๑๕. ผลญาณ


โสดาปัตติผลญาณ

      ในลำคับต่อจากปฐมมรรดคือ โสดาปัตติมรรคจิตดับลงแล้ว ผลจิตที่เป็นวิบากของมรรคจิต ได้แก่ โสดาปัตติผลจิตหรือโสดาปัตติผลญาณก็เกิดขึ้น ๒ หรือ ๓ ขณะ 

      ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า มรรคจิตนี้เป็น "อานันตริกสมาธิ" คือ มัคคสมาธิซึ่งให้อริยผลเกิดทันทีเพราะว่าโลกุตตรกุศลทั้งหลาย มีวิบากเกิดสืบเนื่องเป็นผลอยู่โดยแน่นอนเสมอ

      อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ผลจิตนี้เกิดขึ้น ๑, ๒, ๓ หรือ ๔ ขณะ คำกล่าวของอาจารย์ที่ว่าเกิดขึ้น ๑ หรือ ๔ ขณะนั้นไม่ควรถือเอาเพราะว่าโคตรภูญาณ ย่อมเกิดขึ้นในที่สุดแห่งอาเสวนปัจจัยของอนุโลมญาณเหตุนั้น โดยการกำหนดอย่างต่ำที่สุด อนุโลมญาณต้องเกิด ๒ ขณะ (อุปจาร, อนุโลม) เพราะขณะเดียวย่อมไม่ได้อาเสวนปัจจัย และในอาวัชชนจิตของวิถีหนึ่งๆ ย่อมมีชวนจิต ๗ ขณะเป็นอย่างมาก ถ้าญาณใดมีอนุโลม ๒ ขณะชวนะขณะที่ ๓ ของญาณนั้นเป็นโตตรภู ชวนะขณะที่ ๔ เป็นมรรคจิต และชวนะอีก ๓ ขณะเป็นผลจิต (รวมเป็น ๗ ขณะ) ถ้าญาณใด มีอนุโลม ๓ ขณะ (บริกรรม, อุปจาร, อนุโลม) ชวนะขณะที่ ๔ ของญาณนั้นเป็นโคตรกู ชวนะขณะที่ ๕ เป็นมรรคจิต และชวนะอีก ๒ ขณะ เป็นผลจิต (รวมเป็น ๗ ขณะ) เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหาพุทธโฆยาจารย์จึงกล่าวว่า เทฺว ตีณิ วา ผลจิตฺตานิ อุปฺปชฺชนฺติ ผลจิต ๒ หรือ ๓ ขณะย่อมเกิดขึ้น

      ส่วนญาณใดมีอนุโลม ๔ ขณะ ชวนะขณะที่ ๕ ของญาณนั้นเป็นโคตรภู ชวนะขณะที่ ๖ เป็นมรรคจิต ชวนะอีก ๑ ขณะเป็นผลจิต (รวมเป็น ๗ ขณะเช่นเดียวกัน) คำนั้น ก็ไม่ควรเชื่อถือโดยความเป็นสาระเพราะค้านได้ว่า ชวนะขณะที่ ๔ หรือที่ ๕ ย่อมเป็นอัปปนาชวนะคือมรรคญาณ ไม่มากยิ่งไปกว่านี้เพราะใกล้กันกับภวังค์

      อนึ่ง ผลชวนะทั้ง ๔ ดวงนั้น เป็นอาเสวนปัจจัยและเป็นอาเสวนปัจจยุปบันไม่ได้ เพราะในปัฏฐานแสดงว่าธรรมที่เป็นอาเสวนปัจจัยนั้น ต้องเป็นชวนจิตชาติเดียวกัน กล่าวถือ กุศลชวนะเป็นปัจจัยแก่กุศลชวนะ , อกุศลชวนะเป็นปัจจัยแก่อกุศลชวนะ, กิริยาชวนะเป็นปัจจัยแก่กิริยาชวนะ ด้วยอำนาจอาเสวนปัจจัย แต่เมื่อว่าโดยภูมิแล้ว เป็นจิตต่างภูมิกันได้เช่น ติเหตุกกามกุศลชวนะ (กามภูมิ) เป็นอาเสวนปัจจัยแก่มหัคคตกุศลชวนะ (รูปภูมิ, อรูปภูมิ) หรือเป็นอาเสวนปัจจัยแก่โลกุตตรกุศลชวนะ (โลกุตตรภูมิ ด้วยเหตุนี้ ผลจิต ๒ หรือ ๓ ขณะ ที่อยู่ในมรรควิถีนั้น จึงเป็นอาเสวนปัจจัย และเป็นอาเสวนปัจจยุปบันไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นจิตชาติเดียวกันกับกุศลชาติดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

      เมื่อโยคีท่านนี้เป็นพระอริยบุคคลที่ ๒ ชื่อว่า พระโสดาบันแล้วท่านยังเป็นผู้ประมาทอยู่ ต้องเร่ร่อนท่องเที่ยวไปในมนุษยโลกและเทวโลกทั้งหลายอีก ๓ ครั้งแล้วก็จะเป็นผู้ที่สามารถทำที่สุดแห่งกองทุกข์ได้ การที่จะประหาณกิเลสตัณหาอันมีฤทธิ์ร้ายมีอยู่วิธีเดียวคือ การบำเพ็ญวิปัสสนาจนบรรลุถึงโลกุตตรภูมิ ด้วยการสามารถประหาณกิเลสตัณหาได้อย่างเด็ดขาดเป็นขั้นๆ ไป อันกิเลสตัณหานั้นมีอยู่ไม่ใช่น้อย ดังที่กล่าวว่ากิเลสมีถึง ๑,๕๐๐ และตัณหามีถึง ๑๐๘ แต่เพื่อความเข้าใจได้ง่ายขึ้นจึงประมวลเอากิเลสตัณหาเหล่านั้นลงไว้ในกิเลสซึ่งเป็นหลักใหญ่ ๑๐ อย่าง

