๘. นิพพิทาญาณ

      "นิพพิทาญาณ" หมายความว่า ญาณที่พิจารณาเห็นรูปนามโดยอาการเบื่อหน่าย แยกบทเป็น นิพพิทา + ญาณ, นิพพิทา ความเบื่อหน่าย, ญาณ ปัญญาความรู้, นิพพิทาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นรูปนามเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของน่ากลัว เต็มไปด้วยความทุกข์โทษนานาประการ แล้วเกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากได้รูปได้นาม ไม่อยากกลับมาเกิดอีก อยากเข้าถึงพระนิพพานเสียโดยเร็ว ปัญญาในที่นี้หมายถึงเฉพาะ ภาวนามยปัญญา คือปัญญาที่เกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานถึงญาณนี้เท่านั้นมิได้หมายถึง สุตมยปัญญา และ จินตามยปัญญา เลยคำว่า ความเบื่อหน่าย ในที่นี้ก็มิได้หมายถึงความเบื่อหน่ายอย่างของชาวโลก เช่น เบื่อหน่ายต่อชีวิตคิดฆ่าตัวตายเป็นต้น แต่หมายถึงความเบื่อหน่ายในสังขารธรรม คือ รูปนาม ท่านอุปมาไว้คังนี้


อุปมานิพพิทาญาณ ๔ อย่าง

      ๑. นกที่เขาจับมาขังไว้ในกรงเงินกรงทอง กรงแก้วมณีเพชรนิลจินดา ล้วนแต่มีค่ามาก แต่นกนั้นก็ไม่มีความพอใจปรารถนาจะอยู่ในกรงนั้นเลย มุ่งหน้าแต่จะพยายามหาหนทางออก เพื่อจะบินหนีไปให้พ้นจากกรงขังอันแสนจะน่าเบื่อหน่ายนั้น ข้อนี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อถึงนิพพิทาญาณก็ฉันนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในรูปนามเบื่อหน่ายในภพ เบื่อหน่ายในกำเนิด ๔ เบื่อหน่ายในคติ ๕ เบื่อหน่ายในวิญญาณฐิติ ๗ เบื่อหน่ายในสัตตาวาส ๙ เป็นต้นเหมือนกัน

      ๒. พระยาหงส์ทองยินดีอยู่ในแต่ในเชิงเขาจิตรกูฎ ไม่ยินดีในหลุมโสโครกใกล้บ้านคนจัณทาลซึ่งไม่สะอาด ย่อมอภิรมย์อยู่ในสระใหญ่ทั้ง 3 ฉันใด ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อถึงนิพพิทาญาณแล้วก็ฉันนั้น ย่อมไม่ยินดีในรูปนามซึ่งมีความแตกสลาย ไม่จีรังยั่งยืน มีแต่ทุกข์โทษ  ซึ่งตนได้พิจารณาเห็นแน่ชัดแล้ว ย่อมยินดีเฉพาะแต่ในอนุปัสสนา ๗ เพราะว่าตนมีภาวนาเป็นเรือนใจอยู่เสมอมิได้ประมาท

      ๓. พระยาสีหมฤคราช แม้ถูกบุคคลจับขังไว้ในกรงทองก็ไม่ยินดี แต่ย่อมยินดีเฉพาะในป่าหิมพานต์อันกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ฉันใด ผู้เจริญวิปัสสนาเมื่อถึงนิพพิทาญาณก็ฉันนั้น ย่อมไม่ยินดีในสุคติภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ

      ๔. พระยาช้างฉัททันต์เผือกปลอด ย่อมไม่ยินดีในกลางเมืองแต่ย่อมยินดีเฉพาะในป่าชัฏใกล้สระน้ำฉันใด ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่ยินดีในรูปนาม แม้ทั้งหมดแต่ยินดีเฉพาะสันติบทซึ่งตนเห็นแล้วว่า ถ้าไม่กลับมาเกิดอีกต่อไปเป็นปลอดภัยแท้ ผู้นั้นก็มีใจน้อมไปโอนไปสู่พระนิพพาน ดุขแม่น้ำคงคามีกระแสอันเชี่ยวพัดพาขอนไม้มุ่งตรงลงไปสู่ทะเล ฉะนั้น


อนุปัสสนา ๗

อนุปัสสนา ๗ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา และ ปฏินิสสัคานุปัสสนา

      ๑) อนิจจานุปัสสนา คือการตามเห็นรูปนามว่าไม่เที่ยง โดยย่อมีอยู่ ๒ อย่าง คือ ปัจจักขอนิจจานุปัสสนา และอนุมานอนิจจานุปัสสนา

      ปัจจักขอนิจจานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าเป็นของไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงกลับกลอก

      อนุมานอนิจจานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอกซึ่งมีอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคตว่า เป็นของไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงกลับกลอกด้วยกันทั้งสิ้น โดยอนุมานว่า จะต้องมีความเกิดดับเหมือนรูปนามในปัจจุบันอย่างนี้ทั้งนั้น

      อนิจจานุปัสสนา นั้นโดยพิสดารมีอยู่ ๘ คือพิจารณาเห็นรูปนามว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา มีความเสื่อม ถูกปัจจัยปรุงแต่งและมีความตายเป็นธรรมดา

      เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้วก็ละนิจจสัญญา คือความสำคัญผิดคิดว่า เป็นของเที่ยงเสียมิได้ การพิจารณาเห็นรูปนามโดยอาการอย่างนี้ เรียกว่า อนิจจานุปัสสนา

      ๒) ทุกขานุปัสสนา คือการตามเห็นรูปนามว่าเป็นทุกข์โดยย่อ มีอยู่ ๒ อย่าง คือ ปัจจักขทุกขานุปัสสนา และอนุมานทุกขานุปัสสนา

      ปัจจักขทุกขานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามทาง ตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นทุกข์อย่างชัคเจนแจ่มแจ้ง เพราะเต็มไปด้วยความเบียดเบียนเดือคร้อนถูกปรุงแต่ง มีความแปรปรวนอยู่เป็นนิตย์ จิตก็เกิดเบื่อหน่าย คลายความยินดี พอใจเสียได้

      อนุมานทุกขานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์โดยอนุมาน คือ พิจารณาเห็นรูปนามภายนอกที่มีอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนากตก็เต็มไปด้วยทุกข์ จะต้องแตกดับ ไม่สามารถจะทนทานอยู่ได้เหมือนรูปนามในปัจจุบันซึ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายสัญญาวิปัลลาส ว่ารูปนามเป็นสุขเสียได้

      ทุกขานุปัสสนา นี้เมื่อกล่าวโดยพิสดารแล้วมีอยู่ ๒๖ อย่าง คือพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นฝี เป็นลูกศร คับแคบ มีอาพาธ จัญไร มีอุปัทวะ เป็นภัย มีอุปสรรค ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่เป็นที่พึ่งได้ เป็นของว่าง มีโทษมีความคับแค้นเป็นมูล เป็นผู้เข่นฆ่าสรรพสัตว์ เป็นเหยื่อของมาร มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดามีความเจ็บเป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา มีความโศกเศร้าเป็นธรรมดา มีความร้องไห้เป็นธรรมดา มีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา และมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา

      การพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์ด้วยอาการอย่างนี้เรียกว่า ทุกขานุปัสสนา

      3) อนัตตานุปัสสนา คือการตามเห็นรูปนามเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครๆ ทั้งสิ้น โดยย่อมีอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจจักขอนัตตานุปัสสนา และอนุมานอนัตตานุปัสสนา

         ปัจจักขอนัตตานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นไปตามใจของใครๆ

         อนุมานอนัตตานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอกซึ่งมีอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคตที่เต็มไปด้วยอนัตตา ล้วนแต่ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นไปตามใจใครบังคับบัญชาไม่ได้เหมือนรูปนามในปัจจุบัน

      อนัตตานุปัสสนา นั้น โดยพิสดารมีอยู่ ๖ อย่างคือ พิจารณาเห็นรูปนามโดยดวามเป็นอย่างอื่น เป็นของแตกสลายเป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา และหาสาระแก่นสารมิได้ เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาเห็นรูปนามโดยลักษณะเช่นนี้ ก็จะละอัตตสัญญาคือ ความสำคัญผิดคิดว่าเป็นตัวตน เราเขา เสียได้ การพิจารณาเห็นรูปนามด้วยอาการอย่างนี้ เรียกว่า อนัตตานุปัสสนา

      นิพพิทานุปัสสนา คือ การตามเห็นรูปนามว่าเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์เป็นโทษ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายมีอยู่ - อย่างคือ ปัจจักขนิพพิทานุปัสสนา และอนุมานนิพพิทานุปัสสนา

      ปัจจักขนิพพิทานุปัสสนา ได้แก่ พิจารณาเห็นรูปนามทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทุกข์โทษแล้วเกิดความเบื่อหน่าย

      อนุมานนิพพิทานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอกที่มีอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคตว่าเป็นของน่ากลัวเต็มไปด้วยทุกข์โทษ แล้วเกิดความเบื่อหน่าย โคยอนุมานว่าจะต้องเป็นไปเหมือนรูปนามในปัจจุบันเมื่อผู้ใดพิจารณารูปนามเห็นแจ้งชัดดังนี้ ผู้นั้นก็จะละเสียได้ซึ่งความยินดีได้แก่สัปปิติตัณหาคือ ตัณหาที่มีความยินดีชื่นชมเพลิดเพลินอยู่กับกามคุณ

      ๕) วิราคานุปัสสนา คือ การตามเห็นรูปนามที่เกิดตามทวารทั้ง 5 ว่าเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์โทษ เกิดความเบื่อหน่ายแล้วคลายกำหนัดมีอยู่ ๒ อย่างคือปัจจักขวิราคานุปัสสนา และอนุมานวิราคานุปัสสนา

      ปัจจักขวิราคานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นความเกิดดับของรูปนามทางทวารทั้ง ๖ คือ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยประจักษ์แล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด

      อนุมานวิราคานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอก ซึ่งมีอยู่ใน ๓๑ ภูมิว่าเป็นของน่ากลัวเป็นไปด้วยทุกข์โทษ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมถึงญาณนี้ก็จะละเสียได้ซึ่งราคะ คือความกำหนัดพอใจในสังขารธรรม

      ๖) นิโรธานุปัสสนา คือ การตามเห็นความดับของรูปนาม มีอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจจักขนิโรธานุปัสสนาและอนุมานนิโรธานปัสสนา

         ปัจจักขนิโรธานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นความดับของรูปนามตามทวารทั้ง ๖ โดยแจ้งชัด แล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด 

         อนุมานนิโรธานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามภายนอกซึ่งมีอยู่ใน ๓๑ ภูมิทั้งในอดีตและอนาดต โคยอนุมานว่าจะด้องมีความดับเหมือนกันกับรูปนาม ในปัจจุบันอย่างนี้ทั้งนั้น

         เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นความดับของรูปนามอย่างนี้ ก็จะละเสียได้ซึ่งสมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์

      ๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา คือ การตามเห็นรูปนามว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของน่ากลัวเต็มไปด้วยโทษแล้วละความสำคัญผิดที่คิดว่า เป็นของเที่ยง เป็นสุขเป็นตัวตน เป็นของสวยงามเสียได้ มีอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจจักขปฏินิสสัคคานุปัสสนา และอนุมานปฏินิสสัคคานุปัสสนา

      ปัจจักขปฏินิสสัคคานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นรูปนามทางตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยประจักษ์คือชัดเจนแจ่มแจ้ง ถอนสัญญาวิปลาสเสียได้

      อนุมานปฏินิสสัคคานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาห็นรูปนามภายนอก ซึ่งมีอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ทั้งในอดีตและอนาคตว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยอนุมานกับรูปนามในปัจจุบันว่าจะต้องเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นเดียวกันเมื่อผู้เจริญวิปัสสนาได้พิจารณาเห็นรูปนามด้วยอาการอย่างนี้ จะละเสียได้ซึ่งการยึดมั่นถือมั่นในรูปนามว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นของสวยงาม เป็นตัวตนอังกล่าวมาแล้วนั้น

      เมื่อผู้ใดได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานถึงนิพพิทาญาณแล้ว ผู้นั้นย่อมยินดีอยู่ในอนุปัสสนาทั้ง 3 ดังที่ได้บรรยายมาแล้ว ญาณนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยสำคัญมาก ที่จะนำผู้ปฏิบัติให้รีบรัดเข้าสู่พระนิพพาน


วิปัสสนาญาณ ๓

      ภยญาณ คือปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นภัย อาทีนวญาณ คือปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นโทษ นิพพิทาญาณ คือปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นของน่าเบื่อหน่าย ญาณทั้ง ๓ นี้ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ส่วนใจความเป็นอันเดียวกัน ดังพระบาลีในปฏิสัมภิทามรรคเล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๕๐๗ รับรองไว้ว่า : ยา จ ภยตุปฎฐาเน ปญญา ยณุจ อาทีนเว ฌาณิ ยา จ นิพพิทา อิเม ธมุมา เอกตุถา พุยญชนเมว นานํ ฯ

