๑๑. สังขารุเปกขาญาณ (๑)


๑๑. สังขารุเปกขาญาณ

      "สังขารุเปกขาญาณ" หมายความว่า ญาณพิจารณาเห็นรูปนาม โดยอาการวางเฉยในสังขารนิมิตอารมณ์ 

      สังขารุเปกขาญาณ แยกบทเป็น สังขาร + อุเปกขา +ญาณ, สังขาร คือ สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ ย่อลงมาได้แก่ รูป กับ นาม ขันธ์ที่ ๑ เป็นรูป ขันธ์ที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ เป็นนาม, 

      อุเปกขา ความวางเฉยคือ เป็นกลางๆ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ไม่กลัว ไม่เพลิดเพลิน,

      ญาณ ปัญญา คือ ความรอบรู้รูปกับนามตามความเป็นจริง 

      สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ ว่างเปล่าจากสัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา แล้ววางเฉย มีสติกำหนดได้ดีอยู่อย่างนี้ คือ :

      ๑. ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามว่า เป็นทุกข์เห็นความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้วว่า เป็นทุกข์ เห็นนิมิตคือ เครื่องหมายของรูปนามที่บอกให้รู้ว่า ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ว่าเป็นทุกข์ เห็นการสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิดอีกว่าเป็นทุกข์ เห็นคติทั้ง ๕ ว่าเป็นทุกข์ เห็นปฏิสนธิว่าเป็นทุกข์ เห็นความบังเกิดของขันธ์ ๕ ว่าเป็นทุกข์ เห็นอุปบัติคือ ความเกิดเป็นไปของผลกรรมว่าเป็นทุกข์ เห็นชาติว่าเป็นทุกข์ เห็นชราว่าเป็นทุกข์ เห็นพยาธิว่าเป็นทุกข์ เห็นมรณะว่าเป็นทุกข์ เห็นโสกะว่าเป็นทุกข์ เห็นปริเทวะว่าเป็นทุกข์ เห็นอุปายาสว่าเป็นทุกข์เมื่อพิจารณาเห็นทุกข์อย่างนี้แล้วเกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น จึงมนสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้ำอีกแล้ววางเฉย จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ

      ๒. ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามว่า เป็นภัย เห็นความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้วว่าเป็นภัย เห็นนิมิตคือเครื่องหมายของรูปนามที่บอกให้รู้ว่าไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับไม่ได้ว่าเป็นภัย เห็นการสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิดอีกว่าเป็นภัย เห็นคติทั้ง ๕ ว่าเป็นภัย เห็นปฏิสนธิว่าเป็นภัย เห็นความบังเกิดขึ้นของขันธ์ ๕ ว่าเป็นภัย เห็นอุปบัติคือความเกิดเป็นไปของผลกรรมว่าเป็นภัย เห็นชาติว่าเป็นภัย เห็นชราว่าเป็นภัย เห็นพยาธิว่าเป็นภัย เห็นมรณะว่าเป็นภัย เห็นปริเทวะว่าเป็นภัย เห็นอุปายาสะว่าเป็นภัย

      เมื่อพิจารณาเห็นภัยอย่างนี้แล้ว เกิดความเบื่อหน่ายอยากหลุดพ้น จึงมนสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้ำอีกแล้วจึงวางเฉย จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ

      ๓. ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามว่า สังขารคือผู้ปรุงแต่งเห็นความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นมาแล้วว่า สังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นนิมิต คือเครื่องหมายของรูปนามที่บอกให้รู้ว่าไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ว่า สังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นการสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิดอีกว่าเป็นสังขาร คือผู้ปรุงแต่งเห็นความบังเกิดขึ้นของขันธ์ ๕ ว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นอุปบัติคือความเกิดเป็นไปของวิบากว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นชาติว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นชราว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นพยาธิว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นมรณะว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นปริเทวะว่าเป็นสังขาร คือผู้ปรุงแต่ง เห็นอุปายาสะว่าเป็นสังขาร คือผู้ปรุงแต่ง