      ๑. ทิฏฐิกิเลส       ๒. วิจิกิจฉากิเลส

      ๓. โลภกิเลส       ๔. โทสกิเลส

      ๕. โมหกิเลส       ๖. มานกิเลส

      ๗. ถีนกิเลส        ๘. อุทธัจจกิเลส

      ๘. อหิริกกิเลส      ๑๐. อโนตตัปปกิเลส

      ต่อไปจะกล่าวถึงโลกุตตรภูมิทำการประหาณกิเลส ๑๐ โดยลำดับ ผู้ที่ได้ปฏิบัติวิปัสสนาจนได้บรรลุถึงโลกุตตรภูมิอันดับแรกสำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคลด้วยอำนาจแห่งโลกุตตรภูมิชั้นนี้ย่อมทำให้สามารถละกิเลสได้ ๒ อย่าง

      ๑. ทิฏฐิกิเลส ได้แก่ สักกายทิฏฐิ ความเข้าใจผิดในขันธ์ ๕ เข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าปัญจขันธ์นี้เป็นของแห่งตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล, เรา, เขา เช่น ในการยืนเดิน นั่ง นอน ก็เข้าใจว่าตนเป็นผู้ยืน เดิน นั่ง นอน ความเข้าใจผิดเช่นนี้ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ อันเป็นความเห็นผิดที่ทำให้ติดอยู่ในความหมุนเวียนของวัฏสงสาร เรื่องสักกายทิฏฐินี้ พระพุทธองค์ได้ทรงเทศนาแก่พระภิกยุทั้งหลาย ในสังยุตตนิกายพระบาลีว่า 

         "สตฺติยา วิย โอมฏฺโฐ      ฑยฺหมาโน ว มตฺถกํ 

          สกฺกายทิฏฐิปหานาย      สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช ฯ 

      ภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร รู้สึกตนประหนึ่งถูกสาตราวุธอันมีคมทิ่มแทงอยู่ 

      หรือดุจถูกไฟไหม้อยู่บนศีรษะ พึงเป็นผู้มีสติไม่ประมาทอยู่เถิด เพื่อจะได้กำจัดเสียซึ่งสักกายทิฏฐิ ฉะนั้น


      ๒. วิจิกิจฉากิเลส ได้แก่ ธรรมชาติที่ทำให้ตัดสินใจลำบาก คือสงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

      ในวิสุทธิมรรคแสดงไว้ว่า :- กิเลเสสุ ทิฏฺฐิวิจิกิจฺฉา ปฐมญาณาชฺฌา ฯ บรรดากิเลสทั้งหลาย ทิฎฐิกิเลสและวิจิกิจฉากิเลสทั้ง ๒ นี้ มรรคญาณที่ ๑ คือ โสดาปัตติมรรคญาณประหาณได้โดยเด็ดขาด

      ถึงแม้พระโสดาบันบุคคลสามารถประหาณกิเลสอันเป็นเหตุให้วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏได้เพียง ๒ ตัวก็จริง ถึงกระนั้นท่านก็ตัดสังสารวัฎลงได้มากทีเดียว เพราะพระโสดาบันนั้นจักเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน ๗ ชาติ ตามประเภทแห่งพระโสดาบัน ๓ ประเภท คือ :

      ๑) เอกพีซีโสดาบัน มีวจนัตถะว่า :- เอกํ พีชํ อสฺสาติ เอกพีชี พระโสดาบันที่จะปฏิสนธิต่อไปข้างหน้าอีกชาติเดียวก็จะได้บรรลุถึงอรหัตตผลแล้วจักปรินิพพาน ฉะนั้นโสดาบันบุคคลนี้เรียกชื่อว่า เอกพีชีโสดาบัน ได้แก่พระโสดาบันที่สร้างบารมีมาแก่กล้า โดยมีจิตสันดานมากไปด้วยปัญญาเจริญสมถภาวนามาน้อย

      ๒) โกลังโกลโสดาบัน มีวจนัตถะว่า :- กุลโต กุลํ คจฺฉตีติ โกลํโกโล ฯ พระโสดาบันที่จะต้องปฏิสนธิต่อไปอีกตั้งแต่ ๒ ชาติถึง ๖ ชาติเป็นอย่างมาก ก็จะบรรลุอรหัตตผลแล้วจักปรินิพพาน ฉะนั้นโสดาบันบุคคลนี้เรียกชื่อว่า โกลังโกลโสดาบัน ได้แก่พระโสดาบันที่สร้างบารมีมาอย่างปานกลาง โดยมีจิตสันดานประกอบด้วยปัญญาและสมาธิเท่าๆ กัน เจริญวิปัสสนาภาวนาและสมถภาวนาพอ ๆ กัน พระโสดาบันประเภทนี้ในคัมภีร์ปุคคลบัญญัติอรรถกถากล่าวไว้ว่า :

      "เทสนมตฺตเมว เจตํ เทฺว วา ตีณิ วาติ ยาว ฉฏฺฐภวา สํสรนฺโตปี โกลํโกโลว โหติ ฯ

      การที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้ว่า ๒ ชาติก็ดี ๓ ชาติก็ดี เป็นการเทศนาโดยสำนวนโวหารเท่านั้นเอง แต่พระอรรถกถาจารย์ได้แก้ไว้ว่า ความจริง บุคคลประเภทนี้จะท่องเที่ยวจากตระกูลหนึ่งไปสู่ตระกูลหนึ่ง นับตั้งแต่ ๒ ชาติจนถึง ๖ ชาติ ก็จะได้บรรลุอรหัตตผล

