๑๖. ปัจจเวกขณญาณ

      มคฺคํ ผลญฺจ นิพฺพานํ      ปจฺจเวกฺขติ ปณฺฑิโต

      ปหีเน เกฺลเส เสเส จ      ปจฺจเวกฺขติ วา น วา

      ฉพฺพิสุทฺธิกฺกเมเนว        ภาเวตพฺโพ จตุพุพิโธ

      ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ         นาม มคฺโค ปวุจฺจติ ฯ

      บัณฑิตผู้เป็นอริยบุคคลย่อมพิจารณา มรรค ผล นิพพาน และย่อมพิจารณากิเลสที่ประหาณแล้ว 

      และกิเลสที่ยังไม่ได้ประหาณ แต่ผู้ที่ไม่ได้พิจารณากิเลสที่ประหาณแล้ว และยังไม่ได้ประหาณก็มีบ้าง 

      อริยมรรค ๔ ประการที่เนื่องจากการเจริญวิสุทธิ ๖ มาโคยลำดับ เรียกว่า ญาณทัสสนวิสุทธิ 

      ด้วยประการฉะนี้


ปัจฉเวกขณะของพระอริยะ


      เมื่อโสดาปัตติผลจิตดับลงแล้ว จิตของพระโสดาบันก็ลงสู่ภวังค์ จากนั้นมโนทวาราวัชชนจิตก็ตัดกระแสภวังค์เกิดขึ้น เพื่อสำรวจดูโสดาปัตติมรรค เมื่อมโนทวาราวัชชนจิตดับลง ชวนจิต ๗ ขณะ ก็เกิดขึ้นติดต่อกันไป ด้วยการกระทำมรรคให้เป็นอารมณ์ แล้วจิตก็ลงสู่ภวังค์อีก ส่วนการเกิดขึ้นเพื่อย้อนสำรวจดูผล กิเลสทั้งหลายที่ละได้และกิเลสทั้งหลายที่ยังเหลืออยู่ หรือพระนิพพาน ก็มีการสำรวจเช่นเดียวกับด้วยการสำรวจมรรคนั่นเอง

      พระอริยบุคคลสำรวจทบทวนดูมรรคว่า "ข้าพเจ้าสำเร็จมาด้วยอำนาจแห่งมรรคนี้แน่แล้ว" สำรวจทบทวนดูผลว่า "อานิสงส์ดังกล่าวนี้ข้าพเจ้าได้รับแล้ว" สำรวจทบทวนดูกิเลสที่ละได้แล้วว่า "กิเลสทั้งหลายชื่อนี้ๆ ข้าพเจ้าละได้แล้ว" สำรวจทบทวนดูกิเลสที่ยังเหลืออยู่ว่า "กิเลสทั้งหลายชื่อน้ำ ข้าพเจ้ายังเหลืออยู่" และสุดท้าย ก็สำรวจทบทวนดูพระนิพพานว่า "พระธรรมนี้ ข้าพเจ้าแทงตลอด โดยอารมณ์แล้ว" ปัจจเวกขณญาณของพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี มีอย่างละ ๕ เท่ากัน แต่พระอรหันต์ไม่มีการสำรวจทบทวนดูกิเลสที่เหลืออยู่เพราะท่านประหาณกิเลสทั้งหลายหมดแล้ว จึงมีปัจจเวกขณญาณ ๔ เท่านั้น รวมทั้งหมดจึงมี ๑๙ อย่าง แต่ความจริงแล้วพระเสขบุคคลอาจทบทวนดูหรือไม่ทบทวนดูในกิเลสที่เหลือก็ได้ ดังเช่นเจ้าศากยมหานาม ผู้เป็นพระสกทาคามีได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ยังมีธรรมชื่ออะไรอยู่อีกหรือ ที่หม่อมฉันมิได้ละแล้วภายในตน ซึ่งเป็นเหตุให้สิ่งที่เรียกว่าโลภะทั้งหลายครอบงำจิตใจของหม่อมฉันไว้ในบางครั้งบางคราว" ดังนี้ 

ในอภิธัมมัตถสังคหะกล่าวไว้ว่า

     มคฺคํ ผลญฺจ นิพฺพานํ      ปจฺจเวกฺขติ ปณฺฑิโต 

     ปหีเน เกฺลเส เสเส จ      ปจฺจเวกฺขติ วา น วา ฯ

    อริยบัณฑิตย่อมพิจารณา มรรค ผล นิพพาน ย่อมพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วและที่ยังเหลือ 

    พระอริยบุคคลบางองค์ไม่พิจารณากิเลสที่ละแล้ว และยังไม่ละก็มีบ้าง


กิเลสที่ถูกพิจารณา

      ญาณความรู้ที่เกิดขึ้นพิจารณาเห็นมรรค ผล นิพพาน กิเลสที่เหลืออยู่และกิเลสที่ละแล้วโดยอำนาจของมรรคทั้ง ๔ ในคัมภีรัวิสุทธิมรรดแสดงไว้ว่า

