๑๑. สังขารุเปกขาญาณ
สุญญตานุปัสสนา การเห็นเนืองๆ โดยความว่างเปล่ามีเงื่อน ๒
[๗๖๐] โยคาวจรนั้นครั้นกำหนดรู้ว่า"สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของว่างเปล่า" ด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ดังกล่าวมาแล้วนั้น จึงกำหนดสุญญตา (ความว่างเปล่า)มีเงื่อน ๒ ต่อไป อีกว่า "สังขารนี้ ว่างเปล่าจากอัตตา ๑ หรือ ว่างเปล่าจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ๑"(1)"
-----------------
(1) ดูเทียบ ม. อุ. (ไทย) ๑๔/๖๙/๗๕
-----------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๙๗
สูญญตา มีเงื่อน ๔
โยคาวจรนั้น ครั้นไม่เห็นอัตตา ไม่เห็นอะไร ๆ อื่นที่ตั้งอยู่ในภาวะเป็นบริขารของอัตตา ก็กำหนดรู้ สูญญตา มีเงื่อน ๔ ซึ่งท่านกล่าวไว้ในอธิการแห่ง สุญญตานุปัสสนานี้ต่อไปอีกว่า
๑. นาหํ กฺวจนิ - ไม่มีฉันอยู่ ณ ที่ไหนๆ
๒. กสฺสจิ กิญฺจนตสฺมึ - ในความเป็นอะไรๆ ของใครๆ
๓. น จ มม กฺวจนิ - และไม่มีอยู่ ณ ที่ไหนๆ ของฉัน
๔. กิสฺมิญฺจิ กิญฺจนตตฺถิ - ไม่มีความเป็นอะไรๆ ณ ที่ไหนๆ"(1)
อธิบายความสุญญตา มีเงื่อน ๔
(ถามว่า) กำหนดรู้อย่างไร ?
(ตอบว่า)
๑. ที่จริง คำว่า "นาหํ กฺวจนิ - ไม่มีฉันอยู่ ณ ที่ไหนๆ" หมายความว่าโยคาวจรผู้นี้ ไม่เห็นอัตตา ณ ที่ไหนๆ
๒. คำว่า "กสฺสจิ กิญฺจนตสฺมึ - ในความเป็นอะไรๆ ของใครๆ" หมายความว่า "ไม่เห็นอัตตาของตนเอง ที่พึงนำเข้าไปในความเป็นอะไรๆ ของใครๆ อื่น" อธิบายว่าไม่เห็นอัตตาที่เป็นพี่ชายน้องชาย ที่พึงมั่นหมายนำเข้ามาในฐานะเป็นพี่ชายน้องชายหรือว่า ไม่เป็นอัตตาที่เป็นสหาย ที่พึงมั่นหมายนำเข้ามาในฐานะเป็นสหาย หรือว่าไม่เป็นอัตตาที่เป็นบริขาร ที่พึงมั่นหมายนำเข้ามาในฐานะเป็นบริขาร
๓. ในคำว่า "น จ มม กฺวจนิ - และไม่มีอยู่ ณ ที่ไหนๆ ของฉัน" นั้น ยกเอาศัพท์ว่า "มม - ของฉัน" ออกเสียก่อน (เหลือเพียง) ว่า "น จ กฺวจนิ - และไม่มี ณ ที่ไหนๆ" มีอธิบายอย่างนี้ว่า "และไม่เห็นอัตตาของบุคคลอื่น ณ ที่ไหนๆ"
๔. คราวนี้ นำเอาศัพท์ว่า "มม - ของฉัน" มา (ไว้ในประโยคหลัง) ว่า "มม กิสฺมิญฺจิ กิญฺจนตตฺดิ - ไม่มีความเป็นอะไรๆ ณ ที่ไหนๆ ของฉัน" หมายความว่า
----------------
(1) มีกล่าวถึงในพระบาลีและอรรถกถาหลายแห่ง เช่น ม. (ไทย) ๑๔/๗๐/๗๕, ม.อ. (บาลี) ๗/ ๗๐/๔๓-๔๔, อง. ติก. (ไทย) ๒๐/๗๑/๒0๑ และดู-อง จตุกก.อ.(บาลี) ๒/๗๑/๒๑๗, อง. จตุกก. (ไทย) ๒๑/๑๘๕/๒๖๖, และดู-อง.จตุกุก.อ. (บาลี) ๒/๑๘๕/๔๐๕
----------------
น. ๑๐๙๘ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
"ไม่เห็นว่า อัตตาของบุคคลอื่นนั้นมีอยู่ในความเป็นอะไรๆ ณ ที่ไหนๆ ของฉัน" อธิบายว่า ไม่เห็นอัตตาของบุคคลอื่นที่พึงนำเข้ามาโดยความเป็นอะไรๆ นี้ ในฐานะไร ๆ คือว่าเป็นพี่ชายน้องชายในฐานะเป็นพี่ชายน้องชายของตน หรือว่าเป็นสหายในฐานะเป็นสหาย (ของตน) หรือว่า เป็นบริขารในฐานะเป็นบริขาร (ของตน)
(รวมความ) โยคาวจรท่านนี้ เพราะเหตุที่
๑. ไม่เห็นเลยซึ่งอัตตา ณ ที่ไหนๆ
๒. ไม่เห็นอัตตานั้นที่พึงนำเข้ามาในความเป็นอะไร ๆ ของบุคคลอื่น
๓. ไม่เห็นอัตตาของบุคคลอื่น
๔. ไม่เห็นอัตตาของบุคคลอื่นที่พึ่งนำเข้ามาในความเป็นอะไรๆ ของตน
เพราะฉะนั้น เป็นอันว่า โยคาวจรท่านนี้กำหนดรู้ สูญญตา มีเงื่อน ๔ แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล
สุญญตา โดยอาการ ๖
[๗๖๑] ครั้นกำหนดรัสูญญตามีเงื่อน ๔ อย่างนี้แล้ว โยคาวจรจึงกำหนดรู้สูญญตา โดยอาการ ๖ ต่อไปอีก
(ถามว่า) กำหนดรู้สูญญตา โดยอาการ ๖ อย่างไร ?
(ตอบว่า) กำหนดรู้ว่า จักขุเป็นของว่างเปล่าจากอัตตา ๑ หรือจากสิ่งเนื่องด้วยอัตตา ๑ หรือจากความเป็นของเที่ยง ๑ หรือจากความเป็นของยั่งยืน ๑ หรือจากความเป็นของคงทน ๑ หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา ๑ โสตะ ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ...ใจ ...รูปเป็นของว่างเปล่า ... เสียง ...กลิ่น รส ... .โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นของว่างเปล่า ... จักขุวิญญาณ ... 'ฯลฯ ... มโนวิญญาณ ... จักขุสัมผัส
พึงนำนัยโดยประการดังกล่าวนี้ไปจนถึงชรามรณะ"(1) ด้วยประการฉะนี้
สุญญตา โดยอาการ ๘
[๗๖๒] ครั้นกำหนดรู้สูญญตาโดยอาการ ๖ อย่างนี้แล้ว จึงกำหนดรู้โดยอาการ ๘ ต่อไปอีก คือ กำหนดรู้ดังนี้อย่างไรล่ะ รูปไม่มีแก่นสาร หาแก่นสารมิได้ปราศจากแก่นสาร โดยแก่นสารมีสาระว่าเที่ยง ๑ หรือโดยแก่นสารมีสาระว่ายั่งยืน ๑
----------------
(1) ขุ จู. (ไทย) ๓๐/๘๘/๓๑๘-๓๒๑
----------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๙๙
หรือโดยแก่นสารมีสาระว่าเป็นสุข ๑ หรือโดยแก่นสารมีสาระว่าเป็นอัตตา ๑ หรือโดยเป็นของเที่ยง ๑ หรือโดยเป็นของยั่งยืน ๑ หรือโดยเป็นของคงทน ๑ หรือโดยความเป็นของไม่แปรผันเป็นธรรมดา ๑
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... จักขุ ... โสตะ... ฯลฯ ชรามรณะไม่มีแก่นสาร หาแก่นสารมิได้ ปราศจากแก่นสาร โดยแก่นสารมีสาระว่าเที่ยง ๑ หรือโดยแก่นสารมีสาระว่ายั่งยืน ๑ หรือโดยแก่นสารมีสาระว่าเป็นสุข ๑ หรือโดยแก่นสารมีสาระว่าเป็นอัตตา ๑ หรือโดยเป็นของเที่ยง ๑ หรือโดยเป็นของยั่งยืน ๑ หรือโดยเป็นของคงทน ๑ หรือโดยความเป็นของไม่แปรผันเป็นธรรมดา ๑ เปรียบเหมือนต้นอ้อไม่มีแก่น หาแก่นมิได้ ปราศจากแก่น ฉันใด เปรียบเหมือนต้นละหุ่งไม่มีแก่นหาแก่นมิได้ ปราศจากแก่น เปรียบเหมือนต้นมะเดื่อ ... ฉันใด เปรียบเหมือนต้นกุ่มฉันใด เปรียบเหมือนต้นทองกวาว .. ฉันใด เปรียบเหมือนฟองน้ำ .... ฉันใด เปรียบเหมือนต่อมน้ำ ฉันใด เปรียบเหมือนพยับแดด ... ฉันใด เปรียบเหมือนต้นกล้วยฉันใด เปรียบเหมือนมายา ไม่มีแก่น หาแก่นมิได้ ปราศจากแก่น ฉันใด รูป ฯลฯ ...ชรามรณะ ก็ฉันนั้นนั่ นแล ไม่มีแก่นสาร หาแก่นสารมิได้ ปราศจากแก่นสาร โดยแก่นสารมีสาระว่าเที่ยง ๑ หรือว่า ...ฯลฯ...โดยความเป็นของไม่แปรผันเป็นธรรมดา ๑ ดังนี้
สุญญตา โดยอาการ ๑๐
[๗๖๓] โยคาวจรนั้น ครั้นกำหนดรู้สูญญตาโดยอาการ ๘ อย่างนี้แล้ว จึงกำหนดรู้โดยอาการ ๑๐ ต่อไปอีก
(ถามว่า) กำหนดรู้อย่างไร ?
(ตอบว่า) โยคาวจรผู้นั้นเห็นอยู่ซึ่งรูปโดยความเป็นของว่าง ๑ เห็นอยู่โดยความเป็นของว่างเปล่า ๑ ...โดยความเป็นของสูญ ๑ ...โดยความเป็นอนัตตา ๑ ..โดยความไม่มีผู้เป็นใหญ่ ๑ ... โดยความไม่เป็นของพึ่งกระทำได้ตามความปรารถนา ๑ ..โดยความเป็นของอันบุคคลไม่พึงบรรลุถึง ๑ โดยเป็นของไม่เป็นไปในอำนาจ ๑ ...โดยความเป็นปรปักษ์ ๑ . ... โดยความเป็นของว่าง ๑
เห็นอยู่ซึ่งเวทนา วิญญาณโดยความเป็นของว่าง ... ฯลฯ ... เห็นอยู่ ... โดยความเป็นของว่าง ดังนี้
-------------------
น. ๑๑๐๐ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
สุญญตา โดยอาการ ๑๒
[๗๖๔] ครั้นกำหนดรัสูญญตาโดยอาการ ๑๐ อย่างนี้แล้ว จึงกำหนดรู้โดยอาการ ๑๒ ต่อไปอีก คือ กำหนดรู้ดังนี้อย่างไรล่ะ
รูปมิใช่สัตว์ ๑ มิใช่ชีวะ ๑ มิใช่คน ๑ มิใช่มาณพ ๑ มิใช่สตรี ๑ มิใช่บุรุษ ๑ มิใช่อัตตา ๑ มิใช่ของเนื่องด้วยอัตตา ๑ มิใช่เรา ๑ มิใช่ของเรา ๑ มิใช่ของบุคคลอื่น ๑ มิใช่ของใครๆ ๑
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... มิใช่ของใครๆ ดังนี้
สุญญตา โดยอาการ ๔๒
[๗๖๕] ครั้นกำหนดรู้สูญญตาโดยอาการ ๑๒ อย่างนี้แล้ว จึงกำหนดรู้สูญญตา โดยอาการ ๔๒ ด้วยตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยความไตร่ตรอง) ต่อไปอีก กล่าวคือ เห็นอยู่ซึ่งรูป...
