๑๐. ปฏิสังขาญาณ

      ปฏิสังขาญาณ หมายความว่า ญาณพิจารณาเห็นรูปนาม โดยขะมักเขมันต่อจากมุญจิตุกัมยตาญาณ

      ปฏิสังขาญาณ แยกบทเป็น ปฏิ + สังขา + ญาณ, ปฏิ เฉพาะ, ตอบ, ทวน,กลับ, อีก, สังขา พิจารณา ญาณ ปัญญา คือความรอบรู้ในกองสังขารตามความเป็นจริงปฏิสังขาญาณ คือ ปัญญาย้อนกลับไปพิจารณาสังขารยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ด้วยอาการ ๔๐ อย่างคือ พิจารณาสังขารเป็นอนิจจังด้วยอาการ ๑๐ อย่าง พิจารณาสังขาร เป็นทุกข์ด้วยอาการ ๒ ๕ อย่าง พิจารณาสังขารเป็นอนัตตาด้วยอาการ ๕ อย่าง ดังพระบาในปฏิสัมภิทามรรคกล่าวไว้ว่า

      เตสํ ธมฺมานํ จตฺตาฬีสาย อากาเรหิ อเนกาทีนวราสิภาวปฏิสงฺขานํ วเสน สุฏฺฐวิปฺผารตรํ วิปสฺสนาญาณํ ปฏิสงฺขาญาณํ นาม ฯ

      ญาณ ที่กำลังพิจารณาเห็นเบญจขันธ์เหล่านั้น เป็นพระไตรลักษณ์อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ด้วยสามารถพิจารณาเห็นว่าเบญจขันธ์นี้เป็นกองแห่งโทษมากมายด้วยอาการ ๔๐ อย่าง ชื่อว่า ปฏิสังขาญาณ


อาการ ๔๐ ของปฏิสังขาญาณ

๑) พิจารณาเห็นเบญจขันธ์เป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยงด้วยอาการ ๑๐ อย่างคือ

      ๑. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อนิจจัง คือ ไม่เที่ยง

      ๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ปโลกะ คือ มีความเสื่อมอย่างใหญ่หลวง

      ๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น จละ คือ มีความหวั่นไหวเปลี่ยนแปลง

      ๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ปภังคะ คือ มีความแตกสลายทำลายไป

      ๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อัทธุวะ คือไม่มีความยั่งยืนถาวรอะไรเลย

      ๖. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น วิปริณามธรรม คือ มีความแปรปรวน

      ๗. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อสารกะ คือ ไม่มีแก่นสารอะไรเลย

      ๘. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น วิภวะ คือ มีความเสื่อมมีความวิบัติอยู่เป็นนิตย์

      ๙. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สังขตะ คือ ถูกปัจจัยปรุงแต่งด้วยอำนาจกรรม จิต อุตุ อาหาร

      ๑๐. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น มรณธรรม คือ มีความตาย มีความแตกดับเป็นธรรมดา

๒) พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็นทุกข์ โดยอาการ ๒๕ อย่าง คือ

            ๑. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ ถูกบีบคั้นเนืองๆ

            ๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น โรค คือ เสียดเทงเบียดเบียนอยู่เสมอ

            ๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น คัณฑะ ฝี คือเป็นคุจหัวฝีที่กลัดหนอง

            ๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สัลละ คือ เป็นลูกศรปักเสียบทิ่มแทงอยู่เสมอ เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย คัน แสบ ร้อน หนาว หิว กระหาย เป็นต้น

            ๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อฆะ คือ ความคับแดบเบียดเบียน เดือดร้อน

            ๖. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อฆมูล คือ เป็นรากเหง้าเค้ามูลแห่งความคับแคบแห่งความเดือดร้อน เพราะอำนาจแห่งโรคภัยมีประการต่างๆ และกิเลสทั้งหลาย

            ๗. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อาพาธ คือ ความเจ็บป่วย

            ๘. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อีติ คือ จัญไร มีแต่ทุกข์ ไม่ดี ไม่สุข

