สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ
ความแตกต่างกันระหว่างอาชีวัฏฐมกศีลกับอุโบสถศีลเป็นไฉน ?
ศีล มี สภาวลักษณ์ เป็น สีลนะ คือ เป็นฐานด้วยอาการ 2 ประการ ดังนี้
1. เป็นฐานทรงความดีไว้ได้(สมาธานฐาน)
2. เป็นฐานรองรับคุณธรรมที่สูงขึ้นไว้ได้(อุปธารณฐาน) เช่น ฌาน อภิญญา เป็นต้น
อาการความเป็นฐานทั้ง
2 ประเภทนี้เนื่องกัน เหมือนฐานตึก ที่ทรงความแข็งแรงไว้ได้ และรองรับน้ำหนักตึกชั้นที่สูงขึ้นไปไว้ได้ ถ้าขาดอาการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ตึกก็จะทรงตัวไม่ได้ ต้องพังทลายลงทันที เหมือนอภิญญาของพระเทวทัต
พอเกิดความละโมบ คิดจะเป็นใหญ่แทนพระพุทธเจ้า อภิญญาก็เสื่อมทันที่ ศีลจึงมี 1 ประเภท โดยสภาวลักษณ์(ลักษณเฉพาะของศีล) แต่เมื่อจำแนกโดยอาศัยธรรมต่างๆ จึงมีมากมาย เช่น อาศัยธรรมที่จำเป็นต้องมีก่อนการบรรลุมรรคผล คือ เป็นศีลประเภทที่มีสมาธานฐานแข็งแรง เพื่อทำกิจรองรับมรรคผล ซึ่งจะขาดไม่ได้ ก็จะมี 2 ประเภท คือ
1.อภิสมาจาริกศีล(ศีลที่เป็นจรรยาบรรณ)
2.อาทิพรหมจริยกศีล(ศีลที่เป็นการเลี้ยงชีพ=อาชีวัฏฐมกศีล)
ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า " ปุพฺเพว โข ปนสฺส กายกมฺมํ วจีกมฺมํ อาชีโว สุปริสุทฺโธ โหติ. "
ความว่า " ก็เพราะเหตุว่า กายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเธอ มีความบริสุทธิ์หมดจดมาก่อนนั่นแล "(ม.อุ.14/476) และทรงตรัสย้ำถึงเหตุความบริบูรณ์ของสมาธานฐานไว้ว่า " โส วต ภิกฺขเว ภิกขุ อาภิสมาจาริกํ ๆ เป ๆ เนตํ ฐานํ วิชฺชติ. " ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ว่า ภิกษุนั้น ยังไม่ได้ทำอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จะทำอาทิพรหมจริยกธรรมให้บริบูรณ์ หามีได้ไม่แล. " (องฺ. ปญฺจก. 22/16)
ดังนั้น ความแตกต่างกัน ระหว่าง อาชีวัฏฐมกศีล กับ ศีล 8 (อุโบสถศีล)
ในคัมภีร์นิสสย อักษรล้านช้างก่อนยุกมูลกัจจายนหายไปจากพื้นที่ จึงขยายรายละเอียดให้เห็นได้ดังนี้
1.อาชีวัฏฐมกศีล นอกองค์มรรค มีอาการสมาธานฐานแข็งแรง เกิดได้ที่ละข้อ จึงมีอานุภาพ(สัตติ)
เป็นอุปถัมภปัจจัย เหมือนเป็นพี่เลี้ยง
2.อุโบสถศีล มีอาการอุปธารณฐานแข็งแรง เพราะเป็น ปริยันตปาริสุทธิศีล จึงมีอานุภาพ(สัตติ) เป็นชนกปัจจัย เหมือนเป็นพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด
3. อาชีวัฏฐมกศีลในองค์มรรค มีทั้งอาการสมาธานฐานแข็งแรง จากโลกิยญาณ มีทั้งอาการอุปธารณฐานแข็งแรง จากโลกุตรญาณ(มรรคญาณ)
เกิดได้พร้อมกันทุกข้อ จึงมีอานุภาพ(สัตติ) เป็นทั้งอุปถัมภปัจจัย เป็นทั้งชนกปัจจัย เหมือนเป็นทั้งพ่อแม่ เป็นทั้งพี่เลี้ยงแล
-------------///-------------
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