๑. อนิจจโต โดยความไม่เที่ยง
๒. ทุกขโต โดยความเป็นทุกข์
๓. โรคโต โดยเป็นโรค
๔. คัณฑโต โดยเป็นหัวฝี
๕. สัลลโต โดยเป็นลูกศรเสียบ
๖. อฆโต โดยความชั่วร้าย
๗. อาพาธโต โดยความป่วยไข้
๘. ปรโต โดยความเป็นปรปักษ์
๙. ปโลกโต โดยความแตกทำลาย
๑๐. อีติโต โดยเป็นของจัญไร
๑๑. อุปัททวโต โดยความเป็นอุปัทวะ
๑๒. ภยโต โดยความเป็นสิ่งที่น่ากลัว
๑๓. อุปสัคคโต โดยเป็นอุปสัคขัดขวาง
๑๔. จลโต โดยความหวั่นไหว
๑๕. ปภังคุโต โดยความผุผัง
-----------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๐๑
๑๖. อัทธุวโต โดยความไม่ยั่งยืน
๑๗. อตาณุโต โดยไม่เป็นที่ต้านทาน
๑๘. อเลณโต โดยไม่เป็นที่หลบลี้
๑๙. อสรณโต โดยไม่เป็นที่พึ่ง
๒๐. อสรณีภูตโต โดยเป็นสิ่งที่ถือเป็นที่พึ่งมิได้
๒๑. ริตตโต โดยเป็นของเปล่า
๒๒. ตุจฉโต โดยความเป็นของว่าง
๒๓. สุญญโต โดยความเป็นของสูญ
๒๔. อนัตตโต โดยความไม่มีอัตตา
๒๕. อนัสสาทโต โดยหาความอบอุ่นใจมิได้
๒๖. อาทีนวโต โดยเป็นโทษร้าย
๒๗. วิปริณามธัมมโต โดยมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
๒๘. อสารกโต โดยหาแก่นสารมิได้
๒๙. อฆมูลโต โดยเป็นมูลแห่งความชั่วร้าย
๓๐. วธกโต โดยเป็นฆาตกร
๓๑. วิภวโต โดยปราศจากความเจริญ
๓๒. สาสวโต โดยมีอาสวะ
๓๓. สังขตโต โดยเป็นของถูกปรุงแต่งไว้
๓๔. มารามิสโต โดยเป็นเหยื่อล่อของมาร
๓๕. ชาติธัมมโต โดยมีความเกิดเป็นธรรมดา
๓๖. ชราธัมมโต โดยมีความแก่เป็นธรรมดา
๓๗. พยาธิธัมมโต โดยมีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา
๓๘. มรณธัมมโต โดยมีความตายเป็นธรรมดา
๓๙. โสกปริเทวทุกข์โทมนัสสุปายาสธัมมโต โดยมีความโศก มีความคร่ำครวญมีทุกข์ มีความโทมนัส มีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
๔๐. สมุทยโต โดยเป็นแดนเกิด
๔๑. อัตถังคมโต โดยการถึงความดับสูญ
๔๒. นิสสรณโต โดยเป็นของควรหลีกหนีไป
เห็นอยู่ซึ่งเวทนา ...ซึ่งสัญญา... ซึ่งสังขาร... ซึ่งวิญญาณ โดยความไม่เที่ยง ฯลฯ โดยเป็นของควรหลีกหนีไป
-----------
น. ๑๑๐๒ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
อนึ่ง ท่านกล่าวคำต่อไปนี้ไว้ว่า "เมื่อเห็นรูปโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ โดยเป็นของควรหลีกหนีไป ชื่อว่าเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า เมื่อเห็นเวทนา ... ฯลฯ...วิญญาณ โดยความไม่เที่ยง ฯลฯ โดยเป็นของควรหลีกหนีไป ชื่อว่าเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า (สมด้วยพระพุทธดำรัสที่ตรัสแก่ท่านโมฆราชว่า)
สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต
อตฺตานุทิฏฺฐึ โอหจฺจ เอวํ มจฺจุตฺตโร สิยา
เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ.
แปลความว่า
ดูก่อนโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติตลอดเวลา มองเห็น
โลกโดยความเป็นของว่างเปล่า พึงถอนอัตตานุทิฏฐิ (คือ
ความเห็นเนืองๆ ว่ามีอัตตา) เสีย จึงจะเป็นผู้ข้ามพ้นมฤตยู
ด้วยอาการอย่างนั้น มัจจุราช (มองหา) ไม่เห็นบุคคลผู้มอง
เห็นโลกอย่างนี้(1)
วิโมกขกถา
[๗๖๖] ครั้นโยคาวจรเห็น (โลก) โดยความเป็นของว่างเปล่าอย่างนั้นแล้ว ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ กำหนดรู้สังขารทั้งหลายอยู่ ก็ละความกลัวและความพึงพอใจเสียได้ เป็นผู้มีตนเป็นกลาง วางเฉยในสังขารทั้งหลาย ไม่ถือว่า "เป็นเรา" หรือว่า "เป็นของเรา" เป็นเหมือนบุรุษผู้หย่าขาดภรรยาแล้ว
สังขารุเปกขาญาณเปรียบด้วยบุรุษผู้หย่าขาดภรรยา
เล่ากันว่า บุรุษผู้มีภรรยาเป็นที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพึงพอใจ ปราศจากภรรยานั้นเสียแล้วเขามิสามารถทนอยู่ได้แม้แต่ครู่เดียวเขารักภรรยานั้นเสียเหลือเกินบุรุษผู้นั้นเห็นสตรีผู้เป็นภรรยานั้น ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี (หรือนอนอยู่ก็ดี) พูดอยู่ก็ดีหัวเราะอยู่ก็ดี กับบุรุษอื่น (เขาก็โกรธ) ขัดเคืองใจ ประสบโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง ครั้น
-------------------
(1) ดูเทียบ ขุ. สุ. (ไทย) ๒๕/๑๑๒๖/๗๗๒, ขุจู. (ไทย) ๓๐ /๘๘/๓๐๙
-------------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๐๓
กาลต่อมา บุรุษนั้นได้เห็นโทษชั่วร้ายของสตรีผู้นั้น ก็มีความปรารถนาที่จะพ้น (จากเธอ) จึงหย่าขาดเธอ ไม่ถือหญิงนั้นว่า "เป็นของเรา" จำเดิมแต่นั้นมา แม้เขาจะเห็นเธอ ทำอะไร ๆ อยู่กับใครๆ ก็ไม่โกรธเคือง ไม่ถึงความโทมนัส มีตนเป็นกลางวางเฉยได้โดยแท้ ชื่อฉันใด โยคาวจรผู้นี้ก็เหมือนกันฉันนั้น เป็นผู้มีความปรารถนาเพื่อพ้นไปเสียจากสังขารทั้งปวง กำหนดรู้สังขาร ทั้งหลายอยู่ด้วย ปฏิสังขานุปัสสนา ไม่เห็นความที่สังขารทั้งหลายเป็นของที่พึ่งถือเอาได้ว่า "เป็นเรา เป็นของเรา" จึงละความกลัวและความพึงพอใจเสียได้ เป็นผู้มีตนเป็นกลางวางเฉยในสังขารทั้งปวง เมื่อโยคาวจรผู้นั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็ถอยกลับ หวนกลับ วกกลับ ไม่แพร่กระจายไปในภพ ๓ ในกำเนิด ๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๗ ในสัตตาวาส ๙ วางเฉยอยู่ หรือถอยกลับมา ตั้งมั่นอยู่ เปรียบเหมือนหยดน้ำในใบบัวซึ่งขอบใบงอนิด ๆ กลิ้งกลับอยู่ วกกลับอยู่ กลอกกลับอยู่ ไม่แผ่กระจายไป ชื่อแม้ฉันใด (จิตของโยคาวจร) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เปรียบเหมือนขนไก่หรือสายเอ็น ที่เขาใส่เผาในไฟ ก็งอกลับ งอนกลับ วกกลับ ไม่เหยียดยืดออก ชื่อแม้ฉันใด จิต (ของโยคาวจร) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถอยกลับ หวนกลับ วกกลับ ไม่แพร่กระจายไป"(1) ในภพ ๓ ในกำเนิด ๔ในคติ 2 ในวิญญาณฐิติ ๗ ในสัตตาวาส ๙ วางเฉยอยู่ หรือ ถอยกลับ ตั้งมั่นอยู่เป็นอันว่า ญาณชื่อ สังขารุเปกขาญาณ เกิดขึ้นแล้วแก่โยคีท่านนั้น ด้วยประการฉะนี้อุปมาด้วยนกการู้ทิศ
[๗๖๗] แต่ว่า สังขารุเปกขาญาณที่เกิดขึ้นแล้วนี้นั้น ถ้าเห็นพระนิพพาน อันเป็นทางสันติ โดยความสงบ ก็จะสลัดทิ้งความเป็นไปของสังขารทั้งปวงแล้วแล่นเข้าสู่พระนิพพานเลยทีเดียว หากว่า ยังไม่เนพระนิพพาน โดยความสงบ (สังขารุเปกขาญาณนั้น) ก็มีสังขารเป็นอารมณ์อย่างเดียว แล้วดำเนินไปอยู่ แล้วๆ เล่าๆ เปรียบเหมือนนกกาของพวกพ่อค้าเดินเรือทะเล"(2)
-----------------
(1) อง. สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๔๙/๗๕-๗๙
(2) ดูเทียบ ที. สี. (ไทย) ๙/ ๔๙๗ ๒๑๙, อง. ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๕๔/๕๒๗
ในสมัยโบราณ เมื่อยังไม่รู้จักใช้เข็มทิศ นักเดินเรือทะเลโบราณ เช่น ชาวอินเดีย และพวกนอร์สแมนหรือพวกไวกิงส์ใช้วิธีปล่อยนกกานำทิศ
----------------
น. ๑๑๐๔ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
เล่ากันมาว่า พวกพ่อค้าเดินเรือทะเล (สมัยโบราณ) เมื่อจะขึ้นเรือ (เดินทางไปในมหาสมุทร) ได้จับเอานกกาที่เรียกว่า ทิสากากะ (คือนกกาผู้รู้ทิศ) ไปด้วย คราวใดเรือถูกลมพายุซัดไปยังประเทศต่างถิ่น ฝั่งก็ไม่ปรากฏ คราวนั้น พวกพ่อค้าเหล่านั้นก็ปล่อยการู้ทิศไป กานั้นก็โดดจากไม้สลักเสากระโดงเรือขึ้นสู่อากาศ แล้วบินไปตามทิศใหญ่ ทิศน้อยทั่วทุกทิศ ถ้ามันเห็นฝั่ง มันก็บินมุ่งหน้าไปยังฝั่งนั้นเลย หากว่า มันไม่เห็นฝั่ง มันก็บินกลับมาเกาะอยู่ที่ไม้สลักเสากระโดงเรือนั้นเอง ครั้งแล้วครั้งเล่าสังขารุเปกขาญาณก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าเห็นพระนิพพานอันเป็นทางสันติโดยความสงบ ก็สลัดทิ้งความเป็นไปของสังขารทั้งปวง แล้วแล่นเข้าสู่พระนิพพานเลยทีเดียว หากว่ายังไม่เห็น (พระนิพพาน) ก็มีสังขารเป็นอารมณ์อยู่นั่นแหละ ดำเนินไปแล้วๆ เล่าๆ
สังขารุเปกขาญาณนี้นั้นเปรียบเหมือนเมล็ดแป้งที่กลิ้งกระทบอยู่ณขอบกระด้งฝัด(หรือ) เปรียบเหมือนเมล็ดฝ้ายที่เขาหีบออกจากฝ้ายกลิ้งกระทบอยู่ ครั้นกำหนดรู้สังขารทั้งหลายโดยประการต่างๆ แล้ว ก็สลัดทิ้งความกลัวและความพึงพอใจเสียมีตนเป็นกลาง (วางเฉย) ในการพิจารณาเลือกเฟ้นสังขาร ตั้งอยูโดย อนุปัสสนา ๓ ประการ สังขารุเปกขาญาณที่ตั้งอยู่อย่างนี้ ก็มาถึงความเป็น วิโมกขมุข (ประตูแห่งวิโมกข์ คือ พระนิพพาน) ๓ ประการ เป็นปัจจัยแห่งการจำแนกพระอริยบุคคล ๗ จำพวก
ว่าด้วยวิโมกข์ ๓
