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง จึงเป็นภาวะที่ปรากฏชัดแจ้งอย่างยิ่ง อนึ่ง สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธสัจจ์นั้นจะปรากฏชัดแจ้งด้วยการเห็นทุกข (สัจจ์) เพราะว่าทุกข์เป็นยาพิษ อมตะ คือพระนิพพาน

       อนึ่ง สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค (สัจจ์) ซึ่งแม้เป็นธรรมสลัดออกเป็นลักษณะจะปรากฏชัดแจ้งด้วยการเห็นสมุทัย (สัจจ์)ว่า "สมุทัยนี้ มิใช่เหตุแห่งการบรรลุพระนิพพาน มรรคนี้ต่างหากเป็นเหตุ" ดังนี้ สภาวะที่เห็น (แห่งมรรคสัจจ์) จะปรากฏชัดแจ้งด้วยการเห็นนิโรธ (สัจจ์) เหมือนหนึ่งความแจ่มใสของดวงตาปรากฏแจ่มแจ้งแก่บุคคลผู้เห็นรูปทั้งหลายที่ละเอียดอย่างยิ่งด้วยคิดว่า "ดวงตาของฉันแจ่มใสจริงๆ" สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรคสัจจ์จะปรากฏชัดแจ้งด้วยการเห็นทุกข์ (สัจจ์) เหมือนหนึ่งความเป็นใหญ่แห่งชนผู้ยิ่งใหญ่ จะปรากฏชัดแจ้งด้วยการเห็นชนเข็ญใจผู้อาดูรเดือดร้อนด้วยโรคหลายอย่าง ฉะนี้แล

       ในที่นี้ ได้กล่าวสภาวะแห่งสัจจะแต่ละข้อว่ามีข้อละ ๔ อย่าง โดยความปรากฏชัดแจ้งตามลักษณะของตน ๆ และโดยปรากฏชัดแจ้งด้วยการเนสภาวะที่แท้จริงอย่างอื่นข้อละ ๓ นอกนี้(1) ด้วยประการฉะนี้ แต่ในขณะ (บรรลุอริย) มรรค มีสภาวะ (๑๖) เหล่านี้แม้ทุกประการก็ถึงความรู้แจ้งแทงตลอด ด้วยญาณที่มีกิจ ๔ ในสัจจะทั้งหลายมีทุกข์เป็นต้น ญาณเดียวนั่นเอง ฉะนี้แล แต่ทว่า ท่านวาที่บุคคลเหล่าใด ประสงค์การ

------------

(1) ดูบาลี ทุติย. ๕๒๙/๑๓๙, ฎีกา.ทุติย. ๘๔๓/๕๖๐

---------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๗๑


บรรลุต่างๆ กัน (ในอริยสัจจ์ คำกล่าว ตอบที่เกิน (กว่านี้ สำหรับวาทีบุคคลเหล่านั้น ท่านกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว ในกถาวัตถุปกรณ์ ในพระอภิธรรมปิฎก"(1)


กิจ ๔ ประการ ในอริยสัจจ์ ๔

       [๘๔๔] ณ บัดนี้ กิจ ๔ ประการ มีปริญญา (การกำหนดรู้ เป็นต้น อันใดที่กล่าวถึงมาแล้ว ในกิจ ๔ ประการเหล่านั้น

                     ติวิธา โหติ ปริญฺญา     ตถา ปหานมฺปิ สจฺฉิกิริยาปิ

                     เทฺว ภาวนา อภิมตา     วินิจฺฉาโย ตตฺถ ญาตพฺโพ.

       แปลความว่า

                     (กิจคือ) ปริญญา มี ๓ อย่าง แม้ (กิจคือ) ปหาน แม้ (กิจ

                     คือ) สัจฉิกิริยาก็มี ๓ อย่างเหมือนกัน (กิจคือ) ภาวนารู้

                     กันแล้วว่ามี ๒ อย่าง พึงทราบการวินิจฉัยในกิจ ๔ ประการ

                     นั้น (ดังต่อไปนี้


ปริญญา-การกำหนดรู้ ๓

       [๘๔๕] คำว่า "ปริญญามี ๓ อย่าง" ความว่า ปริญญา มี ๓ อย่าง ดังนี้ คือ

              ๑. ญาตปริญญา

              ๒. ตีรณปริญญา

              ๓. ปหานปริญญา

๑. ญาตปริญญา

       ในปริญญา ๓ นั้น การกำหนดรู้ที่ท่านยก (หัวข้อ) ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า "ปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่า ญาณ (ญาณที่เป็นสภาวะรู้ โดยความหมายว่าปรากฎอยู่แล้ว"ดังนี้(2)" แล้วกล่าวไว้โดยสังเขปอย่างนี้ว่า "ธรรมทั้งหลายใด ๆ เป็นธรรมที่รู้แล้วด้วยความรู้ยิ่ง ธรรมทั้งหลายนั้น ๆ เป็นธรรมปรากฎแล้ว" ดังนี้" (3) (และ) กล่าวไว้โดยพิสดาร

