ปรมัตถโชติกะ

สมถกรรมฐานทีปนี

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

-----------------------------

อภิธัมมัตถสังคหะบาลีและคำแปลเพื่อท่องจำ


คำปฏิญญาของพระอนุรุทธาจารย์

      ๑.     สมถวิปสฺสนานํ            ภาวนานมิโต ปรํ 

               กมฺมฏฺฐานํ ปวกฺขามิ    ทุวิธมฺปิ ยถากฺกมํ ฯ

      ต่อจากปัจจัยสังคหวิภาคนั้น ข้าพเจ้าจะแสดงกรรมฐาน ๒ ประเภท คือ สมถภาวนากรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ตามลำดับ


สมถกรรมฐานนัย

แสดงกรรมฐาน ๔๐

๒. ตตฺถ สมถสงฺคเห ตาว ทส กสิณานิ, ทส อสุภา, ทส อนุสฺสติโย, จตสฺโส อปฺปมญฺญาโย, เอกา สญฺญา, เอกํ ววตฺถานํ, จตฺตาโร อารุปฺปา เจติ, สตฺตวิเธน สมถกมฺมฏฺฐานสงฺคโห ฯ

      ในบรรดากรรมฐาน ๒ อย่างนั้น ในสมถกรรมฐานสังคทะ นักศึกษาทั้งหลาย พึงทราบการรวบรวมสมถกรรมฐาน โดยแบ่งออกเป็น ๗ หมวดก่อน ดังนี้ คือ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อัปปมัญญา ๔ สัญญา ๑ ววัตถาน ๑ อารุปป ๔ ฯ


แสดงจริต ๖

๓. ราคจริตา โทสจริตา โมหจริตา สทธาจริตา พุทฺธิจริตา วิตกฺกจริตา เจติ ฉพฺพิเธน จริตสงฺคโห ฯ

      พึงทราบการรวบรวมจริต โดยมี ๖ อย่าง ดังนี้ คือ ราคจริต โทสจริต โมหจริต ศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต ฯ


แสดงภาวนา ๓

๔. ปริกมฺมภาวนา อุปจารภาวนา อปฺปนาภาวนา เจติ ติสฺโส ภาวนา ฯ

      พึงทราบภาวนา ๓ อย่าง ดังนี้ คือ บริกรรมภาวนา อุปจารภาวนา อัปปนาภาวนา ฯ


แสดงนิมิต ๓

๕. ปริกมฺมนิมิตฺตํ อุคฺคหนิมิตฺตํ ปฏิภาคนิมิตฺตญฺเจติ ตีณิ นิมิตฺตานิ จ เวทิตพฺพานิ ฯ

      พึงทราบนิมิต ๓ ดังนี้ คือ บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต


แสดงกสิณ ๑๐

๖. กถํ ? ปถวีกสิณํ อาโปกสิณํ เตโชกสิณํ วาโยกสิณํ นีลกสิณํ ปีตกสิณํ โลหิตกสิณํ โอทาตกสิณํ อากาสกสิณํ อาโลกกสิณญฺเจติ อิมานิ ทส กสิณานิ นาม ฯ

จะพึงทราบสมถกรรมฐาน มีกสิณ ๑๐ เป็นต้น เหล่านั้นได้อย่างไร ?

      ปถวีกสิณ ดินที่พึงกระทำให้เป็นวงกลม มีประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว หรือเท่าขันน้ำ เท่ากระด้งอย่างเล็ก หรืออย่างใหญ่เท่าลานข้าว นั้นแหละ ชื่อว่า กสิณ เพราะพระโยคีบุคคลต้องใช้เพ่งให้ทั่วตลอด อย่างหนึ่ง

      อาโปกสิณ น้ำที่มีความใสสะอาดปราศจากสี ใส่ในภาชนะ มี ขัน บาตร เป็นต้นที่ขอบปากกว้างประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว นั้นแหละ ชื่อว่า กสิณ เพราะพระโยคีบุคคลต้องใช้เพ่งให้ทั่วตลอด อย่างหนึ่ง

      เตโชกสิณ เปลวไฟที่กองกูณฑ์ไว้แล้ว เอาแผ่นหนังหรือผ้าก็ตามเจาะให้เป็น วงกลม มีประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว จึงไว้เบื้องหน้านั้นแหละ ชื่อว่า กสิณ เพราะพระโยคีบุคคลต้องใช้เพ่งให้ทั่วตลอด อย่างหนึ่ง

      วาโยกสิณ ลมที่พึงกำหนดเห็นได้ด้วยอาศัยยอดไม้ ปลายไม้ไหว หรือที่พึงกำหนดได้ด้วยอาศัยการพัดมาถูกกายของตน นั้นแหละ ชื่อว่า กสิณ เพราะ ฯลฯ 