[๗๖๘) ในการถึงความเป็น วิโมกขมุข และความเป็นปัจจัยแห่งการจำแนกพระอริยบุคคล ๗ นั้น นับว่าวิปัสสนาญาณนี้มาถึงความเป็น วิโมกขมุข ๓ อย่างโดยความเป็นอธิบดี (ความยิ่งใหญ่) ของอินทรีย์ ๓ (สัทธินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑) เพราะดำเนินไปด้วยอนุปัสสนา ๓ ประการ เพราะท่านกล่าวว่า อนุปัสสนา ๓ ก็คือ วิโมกขมุข ๓ ดังพระบาลี (แปลความได้) ว่า "อันว่า วิโมกขมุข ๓ นี้แลดำเนินไปเพื่อออกไปจากโลกกล่าวคือ เพื่อเห็นอยู่เสมอเนืองๆ ซึ่งสังขารทั้งปวง โดยขอบเขตและโดยวนรอบ ๑ เพื่อให้จิตแล่นเข้าสู่ธาตุหานิมิตมิได้ (พระนิพพาน) ๑ เพื่อ
--------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๐๕
เร่งเร้าใจให้จดจ่ออยู่เสมอในสังขารทั้งปวง เพื่อให้จิตแล่นเข้าสู่ธาตุหาที่ตั้งกิเลสมิได้ ๑ เพื่อเห็นอยู่เสมอเนื่องๆ ซึ่งธรรมทั้งปวงโดยความเป็นปรปักษ์ ๑ และเพื่อให้จิตแล่นเข้าสู่ธาตุอันว่างเปล่า ๑ วิโมกขมุข ๓ นี้ ดำเนินไปเพื่อออกไปจากโลก" ดังนี้"(1)
คำว่า "โดยขอบเขตและโดยวนรอบ" ใน (คำแปล) พระบาลีนั้น หมายความว่าโดยกำหนดขอบเขตอยู่ด้วยความเกิดและความดับ และโดยวนรอบ (ด้วยความเกิดและความดับ) เพราะว่า อนิจจานุปัสสนากำหนดขอบเขตว่า "ก่อนแต่เกิดขึ้น สังขารทั้งหลายหามีไม่" แล้วติดตามดูภูมิที่ไปของสังขารทั้งหลายเหล่านั้นอยู่เสมอ ก็เห็นอยู่เสมอเนือง ๆ โดยวนรอบ (เป็นวงกลม) ว่า "หลังจากดับ สังขารทั้งหลายเหล่านั้นหาดำเนินไปที่อื่นไม่ (แต่) อันตรธานไป ณ ที่นั้นนั่นเอง" คำว่า "เพื่อเร่งเร้าใจให้จดจ่ออยู่เสมอ" หมายความว่า เพื่อให้จิตเกิดสังเวช เพราะว่า ด้วยทุกขานุปัสสนา(การเห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์) จิตก็สังเวชในสังขารทั้งหลาย คำว่า "เพื่อเห็นอยู่เสมอเนืองๆ ... .. โดยความเป็นปรปักษ์" หมายความว่า เพื่อเห็นอยู่เสมอเนืองๆโดยไม่มีอัตตาอย่างนี้ว่า "ไม่มีเรา ไม่มีของเรา" บททั้ง ๓ นี้ พึงทราบว่ ท่านกล่าวด้วยอนุปัสสนา ๓ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้นแลในการวิสัชนาปัญหาในลำดับต่อจากนั้นไป ท่านจึงกล่าวไว้ว่า "เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นของไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายปรากฎโดยความสิ้นไป เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ สังขารทั้งหลายปรากฏโดยความน่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความไม่มีอัตตา สังขารทั้งหลายปรากฎโดยความว่างเปล่า" ดังนี้ "(2)
[๗๖๙] (ถามว่า) แต่ทว่า วิโมกข์ทั้งหลายซึ่งมีอนุปัสสนาเหล่านี้เป็นมุขนั้นคือ อะไรบ้าง ?
(ตอบว่า) ได้แก่ วิโมกข์ ๆ เหล่านี้ คือ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ สุญญตวิโมกข์ ๑ ความจริง ท่านก็กล่าวคำนี้ไว้แล้วว่า "โยคาวจรผู้มนสิการอยู่โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์ (ความเชื่อ) ก็ได้เฉพาะซึ่งอนิมิตตวิโมกข์ โยคาวจรผู้มนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยปัสสัทธิ (ความสงบ) ก็ได้เฉพาะซึ่งอัปปณิหิตวิโมกข์ โยคาวจรผู้มนสิการอยู่โดยความไม่มีอัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ ก็ได้เฉพาะซึ่งสุญญตวิโมกข์" ดังนี้"(3)
-------------------
(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๑๙/๓๖๕
(2) ดูเทียบ ขุ ป. (ไทย) ๓๑/๒๑๘/๓๖๖
(3) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๒๓/๓๗๗
-------------------
น. ๑๑๐๖ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
อนึ่ง ในวิโมกข์ ๓ นี้ พึงทราบว่า อริยมรรคที่ทำพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วดำเนินไป โดยอาการหานิมิตมิได้ คือ อนิมิตตวิโมกข์ เพราะว่า อริยมรรคนั้น ชื่อว่าอนิมิตตะ เพราะเกิดขึ้นจากธาตุที่หานิมิตมิได้ และชื่อว่า วิโมกข์ เพราะพ้นแล้วจากกิเลสทั้งหลาย (และ) พึงทราบโดยนัยนี้เช่นกันว่า อริยมรรคที่ทำพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วดำเนินไปโดยอาการหากิเลสเป็นที่ตั้งมิได้ คือ อัปปณิหิตวิโมกข์ อริยมรรคที่ทำพระนิพพานเป็นอารณ์ แล้วดำเนินไปโดยอาการว่างเปล่า คือ สุญญตวิโมกข์
[๗๗๐| แต่วิโมกข์ที่กล่าวไว้ในพระอภิธรรม มีเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ในสมัยใด พระภิกษุทำโลกุตตรฌานเป็นเครื่องออกไป (จากโลก)ถึงความไม่สะสมไว้ ให้เกิดขึ้น เพื่อละเสี่ยซึ่งความเห็นผิดทั้งหลาย เพื่อบรรลุปฐมภูมิ(โสดาปัตติผล) ว่างเว้นแล้วโดยแท้จากกามทั้งหลาย ... เข้าถึงฌานที่ ๑ อันเป็นอัปปณิหิตะอยู่ ...เข้าถึงฌานที่ ๑ อันเป็นสุญญตะอยู่"(1)
ที่กล่าววิโมกข์ในพระอภิธรรมมีเพียง ๒ นั้น ท่านกล่าวหมายถึงการมา (ของมรรค) โดยทางวิปัสสนาโดยตรง เพราะถึงแม้ว่า ท่านได้กล่าวถึงวิปัสสนาญาณไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคแล้วว่า "เป็นสุญญตวิโมกข์ ด้วยการปลดเปลื้องเสียซึ่งความยึดมั่น" โดยอธิบายอย่างนี้ว่า
- "อนิจจานุปัสสนาญาณ" ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งความยึดมั่น ว่าเป็นของเที่ยง
- "ทุกขานุปัสสนาญาณ" ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งความยึดมั่นว่าเป็นสุข
- "อนัตตานุปัสสนาญาณ" ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งความยึดมั่นว่ามีอัตตา"*(2) ดังนี้ อย่าง ๑
ว่า "เป็นอนิมิตตวิโมกข์ ด้วยการปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิต โดยอธิบายอย่างนี้ว่า
- "อนิจจานุปัสสนาญาณ" ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิตว่าเป็นของเที่ยง
- "ทุกขานุปัสสนาญาณ" ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิตว่าเป็นสุข
- "อนัตตานุปัสสนาญาณ" ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิตว่ามีอัตตา"ดังนี้"(3) อย่าง ๑
และว่า "เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วยการปลดเปลื้องเสียซึ่งตัณหาเป็นที่-
---------------
(1) ดูเทียบ อภิ. สง. (แปล) ๓๔/ ๓๔๓-๓๕๐ /๑๐๓-๑๐๕ แต่ใน อภิ. สง. กล่าวถึงสุญญตะก่อน แล้วจึงกล่าวอัปปณิหิตะ
(2) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๒๙ /๓๘๗
(3) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๒๙/๓๘๘
---------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๐๗
ตั้งมั่น (ปณิธิ โดยอธิบายอย่างนี้ว่า
- "อนิจจานุปัสสนาญาณ" ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งปณิธิว่าเที่ยง
- "ทุกขานุปัสสนาญาณ" ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งปณิธิว่าเป็นสุข
- อนัตตานุปัสสนาญาณ" ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งปนิธิว่ามีอัตตา" ดังนี้"(1) อย่าง ๑
แม้อย่างนั้นก็ตามวิปัสสนาญาณนั้น ก็หาเป็นอนิมิตตะโดยตรงไม่ เพราะยังละนิมิตคือสังขารมิได้ แต่ทว่าเป็นทั้งสูญญตะและอัปปณิหิตะโดยตรง และด้วยการมา (ของมรรค) โดยวิปัสสนาญาณนั้น ท่านจึงยกวิโมกข์ขึ้นไว้ในขณะแห่งอริยมรรค เพราะฉะนั้น พึงทราบเถิดว่า ท่านกล่าวถึงวิโมกข์ไว้ (ในพระอภิธรรม) เพียง ๒ เท่านั้น คือ อัปปณิหิตวิโมกข์และสุญญตวิโมกข์
กล่าวด้วยวิโมกข์ ในอธิการแห่งวิปัสสนานี้ เพียงนี้ก่อน
พระอริยบุคคล ๗ จำพวก
[๗๗๑] คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้อีกว่า "(สังขารุเปกขาญาณ) ... เป็นปัจจัยแก่การจำแนกพระอริยบุคคล ๗ จำพวก" พระอริยบุคคล ๗ จำพวก ในคำกล่าว (ข้างต้น) นั้น ก่อนอื่น ได้แก่ พระอริยบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้ คือ
๑. สัทธานุสารี ผู้ดำเนินไปด้วยศรัทธา
๒. สัทธาวิมุต ผู้พันพิเศษด้วยศรัทธา
๓. กายสักขี ผู้มีนามกายเป็นสักขีพยาน
๔. อุภโตภาควิมุต ผู้พ้นพิเศษโดยส่วนทั้งสอง
๕. ธัมมานุสารี ผู้ดำเนินไปด้วยธรรม คือ ปัญญา
๖. ทิฏฐิปัตตะ ผู้บรรลุด้วยการเห็น (อริยมรรค)
๗. ปัญญาวิมุต ผู้พันพิเศษด้วยปัญญา
สังขารุเปกขาญาณนี้ เป็นปัจจัยแก่การจำแนกพระอริยบุคคล ๗ จำพวกเหล่านั้นด้วย
---------------
(1) ดูเทียบ ขุ ป. (ไทย) ๓๑/๒๒๙/๓๘๙
---------------
น. ๑๑๐๘ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
[๗๗๒] (๑) และ (๒) เพราะว่า ท่านผู้ใด มนสิการโดยความไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์ (ความเชื่อ) ได้เฉพาะซึ่งสัทธินทรีย์ ท่านผู้นั้นเป็น สัทธานุสารี ในขณะ (บรรลุ) โสดาปัตติมรรค เป็นสัทธาวิมุตใน ๗ ฐานะ (อริยมรรค อริยผล) นอกนี้
