นานาวินิจฉัย


หลักฐานเรื่องอายุพระพุทธศาสนา

พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในพระวินัยปิฎก จูฬวรรค ว่า 

“สเจ อานนฺท นาลภิสฺส มาตุคาโม ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชฺชํ, จิรฏฺฐิติกํ อานนฺท พฺรหฺมจริยํ อภวิสฺส, วสฺสสหสฺสํ สทฺธมฺโม ติฏฺเฐยฺย. ยโต จ โข อานนฺท มาตุคาโม ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโต, น ทานิ อานนฺท พฺรหฺมจริยํ จิรฏฺฐิติกํ ภวิสฺสติ. ปญฺเจว ทานิ อานนฺท วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสติ. (ภิกฺขุนิกฺขนฺธก. มหาปชาปติโคตมีวตฺถุ. วิ.จูฬ. ๗/๒๓๖)

ในบาฬีอังคุตตรนิกายอัฏฐกนิบาต ว่า 

“สเจ อานนฺท นาลภิสฺส มาตุคาโม ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชฺชํ, จิรฏฺฐิติกํ อานนฺท พฺรหฺมจริยํ อภวิสฺส, วสฺสสหสฺสเมว สทฺธมฺโม ติฏฺเฐยฺย. ยโต จ โข อานนฺท มาตุคาโม ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโต, น ทานิ อานนฺท พฺรหฺมจริยํ จิรฏฺฐิติกํ ภวิสฺสติ. ปญฺเจว ทานิ อานนฺท วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสติ. (โคตมีสุตฺต. องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๒๓๑)

"อานนท์ หากมาตุคามมิได้บวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว พรหมจรรย์ก็จะดำรงอยู่ได้นาน พระสัทธรรมอาจดำรงอยู่ได้ถึง๑๐๐๐ปี แต่เพราะมาตุคามบวชแล้วในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ อานนท์ บัดนี้พรหมจรรย์จะไม่ดำรงอยู่นาน พระสัทธรรมจะดำรงอยู่ได้เพียง๕๐๐ปีเท่านั้น" 

เพราะพระพุทธพจน์ต้นว่า สเจ อานนฺท นาลภิสฺส... เป็นกาลาติปัตติ ล่วงกิริยาที่จะเกิดขึ้นจริง พระพุทธพจน์หลังว่า ยโต จ โข...ปพฺพชิโต, น ทานิ...ฐสฺสติ. เป็นอดีตกาล กิริยาการบวชของมาตุคามที่เกิดขึ้นแล้ว และภวิสสันตี กิริยาที่พระสัทธรรมดำรงอยู่จักเป็นไปถึง ๕๐๐ ปี

ข้อความที่ยกมาทั้ง ๒ แห่งนี้ มีเนื้อหาเหมือนกัน หากไม่ถือตามนี้ ไม่เอาคำอธิบายจากอรรถกถาและฎีกา พระสัทธรรมที่พระองค์ทรงประกาศไว้จะมีอายุอยู่ได้เพียงแค่ ๕๐๐ ปี เพราะสตรีคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีบวชแล้ว ด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ ซึ่งดูแล้วช่างสั้นนักและคงไม่มาถึงพวกเราทุกวันนี้

อรรถกถาพระวินัยผู้ทรงจำคัมภีร์ขันธกะ ว่า 

เตสุ อปญฺญตฺเตสุปิ มาตุคามสฺส ปพฺพชิตตฺตา ปญฺเจว วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ติฏฺเฐยฺย. ปฏิกจฺเจว ปญฺญตฺตตฺตา ปน อปรานิปิ ปญฺจวสฺสสตานิ ฐสฺสตีติ เอวํ ปฐมํ วุตฺตํ วสฺสสหสฺสเมว ฐสฺสตีติ. 

