ปกิณกธรรม ในอุปาลีเถราปทาน

สุตฺตนฺตํ อภิธมฺมญฺจ      วินยญฺจาปิ เกวลํ

นวงฺคํ พุทฺธวจนํ              เอสา ธมฺมสภา ตว ฯ (อุปาลีเถราปทาน)


พระสุตตันตปิฎก, พระวินัยปิฎก, และพระอภิธรรมปิฎก

กล่าวคือ พระพุทธพจน์ อันประกอบด้วยองค์ ๙ ทั้งมวล เป็นธรรมสภา ของพระองค์ ฯ


-อรรถกถา-

[๕๓๗] สุตฺตนฺตํ อภิธมฺมญฺจาติ ตว ตุยฺหํ เอตฺถ ธมฺมนคเร สุตฺตนฺตํ อภิธมฺมํ วินยญฺจ เกวลํ สกลํ สุตฺตเคยฺยาทิกํ นวงฺคํ พุทฺธวจนํ ธมฺมสภา ธมฺมาธิกรณสาลาติ อตฺโถ.

บาทคาถาว่า “สุตฺตนฺตํ อภิธมฺมญฺจ” ความว่า ในธรรมนครของพระองค์นี้ มีพระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎกและพระวินัยปิฎก คือพระพุทธพจน์มีองค์ ๙ มีสุตตะ เคยยะเป็นต้นทั้งหมดคือทั้งสิ้น เป็นธรรมสภาคือเป็นศาลตัดสินอธิกรณ์โดยธรรม.


*

….. – อธิกรณ์ ๔ อย่าง อันเกิดเกี่ยวข้องกับวินัย… ใช้วินัยปิฎก ตัดสิน

….. – อธิกรณ์ ว่าด้วยเรื่องทิฏฐิ, และสิกขา ๓ … ใช้สุตตันตปิฎก ตัดสิน

….. – อธิกรณ์ทั้งมวล ตัดสินไม่ได้ว่า “สิ่งใดเป็นกุศล-ไม่เป็นกุศล, สิ่งใดเป็นอกุศล-ไม่เป็นอกุศล, สิ่งใดเป็นอัพยากต-ไม่เป็นอัพยากต”…ให้ตัดสินด้วยอภิธรรมปิฎก…ฯ


—————–


สุญฺญตํ อนิมิตฺตญฺจ      วิหารญฺจปฺปณีหิตํ

อเนโช จ นิโรโธ จ         เอสา ธมฺมกุฏี ตว ฯ (อุปาลีเถราปทาน)

(ธรรม) อันเป็นเครื่องอยู่ของพระองค์ (เหล่าใด) คือ สุญญตนิพพาน, อนิมิตตนิพพาน, อัปปณิหิตนิพพาน ผลสมาบัติทั้ง ๔, และพระนิพพาน

(ธรรม) อันเป็นเครื่องอยู่ของพระองค์ (เหล่านั้น) นั่น เป็นธรรมกุฎี ของพระองค์ ฯ


-อรรถกถา-

[๕๓๘] สุญฺญตํ อนิมิตฺตญฺจาติ อนตฺตานุปสฺสนาวเสน ปฏิลทฺธํ สุญฺญตวิหารญฺจ อนิจฺจานุปสฺสนาวเสน ปฏิลทฺธํ อนิมิตฺตวิหารญฺจ. วิหารญฺจปฺปณีหิตนฺติ ทุกฺขานุปสฺสนาวเสน ปฏิลทฺธํ อปฺปณิหิตวิหารญฺจ. *อาเนญฺชญฺจาติ อจลํ อผนฺทิตํ จตุสามญฺญผลสงฺขาตํ อาเนญฺชวิหารญฺจ. นิโรโธ จาติ สพฺพทุกฺขนิโรธํ นิพฺพานญฺจ. เอสา ธมฺมกุฏี ตวาติ เอสา สพฺพนวโลกุตฺตรธมฺมสงฺขาตา ตว ตุยฺหํ ธมฺมกุฏิ วสนเคหนฺติ อตฺโถ.

*อเนโช จาติ ปาโฐ ทิสฺสติ.