      ๓) สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน มีวจนัตถะว่า :- สตฺตกฺขตตฺปรํ อสฺสาติ สตฺตกฺขตฺตุปรโม ฯ พระโสดาบันที่จะปฏิสนธิในมนุษยภูมิและเทวภูมิอีกเพียง ๗ ชาติ ก็จะบรรลุอรหัตตผลแล้วจักปรินิพพาน ฉะนั้นโสดาบันบุคคลนี้เรียกชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ได้แก่พระโสดาบันที่สร้างบารมีมาอย่างอ่อน โดยมีจิตสันดานประกอบด้วยสมาธิมากแต่ปัญญาน้อย เคยเจริญสมถภาวนามากแต่เจริญวิปัสสนาน้อย 

      อีกนัยหนึ่ง พระโสดาบันที่มีจิตมุ่งมั่นต่ออริยมรรคเบื้องบนทั้ง ๓ โคยความอุตสาหะเจริญวิปัสสนาโดยกำลังแรงกล้า เช่นนี้เป็น เอกพีซีโสดาบัน 

      พระโสดาบันที่มีจิตมุ่งมั่นต่ออริยมรรคเบื้องบนทั้ง ๓ โดยความอุตสาหะเจริญวิปัสสนาโดยกำลังอย่างปานกลาง เช่นนี้เป็น โกลังโกลโสดาบัน 

      พระโสดาบันที่มีจิตมุ่งมั่นต่ออริชมรรคเบื้องบนทั้ง ๓ โดยความอุตสาหะเจริญวิปัสสนาโดยกำลังอย่างอ่อน เช่นนี้เป็น สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน 

      อีกนัยหนึ่ง "อุคฆฏิตัญญูบุคคล" เรียกว่า เอกพีชีโสดาบัน "วิปัญจิตัญญูบุคคล" เรียกว่า โกลังโกลโสดาบัน "เนยบุคคล" เรียกว่า สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน 


สกทาคามิผลญาณ

      เมื่อสกทาคามิมรรคจิตดับลง สกทากามิผลจิตหรือสกทาคามิผลญาณก็บังเกิดขึ้นติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น ทำนองเดียวกันกับโสดาปัตติมรรคญาณและโสดาปัตติผลญาณ การบังเกิดขึ้นของสกทาคามิผลญาณ ทำให้เป็นพระอริยบุคคล มีนามว่า พระสกทาคามี ซึ่งท่านจะกลับมาถือปฏิสนธิในโลกนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นและท่านสามารถทำที่สุดแห่งกองทุกข์ได้

      พระโสดาบันที่บรรลุถึงสกทาคามิมรรคญาณ สกทาคามิผลญาณแล้ว ชื่อว่าสกทาคามีบุคคล เพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางลง (ตนุกรปหาน) จะมาสู่โลกนี้เพียงชาติเดียวเท่านั้น ดังมีวจนัตถะว่า :- สกึ อิมํ กามธาตุํ อาคจฺฉตีติ สกทาคามีฯ บุคคลที่มาปฏิสนธิในกามธาตุอีกครั้งเดียวชื่อว่า "สกทาคามีบุคคล" ผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาผ่านโสดาบันโลกุตตรภูมิมาแล้ว ปรารถนาจะได้บรรลุมรรค-ผลที่สูงขึ้นไป จึงเจริญวิปัสสนาภาวนาให้ยิ่ง ๆ ขึ้น เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕เสมอกันเป็นอันดี โดยที่มีวาสนาบารมีอันตนได้เคยสร้างสมอบรมมาเพียงพอ สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไปจนถึงสังขารุเปกขาญาณ สภาวญาณเหล่านี้จะปรากฎชัดเจนละเอียดกว่าที่ตนเคยผ่านมาแล้วในชั้นโสดาบันโลกุตตรภูมิ ต่อจากนั้นอนุโลมญาณก็จะเกิดขึ้นตามติดมาด้วยโวทาน โวทานนี้แทนโคตรภูญาณ เพราะท่านผู้นี้เป็นพระอริยบุคคลแล้วไม่ใช่ปุถุชน เพราะฉะนั้น ญาณที่ตัดโคตรปุถุชนคือโคตรภูญาณจึงไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นอีก ครั้นแล้วทุติยมรรค คือสกทาคามิมรรคญาณก็เกิดขึ้นตามติดด้วยสกทาคามิผลญาณ มีถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์อีกครั้งหนึ่ง

      สกทาคามิมรรคนี้ ไม่ได้ตัดกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งให้ขาดออกจากขันธสันดานอย่างเด็ดขาด แต่ถึงกระนั้นก็มีอำนาจทำให้กิเลสทั้งหลายเป็น "ตนุกระ" คือทำให้เบาบางลงกว่าโสดาปัตติมรรค

      พระสกทาคามีนี้ นอกจากจะมีกิเลสเบาบางกว่าพระโสดาบันและสามารถที่จะเข้าสกทาคามิผลสมาบัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานได้ตามจิตปรารถนาพระสกทาคามีมี ๕ จำพวก คือ :-

      ๑. อิธ ปตฺวา ตตฺถ นิพฺพตฺติตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี ฯ พระสกทาคามีบางจำพวกสำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลกนี้แล้ว ไปบังเกิดเป็นเทพเจ้า ณ เทวโลกเมื่อจุติจากเทวโลกกลับมาเกิดในมนุษยโลกนี้อีกครั้งหนึ่งแล้ว ก็ได้บรรถอรหัตตผลและดับขันธปรินิพพานในมนุษยโลกนี้เอง