----------------

(1) ดูรายละเอียดเปรียบเทียบใน อภิ. ก. (ไทย) ๓๗/๑/๑

(2) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๐/๓

(3) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๗๕/๑๒๖

-----------------

๑๑๗๒ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


โดยนัยว่า "ภิกษุทั้งหลายสิ่งทั้งปวงพึงรู้ด้วยความรู้ยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย และสิ่งทั้งปวง ที่พึงรู้ด้วยความรู้ยิ่งคืออะไร ? ภิกษุทั้งหลาย คือจักษุ เป็นสิ่งที่พึงรู้ด้วยความรู้ยิ่ง...ดังนี้"(1) เป็นต้น ชื่อว่า ญาตปริญญา การกำหนดรู้สิ่งที่ได้รู้แล้ว

       ความรู้ด้วยปัญญารู้ยิ่งซึ่งนามและรูปพร้อมทั้งปัจจัย (ของนามและรูปนั้น) เป็นภูมิพื้นเฉพาะของญาตปริญญานั้น


๒. ตีรณปริญญา

       [๘๔๖] แต่ว่าการกำหนดรู้ที่ท่านยก (หัวข้อ) ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า "ปัญญากำหนดรู้ ชื่อว่า ญาณโดยสภาวะว่าไตร่ตรอง" ดังนี้"(2) แล้วกล่าวไว้โดยสังเขปอย่างนี้ว่า "ธรรมทั้งหลายใด ๆ เป็นธรรมที่กำหนดรู้แล้ว ธรรมทั้งหลายนั้นๆ เป็นธรรมที่ท่านไตร่ตรองแล้ว" ดังนี้"(3) (และ) กล่าวไว้โดยพิสดาโดยนัยว่า "ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงพึงกำหนดรู้ ภิกษุทั้งหลาย และสิ่งทั้งปวงที่พึงกำหนดรู้ คืออะไร ? ภิกษุทั้งหลาย คือจักษุเป็นสิ่งที่พึงกำหนดรัรู้ .... " ดังนี้"(4) เป็นตัน ชื่อว่า ตีรณปริญญา การกำหนดรู้ด้วยความไตร่ตรอง

       การกำหนดรู้ที่ดำเนินไปด้วยการไตร่ตรองว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" เริ่มตั้งแต่กลาปสัมมสนญาณจนถึงอนุโลมญาณเป็นภูมิพื้นเฉพาะของตีรณปริญญานั้น


๓. ปหานปริญญา

       [๘๔๗] ส่วนการกำหนดรู้ที่ท่านยก (หัวข้อ) ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า "ปัญญาในการปหาน (การละ ชื่อว่า ญาณโดยสภาวะละทิ้งไป" ดังนี้* แล้วกล่าวไว้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า "ธรรมทั้งหลายใด ๆ เป็นธรรมที่ละได้แล้ว ธรรมทั้งหลายนั้นๆ เป็นธรรมที่ท่านละทิ้งไปแล้ว" ดังนี้" (5) (และ) ดำเนินไปโดยนัยเป็นต้นว่า "ละนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่าเที่ยง) ด้วยอนิจจานุปัสสนา ..." ดังนี้ ชื่อว่า "ปหานปริญญา"

---------------------

๑ ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๗/๙

๒ ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๑/๓

๓ ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๗๕/๑๒๖

๔ ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๒/๓

๕ ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๗๕/๑๒๖

----------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ ๑๑๗๓


       การกำหนดรู้ เริ่มตั้งแต่ภังคานุปัสสนาญาณจนถึงมรรคญาณ เป็นภูมิพื้นของปหานปริญญานั้น ในกิจคือปริญญานี้ ท่านประสงค์เอาปหานปริญญาดังกล่าวนี้ หรือว่า เพราะเหตุที่แม้ญาตปริญญาและตีรณปริญญาก็มีปหานปริญญา (หรือมรรค) นั้นเป็นเป้าหมายอยูโดยเฉพาะ และเพราะเหตุที่โยคีละธรรมทั้งหลายเหล่าใด ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นก็เป็นธรรมที่ปรากฏแล้วและไตร่ตรองไว้แล้วโดยแน่นอน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าโดยปริยายนี้แม้ทั้ง ๓ ปริญญาก็เป็นกิจของมรรคญาณด้วยกัน