บาทพระคาถาว่า “สุญฺญตํ อนิมิตฺตญฺจ” ความว่า พระนิพพานอันเป็นธรรมเครื่องอยู่อันว่างเปล่า ซึ่งโยคาวจรบุคคลได้แล้ว ด้วยอำนาจอนัตตานุปัสสนา (การตามเห็นรูป-นามโดยความเป็นของมิใช่ตัวตน), และ พระนิพพานซึ่งเป็นธรรมเป็นเครื่องอยู่อันหานิมิตมิได้ ซึ่งโยคาวจรบุคคลได้แล้ว ด้วยอำนาจอนิจจานุปัสสนา (การตามเห็นรูป-นามโดยความเป็นของไม่เที่ยง).

บาทคาถาว่า “วิหารญฺจปฺปณีหิตํ” ความว่า พระนิพพานอันเป็นธรรมเป็นเครื่องอยู่อันหาที่ตั้งไม่ได้ ซึ่งโยคาวจรบุคคลได้แล้ว ด้วยอำนาจทุกขานุปัสสนา (การตามเห็นรูป-นามโดยความเป็นทุกข์).

บทว่า “อาเนญฺชญฺจ” (อเนโช จ) ความว่า ธรรมอันเป็นเครื่องอยู่อันมั่นคงไม่หวั่นไหว กล่าวคือสามัญญผล ๔ (ผลจิต ๔) อันไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน.

บทว่า “นิโรโธ จ” ความว่า และพระนิพพาน อันเป็นธรรมเป็นที่ดับทุกข์ทั้งปวง.

บาทคาถาว่า “เอสา ธมฺมกุฏี ตว” ความว่า ธรรมที่กล่าวมาทั้งหมดนั่น กล่าวคือโลกุตตรธรรม ๙ เป็นธรรมกุฏี คือเป็นดุจเรือนอันเป็นที่พักอาศัย ของพระองค์


หมายเหตุ : (ความเห็นส่วนตัว : นิติเมธี)

– คำว่า “สุญฺญตํ” ควรแปลว่า มรรคจิตทั้ง ๔ ที่เป็นเครื่องออก (วุฏฐานคามินี) จากสังขตธรรม โดยการเห็นพระนิพพานโดยความเป็นของสูญอย่างยิ่ง (สุญฺญตวิโมกข์)

– คำว่า “อนิมิตฺตํ” ควรแปลว่า มรรคจิตทั้ง ๔ ที่เป็นเครื่องออก (วุฏฐานคามินี) จากสังขตธรรม โดยการเห็นพระนิพพานโดยความเป็นธรรมที่หานิมิตเครื่องหมายไม่ได้ (อนิมิตตวิโมกข์)

– คำว่า “อปฺปณิหิตํ” ควรแปลว่า มรรคจิตทั้ง ๔ ที่เป็นเครื่องออก (วุฏฐานคามินี) จากสังขตธรรม โดยการเห็นพระนิพพานโดยความเป็นธรรมที่หาที่ตั้งแห่งตัณหาไม่ได้ (อัปปณิหิตวิโมกข์)


*คำแปลในคำทั้ง ๓ (สุญญตํ,อนิมิตฺตํ,อปฺปณิหิตํ) จึงหมายถึง มรรคจิต ๔ ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นส่วนเหตุ อันเป็นเครื่องออกจากสังขตธรรมโดยวิโมกข์ทั้ง ๓, ส่วนพระนิพพาน มีชื่อเป็น สุญญตวิโมกข์หรือสุญญตนิพพาน๑, อนิมิตตวิโมกขหรืออนิมิตตนิพพาน๑, อัปปณิหิตวิโมกข์หรืออัปปณิหิตนิพพาน๑ เป็นส่วนผล คือ เป็นผลจากการออกจากสังขตธรรมโดยมรรค นั่นเอง ฯ (มรรคเป็นเหตุ “สัมปาปกเหตุ”, ส่วนนิพพาน เป็นผล)

* เมื่อได้ดังนี้ คำสรุป ว่า “เอสา ธมฺมกุฏี ตว” จึงจะได้แก่ มรรค ๔, ผล ๔, นิพพาน๑ (นวโลกุตตรธรรม) ก็จะสมบูรณ์ ฯ

– สุญญต,อนิมิตต,อัปปณิหิต (ว่าโดยวุฏฐานคามินี ได้แก่ มรรค ๔)

– อเนโช (ผล ๔)

– นิโรโธ (นิพพาน)

—————-

(นิติเมธี)

———————

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.