“กรรมเก่า” ตรัสเอาผลที่ใกล้ต่อเหตุ (การณูปจาร)
จักขุวิญญาณ, โสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ,ชิวหาวิญญาณ,กายวิญญาณ, และโลกียวิบากวิญญาณอีก ๒๒ (รวมเป็นโลกียวิบาก ๓๒), พร้อมด้วยเจตสิกที่ประกอบ ๓๕, กัมมชรูป ๒๐ ชื่อว่า วิบาก (ผล) เกิดมาจากอดีตกรรม (สังขาร “สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ-นาม-รูป ด้วยอำนาจ นานักขณิกกัมมปัจจัย”)
ธรรมเหล่านี้ใกล้ต่อเหตุ คือ “กรรม” สังขาร (อภิสังขาร คือ เจตนากรรม ๒๙ ได้แก่ เจตนาในอกุศลจิต ๑๒, โลกียกุศลจิต ๑๗)
เมื่อโลกียวิบาก มี จักขุวิญญาณเป็นต้น กระทบกับรูปารมณ์ เกิดวิถีจิตขึ้นทางจักขุทวาร ตรงชวนะ (อกุศลจิต ๑๒, มหากุศลจิต ๘) เจตนาที่ประกอบกับชวนะทั้ง ๒๐ นี้ ชื่อว่า “กรรมใหม่”
หรือวิถีจิตเกิดทางมโนทวาร… ตำแหน่งชวนะ เจตนาที่ประกอบกับจิตที่ทำหน้าที่ชวนะนั้น ๆ ชื่อว่า “กรรมใหม่” (เรียกว่า “ปุญญกัมมภว บ้าง, อปุญญกัมมภว บ้าง)
หรือมองจากอนาคตย้อนไปหาอดีต ก็จะได้ชื่อว่า “ปุญญาภิสังขารบ้าง, อปุญญาภิสังขารบ้าง” ฯ
บุคคลผู้ได้ฌาน ทำรูปฌานให้เกิดขึ้น เจตนาที่ประกอบในรูปฌาน (รูปาวจรกุศลจิต ๕) ชื่อว่า “กรรมใหม่” เรียกว่า “ปุญญกัมมภว”, หรือมองย้อนอดีตก็เป็น “ปุญญาภิสังขาร”
บุคคลผู้ทำอรูปฌานให้เกิดขึ้น เจตนาที่ประกอบในอรูปฌาน (อรูปาวจรกุศลจิต ๔) ชื่อว่า “กรรมใหม่” เรียกว่า “อาเนญชกัมมภว, หรือ มองย้อนอดีต ก็เป็น “อาเนญชาภิสังขาร”
…………
[right-side]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