ปหาน ๓ อย่าง

       [๘๔๘ คำว่า "แม้ (กิจคือ ปหาน ... ก็มี ๓ อย่างเหมือนกัน" ความว่า ที่จริงแม้ปหาน (ประหาณคือการละ) ก็มี ๓ อย่างเหมือนปริญญานั่นแล คือ 

       ๑. วิกขัมภนปหาน ละด้วยการข่มไว้

       ๒. ตทังคปหาน ละองค์นั้นๆ ด้วยองค์นั้นๆ

       ๓. สมุจเฉทปหาน ละโดยตัดขาด


๑. วิกขัมภนปหาน

       ในปหาน ๓ อย่างนั้น การข่มธรรมที่เป็นข้าศึกทั้งหลายมีนิวรณ์เป็นต้น ไว้ด้วยโลกียสมาธินั้นๆ เหมือนกั้นสาหร่ายไว้ด้วยหม้อที่แกว่งไปมาบนผิวน้ำซึ่งมีสาหร่ายนี้เรียกว่า วิกขัมภนปหาน แต่ในพระบาลี ท่านกล่าวไว้เฉพาะการข่มนิวรณ์ทั้งหลายเท่านั้นว่า "และการละด้วยการข่มนิวรณ์ทั้งหลายไว้ของโยคีผู้ทำปฐมฌานให้เกิด" ดังนี้"(1) พึงทราบว่า คำพระบาลีนั้น ท่านกล่าวไว้เพราะ (ปหาน) ปรากฏอยู่ เพราะว่า นิวรณ์ทั้งหลายหาท่วมทับจิตทันทีทันใด ทั้งในตอนต้น ทั้งในตอนท้ายของฌานมิได้ ธรรมทั้งหลายมีวิตกเป็นต้นก็ถูกข่มไว้ เฉพาะในขณะที่ฌานเป็นอัปปนาแล้วเท่านั้น เพราะฉะนั้น การข่มนิวรณ์ทั้งหลายไว้ จึงปรากฏชัด

------------------

(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๔/๓๔

-----------------

๑๑๗๔ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


๒. ตทังคปหาน

       [๘๔๙ ส่วนปหานใด ละธรรมที่พึงละนั้น ๆ โดยความเป็นปฏิปักษ์โดยเฉพาะด้วยองค์ญาณนั้นๆ ซึ่งเป็นอวัยวะของวิปัสสนา เปรียบเหมือนการปหานความมืดได้ด้วยประทีปที่จุดลุกโพลงในเวลากลางคืน นี้ เรียกว่า ตทังคปหาน


ตทังคปหานตามวิปัสสนาญาณ

       ตทังคปหานนี้เป็นอย่างใด ?

       ก่อนอื่น ได้แก่ ปหาน คือการละ :

              ๑. สักกายทิฏฐิ ด้วยการกำหนดรู้นามและรูป

              ๒. ทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและปราศจากเหตุอันสมควรและมลทินคือความสงสัย ด้วยการกำหนดรู้ปัจจัย (ของนามและรูป)

              ๓. ความยึดถือโดยเป็นก้อนว่า "เรา,ของเรา" ด้วยการกำหนดรู้โดยความเป็นกลุ่มก้อน

              ๔. ความสำคัญหมายรู้ในสิ่งที่มิใช่มรรคว่าเป็นมรรค ด้วยการกำหนดรู้สิ่งเป็นมรรคและสิ่งไม่เป็นมรรค

