ปัญญา ๔ อย่าง

[๔๒๘] ในหมวดสี่ กลุ่มที่ ๑ ปัญญามี ๔ อย่าง โดยจำแนกตามปัญญาในอริยสัจ ๔ คือ

     ๑. ปัญญาในทุกข์ ได้แก่ ปัญญาเกิดขึ้นจากการรับทุกขสัจเป็นอารมณ์ [ด้วยการทำลายความหลงที่ปิดบังทุกขสัจนั้น 761]

     ๒. ปัญญาในเหตุเกิดของทุกข์ได้แก่ ปัญญาเกิดขึ้นจากการรับสมุทยสัจเป็นอารมณ์ [ด้วยการทำลายความหลงที่ปิดบังสมุทยสัจนั้น 761]

     ๓. ปัญญาในความดับทุกข์ ได้แก่ ปัญญาเกิดขึ้นจากการรับนิโรธสัจเป็นอารมณ์ [ด้วยการทำลายความหลงที่ปิดบังนิโรธสัจนั้น 761]

     ๔. ปัญญาในทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ได้แก่ ปัญญาเกิดขึ้นจากการรับมรรคสัจ อันเป็นทางปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความดับทุกข์เป็นอารมณ์ [ด้วยการทำลายความหลงที่ปิดบังมรรคสัจนั้น 761]

      ที่จริงแล้วปัจจเวกขณญาณชื่อว่าปัญญาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัจจะที่ ๔ [คือมรรคสัจ] ส่วนญาณที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัจจะที่ ๓ [นิโรธสัจ] เป็นมรรคญาณ ญาณที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัจจะอื่นนอกจากนี้ [ทุกขสัจและสมุทยสัจ] เป็นวิปัสสนาญาณ โดยเนื้อความที่ปรากฏชัดเจน (761)


ในหมวดสี่กลุ่มที่ ๒ ปัญญามี ๔ อย่าง คือ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ที่ทำให้แตกฉานในผลเป็นต้น ดังพระพุทธดำรัสว่า

     "อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา. ธมฺเม ญาณํ ธมฺมปฏิสมฺภิทา. ตตฺร ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเป ญาณํ นิรุตฺติปฏิสมฺภิทา. ญาเณสุ ญาณํ ปฏิภานปฏิสมฺภิทา." (762)

     ๑. ความรู้ในผล [ซึ่งสามารถกระทำการกำหนดในผลได้อย่างแจ่มแจ้ง และจำแนกแยกแยะได้ 763] ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา

     ๒. ความรู้ในเหตุ [ซึ่งสามารถกระทำการกำหนดในเหตุได้อย่างแจ่มแจ้ง และจำแนกแยกแยะได้๗๖๓] ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา

     ๓. ความรู้ในการพูดภาษาคงที่นั้น [ซึ่งสามารถกระทำการกำหนดในการใช้ภาษาคงที่ได้เป็นอย่างดี ชัดเจน และจำแนกแยกแยะได้764]ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

     ๔. ความรู้ในญาณทั้งหลาย [ซึ่งสามารถกระทำการกำหนดญาณทั้งหลายได้เป็นอย่างดี ชัดเจน และจำแนกแยกแยะได้ 764] ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา


อรรถปฏิสัมภิทา

      ในพระดำรัสข้างต้นโดยสังเขป คำว่า อัตถะ เป็นชื่อของผลอันเกิดจากเหตุ กล่าวคือผลของเหตุเรียกว่า อัตถะ เพราะถูกรู้คือได้รับจากการคล้อยตามเหตุ ว่าโดยประเภทแล้ว พึงทราบว่าอัตถะจำแนกเป็นธรรม ๕ อย่างดังนี้

      ๑. ผลอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดจากเหตุ [คือ ทุกขสัจและนิโรธสัจที่พบในสัจจวาระว่า ทุกฺเข าณํ (ความรู้ทุกข์), ในเหตุวาระว่า เหตุมฺหิ าณํ (ความรู้เหตุ), ในธัมมวาระว่า เย ธมฺมา ชาตา (ความรู้ธรรมที่เกิดเป็นผลแล้ว) และในปัจจยาการวาระว่า ชรามรเณ าณํ (ความรู้ในชราและมรณะ) (764)

      ๒. นิพพาน [ในสัจจวาระและปัจจยาการวาระ 764]

