๑๒. อนุโลมญาณ
[๘๐๔] เมื่อโยคีนั้นเสพเนืองๆ ทำให้เกิดขึ้น ทำให้มากขึ้น ซึ่งสังขารุเปกขาญาณนั้นอยู่ ศรัทธา คืออธิโมกข์ ก็เกิดมีกำลังเข้มแข็งขึ้น ความเพียรก็ได้รับประคับประคองดี สติก็เข้าตั้งอยู่เป็นอย่างดี จิตก็เป็นสมาธิดีขึ้น สังขารุเปกขาก็เกิดแก่กล้ายิ่งขึ้น ครั้นโยคีนั้นเกิดความคิดว่า "มรรค (ญาณ) จักเกิด ณ บัดนี้แน่" สังขารุเปกขาก็กำหนดรู้สังขารทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง หรือว่าเป็นทุกข์ หรือว่าเป็นอนัตตา แล้วหยั่งลงสู่ภวังค์ ในลำดับแห่งภวังค์ มโนทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้น ทำสังขารทั้งหลายเป็นอารมณ์ว่าไม่เที่ยง หรือว่าเป็นทุกข์ หรือว่าเป็นอนัตตา โดยนัยเดียวกับที่สังขารุเปกขาญาณทำมาแล้วนั่นแหละ ในลำดับแห่งกิริยาจิตที่เกิดขึ้น หันเหภวังคจิตไปจากซึ่งท่านเรียกว่า มโนทวาราวัชชนะนั้น ชวนจิตดวงที่ ๑ (คืออนุโลมญาณ ที่ ๑) ซึ่งท่านเรียกว่า "บริกรรม" ก็เกิดขึ้นสืบต่อตามติดไม่มีช่องว่าง ทำสังขารทั้งหลายเป็นอารณ์อย่างนั้นเหมือนกัน ในลำดับนั้น ชวนจิตดวงที่ ๒ (อนุโลมญาณ ที่ ๒) ซึ่งท่านเรียกว่า
---------------
น. ๑๑๒๖ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
"อุปจาร" ก็เกิดขึ้น ทำสังขารทั้งหลายเป็นอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ในลำดับต่อจากนั้น ชวนจิตดวงที่ ๓ ซึ่งท่านเรียกว่า "อนุโลม" (คืออนุโลมญาณ ที่ ๓) ก็เกิดขึ้นทำสังขารทั้งหลายเป็นอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน
ชื่อ (ที่เรียก) นี้เป็นชื่อเฉพาะของชวนจิต ๓ ดวงเหล่านั้น แต่จิตทั้ง ๓ อย่างนี้ จะเรียกว่า "อาเสวนะ" บ้าง ว่า "บริกรรม" บ้าง ว่า "อุปจาร" บ้าง ว่า "อนุโลม" บ้างโดยไม่แตกต่างกัน ก็สมควร
(ถามว่า) เป็นอนุโลมของอะไร ?
(ตอบว่า) เป็นอนุโลมของญาณทั้งหลายที่เป็นส่วนเบื้องหน้าและของธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนเบื้องหลัง เพราะว่าอนุโลมญาณนั้นคล้อยตามวิปัสสนาญาณ ๘ เบื้องหน้า เพราะมีกิจเหมือนกัน และคล้อยตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเบื้องบน(เบื้องหลัง) จริงอยู่ อนุโลมญาณนั้น เพราะเหตุปรารภสังขารทั้งหลายแล้วดำเนินไปโดยลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น จึงอนุโลมคล้อยตามญาณทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ เพราะมีกิจ (กำหนดพิจารณาพระไตรลักษณ์) เหมือนกัน ประหนึ่งจะพูดโดยความว่า
๔. อุทยพยญาณ ได้เห็นแล้วซึ่งความเกิดขึ้นและความดับไปของธรรมทั้งหลายที่มีความเกิดและความดับอยู่เป็นปรกตินั่นแลหนอ และว่า
๕. ภังคานุปัสสนาญาณได้เห็นความดับของธรรมทั้งหลาย ที่มีแต่ความดับอยู่อย่างเดียว แล้วละหนอ และว่า
๖. สิ่งซึ่งมีแต่ความน่ากลัวแต่อย่างเดียวหนอ ปรากฏโดยเป็นที่น่ากลัวแก่ภยตุปัฏฐานญาณ แล้ว และว่า
๗. อาที่นวานุปัสสนาญาณได้เห็นโทษเลวร้ายในธรรมที่มีแต่โทษเลวร้ายอย่างเดียว แล้วละหนอ และว่า
๘. นิพพิทาญาณ ก็เบื่อหน่ายแล้ว ในธรรมที่น่าเบื่อหน่ายเสียจริงๆ ละหนอและว่า
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ก็เกิดปรารถนาเพื่อจะพ้นไปเสียจากธรรมที่ควรจะพันไปโดยแท้จริง แล้วละหนอ และว่า
-------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๒๗