              ๕. อุจเฉททิฎฐิ ด้วยเห็นความเกิดขึ้น

              ๖. สัสสตทิฏฐิ ด้วยเห็นความดับ

              ๗. ความหมายรู้ในสิ่งมีความน่ากลัวว่าไม่น่ากลัว ด้วยความปรากฎเป็นของน่ากลัว

              ๘. ความหมายรู้ว่าเป็นที่ชื่นชมยินดี ด้วยการเห็นโทษชั่วร้าย

              ๙. ความหมายรู้ว่าน่าอภิรมย์ ด้วยการเห็นเนือง ๆ ด้วยความเบื่อหน่าย

              ๑๐. ความไม่ปรารถนาเพื่อพ้นไป ด้วยความปรารถนาเพื่อพ้นไป

              ๑๑. ความไม่พิจารณาทบทวน ด้วยการพิจารณาทบทวน

              ๑๒. ความไม่วางเฉย ด้วยการวางเฉย

              ๑๓. ความยึดมั่นโดยขัดแย้งต่อสัจจะ ด้วยการคล้อยตาม

--------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ  น. ๑๑๗๕


มหาวิปัสสนา ๑๘

       แต่หรือว่าปหานใด ใน มหาวิปัสสนา ๑๘ "(1) คือการละ :

              ๑. นิจจสัญญา ด้วย อนิจจานุปัสสนา

              ๒. สุขสัญญา ด้วย ทุกขานุปัสสนา

              ๓. อัตตสัญญา ด้วย อนัตตานุปัสสนา

              ๔. ความเพลิดเพลิน ด้วย นิพพิทานุปัสสนา

              ๕. ความกำหนัด ด้วย วิราคานุปัสสนา

              ๖. สมุทัย ด้วย นิโรธานุปัสสนา

              ๗. ความยึดถือ ด้วย ปฏินิสสัคคานุปัสสนา

              ๘. ความหมายรู้ว่าเป็นก้อน ด้วย ขยานุปัสสนา

              ๙. ความขวนขวาย ด้วย วยานุปัสสนา

              ๑๐. ความหมายรู้ว่ายั่งยืน ด้วย วิปริณามานุปัสสนา

              ๑๑.  นิมิต  ด้วย อนิมิตตานุปัสสนา

              ๑๒. ความตั้งมั่น  ด้วย อัปปณิหิตานุปัสสนา

              ๑๓. ความยึดมั่น ด้วย สุญญตานุปัสสนา

              ๑๔. ความยึดมั่นโดยยึดถือว่าเป็นสาระ ด้วย อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา

              ๑๕. ความยึดมั่นคือความลุ่มหลง  ด้วย ยถาภูตญาณทัสสนะ

              ๑๖. ความยึดมั่น ด้วยความอาลัย  ด้วย อาทีนวานุปัสสนา

              ๑๗. ความไม่พิจารณาทบทวน ด้วย ปฏิสังขานุปัสสนา

              ๑๘. ความยึดมั่น ด้วยความผูกพัน ด้วย วิวัฏฎานุปัสสนา

       แม้ ปหาน ดังกล่าวนี้ก็เป็น ตทังคปหาน เหมือนกัน


อธิบายความในมหาวิปัสสนาแต่ละข้อ "(2)

       [๘๕-] ในมหาวิปัสสนา ๑๘ นั้น การละนิจจสัญญาเป็นต้นด้วยอนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นโดยประการใด การละด้วยประการนั้น ได้กล่าวไว้ใน (ตอนว่าด้วย) ภังคานุปัสสนา เรียบร้อยแล้ว

------------------

(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๔/๓๔

(2) ดูคำแปล มหาวิปัสสนา ๑๘ แต่ละอย่างในหน้า ๑๐๕๒-๑๐๕๔ ข้างต้น

------------------

น. ๑๑๗๖  คัมภีร์วิสุทธิมรรค 


       แต่คำว่า "ขยานุปัสสนา" หมายถึง ญาณของท่านผู้ทำการสลายตัวของความเป็นก้อนออกไป แล้วเห็นความสิ้นไปอย่างนี้ว่า "ชื่อว่าไม่เที่ยงโดยความหมายว่าสิ้นไป" การละฆนสัญญา (ความสำคัญว่า เป็นก้อน) ก็มีได้ด้วยญาณนั้นคำว่า "วยานุปัสสนา" หมายถึง ความเป็นผู้เห็นความดับของสังขารทั้งหลายโดยพิจารณาเห็นเองและโดยอนุมาน แล้วน้อมจิตไปในนิโรธ กล่าวคือความดับนั้นโดยเฉพาะซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า:-

                     อารมฺมณานวเยน      อุโภ เอกววฏฺฐานา

                     นิโรเธ  อธิมุตฺตตา     วยลกฺขณวิปสฺสนา.