      ๒. อิธ ปตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี ฯ พระสกทาคามีบางจำพวกสำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลกนี้แล้ว กระทำความเพียรเจริญวิปีสสนาไปอย่างไม่หยุดยั้งจนกระทั่งได้บรรลุอรหัตตผลและดับขันธปรินิพพานในมนุษยโลกนี้เอง

      ๓. อิธ ปตฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี ฯ พระสกทาคามีบางจำพวกเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลกนี้แล้ว ไปบังเกิดเป็นเทพเจ้า ณ เทวโลกแล้วก็ได้สำเร็จเป็นอรหันต์และดับขันธปรินิพพาน ณ เทวโลกนั่นเอง

      ๔. ตตฺถ ปตฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี ฯ พระสกทาคามีบางจำพวกเป็นเทพเจ้าสำเร็จเป็นพระสกทาคามี ณ เทวโลกแล้ว ได้บรรลุอรหัตตผลและดับขันธปรินิพพาน ณ เทวโลกนั่นเอง

      ๕. ตตฺถ ปตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี  พระสกทาคามีบางจำพวกเป็นเทพเจ้าสำเร็จเป็นพระสกทาคามีบุคคล ณ เทวโลกแล้ว จุติมาอุบัติบังเกิดในมนุษยโลกนี้แล้วได้บรรลุพระอรหัตตผลและดับขันธปรินิพพานในมนุษยโลกนี้เอง พระสกทาคามีประเภทที่ ๑ เท่านั้น เป็นนัยโดยตรง ส่วนประเภทอื่นนอกนั้นเป็นนัยโดยอ้อม


อนาคามิผลญาณ

      เมื่ออนาคามิมรรคจิตดับลง อนาคามิผลจิตหรืออนาคามิผลญาณก็บังเกิดขึ้นติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น ทำนองเดียวกันกับสกทาคามีมรรคญาณและสกทาคามิผลญาณและการบังเกิดของอนาคามิผลญาณนี้ พระอริยบุคคลนั้น มีนามว่า "พระอนาคามี" การพิจารณามรรค ผล นิพพาน และกิเลสของพระอนาคามีด้วยปัจจเวกขณญาณ มีดังต่อไปนี้

      เมื่ออนาคามิมรรคญาณ และอนาคามิผลญาณเกิด พระอริยบุคคลนั้นได้ชื่อว่า อนาคามีบุคคล จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีก เพราะได้ประหาณกามราคะ, พยาบาทหมดแล้ว อังมีวจนัตถะว่า :- "อิมํ กามธาตุํ น อาคจฺฉตีติ อนาคามี" ฯ บุคคลใดจะไม่กลับมาปฏิสนธิในกามภูมิ เพราะฉะนั้นบุคคลนั้นจึงชื่อว่า "พระอนาคามี" 


โลกุตตรมรรคอันดับที่ ๓ มีชื่อว่า อนาคามีโลกุตตระ

      ผู้ต้องการบรรลุอนาคามี มีความปรารถนาที่จะบรรลุมรรค, ผล จึงอุตสาหะเจริญวิปัสสนาภาวนาให้ยิ่งขึ้น เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ เสมอกันเป็นอันดี โดยที่วาสนาบารมีอันตนได้เคยสั่งสมอบรมมาเพียงพอ สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้นตามลำดับตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไปจนถึงสังขารุเปกขาญาณ สภาวญาณเหล่านี้จะปรากฎชัดเจนแจ่มแจ้งกว่าสภาวญาณที่ตนได้เคยผ่านมาในโลกุตตรภูมิก่อนๆ ต่อจากนั้นอนุโลมญาณก็จะเกิดขึ้น ตามติดมาด้วย โวทาน ครั้นแล้ว อนาคามิมรรคญาณ ก็เกิดขึ้น ซึ่งทำการประหาณกิเลสได้อย่างเด็ดขาดได้อีกส่วนหนึ่ง เมื่ออนาคามิมรรคบังเกิดขึ้น อนาคามิผล ก็จะเกิดตามติดมา

      ผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาจนได้บรรลุอนาคามิมรรค สำเร็จเป็นพระอนาคามีสามารถฆ่ากิเลส ที่ให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารได้อีก ๑ คือ โทสกิเลส และโทสกิเลสในที่นี้แบ่งออกเป็น ๒ คือ

      ๑. โทสะที่เป็นอปายคมนียะ คือนำไปสู่อบายภูมิได้ เพราะความโกรธที่ดุร้าย สามารถทำอกุศลกรรมบถ มีปาณาติบาตเป็นต้น โทสะชนิดนี้พระโสดาบันละได้แล้ว

      ๒. โทสะที่ไม่เป็นอปายคมนียะ คือนำไปสู่อบายไม่ได้ ได้แก่ความขัดใจโกรธเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ถึงกับล่วงอกุศลกรรมบถ โทสะที่สุขุม คืออย่างประณีตนั้นพระอนาคามีเท่านั้นจึงละได้อย่างเด็ดขาด อนาคามิมรรคจึงประหาณโทสกิเลสได้หมดสิ้นเป็นสมุจเฉท ดังนั้นในวิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่า :

      "โทโส ตติยญาณวชฺโฌ" โทสกิเลสนั้น ญาณที่ ๓ คือ อนาคามีมรรคญาณประหาณได้อย่างเด็ดขาด

      พระอนาคามีนี้นอกจากจะตัดโทสกิเลสให้ขาดออกไปจากจิตสันดานอย่างเด็ดขาด และสามารถเข้าอนาคามิผลสมาบัติได้ดังปรารถนา และท่านย่อมไปบังเกิดในพรหมโลกเท่านั้น ส่วนใหญ่ไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ และจะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ดับขันธปรินิพพาน ณ ที่นั้น