            ๙. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อุปัทวะ ประสบกับอุปัทวะเหตุ

            ๑๐. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ภัย คือ เป็นของน่ากลัว เพราะจะต้องเผชิญกับภัยนานาชนิด เช่น อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย โจรภัย ทุพภิกขภัย ชาติภัยชราภัย มรณภัย เป็นต้น

            ๑๑. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อุปสรรด คือ สิ่งที่ขัดขวางกีดกันกางกั้น ไม่ให้ชีวิตดำเนินไปได้โคยราบรื่น

            ๑๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อตาณะ คือ ไม่มีอะไรจะมาต้านทานไว้ได้ ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของเขา เช่น แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น

            ๑๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อเลณะ คือ ป้องกันอะไรไม่ได้ จะหลีกเร้นอยู่ที่ไหนๆ ก็ไม่พ้นทุกข์

            ๑๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อสรณะ คือ ไม่มีที่พึ่งเพราะต้องแตกดับไป ทำลายไป สลายไป ทนอยู่ไม่ได้

            ๑๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อาทีนวะ คือ มีทุกข์ มีโทษมากทั้งภายนอกภายใน

            ๑๖. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น วธกะ คือ ผู้ฆ่าเพราะเขาเป็นดุจนายเพชฌฆาตคอยถือดาบเข่นฆ่าสรรพสัตว์อยู่ตลอดเวลา ไม่ยกเว้นใครๆ

            ๑๗. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สาสวะ คือ เป็นบ่อเกิดแห่งอาสวะทั้ง ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือ กาม, ภวาสวะ อาสวะคือ ภพ, อวิชชาสวะ อาสวะคือ อวิชชา, ทิฏฐาสวะ อาสวะ คือ ทิฏฐิ

            ๑๘. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น มารามิส คือ เป็นเหยื่อล่อให้สรรพสัตว์หลงติดบ่วง ดุจพรานเบ็ดตกปลาฉะนั้นมารามิสเหยื่อของมาร ๓ อย่าง คือ โลกามิส อามิสของชาวโลกได้แก่ กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ, วัฏฏามิส อามิส คือ วัฏฏะได้แก่ วัฏฏะ คือวน ๓ กิเลสวัฏ วนเพราะกิเลส กัมมวัฏ วนเพราะกรรม วิปากวัฏ วนเพราะผลแห่งกรรม วนไปในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ, กิเลสามิส อามิสคือ กิเลสหมายความว่า กิเลสนั่นเองเป็นอามิส เป็นเหยื่อให้สรรพสัตว์ประมาทมัวเมาหลงเพลิดเพลินติดอยู่ในโอฆสงสาร ไม่เห็นช่องทางแห่ง มรรค ผล นิพพานได้

            ๑๙. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ชาติธรรม คือ มีความเกิดมารับกองทุกข์เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นจากเกิดไปได้ เกิดมาเมื่อใคก็หอบเอาทุกข์มาเมื่อนั้นดุจเห็นเมื่อโผล่จากดินเมื่อใดก็ดันเอาฝุ่นมาพร้อมกันเมื่อนั้น

            ๒๐. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ชราธรรม คือ มีความแก่ มีความเสื่อม มีความทรุดโทรมเป็นธรรมดา ไม่มีใครห้ามและแก้ได้

            ๒๑. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น พยาธิธรรม คือ มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่มีใครล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้

            ๒๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น โสกธรรม คือ มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา เศร้าโศกเพราะเสื่อมญาติเสื่อมรัพย์เป็นโรค เป็นต้น ไม่มีใครถ่วงพ้นไปได้แม้แต่คนเดียว เว้นพระอริยเจ้าเท่านั้น

            ๒๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ปริเทวธรรม คือ มีความร้องไห้บ่นเพ้อเป็นธรรมดา เพราะถูกความเสื่อมต่างๆ ตรอบงำ