วสฺสสหสฺสนฺติ เจตํ ปฏิสมฺภิทาปเภทปตฺตขีณาสววเสเนว วุตฺตํ, 

ตโต ปน อุตฺตริปิ สุกฺขวิปสฺสกขีณาสววเสน วสฺสสหสฺสํ, 

อนาคามิวเสน วสฺสสหสฺสํ, สกทาคามิวเสน วสฺสสหสฺสํ, 

โสตาปนฺนวเสน วสฺสสหสฺสนฺติ เอวํ ปญฺจวสฺสสหสฺสานิ ปฏิเวธสทฺธมฺโม ฐสฺสติ. 

ปริยตฺติธมฺโมปิ ตานิเยว, น หิ ปริยตฺติยา อสติ ปฏิเวโธ อตฺถิ, นาปิ ปริยตฺติยา สติ ปฏิเวโธ น  โหติ. ลิงฺคํ ปน ปริยตฺติยา อนฺตรหิตายปิ จิรํ ปวตฺติสฺสตีติ. (วิ.อฏฺ. ๓/๔๐๖-๗)

อรรถกถาอังคุตรนิกาย ว่า 

เตสุ อปญฺญตฺเตสุปิ มาตุคามสฺส ปพฺพชิตตฺตา ปญฺเจว วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ติฏฺเฐยฺย. ปฏิกจฺเจว ปญฺญตฺตตฺตา ปน....ลิงฺคํ ปน ปริยตฺติยา อนฺตรหิตายปิ จิรํ ปวตฺติสฺสตีติ. (องฺ.อฏฺฐก.อฏฺ. ๓/๒๖๔-๕)

เพราะมาตุคามบวชแล้ว ขณะที่ยังมิได้บัญญัติครุธรรมเหล่านั้นไว้ก่อน พระสัทธรรมอาจดำรงอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น แต่เพราะพระองค์ทรงบัญญัติไว้แต่แรกก่อนมาตุคามบวช พระสัทธรรมก็จะดำรงอยู่เพิ่มอีก ๕๐๐ ปี ดังนั้น พระสัทธรรมจะดำรงอยู่ถึง ๑๐๐๐ ปี ดังที่ตรัสไว้ตอนแรก ด้วยเหตุที่ทรงบัญญัติครุธรรมไว้ก่อน 

และพระดำรัสที่ว่า ๑๐๐๐ ปีนี้ พระองค์ทรงตรัสเนื่องกับพระขีณาสพผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทาเท่านั้น 

แต่หลังจาก ๑๐๐๐ ปีนั้นไป พระองค์ตรัส ๑๐๐๐ ปี เนื่องกับพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสกะ 

หลังจาก ๑๐๐๐ ปีนั้นไป พระองค์ตรัส ๑๐๐๐ ปี เนื่องกับพระอนาคามี 

หลังจาก ๑๐๐๐ ปีนั้นไป พระองค์ตรัส ๑๐๐๐ ปี เนื่องกับพระสกทาคามี 

หลังจาก ๑๐๐๐ ปีนั้นไป พระองค์ตรัส ๑๐๐๐ ปี เนื่องกับพระโสดาบัน 

เมื่อรวมกันแล้ว #พระสัทธรรมคือปฏิเวธจะดำรงอยู่ถึง๕๐๐๐ปี 

แม้พระสัทธรรมคือปริยัติ ก็จะดำรงอยู่ถึง ๕๐๐๐ ปีเช่นกัน 

เพราะเมื่อปริยัติไม่มี ปฏิเวธก็มีไม่ได้ หากปริยัติยังมีอยู่ ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ปฏิเวธจะไม่มี 

แต่เมื่อปริยัติอันตรธานหมดไป เพศนักบวชเท่านั้นจะสืบต่อไปอีกยาวนาน 

(เมื่อปฏิเวธมี ปฏิบัติและปริยัติก็ต้องมี เมื่อปฏิบัติมี ปริยัติก็ต้องมี เมื่อปริยัตมีไม่แน่ว่าปฏิบัติและปฏิเวธจะมีเสมอไป แต่หากปริยัติสูญสิ้นแล้ว ปฏิบัติและปฏิเวธมีไม่ได้เลย)

อรรถกถาทั้ง ๒ แห่งนี้อธิบายเหมือนกัน มีความเห็นเหมือนกัน

อรรถกถาทีฆนิกาย ว่า 

ปฏิสมฺภิทาปตฺเตหิ วสฺสสหสฺสํ อฏฺฐาสิ, ฉฬภิญฺเญหิ วสฺสสหสฺสํ, เตวิชฺเชหิ วสฺสสหสฺสํ, สุกฺขวิปสฺสเกหิ วสฺสสหสฺสํ, ปาติโมกฺเขหิ วสฺสสหสฺสํ อฏฺฐาสิ. 