       แปลความว่า

              การกำหนดอารมณ์ทั้งสอง (คือทั้งที่เห็นและมิได้เห็น)

              โดยความเป็นอันเดียวกันโดยอำนวยตามอารมณ์ คือ

              ความน้อมจิตไปในนิโรธ ชื่อว่าวยลักขณวิปัสสนา (คือ

              การเห็นแจ้งซึ่งลักษณะแห่งความดับ)(1)

       เป็นอันละความขวนขวายได้ด้วย วยานุปัสสนา นั้น เพราะว่าเมื่อโยคีเห็นอยู่ โดยแจ่มแจ้งว่า "บุคคลพึงขวนขวาย เพื่อประโยชน์แก่สังขารทั้งหลายเหล่าใด สังขารทั้งหลายเหล่านั้น มีความดับไปเป็นธรรมดาอย่างนี้" จิต (ของโยคีนั้น) ก็ไม่น้อมไปในความขวนขวาย

       คำว่า "วิปริณามานุปัสสนา" หมายถึง การเห็นเลยขอบเขตนั้นๆ ไป แล้วดำเนินไปโดยประการอื่นด้วยอำนาจกัมมัฏฐานมีรูปสัตตกกัมมัฏฐานเป็นต้น หรือว่าการเห็นความแปรผันของสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยอาการ ๒ อย่าง คือด้วยชรา ๑ ด้วยมรณะ ๑ เป็นอันละความสำคัญว่ายั่งยืนได้ด้วยวิปริณามานุปัสสนานั้น

-----------------

(1) ดูอธิบาย มหาวิปัสสนา เหล่านี้ ใน สทฺธมฺมปกาสินี, น. ๑๒๕

------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๗๗


       คำว่า "อนิมิตตานุปัสสนา" ได้แก่ อนิจจานุปัสสนานั่นเอง การละนิมิตว่าเที่ยงก็มีได้ด้วยอนิจจานุปัสสนานั้น

       คำว่า "อัปปณิหิตานุปัสสนา" ได้แก่ ทุกขานุปัสสนานั่นเอง การละความทะเยอทะยานในสุขและความปรารถนาสุขก็มีได้ด้วยทุกขานุปัสสนานั้น

       คำว่า "สุญญตานุปัสสนา" ได้แก่ อนัตตานุปัสสนานั่นเอง การละความยึดมั่นว่า "มีอัตตา" ก็มีได้ด้วยอนัดตานุปัสสนานั้น

       คำว่า "อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา" หมายถึง วิปัสสนาที่รู้อารมณ์ มีรูปเป็นตันแล้วเห็นความดับของอารมณ์นั้นด้วยและความดับของจิตซึ่งมีรูปเป็นต้นนั้นเป็นอารมณ์ด้วย แล้วถือไว้ซึ่งความว่างเปล่าเป็นต้น ด้วยอำนาจภังคญาณว่า "สังขารทั้งหลายนั่นแลแตกดับไป ความตายมีอยู่แก่สังขารทั้งหลาย ไม่มีใครๆ อื่น" ซึ่งท่านกล่าวไว้แล้วอย่างนี้ว่า:-

                     อารมฺมณญฺจ ปฏิสงฺขา   ภงฺคญฺจ อนุปสฺสติ

                     สุญฺญโต จ อุปฏฺฐานํ     อธิปญฺญา วิปสฺสนา.

       แปลความว่า

              กำหนดรู้อารมณ์และเห็นเนืองๆซึ่งความดับกับทั้งความ

              ปรากฏโดยความว่างเปล่า คืออธิปัญญาวิปัสสนา(1)

              วิปัสสนา (ดังกล่าว) นั้น ท่านเรียกว่า "อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา" เพราะทำ

              วิเคราะห์ศัพท์ว่า "ปัญญารู้ยิ่งด้วย เห็นแจ้งในธรรมทั้งหลายด้วย" ดังนี้ การละ

              ความยึดมั่นด้วยความยึดถือว่าเป็นแก่นสาร มีได้ด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนานั้น

              เพราะเห็นแล้วเป็นอย่างดีถึงความไม่มีสาระอันเที่ยงแท้และความไม่มีสาระ คืออัตตา

----------------------

๑ ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/ ๕๒/๘๓

----------------------

น. ๑๑๗๘  คัมภีร์วิสุทธิมรรค


       คำว่า "ยถาภูตญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง" ได้แก่ การกำหนดรู้นามและรูปพร้อมทั้งปัจจัย การละความยึดมั่นคือความลุ่มหลงซึ่งเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า "เราได้มีมาแล้วในกาลอดีตหรือหนอแล" และโดยนัยเป็นต้นว่า "โลกเกิดมีขึ้นจากพระอิศวร" ดังนี้ (การละนี้) มีได้ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะนั้น