            ๒๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อุปายาสธรรม คือ มีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา คับแค้นเพราะเหตุ ๕ ประการ มีความเสื่อมญาติ เป็นต้น

            ๒๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สังกิเลสธรรม คือ มีความเศร้าหมองเป็นธรรมเศร้าหมองเพราะกิเลส

๓) พิจารณาเห็นเบญจขันธ์เป็นอนัตตา โดยอาการ ๕ อย่างคือ

      ๑. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น อนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนบังคับบัญชาไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจของใครๆ ทั้งสิ้น

      อนัตตา แปลว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ การที่อนัตตาไม่ปรากฎคีเพราะพากันถือว่าเป็นก้อน  เป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา ความเห็นว่าเป็นตนนี้เรียกว่าฆนสัญญา ฆนสัญญานี้เองที่ปีดบังไว้มิให้เห็นอนัตตาก็ ฆนสัญญา คือความสำคัญผิดว่า เป็นก้อน เป็นตัวตนเราเขานี้มีอยู่ ๓ อย่างคือ ฆนสัญญา กิจจฆนะ อารัมมณฆนะ ฆนสัญญา คือสมูหนฆนะ ได้แก่กองรูปกองนาม ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เช่น เดิน ยืน นั่ง นอน เข้าใจว่า เรายืนเราเดิน เรานั่งเรานอน เป็นต้นกิจจฆนะ ได้แก่ การกระทำของกองรูป กองนาม เช่น การเดินยืน นั่ง นอน นั้น รูปมีกิจเคลื่อนไหวคล้ายกับทำตามคำสั่งของนาม นามมีกิจดล้ายเป็นผู้สั่งให้เคลื่อนไหว อันที่จริงเป็นสักแต่ว่ารูปกับนามเท่านั้น แต่เราไปเข้าใจผิดคิดว่า เราเดิน เรานั่ง เรานอน เป็นต้น

      อารัมมณฆนะ ได้แก่ การน้อมไปยึคอารมณ์หลายๆ อย่างมาเป็นอย่างเดียวกัน เช่น ยึดเอารูปทางตามา ยึดเอาเสียงทางหูมา ยึดเอากลิ่นทางจมูกมายึดเอารสทางสิ้น มายึดเอาโผฎฐัพพะทางกายมายึด แล้วสำคัญผิดคิดไปว่า เราได้เห็นรูปดีไม่ดี เราได้ยินเสียงเพราะ ไม่เพราะ เราได้กลิ่นหอมกลิ่นเหม็น เราได้รสอร่อยไม่อร่อย เราได้สัมผัสดีไม่ดี ความเข้าใจอย่างนี้ เรียกว่า สัญญาวิปลาส คือ เข้าใจผิดเมื่อเข้าใจผิดก็ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์นั้นๆ ว่า เป็นเราเป็นของเรา เป็นอัตตทิฏฐิหรือสักกายทิฏฐิ

      ๒. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ประ อื่น คือไม่คงที่แปรปรวนเสมอ

      ๓. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ริตตะ คือเป็นของนิดหน่อย เล็กน้อย เกิดขึ้นมาไม่นานก็แตกสลายไป ทำลายไป

      ๔. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น ตุจฉะ คือว่าง ได้แก่ว่างจากสัตว์บุคคล ตัว ตน เรา เขา

      ๕. พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็น สูญญะ คือเป็นของเปล่า เป็นของสูญ ได้แก่ สูญจากสัตว์ สูญจากความเป็นบุคคล สูญจากความเป็นตัวตนเราเขา ไม่มีเจ้าของไม่มีอิสระ ไม่เป็นไปในอำนาจของใครๆ ทั้งสิ้น

