๑๒ สังขารุเปกขาญาณ (๗)


๖. อุปมาด้วยเด็ก (การอุปมาญาณ ๑๖ ในเชิงปุคลาธิษฐาน) 

      หญิงนางหนึ่งรักลูกมาก นางนั่งอยู่บนปราสาท ได้ยินเสียงเด็กร้องระหว่างถนน ระแวงว่าใครเบียดเบียนลูกของเรา จึงรีบลงมาโดยเร็วอุ้มเอาเด็กของคนอื่นไปโดยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นลูกของตน พอนางรู้ว่านี้เป็นลูกของคนอื่น จึงมีความเกรงกลัวมากเหลียวดูข้างโน้นข้างนี้คิดว่า อย่าทันให้ใคร ๆ กล่าวว่าเราขโมยเด็ก แล้วรีบวางเด็กลงในที่นั้น วิ่งขึ้นไปบนปราสาทโดยเร็วแล้วนั่งอยู่ ในข้อนั้น มีการเปรียบเทียบกับญาณในการปฏิบัติ ดังนี้

      ๑. การถือขันธ์ ๕ ว่า เรา ของเรา เปรียบเหมือนการที่หญิงนั้นยึดถือบุตรคนอื่นว่าเป็นบุตรของตน

      ๒. การรู้รูปนาม รู้พระไตรลักษณ์ ได้แก่ นามรูปนามปริจเฉทญาณ ปัจจปริคคหญาณ สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ เปรียบเหมือนการรู้ว่านี้เป็นบุตรของคนอื่น

      ๓. ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ เปรียบเหมือนความเกรงกลัว

      ๔. มุญจิตกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ เปรียบเหมือนการแลดูทางโน้นทางนี้

      ๕. อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนการเริ่มวางทารกไว้ในที่นั้น

      ๖. โคตรภูญาณ เปรียบเหมือนเวลาวางเด็กแล้วกำลังอยู่ระหว่างถนน

      ๗. มรรคญาณ เปรียบเหมือนการขึ้นสู่ปราสาท

      ๘. ผลญาณ เปรียบเหมือนการขึ้นไปนั่งบนปราสาทแล้ว

      ๙. ปัจจเวกขณญาณ เปรียบเหมือนการแลดูทางมาของตน

      เพราะฉะนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติได้รู้เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอย่างนี้แล้ว จิตย่อมถอยกลับจากภพ ๓ กำเนิด ๕ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ มีแต่ความวางเฉยมีแต่ความสะอิดสะเอียน มีแต่ความปฏิกูลเกิดขึ้นจิตจะไม่หวนกลับมาเพลิดเพลินยินดีในภพ กำเนิดเป็นต้นอีก มีแต่จะโน้มเอียงไปสู่พระนิพพานโดยส่วนเดียว ดุจหยาดน้ำตกไปจากใบบัว ฉะนั้น


ความตั้งใจปฏิบัติอย่างไม่ย่อท้อ

ด้วยคุณเพียงเท่าที่กล่าวมาแล้วนี้ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติอย่างไม่ถอยหลังอย่างไม่ย่อท้อ สมดังคำที่ท่านกล่าวยืนยันรับรองไว้ว่า :

      ปฏิลีนจรสฺส ภิกฺขุโน

      ภชมานสฺส วิวิตฺตมาสนํ

      สามคฺคิยมาหุ ตสฺส ตํ

      โย อตฺตานํ ภวเน น ทสฺสเย ฯ

บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวการ ไม่แสดงตนในภพ (อันต่างด้วยนรกเป็นต้น) ของภิกษุผู้ประพฤติไม่ท้อถอย ผู้เสพที่นั่งอันสงัดว่าเป็นการสมควร ดังนี้


สังขารุเปกขาญาณที่ควรทราบ

      สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ววางเฉยอยู่ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ไม่ดีใจไม่เสียใจ มีสติ สมาธิ ปัญญาแก่กล้าดี มีลักษณะที่นักปฏิบัติธรรมจะพึงทราบอีกหลายประการ ถือ :-