      ญาณทั้ง ๓ นี้คือ ภยตุปัฏฐานญาณ อาทีนวญาณ และนิพพิทาญาณ มีใจความเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้นเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน มีวิปัสสนาญาณผ่านขึ้นมาโดยลำดับๆ นับแต่นามรูปปริจเฉทญาณจนกระทั่งถึงญาณนี้ ถ้าขณะใดพิจารณาเห็นรูปนาม ปรากฎเป็นภัยคือ เป็นของน่ากลัว ขณะนั้นก็จัดเป็นภยญาณ ถ้าขณะใดพิจารณาเห็นรูปนามปรากฏเป็นโทษ ขณะนั้นก็จัดเป็นอาทีนวญาณ ถ้าขณะใดพิจารณาเห็นรูปนาม ปรากฎเป็นของน่าเบื่อหน่าย เละเมื่อเบื่อหน่ายในรูปนามแล้วใจก็น้อมไปในสันติบท ขณะนั้นก็จัดเป็นนิพพิทาญาณ


อุปมารูปนาม

      ผู้เจริญวิปัสสนาย่อมพิจารณาเห็นว่ารูปนามที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ เพราะกรรมเก่าเป็นปัจจัยก็ดี รูปนามที่กำลังเป็นไปอยู่ในขณะนี้ก็ดี รูปนามที่แก่ชราก็ดี รูปนามที่กำลังสร้างกรรมซึ่งเป็นเหตุให้ปฏิสนธิต่อไปก็ดี รูปนามที่จะต้องไปปฏิสนธิในคติต่างๆ ก็ดี รูปนามที่กำลังเกิดก็ดี รูปนามที่กำลังเป็นไปตามอำนาจแห่งผลกรรมก็ดี รูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้ว กำลังเป็นปัจจัยแก่ชราก็ดี รูปนามที่กำลังร้องไห้ก็ดี รูปนามที่กำลังคับแค้นใจเพราะญาติตาย ทรัพย์หายถูกไฟไหม้ ถูกโรคภัยเบียดเบียนก็ดี ล้วนแต่เป็นภัยเป็นของน่ากลัวเป็นทุกข์ เป็นเหยื่อลวงของวัฏฏะ เป็นเหยื่อลวงของโลก เป็นเหยื่อลวงของกิเลส เป็นสังขารปรุงแต่งให้สรรพสัตว์เดือดร้อน ไม่เป็นที่ต้านทานรักษา ไม่เป็นที่หลบหลีก ไม่เป็นที่พึ่งอาศัยในภพไหนๆ ได้เลย ดังนั้นจึงไม่ปรารถนารูปนามในภพในกำเนิด ในคติทั้งหมด ไม่ยึดมั่นไม่ถือมั่นรูปนาม ภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ จะปรากฏดุจหลุมเต็มไปด้วยถ่านเพลิงปราศจากเปลว เพราะเป็นที่ตั้งแห่งกองทุกข์มีความเกิดเป็นต้น เพราะทำให้สรรพสัตว์เร่าร้อนอย่างใหญ่หลวง มหาภูตทั้ง๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ในสกลกายก็จะปรากฎเหมือนอสรพิษมีพิษอันร้ายกาจ

      ข้อนี้สมด้วยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาดเจ้าตรัสไว้ในสังยุตตนิกายสพายตนวรรค (ข้อที่ ๓๑๕) ว่า โมรวิสาติ โข ภิกิขเว จตุนฺเนตํ มหาภูตานํ อธิวจนํ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสรพิษมีพิษร้ายกาจ นี้ เป็นชื่อของมหาภูตรูปทั้ง ๔ ดังนี้ขันธ์ ๕ ก็จะปรากฎเหมือนนายเพชฌฆาตกำลังถือดาบเงื้อจะตัดคออยู่เพราะนำความทุกข์มา นำความตายมา ต่างก็เบียดเบียนบีบคั้นกันอยู่ตลอดเวลา สมดังพระบาลีข้อเดียวกันนั้นว่า

      ปญฺจ วธกา ปจฺจตฺถิกาติ โข ภิกฺขเว ปญฺจนฺเนติ อุปาทานกฺขนฺธานํ อธิวจนํ ฯ

      ภิกษุทั้งหลาย นายเพชฌฆาต ๕ คนที่เป็นข้าศึกนั้น เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕

      อายตนะภายใน ๖ ปรากฎเหมือนกับบ้านว่างเปล่า เบื้องแรกนึกว่าเป็นบ้านที่เต็มไปด้วยข้าวปลาอาหารนานาประการ ครั้นเข้าไปดูไม่เห็นอะไรเลยข้อนี้สมด้วยพระบาลีในสังยุตตนิกาย สพายตนวรรค (ข้อ ๓๑๕) รับรองไว้ว่า