      ผู้ปฏิบัติธรรม คือท่านผู้ที่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยอาการ ๔- อย่างดังนี้แล้ว ย่อมเห็นว่าเป็นของไม่งามเป็นสัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายบอกให้รู้ว่า เป็นทุกข์น่ากลัว ไม่สะอาคมีกลิ่นเหม็นปฏิกูลน่าเกลียด ปรุงแต่งอยู่ไม่หยุด มีรูปแปลกมีท่าทางพิลึก ไม่เห็นมีสาระแก่นสารมีแต่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา จึงอยากออก อยากหนีอยากหลุดอยากพ้น แล้วพยายามหาหนทางพ้น จึงได้พยายามประพฤติปฏิบัติเพื่อให้วิปัสสนาญาณเจริญขึ้นอุบายแห่งการหลุดพ้น

      ปฏิสังขาญาณ คือปัญญาพิจารณาเห็นรูปนาม เป็นทุกข์เป็นโทษ เป็นของน่ากลัว เป็นเหยื่อของมาร เกิดความเบื่อหน่าย อยากออก อยากหนี อยากหลุดพ้น จึงตั้งใจปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้ได้มาซึ่งมรรค ผล นิพพาน โดยหาอุบายหลุดพ้นด้วยอาการ ๑๕ อย่าง คือ

      ๑. พิจารณาการเกิดขึ้นและการดับไปของรูปนาม แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน

      ๒. พิจารณาความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นแล้วกำลังเป็นไปไม่ขาดสาย แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน

      ๓. พิจารณาสังขารนิมิต คือลักษณะของสังขารรูปนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน

      ๔. พิจารณาเห็นรูปนามกำลังสั่งสมกรรม กรรมที่จะให้เกิดอีก จึงหน่าย เพื่อหลุดพ้น แล้วตั้งใจปฏิบัติ เพื่อให้ถึงพระนิพพาน

      ๕. พิจารณาเห็นรูปนาม ที่กำลังเกิดขึ้นมาใหม่ว่า เป็นทุกข์น่ากลัว เพื่อหลุดพ้น แล้วตั้งใงปฏิบัติ เพื่อให้ถึงพระนิพพาน

      ๖. พิจารณารูปนามที่กำลังตกอยู่ในคติต่างๆ มีทุคติเป็นต้นว่าเป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้น เพื่อให้ถึงพระนิพพาน

      ๗. พิจารณารูปที่กำลังเกิดเป็นขันธ์ ๕ อยู่ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติ เพื่อให้หลุดพ้น เพื่อให้ถึงพระนิพพาน

      ๘. พิจารณารูปนามที่กำลังเป็นไปตามวิบาก คือกรรมของตนๆ ที่ทำมาตั้งแต่ภพก่อน ชาติก่อน ภพนี้ชาตินี้ว่า ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติ เพื่อให้ถึงพระนิพพาน

      ๙. พิจารณาเห็นรูปนามที่กำลังเกิดขึ้นมาเป็น รูปชาติ นามชาติ รูปโลกนามโลก ว่าเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์ไม่มีแก่นสาร แล้วเบื่อหน่ายอยากพ้น ตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน

      ๑๐. พิจารณารูปนามที่กำลังเสื่อมไปสิ้นไป แก่ไปคร่ำคร่ไป ว่าเป็นทุกข์เป็นโทษ น่ากลัวน่าเบื่อ แล้วเบื่อหน่ายอยากหลุดพ้น แล้วปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน

      ๑๑. พิจารณารูปนามที่กำลังถูกพยาธิเบียดเบียน ครอบงำว่าเป็นทุกข์เป็นภัย เป็นโทษ ไม่มีสาระประโยชน์ ไม่มีสุข จึงเกิดความเบื่อหน่ายอยากหนีอยากพ้นแล้วหาหนทางพ้น โดยปฏิบัติต่อไปเพื่อให้ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน

      ๑๒. พิจารณารูปนามที่กำลังแตกดับ คือตายอยู่ทุกขณะว่าเป็นทุกข์น่ากลัว น่าเบื่อหน่าย เกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้นหาหนทางพ้น จึงตั้งใจปฏิบัติต่อไปเพื่อให้ถึงพระนิพพาน