      สํโยชเนสุ ตาว สกฺกายทิฏฺฐิวิจิกิจฺฉาสีลพฺพตปรามาโส อปายคมนียา จ กามราคปฏิฆาติ เอเต ปญฺจ ธมฺมา ปฐมญาณวชฺฌา เสสา กามราคปฏิฆา โอฬาริกา ทุติยญาณวชฺฌา สุขุมา ตติยญาณวชฺฌา รูปราคาทโย ปญฺจปิ จตุตฺถญาณวชฺฌา เอว ฯ

     สังโยชน์ ๑๐ ประการนั้น โสดาปัตติมรรคประหาณสังโยชน์ได้ ๕ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ อปายคมนิยกามราคะ ๑ อปายคมนียปฏิฆะ ๑ ส่วนที่เหลืออยู่นั้น สกทาคามิมรรคสามารถประหาณได้ตามอำนาจของตนคือ กามราคะ ปฏิฆะ ที่ไม่เป็นอปายคมนียะชนิดที่เป็นโอพาริกะคืออย่างหยาบ อนาคามิมรรคสามารถประหาณได้ตามอำนาจของตนคือ กามราคะ ปฏิฆะ ที่ไม่เป็นอปายคมนียะ ชนิดที่เป็นสุขุมะคืออย่างประณีต อรหัตตมรรคสามารถประหาณสังโยชน์ที่เป็นอุทธัมภาคิยะ ๕ ประการ ได้โดยเด็ดขาดโดยอำนาจของตน อนึ่ง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่า

      กิเลเลสุ ทิฏฺฐิวิจิกิจฺฉา ปฐมญาณวชฺฌา โทโส ตติยญาณวชฺโฌ โลภโมหมานถีนอุทฺธจฺจอหิริกอโนตฺตปฺปานิ จตุตฺถญาณวชฺมานิ ฯ

      กิเลส ๑๐ อย่างนั้น ทิฏฐิและวิจิกิจฉา โสดาปัตติมรรถประหาณได้โดยเด็ดขาด โทสะนั้นอนาคามิมรรคประหาณได้โดยเด็ดขาด โลภะ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ นั้น อรหัตตมรรคประหาณได้โดยเด็ดขาค


สรุปโสพสญาณ

      ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ     ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ

      ๒. ปัจจยปริคคหญาณ*      ๑๐. ปฏิสังขาญาณ

      ๓. สัมมสนญาณ                ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ

      ๔. อุทยัพพยญาณ            ๑๒. อนุโลมญาณ

      ๕. ภังคญาณ                    ๑๓. โคตรภูญาณ

      ๖. ภยญาณ                      ๑๔. มรรคญาณ

      ๗. อาทีนวญาณ              ๑๕. ผลญาณ

      ๘. นิพพิทาญาณ            ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ


      (*วิปัสสนาญาณที่ ๒ นี้ หมายถึงญาณกำหนดปัจจัยของรูปนาม เพราะฉะนั้นบางแห่งใช้คำว่า นามรูปปัจจยปริคคหญาณ)

      ญาณเหล่านี้เรียกว่า โสฬสญาณ "ญาณ ๑๖" เมื่อผ่านญาณ ๑๖ ไปแล้ว ก็หมายความว่าโยดีบุคคลผู้นั้นได้ดำเนินถึงจุดหมายปลายทางอันยิ่งใหญ่ในชีวิตได้ประสบสมบัติอันเป็นอมฤต ซึ่งจะหาสมบัติอื่นใดมาเปรียบปานอีกไม่ได้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า เพราะอานิสงส์ของพระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น เป็นอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ บาลีในพระธรรมบทกล่าวไว้ว่า :-


      ปฐพฺยา เอกรชฺเชน     สคฺคสฺส คมเนน วา

      สพฺพโลกาธิปปจฺเจน   โสตาปตฺติผลํ วรํ ฯ

โสดาปัตติผล ประเสริฐกว่าความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 

กว่าท้าวสักกเทวราช หรือกว่ามหาพรหม ผู้มีมหิทธานุภาพยิ่งใหญ่


      พระบาลีนี้แสดงความเป็นใหญ่ในฐานะต่างๆ กัน เช่นพระราชาผู้เป็นเอกราชในแว่นแคว้นใดๆ ก็หาเทียบเท่ากับเคชานุภาพของพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นอิสระในพื้นพิภพแห่งมนุษย์นี้ได้ไม่ เพราะพระองค์ทรงบริบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง 3 ประการ แม้ท้าวสักกเทวราชผู้ประเสริฐกว่าพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะพระองค์ทรงบริบูรณ์ด้วยทิพยสมบัติอยู่ในเทวสถาน แม้ท้าวมหาพรหมผู้ทรงมหิทธานุภาพยิ่งใหญ่ในหมู่พรหมทั้งหลาย พรั่งพร้อมด้วยทิพยสมบัติอันประณียิ่งกว่าท้าวสักกเทวราชก็ตาม แต่เมื่อนำมาเทียบกับโสดาปัตติผลแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจเทียบได้เลย เพราะพระนิพพานที่พระโสดาบันได้บรรลุนั้นเป็นธรรมที่ประณีตประเสริฐสุด สามารถทำให้ผู้บรรลุไม่ต้องไปสู่อบายภูมิ และสามารถพ้นจากสังสารวัฏอันยาวนานได้

จบ วิปัสสนาญาณ ๑๐ และญาณ ๑๖ เพียงเท่านี้

---------///---------


[right-side]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,ปัจจเวกขณญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.