      ๓. เนื้อความของพระบาลีที่ตรัสแสดง [ในปริยัตติวาระ 764]

      ๔. วิบาก [ในปทภาชนีย์ 764]

      ๕. กิริยา [ในปทภาชนีย์ 764]


อรรถปฏิสัมภิทา คือ ความรู้อันแตกฉานของบุคคลผู้พิจารณาในผลดังกล่าวนั้น

      คำว่า อตฺถ ใน อตฺถปฏิสมฺภิทา มีความหมายว่า "ผล" และผลทั้ง ๕ อย่างนี้จำแนกออกเป็นผล ๓ อย่างโดยย่อ (764) ดังนี้

      ๑. ผลที่ถูกทำให้เกิดขึ้น (นิพพัตเตตัพพผล) คือ ผลทั้งหมดที่เกิดจากเหตุ ได้แก่ วิบาก และกิริยา

      ๒. ผลที่พึงบรรลุ (ปัตตัพพผล) คือ นิพพาน

      ๓. ผลที่พึงแนะนำ (ญาเปตัพพผล) คือ เนื้อความของพระบาลี เพราะเป็นข้อความที่พระพุทธเจ้าพึงแนะนำให้ผู้อื่นรู้ตาม

      คำว่า เหตุผลํ หิ ยสฺมา เหตุอนุสาเรน อริยติ อธิคมิยติ สมฺปาปุณิยติ, ตสฺมา อตฺโถติ วุจฺจติ (กล่าวคือ ผลของเหตุเรียกว่า อัตถะ เพราะถูกรู้คือได้รับโดยคล้อยตามเหตุ) แสดงรูปวิเคราะห์ของ อตฺถ ศัพท์ว่า

      - เหตุอนุสาเรน อริยติ อธิคมิยติ สมฺปาปุณิยตีติ อตฺโถ = ผลที่ถูกรู้คือได้รับจากการคล้อยตามเหตุ ชื่อว่า อัตถะ (อร ธาตุ <คติมฺหิ = ไป> + ถ ปัจจัยในกรรมสาธนะ)

      ๒. ผลที่พึงบรรลุ (ปัตตัพพผล) คือ นิพพาน

      ๓. ผลที่พึงแนะนำ (ญาเปตัพพผล) คือ เนื้อความของพระบาลี เพราะเป็นข้อความที่พระพุทธเจ้าพึงแนะนำให้ผู้อื่นรู้ตาม

      คำว่า เหตุผลํ หิ ยสฺมา เหตุอนุสาเรน อริยติ อธิคมิยติ สมฺปาปุณิยติ, ตสฺมา อตฺโถติ วุจฺจติ (กล่าวคือ ผลของเหตุเรียกว่า อัตถะ เพราะถูกรู้คือได้รับโดยคล้อยตามเหตุ) แสดงรูปวิเคราะห์ของ อตฺถ ศัพท์ว่า

      - เหตุอนุสาเรน อริยติ อธิคมิยติ สมฺปาปุณิยตีติ อตฺโถ = ผลที่ถูกรู้คือได้รับจากการคล้อยตามเหตุ ชื่อว่า อัตถะ (อร ธาตุ <คติมฺหิ = ไป> + ถ ปัจจัยในกรรมสาธนะ)

-------------

761 วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๒/๔๒๘/๘๙,  762 อภิ.วิ. ๓๕/๗๑๘/๓๕๙,  763 วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๒/๔๒๘/๙๐,  764 วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๒/๔๒๘/๙๐

-------------

ธรรมปฏิสัมภิทา

      คำว่า ธัมมะ นี้โดยสังเขปเป็นชื่อของเหตุกล่าวคือ เหตุเรียกว่า ธัมมะ เพราะสร้างผลนั้นๆ คือ ทำให้เกิดขึ้น หรืออำนวยให้ถึงผล ว่าโดยประเภทแล้ว พึงทราบว่าธัมมะจำแนกเป็นธรรม ๕ อย่างดังนี้

๑. เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดผล [คือ สมุทยสัจและมรรคสัจที่พบในสัจจวาระ, เหตุวาระ, ธัมมวาระ และปัจจยาการวาระ 765]

๒. อริยมรรค (มรรคญาณอันประเสริฐที่มีองค์ ๘) [ในสัจจวาระและปัจจยาการวาระ 765]