[๗๗๓] (๓) ส่วนท่านผู้ใด มนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มีปัสสัทธิ (ความสงบ) มาก ได้เฉพาะซึ่งสมาธินทรีย์ ท่านผู้นั้น ชื่อว่าเป็น กายสักขี ในทุกฐานะ(คือ ในอริยมรรค อริยผลทั้ง ๘)
(๔) แต่ท่านผู้ได้อรูปฌานแล้ว บรรลุ (อริย) ผลสุดยอดแล้วเป็นผู้มีนามว่าอุภโตภาควิมุต
[๗๗๔] (๕) ส่วนท่านผู้ใด มนสิการอยู่โดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มีความรู้มาก ได้เฉพาะซึ่งปัญญินทรีย์ ท่านผู้นั้น เป็น ธัมมานุสารี ในขณะโสดาปัตติมรรคแต่ (๖) และ (๗) เป็น ทิฏฐิปัตตะ ใน ๖ ฐานะ และเป็นปัญญาวิมุต ในผลสุดยอด (อรหัตผล)
[๗๗๕] เป็นความจริง ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า:- "สำหรับท่านผู้มนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยงสัทธินทรีย์มีประมาณมากท่านผู้มนสิการได้บรรสุโสดาปัตติมรรค เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณมาก เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัทธานุสารี"*(1) อนึ่ง ท่านยังกล่าวไว้ด้วยว่า "สำหรับผู้มนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์ย่อมมีประมาณมากเพราะเหตุที่สัทธินทรีย์มีประมาณมาก จึงเป็นอันทำให้เห็นแจ้งแล้วซึ่งโสดาปัตติผลเพราะฉะนั้น จึงเรียกท่านว่า สัทธาวิมุต"*(2) ดังนี้เป็นต้น
[๗๗๖] ทั้งยังได้กล่าวไว้อีกว่า "เรียกว่า สัทธาวิมุต เพราะผู้เชื่ออยู่เป็นผู้พ้นพิเศษแล้ว เรียกว่า กายสักขี เพราะทำให้เห็นแจ้งแล้วในลำดับแห่งอรูปฌานที่ตนสัมผัสแล้ว เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ เพราะบรรลุแล้วในลำดับแห่งการเห็น (อนึ่ง) เรียกว่าสัทธาวิมุต เพราะเชื่ออยู่จึงพ้นพิเศษ เรียกว่า กายสักขี เพราะถูกต้องซึ่งการสัมผัสด้วยฌานก่อน จึงทำให้เห็นแจ้งซึ่งนิโรธ คือพระนิพพานในภายหลัง เรียกว่า ทิฏฐิปัตต เพราะรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว เห็นแจ้งแล้ว สัมผัสแล้ว ด้วยปัญญา คือญาณกำหนดรู้ว่า "สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธ (คือความดับ) เป็นสุข" ดังนี้"(3)
-----------------
(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๒๑/๓๗๑-๓๗๒
(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๒๑/๓๗๒
(2) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๒๑/๓๗๐
----------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๐๙
[๗๗๗] ส่วนในอีก ๔ บทนั้น พึงทราบความหมายของคำอย่างนี้ คือ ท่านผู้ใดดำเนินตามศรัทธา หรือว่าดำเนินไป คือไปด้วยศรัทธา เพราะเหตุนี้ ท่านผู้นั้นชื่อว่าสัทธานุสารี อนึ่ง ท่านผู้ใดดำเนินตามธรรมกล่าวคือปัญญา หรือดำเนินตามไปด้วยธรรม (คือปัญญา) เพราะเหตุนี้ ท่านผู้นั้นชื่อว่า ธัมมานุสารี เช่นกัน ท่านผู้ใดพ้นพิเศษแล้วโดยส่วนทั้งสอง คือ ด้วยอรูปฌานและด้วยอริยมรรค เพราะเหตุนี้ ท่านผู้นั้นชื่อว่า อุภโตภาควิมุต ท่านผู้ใดกำหนดรู้อยู่ เป็นผู้พ้นพิเศษแล้ว เพราะเหตุนี้ ท่านผู้นั้นชื่อว่า ปัญญาวิมุต ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้
สังขารุเปกขาญาณ มี ๓ ชื่อ
[๗๗๘) แต่ว่า สังขารุเปกขาญาณนี้นั้น โดยความหมาย ก็เป็นญาณเดียวกันกับ ๒ ญาณข้างต้น (คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ และปฏิสังขานุปัสสนาญาณ) เพราะเหตุนั้น ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า "สังขารุเปกขาญาณนี้ ญาณเดียวนั่นแลได้ชื่อ ๓ ชื่อ คือ เกิดขึ้นในตอนต้น มีชื่อว่า มุญจิตุกัมยตาญาณ เกิดขึ้นในตอนกลาง มีชื่อว่า ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และในตอนท้ายที่บรรลุถึงยอด มีชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ"
[๗๗๙] ถึงแม้ในพระบาลี (ปฏิสัมภิทามรรค)*(1) ท่านก็กล่าวไว้ (ดังคำแปลต่อไปนี้ ว่า "(ถาม) ปัญญา ในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจารณาทบทวนและในการตั้งเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณ คืออย่างไร ? (ตอบ) คือ ปัญญาในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจารณาทบทวนซึ่งความเกิดขึ้น (ของสังขาร) และในการตั้งเฉยอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจารณาทบทวนและในการตั้งเฉยอยู่ ซึ่งความเป็นไป ...ซึ่งนิมิต... ฯลฯ ...ซึ่งอุปายาส ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจารณาทบทวนและในการตั้งเฉยอยู่ว่า 'ความเกิดขึ้น เป็นทุกข์ ฯลฯ ว่า ...เป็นสิ่งน่ากลัว'ว่า ... มีอามิส' ฯลฯ ว่า 'ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร' ฯลฯ ว่า 'อุปายาส เป็นสังขาร' ชื่อว่า'สังขารุเปกขาญาณ" ดังนี้
-------------------------
(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๕๔/๘๗
-------------------------
น. ๑๑๑๐ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
[๗๘๐] ความปรารถนาเพื่อพ้นไป ๑ การพิจารณาทบทวนนั้น ๑ และการตั้งเฉยอยู่ ๑ ชื่อว่า มุญจิตุกัมยตาปฏิสังขาสันติฏฐนา ในพระบาลี (ดังคำแปลข้างต้น)นั้น เมื่อโยคีเบื่อหน่ายด้วยนิพพิทาญาณในตอนต้น ด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็มีความปรารถนาที่จะสลัดทิ้งซึ่งความเกิดขึ้น (ของสังขารทั้งหลาย) เป็นตัน ชื่อว่า มุญจิตุกามตา การพิจารณาทบทวนในตอนกลาง เพื่อทำอุบายแห่งการพ้นไป (จากสังขารทั้งหลาย) ชื่อว่า ปฏิสังขา การพ้นไป แล้ววางเฉยอยู่ ในตอนสุดท้าย ชื่อว่า สันติฏฐนา ซึ่งท่านระบุถึงแล้วกล่าวไว้ว่า "ความเกิดขึ้น เป็นสังขาร พระภิกษุวางเฉยซึ่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สังขารุเปกขา"*(1) ดังนี้เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ญาณนี้จึงเป็นญาณเดียวเท่านั้น
[๗๘๑] อีกประการหนึ่ง พึงทราบแม้โดยพระบาลีนี้ไว้ด้วยว่า ญาณนี้ เป็นญาณเดียวเท่านั้น ที่จริงท่านก็กล่าวไว้แล้วดังนี้ว่า "ความปรารถนาเพื่อพันไป ๑ การเห็นเนื่องๆ ด้วยการพิจารณาทบทวน ๑ และการวางเฉยในสังขาร ๑ ธรรม (คือญาณ) ทั้งหลายเหล่านี้มีความหมายอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน"(2)
วุฏฐานคามินีวิปัสสนา
[๗๘๒] แต่เมื่อกุลบุตรนี้บรรลุสังขารุเปกขาญาณด้วยประการฉะนี้แล้ว วิปัสสนาก็ถึงยอด เป็น วุฏฐานคามินี คำว่า "สิขาปปัตตาวิปัสสนา (วิปัสสนาถึงยอด)" ก็ดี "วุฏฐานคามินี" ก็ดี นี้เป็นชื่อของญาณ ๓ ญาณ มีสังขารุเปกขาญาณ เป็นต้นนั่นเอง"(3) เพราะว่า สังขารุเปกขา นั้น ชื่อว่าถึงยอด (สิขาปปัตตา) เพราะลุถึงยอดคือถึงความสูงสุด (และ) ชื่อว่า วุฏฐานคามินี เพราะไปสู่วุฏฐานะ ท่านเรียก (อริย)มรรคว่า วุฏฐานะ เพราะออกไปจากวัตถุ (สังขาร) ที่กำหนดโดยความเป็นนิมิตภายนอก และเพราะออกจากความเป็นไป (ของสังขาร) ที่กำหนดโดยความเป็นนิมิตภายนอก และเพราะออกจากความเป็นไป (ของสังขาร) ภายใน ชื่อว่า วุฏฐานคามินี เพราะไปสู่วุฎฐานะนั้น อธิบายว่า เพราะสืบต่ออยู่กับมรรค
--------------------
(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๕๔/๘๗
(2) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๒๗/๓๘๔
(3) ญาณ ๓ คือ สังขารุเปกขาญาณ ๑ อนุโลมญาณ ๑ โคตรภูญาณ ๑
--------------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๑๑
มาติกาแห่งอภินิเวสและวุฏฐานะ
[๗๘๓] เพื่อต้องการเข้าใจแจ่มแจ้งซึ่งอภินิเวส (การกำหนด) และวุฏฐานะ (การออกไป ในคำที่กล่าวไว้โดยสังเขป (ข้างต้น) นั้น มีมาติกา ดัง (คำแปล) ต่อไปนี้:
โยคี ที่ ๑
๑. โยคีกำหนดภายในแล้วออกจากภายใน ๑ กำหนดภายในแล้วออกจากภายนอก ๑ กำหนดจากภายนอกแล้วออกจากภายนอก ๑ กำหนดจากภายนอกแล้วออกจากภายใน ๑
โยคี ที่ ๒
๒. โยคีกำหนดในรูป แล้วออกจากรูป ๑ กำหนดในรูป แล้วออกจากอรูป ๑ กำหนดในอรูปแล้วออกจากอรูป ๑ กำหนดในอรูปแล้วออกจากรูป ๑ ออกจากขันธ์ทั้ง ๕ พร้อมกัน ๑
โยคี ที่ ๓
๓. โยคีกำหนดโดยความไม่เที่ยง ออกจากความไม่เที่ยง ๑ กำหนดโดยความไม่เที่ยง ออกจากความเป็นทุกข์ จากความไม่มีอัตตา ๑ กำหนดโดยความเป็นทุกข์ออกจากความเป็นทุกข์ จากความไม่เที่ยง จากความไม่มีอัตตา ๑ กำหนดโดยความไม่มีอัตตา ออกจากความไม่มีอัตตา จากความไม่เที่ยง จากความเป็นทุกข์ ๑
อธิบายความ
[๗๘๔ (ถามว่า) กำหนดอย่างไร ? ออกอย่างไร ?