ปจฺฉิมกสฺส ปน สจฺจปฏิเวธโต ปจฺฉิมกสฺส สีลเภทโต ปฏฺฐาย สาสนํ โอสกฺกิตํ นาม โหติ. ตโต ปฏฺฐาย อญฺญสฺส พุทฺธสฺส อุปฺปตฺติ น นิวาริตา. (สมฺปสาทนียสุตฺต. ที.อฏฺ. ๓/๘๘)

พระศาสนาดำรงอยู่ได้สิ้น ๑๐๐๐ ปี ด้วยผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 

ดำรงอยู่ได้สิ้น ๑๐๐๐ ปี ด้วยผู้ได้อภิญญา ๖ 

ดำรงอยู่ได้สิ้น ๑๐๐๐ ปี ด้วยผู้ทรงวิชชา ๓ 

ดำรงอยู่ได้สิ้น ๑๐๐๐ ปี ด้วยผู้เป็นสุกขวิปัสสก 

ดำรงอยู่ได้สิ้น ๑๐๐๐ ปี ด้วยผู้ทรงปาติโมกข์ 

แต่หลังจากรูปสุดท้ายที่เสียศีล ต่อจากรูปสุดท้ายที่แทงตลอดสัจจะ พระศาสนาก็ชื่อว่า เสี่อมลง

จากนั้นไป การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้ารูปอื่น ท่านไม่ห้ามไว้

อังคุตรนิกายอรรถกถา ว่า 

พุทฺธานํ หิ ปรินิพฺพานโต วสฺสสหสฺสเมว ปฏิสมฺภิทา นิพฺพตฺเตตุํ สกฺโกนฺติ, ตโต ปรํ ฉ อภิญฺญา, ตโต ตาปิ นิพฺพตฺเตตุํ อสกฺโกนฺตา ติสฺโส วิชฺชา นิพฺพตฺเตนฺติ, คจฺฉนฺเต คจฺฉนฺเต กาเล ตาปิ นิพฺพตฺเตตุํ อสกฺโกนฺตา สุกฺขวิปสฺสกา โหนฺติ. เอเตเนว อุปาเยน อนาคามิโน สกทาคามิโน โสตาปนฺโนติ. เตสุ ธรมาเนสุ อธิคโม อนฺตรหิโต นาม น โหติ. ปจฺฉิมกสฺส ปน โสตาปนฺนสฺส ชีวิตกฺขเยน อธิคโม อนฺตรหิโต นาม โหตีติ. อิทํ อธิคมอนฺตรธานํ นาม. (ทุติยปมาทาทิวคฺควณฺณนา. องฺ.อฏฺ. ๑/๗๘-๙)

ภายหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระสาวกทั้งหลาย ยังสามารถทำปฏิสัมภิทาให้เกิดได้ เพียงแค่ ๑๐๐๐ 

หลังจาก ๑๐๐๐ ปีนั้น ยังสามารถทำอภิญญา ๖ ให้เกิดได้ 

หลังจากนั้นไป ก็ไม่สามารถให้อภิญญา ๖ แม้นั้นเกิดได้ ทำได้แค่วิชชา ๓ ให้เกิด 

เมื่อเวลาล่วงผ่านไป ก็ไม่สามารถให้วิชชา ๓ แม้นั้นเกิดได้ เป็นได้แค่พระสุกขวิปัสสก

ผู้บรรลุเป็นพระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน ก็โดยนยะเดียวกันแล 

