๗. อาทีนวญาณ


      อาทีนวญาณ หมายความว่า เป็นญาณที่เห็นสังขารรูปนามเป็นโทษ ดังมี วจนัตถะว่า ทิฏธสงขารานํ อาทีนวโต เปกขานวเสน ปวตุตํ ญาณิ อาทีนวฌาณิ ฯ แปลว่า ญาณที่เป็นไปด้วยอำนาจการเพ่งถึงสังขารเป็นของน่ากลัว ซึ่งตนได้เห็นแล้วโดยความเป็นโทย ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาทีนวญาณ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตจิต


อธิบายอาทีนวญาณมี ๒ อย่าง

      ๑. เมื่อโยคีทำภยตุปัฏฐานญาณให้เจริญมากยิ่งขึ้นแล้ว ไม่ยึดเหนี่ยวในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐีติ ๗ สัตตาวาส ธเพราะว่าภพภูมิทั่วทุกหนแห่งเหล่านั้นไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลบลื้ ไม่มีที่จะไป ไม่มีที่อาศัย และไม่เป็นที่ปรารถนาแก่โยดี เพราะว่า

      ภพ ๓ ปรากฏประดุจหลุมถ่านเพลิง ซึ่งเต็มไปด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว มหาภูตรูป ๔ ปรากฎประดุจอสรพิษร้าย ขันธ์ ๕ ปรากฎประดุจเพชฌฆาตที่ยกดาบเงื้อง่อยู่แล้ว อายตนะภายใน ๖ ปรากฎประดุจหมู่บ้านร้าง อายตนะภายนอก ๖ ปรากฏประดุจพวกโจรปล้นชาวบ้าน วิญญาณติ ๓ และสัตตาวาส ๘ ปรากฎประดุจถูกเผาด้วยไฟ ๑๑ กอง' ลุกโพลงและโชติช่วงอยู่สังขารทั้งหลายทั้งปวง ปรากฎประดุจ หัวฝื เป็นโรค ถูกลูกศรเสียบ เป็นสิ่งชั่วร้ายและเป็นอาพาธ เป็นกองแห่งโทษภัยใหญ่หลวง หาความอบอุ่นมิได้ ปราศจากรสชาติอันดี

      ๒. อาทีนวญาณ คือปัญญาที่กำหนดรู้เห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นทุกข์โทษ เปรียบเหมือนบุรุษที่ขลาดกลัวแต่ปรารถนามีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย ครั้นเมื่อมาถึงถ้ำที่มีเสือโคร่ง แม่น้ำที่มีรากษสสิงอยู่ หนทางที่มีโจรแอบซุ่ม เรือนที่มีไฟไหม้ ราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุป่ายาส สนามรบที่มีทหารเตรียมพร้อมอยู่แล้ว หรือมาพบกับข้าศึกที่เงื้อง่ดาบอยู่หรือดื่มโภชนะที่ผสมด้วยยาพิษเหล่านี้ ก็จักเกิดความหวาดกลัว หวาดหวั่นขนลุกขนพองเพราะเห็นแต่โทษร้ายในสิ่งเหล่านั้นเพียงอย่างเดียว ทุกทิศทุกทางฉันใด โยคาวจรก็ฉันนั้นเช่นเดียวกัน คือเมื่อสังขารทั้งหลายทั้งปวงปรากฏโดยความน่ากลัว ด้วยอำนาจแห่งภังคานุปัสสนาแล้ว ก็สามารถเห็นสังขารทั้งหลายมีแต่ทุกข์โทษ ไม่มีรสชาติ ไม่มีความอบอุ่นใจแต่เพียงฝ่ายเดียว เมื่อปัญญาปรากฏเช่นนี้ชื่อว่า อาทีนวญาณ ได้บังเกิดขึ้นแล้ว


โทษของสังขาร ๑๕ ประการ

การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของสังขารธรรม ๑๕ ประการ คือ :

      ๑. อุปปาทอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในการเกิดของรูปนาม

      ๒. ปวัตติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทยในความเป็นไปของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ของรูปนามที่กำลังเป็นไปอยู่

      ๓. นิมิตอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในลักษณะหรือเครื่องหมายของรูปนาม เช่นเปลี่ยนแปลงไป ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา

      ๔. อายูหนอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทยในการสั่งสมกรรมต่างๆ เอาไว้ แล้วนำให้เกิดวนเวียนอยู่ในภพต่างๆ ไม่มีสิ้นสุดของรูปนามล้วนหาสาระแก่นสารอะไรมิได้เลย

      ๕. ปฏิสนธิอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในการถือปฏิสนธิของรูปนาม ไม่ว่าจะถือปฏิสนธิในภูมิใดก็ตาม

      ๖. คติอาที่นวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในคติทั้ง ๕ คือนรก ดิรัจฉาน ปีตติวิสัย มนุษย์ เทวดา ซึ่งจะเป็นคติใดก็ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น