      ๑. ปฏิลีนจรภาวํ นิยเมตฺวา นิยม คือ กระทำความไม่ท้อถอยให้แน่นอนเป็นอันเดียวแก่ผู้ปฏิบัติ อธิบายว่า ทำใจของผู้นั้นให้เชื่อมั่น ให้ตั้งมั่น ให้ตรงดิ่งต่อจุดเดียว คือ นิพพาน

      ๒. ธมฺมวิเสสํ นิยเมตฺวา นิยมความวิเศษของธรรม ๕ ประการ

      ก. โพชฺฌงฺควิเสสํ ความวิศษของโพชฌงค์ ๘ ประการ มีสติสัมโพชณงค์  ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นต้น หมายความว่าโพชมงค์ทั้ง : ประการนี้ จะต้องมาเป็นธรรมสมังดีให้ผู้ปฏิบัติได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน

      ข. มคฺคงฺควิเสสํ ความวิเศษขององค์มรรค หมายความว่าองค์มรรคทั้ง ๘ มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะเป็นต้น จะต้องมารวมกำลังเป็นมัคคสมังดีเพื่อเข้ามาทำงานประหาณกิเลส พร้อมกันตั้งแต่ญาณนี้เป็นต้นไป

      ค. ฌานงฺควิเสสํ ความวิเศษขององค์ฌาน คำว่า ฌาน แปลว่า เพ่ง มีอยู่ ๒ อย่าง คือ "ลักขณูปนิชฌาน" เพ่งรูปนามเป็นอารมณ์จนเห็นพระไตรลักษณ์ อย่างหนึ่ง "อารัมมณูปนิชฌาน" เพ่งอารมณ์สมถกรรมฐาน ๔๐ ฌาน ในที่นี้ท่านหมายเอาญาณ คือ ปัญญาซึ่งมีกำลังแก่กล้า จวนจะได้บรรลุมรรคอยู่แล้ว ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า "ปาทกชฺฌานนฺติ มคฺคสฺส อาสนฺนวุฏฺฐานคามินียา วิปสฺสนาย ปทฏฺฐานภูตํ ญาณํ ฯ  ปาทกชฺฌานํ" (มหาฎีกาหน้า ๕๓๔) แปลว่า ฌานที่เป็นบาทของวิปัสสนา ได้แก่ ญาณ ซึ่งเป็นปทัฏฐานของวิปัสสนาอันใกล้ต่อมรรคและจะให้ถึงการออกจากกิเลส

      ฆ. ปฏิทาวิเสสํ ความวิเศษแห่งข้อปฏิบัติได้แก่ ปฏิปทาทั้ง ๔ มี

        ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติลำบากได้ผลช้ำ

        ทุกฺขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺณา ปฏิบัติลำบากได้ผลเร็ว

        สุขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวกได้ผลช้า

        สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวกได้ผลเร็ว

      อธิบายว่า ปฏิบัติลำบากได้ผลช้า เพราะกิเลส ๑๐ รบกวนมากในเวลาปฏิบัติและเวลาจะถึงมรรด สังขารุเปกขาญาณ ก็ทำวิปัสสนาปริวาสคือ ความปรากฎแห่งมรรคให้เกิดช้าๆ ปฏิบัติลำบากได้ผลเร็ว เพราะกิเลส ๑๐ รบกวนมากในเวลาปฏิบัติแต่สังขารุเปกขาญาณทำวิปัสสนาปริวาสคือ ความปรากฏแห่งมรรค ให้เกิดขึ้นได้เร็ว ปฏิบัติสะดวกได้ผลช้า เพราะกิเลส ๑๐ ไม่รบกวนแต่เวลามรรคจะเกิด เกิดได้ยาก สังขารุเปกขาญาณทำวิปัสสนาปริวาสคือ ความปรากฏแห่งมรรคให้เกิดช้าๆ ปฏิบัติสะดวกได้ผลเร็ว เพราะผู้ปฏิบัติข่มกิเลส ๑๐ ได้ง่าย ไม่รบกวนในเวลาปฏิบัติและในเวลามรรค จะเกิดขึ้น สังขารุเปกขาญาณ ก็ทำความปรากฎแห่งมรรคให้เกิดขึ้นได้ง่าย