      ในกรณีนี้ถ้าจะมีปัญหาว่า การที่จะไปเกิดในพรหมโลกได้นั้น จะต้องปฏิสนธิด้วยฌานวิบากอันเป็นผลแห่งฌานกุศล สำหรับพระอนาคามีที่เป็นฌานลากีเคยบำเพ็ญสมถภาวนาได้สำเร็จฌานมาก่อนก็ไม่มีปัญหา แต่พระอนาคามีที่เป็นสุกขวิปัสสกบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาอย่างเดียวล้วนๆ ไม่เคยบำเพ็ญสมถภาวนามาก่อนเลย จะไปบังเกิดในพรหมโลกได้หรือ ตอบว่า พระอนาคามีที่เป็นสุกขวิปัสสกนี้เมื่อใกล้จะจุติ มรรคสิทธิฌาน ย่อมบังเกิดขึ้น อันเป็นปัจจัยให้ท่านไปเกิดในพรหมโลก ถึงแม้ว่าท่านจะจุติลงโดยไม่ทันรู้ตัว เช่นขณะที่กำลังนอนหลับอยู่ก็ดี มรรคสิทธิญาณก็ย่อมจะบังเกิดขึ้นแก่ท่านก่อนแล้วจึงจุติ ตราบใดที่มรรคสิทธิฌานยังไม่เกิดขึ้น พระอนาคามีจะไม่จุติ


พระอนาคามี ๕

      ได้กล่าวแล้วว่า พระอนาคามีบุคคลส่วนใหญ่จะไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ นอกจากบางองค์ไปปฏิสนธิในพรหมภูมิที่ต่ำกว่าแล้วแต่ใจปรารถนา และการที่ท่านจะไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิชั้นใดนั้น ก็สุดแท้แต่บารมีแห่งตนที่เคยบำเพ็ญมาตามประเภทแห่งอินทรีย์ ๕ คือ :

      ๑. พระสกทาคามีผู้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาจนตติยมรรคบังเกิดในขันธสันดานของตนนั้น ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฏว่ามี สัทธินทรีย์ แก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน อวิหาภูมิ

      ๒. ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฎว่ามี วิริยินทรีย์ แก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน อตัปปาภูมิ

      ๓. ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฎว่ามี สตินทรีย์ แก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน สุทัสสาภูมิ

      ๔. ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฎว่ามี สมาธินทรีย์ แก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน สุทัสสีภูมิ

      ๕. ในขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฎว่ามี ปัญญินทรีย์ แก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่นๆ พระอนาคามีประเภทนี้เมื่อจุติแล้วย่อมไปปฏิสนธิใน อกนิฏฐาภูมิ


พระอนาคามี ๕ อีกนัยหนึ่ง

      พระอนาคามีทั้งหลายเมื่อไปถือปฏิสนธิในพรหมโลก มีสุทธาวาสภูมิเป็นต้นดังกล่าวแล้วก็จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และดับขันธปรินิพพาน ตามประเภทแห่งพระอนาคามี ๕ จำพวก คือ

      ๑. อันตราปรินิพพายี ได้แก่ พระอนาคามีที่ไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่ง ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานภายในอายุครึ่งแรก (ในระหว่างท่ามกลางแห่งอายุ) ของสุทธาวาสภูมิที่ท่านไปเกิดอยู่นั้น

      ๒. อุปหัจจปรินิพพายี ได้แก่ พระอนาคามีที่ไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่ง ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานภายในอายุครึ่งหลัง (เลยท่ามกลางแห่งอายุ) ของสุทธาวาสภูมิที่ท่านไปเกิดอยู่นั้น

      ๓. อสังขารปรินิพพายี ได้แก่ พระอนาคามีที่ไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่ง ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในภูมินั้นโดยสะดวกสบาย ไม่ต้องใช้ความพยายามมาก แล้วดับขันธปรินิพพาน

      ๔. สสังขารปรินิพพายี ได้แก่ พระอนาคามีที่ไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่ง ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในภูมินั้นโดยต้องใช้ความพยายามอันแรงกล้าแล้วดับขันธปรินิพพาน

      ๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี ได้แก่ พระอนาคามีที่ไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ ชั้นต่ำคือ อวิหาภูมิ เมื่อจุติแล้วก็ไปเกิดในสุทธาวาสภูมิชั้นสูงขึ้นไปตามลำคับ มีอตัปปาภูมิ สุทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิ อกนิฏฐาภูมิ แล้วจึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธปรินิพพานที่อกนิฏฐานภูมินั่นเอง