      นีลกสิณ สีเขียวที่ปรากฏในใบไม้ หรือ ในผ้าเป็นต้น ที่กระทำให้เป็นวงกลมมีประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว เป็นต้น นั้นแหละ ชื่อว่า กสิณ เพราะ ฯลฯ

      ปีตกสิณ สีเหลืองที่ปรากฏในดอกไม้ หรือ ในผ้าเป็นต้น ที่กระทำให้เป็นวงกลม มีประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว นั้นแหละ ชื่อว่า กสิณ ฯลฯ

      โลหิตกสิณ สีแดงที่ปรากฏในดอกไม้ หรือ ในผ้าเป็นต้น ที่กระทำให้เป็นวงกลม มีประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว นั้นแหละ ชื่อว่า กสิณ ฯลฯ

      โอทาตกสิณ สีขาวที่ปรากฏในดอกไม้ หรือ ในผ้าเป็นต้น ที่กระทำให้เป็นวงกลม มีประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว นั้นแหละ ชื่อว่า กสิณ ฯลฯ

      อากาสกสิณ อากาศที่พึงกำหนดได้โดยการตัดช่องฝา หรือผ้า เป็นต้น ให้เป็นวงกลม มีประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว นั้นแหละ ชื่อว่า กสิณ ฯลฯ

      อาโลกกสิณ แสงสว่างของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงไฟ เป็นต้น ที่ส่องมาจากช่องฝาเป็นวงกลม มีประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว นั้นแหละ ชื่อว่า กสิณ เพราะพระโยคีบุคคลต้องใช้เพ่งให้ทั่วตลอด อย่างหนึ่ง

      ตามที่กล่าวมานี้แหละ ชื่อว่า กสิณ ๑๐


แสดงอสุภ ๓๐

๗. อุทฺธุมาตกํ วินีลกํ วิปุพฺพกํ วิจฺฉิทฺทกํ วิกฺขายิตกํ วิกฺขิตฺตกํ หตวิกฺขิตฺตกํ โลหิตกํ ปุฬุวกํ อฏฺฐิกญฺเจติ อิเม ทส อสุภา นาม ฯ

      อุทธุมาตกอสุภ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยมีอาการพองขึ้นภายหลังที่ตายแล้ว ๒ - ๓ วัน อย่างหนึ่ง

      วนีลกอสุภ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยมีสีต่างๆ ปนกัน คือ ที่มีเนื้อมากก็สีแดง ที่เป็นหนองก็มีสีขาว โดยส่วนมากมีสีเขียว อย่างหนึ่ง

      วิปุพพกอสุภ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยมีน้ำเหลือง และ น้ำหนองไหลออกจากเนื้อ ที่ปริเปื่อยพัง อย่างหนึ่ง

      วิจฉิททกอสุภ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยร่างกายนั้นขาดออกเป็น ๒ ท่อนอย่างหนึ่ง

      วิกขายิตกอสุภ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยถูกสัตว์มีแร้ง กา สุนัข กัดทิ้งยื้อแย่งโดยอาการต่างๆ อย่างหนึ่ง

      วิกขิตตกอสุภ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยถูกทิ้งเรี่ยรายไว้ มือ เท้า ศีรษะ อยู่คนละทาง อย่างหนึ่ง

      หตวิกขิตตกอสุภ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยถูกสับฟันด้วยอาวุธ เป็นริ้ว เป็นรอยอย่างหนึ่ง

      โลหิตกอสุภ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยมีโลหิตไหลอาบร่างกาย อย่างหนึ่ง

      ปุพวกอสุภ คือ ศพที่น่าเกลียดโดยมีหนอนไขทั่วร่างกาย อย่างหนึ่ง

      อัฏฐิกอสุก คือ ศพที่น่าเกลียดโดยมีแต่กระดูก อย่างหนึ่ง

      ตามที่กล่าวมานี้แหละ ชื่อว่า อสุภ ๑๐


แสดงอนุสสติ ๑๐

๘. พุทฺธานุสฺสติ ธมฺมานุสฺสติ สงฺฆานุสฺสติ สีลานุสฺสติ จาคานุสฺสติ เทวตานุสฺสติ อุปสมานุสฺสติ มรณานุสฺสติ กายคตาสติ อานาปานสฺสติ เจติ อิมา ทส อนุสฺสติโย นาม ฯ

      พุทธานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี อรหันตคุณเป็นต้น และพระสรีรกายอันประกอบด้วยสิริคุณ เป็นต้น อยู่เนืองๆ อย่างหนึ่ง