๑๐. สิ่งที่ควรทบทวนกำหนดรู้นั่นแลหนอ เรา ได้ทบทวนกำหนดรู้ด้วยปฏิสังขาญาณ แล้ว และว่า
๑๑. สิ่งที่ควรวางเฉยนั่นแลหนอ เรา ได้วางเฉยด้วย สังขารุเปกขาญาณ แล้วดังนี้
และอนุโลมแก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการในเบื้องบน เพราะต้องบรรลุด้วยการปฏิบัติ (วิปัสสนาญาณทั้งหลาย) นั้น
อุปมาอนุโลมญาณ ด้วยพระราชาผู้ทรงธรรม
อุปมาเหมือนพระราชาผู้ทรงธรรม ประทับนั่งในสถานวินิจฉัย ทรงสดับคำวินิจฉัยของท่านมหาอำมาตย์ผู้ว่าคดี ๙ ท่านแล้ว ทรงละการถึงอคติเสีย ทรงตั้งพระองค์เป็นกลาง มีพระราชดำรัสอำนวยตามว่า "จงเป็นอย่างนั้นเถิด" ชื่อว่าทรงอนุโลมแก่คำวินิจฉัยของมหาอำมาตย์เหล่านั้นด้วย และทรงอนุโลมแก่โบราณราชธรรมด้วย ฉันใดข้อเปรียบนี้ ก็พึงทราบฉันนั้น เพราะว่า อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนพระราชา ญาณทั้งหลาย ๘ เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ว่าคดี ๘ ท่าน โพธิปักขิยธรรม ๓๓ เปรียบเหมือนโบราณราชธรรม ในอุปมานั้น พระราชา เมื่อทรงมีพระราชดำรัสว่า "จงเป็นอย่างนั้นเถิด" ชื่อว่าทรงอนุโลมแก่คำวินิจฉัยของมหาอำมาตย์ทั้งหลายผู้ว่าคดีด้วย ทรงอนุโลมแก่ราชธรรมด้วย ฉันใด อนุโลมญาณนี้ก็ฉันนั้น เมื่อเกิดขึ้นปรารภสังขารทั้งหลายโดยพระไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น ชื่อว่าอนุโลมแก่ญาณทั้งหลาย ๘ เพราะมีกิจเหมือนกันด้วย และอนุโลมแก่โพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ๓๗ ในเบื้องตัน (ในขณะมรรคญาณ) ด้วย เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านจึงเรียกว่า สัจจานุโลมมิกญาณ ด้วยประการฉะนี้
จบ อนุโลมญาณ
---------------
น. ๑๑๒๘ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
[๘๐๕] ก็และ อนุโลมญาณ นี้ เป็นญาณสุดท้ายของวุฏฐานคามินีวิปัสสนา ซึ่งมีสังขารเป็นอารมณ์ แต่ทว่า โคตรภูญาณ เป็นปริโยสานของวุฏฐานคามินีวิปัสสนาทั้งหมด โดยประการทั้งปวง
วุฏฐานคามินีวิปัสสนา ในชื่ออื่น
เพื่อไม่หลงสับสนใน วุฏฐานคามินีวิปัสสนา (ที่กล่าวมา) นั้นนั่นแล ณ บัดนี้
ควรทราบการเปรียบเทียบทางพระสูตรไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๑. ตรัสเรียกไว้ใน สฬายตนวิภังคสูตร"(1) ว่า "อตัมมยตา ความไม่มีตัณหาเกิดขึ้นจากโลกียสังขาร" ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า "อตมฺมยตํ ภิกฺขเว นิสฺสาย อตมฺมยตํ อาคมฺม, ยา อุเปกฺขา เอกตฺตา เอกตฺตสิตา, ตํ ปชหถ ตํ สมติกฺกมถ" แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอาศัย อตัมมยตา (หมายถึง วุฏฐานคามินีวิปัสสนา) มาถึง อตัมมยตา แล้ว จงละอุเบกขาซึ่งมีความเป็นสภาวะเดียวอาศัยความมีอารมณ์เดียวนี้นั้นเสีย จงก้าวข้ามอุเบกขาซึ่งมีความเป็นสภาวะเดียว อาศัยความมีอารมณ์เดียวนี้นั้นไปเสีย" ดังนี้
๒. ตรัสเรียกไว้ใน อลคัททูปมสูตร"(2) ว่า "นิพพิทา" ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า "นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ, วิราคา วิมุจฺจติ" แปลว่า "เมื่อเบื่อหน่าย ก็คลายกำหนัด เพราะปราศจากกำหนัด ก็หลุดพันไป" ดังนี้
๓. ตรัสเรียกไว้ใน สุสิมสูตร ว่า "ธัมมฐิติญาณ" ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า "ปุพุเพ โข สุสิม ธมฺมฏฺฐิติญาณํ ปจฺฉา นิพฺพาเน ณาณํ""(3) แปลว่า "สุสิมะ ธัมมฐิติญาณ เกิดก่อนแล ญาณในพระนิพพานเกิดในภายหลัง" ดังนี้