      ๗. นิพพัตติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในการเกิดขึ้นของขันธ์ ๕ ใหม่ๆ คือจะบังเกิดเป็นรูปขันธ์หรือนามขันธ์ก็ตาม ย่อมเป็นทุกข์ทั้งสิ้น

      ๘. อุปปัตติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในภพต่างๆที่ไปบังเกิดอยู่ไม่ว่าจะไปบังเกิดอยู่ในภพใดก็ตาม ย่อมไม่พ้นจากความทุกข์

      ๙. ชาติอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนามในขณะที่กำลังเกิด

      ๑๐. ชราอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนามที่ต้องแก่ เสื่อม และทรุดโทรม

      ๑๑. พยาธิอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนามเพราะถูกโรคภัยหลายร้อยหลายพันอย่างเบียดเบียน

      ๑๒. มรณอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทมของรูปนามเมื่อสิ้นไปตายไปคือ เห็นว่าจะต้องแตกสลาย พลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น

      ๑๓. โสกอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปเมื่อเกิดความเศร้าโศกต่างๆ นานาเพราะแตกดับไป เสื่อมไป วิบัติไป

      ๑๔. ปริเทวอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของการร่ำไห้ เพราะถูกความเสื่อม ๕ มีเสื่อมญาติ เป็นต้น ครอบงำรูปนามอยู่ทุกขณะ

      ๑๕. อุปายาสอาทีนวญาณ หมายถึง การพิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนาม เพราะถูกความคับแค้นใจครอบงำ

      เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว อาทีนวญาณ ได้แก่ปัญญาที่พิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนาม เมื่อเห็นอย่างนี้ โลภะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางลงไปมาก แต่ยังไม่เด็ดขาดยังจัดเป็นสมุทเฉทปหานไม่ได้ จะจัดได้ต่อเมื่อถึงมรรคญาณแล้ว


สันติปทญาณ ๑๕ ประการ

      เพื่อให้เห็นญาณที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับอาทีนวญาณ และเพื่อให้เกิดความอบอุ่นใจแก่โยคาวจรที่เห็นทุกข์โทษของรูปนามด้วยภยตุปัฏฐานญาณ แล้วมีจิตใจหวั่นไหวจึงได้แสดง สันติปทญาณคือ ความรู้ในทางบรรลุสันติ คือ พระนิพพาน มี ๑๕ ประการ คือ :-

      ๑. ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการ ไม่เจือด้วยอามิส (คือ วัฎฏะ โลก กิเลส) และเป็นนิพพาน ส่วนความเกิดขึ้นเป็นสิ่งน่ากลัว เป็นทุกข์เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร" ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่เป็นไปเป็นแดนเกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความเป็นไปเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"

      ๓. ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่มีนิมิตเป็นแดนเกษม แดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความมีนิมิตเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"

      ๔. ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่ขวนขวายเป็นแดนเกษม แดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความขวนขวายเป็นสิ่งที่น่ากลัวเป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"

      ๕. ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่ปฏิสนธิเป็นแดนเกษม แดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนการปฏิสนธิเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"

      ๖. ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่มีคติเป็นแดนเกษม แดนปลอดภัย เป็นความสุขเป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนการมีคติเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"

      ๗. ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่บังเกิดขึ้นเป็นแดนเกษม แดนปลอคภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความบังเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่น่ากลัวเป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"

      ๘. ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่เข้าถึงเป็นแดนเกษม แดนปลอดภัย เป็นความสุขเป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความเข้าถึงเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"

      ๙. ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่มีชาติเป็นแดนเกษม แดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความมีชาติเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"

      ๑๐ . ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่มีชราเป็นแดนเกษม แดนปลอดภัย เป็นความสุขเป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความชราเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"

      ๑๑. ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่มีโรคเป็นแดน เกษมแดนปลอดภัย เป็นความสุขเป็นการ ไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความมีโรคเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"

      ๑๒. ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่มีความตายเป็นแดนเกษม แดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการ ไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความตายเป็นสิ่งที่น่ากลัวเป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"

      ๑๓. ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่เศร้าโศกเป็นแดนเกษม แดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความเศร้าโศกเป็นสิ่งที่น่ากลัวเป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"

      ๑๔. ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่คร่ำครวญเป็นแดนเกษม แดนปลอคภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความคร่ำครวญใจเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"

      ๑๕. ปัญญาที่รู้ว่า "ความไม่คับแค้นใจเป็นแดนเกษม แดนปลอดภัย เป็นความสุข เป็นการไม่เจือด้วยอามิสและเป็นนิพพาน ส่วนความคับแค้นใจเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นการเจือด้วยอามิสและเป็นสังขาร"


จบ อาทีนวญาณ

-----------///----------

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,อาทีนวญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.