ความต่างกันแห่งปฏิปทา ๔ ของผู้ปฏิบัติ

      ๑. สำหรับภิกษุบางรูป ในมรรคทั้ง ๔ มีปฏิปทาเพียงอย่างเดียว

      ๒. สำหรับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติสะดวกและรู้ได้ง่ายทั้ง ๔ มรรค

      ๓. สำหรับพระธรรมเสนาบดีคล้ายกับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

      ๔. สำหรับพระมหาโมคคัลลานเถระ มรรคที่ ๑ โสดาปัตติมรรค ปฏิบัติสะดวก รู้ได้ง่าย ส่วนมรรคที่เหลือ ๓ คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรด อรหัตตมรรค ปฏิบัติ ลำบากรู้ได้ยาก เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา

      ง. วิโมกฺวิเสสํ ความวิเศษแห่งวิโมกข์ ๓ คืออนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สญญตวิโมกข์ แม้ผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ คือลงมือเจริญวิปัสสนาแต่อย่างเดียวมิได้เจริญสมถกรรมฐานมาก่อน เวลามรรคเกิดองค์ฌานก็เกิดขึ้นตามธรรมเนียมของวิปัสสนา ดังมีหลักฐานรับรองไว้ในวิสุทธิมรรค (ภาค ๓ หน้า ๓๑๒ บรรทัดที่ ๓ - ๔) ว่า :-

      วิปสฺสนานิยาเมน หิ สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ สมาปตฺติลาภิโน ฌานํ ปาทกํ อกตฺวา อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานํ ปาทกํ กตฺวา ปกิณฺณกสงฺขาเร สมฺมสิตฺวา อุปฺปาทิตมคฺโคปี ปฐมชฺฌานิกา ว โหนฺติ ฯ

      จริงอยู่ ตามธรรมเนียมของวิปัสสนาย่อมเป็นดังนี้ มรรคที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ ก็ดี มรรคที่เกิดขึ้นแก่ท่านผู้ใด้ฌานสมาบัติ แต่ไม่ทำฌานให้เป็นบาทแห่งวิปัสสนาก็ดี มรรคที่ผู้ปฏิบัติทำปฐมฌานให้เป็นบาท พิจารณารูปนามเบ็ดเตล็ดคือพิจารณารูปนามอื่นนอกจากองค์ฌานที่เป็นบาทก็ดี ทั้ง ๓ อย่างนี้ ย่อมประกอบด้วยองค์ของปฐมฌานทั้งนั้น และรวมลงในมรรคทั้งหมด ดังมาในวิสุทธิมรรคว่า "สพฺเพสุ สตฺต โพชฺฌงฺคานิ อฏฺฐมคฺคงคานิ ปญฺจ ฌานงคานิ โหนฺติ ฯ

      โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ องค์ฌาน ๕ ย่อมมีอยู่ในมรรคทั้งหมด วิปัสสนาอันเป็นส่วนแห่งมรรคเบื้องต้นคือ เมื่อโยคาวจรเจริญไปจนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว ย่อมประกอบด้วยโสมนัสสหรคตด้วยอุเบกขา ในเวลาจะถึงมรรคออกจากกิเลสก็ย่อมสหรคตด้วยโสมนัส ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า :- 

      เตสมฺปี หิ ปพฺพภาควิปสฺสนา โสมฺนสฺสสหคตาปี อุเปกฺขาสหคตาปี หุตฺวา วุฏฺฐานกาเล สงฺขารุเปกฺขาภาวํ ปตฺวา โสมนสฺสสหคตา โหติ ฯ

      จริงอยู่ วิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรคเหล่านั้น ประกอบด้วยโสมนัสบ้าง ประกอบด้วยอุเบกขาบ้าง ครั้นถึงสังขารุเปกขาญาณแล้วในเวลาจะออกจากกิเลส จะออกจากโลกียะ จะออกจากโคตรปุถุชน ย่อมสหรคต คือประกอบไปด้วยโสมนัส

      ในข้อนั้นมียกเว้นอย่างนี้คือ ถ้าผู้ปฏิบัติทำปัญจมฌานให้เป็นบาทแล้ว สหรดตด้วยอุเบกขาอย่างเดียวเท่านั้น ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า : 