(ตอบว่า) ๑. โยคีบางท่าน (ท่านที่ ๑) ในพระศาสนานี้ กำหนดอยู่ในสังขารภายในทั้งหลาย แต่เริ่มแรกมาเลย ครั้นกำหนดแล้ว ก็เห็นสังขารภายในเหล่านั้นแต่เพราะเหตุที่ วุฎฐานะ (การออกไป) คือมรรค หามีโดยเพียงแต่การเห็นสังขารภายในล้วน ๆ เท่านั้นไม่ ต้องเห็นแม้สังขารภายนอกด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น
--------------
น. ๑๑๑๒ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
เขาจึงเห็นขันธ์ทั้งหลายของผู้อื่นบ้าง เห็นสังขารทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนกะบ้าง ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีอัตตา โยคีท่านนั้นกำหนดรู้ภายในตามกาลเวลากำหนดรู้ภายนอกตามกาลเวลา ในเวลากำหนดรู้ภายในวิปัสสนาของโยคีท่านนั้นกำหนดรู้อยู่อย่างนี้ ก็สืบต่ออยู่กับมรรค โยคีท่านนี้ชื่อว่า กำหนดภายในแล้วออกไปจากภายใน
แต่ถ้าวิปัสสนาของโยคีท่านนั้นสืบต่ออยู่กับมรรคในเวลากำหนดรู้ภายนอกโยคีท่านนี้ชื่อว่า กำหนดภายในแล้วออกไปจากภายนอก
แม้ในการกำหนดรู้จากภายนอกแล้วออกไปจากภายนอก และในการกำหนดรู้จากภายนอกแล้วออกจากภายใน ก็มีนัยดังนี้
[๗๘๕] ๒. โยคีอีกท่านหนึ่ง (ท่านที่ ๒) กำหนดอยู่ในรูป แต่แรกเริ่มมาเลยครั้นกำหนดแล้วก็เห็นภูตรูปและอุปาทายรูปรวมกองเดียวกัน แด่เพราะเหตุที่วุฏฐานะ(การออกไป) หามีโดยเพียงแต่การเห็นรูปล้วน ๆ เท่านั้นไม่ แม้อรูปก็ต้องเห็นด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น โยคีจึงทำรูปให้เป็นอารมณ์ แล้วเห็นอรูป คือ เวทนา สัญญาสังขารและวิญญาณ ที่เกิดขึ้นว่า "นี้ เป็นอรูป" โยคีท่านนั้น กำหนดรู้รูปตามกาลเวลากำหนดรู้อรูปตามกาลเวลา เมื่อโยคีนั้น กำหนดรู้อย่างนี้ วิปัสสนาในเวลากำหนดรู้รูปก็สืบต่อกับมรรค โยคีผู้นี้ชื่อว่า กำหนดอยู่ ในรูปแล้วออกไปจากรูปแต่ถ้าวิปัสสนาของโยคีนั้น สืบต่ออยู่กับมรรคในเวลากำหนดรู้อรูป โยคีผู้นี้ชื่อว่า กำหนดอยู่ในอรูปแล้วออกไปจากอรูป แม้ในการกำหนดอยู่ในอรูปแล้วออกไปจากอรูปก็ดี และในการกำหนดอยู่ในอรูปแล้วออกไปจากรูปก็ดี ก็มีนัยดังนี้
[๗๘๖] แต่ในการกำหนดอย่างนี้ว่า "ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมมํ - สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด มีความดับไปเป็นธรรมดา"(1) ดังนี้ แล้วออกไปโดยอาการอย่างนั้นเช่นกัน โยคี (ท่านนี้) ชื่อว่า ออกไปจากขันธ์ทั้ง ๕ พร้อมกัน
------------------
(1) ดูเทียบ วิ. ม. (ไทย) ๔/๑๖/๒๔
------------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๑๓
[๗๘๗) ๓. โยคีท่านหนึ่ง (ท่านที่ ๓) กำหนดรู้สังขารทั้งหลายโดยความไม่เที่ยงมาแต่แรกเริ่มเลย แต่เพราะเหตุที่วุฏฐานะ หามีโดยเพียงแต่กำหนดรู้โดยความไม่เที่ยงเท่านั้นไม่ ต้องกำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยความเป็นอนัตตาบ้าง ด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นโยคีจึงกำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์บ้างโดยความเป็นอนัตตาบ้างเมื่อโยคีนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ วฏ ฐานะก็มีขึ้นในเวลากำหนดรู้โดยความไม่เที่ยง โยคีท่านนี้ ชื่อว่ากำหนดโดยความไม่เที่ยงแล้วออกไปจากความไม่เที่ยง แต่ถ้าวุฏฐานะมีแก่โยคีนั้น ในเวลากำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์โดยความเป็นอนัตตา โยคีท่านนี้ ชื่อว่ากำหนดโดยความไม่เที่ยงแล้วออกไปจากทุกข์ จากอนัตตา แม้ในการกำหนดโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา แล้วออกไปจากลักษณะที่เหลือนอกนี้ ก็มีนัยดังนี้
กล่าวถึงพระอริยบุคคล ๗ จำพวก อีกครั้ง
[๗๘๘] อนึ่ง ในการกำหนดและการออกไปนี้ โยคีผู้ใดกำหนดโดยความไม่ที่ยงก็ดี โยคีผู้ใดกำหนดโดยความเป็นทุกข์ก็ดี โยคีผู้ใดกำหนดโดยความเป็นอนัตตาก็ดี และในเวลาออกไป ในบรรดาโยคีทั้ง ๓ นั้น ...
โยคีใด มีการออกไปจากความไม่เที่ยง, โยคีนั้น ท่านเป็นผู้มีอธิโมกข์ (ความเชื่อ) มาก จึงได้เฉพาะซึ่งสัทธินทรีย์ พ้นพิเศษไปด้วยอนิมิตตวิโมกข์เป็น สัทธานุสารี ในขณะ (บรรลุ) ปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค) และเป็น สัทธาวิมุต ใน ๗ ฐานะ (โสดาปัตติผล-อรหัตตผล) สลัดหลุดพ้นออกไปจากทุกข์
โยคีใด เป็นผู้มีปัสสัทธิ (ความสงบ) มาก จึงได้เฉพาะซึ่งสมาธินทรีย์ พ้นพิเศษไปด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ จัดเป็น "กายสักขีบุคคล" ในทุกฐานะ (มรรค ๔, ผล ๔)
โยคีใด มีอรูปฌานเป็นบาท ท่านผู้นั้นเป็น "อุภโตภาควิมุต" ในผลสุดยอด (อรหัตตผล) ขณะนั้น
(ถ้า) โยคีใด มีการออกไป โดยการเห็นอนัตตาอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้มีปัญญามาก ได้เฉพาะซึ่งปัญญินทรีย์ พ้นพิเศษไปด้วยสุญญตวิโมกข์ จัดเป็น "ธัมมานุสารีบุคคล" ในขณะปฐมมรรค เป็น ทิฏฐิปัตตะ ใน ๖ ฐานะ (โสดาปัตติผล ถึง อรหัตตมรรค), และนับว่าเป็น "ปัญญาวิมุตบุคคล" ในผลสุดยอด (อรหัตตผล) ด้วยประการฉะนี้
---------------------
น. ๑๑๑๔ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
อุปมา ๑๒ ข้อ
[๗๘๙] บัดนี้ เพื่อความแจ่มแจ้งของ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา นี้ พร้อมทั้งญาณก่อน ๆ (มีภยตุปัฏฐานญาณเป็นต้น) และญาณหลังๆ (มีโคตรภูญาณเป็นต้น)ควรทราบอุปมา ๑๒ ข้อไว้ อุปมา ๑- ข้อเหล่านั้นมีหัวข้อเรื่อง ดังนี้-
วคฺคุลี กณฺหสปฺโป จ ฆรํ โค ยกฺขิ ทารโก
ขุทฺทํ ปีปาสํ สีตุณฺหํ อนฺธการํ วิเสน จ.
แปลความว่า
ค้างคาว งูเห่า เรือน วัว นางยักษ์ ทารก ความหิว ระหาย
ความหนาว ร้อน ความมืด และยาพิษ.