      ธัมมานุสสติ การระลึกถึงคุณทั้ง ๖ มี สฺวากฺขาตคุณ เป็นต้น ของพระธรรม ๑๐ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน และพระไตรปีฎก อรรถกถา อยู่เนืองๆ อย่างหนึ่ง

      สังฆานุสสติ การระลึกถึงคุณทั้ง ๙ มี สุปฏิปนฺนตา เป็นต้น ของพระอริยสงฆ์อยู่เนืองๆ. อย่างหนึ่ง

      สีลานุสสติ การระลึกถึงความบริสุทธิ์ของศีลที่ตนรักษาไว้โดยปราศจากโทษ ๔ อย่าง คือ อขัณทะ ไม่ขาด, อฉิททะ ไม่ทะลุ, อสพละ ไม่ด่าง, และ อกัมมาสะ ไม่พร้อย อยู่เนืองๆ อย่างหนึ่ง

      จาคานุสสติ การระลึกถึงการบริจาคทานของตนที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์ ไม่มีการโอ้อวด หรือ การเอาหน้าตา ชื่อเสียง ไม่มีการหวงแหน เป็นต้น อยู่เนืองๆ อย่างหนึ่ง

      เทวตานุสสติ การระลึกถึงกุศลกรรมของตน มีศรัทธา เป็นต้นอยู่เนืองๆโดยเปรียบเทียบกับ เทวดา พรหม ทั้งหลายว่า ผู้ที่บริสุทธิ์ด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการคือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ เหล่านี้ เมื่อละจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไปบังเกิด ในเทวโลก พรหมโลก และกุศลธรรมเหล่านี้ในจิตใจของตนก็มีอยู่เสมออย่างหนึ่ง

      อุปสมานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระนิพพาน ที่มีสภาพสันติสุข คือ มีความสงบ จากกิเลส และความทุกข์ต่างๆ อยู่เนืองๆ อย่างหนึ่ง

      มรณานุสสติ การระลึกถึงความตาย ที่ตนต้องได้ประสบแล้วเกิดความสังเวชสลดใจ อยู่เนืองๆ อย่างหนึ่ง

      กายคตาสติ การระลึกถึง ๓๒ โกฏฐาส มีเกสา โลมา นขา ทันตา เป็นต้นอยู่เนืองๆ อย่างหนึ่ง

      อานาปานัสสติ การมีสติระลึกถึงลมหายใจเข้าออก อยู่เนืองๆ อย่างหนึ่ง

      ตามที่กล่าวมานี้แหละ ชื่อว่า อนุสสติ ๑๐


แสดงอัปปมัญญา ๔

๙. เมตฺตา กรุณา มุทิตา อุเปกฺขา เจติ อิมา จตสฺโส อปฺปมญฺญาโย นาม พฺรหฺมวิหาโรติ จ ปวุจฺจติ ฯ

      เมตตา การแผ่ความรักใคร่ หวังดี ต่อสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีเลือกชั้น วรรณะอย่างหนึ่ง

      กรุณา การแผ่ความสงสารต่อสัตว์ทั้งหลายที่กำลังได้รับความทุกข์อยู่ และที่จะได้รับความทุกข์ต่อไปข้างหน้า โดยไม่เลือกชั้น วรรณะ อย่างหนึ่ง

      มุทิตา การแผ่ความยินดีต่อสัตว์ทั้งหลายที่กำลังได้รับความสุขอยู่ และที่จะได้รับความสุขต่อไปข้างหน้า โดยไม่เลือกชั้น วรรณะ อย่างหนึ่ง

      อุเบกขา การวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งไม่มีความรักใคร่ ความสงสารความยินดีแต่ประการใด โดยไม่เลือกชั้น วรรณะ อย่างหนึ่ง

      ทั้ง ๔ อย่างนี้ ชื่อว่า อัปปมัญญา เพราะไม่มีประมาณ หรือที่ชนทั้งหลายเรียกว่า พรหมวิหาร เพราะผู้ที่ปฏิบัติธรรมทั้ง อย่างๆ ใดอย่างหนึ่งนี้ เหมือนกับความเป็นอยู่ของพรหมทั้งหลาย


แสดงสัญญา ๑

๑๐. อาหาเรปฏิกูลสญฺญา เอกา สญฺญา นาม ฯ การพิจารณาในอาหารว่า เป็นของที่น่าเกลียด จนมีความรู้สึกเป็นไปตามที่พิจารณา นั้น ชื่อว่า สัญญา อย่างหนึ่ง


แสดงววัตถาน ๑

๑๑.จตุธาตุววตฺถานํ เอกํ ววตฺถานํ นาม ฯ การกำหนดพิจารณาธาตุทั้ง ๔ มีปถวีธาตุ เป็นต้น ที่ปรากฏในร่างกาย ชื่อว่า ววัตถาน อย่างหนึ่ง