      เมื่อพิจารณาเห็นสังขาร โดยอาการอย่างนี้แล้วเกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น จึงมนสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้ำอีกแล้ววางเฉย จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ

      ๔. ปัญญาพิจารณาเห็นอุปปาทะคือ ความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้นนั้นจนกระทั่งถึงอุปายาสะ ความคับแต้นใจ เพราะถูกความเสื่อม ๕ ประการคือ ความเสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เป็นต้น ครอบงำเป็นอามิสคือ อามิสของพระยามารเพราะเป็นไปกับด้วยเหยื่อล่อให้หลงติดอยู่ในห้วงโอมสงสาร เบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น จึงมนสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้ำอีก แล้ววางเฉยอยู่จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๕. ปัญญาพิจารณาเห็นว่าอุปปาทะ ความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น จนกระทั่งถึงอุปายาสะความดับแค้นใจว่า เป็นสังขารผู้ปรุงแต่งให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน ร้อยแปดพันประการ แล้ววางเฉย สังขารเหล่านั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๖. ปัญญาพิจารณาเห็นว่า สังขารและอุเปกขาทั้ง ๒ นั้นก็เป็นสังขาร แล้ววางเฉย สังขารเหล่านั้นก็จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๗. จิตของปุถุชนเมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณ มีอาการเป็น ๒ อย่าง คือ :-

          สงขารุเปกฺขํ อภินนฺทติ ย่อมยินดีเพลิดเพลินต่อสังขารุเปกขา, สงฺขารุเปกฺขํ วิปสฺสติ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาญาณ

      ๘. จิตของเสกขบุคคลนับตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป เมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว มีอาการ ๓ อย่างคือ :-

         สงฺขารุเปกฺขํ อภินนฺทติ ย่อมยินดีเพลิดเพลินต่อสังขารุเปกขา สงฺขารุเปกฺขํ วิปสฺสติ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา สงฺขารุเปกฺขา ปฏิสงฺขาย ผลสมาปตฺตึ สมาปชฺชติ ย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาแล้วเข้าผลสมาบัติ

      ๙. จิตของท่านผู้ปราศจากราคะคือ พระอรหันต์เมื่อถึงสังขารุเปกขาแล้ว มีอาการ ๓ อย่างคือ :

            สงฺขารุเปกฺขํ วิปสฺสติ เห็นแจ้งสังขารุเปกขา

            สงฺขารุเปกฺขํ ปฏิสงฺขาย ผลสมาปตฺตึ สมาปชฺชติ พิจารณาสังขารุเปกขาแล้ว เข้าผลสมาบัติ

            อชฺฌุเปกฺขิตฺวา สุญฺญตวิหาเรน วา อนิมิตฺเตน วา อปฺปณิหิเตน วา วิหรติ

            ครั้นวางเฉยต่อสังขารนั้นแล้วย่อมอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่คือ สุญญตวิโมกข์บ้าง อนิมิตตวิโมกข์บ้าง อัปปฏิหิตวิโมกข์บ้าง

      ๑๐. จิตของปุถุชนกับจิตของเสกขบุคคล เมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณแล้วเหมือนกันคือ มีลักษณะเหมือนกัน ๔ ประการ คือ :

          ๑๐.๑ จิตของปุถุชน

            ก. จิตฺตํ กิลิสฺสติ จิตของปุถุชน ย่อมเศร้าหมองเพราะยินดีต่อสังขารุเปกขา

            ข. ภาวนาย ปริปนฺโถ โหติ เป็นอันตรายต่อภาวนา

            ค. ปฏิเวธสฺส อนฺตราโย โหติ เป็นอันตรายต่อปฏิเวธ คือเป็นสิ่งที่จะมาตัดรอนต่อการรู้แจ้งแทงตลอคอริยสัจ ๔

            ฆ. อายติปฏิสนฺธิยา ปจฺจโย โหติ เป็นปัจจัยแก่การปฏิสนธิในภพชาติต่อไปอีก

          ๑๐.๒ จิตของเสกขบุคคล

            ก. จิตของเสกขบุคคลย่อมเศร้าหมอง เพราะยินดีต่อสังขารุเปกขา

            ข. ภาวนาย ปริปนฺโถ โหติ เป็นอันตรายต่อภาวนา

            ค. อุตฺตริปฏิเวธสฺส อนฺตราโย โหติ เป็นอันตรายต่อการรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ เบื้องสูงยิ่งๆ ขึ้นไป