      ๑๓. พิจารณารูปนามที่กำลังเศร้าโศกเพราะถูกความเสื่อมครอบงำแล้วเบื่อหน่ายอยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติต่อไป เพื่อให้ได้ถึงพระนิพพาน

      ๑๔. พิจารณารูปนามที่กำลังร้องไห้อยู่เพราะถูกความเสื่อม ๕ ประการ ครอบงำว่า เป็นของที่น่ากลัว เป็นทุกข์เป็นโทษ น่าเบื่อหน่ายอยากหลุดพ้น แสวงหาทางพันโดยตั้งใจปฏิบัติต่อไป เพื่อให้ถึงพระนิพพาน

      ๑๕. พิจารณารูปนามที่กำลังมีความคับแค้นใจ เพราะความเสื่อม ๕ ประการ ครอบงำ เห็นว่าเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์โทษเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน

      เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานพิจารณาเห็นรูปนามโดยแจ้งชัดอย่างนี้ ชื่อว่าผู้นั้นมีวิปัสสนาญาณอันเจริญขึ้นแล้ว เพราะกำหนดสั่งขารพิจารณาได้ดี เพื่อจะยังอุบายแห่งการหลุดพ้นให้เกิดขึ้น


อุปมาเปรียบเทียบ

      ยังมีชายคนหนึ่งประสงค์จะจับปลา จึงเอาสุ่มๆ ลงไปในน้ำ แล้วหย่อนมือตามลงไป เผอิญไปถูกงูเห่าเข้าแต่เขาไม่รู้ว่าเป็นงูเห่า จับคองกายในน้ำนั้นได้ จึงนึกกระหยิ่มอยู่ในใจว่า เราจับปลาใหญ่ได้เขารู้สึกดีใจมาก เพราะเข้าใจว่าเป็นปลาจริงๆและตัวใหญ่ด้วย ครั้นจับยกขึ้นพ้นน้ำ พิจารณาดูจึงรู้ว่าเป็นงูเพราะเห็นดอกจัน มีความหวาดกลัวเป็นกำลัง เห็นโทษเห็นภัยในการจับ เพราะจะถูกงูกัดตาย ต้องการปล่อยให้หลุดพ้นไปโดยเร็ว จึงหาอุบายปล่อย คือจับหางงูคลายขนดจากแขนตัวแล้วยกขึ้นแกว่งเบื้องบนศีรษะ ๒ - ๓ ครั้ง ทำให้งูอิดโรย และอ่อนกำลังลงแล้วโยนทิ้งไปพร้อมทั้งบ่นพึมพำและแช่งว่า "อ้ายงูร้ายไปเสียให้ไกลเถิด" แล้วรีบขึ้นมาสู่ขอบบึง ยืนแลดูทางมาโดยหมายใจว่า เราพ้นจากปากงูเห่าแน่แล้ว ในข้อนี้มีการเปรียบได้ดังนี้คือเวลาที่บุคคลได้อัตภาพเกิดมาเป็นตัวตนตั้งแต่ต้นแล้วยินดีพอใจ เพลิดเพลินสนุกสนาน เปรียบเหมือนชายคนนั้นจับคองูเท่าได้นึกว่าเป็นปลาใหญ่แล้วดีใจมาก

      ฉะนั้น ตอนนี้ยังไม่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานยังเพลินอยู่กับโลกเวลาที่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาพิจารณาแยกรูปนามออกจากกันเห็นเป็น อนิจจังทุกขัง อนัตตา ปรากฏเป็นของน่ากลัว ตอนนี้จัดเป็นญาณตั้งแต่ต้นจนถึง ภยญาณเปรียบเหมือนกับบุรุษดึงงูออกจากสุ่มแลเห็นดอกจันแล้วกลัว

