สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ

 

โพสต์นี้สืบเนื่องมาจากในงานสัมมนาวิชาการการศึกษาพระปริยัติสาสน์นานาชาติ ซึ่งจัดขึ้น ณ วัดจากแดงและสถาบันโพธิยาลัย วันที่ 13-15 ตุลาคมนี้

   สุภาษิตโบราณไทยกล่าวว่า " เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง " ก็ในเมื่อภาษาพม่ามีโครงสร้าง ตรงกับภาษาบาฬี คือแบบ ภาคประธาน + ภาคกรรม + ภาคกิริยา ซึ่งมีศัพท์กับความประสงค์ อันมีหลักภาษาศาตร์ควบคุมไว้

   ส่วนภาษาไทย มีโครงสร้างแบบ ภาคประธาน + ภาคกิริยา + ภาคกรรม ซึ่งมีศัพท์กับความหมาย อันมีหลักไวยากรณ์ควบคุมไว้

   ถามว่า รูปแบบโครงสร้างภาษาทั้งสองรูปแบบนั้น มีผลต่อความทรงจำพระไตรปิฏกต่างกันอย่างไร?

   ก็เพราะโครงสร้างภาษาพม่ามุ่งความประสงส์ จึงไม่ติดขัดหลักไวยากรณ์ ซ้ำกลับมีหลักภาษาทำให้รื่นไหล สื่อสารกันได้คล่อง เหมือนการสื่อสาร ที่ลูกเป็นคนไทย พ่อและแม่เป็นคนต่างด้าว สื่อสารกันได้คล่อง โดยไม่ต้องแปล แต่ก็รู้ความประสงค์ได้ คลังศัพท์ ตระกูลภาษาโครงสร้างรูปแบบนี้ จึงนิยม อักขรานุกรมเป็นประธาน

   ส่วนตระกูลโครงสร้างรูปแบบภาษาไทย มุ่งความหมาย จึงขาดหลักไวยากรณ์ไม่ได้ เมื่อพะวงกับไวยากรณ์ ก็เป็นเหตุให้การสือสารชะงัก เมื่อกังวลกับความประสงค์ ก็เป็นเหตุให้การสือสารติดขัด เหมือนคนไทยเรียนภาษาต่างประเทศติดไวยากรณ์ ขาดทักษะการรู้ความประสงค์ คลังศัพท์ตระกูลภาษาโครงสร้างรูปแบบนี้ จึงต้องมีทั้งพจนานุกรม ทั้งอักขรานุกรม เป็นประธานร่วมกัน

   ถามว่า พจนานุกรม กับ อักขรานุกรม มีลักษณะโดดเด่นต่างกันอย่างไร

   ตอบว่า    พจนานุกรม มี ลักษณะเด่นดังนี้

   ก. ศัพท์คำนั้น ในที่นั้นๆ แปลว่าอะไร?

   ข. ศัพท์คำนั้น มีใช้ในส่วนไหนของคัมภีร์ใดบ้าง?

   อักขรานุกรม มีลักษณะเด่น ดังนี้

   ก. คำศัพท์นั้น แสดงตามลำดับที่ปรากฏในพระไตรปิฏก

   ข. คำศัพท์นั้น ในที่นั้นๆ มีคำปริบทใดประกอบ เพื่อจับเอาความประสงส์(องค์ธรรม)ได้ตรงเนื้อหา

   ดังนั้น เมื่อไทยปรับโครงสร้างภาษา ไม่เสียเปรียบพม่า ก็เป็นอันหวังผลได้ไม่แพ้พม่าแน่นอน แต่ถ้าตราบใดยังไม่ปรับ ก็อย่าหวังผลที่ตั้งไว้สูงส่งดังที่สัมมนากันเลยครับ แม้แต่การศึกษาเปรียญธรรม(ป.ธ)ประโยคต้น มีผู้ศึกษาส่วนใหญ่เป็นสามเณร

ประมาณหมื่นห้าพันรูป เข้าสอบประมาณหนึ่งหมื่นหนึ่งพันรูป สอบได้ประมาณพันกว่ารูป ยิ่งไทยเราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้วยแล้ว ต่อไปจะมีเหตุอะไรจูงใจให้อนุชนเข้ามาศึกษาเล่าครับ


[full-post]

การศึกษาพระปริยัติสาสน์นานาชาติ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.