อรหัตตผลญาณ

      เมื่ออรหัตตมรรคจิตดับลง อรหัตตผลจิตหรืออรหัตตผลญาณก็บังเกิดขึ้นติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น ทำนองเดียวกันกับอนาคามิมรรคญาณและอนาคามิผลญาณและด้วยการบังเกิดขึ้นของอรหัตตผลญาณ พระอริยบุคคลนั้นมีนามว่า พระอรหันต์หรือพระมหาขีณาสพ ผู้มีร่างกายนี้เป็นวาระสุดท้าย เป็นผู้ปลงภาระลงได้แล้ว เป็นผู้บรรลุถึงความต้องการของตนเอง เป็นผู้หมดสิ้นสัญโญชน์ในภพ เป็นผู้พ้นจากกองทุกข์ด้วยความรู้อันชอบแล้วเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นสุดยอดของมนุษยโลกและเทวโลกผู้ที่จะบรรลุถึงโลกุตตรภูมิชั้นสูงสุดได้นี้ต้องเป็นผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาผ่านอนาคามีโลกุตตรภูมิมาแล้ว และมีใจปรารถนาที่จะได้บรรลุอริยมรรคอริยผลอันสูงสุด จึงมีอุตสาหะเจริญวิปัสสนาภาวนาให้ยิ่งขึ้น เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ ได้เสมอกันเป็นอันดี โดยที่มีวาสนาบารมีอันตนได้สร้างสมอบรมมาจนบริบูรณ์แล้ว สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณขั้นสูงก็จะเกิดขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นจนถึงสังขารุเปกขาญาณ สภาวญาณเหล่านี้จะปรากฎละเอียดชัดเจนเป็นที่สุดต่อจากนั้น อนุโลมญาณ ก็จะเกิดขึ้น ตามติดมาด้วย โวทาน และวาระอันสำคัญที่สุดคือ จตุตถมรรค หรืออรหัตตมรรคญาณ ก็จะพลันอุบัติขึ้นทำการประหาณกิเลสทั้งหลายที่ยังเหลืออยู่ในขันธสันดานให้หมดไปโดยสิ้นเชิงต่อจากนั้น อรหัตตผลญาณ ก็จะเกิดขึ้นติดตามมาได้สำเร็จเป็นพระขีณาสพเจ้าผู้ถึงซึ่งความบริสุทธิ์เป็นอย่างยิ่ง กิเลสธุลีแม้แต่เพียงยองใยก็ไม่มีเหลือติดอยู่ในขันธสันดานอีกเลย


ผลแห่งจตุตถมรรค

      ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนามีปัญญาบารมีเต็มเปี่ยม ได้บรรลุจตุตถมรรคสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ย่อมมีโอกาสได้รับผลแห่งจตุตถมรรคอันสามารถประหาณกิเลสที่ยังเหลืออยู่ในขันธสันดานอีก ๗ ประการ ให้หมดสิ้นไปได้อย่างเด็ดขาดดังต่อไปนี้ :

      ๑. โลภกิเลส ได้แก่ รูปราคะ ความยินดีพอใจใน รูปภพ รูปฌาน มีความพอใจในการทำความเพียรเจริญสมถภาวนาเพื่อให้ได้บรรลุรูปฌาน และความยินดีพอใจในการไปเกิดเป็นรูปพรหม ความยินดีพอใจในสภาวะดังกล่าวมานี้ พระอรหันต์ละได้โดยเด็ดขาด อรูปราคะ ความยินดีพอใจในอรูปภพ อรูปฌาน มีความยินดีพอใจในการบำเพ็ญสมถภาวนาเพื่อให้ได้บรรลุอรูปฌาน และความยินดีพอใจในการไปเกิดเป็นอรูปพรหม ความยินดีพอใจในสภาวะดังกล่าวนี้ เป็นโลภกิเลสที่ละเอียดที่สุดพระอรหันต์ประหาณได้โดยเด็ดขาค ส่วนกามราคะนั้น พระอนาคามีประหาณเป็นสมุจเฉทแล้ว

      ๒. มานกิเลส ได้แก่ ความถือตัว ที่จัดเป็นกิเลส เพราะเมื่อว่าตามสภาวะ ย่อมเป็นการปฏิบัติผิด โดยยึดเอารูปนาม คือขันธ์ ๕ มาเป็นเราเป็นเขา ซึ่งเป็นเหตุให้ติดอยู่ในวัฏทุกข์ประการหนึ่ง มานกิเลสนี้แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ได้ ๒ อย่าง คือ

   ก. อยาถาวมานะ ความถือตัวไม่เป็นไปตามความเป็นจริง ได้แก่

      ตนเป็นคนชั้นสูง แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นกลาง

      ตนเป็นคนชั้นสูง แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นต่ำ

      ตนเป็นคนชั้นกลาง แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นสูง

      ตนเป็นคนชั้นกลาง แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นต่ำ

      ตนเป็นคนชั้นต่ำ แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นสูง

      ตนเป็นคนชั้นต่ำ แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นกลาง

อยาถาวมานะทั้ง ๖ ประการนี้ พระโสดาบันละได้เด็ดขาคแล้ว เพราะเป็นกิเลสที่หยาบมาก

   ข. ยาถาวมานะ ความถือตัวเป็นไปตามความเป็นจริง ได้แก่

      ตนเป็นคนชั้นสูง ก็ถือว่าตนเป็นคนชั้นสูง

      ตนเป็นคนชั้นกลาง ก็ถือว่าตนเป็นคนชั้นกลาง

      ตนเป็นคนชั้นต่ำ ก็ถือว่าตนเป็นคนชั้นต่ำ

      ยาถาวมานะทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นกิเลสที่ประณีตกว่าอยาถาวมานะ แม้แต่พระสกทาคามีและพระอนาคามีก็ยังไม่สามารถประหาณให้เด็ดขาด เป็นเพียงทำให้เบาบางลงเท่านั้น เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์จึงสามารถประหาณกิเลสนี้ให้หมดสิ้นได้อย่างเด็ดขาด

      ๓. อุทธัจจกิเลส ได้แก่ สภาพที่มีจิตฟุ้งซ่านจับอารมณ์ไม่แน่นอน หรือสภาพที่ไม่สามารถตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวได้นานๆ อุทธัจจะอันเป็นอกุศลชาติซึ่งเป็นเครื่องปิดกั้นความดีไม่ให้เกิดขึ้นนี้ พระอรหันต์เท่านั้นจึงสามารถประหาณได้เด็ดขาด