      สุญฺญคาโมติ โข ภิกฺขเว ฉนฺเนตํ อชฺฌตฺติกานํ อายตนานํ อธิวจนํ จกฺขุโต เจปี ตํ ภิกฺขเว ปณฺฑิโต ตุจฺฉกเมว ขายติ สุญฺญกเมว ขายติ ฯ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ้านว่างเปล่านี้ เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ภิกษุทั้งหลาย หากว่าบุคคลเป็นบัณฑิตฉลาดมีปัญญา มีตาดี พึงเข้าไปพิจารณาดูบ้านว่างคืออายตนะ ภายใน ๖ นั้นก็จะปรากฏแก่ผู้มีตาดี คือมีปัญญาดีนั้นว่า เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญแท้

      อายตนะภายนอก ๖ ก็จะปรากฎเหมือนกับมหาโจรผู้ปล้นฆ่าชาวบ้านเพราะรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และธรรมารมณ์เหล่านี้เบียดเบียนสรรพสัตว์ให้เดือดร้อน องค์สมเด็จพระจอมธรรมจึงตรัสไว้ในสังยุตตนิกาย สพายตนวรรคข้อ ๓๑๖ ว่า โจรา คามฆาตกาติ โข ภิกฺขเว ฉนฺเนตํ พาหิรานํ อายตนานํ อธิวจนํ จกฺขุ ภิกฺขเว หญฺญติ มนาปามนาเปสุ รูเปสุ ฯ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า มหาโจรผู้ปล้นฆ่าชาวบ้านนี้ เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖ ภิกษุทั้งหลายเมื่อตาเห็นรูปดีและไม่ดี ก็เกิดความเดือดร้อน เมื่อหูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายถูกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ใจนึกคิดธรรมารมณ์ก็ทำให้เดือดร้อนเช่นกัน

      วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๘ ก็จะปรากฏราวกะว่าถูกไฟ ๑๑ กอง มีราคะโทสะ โมหะ เป็นต้นติดทั่วแล้วลุกโพลงอยู่ตลอดเวลา สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ปรากฎในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ข้อ ๑๑ ว่า : จกฺขุ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ ฯเปฯ เกน อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ ฯ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟอะไรติดทั่วแล้ว ไฟคือราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และไฟคือ อุปายาส ติดทั่วแล้วรูปนามทั้งหมดจะปรากฎแก่ผู้ปฏิบัติดุจหัวฝี เป็นรังโรค เป็นลูกศร เป็นของคับแค้น เป็นของมีอาพาธ ไม่มีความแช่มชื่น มีแต่ทุกข์ ไม่มีรสชาติ ปราศจากสมบัติมีแต่วิบัติ เป็นกองโทษ อันใหญ่โตมหึมาที่สุดในโลก ดุจป่าชัฎที่มีสัตว์ร้ายนานาชนิคทำให้หวาดกลัวขนลุกชูชันขึ้น ดุจถ้ำที่มีเสือโคร่ง ดุจบึงที่มีจระเข้ มียักษ์ ดุจข้าศึกกำลังเงื้อดาบจะตัดคอ ดุจโภชนะเจือด้วยยาพิษ ดุจทางมีโจรคอยดักปล้นอยู่ ดุจเรือนกำลังถูกไฟไหม้ ดุจสมรภูมิที่มีกองทัพเตรียมไว้พร้อมแล้ว

      เมื่อรูปนามปรากฏแก่ผู้ปฎิบัติด้วยอาการคังกล่าวมานี้ ใจของผู้นั้นก็จะน้อมไปในสันติบท คือ บทที่ทำให้ใจถึงความสงบ


สันติบท

      พระราชาองค์หนึ่ง ยกกองทัพไปทำสงคราม แต่ทางนั้นกันคารมาก ไม่มีน้ำจะกินจะอาบเลย พวกไพร่พลก็พากันอ่อนกำลังลงไปมาก พระราชาจึงตรัสปลอบใจว่า