แสดงอารุปป ๔

๑๒. อากาสานญฺจายตนาทโย จตฺตาโร อารุปฺปา นามาติ สพฺพถาปี สมถนิทฺเทเส จตฺตาลีส กมฺมฏฺฐานานิ ภวนฺติ ฯ 

      อากาสานัญจายตนฌาน เป็นต้น กล่าวคือ อากาสานัญจายตนฌาน ที่เกิดขึ้นโดยมีกสิณฺคฆาฏิมากาสบัญญัติเป็นอารมณ์ วิญญาณัญจายตนฌาน ที่เกิดขึ้น โดยมีอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ อากิญจัญญายตนฌาน ที่เกิดขึ้นโดยมีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ที่เกิดขึ้นโดยมีอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ เหล่านี้ชื่อว่า อารุปป ๘

      กรรมฐาน ๔๐ ในสมถกรรมฐานนิทเทส โดยประการทั้งปวง เป็นไปดังนี้


สัปปายเภท

แสดงการจำแนกกรรมฐานที่เหมาะสมแก่จริต

๑๓.  ก. จริตาสุ ปน ทส อสุภา กายคตาสติสงฺขาตา โกฏฺฐาสภาวนา จ ราคจริตสฺส สปฺปายา ฯ

        ข. จตสฺโส อปฺปมญฺญาย นีลาทีนิ จ จตฺตาริ กสิณานิ โทสจริตสฺส ฯ

        ค. อานาปานํ โมหจริตสฺส วิตกฺกจริตสฺส จ ฯ

        ฆ. พุทฺธานุสฺสติอาทโย ฉ สทฺธาจริตสฺส ฯ

        ง. มรณอุปสมสญฺญาววตฺถานานิ พุทฺธิจริตสฺส ฯ

        จ. เสสานิ ปน สพฺพานิปี กมฺมฏฺฐานานิ สพฺเพสมฺปี สปฺปายานิ ฯ

        ฉ. ตตฺถาปี กสิเณสุ ปุถุลํ โมหจริตสฺส ขุทฺทกํ วิตกฺกจริตสฺส ฯ 

                    อยเมตฺถ สปฺปายเภโท ฯ


      ก. สำหรับจริต ๖ อย่างนั้น การเจริญอสุก ๑๐ โกฏฐาส ๓๒ ที่เรียกว่ากายคตาสติ เหล่านี้ ย่อมเหมาะสมแก่ผู้ที่มีราคจริต

      ข. อัปปมัญญา ๔ กสิณ ๔ มีนีลกสิณ เป็นต้นเหล่านี้ ย่อมเหมาะสมแก่ผู้ที่มีโทสจริต

      ค. อานาปานัสสติ ย่อมเหมาะสมแก่ผู้ที่มีโมหจริต และวิตกจริต

      ฆ. อนุสสติ ๖ มีพุทธานุสสติ เป็นต้น ย่อมเหมาะสมแก่ผู้ที่มีศรัทธาจริต

      ง. มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถาน เหล่านี้ ย่อมเหมาะสมแก่ผู้ที่มีพุทธิจริต

      จ. ส่วนกรรมฐานที่เหลือทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ปถวีกสิณ อาโปกสิณเตโชกสิณ วาโยกสิณ อากาสกสิณ อาโลกกสิณ อรูปกรรมฐาน ๔ เหล่านี้ ย่อมเหมาะสมแก่บุคคลทั่วไป ไม่ว่าจริตใด

      ฉ. บรรดากรรมฐานเหล่านั้น ในกสิณ ๑๐ องค์กสิณต้องมีประมาณกว้างเท่าลานข้าว ย่อมเหมาะสมแก่ผู้ที่มีโมหจริต องค์กสิณต้องมีประมาณเล็กเท่ากระด้ง ย่อมเหมาะสมแก่ผู้ที่มีวิตกจริต

      ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการจำแนกกรรมฐานที่เหมาะสมแก่จริต


ภาวนาเภท

แสดงการจำแนกกรรมฐานโดยภาวนา ๓

๑๔.      ก. ภาวนาสุ ปน สพฺพตฺถาปี ปริกมฺมภาวนา ลพฺภเตว ฯ

          ข. พุทฺธานุสฺสติอาทีสุ อฏฺฐสุ สญฺญาววตฺถาเนสุ จาติ ทสสุ กมฺมฏฺฐาเนสุ อุปจารภาวนาว สมฺปชฺชติ นตฺถิ อปฺปนา ฯ