๓. พระบาลีที่ตรัสแสดง [ในปริยัตติวาระ 765]

๔. กุศล [ในปทภาชนีย์ 765]

๕. อกุศล [ในปทภาชนีย์ 765]

ธรรมปฏิสัมภิทา คือ ความรู้อันแตกฉานของบุคคลผู้พิจารณาในเหตุดังกล่าวนั้น

      คำว่า ธมฺม ใน ธมฺมปฏิสมฺภิทา มีความหมายว่า เหตุ และเหตุทั้ง ๕ อย่างนี้จำแนกออกเป็นเหตุ ๓ อย่างโดยย่อ(765) ดังนี้

      ๑. เหตุทำให้เกิดผล (นิพพัตตกเหตุ) คือ เหตุทั้งหมดที่ก่อให้เกิดผล ได้แก่ กุศล และอกุศล 

      ๒. เหตุให้บรรลุ (สัมปาปกเหตุ) คือ อริยมรรค เพราะทำให้บรรลุพระนิพพาน

      ๓. เหตุให้รู้ (ญาปกเหตุ) คือ พระบาลี เพราะทำให้รู้ความหมาย

      คำว่า ปจฺจโย หิ ยสฺมา ตํ ตํ ทหติ ปวตฺเตติ วา สมฺปาปุณิตุํ วา เทติ, ตสฺมา ธมฺโมติ วุจฺจติ (กล่าวคือ เหตุเรียกว่า ธัมมะ เพราะสร้างผลนั้นๆ คือ ทำให้เกิดขึ้น หรืออำนวยให้ถึงผล) แสดงรูปวิเคราะห์ของ ธมฺม ศัพท์ว่า

      - ตํ ตํ ทหตีติ ธมฺโม = สภาวะสร้างผลนั้น ชื่อว่า ธัมมะ (ธร ธาตุ <ธารเณ = ทรงไว้> + รมฺม ปัจจัยในกรรมสาธนะ)

      ตามวิธีสังวัณณนา (วิธีอธิบายศัพท์และเนื้อความ) แสดงความหมายของ ธา ธาตุใน ธมฺม ศัพท์ว่า ทหติ (สร้าง) มิได้มีความหมายว่า ธาเรติ (ทรงไว้) เหมือนในฐานะอื่น ส่วนคำว่า ปวตฺเตติ วา สมฺปาปุณิตุํ วา เทติ (คือ ทำให้เกิดขึ้น หรืออำนวยให้ถึงผล) แสดงคำอธิบายของ ทหติ (สร้าง) ว่าเป็นการทำให้เกิดผลที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือทำให้บรรลุถึงผลที่เกิดขึ้นแล้ว เนื้อความที่กล่าวมานี้มีแสดงไว้โดยละเอียดในพระอภิธรรม (คัมภีร์วิภังค์) ตามนัยเป็นต้นว่า 

      ทุกฺเข ญาณํอตฺถปฏิสมฺภิทา. ทุกฺขสมุทเย ญาณํ ธมฺมปฏิสมฺภิทา. เหตุมฺหิ ญาณํ ธมฺมปฏิสมฺภิทา. เหตุผเล ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา. เย ธมฺมา ชาตา ภูตา สญฺชาตา นิพฺพตฺตา อภินิพฺพตฺตา ปาตุภูตา. อิเมสุ ธมฺเมสุ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา. ยมฺหา ธมฺมา เต ธมฺมา ชาตา ภูตา สญฺชาตา นิพฺพตฺตา อภินิพฺพตฺตา ปาตุภูตา, เตสุ ธมฺเมสุ ญาณํ ธมฺมปฏิสมฺภิทา. ชรามรเณ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา. ชรามรณสมุทเย ญาณํ ธมฺมปฏิสมฺภิทา ฯเปฯ สงฺขารนิโรเธ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา. สงฺขารนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย ญาณํ ธมฺมปฏิสมฺภิทา. อิธ ภิกฺขุ ธมฺมํ ชานาติสุตฺตํ เคยฺยํ ฯเปฯ เวทลฺลํ. อยํ วุจฺจติธมฺมปฏิสมฺภิทา. โส ตสฺส ตสฺเสว ภาสิตสฺส อตฺถํ ชานาติอยํ อิมสฺส ภาสิตสฺส อตฺโถ, อยํ อิมสฺส ภาสิตสฺส อตฺโถติ. อยํ วุจฺจติอตฺถปฏิสมฺภิทา. กตเม ธมฺมา กุสลา ? ยสฺมึสมเย กามาวจรกุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติฯเปฯ อิเม ธมฺมา กุสลา. อิเมสุ ธมฺเมสุ ญาณํ ธมฺมปฏิสมฺภิทา. เตสํ วิปาเก ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา.(766)