และควรนำอุปมาเหล่านี้มาตั้งไว้ในญาณใดญาณหนึ่ง ตั้งต้นแต่ภยตุปัฏฐานญาณขึ้นมา แต่เมื่อนำเอาอุปมาทั้งหลายนั้นมาในฐานะ (แห่งวุฏฐานคามินีวิปัสสนา) นี้ญาณทั้งปวง (รวมทั้งกิจทั้งปวงของญาณ) ตั้งแต่ภยตุปัฏฐานญาณจนถึงผลญาณ ก็จะปรากฏชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ควรนำ (อุปมาทั้งหลายนั้น) มากล่าว ณ ที่นี้ด้วยเหมือนกัน
๑. อุปมาด้วยค้างคาว
[๗๙๐] เล่ากันว่า นกค้างคาวตัวหนึ่ง คิดว่า จักได้ดอกไม้หรือผลไม้บนต้นไม้นี้ จึงแอบซ่อนตัวอยู่บนต้นมะซางซึ่งมีกิ่ง ๕ กิ่ง แล้วเกาะกิ่งหนึ่งอยู่ไม่พบดอกไม้ หรือผลไม้ ไร ๆ ที่ควรถือเอาได้บนกิ่งนั้น และไปเกาะกิ่งที่ ๒ กิ่งที่ ๓ กิ่งที่ ๔ แม้กิ่งที่ ๕ ก็ไม่พบ (ดอกหรือผลไรๆ) เหมือนอย่างกิ่ง (ที่) ๑ นกค้างคาวตัวนั้นจึงคิดว่า ต้นไม้ต้นนี้ไม่มีผลแน่ ๆ อะไรๆ ที่ควรถือเอาได้ก็ไม่มีบนต้นไม้นี้ จึงทอดอาลัยในต้นไม้นั้น แล้วไต่ขึ้นไปบนกิ่งตรง ชูหัวออกไปทางระหว่างค่าคบ แหงนดูขึ้นไปข้างบน แล้วโผขึ้นไปในอากาศ ไปแอบอยู่บนต้นไม้มีผลต้นอื่น
----------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๑๕
ในอุปมานั้น พึงเห็นโยคาวจร(1) เป็นเหมือนค้างคาว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นเหมือนต้นมะซางซึ่งมีกิ่ง ๕ กิ่ง การที่โยคี"(1) กำหนดอยู่ในขันธ์ ๕ ก็เหมือนการที่ค้างคาวแอบอยู่บนต้นมะซางนั้น การที่โยคีกำหนดรู้รูปขันธ์แล้วไม่เห็นอะไรๆ ที่ควรถือเอาได้ในรูปขันธ์นั้น จึงกำหนดรู้ขันธ์อื่นที่เหลือ ก็เหมือนการที่ค้างคาวเกาะกิ่งไม้กิ่งหนึ่งๆ ไม่พบอะไร ๆ ที่ควรถือเอาได้ จึงไปเกาะกิ่งไม้อื่นที่เหลือนอกนั้น ญาณ ๓ มีมุญจิตุกัมยตาญาณเป็นต้น ของโยคีผู้เบื่อหน่ายแล้ว ด้วยการเห็นลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้นในขันธ์แม้ทั้ง ๕ ก็เหมือนการที่ค้างคาวนั้นคิดว่าต้นไม้ต้นนี้ไม่มีผลแน่ ๆ แล้วทอดอาลัยในต้นไม้ อนุโลมญาณของโยคี ก็เหมือนการที่ค้างคาวนั้นได้ขึ้นไปเบื้องบนของกิ่งไม้กิ่งตรง โคตรภูญาณ ก็เหมือนการชูหัวออกไปแหงนขึ้นดูข้างบน (ของค้างคาว) มรรคญาณ เปรียบเหมือนการโผขึ้นไปในอากาศ (ของค้างคาว)ผลญาณ เปรียบเหมือนการแอบอยู่บนต้นไม้มีผลต้นอื่น
๒. อุปมาด้วยงูเห่า
[๗๙๑] อุปมาด้วยงูเห่า ได้กล่าวมาแล้วใน (ตอนว่าด้วย) ปฏิสังขาญาณแต่ในการเปรียบเทียบด้วยอุปมาในที่นี้ มีความแปลกออกไปดังนี้ คือ โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการปล่อยงูไป มรรคญาณเปรียบเหมือนการยืนอยู่ของบุรุษผู้ปล่อยงูแล้วมองดูทางที่ตนมาอยู่ ผลญาณเปรียบเหมือนการไปยืนอยู่ในที่ปลอดภัย
๓. อุปมาด้วยเรือน
[๗๙๒] เรื่องมีว่าเมื่อเจ้าของเรือนบริโภคอาหารในตอนเย็นแล้ว ก็ขึ้นนอนหลับไป เรือนถูกไฟไหม้ เขาตื่นขึ้นเห็นไฟ ก็กลัว คิดว่า "พึงเป็นการดีแน่ ถ้าเราไม่ถูกไฟไหม้รีบออกไปเสียก่อน" มองหา ครั้นเห็นทางก็ออกไป รีบไปยืนอยู่ ณ ที่ปลอดภัยในอุปมานั้น การที่พาลปุถุชนยึดถือขันธ์ ๕ ว่า เป็นเรา เป็นของเรา เปรียบเหมือนการที่เจ้าของเรือน บริโภคอาหาร (ในตอนเย็น) แล้วขึ้นที่นอน นอนหลับไปการ (ที่โยคี) ปฏิบัติป็นสัมมาปฏิบัติแล้วเห็นพระไตรลักษณ์ (เกิด) ภยตุปัฏฐานญาณ
----------------
(1) ในพระบาลีวิสุทธิมรรค ท่านใช้ทั้ง โยคาวจร และ โยคี บางแห่งใช้คำว่า ชน เช่นข้างต้น
----------------
น. ๑๑๑๖ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
เปรียบเหมือนกาล (แห่งเจ้าของเรือน) ตื่นขึ้นเห็นไฟแล้วกลัว มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนการมองหาทางออก อนุโลมญาณเปรียบเหมือนการเห็นทางโคตรภูญาณเปรียบเหมือนการออกไป มรรคญาณเปรียบเหมือนการรีบไป ผลญาณเปรียบเหมือนการยืนอยู่ ณ ที่ปลอดภัย
๔. อุปมาด้วยวัว
[๗๙๓] เล่ากันว่า ขณะที่ชาวนาผู้หนึ่งนอนหลับอยู่ในเวลากลางคืน วัวทั้งหลายก็แหกคอกหนีไป ครั้นเวลาเช้ามืด ชาวนาผู้นั้นไปตรวจดูในคอกนั้น รู้ว่าวัวเหล่านั้นหนีไปแล้ว จึงตามรอยไป ก็พบวัวทั้งหลายของพระราชา มั่นหมายว่าวัวเหล่านั้นเป็นของเรา จึงต้อนกลับมา ครั้นเวลารุ่งแจ้งก็จำได้ว่า วัวเหล่านี้มิใช่ของเราเป็นวัวของพระราชา จึงกล่าวว่า ตราบใดที่พวกราชบุรุษจะยังไม่จับเราไว้ ว่าผู้นี้เป็นโจร แล้วทำให้ถึงความพินาศ ตราบนั้นเราจักหนีไปเสียก่อน จึงทิ้งฝูงวัวไว้แล้วรีบหนีไปอยู่ในที่ปลอดภัย
ในอุปมานั้น การที่พาลปุถุชนยึดถือขันธ์ทั้งหลาย ว่าเป็นเรา เป็นของเราเปรียบเหมือน การ (ที่ชาวนา) จับต้อนวัวทั้งหลายของพระราชามาด้วยสำคัญว่าเป็นวัวของตน การหมายรู้ขันธ์ทั้งหลายว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัดตา" โดยพระไตรลักษณ์ ของโยคี เปรียบเหมือนการ (ที่ชาวนา) จำได้ว่าเป็นวัวของพระราชา ในเวลารุ่งแจ้ง ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนเวลา (ที่ชาวนานั้น) กลัว มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนความปรารถนาที่จะทิ้ง (วัวทั้งหลายของพระราชา) ไปโคตรภูญาณเปรียบเหมือนการทิ้ง (วัวทั้งหลาย) มรรคญาณเปรียบเหมือนการหนีไปผลญาณเปรียบเหมือนการหนีไปอยู่ ณ ที่ปลอดภัย
๕. อุปมาด้วยยักษิณี
[๗๙๔] เขาว่า บุรุษผู้หนึ่งอยู่ร่วมสังวาสกับนางยักษิณี ครั้นในราตรีกาล นางยักษ์นั้นรู้ว่าบุรุษนี้หลับแล้ว จึงไปยังป่ช้าผีดิบแล้วเคี้ยวกินเนื้อมนุษย์ บุรุษผู้นั้นสงสัยว่า นางนี่ไปไหน จึงติดตามไป ครั้นเห็นนางยักษ์กำลังเคี้ยวกินเนื้อมนุษย์อยู่ ก็รู้ว่า
----------------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๑๗
นางมิใช่มนุษย์จึงคิดว่า จักหนีไปเสียก่อนที่มันจะกินเรา หวาดกลัวรีบหนีไปอยู่ในที่ปลอดภัย
ในอุปมานั้น การ (ที่โยคี) ยึดถือขันธ์ทั้งหลายว่า เป็นเรา เป็นของเรา เปรียบเหมือนการ (ที่บุรุษนั้น) อยู่ร่วมกับนางยักษิณี การเห็นพระไตรลักษณ์แล้วรู้ถึงความที่ขันธ์ทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เปรียบเหมือนการ (ที่บุรุษนั้น) เห็น (นางยักษ์)เคี้ยวกินเนื้อมนุษย์อยู่ในป่าช้า แล้วรู้ว่า นางนี้เป็นยักษิณี ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนเวลา (ที่บุรุษนั้น) หวาดกลัว มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนความปรารถนาที่จะหนีไป โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการละทิ้งป่าช้าไป มรรคญาณเปรียบเหมือนการรีบหนีไป ผลญาณเปรียบเหมือนการอยู่ในประเทศไม่มีภัย
๖. อุปมาด้วยทารก
[๗๙๕] เล่ากันว่า สตรีผู้หนึ่งเป็นคนหลงรักบุตร เธอนั่งอยู่บนปราสาทชั้นบนได้ยินเสียงร้องของทารก ณ ระหว่างถนน คิดว่ามีผู้ใดผู้หนึ่งรังแกบุตรของเราเป็นแน่จึงรีบลงมาอุ้มเอาบุตรของคนอื่นไป ด้วยสำคัญว่าบุตรของตน ครั้นเธอจำได้ว่าทารกนี้เป็นบุตรของคนอื่น ก็ตกใจกลัว มองดูข้างโน้นช้างนี้ แล้วคิดว่ใครๆ อย่ามากล่าวหาเรา ว่านางนี้เป็นคนขโมยเด็กเลย จึงวางทารกลงไว้ในระหว่างถนนนั้นแลแล้วรีบขึ้นไปนั่งอยู่บนปราสาท ตามเดิม
ในอุปมานั้น การยึดถือขันธ์ ๕ ว่า เป็นเรา เป็นของเรา เป็นเหมือนการ (ที่สตรีนั้น) อัมเอาบุตรของคนอื่นไว้ ด้วยสำคัญว่าเป็นบุตรของตน การหมายรู้ด้วยอำนาจพระไตรลักษณ์ว่า มิใช่เรา มิใช่ของเรา เปรียบเหมือนการ (ที่สตรีนั้น) จำได้ว่าทารกนี้เป็นบุตรของคนอื่น ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนการตกใจกลัว มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนการมองดูข้างโน้นข้างนี้ อนุโลมญาณเปรียบเหมือนการวางทารกลงไว้ในระหว่างถนนนั้นแล โคตรภูญาณเปรียบเหมือนเวลาที่ (สตรีนั้น) วาง(ทารกนั้น) แล้วยังยืนอยู่ระหว่างถนน มรรคญาณเปรียบเหมือนการ (กลับ) ขึ้นไปบนปราสาท ผลญาณเปรียบเหมือนการขึ้นไปนั่งอยู่
----------------------
น. ๑๑๑๘ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
อุปมาด้วยความหิว, ระหาย, หนาว, ร้อน, ความมืดและยาพิษ