เมื่อท่านเหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่ อธิคมก็ยังไม่ชื่อว่า อันตรธาน แต่เมื่อพระสาวกรูปสุดท้ายซึ่งเป็นพระโสดาบันสิ้นชีวิตไป อธิคม ชื่อว่า อันตรธาน ข้อความที่กล่าวนี้ ชื่อว่า อธิคมอันตรธาน

สังยุตตนิกายอรรถกถา ว่า 

ปฐมโพธิยํ หิ ภิกฺขู ปฏิสมฺภิทาปตฺตา อเหสุํ. อถ กาเล คจฺฉนฺเต ปฏิสมฺภิทา ปาปุณิตุํ น สกฺขึสุ, ฉฬภิญฺญา อเหสุํ, ตโต ฉ อภิญฺญา ปตฺตุํ อสกฺโกนฺตา ติสฺโส วิชฺชา ปาปุณึสุ. อิทานิ กาเล คจฺฉนฺเต ติสฺโส วิชฺชา ปาปุณิตุํ อสกฺโกนฺตา อาสวกฺขยมตฺตํ ปาปุณิสฺสนฺติ, ตมฺปิ อสกฺโกนฺตา อนาคามิผลํ, ตมฺปิ อสกฺโกนฺตา สกทาคามิผลํ, ตมฺปิ อสกฺโกนฺตา โสตาปตฺติผลํ, คจฺฉนฺเต กาเล โสตาปตฺติผลมฺปิ ปตฺตุํ น สกฺขิสฺสนฺติ. อถ เนสํ ยทา วิปสฺสนา อิเมหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกิลิฏฺฐา อารทธมตฺตาว ฐสฺสติ, ตทา อธิคมสทฺธมฺโม อนฺตรหิโต นาม ภวิสฺสติ. (สทฺธมฺมปฏิรูปกสุตฺตวณฺณนา. สํ.อฏฺ. ๒/๒๒๔)

แท้จริงแล้ว ในสมัยปฐมโพธิกาล มีภิกษุหลายรูปเป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ต่อมา เมื่อเวลาผ่านไป ภิกษุมิอาจบรรลุปฏิสัมภิทาได้ ก็เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ ต่อมาอีก มิอาจบรรลุอภิญญา ๖ ได้ ก็บรรลุวิชชา ๓ แต่เมื่อกาลล่วงมาถึงบัดนี้ มิอาจบรรลุวิชชา ๓ ได้ ก็จะบรรลุเพียงความสิ้นอาสวะ แม้มิอาจจะบรรลุความสิ้นอาสวะนั้นได้  ก็จะบรรลุอนาคามีผล แม้มิอาจจะบรรลุอนาคามีผลนั้นได้ ก็จะบรรลุสกทาคามีผล แม้มิอาจจะบรรลุสกทาคามีผลนั้นได้ ก็จะบรรลุโสดาปัตติผล เมื่อเวลาผ่านไปอีก แม้โสดาปัตติผล ก็มิอาจจะบรรลุได้ ถึงเวลานั้น วิปัสสนาของท่านเหล่านั้น ถูกอุปกิเลสเหล่านี้รบกวน ได้เพียงแค่อารัทธวิปัสสกะ (ได้ตรุณวิปัสสนา คืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อน มิอาจล่วงอุปกิเลส ๑๐ ประการได้) อธิคมสัทธรรมก็จักได้ชื่อว่า อันตรธานไป

