ว่าด้วย “อุปาทานขันธ์ ๕”

“อุปาทานขันธ์ ๕” (ขันธ์ อันเป็นที่ตั้ง คือ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน คือ โลภะ ทิฏฐิ, ได้แก่ ขันธ์ ๕ ที่ถูก โลภะ,ทิฏฐิ ยึดถือกระทำให้เป็นอารมณ์ได้)

“อุปาทานิยา ธมฺมา” ธรรมทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน (โลภะ,ทิฏฐิ) ได่แก่ โลกียจิต ๘๑, เจตสิก ๕๒, รูป ๒๘ / จัดเป็นขันธ์ ๕ โดยได้ชื่อว่า  “รูปูปาทานขันธ์, เวทนูปาทานขันธ์, สัญญูปาทานขันธ์, สังขารูปาทานขันธ์, วิญญาณูปาทานขันธ์”

*ในเจตสิก ๕๒ นั้น โลภะ, ทิฏฐิ ก็อยู่ในนั้น, ซึ่ง โลภะและทิฏฐินี้ ได้ชื่อว่า “อุปาทาน” ตัวเอง เป็นอุปาทานด้วย ในขณะเดียวกัน ก็เป็นอารมณ์ของอุปาทานได้ด้วย ฯ

————

มีคำถามว่า “ขันธ์ ที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานักขันธ์ มีหรือไม่? ถ้าไม่มีก็แล้วไป แต่ถ้ามี มีเท่าไร? ขันธ์อะไรบ้าง?

————

* มีการแสดงว่า “อุปาทานขันธ์ ๕ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งของอุปาทาน ๕ ขันธ์)” เป็นตัวก่อให้เกิดอุปาทาน (โลภะ,ทิฏฐิ)

การแสดงเช่นนี้ เป็นการยกเอา อุปาทานขันธ์๕ คือ โลกียจิต๘๑,เจ.๕๒,รูป ๒๘ “เป็นปัจจัย” / ตัว อุปาทาน คือ โลภะ,ทิฏฐิ “เป็นปัจจยุปบัน” เป็นการพูดกว้าง ๆ ซึ่งอาจจะได้ปัจจัยหลายอย่าง เช่น เป็นปัจจัยกลุ่ม “สหชาตชาติ, อารัมมณชาติ, อนันตรชาติ, วัตถุปุเรชาตชาติ,


แต่หากแสดงตามความหมายที่ว่า “อุปาทานขันธ์ ๕” ที่ชื่อว่า “อุปาทานขันธ์” เพราะเป็นอารมณ์ของอุปาทานได้, คือ ถูกอุปาทานกระทำให้เป็นอารมณ์ได้ อย่างนี้ ตัว อุปาทานขันธ์ ๕ ก็จะเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน (โลภะ,ทิฏฐิ) โดยความเป็นปัจจัยกลุ่ม “อารัมมณชาติ” เท่านั้น ฯ

————

*(กรรม สงเคราะห์อยู่กับ สมุทัย คือ ตัณหา (โลภะ)) เพราะจัดอยู่ในกลุ่มธรรมที่เป็นเหตุ (ปัจจัยธรรม) (นี่กล่าวโดย อริยสัจจ์ ๔)

แต่ ถ้ากล่าวโดย ปฏิจจสมุปบาท ต้องแยกออกจากกัน คือ

– กิเลส (กิเลสวัฏฏ์) ได้แก่ อวิชชา, ตัณหา, อุปาทาน,

– กัมม (กัมมวัฏฏ์) ได้แก่ สังขาร, กัมมภวะ

– วิบาก (วิปากวัฏฏ์) ได้แก่ วิญญาณ, นาม-รูป, สฬายตนะ, ผัสสะ, เวทนา

————-

คำว่า “สมุทัย” (ธรรมที่เป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น) มี ๒ อย่าง คือ

๑) สมุทัยสัจจ์ คือ ตัณหา ๓ ได้แก่ โลภะ (เป็นสมุทัยสัจจ์ โดยตรง)

๒) สมุทัยสามัญ (สมุทัยแบบธรรมดา หรือโดยอ้อม) ได้แก่

…… – กิเลส ๙ (เว้น โลภะ) ที่ใน อกุศลจิต ๑๒

…… – อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ (เว้น โลภะ)

…… – โลกียกุศลจิต ๑๗ เจตสิก ๓๘

(สัจจยมก ใน ยมกปกรณ์)


* ธรรม คือ สมุทัยสามัญนี้ ที่ชื่อว่า “สมุทัย” เพราะเป็นเหตุให้เกิด ทุกข์ (มีชาติทุกข์ เป็นต้น) เพราะ ผลของอกุศลจิต ๑๒, โลกียกุศลจิต ๑๗ เจ. ๕๑(เว้นโลภะ) ได้แก่ โลกียวิบาก ๓๒, เจตสิก ๓๕, กัมมชรูป ๒๐ ซึ่งเป็นกลุ่มธรรมที่เป็นตัวทุกข์โดยตรงในทุกขอริยสัจจ์ และความเป็น “เหตุ เป็น ผล ของกัน ระหว่าง  “กิเลส+กรรม, วิบาก” เป็นการเกิดขึ้นของกองทุกข์ล้วน ๆ ดังที่ทรงตรัสว่า “เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ” ฯ //

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.