          ค. เสเสสุ ปน สมตฺตึส* กมฺมฏฺฐาเนสุ อปฺปนาภาวนาปิ สมฺปชฺชติฯ

               (*ฉ. อภิธัมมัตถสังคหะ หน้า ๖๐ - สมตึส เสวาติ ฯ)

          ก. สำหรับกาวนาทั้ง ๆ นั้น บริกรรมภาวนา ย่อมได้อยู่เสมอในกรรมฐานทั้งหมด

          ข. ในกรรมฐาน ๑๐ อย่าง คือ อนุสสติ ๘ มีพุทธานุสสติ เป็นต้นอาหาเรปฏิกูสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ ย่อมได้ถึงอุปจารภาวนาเท่านั้น อัปปนาภาวนา คือ ฌาน ย่อมไม่เกิด

          ค. ในกรรมฐาน ๓๐ ที่เหลือ ซึ่งได้แก่กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อานาปานัสสติ ๑ อัปปมัญญา ๔ อรูป ๔ ย่อมสำเร็จได้ถึงอัปปนา คือ ฌาน


แสดงการจำแนกกรรมฐาน ๓๐ ที่เข้าถึงอัปปนาโดยฌานทั้ง ๙

๑๕.    ก. ตตฺถาปี ทส กสิณานิ อานาปานญฺจ ปญฺจกชฺฌานิกานิ ฯ

        ข. ทส อสุภา กายคตาสติ จ ปฐมชฺฌานิกา ฯ

        ค. เมตฺตาทโย ตโย จตุกฺกชฺฌานิกา ฯ

        ฆ. อุเปกฺขา ปญฺจมชฺฌานิกาติ ฉพฺพีสติ รูปาวจรชฺฌานิกานิ

        ง. จตฺตาโร ปน อารุปฺปา อารุปฺปชฺฌานิกาติ ฯ

               อยเมตฺถ ภาวนาเภโท ฯ

      ก. บรรดากรรมฐาน ๓๐ ที่ถึงอัปปนาเหล่านั้น กสิณ ๑๐ และอานาปานัสสติ ๑ ย่อมทำให้รูปฌานทั้ง ๕ เกิดขึ้นได้

      ข. อสุภ ๑๐ และกายคตาสติ  ย่อมทำให้ปฐมฌานเกิดขึ้นได้

      ค. พรหมวิหาร ๓ มีเมตตาเป็นต้น ย่อมทำให้รูปฌานเบื้องต่ำเกิดขึ้นได้

      ฆ. อุเบกขาพรหมวิหาร ๔ ย่อมทำให้รูปปัญจมฌานเกิดขึ้นได้ กรรมฐานที่ทำให้รูปฌานเกิดขึ้นได้นั้นมีจำนวน ๒๖ ดังนี้

      ง. ส่วนอรูปกรรมฐาน ๔ เหล่านี้ ย่อมทำให้อรูปฌานเกิดขึ้นได้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการจำแนกกรรมฐานโดยภาวนา ๓ โคจรเภท


แสดงการจำแนกกรรมฐาน ๔ โดยนิมิต ๓

๑๖.   ก. นิมิตฺเตสุ ปน ปริกมฺมนิมิตฺตํ อุคฺคหนิมิตฺตญฺจ สพฺพตฺถาปี ยถารหํ ปริยาเยน ลพฺภนุเตว ฯ

      ข. ปฏิภาคนิมิตฺตํ ปน กสิณาสุภโกฏฺฐาสอานาปาเนเสวว ลพฺภติ, ตตฺถ หิ ปฏิภาคนิมิตฺตมารพฺภํ อุปจารสมาธิ อปฺปนาสมาธิ  ปวตฺตนฺติ ฯ

      แปล-

      ก. สำหรับนิมิตทั้ง ๓ นั้น บริกรรมนิมิต และอุคคหนิมิต ย่อมเกิดขึ้นได้ในกรรมฐานทั้งหมดโดยปริยาย ตามสมควรแก่กรรมฐาน

      ข. ส่วนปฏิภาคนิมิตนั้น ย่อมเกิดขึ้นได้ในกสิณ ๑๐ อุสภ ๑๐ โกฎฐาส ๑ อานาปานัสสติ ๑ เท่านั้น

      ในกรรมฐานเหล่านี้ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ทั้ง ๒ ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์


แสดงนิมิต และภาวนาที่เกิดเกี่ยวเนื่องกันจนถึงปฐมฌานเกิด

๑๗. กถํ ?