       คำว่า "อาทีนวานุปัสสนา ความเห็นเนืองๆ ซึ่งโทษชั่วร้าย" หมายถึง ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นโทษชั่วร้ายในภพ ๓ เป็นต้น ทุกหนทุกแห่ง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยความปรากฎเป็นของน่า กลัว (ภยตุปัฏฐานญาณ) การละความยึดมั่นด้วยความอาลัยโดยเห็นว่า "ไม่ปรากฏสิ่งไร ๆ ที่ควรติดอยู่" มีได้ด้วยอาทีนวานุปัสสนาญาณนั้น

       คำว่า "ปฏิสังขานุปัสสนา การตามดูด้วยการกำหนดรู้ทบทวน" ได้แก่ปฏิสังขาญาณ ทำอุบายเพื่อการพ้นไป การละความไม่กำหนดรู้ทบทวน มีได้ด้วยปฏิสังขาญาณนั้น

       คำว่า "วิวัฏฏานุปัสสนา การตามเห็นเนืองๆ ด้วยจิตถอยกลับ" ได้แก่สังขารุเปกขาญาณและอนุโลมญาณ เพราะได้กล่าวไว้แล้วว่า "ในเวลานั้น จิตของโยคีนั้นก็ถอยกลับ หวนกลับ วกกลับ จากสังขารทั้งปวง เหมือนหยุดน้ำในใบบัว ซึ่งขอบใบงอนิด ๆ" เพราะฉะนั้น การละความยึดมั่นด้วยความผูกพัน จึงมีได้ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนานั้น อธิบายว่าการละความยึดมั่นด้วยกิเลสมีกามสังโยคเป็นต้น มีได้ด้วยความไม่เป็นไปของกิเลส

       พึงทราบ ตทังคปหานโดยพิสดารด้วยประการดังกล่าวนี้ แต่ในพระบาลี ท่านกล่าวแต่โดยสังเขปเท่านั้นว่า "และการละทิฏฐิทั้งหลายด้วยองค์นั้น ๆ ของท่านโยคีผู้ทำสมาธิ ซึ่งมีส่วนเจาะทะลุให้เกิด"(1)

-------------------

(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๕๒/๘๓

--------------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ  น. ๑๑๗๙


๓. สมุจเฉทปหาน

       [๘๕๑] ส่วน ปหาน (คือการละ) ใด ละธรรมทั้งหลายมีสังโยชน์เป็นต้นด้วยอริยมรรคญาณโดยอาการที่ธรรมทั้งหลายมีสังโยชน์เป็นต้นเหล่านั้น ไม่เป็นไปได้อีกต่อไปเหมือนประหารต้นไม้ที่ถูกจักรวิเศษของสายฟ้าฟาด นี้เรียกว่า สมุจเฉทปหาน ซึ่งท่านกล่าวระบุถึงไว้ (ในพระบาลี) ว่า "อนึ่ง สมุจเฉทปหานของท่านโยคีผู้ทำมรรคไปสู่ความดับ อันเป็นโลกุตตระให้เกิด" ดังนี้"(1)

       ในปหานทั้ง ๓ เหล่านี้ ด้วยประการดังกล่าว ในญาณทัสสนวิสุทธินี้ท่านประสงค์เอา สมุจเฉทปหาน อย่างเดียว

       และโดยเหตุที่แม้วิกขัมภนปหานและตทังคปหาน ในตอนต้นๆ ของโยคีนั้นก็มีสมุจเฉทปหานนั้นเป็นเป้าหมายโดยเฉพาะอยู่แล้วเพราะฉะนั้นโดยปริยายนี้ พึงทราบว่า ปหานแม้ทั้ง ๓ ก็เป็นกิจของมรรคญาณด้วยกัน เพราะเปรียบเหมือนว่า ถึงแม้กิจกรรมใดที่พระราชาผู้เป็นปฏิปักษ์ ทรงทำไว้ในกาลก่อนหน้านั้น ครั้นพระราชาผู้ปลงพระชนม์ชีพพระราชาผู้เป็นปฏิปักษ์แล้วเสด็จเถลิงราชสมบัติ เขาก็กล่าวกันว่ากิจกรรมนี้และกิจกรรมนั้นพระราชา (องค์เถลิงราชสมบัติ) ทรงทำไว้ทั้งหมดนั้นแล


สัจฉิกิริยา ๓ (2)