      "เตสมฺปี หิ ปุพฺพภาควิปสฺสนา โสมนสฺสสหคตาปี อุเปกฺขาสหคตา โหติ วุฏฺฐานคามินี โสมนสฺสสหคตา ว ปญฺจมชฺฌานํ ปาทกํ กตฺวา นิพฺพตฺติตมคฺเค ฯลฯ อิมสฺมึ หิ นเย ปุพฺพภาควิปสฺสนา โสมนสฺสสหคตา วา อุเปกฺขาสหคตา วา โหติ วุฏฺฐานคามินี อุเปกฺขาสหคตา ว ฯ" 

      จริงอยู่วิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรดเหล่านั้นประกอบด้วยโสมนัสบ้าง ประกอบด้วยอุเบกขาบ้างที่เป็นวุฏฐานคามินี ประกอบด้วยโสมนัสเท่านั้น ส่วนในมรรคที่เกิดขึ้นโดยทำปัญจมฌานให้เป็นบาท ฯลฯ แต่ในนัยนี้ วิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้น (แห่งมรรด) ประกอบด้วยโสมนัสหรือประกอบด้วยอุเบกขาก็ตาม ที่เป็นวุฎฐานคามินี ต้องประกอบด้วยอุเบกขาเท่านั้น


เหตุที่ชื่อว่ามรรค

      เมื่อผู้ปฏิบัติถึงสังขารุเปกขาญาณแล้วก็จะต้องถึงสัจจานุโลมิกญาณ โคตรภูญาณ มรรคญาณต่อไป มรรคนั้นชื่อว่ามรรคเพราะเหตุ ๕ อย่าง

      ๑. สรเสน เพราะกิจของตนได้แก่ ความเป็นไปพิเศษของตน

      ๒. ปจฺจนีเกน เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อข้าศึก

      ๓. สคุเณน เพราะคุณของตน

      ๔. อารมฺมเณน เพราะอารมณ์

      ๕. อาคมเนน เพราะอาคม (การมา)

      อธิบายว่า ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมมีวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นมาจนถึงสังขารุเปกขาญาณชื่อว่าหลุดพ้นด้วย แล้วพิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจังแล้วออกจากกิเลส ถึงมรรคด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ถ้าพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์แล้วออกจากกิเลส ชื่อว่าหลุดพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ ถ้าพิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนัตตาแล้วออกจากกิเลส ชื่อว่าหลุดพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์ อย่างนี้ได้ชื่อว่ามรรคเพราะกิจของตนเพราะความเป็นไปวิเศษของตน

      อีกอย่างหนึ่ง มรรคนี้ทำการจำแนกแยกสังขารทั้งหลายมี รูป เวทนา สัญญา ตั้งมั่นคงที่อยู่ด้วยเป็นต้น ออกจากความมีรูปร่างสัณฐานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอนิจจานุปัสสนา แล้วละนิจจนิมิต ธุวนิมิต สัสสตนิมิต เสียได้โดยเด็ดขาด เพราะฉะนั้นมรรดนี้ชื่อว่า อนิมิตตมรรค, ชื่อว่า อัปปณิหิตมรรค เพราะละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนาแล้วยังปณิธิคือ ความปรารถนาได้แก่ตัณหา ให้เหือดแห้งไปได้อย่างเด็ดขาด, ชื่อว่า สุญญตมรรค เพราะละความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ด้วยอนัตตานุปัสสนา แล้วพิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นของว่างเปล่า อย่างนี้ได้ชื่อว่ามรรค เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อข้าศึก

      อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสูญญตมรรค เพราะว่างเปล่าจากกิเลสมี ราคะเป็นต้นชื่อว่าอนิมิตตมรรค เพราะไม่มีนิมิตมีรูปเวทนาเป็นต้นอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีนิมิต มีราคะ เป็นต้นอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอัปปณิหิตมรรค เพราะไม่มีปณิธิคือราคะเป็นต้นอย่างนี้ได้ชื่อว่า มรรค เพราะคุณของตน