[๗๙๖] ส่วนอุปมา ๖ ข้อเหล่านี้ คือ ความหิว ระหาย หนาว ร้อน ความมืดและยาพิษ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า ผู้ตั้งอยู่ใน วุฏฐานคามินีวิปัสสนา แล้ว เป็นผู้น้อมไป โน้มไป และโอนเอียงไป โดยผันหน้ามุ่งเข้าสู่โลกุตรธรรมแล้ว
๗. อุปมาด้วยความหิว
ความจริง บุรุษผู้ถูกความหิวครอบงำ หิวโหยมาก ปรารถนาโภชนะมีรสดีฉันใด โยคาวจรท่านนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกความหิวคือสังสารวัฏกระทบแล้ว จึงปรารถนาโภชนะคือกายคตาสดิซึ่งมีรสเป็นอมตะ
๘. อุปมาด้วยความระหาย
และบุรุษผู้มีความระหาย คอและปากแห้งผาก ปรารถนาน้ำปานะที่มีเครื่องปรุงหลายอย่าง ฉันใด โยคาวจรเท่านั้น ก็ฉันนั้นเช่นกัน ถูกความระหายคือสังสารวัฏกระทบแล้ว จึงปรารถนาน้ำปานะ คือพระอริยมรรคมีองค์ ๘
๙. อุปมาด้วยความหนาว
อนึ่ง บุรุษผู้สัมผัสกับความหนาว ย่อมปรารถนาความอบอุ่น ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ ก็ฉันนั้นเช่นกัน ถูกกระทบด้วยความหนาวคือยางตัณหาในสังสารวัฏ จึงปรารถนาไฟ คือ (พระอริย) มรรค เป็นเครื่องเผากิเลส
๑๐. อุปมาด้วยความร้อน
และบุรุษผู้ถูกความร้อนกระทบ ย่อมปรารถนาความเย็น ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกความร้อนคือไฟ ๑๑ กอง ในสังสารวัฏแผดเผาแล้ว จึงปรารถนาพระนิพพานเป็นที่เข้าไปสงบไฟ ๑๑ กอง
---------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๑๙
๑๑. อุปมาด้วยความมืด
อนึ่ง บุรุษผู้อยู่ท่ามกลางความมืด ย่อมปรารถนาความสว่าง ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกปกคลุมหุ้มห่ออยู่แล้วด้วยความมืดคืออวิชชา จึงปรารถนาอยู่ซึ่งการทำมรรคให้เกิดอันมีแสงสว่างเกิดด้วยญาณ
๑๒. อุปมาด้วยยาพิษ
และบุรุษผู้ถูกยาพิษย่อมปรารถนาเภสัชถอนพิษ ฉันใดโยคาวจรท่านนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกยาพิษคือกิเลสแล้ว จึงปรารถนาพระนิพพาน อันเป็นโอสถอมตะ เป็นเครื่องกำจัดพิษคือกิเลส
เพราะเหตุนั้น จึงได้กล่าวไว้ ข้างตันว่า "เมื่อโยคาวจรผู้นั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่
อย่างนี้ จิตก็ถอยกลับ หวนกลับ วกกลับ ไม่แพร่กระจายไป ในภพ ๓ ในกำเนิด ๔ ในคดิ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๗ ในสัตตาวาส ๙ วางเฉยอยู่ หรือถอยกลับมาตั้งมั่นอยู่ เปรียบเหมือนหยดน้ำในใบบัว ซึ่งขอบใบงอนิดๆ" คำทั้งปวงพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นนั่นแล
[๗๙๗] ก็แล ด้วยประการดังกล่าวนี้ โยคาวจรท่านนี้ เป็นผู้มีชื่อเรียกว่า ผู้ประพฤติโดยความเป็นผู้หลีกลี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสระบุถึงไว้ว่า:-
ปฏิลีนจรสฺส ภิกฺขุโน
ภชมานสฺส วิวิตฺตมาสนํ
สามคฺุคิยมาหุ ตสฺส ตํ
โย อตฺตานํ ภวเน น ทสฺสเย.(1)
แปลความว่า
พระภิกษุใด ไม่แสดงตนในภพ พระอริยเจ้าทั้งหลาย
กล่าวว่า การไม่แสดงตนนั้นของพระภิกษุนั้น ผู้ประพฤติ
หลีกลี้อยู่โดยเฉพาะ ผู้คบแต่อาสนะที่เงียบสงัด ว่าเป็น
การสมควร
-----------------------
(1) ดูเทียบ ขุ. สุ. (ไทย) ๒๕/๘๑๗/๖๙๖
----------------------
น. ๑๑๒๐ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
สังขารุเปกขาญาณนี้กำหนดความเป็นผู้ประพฤติหลีกลี้อยู่โดยเฉพาะของโยศีด้วยประการฉะนี้ แล้วกำหนดความแตกต่างของโพชฌงค์ ความแตกต่างขององค์มรรคความแตกต่างขององค์ฌาน ความแตกต่างของปฏิปทา และความแตกต่างของวิโมกข์แม้ของพระอริยมรรคต่อไปอีก
ความแตกต่างของโพชฌงค์ องค์มรรค และองค์ฌาน
ความจริง พระเถระบางพวกก็กล่าวว่า "ฌานที่เป็นบาท กำหนดความแตกต่างของโพชฌงค์ ขององค์มรรค และขององค์ฌาน"*(1) พระเถระบางพวกก็กล่าวว่า "ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา กำหนด (ความแตกต่าง)"*(2) พระเถระบางพวกก็กล่าวว่า "อัชฌาสัยของบุคคล (ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา) เป็นตัวกำหนด""(3)
ในวาทะ (ทั้ง ๓) ของพระเถระเหล่านั้น ควรทราบไว้ว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนาตอนต้นนี้นี่แล"(4) กำหนด (ความแตกต่าง) โดยแท้
[๗๙๘) ในการกำหนดความแตกต่างของโพชฌงค์เป็นต้นนั้น มีการกล่าวถึงโดยลำดับดังต่อไปนี้
อริยมรรคตามระดับฌาน" (5)
ความจริง มรรคที่เกิดขึ้นแก่ท่านสุกขวิปัสสกโดยวิปัสสนานิยมก็ดี มรรคที่เกิดขึ้นแก่ท่านผู้ได้สมาบัติ มิได้ทำฌานให้เป็นบาทก็ดี มรรคที่ทำปฐมฌานเป็นบาทแล้วกำหนดรู้สังขารทั้งหลายที่ป็นปกิณณกะ (คือสังขารอื่นนอกไปจากฌานที่เป็นบาท)แล้วทำให้เกิดขึ้นก็ดี เป็นมรรคเกิดขึ้นในระดับปฐมฌานนั่นเอง ในทุกมรรค (ที่กล่าวนั้น) มีโพชฌงค์ ๗ มีองค์มรรค ๘ มีองค์ฌาน ๕ เพราะว่าวิปัสสนาภาคต้นของ (อริย)
-----------------
(1) มหาฎีกา ระบุว่า ท่านติปิฎกจูฬนาคเถระ
(2) ท่านมหาทัตตเถระ ผู้อยู่ในโมรวาปี
(3) ท่านติปิฎกจูฬาภยเถระ
(4) ที่ว่าวุฎฐานคามินีวิปัสสนาตอนตัน ก็คือ สังขารุเปกขาญาณ ดู - อฎรสาลินี, (บาลี) น. ๓๕๕
(5) ดู - สทธมุมปกาสินี, (บาลี) น. ๒๓๔-๒๓๕
----------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๒๑
มรรคแม้เหล่านั้น เป็นวิปัสสนาประกอบด้วยโสมนัสบ้าง ประกอบด้วยอุเบกขาบ้าง ครั้นถึงความเป็นสังขารุเปกขาในเวลาแห่งวุฏฐานะ (การออกไป คือมรรค) แล้ว ก็เป็นวิปัสสนาประกอบด้วยโสมนัส (แต่) ในบรรดามรรคที่ทำทุติยฌาน ทำตติยฌาน ทำจตุตถฌาน (ตาม) ในปัญจกนัย (คือฌานระบบแบ่ง ๕) ให้เป็นบาท แล้วทำให้เกิดขึ้น ฌานก็มีองค์ ๔ (ไม่มีวิตกสำหรับทุติยฌาน) มีองค์ ๓ (ไม่มีทั้งวิตกและวิจารสำหรับตติยฌาน) และมีองค์ ๒ (ไม่มีวิตก วิจาร และปีติสำหรับจตุตถฌาน) โดยลำดับ แต่ในทุกมรรค มีองค์มรรคอยู่ ๗ (ไม่มีวิตก คือ สัมมาสังกัปปะ) และในมรรคที่ ๔ (ซึ่งมีฌานที่ ๔ เป็นบาท) มีโพชฌงค์ ๖ (ไม่มีปีติสัมโพชฌงค์) ความแตกต่างกันนี้ มีอยู่โดยการกำหนดด้วยฌานเป็นบาท และโดยวิปัสสนานิยม (การกำหนดด้วยวิปัสสนา)เพราะว่า วิปัสสนาที่ป็นภาคต้นของมรรคแม้เหล่านั้น ก็ประกอบด้วยโสมนัสบ้างประกอบด้วยอุเบกขาบ้าง "วุฏฐานคามินีวิปัสสนา" ประกอบด้วยโสมนัสอย่างเดียว
แต่ในมรรคที่ทำปัญจมฌานเป็นบาทแล้วบังเกิดขึ้น มีองค์ฌาน ๒ (คือ) ด้วยอุเบกขาและจิตเตกัคคตา มีโพชฌงค์ ๖ และมีองค์มรรค ๗ แม้อย่างนี้ก็เป็นความแตกต่างโดยกำหนดด้วยฌานเป็นบาท และโดยวิปัสสนานิยมทั้งสองอย่าง เพราะในนัยนี้ วิปัสสนาภาคต้น เป็นวิปัสสนาประกอบด้วยโสมนัส หรือประกอบด้วยอุเบกขาก็มี ส่วนวุฏฐานคามินีประกอบด้วยอุเบกขาอย่างเดียว
นัยแม้ในมรรคที่ทำอรูปฌานเป็นบาทให้เกิดขึ้น ก็เป็นเช่นนี้เหมือนกันด้วยอาการดังกล่าวนี้ สมาบัติที่ออก ณ ที่ใกล้ชิดมรรคซึ่งเกิดขึ้น เพราะโยคีออกจากฌานที่เป็นบาทแล้วกำหนดรู้สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้มรรคเหมือนตนเองเกิดขึ้น ก็เหมือนสีของแผ่นดินที่ทำสีของเหี้ยให้เหมือนสีดิน
[๗๙๙] แต่ในวาทะของพระเถระท่านที่ ๒ ความว่า มรรคที่ทำให้บังเกิดขึ้นเพราะออกจากสมาบัติใด ๆ แล้วกำหนดรู้องค์ธรรมทั้งหลายใด ๆ ของสมาบัติ ก็เป็นมรรคเหมือนสมาบัตินั้น ๆ นั่นแล อธิบายว่า เป็นเช่นเดียวกับสมาบัติที่กำหนดรู้มาแล้ว แต่ถ้าโยคีกำหนดรู้กามาวจรธรรมทั้งหลาย มรรค (ที่บรรลุ) ก็เป็นอยู่ในระดับปฐมฌานเท่านั้น อนึ่ง พึงทราบ วิปัสสนานิยมนี้ในวาทะของพระเถระท่านที่ ๒ นั้นโดยนัยดังกล่าวแล้วเช่นกัน
---------------------
น. ๑๑๒๒ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
[๘๐๐] ส่วนในวาทะของพระเถระท่านที่ ๓ ความว่า มรรคที่บังเกิดขึ้นเพราะทำฌานใด ๆ เป็นบาท แล้วกำหนดรู้องค์ธรรมของฌานทั้งหลายใดๆ ตามสมควรแก่อัชฌาสัยของตน ๆ มรรคก็เป็นเหมือนฌานนั้น ๆ นั่นแล แต่ความเป็นเหมือนฌานนั้นๆ นั้น เมื่อปราศจากฌานที่เป็นบาท หรือปราศจากฌานที่กำหนดรู้เสียแล้ว ก็หาสำเร็จโดยเพียงแต่อัชฌาสัย (ของตนเอง) อย่างเดียวหามิได้ ความดังกล่าวนี้นั้น พึงแสดงด้วยนันทโกวาทสูตร"(1)