------------------
(1) ดูเทียบ ม. อุ. (ไทย) ๑๔/๓๑๐/๓๗๗
(2) ดูเทียบ ม. มู. (ไทย) ๑๒/๒๔๕/๒๖๒ และดูหน้าข้างต้นในเล่มนี้
(3) ดูเทียบ สํ. นิ. (ไทย) ๑๖/๗๐/๑๔๘ และดูหน้าข้างต้นในเล่มนี้
------------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๒๙
๔. ตรัสเรียกไว้ใน โปฏฐปาทสูตร"(1) ว่า "สัญญัคคะ" ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า "สญฺญา โข โปฏฺฐปาท ปฐมํ อุปฺปชฺชติ ปจฺฉา ณาณํ" แปลว่า "โปฏฐปาทะสัญญา(สัญญัคคะ แลเกิดก่อน ญาณเกิดภายหลัง" ดังนี้
๕. พระสารีบุตรเถระเรียกไว้ใน ทสุตตสูตร"(2) ว่า "ปาริสุทฺธิปธานิยังคะ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์" ด้วยคำอย่างนี้ว่า "ปฏิปทาณาณทสฺสนวิสุทฺธิปาริสุทฺธิปธานิยงฺคํ" แปลว่า "ปาริสุทธิปธานิยังคะ คือปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ" ดังนี้
๖. กล่าวไว้ใน ปฏิสัมภิทามรรค"(3) โดย ๓ ชื่ออย่างนี้ "มุญจิตุกัมยตาใด ๑ ปฏิสังขานุปัสสนาใด ๑ และสังขารุเปกขาใด ๑ ธรรม (๓ อย่าง) นี้ มีความหมายอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน" ดังนี้
๗. ตรัสไว้ในคัมภีร์ ปัฏฐาน"(4) โดยชื่อ ๓ ชื่อ ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า "อนุโลมํโคตฺรภุสฺส อนุโลมํ โวทานสฺส" แปลว่า "อนุโลม (ญาณ) เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่ โคตรภู (ญาณ) อนุโลม(ญาณ) เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่โวทาน" ดังนี้
๘. ท่านพระสารีบุตรเถระเรียกไว้ใน รถวินีตสูตร"(5) ว่า "ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ" ด้วยคำอย่างนี้ว่า "กึ ปนาวุโส ปฏิปทาณาณทสฺสนวิสุทฺธตฺถํ ภควติ พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ" แปลว่า อาวุโส แต่ว่าท่านอยู่พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ" ดังนี้
อิติเนเกหิ นาเมหิ กิตฺติตา ยา มเหสินา
วุฏฺฐานคามินี สนฺตา ปริสุทฺธา วิปสฺสนา.
วุฏฺฐาตุกาโม สํสาร- ทุกฺขปงฺกา มหพฺภยา
กเรยฺย สสตํ ตตฺถ โยคํ ปณฺฑิตชาติโก.
-----------------
(1) ดูเทียบ ที. สี. (ไทย) ๙/๕๑๖/๑๘๓
(2) ดูเทียบ ที่. ปา. (ไทย) ๑๑/๓๒๕'๙/๔'๑๙
(3) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๒๗/๓๘๔
(4) ดูเทียบ อภิ. ป. (ไทย) ๔๐/ ๔๑๘/๒๖๕
(5) ดูเทียบ ม. มู. (ไทย) ๑๒/๒๕๙/๒๗๘ ควรดูอธิบาย วุฏฐานคามินีวิปัสสนา คล้ายกันนี้ ในปปัญจสูทนี, ทุติยภาค, (บาลี) น. ๑๕๑-๑๕๒
-----------------
น. ๑๑๓๐ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
แปลว่า
วุฏฐานคามินีวิปัสสนาใด ซึ่งสงบ บริสุทธิ์ พระมหาฤษี
ตรัสประกาศไว้โดยชื่อหลายชื่อดังกล่าวฉะนี้ ท่านผู้มีชาติ
บัณฑิต ผู้ปรารถนาเพื่อออกไปจากทะเลตมคือสังสารทุกข์
ซึ่งมีภัยใหญ่หลวง พึงทำโยคะเนืองๆ ในวุฏฐานคามินี-
วิปัสสนานั้นแล
ปริจเฉทที่ ๒๑ ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ
ในอธิการแห่งปัญญาภาวนา ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค
อันข้าพเจ้าทำเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมชแห่งสาธุชน ดังนี้
--------////---------
[full-post]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