       [๘๕๒]  คำว่า "แม้สัจฉิกิริยาก็มี ๓ อย่างเหมือนกัน" ความว่า สัจฉิกิริยาแม้จำแนกเป็น ๒ อย่างคือ

       ๑. โลกียสัจฉิกิริยา

       ๒. โลกุตตรสัจฉิกิริยา

-------------------

(1)ดูเทียบ ม. มู. (ไทย ๑๒/๑๘/๑๙     (1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย ๓๑/๒๔/๓๔

(2) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๔/๓๔

(2) สัจฉิกิริยา แปลตามศัพท์ว่า ทำให้เห็นด้วยดวงตาตนเอง, ส=ตนเอง+อกฺขิ=ดวงตา+กิริยา=ทำ, เทียบบาลีว่า สกฺขึ กโรติ. แต่ด้วยอิทธิพลแบบสันสกฤต เพราะอยู่หน้า กร จึงแปลง กฺข เป็น จฺฉ เป็น สจฺฉิกโรติ

--------------------

๑๑๘๐ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


       สำหรับโลกุตตรสัจฉิกิริยา มี ๓ อย่างโดยแตกต่างกันด้วยทัสสนะ และ ภาวนา ในสัจฉิกิริยา ๒ นั้น การสัมผัสฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นตัน ซึ่ง (มีที่) มาโดยนัย(พระบาลี) ว่า "ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความชำนาญในปฐมฌาน.... ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้เห็นแจ้งแล้ว"(1)" ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า "โลกียสัจฉิกิริยา"

       คำว่า "ผัสสนา (คือสัมผัส)" หมายถึงว่า การบรรลุแล้วถูกต้องด้วยการสัมผัสด้วยญาณโดยประจักษ์ (แก่ตนเอง) ว่า "สิ่งนี้ข้าพเจ้าได้ประสบแล้ว" ความจริง ท่านก็หมายถึงความข้อ (หลัง) นี้แหละ จึงยก (หัวข้อ) ขึ้นแสดงว่า "ปัญญาในสัจฉิกิริยาชื่อว่าญาณโดยความหมายว่าถูกต้อง" ดังนี้"(2) แล้วกล่าวนิเทศของสัจฉิกิริยา (ต่อไป)ว่า "ธรรมทั้งหลายใด ๆ เป็นธรรมที่ท่านทำให้เห็นแจ้งแล้ว ธรรมทั้งหลายนั้นๆ เป็นธรรมที่ท่านสัมผัสแล้ว"(3)" อีกอย่างหนึ่ง  ธรรมทั้งหลายเหล่าใดแม้มิได้ทำให้เกิดขึ้นในสันดานของตนเอง แต่รู้แล้วทั้งสิ้นด้วยญาณโดยมิต้องอาศัยผู้อื่นเป็นปัจจัย ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นธรรมที่ทำให้เห็นแจ้งแล้วเช่นกัน แท้จริงด้วยเหตุนั้นนั่นเอง พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง ภิกษุพึงทำให้เห็นแจ้งภิกษุทั้งหลาย และสิ่งทั้งปวง ที่ภิกษุพึงทำให้เห็นแจ้งคืออะไร ? ภิกษุทั้งหลาย คือจักษุ ภิกษุพึงทำให้เห็นแจ้ง ... "ดังนี้*(4) เป็นต้น ทั้งยังกล่าวไว้ต่อไปอีกว่า "เมื่อเห็นรูปก็ทำให้เห็นแจ้ง เมื่อเห็นเวทนา ... ฯลฯ ... เมื่อเห็นวิญญาณก็ทำให้เห็นแจ้ง เมื่อเห็นจักษุ ... เห็นชราและมรณะ เห็นพระนิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะก็ทำให้เห็นแจ้งเพราะเหตุนี้ ธรรมทั้งหลายใด ๆ เป็นธรรมที่ทำให้เห็นแจ้งแล้ว ธรรมทั้งหลายนั้น ๆ ชื่อว่าเป็นธรรมที่ถูกต้องแล้ว" ดังนี้"(5)

       แต่ว่า การเห็นพระนิพพานในขณะ (บรรลุ) ปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค) เป็นทัสสนสัจฉกิริยา (ทำให้เห็นแจ้งด้วยการเห็น) ส่วนในขณะแห่งมรรคอื่นที่เหลือ เป็น 

