"สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสติ"


ชื่อว่า สาตถะ เพราะประกอบด้วยอรรถ ๖ อย่าง คือ

     ๑. สังกาสนะ แสดงความโดยสังเขป - กุสลาธมมา ธรรมที่เป็นความดีมีอยู่

     ๒. ปกาสนะ เริ่มแสดงเป็นหัวข้อ ได้แก่กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘

     ๓. วิวรณะ ขยายความ - กามาวจรกุสล ๘, มหัคตกุสล 5, โลกุตรกุสล ๕ (มรรคจิต ๕ นับตามฌาน)

     ๔. วิภชนะ จำแนกความ - กุสลกรรมบถ ๑๐, บุญกี้ริยาวัตถุ ๑๐, รูปฌาน ๕, อรูปฌาน ๔, มัคจิต ๔ (นับตามการประหาณกิเลส)

     ๕. อุตตานีกรณะ ทำเนื้อความให้ตื้น - ทาน, ศีล, ภาวนา

     ๖. บัญญัติ แต่งความให้เข้าใจ - อุปมาอุปมัยให้เข้าใจ

ชื่อว่า สัพพยัญชนะ เพราะความถึงพร้อมแห่งบทพยัญชนะ ๖ คือ

  *หนังสือ ได้แก่

     (๑) อักขระ ตัวหนังสือ

     (๒) บท ความข้อหนึ่ง (คำที่ประกอบวิภัติ)

  *คำพูด ได้แก่

     ๓. พยัญชนะ คำพูด (พากย์)

     ๔. อาการ คำพูดที่กล่าวออกไป (จำแนกพากย์ออกไป)

     ๕. นิรุติ ภาษา (วิเคราะห์ศัพท์)

     ๖. นิเทศ ขยายภาษาให้พิสดาร

- ชื่อว่า "สาตถะ (สาตฺถํ)" เพราะความเป็นคุณลึกโดยอรรถ และโดยปฏิเวธ

- ชื่อว่า "สัพพยัญชนะ (สพฺยญฺชนํ)" เพราะความเป็นคุณลึกโดยธรรม และโดยเทศนา

หรือ

- ชื่อว่า "สาตถะ" เพราะเป็นวิสัยอัตถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณปฏิสัมภิทา

- ชื่อว่า "สัพพยัญชนะ" เพราะเป็นวิสัยแห่งธรรมปฏิสัมภิทา และนิตติปฏิสัมภิทา

หรือ

- ชื่อว่า "สาตถะ" เพราะเหตุเป็นคุณยังคนมีปัญญาให้เลื่อมใส

- ชื่อว่า "สัพพยัญชนะ" เพราะเหตุเป็นคุณยังคนทั่วไปให้เลื่อมใส

- ชื่อว่า "สาตถะ" เพราะมีอธิบายลึกซึ้ง

- ชื่อว่า "สัพพยัญชนะ" เพราะมีบทตื้น

อีกนัยหนึ่ง

- ชื่อว่า "สาตถะ" เพราะความเข้าถึง (ปฏิเวธ) ด้วยปฏิบัติ

- ชื่อว่า "สัพพยัญชนะ" เพราะมีความกระจ่างในอาคม (ปริยัติ) ด้วยการเรียน


คำว่า "บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง"

- "บริสุทธิ์" เพราะความเป็นธรรมที่หาโทษมิได้ (ไม่มีข้อต้องตัดออก)

- "บริบูรณ์สิ้นเชิง (เกวลปริปุณฺณํ) เพราะความที่สมบูรณ์ไม่มีข้อที่จะต้องเพิ่มเติมอีก

อีกนัยหนึ่ง

- ปริยัติธรรม ชื่อว่า "สวากขาตธรรม" เพราะไม่มีอรรถวิปลาส เหมือนอย่างอรรถของพวกเจ้าลัทธิอื่น จัดว่าถึงความวิปลาส เพราะธรรมที่เขากล่าว

ว่าเป็นอันตรายิกธรรมทั้งหลาย หามีความเป็นธรรมที่ทำอันตรายไม่ และเพราะธรรมที่เขากล่าวว่า เป็นนิยยานิกธรรมทั้งหลาย ก็หาเป็นธรรมที่นำออกจากทุกข์

ได้ไม่ เจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้น จึงเป็นผู้มีธรรมเป็นทุรักขาตะ (กล่าวชั่ว)

- โลกุตรธรรม ชื่อว่า "สวากขาตธรรม" เพราะตรัส ข้อปฏิบัติอันสมควรแก่พระนิพพาน และพระนิพพานสมควรแก่ข้อปฏิบัติ ดังในมหาโควินทสูตร ท้าวสักก-

เทวราชทรงกล่าวว่า "ก็แลปฏิปทานี้ให้ถึงพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและปฏิปทาย่อมเข้ากันได้ อุปมา

เหมือนน้ำในแม่น้ำคงคา ย่อมเข้ากันย่อมผสมกันได้กับน้ำในแม่น้ำยมุนา ฉันใดก็ดี ปฏิปทาอันให้ถึงพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคได้ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและปฏิปทาย่อมเข้ากันได้ฉันนั้น

*อนึ่ง โลกุตรธรรมนั้น คือ

     - "อริยมัค" อันเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง ๒ ข้าง ชื่อว่า สวากขาตธรรม 

     - "อริยผล" และพระนิพพาน ก็ชื่อว่า สวากขาตธรรม

 

[full-post]

ชื่อว่า สาตถะ เพราะประกอบด้วยอรรถ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.