เป็นความจริง แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีพระดำรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายในวันอุโบสถนั้น ขึ้น ๑๕ ค่ำ ความสงสัยหรือความเคลือบแคลงใจว่า "ดวงจันทร์แหว่งหรือเต็มดวงหนอ" มิได้มีแก่คนจำนวนมาก มีแต่ว่า "พระจันทร์เต็มดวง" ดังนี้โดยแท้แล แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีใจยินดีและเป็นผู้มีความดำริเต็มบริบูรณ์ ด้วยธรรมเทศนาของท่านนันทกะ ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณี ๕๐๐ เหล่านั้น ภิกษุณีใด ผู้มีธรรมต่ำสุด ภิกษุณีนั้นเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอน จะตรัสรู้ในภายหน้า" เพราะว่าในภิกษุณีทั้งหลาย ๕๐๐ นั้น ภิกษุณีใดมีอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผล ภิกษุณีนั้นก็เป็นผู้มีความดำริบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลโดยแท้ ภิกษุณีใดมีอุปนิสัยแห่งสกทาคามีมีอุปนิสัยแห่งอนาคามี .... มีอุปนิสัยแห่งพระอรหัต ก็เป็นผู้มีความดำริบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ... ด้วยอนาคามิผล....ด้วยอรหัดผลโดยแท้ มรรคที่โยคีทำให้เกิดขึ้นเพราะทำฌานใด ๆ เป็นบาทแล้วกำหนด รู้องค์ธรรมของฌานทั้งหลายใดๆ ตามสมควรแก่อัชฌาสัยของตน ๆ ...เมื่อปราศจากฌานที่เป็นบาท หรือปราศจากฌานที่กำหนดรู้เสียแล้ว ก็หาสำเร็จโดยเพียงแต่อัชฌาสัยอย่างเดียวหามิได้ และแม้ในวาทะของพระเถระที่ ๓ นี้ ก็พึงทราบวิปัสสนานิยมโดยนัยดังกล่าวแล้ว (ในวาทะของพระเถระที่ ๒) เหมือนกัน
พึงทราบว่า สังขารุเปกขาญาณ กำหนด (ความแตกต่าง) โพชฌงค์ องค์มรรคและองค์ฌานดังกล่าวมานี้ก่อน
-----------------
(1) ดูเทียบ ม. อุ. (ไทย) ๑๔/๔๑๕/ ๔๖๙
----------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๒๓
ปฏิปทา ๔
[๘๐๑] แต่ถ้าสังขารุเปกขาญาณนี้เมื่อข่มกิเลสทั้งหลายมาแต่เริ่มแรก สามารถข่มได้โดยยาก โดยความขมักเขม้นโดยต้องมีการชักจูง (สังขารุเปกขานั้น) ก็มีชื่อว่าทุกขาปฏิปทา (คือปฏิบัติลำบาก) โดยทางตรงข้าม ก็เรียกว่า สุขาปฏิปทา (ปฏิบัติสะดวก) แต่ภายหลังที่ข่มกิเลสได้แล้วค่อย ๆ ทำการอบรมวิปัสสนา ทำมรรคให้เกิดขึ้น ชื่อว่าทันธาภิญญา (คือรู้ได้ช้า) โดยตรงข้าม ก็เป็นขิปปาภิญญา (คือรู้ได้เร็ว) ด้วยเหตุนี้ สังขารุเปกขาญาณนี้จึงตั้งอยู่ในฐานะเป็นที่มา (อาคมนียฐาน) แล้วให้ชื่อเรียกแก่มรรคของตนๆ เพราะเหตุนั้น มรรค จึงได้ชื่อเป็น ๔ ชื่อ"(1) และปฏิปทานี้นั้น สำหรับพระภิกษุบางรูป ก็มีต่าง ๆ กัน สำหรับบางรูปก็เป็นอย่างเดียวกันทั้งใน ๔ มรรค แต่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มรรคทั้ง ๔ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาอย่างเดียว ของท่านพระธรรมเสนาบดี (สารีบุตร) ก็เหมือนกัน ส่วนของท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ปฐมมรรค เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มรรค ๓ ข้างบนเป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
อนึ่ง ปฏิปทา เป็นฉันใด อธิบดี (มีฉันทาธิบดีเป็นต้น) ก็เป็นฉันนั้น สำหรับพระภิกษุบางรูป ก็มีต่างๆ กันใน ๔ มรรค แต่สำหรับบางรูป แม้ในทั้ง ๔ มรรค ก็มีอธิบดีเดียวเท่านั้น
สังขารุเปกขาญาณ กำหนดความแตกต่างของปฏิปทาด้วยประการดังกล่าวมานี้ ส่วนที่กำหนดความแตกต่างของวิโมกข์ ด้วยประการใดนั้น ได้กล่าวไว้ข้างต้นเรียบร้อยแล้ว(2)
เหตุ ๕ ประการในการเรียกชื่อมรรค
[๘๐๒] อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดามรรคได้ชื่อเรียกด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ โดยรสของตน (ด้วยสภาวะ) ๑ หรือโดยธรรมเป็นข้าศึก ๑ หรือโดยคุณของตนเอง ๑ หรือโดยอารมณ์ ๑ หรือโดยอาคมนะ (คือ ฐานที่มา) ๑
--------------------
(1) คือ ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๑ ทุกขาปฏิปทา ขิปปาฏิญญา ๑ สุขาปฏิทา ทันธาภิญญา ๑ สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ๑
(2) ดู-ตอนว่าด้วยวิโมกข์ ๓ หน้า ๑๑๐๔-๑๑๐๗ ข้างต้น
-------------------
น. ๑๑๒๔ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
เพราะว่า ถ้าสังขารุเปกขา ออกไปเพราะกำหนดรู้สังขารทั้งหลายโดยความไม่เที่ยง มรรค (หรือบุคคลผู้ประกอบด้วยมรรค) ก็พ้นพิเศษไปด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ถ้าออกไปเพราะกำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์ ก็พ้นพิเศษไปด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ ถ้าออกไปเพราะกำหนดรู้โดยความเป็นอนัตตา ก็พ้นพิเศษไปด้วยสุญญตวิโมกข์ นี้ได้ชื่อเรียกโดยรสของตน
แต่เพราะเหตุที่มรรคนี้ทำการสลายไปแห่งความเป็นก้อน เป็นกองของสังขารทั้งหลาย ด้วยอนิจจานุปัสสนา แล้วมาละได้ซึ่งนิมิตว่าเที่ยง นิมิตว่ายั่งยืน และนิมิตว่ามั่นคงถาวร เพราะฉะนั้นจึงเรียกชื่อว่า อนิมิตต (วิโมกข์ แต่ที่เรียกชื่อว่า อัปปณิหิต(วิโมกข์) เพราะละสัญญาว่าเป็นความสุข ด้วยทุกขานุปัสสนา แล้วมาทำให้ความดั้งมั่น (ของตัณหา) คือความปรารถนา แห้งเหือดไป เรียกชื่อว่า สุญญต (วิโมกข์)เพราะละสัญญา (คือความหมายรู้) ว่ามีอัตตา มีสัตว์ มีบุคคล ด้วยอนัตตานุปัสสนาแล้วเห็นสังขารทั้งหลายโดยเป็นของว่างเปล่านี้ ได้ชื่อเรียกโดยธรรมเป็นข้าศึก ฉะนี้แล
อนึ่ง มรรคนี้ชื่อว่าสุญญตะ เพราะว่างจากกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ชื่อว่าอนิมิตตะ เพราะไม่มีนิมิตทั้งหลายมีนิมิตคือรูปเป็นต้น หรือว่าเพราะไม่มีนิมิตทั้งหลายมีนิมิต คือราคะเป็นต้นนั่นแล ชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะไม่มีปณิธิทั้งหลายมีปณิธิคือราคะเป็นต้น นี้ได้ชื่อเรียกโดยคุณของตนของมรรคนั้น ฉะนี้แล
มรรคนี้นั้น ท่านเรียกว่า สุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ แม้เพราะเหตุที่ทำพระนิพพานซึ่งว่างเปล่า ไม่มีนิมิต และหาปณิหิตะมิได้เป็นอารมณ์ ดังนี้ก็มี นี้เป็นชื่อโดยอารมณ์ของมรรคนั้น
[๘๐๓] ส่วนอาคมนะ (คือฐานะที่มา) มี ๒ อย่าง คือวิปัสสนาคมนะ (ที่มาคือวิปัสสนา) ๑ และมัคคาคมนะ (ที่มาคือมรรค) ๑ ใน ๒ อย่างนั้น วิปัสสนาคมนะได้ในมรรค มัคคาคมนะได้ในผล เพราะว่า อนัตตานุปัสสนา ชื่อว่าสุญญตา มรรคของสูญญตวิปัสสนา ชื่อว่าสูญญตะ อนิจจานุปัสสนา ชื่อว่าอนิมิตตะ มรรคของอนิมิตตวิปัสสนา ชื่อว่าอนิมิตตะ แต่ชื่อ (หลัง) นี้ไม่พบโดยบรรยายทางพระอภิธรรม พบแต่
---------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๑๒๕
โดยบรรยายทางพระสูตรเท่านั้น เพราะในบรรยายทางพระสูตรนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า "โคตรภูญาณ ทำพระนิพพานอันหานิมิตมิได้เป็นอารมณ์จึงเป็นญาณมีชื่อว่าไม่มีนิมิต แล้วตนเองก็ตั้งอยู่ในฐานะเป็นปฏิปทาที่มา แล้วให้ชื่อเรียกแก่มรรค" ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกมรรคว่าไม่มีนิมิต แต่คำกล่าวที่ว่า "ผลก็มีชื่อว่าไม่มีนิมิตโดยที่มาคือมรรค" ดังนี้ ก็สมควรอยู่เหมือนกัน ทุกขานุปัสสนา มีชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะมาทำให้ปณิธิในสังขารทั้งหลายเหือดแห้งไป มรรคของอัปปณิหิตวิปัสสนา ชื่อว่าอัปปณิหิตะ ผลของอัปปณิหิตมรรคก็มีชื่อว่าอัปปณิหิตะ วิปัสสนาให้ชื่อของตนแก่มรรค (และ) มรรคให้ชื่อแก่ผลอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ นี้ได้ชื่อโดยอาคมนะ
สังขารุเปกขาญาณนี้กำหนดความแตกต่างของวิโมกข์ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ด้วยประการฉะนี้
จบ สังขารุเปกขาญาณ
[full-post]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