วิมติวิโนทนีฎีกา ว่า 

ภิกฺขุนิกฺขนฺธเก มาตุคามสฺส ปพฺพชิตตฺตาติ อิทํ ปญฺจวสฺสสตโต อุทฺธํ สทฺธมฺมสฺส อปฺปวตฺตนการณทสฺสนํ. สุกฺขวิปสฺสกขีณาสววเสน วสฺสสหสฺสนฺติอาทิ ขนฺธกภาณกานํ มตํ คเหตฺวา วุตฺตํ. ทีฆนิกายฏฺฐกถายํ ปน “ปฏิสมฺภิทาปฺปตฺเตหิ วสฺสสหสฺสํ อฏฺฐาสิ, ฉฬภิญฺเญหิ วสฺสสหสฺสํ, เตวิชฺเชหิ วสฺสสหสฺสํ, สุกฺขวิปสฺสเกหิ วสฺสสหสฺสํ, ปาติโมกฺเขหิ วสฺสสหสฺสํ อฏฺฐาสีติ วุตฺตํ. องฺคุตฺตรสํยุตฺตฏฺฐกถาสุปิ อญฺญถาว วุตฺตํ, ตํ สพฺพํ อญฺญมญฺญวิรุทฺธมฺปิ ตํตํภาณกานํ มเตน ลิขิตสีหฬฏฺฐกถาสุ อาคตนยเมว คเหตฺวา อาจริเยน ลิขิตํ อีทิเส กถาวิโรเธ สาสนปริหานิยา อภาวโต, โสธนุปายาภาวา จ. ปรมตฺถวิโรโธ เอว หิ สุตฺตาทินเยน โสธนีโย, น กถามคฺควิโรโธติ. (วิมติ. ๒/๓๔๑)

คำนี้ว่า "เพราะมาตุคามบวช" ในภิกขุนีขันธกะ แสดงถึงเหตุที่พระปฏิเวธสัทธรรมมิอาจเป็นไป หลัง ๕๐๐ ปี 

คำว่า "พระองค์ตรัส ๑๐๐๐ ปี เนื่องกับพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก" เป็นต้น ท่านพระพุทธโฆสาจารย์กล่าวตามความเห็นของพระขันธกภาณกาจารย์ (อาจารย์ผู้ทรงพระวินัยคัมภีร์ขันธกะ) 

ส่วนในทีฆนิกายอรรถกถา ท่านอาจารย์กล่าวว่า พระศาสนาดำรงอยู่ได้สิ้น ๑๐๐๐ ปี ด้วยผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ดำรงอยู่ได้สิ้น ๑๐๐๐ ปี ด้วยผู้ได้อภิญญา ๖ ดำรงอยู่ได้สิ้น ๑๐๐๐ ปี ด้วยผู้ทรงวิชชา ๓ ดำรงอยู่ได้สิ้น ๑๐๐๐ ปี ด้วยผู้เป็นสุกขวิปัสสก ดำรงอยู่ได้สิ้น ๑๐๐๐ ปี ด้วยผู้ทรงปาติโมกข์ 

แม้ในอังคุตตรนิกายอรรถกถาและสังยุตตนิกายอรรถกถา ท่านอาจารย์ก็กล่าวเป็นประการอื่น 

คำทั้งหมดนั้น แม้ว่าจะไม่ตรงกัน แต่ท่านพระพุทธโฆสาจารย์ก็เรียบเรียงไว้ โดยยึดหลักที่ปรากฏอยู่ในอรรถกถาสิงหฬ จารึกตามมติของพระอาจารย์ผู้ทรงจำขันธกะและนิกายนั้นๆ เพราะมุมมองเช่นนี้ๆ มิได้ทำให้ศาสนาเสื่อมเสียอะไร และไม่จำเป็นต้องชำระสะสาง แท้จริง คำอธิบายที่ผิดหลักสภาวะปรมัตถ์เท่านั้นจำเป็นต้องชำระ ตามนัยสุตตะ (พระบาฬี/พระไตรปิฎก) เป็นต้น ส่วนคำอธิบายที่ต่างมุมมองไม่จำเป็นต้องชำระ 


สรุป

พระพุทธโฆสาจารย์ผู้เรียบเรียงนิกายทั้ง ๔ จากภาษาสิงหลสู่บาฬี ย่อมรู้ดีว่าเป็นแค่ทัสสนะหรือมุมมองของพระอรรถกถาจารย์รุ่นหลังที่แบ่งกันทรงจำนิกายต่างๆ ในลังกา จึงมิได้แก้ไขชำระให้ตรงกัน กล่าวตามมติของท่านอาจารย์เหล่านั้น เพื่อให้เห็นแง่มุมที่หลากหลาย

จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม

ขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน

นานาวินิจฉัย โดย พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท

 

[full-post]

อายุพระพุทธศาสนา

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.