            ฆ. อายติปฏิสนฺธิยา ปจฺจโย โหติ เป็นปัจจัยแก่การถือปฏิสนธิในภพชาติต่อไปอีก

      ๑๑. จิตของปุถุชน เสกขบุคคล อเสกขบุคคล เมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว มีสภาวะเหมือนกันตรงเห็นพระไตรลักษณ์ เพราะอรรถว่าเห็นพระไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน คือเห็นแจ้งสังขารุเปกขาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

      ๑๒. จิตของปุถุชน เสกขบุคคล อเสกขบุคคล เมื่อถึงสังขารุเปกขาแล้วต่างกันตรงที่เป็นกุศลและอัพยากฤตดังนี้สังบารุเปกขาของปูถุชนเป็นกุศลสังขารุเปกขาของเสถขบุคคลก็เป็นกุศลเช่นกันสังขารูเปกขาของอเสกขบุคคลเป็นอัพยากฤต

      ๑๓. สังขารุเปกขาของปุถุชน เสกขบุคคล อเสกขบุคคล ต่างกันอย่างนี้คือสำหรับปุถุชน สังขารุเปกขาปรากฎชัดดี คือรู้ได้ดีเฉพาะในเวลาเจริญวิปัสสนา ถ้าไม่ได้เจริญก็ไม่ปรากฎสำหรับเสกขยุคคล ถึงสังขารุเปกขาก็ปรากฎชัดดีคือรู้ได้ดี ในเวลาไม่เจริญวิปัสสนาก็เช่นกัน ส่วนอเสกขบุคคลนั้นปรากฎชัดดี คือรู้ได้ดีโดยส่วนเดียว เพราะท่านละความยินดียินร้ายได้หมดแล้ว

      ๑๔. ความแตกต่างกันของสังขารเปกขาของปุถุชน เสกขบุคคล อเสกขบุคคลยังมีอยู่อีก คือ ปุถุชนเจริญวิปัสสนา พิจารณาสังขารุเปกขาเพราะยังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากยังทำวิปัสสนากรรมฐานไม่สำเร็จ แม้เสกขบุคคลก็ยังต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาสังขารุเปกขาต่อไปอยู่ เพราะยังไม่ถึงที่สุดคือยังทำวิปัสสนาไม่สมบูรณ์เช่นกัน  ส่วนอเสกขยุคคลนั้นพิจารณาสังขารุเปกขา เพราะถึงที่สุดแล้วเนื่องจากท่านทำวิปัสสนาสำเร็จแล้วละกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว กิจที่ควรทำไม่มีอีกอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว

      ๑๕. ปุถุชน เสกขบุคคล อเสกขบุคคล พิจารณาสังขารเปกขาต่างกัน คือปุถุชนพิจารณาสังขารุเปกขา เพื่อละสังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เพื่อให้ได้โสดาปัตติมรรค เสกขบุคคลพิจารณาสังขารุเปกขา เพื่อให้ได้มรรคผลเบื้องสูงยิ่งๆ ขึ้นไปจนถึงอรหัตตมรรด อรหัตตผล เพราะละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว อเสกขบุคคลพิจารณาสังขารุเปกขา เพื่ออยู่เป็นสุขในภพปัจจุบันทันตาเห็น เพราะท่านละกิเลสได้หมดทุกอย่างแล้ว


๑๖. สังขารุเปกขาญาณเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะและวิปัสสนา


ก. สังขารุเปกขาญาณที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของสมถะ ๘ คือ

      ปฐมชฺฌานํ ปฏิลาภตฺถาย นีวรเณ ปฏิสํขา สนฺติฏฺฐนา ปญฺญา สงฺขารุเปกฺขาญาณํ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ ๕ เพื่อให้ได้ปฐมฌาน ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ

      ทุติยชฺฌานํ ปฏิลาภตฺถาย วิตกฺกวิจาเร ปฏิสํขา สนฺติฏฺฐนา ปญฺญา สงฺขารุเปกฺขาญาณํ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร เพื่อให้ได้ทุติยฌาน ชื่อว่า สังขารูเปกขาญาณ

      ตติยชฺฌานํ ปฎิลาภตฺถาย ปีตึ ปฏิสํขา สนฺติฏฺฐนา ปญฺญา สงฺขารุเปกฺขาญาณํ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อให้ได้ตติยฌานชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ 

      จตฺตถชฺฌานํ ปฏิลาภตฺถาย สุขทุกฺเข ปฏิสํขา สนฺติฏฺฐนา ปญฺญา สงฺขารุเปกฺขาญาณํ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์ เพื่อให้ได้จตุตถมาน ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ

      อากาสานญฺจายตนสมาปตฺตึ ปฏิลาภตฺถาย รูปสญฺญํ ปฏิฆสญฺญํ นานตฺตสญฺญํ ปฏิสํขา สนฺติฏฺฐนา ปญฺญา สงฺขารุเปกฺขาญาณํ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา เพื่อให้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ

      วิญฺญาณญฺจายตนสมาปตฺตึ ปฏิลาภตฺถาย อากาสานญฺจายตนสญฺญํ ปฏิสํขา สนฺติฏฺฐนา ปญฺญา สงฺขารุเปกฺขาญาณํ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย อากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อให้ได้วิญญาณัญจายตน สมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ

      อากิญฺจญฺญายตนสมาปตฺตึ ปฏิลาภตฺถาย วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญํ ปฏิสํขา สนฺติฏฺฐนา ปญฺญา สงฺขารุเปกฺขาญาณํ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อให้ได้อากิญจัญญายตน สมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ

      เนวสญฺญานาสญฺญายตนสมาปตฺตึ ปฏิลาภตฺถาย อากิญฺจญฺญายตนํ สญฺญํ ปฏิสํขา สนฺติฏฺฐนา ปญฺญา สงฺขารุเปกฺขาญาณํ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย อากิญจัญญายตสัญญา เพื่อให้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ

ข. สังขารุเปกขาญาณที่เกิดจากวิปัสสนา ๑๐ คือ 

      โสตาปตฺติมคฺคํ ปฏิลาภตฺถาย อุปฺปาทิ ฯเปฯ ปฏิสํขา สนฺติฏฺฐนา ปญฺญา สงฺขารุเปกฺขาญาณํ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น จนกระทั่งถึงอุปายาสะเพื่อให้ได้โสดาปัตติมรรคแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ 

      โสตาปตฺติผลสมาปตฺตตฺถาย อุปฺปาทํ ฯเปฯ ปฏิสํขา สนฺติฏฺฐนา ปญฺญา สงขารุเปกฺขาญาณํ ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น จนกระทั่งถึงอุปายาสะเพื่อให้ได้โสดาปัตติผลสมาบัติแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ 

      สกทาคามิมคฺคํ ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น จนกระทั่งถึงอุปายาสะ เพื่อให้ใด้สกทาคามิมรรดแล้ววาง เฉย ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ

      สกทาคามิผลสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นของรูปนามเป็นต้น จนกระทั่งถึงอุปายาสะ เพื่อให้ได้สกทาคามิผลสมาบัติแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ

      อนาคามิมคฺตํ ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ไอ้อนาคามิมรรคแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ 

      อนาคามิผลสมาปตุตตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ใค้อนาคามิผลสมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ 

      อรหตฺตมคุคำ ปฏิลาภตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ใค้อรหัตตมรรคแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ 

      อรหตฺดผลสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้อรหัตตผลสมาบัติชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ 

      สุญฺญตวิหารสมาปตฺตตฺถาย งเปฯ ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้สุญญตวิหารสมาบัติแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ

      อนิมิตฺตวิหารสมาปตฺตตฺถาย ฯเปฯ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามเป็นต้น เพื่อให้ได้อนิมิตตวิหารสมาบัติแล้ววางเฉยชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,สังขารุเปกขาญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.