      ๔. ถีนกิเลส ได้แก่ กิเลสที่ทำให้จิตง่วงเหงาท้อถอย ถีนกิเลสนี้ย่อมมีอยู่ประจำในขันธสันดานของปุถุชนและพระเสกขบุคคล เมื่อได้บรรลุพระอรหันต์แล้วจึงสามารถประหาณถีนกิเลสเป็นสมุจเฉทได้ การที่พระอรหันต์ทั้งหลายยังมีการพักผ่อนหลับนอนอยู่นั้น หาใช่เป็นไปโดยอำนาจถีนกิเลส ไม่ ที่แท้เป็นเพราะร่างกายของท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ระยะหนึ่งแล้ว ย่อมมีการอ่อนเพลียหมดกำลังลง จิตก็ตกภวังค์ไปเฉย ๆ ตามธรรมดาอุปาทินนกสังขารจะต้องมีการพักผ่อนเหมือนคนทั่วไป สรุปว่า ถีนกิเลสนี้ย่อมเกิดได้แก่ปุถุชนและพระเสกขะ และเกิดขึ้นในจิตที่เป็นสสังขาริกคือ ขณะที่จิตรับอารมณ์ไม่เข้มแข็ง เช่นขณะที่ง่วงจวนจะหลับหรือขณะที่แรกตื่นนอนไม่ใช่ในเวลาหลับ เพราะในเวลาหลับนั้นจิตลงสู่ภวังค์ ซึ่งถีนกิเลสไม่อาจเกิคร่วมด้วยได้

      ๕. อหิริกกิเลส ได้แก่ สภาพที่ไม่ละอายต่ออกุศลทุจริต กิเลสชนิดนี้เป็นที่รังเกียจของบัณฑิตทั้งหลาย ในคัมภีร์อัฎฐสาลินีกล่าวไว้ว่า ก้อนเหล็กที่แปดเปื้อนไปด้วยอุจจาระคนที่ฉลาดย่อมไม่ปรารถนาที่จะแตะต้อง เพราะน่ารังเกียจสะอิคสะเอียนอกุศลทุจริตก็เช่นเดียวกัน บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ปรารถนาที่จะแตะต้อง เพราะมีใจหยั่งลงสู่ลัชชีธรรม คือความละอายแก่ใจในการที่จะแตะต้องอกุศลทุจริตอันเป็นบาปเป็นความชั่วนั้น

      ถามว่า พระอรหันต์เท่านั้นเป็นผู้สามารถละอหิริกกิเลสนี้ได้หมดสิ้น ถ้าเช่นนั้นพระเสกขะทั้งหลายก็ยังมีความยินดีพอใจในการประพฤติอกุศลทุจริตอยู่อีกหรือแก้ว่าพระเสกขทั้งหลายมิได้มีความยินดีพอใจในอกุศลทุจริตเหมือนปุถุชน แท้จริงโดยอำนาจแห่งอริยมรรคที่เกิดขึ้นได้ประหาณกิเลสนี้เป็นขั้นๆ มาแล้ว คือ พระโสดาบันสามารถประหาณอหิริกกิเลสในส่วนที่เป็นอปายคมนียะ พระสกทาคามีสามารถประหาฌอหิริกกิเลสในส่วนที่เป็นโอพาริกะทั้งหมด โดยทำให้เบาบางจากขันธสันดานได้ พระอนาคามีสามารถประหาณอหิริกกิเลสในส่วนที่สุขุมละเอียดที่เกี่ยวกับกามราคะ ส่วนพระอรหันต์ย่อมสามารถประหาณกิเลสนี้ไม่ให้มีเหลือในขันธสันดานอีกเลย

      ๖. อโนตตัปปกิเลส ได้แก่ สภาพที่ไม่เกรงกลัวต่ออกุศลทุจริตซึ่งเป็นเหตุให้ต้องได้รับทุกข์ในวัฏสงสาร ขึ้นชื่อว่าอกุศลทุจริตนั้นบัณฑิตทั้งหลายย่อมมีความเกรงกลัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่ให้ผลเป็นทุกข์แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นอย่างมากในคัมภีร์อัฏฐสาลินีกล่าวไว้ว่า ก้อนเหล็กที่ถูกไฟเผาลุกแดงโชน คนฉลาคย่อมไม่ปรารถนาที่จะแตะต้องเพราะเกรงกลัวความร้อนที่ก้อนเหล็กนั้น ซึ่งถ้าแตะต้องเข้าแล้วย่อมจะได้รับความเจ็บปวดแสนสาหัส อกุศลทุจริตก็เช่นเดียวกัน บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ปรารถนาที่จะแตะต้องเพราะมีปัญญาทราบดีว่า อกุศลทุจริตนี้มีแต่จะให้ทุกข์โดยอย่างเดียวมิให้คุณเลย

      ส่วนการประหาณกิเลสของพระเสกขะ มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกับการประหาฌอหิริกกิเลส คือพระโสดาบันสามารถประหาณอโนตตัปปกิเลสที่เป็นอปายคมนียะ พระสกทาดามีและพระอนาคามีนั้น แม้อโนตตัปปะส่วนที่สุขุมละเอียดจะมีอยู่ในขันธสันดานของท่าน แต่ก็เบาบางลงมากแล้ว ส่วนพระอรหันต์ย่อมสามารถประหาณกิเลสนี้ให้ไม่มีเหลือในขันธสันดานอีกเลย

      ๗. โมหกิเลส ได้แก่ สภาพที่มืดมนปิคปัญญาไม่ให้เห็นพระจตุราริยสัจ มีอวิชชาคือ ความไม่รู้นั่นเอง