คูกรท่านนักรบทั้งหลาย ทางต่อไปข้างหน้านี้ประมาณ ๕๐ โยชน์ จะมีสระน้ำใหญ่อยู่สระหนึ่ง บริบูรณ์ด้วยน้ำมีน้ำใสสะอาดดี เป็นที่น่าพักอาศัยร่มเย็นดีนัก พวกเราจงรีบไปเถิด เมื่อพวกไพร่พลได้ฟังพระราชาตรัสเช่นนั้น ถึงแม้ว่าพวกตนจะยังไม่เคยเห็นสระน้ำนั้นก็จริง แต่ก็พากันน้อมใจไปหาและพากันตั้งหน้ารีบออกเดินทางต่อไปมิชักช้า เพื่อจะได้ถึงสระนั้นแล้วจะได้อาบได้กินได้นอน ได้พักผ่อนหย่อนอารมณ์ตามสบาย ข้อนี้ฉันใดผู้ปฏิบัติธรรมก็ย่อมน้อมใจไปในสันติบทยินดีในสันติบท ฉันนั้นเหมือนกัน สันติบทนั้นมีอยู่หลายหมวดด้วยกัน ดังจะได้ย่อมาพอเป็นตัวอย่างคังต่อไปนี้

      ๑. ผู้ปฏิบัติมีปัญญาพิจารณาเห็นว่าความเกิดเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อเป็นสังขาร ความไม่เกิดปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      ๒. ความเป็นไปของรูปนามเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขารความไม่เป็นไป เป็นความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพานรูปนามเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ความไม่มีรูปนามเป็นความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      ๔. รูปนามที่กำลังสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิดอีกเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อเป็นสังขาร ไม่มีรูปนามสั่งสมกรรม เป็นความปลอคภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      ๕. การเกิดอีกเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร การไม่เกิดอีกเป็นความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      ๖. คติที่จะต้องปฏิสนธิเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีคติเป็นความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      ๗. ความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย เป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ความไม่บังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย เป็นความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      ๘. ความเป็นไปของวิบากเป็นต้น เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ความไม่เป็นไปของวิบาก เป็นความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      ๙. ชาติเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีชาติ เป็นความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      ๑๐. ชราเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีชรา เป็นความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      ๑๑. พยาธิเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีพยาธิ เป็นความปลอดภัยเป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      ๑๒. มรณะเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีมรณะ เป็นความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      ๑๓. โสกะเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีโสกะ เป็นความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      ๑๔. ปริเทวะเป็นภัย เป็นทุข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีปริเทวะ เป็นความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      ๑๕. อุปายาสะเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นเหยื่อ เป็นสังขาร ไม่มีอุปายาสะ เป็นความปลอดภัย เป็นสุข ปราศจากเหยื่อเป็นนิพพาน

      เมื่อสู้ปฏิบัติมีใจน้อมไปในสันติบทเช่นนี้ สังขารคือ รูปนามที่กำลังปรากฎเป็นภัยอยู่นั้น ก็จะปรากฎเป็นของมีโทษมาก และเป็นที่น่าเบื่อหน่ายแท้


ลำดับการปฏิบัติ

      ญาณอันเดียวก็สามารถยังกิจทั้ง ๓ อย่างให้สำเร็จได้คือ พิจารณาเห็นรูปนามเป็นภัย มีโทษมาก และเบื่อหน่าย คือ ใจของผู้ปฏิบัตินั้นจะไม่ติดไม่ข้องอยู่ในรูปนาม เพราะตนได้พิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วว่า เป็นของมีโทษมากอย่างหนึ่ง มีจิตอยากหลุดพ้น อยากหนีออกจากรูปนาม จากวัฎสงสารเพราะตนได้รู้ห็นโดยประจักษ์แล้วว่า รูปนามเป็นของไม่คงที่ เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นไม่มีสาระแก่นสาร เป็นของเป็นไปเพื่อระยะกาลนิดหน่อยเท่านั้นอย่างหนึ่ง นักปฏิบัตินั้นอยากจะยกตนออก อยากจะรื้อตนออก อยากจะหนีไปจากรูปนาม หนีไปจากหัวงมหรรณพภพสงสาร อยากจะไปสู่พระนิพพานโดยส่วนเดียวอย่างหนึ่ง

      ย่อมเบื่อหน่ายไม่ยินดีในสังขาร คือ รูปนามที่เป็นไปในกามภูมิ รูปภูมิอรูปภูมิ ทั้งสิ้น เพราะสังขารในภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ และสัตตาวาสทั้งหมด ล้วนแต่มีความแตกสลายทำลายไป เสื่อมไปด้วยกันทั้งสิ้น


จบ นิพพิทาญาณ

----------///-----------


[full-post]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,นิพพิทาญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.