-----------------

สจฺฉิกิริยา

(1)ดูเทียบ วิ. มหา. (ไทย ๑/๒๐๓-๒๐๔/๑๘๘-๑๘๙

(2) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๔/๓ 

(3) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๗๕/๑๒๖

(4) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๙/ ๔๖ 

(5) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๙/ ๔๗

---------------

ปริจเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ ๑๑๘๑


ภาวนาสัจฉิกิริยา (ทำให้เห็นแจ้งด้วยการทำให้เกิด) ฉะนี้แล ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาสัจฉิกิริยาแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า การทำให้เห็นแจ้งซึ่งพระนิพพานโดยทางทัสสนะและภาวนาเป็นกิจของญาณนี้


ภาวนา ๒ อย่าง

       [๘๕๓] คำว่า "ภาวนารู้กันแล้วว่ามี ๒ อย่าง" ความว่า ส่วน ภาวนา ท่านตกลงไว้ ๒ อย่างเท่านั้น คือ:

             ๑. โลกียภาวนา

             ๒. โลกุตตรภาวนา

       ใน ๒ ภาวนานั้น การทำศีล สมาธิ และปัญญาทั้งหลายฝ่ายโลกิยะให้เกิดขึ้นและการอบรมสันดานด้วยศีล สมาธิ และปัญญาทั้งหลายฝ่ายโลยะนั้น เป็น โลกียภาวนา

       การทำ ศีล สมาธิ และปัญญาทั้งหลายฝ่ายโลกุตตระให้เกิดขึ้น และการอบรมสันดานด้วยศีล สมาธิ และปัญญาทั้งหลายฝ่ายโลกุตตระนั้น เป็น โลกุตตรภาวนาในภาวนาทั้งสองนั้น ในญาณทัสสนวิสุทธิกถานี้ ประสงค์เอาโลกุตตรภาวนาเพราะว่า (มรรค) ญาณแม้ทั้ง ๔ อย่างนี้ ทำศีลเป็นต้นที่เป็นโลกุตตระให้เกิดขึ้นโดยความเป็นปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น ของศีล สมาธิ และปัญญาทั้งหลาย ที่เป็นโลกุตตระเหล่านั้น และพระอริยบุคคลก็อบรมสันดาน (ของตน) ด้วยศีลเป็นต้นที่เป็นโลกุตตระเหล่านั้น เพราะเหตุนี้โลกุตตรภาวนานั่นแล เป็นกิจของมรรคญาณนั้นดังนี้แล

       "(๕) กิจทั้งหลายใด มีการกำหนดรู้เป็นต้น ในเวลาตรัสรู้ซึ่งกล่าวไว้แล้วนั้น โยคีควรทราบไว้ตามสภาวะทุกประการ" ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ฉะนี้แล

       อนึ่ง เพื่อแสดงวิธีแห่งการทำปัญญาให้เกิด ซึ่งมีมาแต่โดยสรุปเท่านั้น อย่างนี้ว่า

----------------

น. ๑๑๘๒   คัมภีร์วิสุทธิมรรค


              สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโถ       จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาว ฯเปฯ

              พระภิกษุ ผู้เป็นนรชน มีปัญญา ตั้งอยู่ในศีลแล้วพึงทำ

              สมาธิจิตและอริยปัญญาให้เกิด ฯลฯ ดังนี้

       คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว (ข้างต้น) ว่า "พระภิกษุผู้ทำวิสุทธิ ๒ (คือสีลวิสุทธิ

       และจิตตวิสุทธิ) อันเป็นรากเหง้าให้ถึงพร้อมแล้ว ทำวิสุทธิ ๕ (คือทิฏฐิวิสุทธิ กังขา-

       วิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสน-

       วิสุทธิ) อันเป็นลำต้นให้ถึงพร้อมอยู่ พึงทำปัญญาให้เกิดขึ้น" ดังนี้ คำนั้นเป็นอัน

       ข้าพเจ้าขยายความพิสดารแล้วด้วยคำมีประมาณดังกล่าวมานี้ และปัญหากรรมว่า

       "ควรทำปัญญาให้เกิดอย่างไร" นี้ ข้าพเจ้าก็ได้วิสัชนาแล้วด้วยประการฉะนี้


ปริจเฉทที่ ๒๒ ชื่อว่า ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ

ในอธิการแห่งปัญญาภาวนา ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค

อันข้าพเจ้าทำเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมชแห่งสาธุชน ดังนี้


--------///----------



[full-post]

คัมภีร์วิสุทธิมรรค,วิสุทธิมรรค,ญาณทัสสนวิสุทธิ,ปริจเฉทที่ ๒๒

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.