      ก. อาทิกมฺมิกสฺส หิ ปถวีมณฺฑลาทีสุ นิมิตฺตํ อุคฺคณฺหนฺตสฺส ตมารมฺมณํ ปริกมฺมนิมิตฺตนฺติ ปวุจฺจติ, สา จ ภาวนา ปริกมฺมภาวนา นาม ฯ

      ข. ยทา ปน ตํ นิมิตฺตํ จิตฺเตน สมุคฺคหิต โหติ จกฺขุนา ปสฺสนฺตสฺเสว มโนทฺวารสฺส อาปานมาคติ, ตทา ตเมวารมฺมณํ อุคฺคหนิมิตฺตํ นาม, สา จ ภาวนา สมาธิยติ ๆ

      ค. ตถาสมาหิตสฺส ปเนตสฺส ตโต ปรํ ตสฺมึ อุคฺคหนิมิตฺเต ปริกมฺมสมาธินา ภาวนามนุยุญฺชนฺตสฺส ยทา ตปฺปฏิภาคํ วตฺถุธมฺมวิมุจฺจิตปญฺญตฺติสงฺขาตํ ภาวนามยมารมฺมณํ จิตฺเต สนุนิสินฺนํ สมปฺปิตํ โหติ, ตทาปฏิภาคนิมิตฺตํ สมุปฺปนฺนนฺติ ปวุจฺจติ ฯ

      ฆ. ตโต ปฏฺฐาย ปริพนฺธวิปฺปหีนา"(ฉ. อภิธัมมัตถสังคหะ หน้า ๖๐ - ปริปนฺถวิปฺปหีนา กมฺมฏฺฐานานิ ฯ) กามาวจรสมาธิสงฺขาตา อุปจารภาวนา นิปฺผนฺนา นาม โหติ ฯ

      ง. ตโต ปรํ ตเมว ปฏิภาคนิมิตฺตํ อุปจารสมาธินา สมาเสวนฺตสฺส รูปาวจรปฐมชฺฌานมปฺเปติ ฯ


ความเป็นไปแห่งภาวนาทั้ง ๓ และนิมิตทั้ง ๓ นั้น เป็นไปอย่างไร ?

      ก. การเพ่งอารมณ์ของพระโยคีบุคคล ผู้เริ่มทำกรรมฐาน ในองค์กรรมฐานมีปริมณฑลของปถวีกสิณ เป็นต้น อยู่นั้น อารมณ์กรรมฐานที่กำลังเพ่งอยู่นั้นเรียกว่าบริกรรมนิมิต ภาวนาจิตที่มีบริกรรมนิมิตเป็นอารมณ์นั้นชื่อว่า "บริกรรมภาวนา"

      ข. เมื่อเวลาใด อารมณ์กรรมฐานนั้น เป็นอารมณ์ที่รับได้ชัดเจนด้วยจิตคือ อารมณ์ของกรรมฐานนั้น เข้าสู่เฉพาะหน้ามโนทวารวิถี เหมือนกับเห็นด้วยตาแล้ว เวลานั้นอารมณ์กรรมฐานนั้น ชื่อว่า "อุคคหนิมิต" และภาวนาจิตที่มีอุคคหนิมิตเป็นอารมณ์ ก็ย่อมสงบ

      ค. ต่อจากเวลาที่ใด้อุคคหนิมิต ของพระโยคีบุคคล ผู้มีจิตอันสงบดังอาการที่กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อพยายามเจริญ คือ เพ่งอุคคหนิมิตโดยบริกรรมสมาธิอยู่เรื่อย ๆ เวลาใดอารมณ์ที่เหมือนกับอุคคหนิมิต และพ้นจากปรมัตถธรรม ซึ่งเรียกว่าบัญญัติ ที่สำเร็จมาจากภาวนาย่อมตั้งมั่นอยู่ในจิต คล้ายกับเอาเข้าไปปักแน่นอยู่ในจิตเวลานั้นย่อมกล่าวได้ ว่า "ปฏิภาคนิมิต" เกิดขึ้นสมบูรณ์แล้ว

      ฆ. ตั้งแต่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นเป็นต้นไป ได้ชื่อว่า อุปจารภาวนา คือกามาวจรสมาธิ ซึ่งสามารถประหาณนิวรณ์ทั้ง ๕ ซึ่งเป็นศัตรูของสมาธิเกิดขึ้นแล้ว

      ง. ต่อจากเวลาที่อุปจารภาวนาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อพระโยคีบุคคลเพ่งปฏิภาคนิมิตนั้น โดยอุปจารสมาธิให้เป็นไปโดยสมบูรณ์ กล่าวคือ พยายามรักษาปฏิภาคนิมิตนั้นไม่ให้หายไป แล้วรูปาวจรปฐมฌานก็ย่อมเกิดขึ้น


