นิทานสาธก เรื่อง “ตถาคตโพธิสัทธา”
– สมัยที่พระพุทธเจ้า หลังจากตรัสรู้แล้ว ทรงดำริถึงบุคคลที่จะแสดงธรรมโปรดเป็นคนแรก หรือกลุ่มแรก
– ทรงระลึกถึง อาฬารดาบส กาลามโคตร, และอุทกดาบส รามบุตร แต่ท่านทั้งสอง ได้เสียชีวิตแล้ว และไปเกิดเป็นอรูปพรหม ในอรูปภูมิ
– ทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ที่เคยร่วมบำเพ็ญทุกกรกิริยาด้วยกัน และเห็นว่าท่านทั้ง ๕ นั้น ขณะนี้อยู่ที่อิสิปตนมฤคทายวัน ก็ทรงประสงค์จะเสด็จไปโปรดฯ
– เมื่อเสด็จไปถึง, ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ นัดแนะกันว่า จะไม่ต้อนรับ,ลุกรับ…ทำสามีจิกรรมต่าง ๆ ด้วยคิดว่า พระสมณโคดม ละการบำเพ็ญทุกกิริยา คงไม่ได้บรรลุโมกขธรรมอะไร ๆ แล้ว…
– (ข้อนี้ ให้สังเกตว่า ‘ท่านปัญจวัคคีย์ ประกอบด้วยสีลพตปรามาส (คือยึดมั่นลูบคลำข้อวัตรอันได้แก่ทุกกิริยาที่ตนและพระโพธิสัตว์ประพฤติร่วมกันมาอย่างเหนียวแน่น) โดยอาศัยทิฏฐิเห็นผิดว่า “การจะได้บรรลุโมกขธรรมต้องบำเพ็ญทุกกรกิริยาเท่านั้น” ‘) (ข้อนี้มีนัยสำคัญ*)
– ครั้นพระพุทธองค์เสด็จเข้าไปหาปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕, ตรัสว่า “เราบรรลุโมกขธรรมแล้ว มาเพื่อแสดงธรรมแก่ท่านทั้งหลาย” ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ก็ยังไม่เชื่อ (ตถาคตโพธิสัทธา ไม่มี, กอรปด้วยควาสงสัยว่า “พระสมณโคดมเลิกละทุกกรกิริยา จะบรรลุได้อย่างไร (วิจิกิจฉา), ด้วยอำนาจการลูบคลำในศีลวัตรของตนเอง (สีลัพตปรามาส)
– ทรงตรัสสำทับถึงอีก ๒ ครั้ง, และทรงตรัสเตือนว่า “คำว่า พระองค์ได้บรรลุโมกธรรม(อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ) แล้ว มาเพื่อจะแสดงธรรมแก่ท่านทั้งหลาย ท่านเคยได้ยินมาบ้างหรือไม่”
– ท่านทั้ง ๕ ก็กลับได้ความคิดว่า “คำนี้ พวกเราไม่เคยได้ยิน” ด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ ประกอบด้วยการตรัสสำทับอย่างหนักแน่นของพระองค์ จึงทำให้ท่านปัญจวัคคีย์ คลายทิฏฐิ,พร้อมกับความสงสัย (หน่อยหนึ่ง)
– จึงนั่งลง พร้อมที่จะฟังพระธรรมจากพระองค์….ฯลฯ…….
*** สรุป ว่า
– การคลายความสงสัย (วิจิกิจฉา) วางความสงสัยของตนลง, พร้อมกับความเชื่อหน่อย ๆ ว่า ‘ท่านคงได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ’ (ตรงนี้เริ่มเป็นตถาคตโพธิสัทธา)
ข้อนี้แสดงว่า “ไม่มีใคร (ปุถุชน) จะล่วงรู้ได้ว่าผู้นี้เป็นพระพุทธเจ้าจริง ๆ เพราะปุถุชน ไม่สามารถล่วงรู้จิตของพระอริยเจ้าได้ โดยเฉพาะพระพุทธเจ้า…” เราจึงต้องอาศัยศรัทธา…เป็นหลักขั้นต้น*
– การมีศรัทธา คือ ตถาคตโพธิสัทธา นั่นแหละ เมื่อกล่าวโดยนัยะที่ตรงข้าม ก็คือการก้าวข้ามความสงสัย (วิจิกิจฉา) ไปได้ขั้นหนึ่งนั่นเอง (ขั้นโลกียะ)
– หากท่านปัญจวัคคีย์ ไม่มีตถาคตโพธิสัทธา, ไม่คลายความสงสัย, ไม่คลายสีลัพตปรามาสของตน… ท่านก็จะไม่นั่งลงฟังธรรมของพระพุทธเจ้า… เมื่อไม่ได้นั่งฟังธรรม ท่านก็จะเสื่อมจากคุณวิเศษ คือมรรค-ผล-นิพพาน อย่างแน่นอน เพราะบุคคลผู้บำเพ็ญบารมีในระดับสาวกบารมีญาณ จะต้องได้ยิน ได้ฟังก่อน (ปรโตโฆสะ) จึงจะสามารถบรรลุโมกขธรรมได้…
– มีข้อที่น่าสังเกตอย่างมีนัยะสำคัญ ก็คือ “องค์ประกอบของท่านผู้ที่จะสำเร็จเป็นโสดาบัน คือ ละสักกายทิฏฐิ-วิจิกิจฉา-สีลัพตปรามาส ได้” เป็นองค์คุณอย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วกับท่านโกณฑัญญะ และพระปัญจวัคคีย์ อีก ๔ ท่าน ในกาลต่อมา…ฯ
(คลายวิจิกิจฉา นั่นคือ มี “ตถาคตโพธิสัทธา” จุดเริ่มต้นของพระอริยบุคคลในพระศาสนานี้)
สทฺธาสีเลน สมฺปนฺโน สมาหิโต จ ปญฺญวา
ทิฏฺฐิญฺจ วิจิกิจฺฉญฺจ ปหาย ภวตีริโย.
บุคคล ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาและศีล มีจิตตั้งมั่น มีปัญญา
ละทิฏฐิ(สักกายทิฏฐิ,สีลัพตปรามาส) และวิจิกิจฉาได้แล้ว
นับว่าเป็น พระอริยะ (โสดาบัน) (ในธรรมวินัยนี้) ฯ
(ปัฐยาวัตรฉันท์, นิติเมธี ประพันธ์)
———-///——–
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