      นักศึกษาทั้งหลายจะเห็นได้ว่าโมหกิเลสนี้ แม้จะได้ถูกอริยมรรคประหาณถึง ๓ ครั้ง แต่ก็หาได้หมดลงสิ้นเชิงไม่ ทั้งที่อริยมรรคทั้ง ๓ นั้นก็ทรงไว้ซึ่งสมรรถภาพมีคุณวิเศษเป็นอย่างยิ่ง มีอำนาจทำลายกิเลสที่สำคัญต่างๆ ไปแล้วหลายประการแต่ยังไม่สามารถทำลายโมหกิเลสอันปกปิดพระจตุราริยสัจไว้ให้สิ้นไปอย่างเด็ดขาด ได้เพียงแต่กำจัดให้สงบไปเล็กน้อยเหมือนกับฟ้าแลบ ที่มีอำนาจกำจัดความมืดให้เห็นทางได้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้น อริยมรรคทั้ง ๓ ข้างต้น จึงชื่อว่า "วิชชูปมธรรม" คือธรรมที่เปรียบเหมือนฟ้าแลบ

      ส่วนอรหัตตมรรคญาณเมื่อเกิดขึ้นแล้ว โมหกิเลสก็ถูกประหาณเป็นสมุจเฉทในกรณีนี้มีคำอุปมาว่า ธรรมดาสายฟ้าที่ฟาดลงมานั้นย่อมมีกำลังแรงกล้ายิ่งนัก เมื่อฟาดลงที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม สิ่งนั้นย่อมเตกทำลายไป อุปมาข้อนี้ฉันใด อรหัตตมรรคก็เป็นเช่นนั้น คือเมื่อเกิดขึ้นแล้ว กิเลสอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งจะไม่ถูกทำลายเป็นไม่มีกิเลสทั้งหลายซึ่งอริยมรรคอื่นๆ ทำลายไม่ได้ จะต้องถูกอรหัตตมรรคทำลายหมดสิ้น ฉะนั้น อรหัตตมรรคนี้ จึงชื่อว่า "วชิรูปมธรรม" คือธรรมที่เปรียบเหมือนฟ้าผ่า


พระมหาขีณาสพ ๒ ประเภท

      พระมหาขีณาสพเจ้าซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดในพระบวรพุทธศาสนานี้ เมื่อจะกล่าวโดยประเภทก็มี ๒ ประเภทคือ

      ๑. เจโตวิมุตติพระอรหันต์ ได้แก่ท่านผู้บำเพ็ญสมถภาวนาได้ฌานมาก่อนแล้ว ภายหลังได้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ดี หรือท่านผู้บำเพ็ญเฉพาะวิปัสสนา เมื่ออรหัตตมรรคบังเกิดขึ้น ฌานก็อุบัติขึ้นในขณะเดียวกันนั่นเอง โคยอำนาจแห่งปุพพาธิการ ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ฌานลาภีบุคคล คือสำเร็จฌานสมาบัติได้บรรลุวิชชาและอภิญญา มีคุณพิเศษในการแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ต่างๆ

      ๒. ปัญญาวิมุตติพระอรหันต์ ได้แก่ ท่านที่บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาล้วน ๆ ไม่ได้บำเพ็ญสมถภาวนามาก่อนเลย เมื่ออรหัตตมรรคอุบัติขึ้น ฌานก็ไม่มีเกิดขึ้นร่วมด้วย ท่านเหล่านี้จึงเป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก คือผู้ที่แห้งแล้งจากฌานไม่สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้

      นอกจากนี้ พระมหาขีณาสพยังแบ่งโดยประเภทแห่งคุณวิเศษได้อีก ๒ ประเภท คือ

      ๑. ปฏิสัมภิทาปัตตพระรหันต์ ได้แก่ พระอรหันต์ผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ทั้ง ๔ ประการ

         ก. อัตถปฏิสัมภิทา แตกฉานในอรรถ

         ข. ธัมมปฏิสัมภิทา แตกฉานในธรรม

         ค. นิรุตติปฏิสัมภิทา แตกฉานในภาษา

         ง. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา แตกฉานในปฏิภาณ ไหวพริบ

ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ อย่างนี้อุบัติขึ้นพร้อมกันในขณะที่ท่านได้บรรลุอรหัตตมรรค, อรหัตตผล

      ๒. อัปปฏิสัมภิทาปัตตพระอรหันต์ ได้แก่ พระอรหันต์ผู้ซึ่งไม่แตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ ดังกล่าวมาแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลายมีประเภทต่างๆ ดังนี้ก็โดยอำนาจแห่งปุพพาธิการที่ท่านได้สร้างสมอบรมมาแต่อดีตชาติต่างกัน กล่าวคือบางท่าน เมื่อชาติก่อนๆ นั้นเมื่อได้ประกอบกุศลกรรมใดๆ ย่อมได้ตั้งจิตปรารถนาเอาไว้โดยอำนาจแห่งปุพพาธิการนี้ ท่านจึงได้สำเร็จเป็นฌานลาภีพระอรหันต์ หรือสำเร็จเป็นปฏิสัมภิทาปัตตอรหันต์ดังกล่าวมาแล้ว ส่วนท่านที่ไม่มีฌานหรือไม่ได้ปฏิสัมภิทาญาณ ก็เพราะไม่มีปุพพาธิการดังกล่าว คือในอดีตชาติเมื่อท่านประกอบกุศลกรรมใด ๆ ก็ตาม ไม่เคยได้ตั้งจิตอธิษฐานดังกล่าว ฉะนั้น คุณพิเศษคือฌาณและปฏิสัมภิทาญาณ จึงไม่เกิดขึ้นแก่ท่าน ตามที่พรรณนามาฉะนี้


จบ ผลญาณ


-----------///---------


[full-post]

ปริจเฉทที่๙,วิปัสสนากรรมฐาน,อภิธัมมัตถสังคหะ,ผลญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.