แสดงการเกิดขึ้นของฌานเบื้องบน มีทุติยฌาน เป็นต้น

      ๑๘. ตโต ปรํ ตเมว ปฐมชฺฌาน อาวชฺชนํ สมาปชฺชนํ อธิฏฺฐานํ วุฏฺฐานํ ปจฺจเวกฺขณา เจติ อิมาหิ ปญฺจหิ วสิตาหิ วสีภูตํ กตฺวา วิตกฺกาทิกโมฬาริกงฺคํ ปหานาย วิจาราทิสุขุมงฺคุปฺปตฺติยา ปทหโต ยถากฺกมํ ทุติยชฺฌานาทโย ยถารหมปฺเปนฺติ ฯ

      ต่อจากที่ปฐมฌานเกิดขึ้นแล้ว ฌานลาภีบุคคลกระทำให้ปฐมฌานนั้นเข้าถึงความชำนาญ โดยวสีทั้ง ๕ คือ

      ๑. ) อาวัชชนวสี ชำนาญในการพิจารณาองค์ฌาน โดยวิถีจิตติดต่อกัน ไม่มีภวังค์คั่นมาก

      ๒.)  สมาปัชชนวสี ชำนาญในการเข้าฌานได้โดยรวดเร็ว

      ๓.) อธิฏฐานวสี ชำนาญในการกำหนดเวลาเข้าตามที่ต้องการ น้อยหรือมากก็ตาม (เช่นกำหนดเข้า ๕ นาที ก็เข้าเพียง ๕ นาที กำหนดเข้า ๑ ชั่วโมง ก็เข้า ๑ชั่วโมง ตรงเวลาเป็นต้น)

      ๔.) วุฏฐานวสี ชำนาญในการกำหนดเวลาออกตามที่ต้องการ น้อยหรือมากก็ตาม (ตรงเวลา)

      ๕.) ปัจจเวกขณวสี ชำนาญในการพิจารณาองค์ฌาน โดยปัจจเวกขณชวนะที่เกิดขึ้นติดต่อกัน ไม่มีภวังค์คั่นมาก แล้วก็เพ่งปฏิภาคนิมิต เพื่อละองค์ฌานที่มีสภาพหยาบ มีวิตก เป็นต้น และเพื่อให้องค์ฌานที่มีสภาพสุขุม มีวิจาร เป็นต้น เกิดขึ้นดังนี้ แล้วทุติยฌานเป็นต้นย่อมเกิดขึ้นตามสมควรโดยลำดับ


บทอวสาน


      อิจฺเจวํ ปถวีกสิณาทีสุ ทฺวาวีสติกมฺมฏฺฐาเนสุ ปฏิภาคนิมิตฺตมปลพฺภติ ฯ 

      ในกรรมฐาน ๒๒ มีปถวีกสิณ เป็นต้น พึงได้ปฏิภาคนิมิตดังที่ได้กล่าวมาแล้ว


แสดงกรรมฐานที่เหลืออีก ๘ ที่ถึงอัปปนาพร้อมด้วยการเกิดขึ้นแห่งอรูปฌาน

      ก. อวเสเสสุ ปน อปฺปมญฺญา สตฺตปญฺญตฺติยา ปวตฺตนฺติ ฯ ส่วนในกรรมฐานที่เหลืออีก ๘ นั้น อัปปมัญญาทั้ง ๔ ย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ที่เป็นสัตวบัญญัติ

      ข. อากาสวชฺชิตกสิเณสุ ปน ยํ กิญฺจิ กสิณํ อุคฺฆาเฏตฺวา ลทฺธมากาสํ อนนฺตวเสน ปริกมฺมํ กโรนฺตสฺส ปฐมารุปฺปมปฺเปติ ฯ อากาสานัญจายตนฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่รูปฌานลาภี ที่กระทำอากาศบัญญัติซึ่งได้มาจากการเพิกกสิณอย่งใดอย่างหนึ่งในบรรดากสิณทั้ง ๙ เว้นอากาศกสิณ ให้เป็นอารมณ์ แล้วบริกรรมว่า อากาโส อนนฺโต อากาศนี้ไม่มีที่สิ้นสุด

      ค. ตเมว ปฐมารุปฺปวิญฺญาณ อนนฺตวเสน ปริกมฺมํ กโรนฺตสฺส ทุติยารุปฺปมปฺเปติ ฯ วิญญาณัญจายตนฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่อากาสานัญจายตนฌานลาภี ที่กระทำอากาสานัญจายตนฌานให้เป็นอารมณ์ โดยบริกรรมว่า "วิญญาณํ อนนฺตํ" อากาสานัญจายตนฌาน นี้ไม่มีที่สิ้นสุด วิญญาณัญจายตนฌานก็ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น

