ภาคิยธรรม ๔ ลักษณะ
เย หานฐิติวิเสส- นิพฺเพธภาคิยา อิติ
อิเม หิ กุสลาทีนํ ธมฺมานํปิ ปวตฺตเร.
กุศลธรรมเป็นต้น เป็นไปแก่บุคคล ๔ ลักษณะ คือ
๑. หานภาคิย (กุศล, ศีล, สมาธิ, ปัญญา…)
๒. ฐิติภาคิย (กุศล, ศีล, สมาธิ, ปัญญา…)
๓. วิเสสภาคิย (กุศล, ศีล, สมาธิ, ปัญญา…)
๔. นิพเพธภาคิย (กุศล, ศีล, สมาธิ, ปัญญา…)
*หานภาคิยกุศล,ฐิติภาคิยกุศล,วิเสสภาคิยกุศล,นิพเพธภาคิยกุศล
เช่น กุศล :-
๑) หานภาคิยกุศล – ได้แก่กุศลที่มีส่วนที่จะเสื่อมได้ง่าย เพราะขาดปัญญาประกอบ (กุศลญาณวิปปยุต), ขาดความเชื่อเรื่องกรรม, ผลของกรรม…เป็นต้น มีศรัทธาที่คลอนแคลน ทำกุศลกรรมมีให้ทานเป็นต้น โดยมุ่งหวังเกียติยศชื่อเสียง หรือทำแบบเอาหน้า, ภาวนากันตาย…เท่านั้น
๒) ฐิติภาคิยกุศล – ได้แก่กุศลที่ทรง ๆ คือไม่ก้าวหน้าไปไหน รู้บาป-บุญ,คุณ-โทษ เชื่อในกรรม, ผลของกรรมเป็นต้น…แม้ประกอบด้วยญาณสัมมปยุต แต่ก็ยังเป็นขั้นกามาวจร ฯ
๓) วิเสสภาคิยกุศล – ได้แก่กุศลที่เข้าถึงความเป็นมหัคคตะ คือเป็นรูปวจรกุศล อรูปาวจรกุศล มีความตั้งมั่น ห่างไกลกามธรรมได้…แต่ก็ยังเป็นโลกียะ
๔) นิพเพธภาคิยกุศล – ได้แก่กุศลที่เป็นโลกุตตระ คือมรรคจิต สามารถชำแรกกิเลส ทำลายกิเลสได้เป็นสมุจเฉทปหาณ เป็นกุศลที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องสรรเสริญ…ฯ
* ศีล :-
– หานภาคิยศีล เป็นศีลที่อยู่ในฝ่ายที่จะเสื่อมได้ง่าย ได้แก่ผู้ที่ไม่เข้าใจในศีล ในการรักษา ขาดคุณธรรมอันเป็นเครื่องสนับสนุนศีล มี หิริ โอตตัปปะ สติ…เป็นต้น บางครั้งเข้าใจศีสผิด กลายเป็นสีลพตปรามาส…จัดเป็นศีลที่เป็นกามาวจร คือประกอบอยู่ในมหากุศลจิต (บางครั้งก็หมายถึงศีลอันประกอบอยู่ในมหากุศลญาณวิปปยุตจิต คือ ไม่มีปัญญาประกอบ)
– ฐิติภาคิยศีล เป็นศีลที่ยังทรงอยู่ในกามาวจรจิต ที่ผู้ประพฤติปฏิบัติมีความเข้าใจในศีลนั้นพอสมควร มีคุณธรรม คือ หิริ โอตตัปปะ สติ เป็นต้น เข้าสนับสนุน แต่ก็ไม่เจริญก้าวหน้าไปกว่านั้น (บางครั้งก็หมายถึงศีลอันประกอบอยู่ในมหากุศลญาณสัมปยุตจิต)
– วิเสสภาคิยศีล เป็นศีลที่ประกอบอยู่ในรูปาวจร หรือ อรูปาวจรจิต มีความบริสุทธิ์ตั้งมั่น ด้วยอำนาจแห่งมหัคคจิตที่ถึงความเป็นใหญ่และประเสริฐ แต่ยังเป็นโลกียธรรมอยู่.
– นิพเพธภาคิยศีล เป็นศีลที่อยู่ในมรรคจิต ผลจิต คือ วิรตี ๓ ที่ประกอบเป็นมัคคสมังคี สามารถชำแรก กำจัดวีติกกมกิเลสได้เป็นสมุจเฉทปหาณ.
หมายเหตุ :
– ในคุณธรรมอื่น ๆ คือ…
หานภาคิยสมาธิ, ฐิติภาคิยสมาธิ, วิเสสภาคิยสมาธิ, นิพเพธภาคิยสมาธิ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน
หานภาคิยปัญญา, ฐิติภาคิยปัญญา, วิเสสภาคิยปัญญา, นิพเพธภาคิยปัญญา ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน
————-
นิติเมธี
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