      ความรู้ทุกข์เป็นอรรถปฏิสัมภิทา ความรู้ทุกขสมุทัยเป็นธรรมปฏิสัมภิทา

      ความรู้เหตุเป็นธรรมปฏิสัมภิทา ความรู้ผลของเหตุเป็นอรรถปฏิสัมภิทา

      ความรู้ธรรมที่เป็นผลอันเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดดีแล้ว เกิดใหม่แล้ว บังเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เป็นอรรถปฏิสัมภิทา ความรู้ธรรมที่เป็นเหตุอันทำให้ผลเหล่านั้นเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดดีแล้ว เกิดใหม่แล้ว บังเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เป็นธรรมปฏิสัมภิทา

      ความรู้ในชราและมรณะเป็นอรรถปฏิสัมภิทา ความรู้เหตุเกิดของชราและมรณะ เป็นธรรมปฏิสัมภิทา ...

      ความรู้การดับสังขารเป็นอรรถปฏิสัมภิทา ความรู้ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความดับสังขาร เป็นธรรมปฏิสัมภิทา

      เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้มีความรู้ในธรรมอันเป็นสุตตะ เคยยะ ... เวทัลละ ความรู้เช่นนี้เรียกว่าธรรมปฏิสัมภิทา เมื่อภิกษุนั้นรู้เนื้อความแห่งธรรมที่ตรัสไว้นั้นๆ ว่า เนื้อความของพระบาลีเป็นอย่างนี้ๆ ความรู้เช่นนี้เรียกว่า อรรถปฏิสัมภิทากุศลธรรมคืออะไร ? คือ สมัยใดจิตที่เป็นกามาวจรกุศลเกิดขึ้น ... ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ความรู้ในธรรมเหล่านี้เป็นธรรมปฏิสัมภิทา และความรู้วิบากของกุศลธรรมเหล่านี้เป็นอรรถปฏิสัมภิทา

(766) อภิ.วิ. ๓๕/๗๑๙-๓๐/๓๕๙-๖๔


นิรุตติปฏิสัมภิทา

      คำว่า ตตฺร ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเป าณํ (ความรู้ในการพูดภาษาคงที่นั้น) หมายความว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในภาษามคธที่เป็นภาษาดั้งเดิมของเหล่าสัตว์ทั้งหมด ซึ่งเรียกว่า ธัมมนิรุตติ(ภาษาคงที่) เพราะเป็นภาษาที่แน่นอนอย่างนี้ว่า “คำนี้ถูก คำนี้ผิด”

      เมื่อได้ยินเสียงในเวลามีการพูดจากล่าวถ้อยคำที่[แสดงเนื้อความ]ถูกต้องไม่ผิดพลาด เรียกว่า สภาวนิรุตติ(ภาษาคงที่) โดยเกี่ยวกับผลและเหตุดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ผู้ที่บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณเมื่อได้ยินคำว่า ผสฺโส เวทนา เป็นต้น ก็รู้ได้ว่าคำนี้ถูก แต่พอได้ยินคำว่า ผสฺสา เวทโน เป็นต้น ก็รู้ได้ว่าคำนี้ผิด

      คำว่า นิรุตฺติ มาจากศัพท์ว่า นิ (นำออก) + อุตฺติ (กล่าว) แปลตามศัพท์ว่า “ภาษาที่ถูกนำออกกล่าว” หมายถึง มูลภาษาที่ชาวมคธใช้สื่อสารพูดจากันในสมัยพุทธกาล และเป็นภาษาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

คำว่า สภาวนิรุตฺติ มีรูปวิเคราะห์ว่า

      - สภาวภูตา นิรุตฺติ สภาวนิรุตฺติ = ศัพท์ที่คงสภาพเดิม, ศัพท์ที่ไม่แปรเปลี่ยน ชื่อว่าสภาวนิรุตติ (สัมภาวนาบุรพบทกรรมธารยสมาส)