      ฆ. ตเมว ปฐมารุปฺปวิญฺญาณาภาวํ ปน นตฺถิ กิญฺจีติ ปริกมฺมํ กโรนฺตสฺส ตติยารุปฺปมปฺเปติ ฯ อากิญจัญญายตนฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่วิญญาณัญจายตนฌานลาภี ที่กระทำนัตถิภาวบัญญัติ คือ ความไม่มีแห่งอากาสานัญจายตนฌานให้เป็นอารมณ์ โดยบริกรรมว่า "นตฺถิ กิญฺจิ" ไม่มีแม้แต่น้อย

      ง. ตติยารุปฺปํ สนฺตเมตํ, ปณีตเมตนฺติ ปริกมฺมํ กโรนฺตสฺส จตุตฺถารุปฺปมปฺเปติ ฯ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่อากิญจัญญายตนฌานลาภี ที่กระทำอากิญจัญญายตนฌานให้เป็นอารมณ์แล้ว โดยบริกรรมว่า "สนฺตเมตํ ปณีตเมตํ" อากิญจัญญายตนฌานนี้มีสภาพสงบหนอ มีสภาพประณีตหนอ


แสดงความเป็นไปของบริกรรมภาวนาและอุปจารภาวนา

ในการเจริญกรรมฐาน ๑๐ ที่ไม่ถึงอัปปนา

      ๒๐. อวเสเสสุ จ ทสสุ กมฺมฏฺฐาเนสุ พุทฺธคุณาทิกมารมฺมณมารพฺภ ปริกมฺมํ กตฺวา ตสฺมึ นิมิตฺเต สาธุกมุคฺคหิเต ตตฺเถว ปริกมฺมญฺจ สมาธิยติ อุปจาโร จ สมฺปชฺชติ ฯ

      ในกรรมฐานที่เหลือ ๑๑  นั้น พระโยคีบุคคล กระทำพุทธคุณ เป็นต้น ให้เป็นอารมณ์แล้วบริกรรม เมื่อเวลาที่พระโยคีบุคคลได้รับอารมณ์พุทธคุณ เป็นต้น ด้วยดีแล้วคือชัดเจนแล้ว บริกรรมกาวนาของผู้นั้นก็ย่อมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เหล่านั้น และอุปจารภาวนาก็สมบูรณ์ไปด้วย


แสดงการปรากฏของอภิญญา

      ๒๑. อภิญฺญาวเสน ปวตฺตมานํ ปน รูปาจวรปญฺจมชฺฌานํ อภิญฺญา ปาทกปญฺจมชฺฌานา วุฏฺฐหิตฺวา อธิฏฺเฐยฺยาทิกมาวชฺเชตฺวา ปริกมฺมํ กโรนฺตสฺส รูปาทีสุ อารมฺมเณสุ ยถารหมปฺเปติ ฯ

      สำหรับรูปาวจรปัญจมฌานที่เกิดขึ้นโดยความเป็นอภิญญานั้น ย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ ๖ มีรูปารมณ์ เป็นต้น (เป็นอารมณ์) ตามสมควร แก่ผู้ที่ออกจากรูปปัญจมฌาน ซึ่งเป็นบาทของอภิญญา และพิจารณาอารมณ์ต่างฯ ที่ตั้งใจไว้แล้วกระทำบริกรรม (ความหมายว่า เมื่อธิฏฐานอภิญญาเสร็จแล้วเข้าปาทกฌาน การเข้าปาทกฌานนี้ เรียกว่า กระทำบริกรรม)


แสดงอภิญญา ๕

      ๒๒. อภิญฺญา จ นาม อิทฺธิวิธิ ทิพฺพโสตํ ปรจิตฺตวิชานนา ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติ ทิพฺพจกฺขูติ ปญฺจธา ฯ

                              อยเมตฺถ โคจรเภโท นิฏฐิโต จ สมถกมฺมฏฺฐานนโย ฯ


ชื่อว่าอภิญญานั้นมี ๕ อย่างดังนี้ คือ

      ๑.) อิทธิวิธอภิญญา อภิญญาที่เกี่ยวกับการแสดงอิทธิฤทธิต่างๆ

      ๒.) ทิพพโสตอภิญญา อภิญญาที่เกี่ยวกับหูทิพย์

      ๓.) ปรจิตตวิชานนอภิญญา อภิญญาที่เกี่ยวกับการรู้จิตใจของผู้อื่น

      ๔.) ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา อภิญญาที่เกี่ยวกับการระลึกชาติได้

      ๕.) ทิพพจักขุอภิญญา อภิญญาที่เกี่ยวกับตาทิพย์

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ป็นการแสดงประเภทของนิมิตอารมณ์ในกรรมฐานสังคนะ

------------///-------------


[full-post]

ปริจเฉทที่๙,สมถกรรมฐาน,อภิธัมมัตถสังคหะ,ปรมัตถโชติกะ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.