      อย่างหนึ่ง ชื่อว่าสุญญูตมรรค อนิมิตมรรค อัปปณิหิตมรรค ก็เพราะทำพระนิพพานอันว่างเปล่า ไม่มีเครื่องหมาย ไม่เป็นที่ตั้งให้เป็นอารมณ์อย่างหนึ่ง ชื่อว่า มรรค เพราะอารมณ์

      อีกอย่างหนึ่ง อาคม แปลว่า การมา มีอยู่ ๒ อย่าง

      ก. วิปสสนาคมนํ การมาของวิปัสสนา ย่อมได้ในมรรค

      ข. มคฺคาคมนํ การมาของมรรค ย่อมได้ในผล

      อนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า สุญญตะ มรรคของสัญญตวิปัสสนา ชื่อว่า สุญญตมรรค, ผลของสุญญตมรรค ชื่อว่า สุญญตผล, อนิจจานุปัสสนา ชื่อว่า อนิมิตตะ, มรรคของอนิมิตตวิปัสสนา ชื่อว่า อนิมิตตมรรค

      โคตรภูญาณ ทำนิพพานอันไม่มีนิมิตให้เป็นอารมณ์ จึงมีชื่อว่า อนิมิตตะ ตั้งอยู่ในอาคมนียฐานเอง คือตั้งอยู่ในฐานเป็นข้อปฏิบัติอันเป็นที่มาของมรรค จึงให้ชื่อแก่มรรค เพราะเหตุนั้นมรรคจึงได้ชื่อว่า อนิมิตตะ ตามโคตรภูญาณ

      ส่วนผลชื่อว่า อนิมิตตะ โดยการมาของมรรคเป็นอันถูกต้องแล้ว

      ทุกขานุปัสสนาชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะยังปณิธิคือ ตัณหาในสังขารทั้งหลาย ให้เหือดแห้งไปโดยเด็ดขาคเพราะอำนาจแห่งอัปปณิหิตวิปัสสนา ดังนั้น มรรค จึงชื่อว่า อัปปณิหิตะ ผลของอัปปณิหิตมรรคก็ชื่อว่า อัปปณิหิตผล เช่นกัน

      วิปัสสนาย่อมให้ชื่อของตนแก่มรรค และมรรคก็ให้ชื่อของตนแก่ผล ดังที่ได้กล่าวแล้ว มรรค ที่ได้ชื่อว่า มรรค เพราะอาคม 

      สังขารุเปกขาญาณกำหนดความต่างกันของวิโมกข์ ด้วยประการฉะนี้


วิมุตติ - ปหาน

วิมุตติ กับ ปหาน ต่างกันแต่พยัญชนะ ส่วนความหมายเหมือนกัน โปรดเทียบเคียง ดังนี้-

วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น มีอยู่ ๕ อย่าง

      ๑. ตทังควิมุตติ หลุดพ้นชั่วคราว ได้แก่ ศีล

      ๒. วิกขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นด้วยการข่มไว้ ได้แก่ สมาธิ

      ๓. สมุจเฉทวิมุตติ หลุดพ้นได้เด็ดขาด ได้แก่ มรรค

      ๔. ปฏิปัสสัมภนวิมุตติ หลุดพ้นโดยความสงบ ได้แก่ ผล

      ๕. นิสสรณวิมุตติ หลุดพ้นออกไป ได้แก่ พระนิพพาน

ปหาน คือ การละ มีอยู่ ๕ อย่าง

      ๑. ตทังคปหาน ละชั่วคราว ได้แก่ ศีล

      ๒. วิกขัมภนปหาน ละด้วยการข่มไว้ ได้แก่ สมาธิ (ฌาน)

      ๓. สมุจเฉทปหาน ละโดยเด็ดขาด ได้แก่ มรรค (อริยมรรค)

      ๔. ปฏิปัสสัมภนปหาน ละได้โดยความสงบ ได้แก่ ผล

      ๕. นิสสรณปหาน ละโดยการออกไปได้แก่ นิพพาน เมื่อเทียบเคียงแล้วจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า วิมุตติ กับ ปหาน นั้นต่างกันแต่เพียงพชัญชนะเท่านั้น ส่วนความหมายนั้นเหมือนกัน


จบ สังขารุเปกขาญาณ

------------///-----------

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,สังขารุเปกขาญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.