คำว่า ธมฺมนิรุตฺติ มีรูปวิเคราะห์ว่า

      - ธมฺมภูตา นิรุตฺติ ธมฺมนิรุตฺติ = ศัพท์ที่คงสภาพเดิม, ศัพท์ที่ไม่แปรเปลี่ยน ชื่อว่า ธัมมนิรุตติ (สัมภาวนาบุรพบทกรรมธารยสมาส) วิสุทธิมรรคมหาฎีกา (767  วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๒/๔๒๘/๙๑)


    มีคำอธิบายอรรถของ ธมฺม ศัพท์ใน ธมฺมนิรุตฺติ ดังนี้

    ธมฺม ศัพท์ในคำว่า ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเป แปลว่า “สภาพเดิม” ฉะนั้นจึงกล่าวว่า สภาวนิรุตฺติ หมายความว่า ภาษาที่ไม่แปรเปลี่ยน

      คำว่า สภาวนิรุตฺติ และ ธมฺมนิรุตฺติ เป็นคำไวพจน์กัน โดย ธมฺม ศัพท์ในคำว่า ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเป มีความหมายเหมือน สภาว ศัพท์ใน สภาวนิรุตฺติ ดังนั้น คัมภีร์ฎีกาจึงอธิบายศัพท์ทั้งสองในความหมายเดียวกัน


ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

      คำว่า ญาเณสุ ญาณํ (ความรู้ในญาณทั้งหลาย) หมายความว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ความรู้ที่มีปัญญาเป็นอารมณ์โดยผู้พิจารณารับเอาปัญญาในผล เหตุ และศัพท์ทุกอย่างเป็นอารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ความรู้อย่างกว้างขวางโดยเนื่องด้วยอารมณ์ของตนและหน้าที่เป็นต้นในญาณดังกล่าวนั้น

      ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นปัญญาอันแตกฉานในญาณ คือ ผล เหตุ และนิรุตติ รวมถึงความเข้าใจอารมณ์ หน้าที่ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐานเป็นต้น เช่น ญาณประเภทนี้รับอารมณ์อย่างนี้แล้วเกิดขึ้นทำหน้าที่เช่นนี้ ญาณประเภทนี้มีลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐานเช่นนั้น

      คำว่า สพฺพตฺถ ญาณํ แปลว่า “ความรู้ในญาณทุกอย่าง” หมายความว่า ความรู้ทั้งปวง ฉะนั้นจึงกล่าวว่า ญาณารมฺมณํ ญาณํ (ความรู้ที่มีปัญญาเป็นอารมณ์) 

      อีกอย่างหนึ่ง คำว่า สพฺพตฺถ แปลว่า ในผลเป็นต้นทุกอย่างอาทิ ศัพท์ในคำว่า สโคจรกิจฺจาทิวเสน (โดยเนื่องด้วยอารมณ์ของตนและหน้าที่เป็นต้น) หมายถึง ลักษณะ ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน และภูมิ เป็นต้น (768  วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๒/๒๔๘/๙๒ )

สรุปความว่า ปฏิสัมภิทาญาณ คือ ปัญญาอันแตกฉานในผลเป็นต้น มี ๔ ประการ คือ

      ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในผล คือ ผลทั้งหมดที่เกิดจากเหตุ วิบาก กิริยา นิพพาน และอรรถแห่งพระบาลี

      ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในเหตุ คือ เหตุทั้งหมดที่เกิดจากผล กุศล อกุศล อริยมรรค และพระบาลี

      ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในนิรุตติ คือ ภาษาบาลี

      ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในญาณทั้งสามข้างต้น


ระดับของปฏิสัมภิทา

     [๔๒๙] ปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้นมีความแตกฉานเป็น ๒ ระดับ คือ

     ๑. ระดับเสขะ คือ ปฏิสัมภิทาของพระเสขะ เช่น พระอานนท์ จิตตคฤหบดี ธัมมิกอุบาสก อุบาลีคหบดีและขุชชุตตราอุบาสิกา ที่มีความแตกฉานในระดับเสขะ

     ๒. ระดับอเสขะ คือ ปฏิสัมภิทาของพระอัครสาวกและพระมหาสาวกที่มีความแตกฉานในระดับอเสขะ