      เวลาผู้ปฏิบัติวิปัสสนาตามเห็นทุกข์เห็นโทษ เห็นภัยของรูปนามแล้ว นี้เป็นอาทีนวญาณ เปรียบเหมือนกับชายผู้จับงู ตามเห็นทุกข์โทษภัย ในการจับงูเท่านั้นเวลาผู้ปฏิบัติวิปัสสนาพิจารณาเห็นรูปนามว่า เป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภัยแล้วเกิดความเบื่อหน่ายเป็น นิพพิทาญาณ เปรียบเหมือนกับชายคนนั้นพิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษเห็นภัย อันจะเกิดขึ้นแก่ตนอย่างใหญ่หลวง ในเพราะการจับคองนั้นแล้วเกิดความเบื่อหน่าย

      เวลาที่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยากจะหลุดพ้นจากรูปนาม อยากจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏนี้เป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ เปรียบเหมือนกับชายคนที่จับคองนั้นอยากจะเหวี่ยงงูให้พ้นไปจากตัว

      เวลาที่ผู้ปฏิบัติยกรูปนามขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ด้วยอาการ ๔๐ อย่างก็ดี ด้วยอาการ ๑๕ อย่างก็ดีนี้เป็น มุญจิตุกัมยตาญาณอย่างแก่ เข้าเขต ปฏิสังขาญาณอย่างอ่อน เปรียบเหมือนกับชายคนที่จับคองนั้นแสวงหาอุบายจะเหวี่ยงงู แล้วทำอุบายเหวี่ยงงูให้พ้นไปจากตัว

      เวลาผู้ปฏิบัติวิปัสสนาพิจารณารูปนามยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์บ่อยๆ วนไปเวียนมาอยู่กับพระไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำให้กิเลสหมดกำลังลงจนไม่สามารถจะเห็นว่า เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นของสวยงาม เป็นตัวตน เรา เขา จะเห็นตรงกันข้ามคือ เห็นว่าเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกขัง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้เป็นอสุภะ ไม่สวยงาม เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจใครๆทั้งสิ้นนี้เป็น ปฏิสังขาญาณ เปรียบเหมือนชายคนที่จับคองนั้น จับงูแกว่งทำให้หมดกำลัง จนงูไม่สามารถจะเอี้ยวมากัดเขาได้แล้ว เหวี่ยงให้หลุดพ้นจากตัวไปได้เป็นอย่างดีฉะนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ปฏิสังขาญาณ ก็เป็นอันเกิดขึ้นแก่ท่านผู้เจริญวิปัสสนานั้น

      อนิจฺจโต มนสิกโรโต นิมิตฺตํ ปฏิสงฺขาญาณํ อุปฺปชฺชติ เมื่อผู้ปฏิบัติใผ่ใจโดยความไม่เที่ยงพิจารณานิมิต (คือ อนิจจลักษณะว่า ไม่ยั่งยืนเป็นไปชั่วกาลนิดเดียวเท่านั้น) ปฏิสังขาญาณ ก็เกิดขึ้น

      ทุกฺขโต มนสิกโรโต ปวตฺติ ปฏิสงฺขาญาณํ อุปฺปชฺชติ เมื่อผู้ปฏิบัติใฝ่ใจโดยความเป็นทุกข์พิจารณาปวัตตะคือ ความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นแล้ว ปฏิสังขาญาณ ก็เกิดขึ้น

      อนตฺตโต มนสิกโรโต นิมิตฺตญฺจ ปวตฺตญฺจ ปฏิสงฺขาญาณํ อุปฺปชฺชติ เมื่อผู้ปฏิบัติใฝ่ใจโดยความเป็นอนัตตาพิจารณานิมิตคือ อนิจจลักษณะ และปวัตตะ ความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นแล้ว ปฏิสังขาญาณ ก็เกิดขึ้น


จบ ปฏิสังขาญาณ

----------///-----------


[full-post]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,ปฏิสังขาญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.