กรณีดราม่าเนปาล เป็นผลแห่งการกระทำหรือไม่ ?
กรณีภัยพิบัติที่เกิดกับเนปาลขณะนี้… มีหลายคนหลายท่านได้โพสท์แสดงความเห็นและได้ยกภาพการฆ่าสัตว์เป็นแสน ๆ ตัว เพื่อบูชายัญของชาวเนปาลนั้น… ว่าอาจเป็นสาเหตุหรือต้นเหตุของการเกิดภัยพิบัติ(แผ่นดินไหว) ทำนองว่าเป็นผลแห่งการกระทำนั้น…ฯ ซึ่งในกรณีนี้ ก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย อย่างที่ดราม่าในโซเชียลกันในขณะนี้ กรณีของคุณโย ยศวดี บางแห่งก็เลยเถิดไปว่า เป็นการซ้ำเติมผู้กำลังประสพทุกข์…ฯ
บางครั้งการจะอธิบายเรื่องนี้ ก็เป็นสิ่งที่ยากเย็นพอสมควรในยุคสมัยปัจจุบันที่ผู้คนไม่ค่อยได้สนใจหลักการทางศาสนาเท่าใดนัก การพูดเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรม เลยกลายเป็นเรื่องที่ต้องมานั่งถกเถียงกันว่า เป็นการดูถูก ดูหมิ่นดูแคลน หรือซ้ำเติมผู้ที่กำลังประสพภัยพิบัติหรือไม่ ?? เมื่อหลายปีมาแล้ว มีดราม่าขับไล่อดีดผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติอังกฤษคนหนึ่ง ในฐานะที่นายคนนั้นไปพูดว่า คนที่ร่างกายพิการ เป็นผลมาจากกรรม หรือเป็นกรรมของเขาเอง…(ทำนองนี้)
ว่าโดยความเป็นจริงแล้ว กรรม (การกระทำ) และการให้ผลของกรรม (กรรมวิบาก) นั้น เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งสลับซับซ้อนมากเลยทีเดียว จนถึงกับว่า ท่านจัดเป็นอจินไตยอย่างหนึ่ง (อจินไตย คือ ไม่ควรคิด หรือหมายถึงว่าจะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ด้วยการคิดนึกเอานั้น ไม่ได้) ข้อนี้อยากให้มองกรณีภัยพิบัติของเนปาล และการฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญ นั้น เป็นกรณีศึกษา ว่า มีความเกี่ยวเนื่องเกี่ยวโยง เป็นเหตุเป็นผลกันหรือไม่ ?? เพราะพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ว่าด้วยหลักการ เหตุ ผล เมื่อมีเหตุ ก็ต้องมีผล เมื่อมีผล ก็ต้องสาวไปหาเหตุ ว่าเกิดมาจากเหตุอะไร ?
โดยส่วนมาก ผู้คนมักจะมองสาเหตุของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในระใกล้ คือมองเหตุใกล้ (สันติเก นิทาน) หรือมองเหตุที่มันจับต้องได้ ตาเห็นได้ ส่วนมากจะละเลยเหตุไกล ๆ (ทูเรนิทาน) ไปเสีย โดยปกติพุทธศาสนาจะจำแนกสาเหตุ หรือต้นเหตุ ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ใน ๓ ระยะ คือ
๑. เหตุใกล้ (สันติเกนิทาน) อาจจะมองเพียงวันต่อวัน เดือนต่อเดือน อย่างเช่น ถูกตำรวจจับวันนี้ มองย้อนหลังไปว่าสาเหตุอะไรถึงถูกจับ อ๋อ เมื่อเช้า หรือเมื่อวาน หรือเมื่อเดือนที่แล้ว ไปปล้นธนาคารมา… เป็นต้น
๒. เหตุไม่ใกล้ไม่ไกล (อวิทูเรนิทาน) หมายเอา เริ่มต้นของชีวิตในปัจจุบันชาติ อาจจะตอนเป็นเด็ก หรือตอนเป็นวัยรุ่น ได้เคยกระทำกรรมอะไรไว้บ้าง (ทั้งดีและไม่ดี) เป็นต้น
๓. เหตุไกล (ทูเรนิทาน) หมายเอาเหตุ ในอดีตชาติเลยทีเดียว ซึ่งเป็นเหตุไกล ฯ มีพุทธพจน์ที่พอเทียบเคียงได้ไหม? มี เช่น คำว่า “ปุพเพกตปุญญตา” ความเป็นผู้ได้สั่งสมบุญไว้ในกาลก่อน (ในมงคลสูตร)
ผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนพุทธศาสนาอย่างดีพอ จะไม่มีการซ้ำเติม หรือดูหมิ่นดูแคลนผู้ที่กำลังประสบกับความทุกข์ แต่จะมองทุกสิ่งทุกอย่างตามเหตุผล จะค้นหาเหตุปัจจัย ของเหตุการณ์นั้น ๆ อย่างที่บอก พุทธศาสนา อุบัติมาด้วยเหตุด้วยผล แม้แต่เทศนากัณฑ์แรก (ธัมมจักรกัปวัตนสูตร) พุทธเจ้าก็แสดง เหตุ แสดงผล (สมุทยสัจจะเป็นเหตุ ทุกขสัจจะ เป็นผล, มรรคสัจจะเป็นเหตุ นิโรธสัจจะเป็นผล)
ผู้ที่ประสบกับความทุกข์เพราะภัยพิบัติต่าง ๆ จัดเป็นทุกขิตสัตว์ คือสัตว์ผู้กำลังได้รับความทุกข์ ฯ ทุกขิตสัตว์ เป็นอารมณ์ของ กรุณาเจตสิก ฯ ความกรุณา (ของบัณฑิตชน) มีทุกขิตสัตว์เป็นอารมณ์ให้
---------------------
“อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก”
VeeZa
[right-side]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