     คำว่า เสข, อเสข มีศัพท์เดิมมาจาก เสกฺข, อเสกฺข ลบ ก อักษรที่เป็นพยัญชนะสังโยค ด้วยสูตรในโมคคัลลานไวยากรณ์ (กัณฑ์ที่ ๑ สูตร ๔๗) ว่า ตทมินาทีนิ (รูปว่า ตทมินา เป็นต้น ย่อมสำเร็จ) ดังคำว่า ทุโข = ทุกฺโข (ทุกข์)

     - ปุตฺตานญฺหิ วโธ ทุโข (เพราะการเบียดเบียนบุตรนำทุกข์มาให้)

     - มาติโฆ ลภเต ทุขํ (ผู้ทำร้ายมารดาย่อมได้รับทุกข์)

     - อปฺปสฺสาทา กามา ทุขา (กามคุณมีความเพลิดเพลินน้อย เป็นทุกข์)

     - นตฺถิ กามปรํ ทุขํ (ทุกข์ที่ยิ่งไปกว่าความใคร่ไม่มี) อเปขา = อเปกฺขา (การมองหา)

     - อุปสมฺปทาเปโข = อุปสมฺปทาเปกฺโข (ผู้มองหาการอุปสมบท) แม้สัททนีติปกรณ์ (ธาตุมาลา) ก็กล่าวว่า

      เสกฺโข, อเสกฺโข. กการโลเป “เสโข อเสโขติ รูปานิ ภวนฺติ. (769 นีติ.ธาตุ. ๓๒) เสกฺโข (พระเสกขะ), อเสกฺโข (พระอเสกขะ) เมื่อลบ ก อักษรก็มีรูปว่า เสโข (พระเสขะ), อเสโข (พระอเสขะ)


ปฏิสัมภิทาแก่กล้าด้วยเหตุ ๕ ประการ

     อนึ่ง ปฏิสัมภิทาที่มีความแตกฉานในทั้ง ๒ ระดับนี้ย่อมทำให้แก่กล้าด้วยเหตุ ๕ ประการดังนี้

      ๑. อธิคมะ การบรรลุธรรม คือ การบรรลุอรหัตตผล [เพราะความแตกฉานในระดับเสกขะมีขอบเขตแคบ ส่วนความแตกฉานในระดับอเสกขะมีขอบเขตกว้างขวาง 770 วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๒/๔๒๙/๙๓]

      ๒. ปริยัติ การเล่าเรียน คือ การศึกษาพระพุทธวจนะ

      ๓. สวนะ การฟัง คือ การสนใจฟังธรรมโดยเคารพ

      ๔. ปริปุจฉา ความต้องการรู้รายละเอียด คือ การกล่าวถึงข้อวินิจฉัยของคัณฐิบท

(บทที่มีเนื้อความเข้าใจยาก) และอรรถบท (บทที่มีใจความเข้าใจยาก) ในพระบาลีและอรรถกถาเป็นต้น[ข้อความว่า เป็นต้น หมายถึง อาจริยวาท (คำสอนของอาจารย์) และอัตตโนมติ (ความเห็นส่วนบุคคล) 771 ขุ.ป.อ.คณฺฐิปท ๓๐]

๕. ปุพพโยคะ ความเพียรในภพก่อน คือ การเจริญวิปัสสนาจนถึงสังขารุเปกขาญาณที่อยู่ใกล้อนุโลมญาณและโคตรภูญาณด้วยคตปัจจาคตวัตร (ข้อปฏิบัติในเวลาไปและกลับจากบิณฑบาต) ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน


คัมภีร์อภิธัมมาวตารมีการประพันธ์เป็นคาถาท่องจำว่า

        ปริยตฺติปริปุจฺฉาหิ      สวนาธิคเมหิ จ

        ปุพฺพโยเคน คจฺฉนฺติ    ปเภทํ ปฏิสมฺภิทา. (772 อภิ.วตาร ๑๑๙๑)

      ปฏิสัมภิทาญาณย่อมถึงความแตกฉานด้วยการเรียนพระพุทธพจน์ 

      ความต้องการรู้รายละเอียด การฟังธรรม การบรรลุธรรม และความเพียรใน

      ภพก่อน

-------------



[full-post]

ปัญญา ๔ อย่าง ทั้งในอริยสัจจ์และในปฏิสัมภิทา ๔

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.